โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

‘พีมูฟ’ จวกรัฐฯ ไร้น้ำยา แก้ปัญหาไม่คืบ จ่อรวมพลไปทวงถามถึง ‘ครม.สัญจร’ เชียงใหม่

Posted: 11 Jan 2012 10:35 AM PST

ขบวนคนจนกว่า 1,000 คน นัดรวมตัวยื่นหนังสือ ‘ยิ่งลักษณ์’ ถึงที่ประชุม ครม.สัญจร เชียงใหม่ ร้องแก้ปัญหาที่ดิน ปัญหาคนจน และสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร แถลงการณ์จวกรัฐฯ ไร้น้ำยาเจรจา 5 เดือน แก้ปัญหาไม่คืบ

 
(11 ม.ค.54) นายบุญ แซ่จุง ผู้ประสานงานเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด กล่าวถึงการเคลื่อนไหวครั้งล่าสุดของเครือข่ายภาคประชาชนในนามขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือพีมูฟ (P Move) ว่า ขปส.ได้นัดหมายสมาชิกทั่วประเทศกว่า 1,000 คน รวมตัวเข้ายื่นหนังสือกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในวันประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร ที่ จ.เชียงใหม่ ในวันที่ ในวันที่ 14-15 ม.ค.นี้ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาที่ดิน ปัญหาคนจน และสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า รวมทั้งเร่งผลักดันนโยบายที่รัฐบาลแถลงไว้ต่อรัฐสภา อาทิ โฉนดชุมชน การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและการแก้ไขปัญหาคดีโลกร้อน การจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า และการผลักดัน พ.ร.บ.สิทธิชุมชน
 
ทั้งนี้ ขปส.เป็นเครือข่ายของเกษตรกรรายย่อยและคนจนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาประเทศที่ผิดพลาดในอดีตประกอบด้วยเครือข่ายสลัม 4 ภาค, สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ, เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคเหนือ, เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน, สมัชชาคนจน, เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง, เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด, สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ และกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวลและคัดค้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จังหวัดอุบลราชธานี ที่รวมตัวกันเพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหา ลดความเหลื่อมล้ำอันเป็นปัญหาความยากจนและความไม่เป็นธรรมจากนโยบายและโครงการพัฒนาของรัฐ
 
“สิ่งที่ชาวบ้านต้องการไม่ใช่แต่คำแถลง แต่ให้มีมติ มีคำสั่งออกมา ให้รัฐบาลใช้อำนาจในทางบริหาร ไม่อย่างนั้นข้าราชการก็ไม่ดำเนินการ ปัญหามันก็ไม่แก้”  ผู้ประสานงานเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัดกล่าว
 
นายบุญกล่าวด้วยว่า จากการติดตามผลการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลที่ผ่านมาพบว่า แม้รัฐบาลนี้จะนำข้อเสนอของภาคประชาชนไปแถลงเป็นนโยบายต่อสภา แต่ในการขับเคลื่อนนโยบายกลับไม่มีความคืบหน้า ขณะที่ปัญหาในพื้นที่ก็รุมเร้า ชาวบ้านในพื้นที่โฉนดชุมชนถูกจับกุมดำเนินคดี ถูกข่มขู่คุกคามโดยกลุ่มอิทธิพล ทางเครือข่ายจึงได้หารือร่วมกันและเห็นพ้องในการเคลื่อนไหวให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการรวมตัวกันติดตามเพื่อขอเข้ายื่นหนังสือต่อนายกฯ ในวันที่ 14 ม.ค.เป็นต้นไป โดยการชุมนุมครั้งนี้จะยึดแนวทางสันติวิธี 
 
ผู้ประสานงานเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด กล่าวว่า ข้อเรียกร้องหลักที่จะยื่นต่อรัฐบาล คือ 1.ให้นายกรัฐมนตรีลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ตามมติการเจรจาเมื่อวันที่ 3 ต.ค.54 พร้อมกำหนดวันประชุมโดยเร็ว 2.เร่งเร่งดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน โดยมีตัวแทนของ ขปส.ร่วมเป็นกรรมการ
 
3.ให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณจัดซื้อที่ดินเพื่อแก้ไขปัญหาของคนไร้บ้าน 4.ให้รัฐบาลเร่งดำเนินกำหนดพื้นที่ ชุมชน พิธีกรรม พื้นที่ทำกินในทะเล ในเขตวัฒนธรรมพิเศษชาวและสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการ และ 4.ขอให้ยุติการจับกุมดำเนินคดีในพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชนและชาวบ้านในเขตวัฒนธรรมพิเศษชาวเล
 
นายบุญกล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาชาวบ้านมีการเรียกร้องให้รัฐบาลทุกชุดชะลอเรื่องการจับกุมดำเนินคดีในพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชนมาโดยตลอด แต่ก็ไม่สามารถดำเนินการได้จริงเนื่องจากข้ออ้างว่าขัดต่อกฎหมาย ทั้งที่โดยส่วนตัวเห็นว่าการดำเนินการโฉนดชุมชนนี้อิงตามหลักสิทธิชุมชน ตามมาตรา 66 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีผลบังคับใช้อยู่แล้วและรัฐบาลควรต้องยึดถือ ไม่ใช่การยึดกฎหมายลูก ดังนั้นจึงอยากให้มีมติ ครม.เพื่อให้ยุติการจับกุมดำเนินคดีดังกล่าวเพื่อเป็นการแก้ปัญหา
 
ส่วนกรณีที่รัฐบาลเล็งเปลี่ยนชื่อ “โฉนดชุมชน” เป็น “สิทธิที่ดินชุมชน” นายบุญกล่าวว่า ชื่อโฉนดชุมชุมเป็นชื่อที่ทางเครือข่ายภาคประชาชนตั้งขึ้นเองไม่ได้เกี่ยวข้องกับรัฐบาลชุดที่ผ่านมา และไม่ต้องการให้เปลี่ยน อีกทั้งไม่น่าเกี่ยวกับเรื่องที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดเพี้ยน และในทางกฎหมายเองระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับโฉนดชุมชน ก็ได้ผ่านคณะกรรมการกฤษฎีกามาแล้ว อีกทั้งคำว่าโฉนดชุมชนยังเกี่ยวพันกับคำสั่งต่างๆ ก่อนหน้านี้ของรัฐ การเปลี่ยนชื่ออาจส่งผลกระทบเชื่อมโยงกันไปได้ หากรัฐคิดว่าอยากทำในสิ่งที่ดีขึ้นน่าจะเป็นการผลักดัน พ.ร.บ.สิทธิชุมชนให้ออกมารองรับไปเลยจะดีกว่า
 
ขณะที่นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเมื่อวันที่ 10 ม.ค.ที่ผ่านมา ถึงการจัดประชุม ครม.สัญจรว่า นายกรัฐมนตรีสั่งการให้จัดการประชุม ครม.สัญจรเดือนละครั้ง โดยในวันที่ 14-15 ม.ค. จะจัดประชุม ครม.สัญจรครั้งแรกขึ้นที่ จ.เชียงใหม่ ซึ่งนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปในช่วงบ่ายของวันที่ 14 ม.ค. หลังร่วมงานวันเด็กแห่งชาติเสร็จสิ้น โดยจะเดินทางไปร่วมปลูกป่าที่ จ.เชียงรายก่อนร่วมงานเลี้ยงกับ ครม.เเละสื่อมวลชนที่ จ.เชียงใหม่ 
 
ในเดือนถัดไปช่วงวันที่ 20-21 ก.พ.จะจัด ครม.สัญจรในภาคอีสาน ที่ จ.ขอนแก่น จากนั้น ในช่วงวันที่ 19-20 มี.ค. จะจัดขึ้นในภาคใต้ โดยมอบหมายให้นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้พิจารณาสถานที่ ส่วน ครม.สัญจรในภาคกลาง กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 23-24 เม.ย. โดยมอบหมายให้นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นผู้พิจารณาจังหวัด ทั้งนี้ในการลงพื้นที่ไปจังหวัดใดนั้น จะพิจารณาจากปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นหลัก
 
 
 
แถลงการณ์ฉบับที่
เจรจาเดือนรัฐบาลไร้น้ำยาปัญหาคนจนไม่คืบหน้า
 
ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(ขปส.)เป็นเครือข่ายของเกษตรกรรายย่อยและคนจนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาประเทศที่ผิดพลาดในอดีตประกอบด้วยเครือข่ายสลัมภาค,สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ(สกน.),เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคเหนือ(คปน.),เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน(คปอ.),สมัชชาคนจน(สคจ.),เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง(คปสม.),เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด,สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้(สกต.)กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวลและคัดค้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จังหวัดอุบลราชธานีได้รวมตัวกันเพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำอันเป็นปัญหาความยากจนและความไม่เป็นธรรมจากนโยบายและโครงการพัฒนาของรัฐ
 
ก่อนการเลือกตั้งขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(ขปส.)ได้ร่วมกับองค์กรภาคประชาชนจำนวน๔๐องค์กรจัดเวทีสัญญาประชาคมประชาชนพบพรรคการเมืองขึ้นเมื่อวันที่๒๔มิถุนายน๒๕๕๔มหาวิทยาลัยรังสิตกรุงเทพมหานครเพื่อยื่นข้อเสนอและแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อให้พรรคการเมืองนำไปบรรจุไว้เป็นนโยบายของรัฐบาลหากชนะการเลือกตั้งโดยพรรคเพื่อไทยได้มอบหมายให้นายปลอดประสพสุรัสวดีรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทยเดินทางไปร่วมเวทีและได้ลงนามในสัญญาประชาคมพร้อมให้คำมั่นว่าหากพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งและได้จัดตั้งรัฐบาลจะนำข้อเสนอของภาคประชาชนไปบรรจุไว้เป็นนโยบายรัฐบาล
 
ภายหลังการเลือกตั้งขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(ขปส.)ได้ใช้ความพยายามทุกวิถีทางในการประสานงานขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีเพื่อติดตามทวงถามสัญญาประชาคมที่พรรคเพื่อไทยให้คำมั่นไว้กับประชาชนโดยการส่งไปรษณียบัตรการยื่นจดหมายผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยและผู้ว่าราชการจังหวัดรวมทั้งการรณรงค์โดยใช้ขบวนมอเตอร์ไซค์เดินทางไปขอเข้าพบท่านในระหว่างวันที่-๘สิงหาคม๒๕๕๔ที่ผ่านมาโดยท่านได้มอบหมายให้นายปลอดประสพสุรัสวดี,นายแพทย์ชลน่านศรีแก้วและนายพร้อมพงศ์นพฤทธิ์เดินทางมารับข้อเรียกร้องและสัญญาว่าจะนำข้อเรียกร้องทั้งหมดโดยเฉพาะเรื่องการกระจายการถือครองที่ดินการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยปัญหาความเหลื่อมล้ำและการสร้างความเป็นธรรมบรรจุไว้ในนโยบายของรัฐบาลรวมทั้งการแต่งตั้งกลไกร่วมระหว่างรัฐบาลกับภาคประชาชนเพื่อสานต่อการแก้ไขปัญหาให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว
 
ต่อมาเมื่อวันที่ตุลาคม๒๕๕๔ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(ขปส.)ได้มาติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาที่ทำเนียบรัฐบาลและในวันดังกล่าวรัฐบาลได้มอบหมายให้รมต.กฤษณาสีหลักษณ์มาเจรจากับพวกเราโดยการเจรจาดังกล่าวสามารถบรรลุเป้าหมายมีข้อตกลงหลายเรื่องโดยเฉพาะการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการร่วมระหว่างรัฐบาลกับพวกเราเพื่อเป็นกลไกหลักในการแก้ไขปัญหาจากนั้นเป็นต้นมาพวกเราได้ใช้ความพยายามประสานงานกับรัฐบาลเพื่อติดตามการปฏิบัติตามผลการเจรจาเมื่อวันที่ตุลาคม๒๕๕๔แต่จนถึงขณะนี้เวลาผ่านมาหลายเดือนก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดเลยขณะที่หลายพื้นที่ก็มีการจับกุมดำเนินคดีกับชาวบ้านมากขึ้นอย่างต่อเนื่องอันเป็นรูปธรรมที่สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาของพวกเราอันหมายถึงความไม่จริงใจของรัฐบาล
 
ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(ขปส.)ขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการดังนี้
.ยุติการจับกุมดำเนินคดีในพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชนและชาวบ้านในเขตวัฒนธรรมพิเศษชาวเล
.เร่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(ขปส.)ตามมติการเจรจาเมื่อวันที่ตุลาคม๒๕๕๔พร้อมกำหนดวันประชุมโดยเร็ว
.ให้เร่งดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดินโดยมีตัวแทนของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(ขปส.)ร่วมเป็นกรรมการ
.ให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณสำหรับดำเนินการจัดซื้อที่ดินเพื่อแก้ไขปัญหาของคนไร้บ้าน
.ให้รัฐบาลเร่งดำเนินกำหนดพื้นที่(ชุมชน,พิธีกรรม,พื้นที่ทำกินในทะเล)เขตวัฒนธรรมพิเศษชาวเลและสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการ
.เร่งผลักดันนโยบายที่รัฐบาลแถลงไว้ต่อรัฐสภาดังนี้
            ๖.๑จัดทำโฉนดชุมชน
            ๖.๒เร่งปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและการแก้ไขปัญหาคดีโลกร้อน
            ๖.๓เร่งกระจายการถือครองที่ดินด้วยมาตรการด้านการจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า
            ๖.๔เร่งผลักดันพรบ.สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรดินน้ำป่าโดยชุมชนมีส่วนร่วม
 
ดังนั้นขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(ขปส.)จึงจำเป็นที่จะต้องติดตามการแก้ไขปัญหาโดยพวกเราจะไปพบกับรัฐบาลในการประชุมครม.สัญจรที่เชียงใหม่เพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม
 
ด้วยความเชื่อมั่นในพลังประชาชน
ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(ขปส.)
เครือข่ายสลัมภาค
 สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ(สกน.)
เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคเหนือ(คปน.)
เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน(คปอ.)
สมัชชาคนจน(สคจ.)
เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง(คปสม.)
 เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด
สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้(สกต.)
 กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวลและคัดค้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จังหวัดอุบลราชธานี
 
๑๐มกราคม๒๕๕๕
อนุสรณ์สถาน๑๔ตุลา
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสียงสะท้อนจากญาติ 'นักโทษการเมือง' เชียงใหม่

Posted: 11 Jan 2012 09:10 AM PST

11 ม.ค.55 ที่เรือนจำจังหวัดเชียงใหม่ ญาติผู้ต้องขังเสื้อแดงจากคดีความขัดแย้งทางการเมืองเมื่อปี 2551 หลายคนเดินทางเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังตามปกติ แต่ก็ต้องพบกับความผิดหวัง เมื่อทราบว่าผู้ต้องขังเกือบทั้งหมด (ยกเว้น 1 ราย) ถูกส่งตัวไปยังเรือนจำในกรุงเทพฯ แล้วตั้งแต่เช้ามืด โดยคาดว่าเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการย้ายผู้ต้องขังในคดีการเมืองไปยังเรือนจำชั่วคราวแห่งใหม่ย่านหลักสี่ ตามข้อเสนอกระบวนการปรองดองของ คอป. หรือ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและคนหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ

ญาติผู้ต้องขังส่วนใหญ่มีฐานะยากจน บางคนไม่มีลูกหลานดูแลและป่วยเป็นโรคประจำตัว บางส่วนแสดงความเป็นห่วงไม่อยากให้ไปกรุงเทพฯ บางส่วนยังไม่แน่ใจว่าผู้ต้องขังจะได้รับการดูแลเพียงใด และจะเดินทางไปเยี่ยมที่กรุงเทพฯ ได้อย่างไร

ทั้งนี้ ผู้ต้องขัง 5 คนที่ถูกย้ายมากรุงเทพฯ  คือ นายนพรัตน์ แสงเพชร, นายประยุทธ บุญวิจิตร, นายบุญรัตน์ ไชยมโน, นายสมศักดิ์ อ่อนไสว และนายพยอม ดวงแก้ว

 


อุดม เมฆขุนทด ภรรยาสมศักดิ์ อ่อนไสว ผู้ต้องขังคดีเสื้อแดงเชียงใหม่
 


สุจิต อินทชัย อดีตผู้ต้องขังคดีเสื้อแดง


เกศรา ไชยมโน บุตรสาวบุญรัตน์ ไชยมโน ผู้ต้องขังคดีเสื้อแดงเชียงใหม่


เล็ก เอื้องคำ ภรรยาประยุทธ บุญวิจิตร ผู้ต้องขังคดีเสื้อแดงเชียงใหม่


น้องหมีพู บุตรชายพยอม ดวงแก้ว ผู้ต้องขังคดีเสื้อแดงเชียงใหม่

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

15 มกรา 'ครก.112' ระดมชื่อแก้ไขมาตรา 112

Posted: 11 Jan 2012 08:38 AM PST

คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112) เรียนเชิญสื่อมวลชนและผู้สนใจเข้าร่วมงาน “แก้ไขมาตรา 112” กิจกรรมวิชาการและศิลปวัฒนธรรม ในวันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม 2555 เวลา 13.00 – 17.30 น. ณ หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

กิจกรรมในงานประกอบด้วย การเปิดตัว “คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112)” การระดมชื่อประชาชนอย่างน้อยหนึ่งหมื่นชื่อเพื่อเสนอกฎหมายเข้าสู่รัฐสภา การเปิดรายชื่อ 112 รายชื่อแรกที่ร่วมผลักดันให้แก้ไขกฎหมายตามข้อเสนอคณะนิติราษฎร์ เวทีวิชาการว่าด้วยกฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ฯลฯ

กิจกรรมนี้ถือเป็นการเปิดตัวคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 อันมาจากการรวมตัวกันของเครือข่ายนักวิชาการและกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ กลุ่มกรรมกรแดงเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มกวีราษฎร์ กลุ่มแดงสยามกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มนิติม่อน กลุ่มประชาคมจุฬาฯเพื่อประชาชน กลุ่มประชาคมศิลปากรเพื่อประชาชน กลุ่มเพื่อนนักโทษการเมืองไทย กลุ่มมหิดลเสรีเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มสันติประชาธรรม กลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์ กลุ่มอาร์ติเคิล112 คณะนักเขียนแสงสำนึก คณะนิติราษฎร์ แนวร่วมนักเรียนนิสิตนักศึกษาเสรีชนล้านนา มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)

ในงานจะเปิดให้ผู้ที่สนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อผลักดันกฎหมายภาคประชาชน ซึ่งถือเป็นภารกิจหลักของครก.112 โดยเปิดให้ประชาชนผู้สนใจเตรียมเอกสารอันได้แก่ สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน มาเข้าร่วมเพื่อแนบเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ในงานนี้ด้วย

 

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่: เว็บไซต์คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112  http://www.ccaa112.org

 

 

เวทีวิชาการ - ศิลปวัฒนธรรม

“แก้ไขมาตรา 112”

จัดโดย คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112)

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม 2555 เวลา 13.00 – 17.30 น.
ณ หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

 

กำหนดการ

13.00 – 13.15 น. เปิดตัวคณะรณรงค์แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 112 หรือ ครก.112 
อ่านแถลงการณ์โดย รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ตัวแทนครก.112 และนักวิชาการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล


13.15 - 13.30 น. ปาฐกถา “ทำไมจึงต้องแก้ไขมาตรา 112” (บันทึกเทป)  โดย ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์

13.30 – 13.50 น.  นำเสนอวิดีทัศน์ “เส้นทางกฎหมายหมิ่น” 

13.50 – 14.10 น. กิจกรรมศิลปวัฒนธรรมช่วงที่หนึ่ง
วิดีโอ “เงียบจนแสบแก้วหู” โดย กลุ่มศิลปินนิติม่อน
ละครเวที หายนะ (Catastrophe) โดย ซามูเอล เบคเกตต์ (Samuel Beckett) โดยกลุ่มละครอิสระ

14.10 – 15.10 น. กิจกรรมวิชาการช่วงที่หนึ่ง
ข้อเสนอเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ของคณะนิติราษฎร์ และกระบวนการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดย คณะนิติราษฎร์

15.10 – 15.50 น. กิจกรรมศิลปวัฒนธรรมช่วงที่สอง
อ่านบทกวีและแถลงการณ์ โดยกลุ่มกวีราษฎร์  

15.50 -17.00 น. กิจกรรมวิชาการช่วงที่สอง 

ตอบคำถามคาใจ: ทำไมต้องแก้ 112 โดย 
            ผศ.ดร. พวงทอง ภวัครพันธุ์ กลุ่มสันติประชาธรรม และอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
            ผศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร กลุ่มสันติประชาธรรม และอาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
            วาด รวี คณะนักเขียนแสงสำนึก
            อ.สาวตรี สุขศรี คณะนิติราษฎร์
            ดำเนินรายการโดย ผศ.เวียงรัฐ เนติโพธิ์ กลุ่มสันติประชาธรรม และอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

17.00 – 17.30 น.  ผู้เข้าร่วมร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ นำเอกสารเข้าชื่อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา112 หย่อนลงในกล่องรับรายชื่อ

*** ดำเนินรายการตลอดงาน โดย อ.วันรัก สุวรรณวัฒนา อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แพทย์ชนบทยันแผนล้มบัตรทองมีจริง 4 ขั้น เป้าล้ม พรบ.สปสช.

Posted: 11 Jan 2012 08:28 AM PST

 

เปิดแผนกลุ่มแพทย์เชิงพาณิชย์ ข้าราชการ นักการเมืองจับมือกลุ่มธุรกิจยาข้ามชาติวางแผนล้มระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แพทย์ชนบทเตือนจะพาระบบสาธารณสุขของไทยถอยหลัง  ประชาชนผู้ป่วยเดือดร้อน  ฝากรัฐบาลเพื่อไทยอย่าทำด้วยมือ ลบด้วยเท้า

นายแพทย์เกรียงศักดิ์  วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท เปิดเผยว่าเครือข่ายแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรพ.ชุมชนทั่วประเทศจะประชุมเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มผลประโยชน์ที่ต้องการล้มระบบบัตรทองและท่าทีของฝ่ายการเมือง  “ขอยืนยันว่าแผนล้มระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีจริง”  นายแพทย์เกรียงศักดิ์ เปิดเผยต่อว่าแผนนี้เกิดขึ้น เริ่มต้นจากผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุขส่วนหนึ่งที่รับไม่ได้กับบทบาทที่อำนาจที่หายไปจึงได้จับมือกับกลุ่มแพทย์พาณิชย์ที่เคยคัดค้านนโยบายบัตรทองของนายกทักษิณ  ชินวัตร  เปิดวอร์รูมขึ้นที่ห้องผู้บริหารของกระทรวงท่านหนึ่ง  เมื่อสามปีที่แล้วและขยายเอาฝ่ายการเมืองและบริษัทยาข้ามชาติเข้ามาร่วมด้วย โดยมี 4 ขั้นตอน ในการล้มระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดังนี้

ขั้นตอนที่หนึ่ง ฝ่ายการเมืองเปิดทางให้กลุ่มแพทย์ที่ไม่เห็นด้วยกับระบบหลักประกันสุขภาพรวมทั้งนายทุนพรรคเพื่อไทยเข้ายึดครองบอร์ด สปสช. เพื่อจัดคนของตัวเองเข้าสู่อนุกรรมการการเงินการคลังและอนุกรรมการชุดต่างๆ  รวมทั้งปรับนโยบายหลักประกันสุขภาพที่เดิมยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางเปลี่ยนเป็นยึดหน่วยบริการเป็นหลัก

ขั้นตอนที่สอง เปลี่ยนเลขาธิการ สปสช.เอาตัวแทนของฝ่ายการเมืองเป็นแทน  เพื่อยึดครองสปสช.และลดบทบาทการปฏิรูปและตรวจสอบระบบบริการ

ขั้นตอนที่สาม ของบประมาณเหมาจ่ายรายหัวเพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกับที่ประกันสังคมเพิ่มครั้งใหญ่และที่สวัสดิการข้าราชการได้รับเพื่อสร้างเงื่อนไขภาระงบประมาณให้รัฐบาล

ขั้นตอนที่สี่สร้างกระแสสังคมให้ยุบเลิกหรือแก้ไขสาระสำคัญของ พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พศ. 2545 เป็นการสิ้นสุดยุคปฏิรูประบบสุขภาพที่ นพ.สงวน นิตยารัมพงศ์ และนายกทักษิณ ชินวัตร ร่วมกับภาคประชาชน เริ่มต้นไว้เมื่อสิบปีที่ผ่านมา

แผนทั้งสี่ขั้นตอนนี้ได้เริ่มกันมาประมาณสามปีโดยมีกลุ่มแพทย์ที่ไม่ชอบบทบาทการตรวจสอบของภาคประชาชนเป็นหัวหอกเพราะระบบและพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นอุปสรรคกับการขายยาราคาแพงของบริษัทยาข้ามชาติ  กระทบต่อธุรกิจของ รพ.เอกชน ลดบทบาทอำนาจของกระทรวงสาธารณสุข  และทำให้ฝ่ายการเมืองเข้าล้วงลูกหาผลประโยชน์จากกองทุนหลักประกันสุขภาพได้ยาก  จึงต้องยกเลิกหรือแก้ไขสาระสำคัญของกฎหมาย

ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีการเคลื่อนไหวจะล้มระบบบัตรทองที่รัฐบาลนายกทักษิณ  ชินวัตร พรรคไทยรักไทยได้เริ่มต้นไว้โดยรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย จนเกิดกระแสต่อต้านจากสังคม  เกิดกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพขึ้นและการคัดค้านนี้จะขยายตัวออกไปเรื่อยๆ จึงขอเรียกร้องให้ท่านนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดูแลเรื่องนี้อย่างเร่งด่วนก่อนที่ระบบนี้จะล่มสลายเกิดเหตุการณ์เข้าทำนองทำด้วยมือลบด้วยเท้า

 “ชมรมแพทย์ชนบทเห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ และจะประชุมตัวแทนสมาชิก ทั่วประเทศเพื่อเคลื่อนไหวเรื่องนี้ในเร็วๆนี้” นายแพทย์เกรียงศักดิ์ กล่าว

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เกาะติดมติสมัชชาสุขภาพ จี้สภาพัฒน์รื้อแผนพัฒนาภาคใต้

Posted: 11 Jan 2012 08:24 AM PST

แผนภาคใต้ – แผนที่ระบุสถานที่ที่จะเกิดโครงการขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ภาคใต้ ภายใต้แผนพัฒนาภาคใต้  

ประเด็น “แผนพัฒนาภาคใต้” กลายเป็นประเด็นที่ภาคประชาชนในภาคใต้ ติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิดมานานหลายปีแล้ว กระทั่งผลักดันผ่านสมัชชาสุขภาพภาคใต้กลายเป็นมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 เมื่อปี 2552 ให้รัฐบาลทบทวนแผนพัฒนาภาคใต้ทั้งหมด เพื่อจัดทำแผนพัฒนาภาคใต้ภาคใต้ที่ยั่งยืน

ถึงแม้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะรับลูกส่งต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ แต่การดำเนินการผ่านบริษัทที่ปรึกษา และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลับไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชนภาคใต้

ด้วยเหตุนี้การประชุมสมัชชาสุขภาพภาคใต้ และงานวิชาการ “ไอดิน กลิ่นใต้” พ.ศ.2555 ระหว่างวันที่ 13–15 มกราคม 2555 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์ตรัง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง วาระสำคัญจึงอยู่ที่วาระการติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ โดยเฉพาะมติให้ทบทวนแผนพัฒนาภาคใต้

ความเป็นมา
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการที่มีหน้าที่หลักในการจัดทำแผนพัฒนาให้กับรัฐบาลทุกชุดตลอดมา ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีให้จัดทำร่าง “แผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน” (สิงหาคม 2551 โดยสำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนพัฒนาพื้นที่)

ต่อมา เป็นร่างแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน ในเดือนกันยายน 2552 บนแนวคิดที่ให้พื้นที่ภาคใต้รองรับ “การพัฒนาอุตสาหกรรมและการบริการ” ที่ล้นมาจากนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดจังหวัดระยอง โดยในหน้าที่ 1 ของร่างนี้ระบุว่า

“ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ศึกษาความเหมาะสมของการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ เพื่อเตรียมรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการที่มีศักยภาพของประเทศไทยในอนาคต เนื่องจากพื้นที่ฐานเศรษฐกิจปัจจุบัน ในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก เริ่มมีข้อจำกัดในการขยายตัวทั้งในเชิงพื้นที่และขีดความสามารถในการรองรับด้านสิ่งแวดล้อม ขณะที่พื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้จะเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญที่ควรได้รับการพัฒนาให้เป็นพื้นที่ฐานเศรษฐกิจใหม่ของประเทศในอนาคต”

ในขณะที่สถานการณ์ในพื้นที่ เจ้าของโครงการได้ทำงานมวลชนสัมพันธ์กับประชาชนในพื้นที่ หลายจังหวัดเพื่อตั้งโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และท่าเรือน้ำลึก ทั้งในโซนชายฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ทำให้ชุมชนมีความสงสัยเกิดความแตกแยก ระหว่างกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับโครงการ โดยที่ชุมชนไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารของโครงการพัฒนา ที่เชื่อมโยงกับร่างแผนพัฒนาภาคใต้ ที่จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ใต้) ร่วมกับโครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา (สจน.) เครือข่ายชุมชนที่ประเมินผลกระทบทางสุขภาพในประเด็นแผนพัฒนาภาคใต้ และสมาคมดับบ้านดับเมือง มีความเห็นร่วมกันว่า

“การจัดทำแผนการพัฒนาดังกล่าว เพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุนขนาดใหญ่ต่างชาติ ที่เน้นการใช้ทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นแหล่งปิโตรเลียม แหล่งน้ำจืด รวมทั้งแรงงานราคาถูก เพื่อการส่งออกเป็นหลัก ทั้งๆ ที่คนไทยยังมีปัญหาด้านคุณภาพชีวิต คุณภาพการศึกษา เป็นต้นแต่ประเด็นเหล่านี้ ก็ไม่ปรากฏอยู่ในร่างแผนแม่บทดังกล่าว”

กลุ่มเครือข่ายดังกล่าว จึงได้นำปัญหานี้เข้าปรึกษาหารือในที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 ซึ่งเป็นกระบวนการปรึกษาหารือตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็น “กระบวนการที่ให้ประชาชนและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และเรียนรู้อย่างสมานฉันท์ เพื่อนำไปสู่การเสนอแนะนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพหรือความมีสุขภาพของประชาชน โดยจัดให้มีการประชุมอย่างเป็นระบบและอย่างมีส่วนร่วม” โดย...

กังวลต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากแผนพัฒนาที่ผ่านมา ซึ่งไม่ได้ขึ้นรูปจากโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของภาคใต้ และไม่ได้พัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับผลผลิตที่มีอยู่ในภาคใต้ ทำให้มีแนวโน้มสร้างความขัดแย้งของสังคมมากขึ้น เนื่องจากผลของการพัฒนาภาคใต้ที่ผ่านมา รวมถึงทิศทางในอนาคตมีแนวโน้มการกระจายรายได้ไปสู่ประชาชนไม่ทั่วถึง ผลประโยชน์ตกอยู่เฉพาะบางกลุ่มบางพื้นที่ เกรงว่าผลกระทบของการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ จะเป็นแบบเดียวกับภาคตะวันออก

ห่วงใยว่า เหตุการณ์เหล่านี้จะก่อให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงต่อรากฐานทางวัฒนธรรม และฐานทรัพยากรของภาคใต้

เห็นว่า ทิศทางการพัฒนาภาคใต้ควรสอดคล้องกับวิถีชีวิตวัฒนธรรม และศักยภาพของพื้นที่ ซึ่งตั้งอยู่บนฐานของระบบนิเวศป่าฝนเขตร้อน ซึ่งเหมาะสมกับการทำการเกษตร ประมง การศึกษา และการท่องเที่ยวอันเป็นภูมิปัญญาที่คนใต้ได้สืบทอดต่อกันมา

รับทราบว่า ในขณะนี้มีประกาศคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบายสาธารณะ พ.ศ.2552 สมควรให้มีการเร่งรัดดำเนินการต่อไป

รับทราบว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2552 แต่งตั้งให้มีคณะกรรมการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมนิเวศ ซึ่งเป็นคณะกรรมการระดับประเทศ

ตระหนักว่า กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาที่ยั่งยืน บนฐานการพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจสังคมสิ่งแวดล้อมกรณีภาคใต้  ควรเป็นกระบวนการที่ให้ประชาชน และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาคใต้ได้ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และเรียนรู้อย่างสมานฉันท์นำไปสู่การเสนอแนะนโยบายสาธารณะ เพื่อการมีสุขภาวะที่ดีของประชาชน โดยจัดให้มีกระบวนการร่วมกำหนดแผนพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างเป็นระบบ และการมีส่วนร่วมจากทุกภาคี

ติดตามมติ
โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา (สจน.) ได้ประสานการจัดประชุมคณะทำงานวิชาการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เพื่อรวบรวมข้อมูลข้อเสนอทิศทางแผนพัฒนาภาคใต้อย่างยั่งยืนและการติดตามมติที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันดังนี้

1.ให้นำกรอบเอกสารหลักของมติสมัชชาสุขภาพประเด็นแผนพัฒนาที่ยั่งยืนภาคใต้ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2552 มาเป็นแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาที่ยั่งยืนภาคใต้ โดยมีข้อมูลศักยภาพพื้นที่ภาคใต้รองรับ

2.ให้นำเสนอต่อกรอบและทิศทางการทำแผนพัฒนาที่ยั่งยืนภาคใต้

เป้าหมาย
ชี้ศักยภาพพื้นที่ภาคใต้ทุกจังหวัด ทั้งในเชิงประเด็นและเชิงพื้นที่
ชี้ภัยคุกคาม ที่ทำให้ศักยภาพพื้นที่ของจังหวัดถูกทำลาย
ชี้ว่าโครงการพัฒนาจากรัฐและกลุ่มทุน ตอบโจทย์ความต้องการจากภายนอก ไม่ใช่ตอบสนองจากคนภายในภาคใต้

สื่อสารกับสังคมเพื่อหาฉันทามติ
ต่อมา มีการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการประมวลข้อมูลและเอกสารในวันที่ 26–28 พฤศจิกายน 2554 ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผลของการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการได้นำไปเขียนเป็นเอกสาร และใช้ในการขับเคลื่อนของเครือข่ายประชาชน เพื่อนำไปดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดอย่างยั่งยืน โดยมีฐานข้อมูลศักยภาพพื้นที่และวางแผนพัฒนาจังหวัดเชิงระบบและเชิงพื้นที่ โดยใช้ประเด็นในเอกสารรับฟังความคิดเห็นไปพร้อมกัน โดยที่ประชุมเห็นร่วมกันให้แต่ละจังหวัดนำไปจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดที่ยั่งยืน และร่วมทำแผนพัฒนาภาคใต้อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งมีทีมงานติดตามสถานการณ์ของโครงการพัฒนาต่างๆ

คณะทำงานวิชาการได้แลกเปลี่ยนกระบวนติดตามมติ โดยมีข้อเสนอดังนี้

สื่อสารกับสังคมเรื่องศักยภาพพื้นที่ภาคใต้ ที่เป็นจุดเด่นของการพัฒนาด้านการเกษตรและการแปรรูปการเกษตร การศึกษา และการท่องเที่ยว กำหนดเกณฑ์ตัวชี้วัดความสุขเป็นเกณฑ์ในการกำหนดแผนพัฒนาที่ยั่งยืน และหาฉันทามติในที่ประชุมสมัชชาสุขภาพภาคใต้ ประชาชนและชุมชนในพื้นที่ขับเคลื่อนนำเสนอศักยภาพพื้นที่ในชุมชนและจังหวัด เพื่อจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดอย่างยั่งยืน เช่น จังหวัดชุมพร จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล จังหวัดตรัง จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดปัตตานี เป็นต้น

ใช้วัฒนธรรมของคนใต้ในการปกป้องบ้านเกิด ผลักดันในกลไกของสมัชชาประชาชนต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนรณรงค์เผยแพร่ต่อสาธารณะ

มติสมัชชาสุขภาพแผนพัฒนาภาคใต้
มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 กรณีแผนพัฒนาที่ยั่งยืนภาคใต้ฯ ประกอบด้วย

ให้รัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรี พิจารณามอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทบทวนร่างแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืนและแผนพัฒนาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นแผนบูรณาการ มีหลักการสำคัญ ดังนี้

ให้เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต และพัฒนาการศึกษาที่สร้างคนให้มีคุณภาพสู่สมดุลทางด้านสุขภาวะ

ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรม ที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ตามความต้องการและความจำเป็นของท้องถิ่น โดยเป็นอุตสาหกรรมที่คำนึงถึงการรักษาฐานทรัพยากร ไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตและสุขภาพชุมชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต วัฒนธรรมท้องถิ่น และการกระจายรายได้ควบคู่ไปกับการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ

ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ป่าสมุนไพร พื้นที่ชุ่มน้ำ การส่งเสริมการเกษตรยั่งยืน และการพัฒนาระบบเศรษฐกิจพอเพียง

ให้ความสำคัญกับฐานความรู้ภูมินิเวศ เคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนได้เสนอความต้องการและมีส่วนร่วมในการกำหนดประเด็นในการพัฒนา

ทั้งนี้ขอให้รัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรีมีมติให้การดำเนินโครงการพัฒนาของภาครัฐและเอกชน คำนึงถึง ผลกระทบอย่างรอบด้าน และสร้างกลไกเพื่อพิจารณาข้อเสนอที่จะชะลอแผนงานและโครงการที่สร้างความขัดแย้ง และ/หรือมีผลกระทบต่อสังคมและชุมชน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อเปิดโอกาสในการสร้างฉันทามติร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย

ในการดำเนินการขอให้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประสานคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคชุมชน ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบจากการพัฒนา ตั้งคณะกรรมการทบทวนร่างแผนแม่บทพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ด้วยการใช้เครื่องมือที่หลากหลาย มุ่งเน้นสนับสนุนการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย และคำนึงถึงผลกระทบอย่างรอบด้าน

ขอให้คณะกรรมการทบทวนร่างแผนแม่บทพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน ผลักดันให้แผนฯได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจัง ทั้งในระดับภาคและระดับท้องถิ่น มีกลไกการติดตามกำกับประเมินผล และเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนทราบ

ขอให้รัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรี ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้ และภาคอื่นๆ อย่างยั่งยืน เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

วันที่ 20 กรกฎาคม 2553 รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามมติดังกล่าว    โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ  

ผลการติดตามมติ
วันที่ 15 กันยายน 2553 โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศ ผู้ประสานงานเฉพาะประเด็นแผนพัฒนาที่ยั่งยืนภาคใต้ ได้ส่งเรื่องไปยังเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้มีการติดตามและดำเนินการตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 มีข้อเสนอเชิงปฏิบัติคือให้ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคณะทำงานเฉพาะประเด็นแผนพัฒนาที่ยั่งยืนภาคใต้ มีศาสตราจารย์ดอกเตอร์สุรชัย หวันแก้ว เป็นประธาน เพื่อวางแผนกระบวนการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพต่อไป

วันที่ 26 กันยายน 2553 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้ส่งเรื่องไปยังประธานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กรณีแผนพัฒนาที่ยั่งยืนภาคใต้ เพื่อต้องการให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามมติคณะรัฐมนตรี

วันที่ 17 ธันวาคม 2553 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แถลงไว้ในเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2553 ณ ที่ห้องประชุมสำนักงานสหประชาชาติไว้ว่า

“รัฐบาลได้เรียนรู้จากบทเรียนครั้งนี้แล้ว เรียนรู้ว่าการพัฒนาจากนี้ไป เราจะต้องใช้ความระมัดระวังตั้งแต่ต้น และจึงเป็นเหตุผลให้รัฐบาลได้ตัดสินใจในขณะนี้ว่า การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ รวมไปถึงพื้นที่ซึ่งเคยมีการมองว่า จะมีการสนับสนุนให้มีการเกิดอุตสาหกรรมหนัก หรืออุตสาหกรรมที่มีมลพิษมากนั้น รัฐบาลได้ตัดสินใจอย่างชัดเจนว่า จะไม่มีการดำเนินการอย่างนั้น หลังจากที่ได้ใช้กระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่และในชุมชนต่างๆ”

วันที่ 26 มีนาคม 2554 สมัชชาปฏิรูปประเทศไทยระดับชาติ ครั้งที่ 1 พ.ศ.2554 มีมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ มติ 2  ประเด็น “การปฏิรูปโครงสร้างการจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง” ในข้อ 2 ดังนี้

“ขอให้คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปเสนอให้คณะรัฐมนตรี มีมติยกเลิกแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลทุกภาค หรือโครงการพิเศษใดๆ ที่กำหนดไว้  และที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน  และขอให้เร่งรัดการดำเนินการตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ.2552 เรื่องแผนพัฒนาที่ยั่งยืนบนฐานการพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมกรณีภาคใต้ รวมทั้งจัดให้มีกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลทั่วทุกภาคของประเทศไทยขึ้นใหม่ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ผู้มีส่วนได้เสียประชาชนในพื้นที่ทุกเพศทุกวัยทุกเศรษฐฐานะ และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน มีการศึกษาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคม”

วันที่ 15 สิงหาคม 2554 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้ประสานงานการประชุมเพื่อตั้งกลไกติดตาม ผลสรุปการประชุม ประกอบด้วย...

หนึ่ง ศึกษาความเป็นไปได้ในการฟ้องศาลปกครอง กรณีที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไม่ปฏิบัติตามมติ

สอง จัดเวทีสาธารณะสร้างความเข้าใจร่วมกัน ระดมความคิดเห็นต่อการทำแผนพัฒนาจังหวัด กลไกของการขับเคลื่อนในจังหวัดกระจายในพื้นที่/จังหวัด ประสานงานร่วมกันหลายเครือข่าย ได้แก่ เครือข่ายสภาพัฒนาการเมืองภาคใต้ สภาองค์กรชุมชนภาคใต้ เครือข่ายสุขภาพภาคใต้ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ และเครือข่ายประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาในการขับเคลื่อนร่วมกัน จัดทำเป็นเอกสารหลักระดับภาค เข้าสู่เวทีสมัชชาต่างๆ เวทีสาธารณะในภาคใต้ และระดับประเทศ โดยมีทีมคณะทำงานวิชาการ ทำข้อมูลพื้นที่ ตามข้อเสนอนโยบายรายจังหวัด

วันที่ 4 กันยายน 2554 สภาพัฒนาการเมืองภาคใต้ ได้จัดประชุมร่วมกันหลายฝ่าย มีผลสรุปดังนี้

1) การทำแผนพัฒนาภาคประชาชนในจังหวัด

2) เสนอรัฐบาลยิ่งลักษณ์ระยะสั้นในการหยุดโครงการพัฒนา

3) มีทีมงานวิชาการจัดทำฐานข้อมูลประกอบ  โดยมีกระบวนการจากทุกภาคีร่วมดำเนินการ

4) มีกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาภาคใต้ที่ยั่งยืนและ เสนอโครงสร้างการกระจายอำนาจจัดการตนเอง

5) นัดประชุมวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๓.๐๐ น. ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และร่วมประชุมกับสมัชชาฏิรูปประเทศไทยในวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๔ ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีผู้เข้าร่วมประชุม คือแกนหลักประสานงานของแต่ละเครือข่าย และนำผลการปรึกษาหารือในจังหวัดมานำเสนอในวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๔

วันที่ 22 กันยายน 2554 คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และคณะทำงานเฉพาะประเด็น ประชุมหารือแนวทางขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประเด็นแผนพัฒนาที่ยั่งยืนภาคใต้ฯ สรุปว่าให้ทางสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ทำหนังสือถึงประธานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ปฏิบัติตามมติ

วันที่ 2 ตุลาคม 2554 ที่ประชุมเห็นร่วมกันให้แต่ละจังหวัดนำไปจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดที่ยั่งยืน และร่วมทำแผนพัฒนาภาคใต้อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งมีทีมงานติดตามสถานการณ์ของโครงการพัฒนาต่างๆ

วันที่ 27–28 พฤศจิกายน 2554 ทีมงานคณะทำงานวิชาการร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำเอกสารข้อมูลศักยภาพพื้นที่ภาคใต้ ร่างข้อเสนอในการติดตามมติแผนพัฒนาที่ยั่งยืนภาคใต้ฯ และข้อเสนอในการสื่อสารกับสังคม และการขับเคลื่อนในทางสาธารณะ

ปัญหาและอุปสรรคการขับเคลื่อนมติ
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2553–ต้นปี 2554 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไม่ได้ดำเนินการตามมติดังกล่าว แต่ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา Consultant of Technology (COT) จัดทำโครงการศึกษาและจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ วงเงิน 4 ล้านบาท และได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำโครงการศึกษาเพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ ภายใต้โครงการศึกษาวางแผนพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ โดยเน้นที่โครงการสะพานเศรษฐกิจสงขลา–สตูล ในวงเงิน 5 ล้านบาท

ทั้งสองหน่วยงานได้ดำเนินการกระบวนการรับฟังความคิดเห็น โดยจัดเวทีระดับจังหวัดในภาคใต้ เมื่อต้นปี 2554 อ้างว่าปฏิบัติตามมติสมัชชาสุขภาพแล้ว ทั้งๆ ที่ในบางจังหวัดเครือข่ายประชาชนด้านสุขภาพที่ติดตามเรื่องนี้มาเป็นเวลานาน กลับถูกกีดกันไม่ให้เข้าร่วม จากการกระทำของสองหน่วยงานภายใต้การว่าจ้างของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษบกิจและสังคมแห่งชาติดังกล่าว ทำให้ประชาชนและชุมชนในพื้นที่ไม่เห็นด้วย และคัดค้านการจัดเวที เพราะไม่สอดคล้องกับมติสมัชชาฯ ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้ว

ข้อเสนอ
ให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาภาคใต้อีกชุด ประกอบด้วย ผู้แทนจากสถาบันการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สภาองค์กรชุมชน สภาพัฒนาการเมือง สมัชชาปฏิรูป เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ สมาคมสื่อสิ่งพิมพ์ ผู้แทนจากจังหวัด หอการค้า อุตสาหกรรมจังหวัด การท่องเที่ยว ผังเมือง

ให้คณะกรรมการชุดนี้ มีบทบาทหน้าที่ในการจัดทำแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาภาคใต้ ภายใต้บริบทและความสอดคล้องกับความต้องการของคนภาคใต้ และให้นำเสนอแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาภาคใต้ที่จัดทำขึ้นเสนอไปยังรัฐบาล คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาภาคใต้ ทั้งนี้เพื่อให้มีการทบทวน ปรับแผน และเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย แผน  และโครงการของกระทรวงต่างๆ ที่จะดำเนินการในภาคใต้ให้สอดคล้องกับความต้องการของคนใต้ และมีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนากลไกการชะลอแผนงาน และโครงการที่อาจสร้างความขัดแย้ง และ/หรือมีผลกระทบต่อสังคมและชุมชนทั้งปัจจุบันและอนาคต

แผนแม่บทเพื่อการพัฒนาภาคใต้ มีหลักการสำคัญ เพื่อ “ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ร่วมสร้างสุขภาวะที่เป็นสุข” และมีหลักการสำคัญ 5 ข้อ ตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 ทั้งนี้จะต้องมีตัวชี้วัดของการพัฒนาที่ยั่งยืนที่สอดคล้องกับข้อเสนอของสหประชาชาติ ดังต่อไปนี้

1.มีการพัฒนาระบบเศรษฐกิจสีเขียว ที่มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

2.มีมาตรฐานการครองชีพที่ทุกครอบครัวมีรายได้พึ่งตนเอง และมีสภาพการดำรงชีวิตตามอัตภาพของแต่ละครอบครัวและชุมชนที่เป็นสุข

3.มีธรรมาภิบาลในการปกครองตนเอง ในระดับตำบล จังหวัด ภาค และระดับประเทศ

4.มีระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์

5.มีการเคารพวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์และความแตกต่างในทางเชื้อชาติและศาสนา

6.มีระบบการศึกษาที่พัฒนาคนให้รู้เท่าทัน คิดเป็น และปฏิบัติการเป็น โดยตระหนักถึงความรู้ของชุมชนและสังคมไทย พร้อมทั้งพัฒนาความรู้ที่นำไปสู่การพัฒนาสุขภาวะที่ดีในทุกระดับ

7.มีการใช้เวลาอย่างมีคุณค่าและสมดุลกับการใช้ชีวิตครอบครัวและชุมชน ในสิ่งแวดล้อมที่ดี

8.มีความเข้มแข็งของชุมชนที่พึ่งตนเองได้ โดยรู้คุณค่าและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัด และหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่

9.มีระบบสาธารณสุขที่พึ่งตนเองได้จากดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านและมีระบบของรัฐที่รองรับได้อย่างเพียงพอ 

กลไกชะลอแผนงานและโครงการ
กลไกการชะลอแผนงานและโครงการที่อาจสร้างความขัดแย้ง และ/หรือมีผลกระทบต่อสังคมและชุมชนทั้งปัจจุบันและอนาคต เป็นกลไกที่สอดคล้องกับหลักการต่อไปนี้

1.อยู่บนหลักการและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ตามหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ส่วนที่ 12 สิทธิชุมชน หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ 10 แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น

2.เป็นไปตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มาตรา 11 บุคคลหรือคณะบุคคลมีสิทธิร้องขอให้มีการประเมินและมีสิทธิร่วมในกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะ บุคคลหรือคณะบุคคลมีสิทธิได้รับรู้ข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐ ก่อนการอนุญาตหรือดำเนินโครงการ หรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของตน หรือชุมชน และแสดงความคิดเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว

3.ให้ใช้หลักเกณฑ์การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Health Impact Assessment/HIA) และเครื่องมืออื่นๆ ในการประเมินผลกระทบ ตลอดจนกระบวนการรวมพลังทุกภาคส่วน และการดำเนินการตามระบบยุติธรรม เป็นกลไกการชะลอแผนงาน และโครงการที่อาจสร้างความขัดแย้ง และ/หรือมีผลกระทบต่อสังคมและชุมชนทั้งปัจจุบันและอนาคต

ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับติดตามการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติแผนพัฒนาที่ยั่งยืนบนฐานการพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม กรณีภาคใต้ โดยสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานเพื่อกำกับ ติดตาม และการรายงานผลการดำเนินการตามมติ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

วุฒิสภาพลิกกฎหมายไทยพลัดถิ่น เพิ่มเนื้อหาคว่ำ ร่างพ.ร.บ.สัญชาติ

Posted: 11 Jan 2012 08:14 AM PST

ชี้คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ แปรญัตติเพิ่มเติม ส่งผลให้มีการกำหนดเงื่อนไขของกลุ่มบุคคลที่จะได้สัญชาติไทยไว้ 3 ประการ โดยใช้ทะเบียนราษฎรเป็นเครื่องมือ 

นายภควิน แสงคง ที่ปรึกษาเครือข่ายการแก้ปัญหาคืนสัญชาติคนไทยจังหวัดระนองและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แกนนำเครือข่ายไทยพลัดถิ่น เปิดเผยว่า ทางเครือข่ายไทยพลัดถิ่น มีความจำเป็นต้องเคลื่อนไหว  ติดตามร่างพระราชบัญญัติ สัญชาติ (ฉบับที่…) พุทธศักราช ….. ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2555 เป็นต้นไป โดยวันที่ 14 มกราคม 2555 จะจัดเวทีวิชาการเพื่อเรียนรู้ร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่) พุทธศักราช …. ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่…) พุทธศักราช ….วุฒิสภา  ก่อนนำเข้าพิจารณาวาระที่ 2 และ 3 ต่อไป

นายภควิน เปิดเผยว่า สาเหตุที่ต้องออกมาเคลื่อนไหวในช่วงนี้ เนื่องจากเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2555 ทางคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้แปรญัตติเพิ่มเติมมาตรา 7/1 มีเนื้อหาว่า “มาตรา 7/1 การสำรวจจัดทำทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ตามบทนิยามคำว่า “ไทยพลัดถิ่น” ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฉบับนี้ หมายถึง การสำรวจจัดทำทะเบียนของคนไทยพลัดถิ่นซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จโดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ”

นายภควิน กล่าวว่า ข้อความข้างต้น ส่งผลให้มีการกำหนดเงื่อนไขของกลุ่มบุคคลที่จะได้สัญชาติไทยไว้ 3 ประการ โดยใช้ทะเบียนราษฎรเป็นเครื่องมือกล่าวคือ 1.ต้องเป็นผู้ที่จัดทำทะเบียนคนไทยพลัดถิ่น 2.ต้องเป็นผู้ที่มีทะเบียนแล้ว 3.ต้องเป็นผู้ที่จัดทำทะเบียนก่อนวันที่กฎหมายฉบับนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่...) พุทธศักราช …… จะนำเข้าพิจารณาวาระที่ 2 และวาระที่ 3 ต่อที่ประชุมวุฒิสภา ในวันที่ 16 มกราคม 2555 นี้

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อำนาจทางการเมืองของพระราชดำรัส และความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของกษัตริย์

Posted: 11 Jan 2012 08:03 AM PST

“ประเพณีการปกครองที่ไม่ดี” และขัดกับหลักการประชาธิปไตย

ประเพณีทางการเมืองหนึ่งของไทยซึ่งปฏิบัติมาหลายสิบปีทั้งที่ขัดกับหลักการ The King can do no wrong ก็คือ การที่ยินยอมให้พระมหากษัตริย์มีพระราชดำรัสได้โดยไม่มีรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ 

               องค์พระมหากษัตริย์ไม่พึงตรัสสิ่งใดอันเป็นปัญหา หรือเรื่องราวที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ การเมือง หรือทางสังคมของประเทศ โดยไม่มีรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

                                              ศ.ดร.หยุด แสงอุทัย
                                              “อำนาจและความรับผิดชอบในระบอบประชาธิปไตย”
                                              อ่านออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2499

หลักการของระบอบประชาธิปไตยคือ จะต้องไม่ให้ใครมีอำนาจโดยปราศจากความรับผิดชอบ ในระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์นั้น ตำแหน่งประมุขของรัฐซึ่งก็คือกษัตริย์ ไม่ได้เป็นตำแหน่งที่มีอำนาจทางการเมือง การกระทำการต่าง ๆ จึงต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการทุกครั้ง และผู้รับสนองฯ นั้นจะเป็นผู้ “รับผิดชอบ” กล่าวง่าย ๆ ว่า กษัตริย์เพียงแต่กระทำและใช้อำนาจทางการเมืองไป “ในนาม” เท่านั้น ไม่สามารถจะกระทำไปโดยเจตนารมย์ของตนเอง รัฐธรรมนูญมาตรา 8 ก็ได้ระบุไว้ว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้  ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้  ซึ่งย่อมหมายความไปในตัวว่า ไม่สามารถกระทำการใด ๆ โดยขาดคนรับผิดชอบแทนได้ เพราะอยู่ในสถานะที่ไม่สามารถจะรับผิดชอบโดยพระองค์เอง 

แม้ว่าการพูดนั้นจะดูไม่เหมือนว่าจะเป็นการใช้อำนาจ แต่ด้วยฐานะของกษัตริย์ที่ระบุไว้ในมาตรา 8 ดังกล่าว  ก็ทำให้ต้องตีความไปโดยปริยายตามหลักประชาธิปไตย และหลัก  The King can do no wrong ว่า การมีพระราชดำรัสในทางสาธารณะนั้นไม่พึงกระทำ เพราะเป็นสิ่งที่ผิดหลักการ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เคยตรัสเอาไว้ด้วยพระองค์เองในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2502 เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2503 ในเอกสารตามภาพนี้:

 

“โอวาทนี้นับว่าเป็นประเพณีเหมือนกัน แต่วันนี้ ขอยกตัวอย่างประเพณีที่ดีและไม่ดีตามประเพณีการปกครองประเทศ โอวาทของพระมหากษัตริย์หรือพระราชดำรัสต้องเขียนเพื่อให้รัฐมนตรีรับสนอง แต่เดี๋ยวนี้ก็กำลังพูดไม่ใช่อ่าน เพราะว่าได้ทำตามประเพณีอันหนึ่งของคนไทยไม่สู้ดี คือ ทำเกินประเพณีฝรั่ง โอวาทนี้เพิ่งเตรียมเมื่อบ่าย ๒ โมงนี้เท่านั้น”

อำนาจทางการเมืองของพระราชดำรัส
การพูดของผู้มีอำนาจนั้น ย่อมถือเป็นการกระทำทางการเมือง และอาจเป็นการกระทำทางการเมืองที่ส่งผลอย่างใหญ่หลวงได้ ดังที่ปรากฏเป็นข่าวโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์โดยทั่วไป เมื่อมีความขัดแย้งทางการเมืองผู้สื่อข่าวก็จะไปสอบถาม ไปสัมภาษณ์ ไปขอความเห็นของผู้มีอำนาจหน้าที่ ปรากฏการณ์ที่เห็นกันเป็นประจำก็เช่น การสัมภาษณ์นายกรัฐมนตรี, ผู้บัญชาการทหารบก หรือ ผู้นำฝ่ายค้าน  และคำพูดของบุคคลเหล่านี้ก็มักจะปรากฏเป็นข่าวพาดหัวกันจนชินตา เมื่อบุคคลผู้มีตำแหน่งเหล่านี้กล่าวอะไรก็มักจะเป็นข่าวได้โดยง่าย ยิ่งเป็นการกล่าวท่ามกลางความขัดแย้งที่แหลมคม คำพูดดังกล่าวก็ยิ่งอ่อนไหว และง่ายต่อการส่งผลสะเทือนทางการเมือง 

การพูดจึงแยกไม่ออกจากการกระทำทางการเมือง ดังนั้นการพูดของบุคคลสำคัญอย่างเช่นประมุขของประเทศที่เป็นกษัตริย์นี้ จึงเป็นการกระทำทางการเมืองที่มีความสำคัญอย่างสูง และอาจส่งผลกระทบอย่างมาก ไม่สามารถกระทำไปโดยขาดจากหลักของการรับผิดชอบได้ ดังที่กล่าวไปแล้วว่า กษัตริย์อยู่ในฐานะที่ไม่สามารถจะรับผิดชอบได้ เนื่องจาก “ล่วงมะเมิดมิได้ และฟ้องร้องในทางใด ๆ มิได้” ดังนั้น ทุกคำพูดของกษัตริย์จึงจำเป็นต้องมีผู้รับผิดชอบ หรือผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งจะต้องเป็นรัฐมนตรี หรือรัฐสภา ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับประชาชน และอยู่ในระบบตรวจสอบถ่วงดุลทางการเมือง หากคำพูดใดส่งผลเสียหาย ผู้รับสนองย่อมจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ไม่ใช่พระมหากษัตริย์

โดยหลักการแล้ว ผู้ที่ไม่สามารถรับผิดชอบจะต้องไม่สามารถมีอำนาจ (พูด) โดยเฉพาะในช่วงเวลาวิกฤตการณ์ที่แหลมคม ซึ่งการพูดใด ๆ ของผู้มีอำนาจก็อาจส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวง ก็ยิ่งต้องให้คนที่มีความรับผิดชอบเท่านั้นจึงจะพูดได้ แต่ประเพณีการปกครองไทยกลับประพฤติปฏิบัติตรงกันข้าม ยินยอมให้พระมหากษัตริย์แสดงพระราชดำรัสโดยไม่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการมาจนกลายเป็นสิ่งธรรมดา และที่น่าประหลาดยิ่งคือ ในสถานการณ์ที่แหลมคม อ่อนไหว และเป็นวิกฤต ก็กลับยิ่งคาดหวังต่อพระราชดำรัสของพระมหากษัตริย์สูงขึ้นกว่าปรกติ ซึ่งโดยสถานภาพตามตำแหน่งแล้ว ไม่ทรงสามารถจะรับผิดชอบโดยพระองค์เองได้เลย

ตัวอย่างของพระราชดำรัสซึ่งส่งผลกระทบต่อการเมืองอย่างสูงในช่วงวิกฤตที่ผ่านมาก็คือ พระราชดำรัสเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 ในวโรกาสที่นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด นำตุลาการศาลปกครองสูงสุดเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณ,  พระราชดำรัสเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2550  ในวโรกาสที่นายอักราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด พร้อมคณะตุลาการศาลปกครองและข้าราชการฝ่ายปกครอง จำนวน 20 คน เข้าเฝ้าฯ พระราชดำรัสทั้งสองครั้ง ล้วนเป็นพระราชดำรัสที่มีใจความสำคัญทั้งสิ้น และเกิดขึ้นในช่วงที่เหตุการณ์ทางการเมืองมีความแหลมคมอย่างสูง ใจความของพระราชดำรัส เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ตามลำดับเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์ตุลาการภิวัฒน์ หรือคดียุบพรรคการเมือง ก็ล้วนมีความแหลมคมอย่างสูง

มีความจำเป็นที่จะต้องมองสถานะและบทบาทของสถาบันกษัตริย์ให้สอดคล้องกับหลักการของระบอบประชาธิปไตย และหลัก The King can do no wrong  และประเพณีการปกครองที่ผิดหลักการก็ควรพิจารณายกเลิก  หรือมิเช่นนั้น หากยังคงสมัครใจยินยอมให้พระมหากษัตริย์มีพระราชดำรัสได้โดยไม่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ก็มีความจำเป็นต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญมาตรา 8 เสีย  เพราะในเมื่อต้องการให้มีพระราชอำนาจในการแสดงพระราชดำรัสโดยไม่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ก็จำเป็นต้องที่จะต้องยกเลิกสถานะอันล่วงละเมิดมิได้ และฟ้องร้องกล่าวโทษในทางใด ๆ มิได้เสีย เพื่อให้เกิดความสมดุลตามหลักความรับผิดชอบในระบอบประชาธิปไตย

พระมหากษัตริย์ กับ ประชาชน เป็นพร้อมกันไม่ได้
หรืออย่างที่ นายคมสัน โพธิ์คง อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ก็ให้ความเห็นกรณีที่กลุ่มนิติราษฎร์ออกมาเคลื่อนไหวว่า ไม่ได้มีเป้าหมายว่าจะแก้มาตรา 112 เพียงอย่างเดียว แต่เป้าหมายหลักของคนกลุ่มนี้คือ เพื่อล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือลิดรอนอำนาจมากกว่า ตนอยากบอกว่า ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกก็จริง แต่จากการแถลงการณ์ของกลุ่มนิติราษฎร์ จะพูดถึงแต่คำว่าทำเพื่อระบอบประชาธิปไตย แต่ไม่เคยเอ่ยคำว่าระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นั่นก็คือการแสดงออกชัดเจนอย่างหนึ่งว่า ทุกวันนี้ต้องการล้มล้างกษัตริย์ แต่ไม่กล้าเปิดตัวพูดออกมาตรงๆ

“นายปิยบุตรพูดแบบนี้เหมือนเด็กเมื่อวานซืนที่ไม่รู้จักสังคมไทยหรือเปล่า เพราะแม้ประเทศไทยจะมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่พระองค์ท่านก็ไม่เคยประพฤติอะไรที่นายปิยบุตร กล่าวมา แล้วที่ชี้นำในหัวข้อว่าไม่ควรอนุญาตให้กษัตริย์มีพระราชดำรัสต่อสาธารณะนั้น ถือว่าเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของกษัตริย์ให้ยิ่งกว่านักโทษซะอีก เรียกว่านิติราษฎร์เผด็จการแล้ว ถ้ามีคนออกมาบอกให้นิติราษฎร์หุบปากมั่งล่ะ นายปิยบุตรพูดอย่างนี้พูดจาล่องลอยไม่มีกฎหมายรับรอง กล่าวเท็จ”
                                 บางส่วนจากข่าวผู้จัดการออนไลน์วันที่ 7 มกราคม
                                http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000002298

ความเห็นข้างต้นของนายคมสัน โพธิ์คงที่ผมขีดเส้นใต้ไว้ เป็นความเห็นของนักการเมืองที่เคยชินกับประเพณีการปกครองที่ “ไม่สู้ดี” เกี่ยวกับพระราชดำรัส นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงการขาดความรู้ความเข้าใจทั้งในหลักกฎหมาย หลักปรัชญาการเมือง และประวัติศาสตร์การเมือง มากไปกว่านั้นยังกล่าวคำโป้ปดมดเท็จ ใส่ความโดยขาดดุลยพินิจ สะท้อนให้เห็นมาตรฐานความเป็นนักการเมืองที่ด้อยคุณภาพอย่างน่าอเนจอนาถใจ

เมื่อกล่าวถึงระบอบการปกครองของประเทศไทย คณะนิติราษฎร์จะกล่าวคำว่า “ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ” เสมอ ดังนั้นข้อกล่าวหาของนายคมสันที่กล่าวหาคณะนิติราษฎร์ว่า “ต้องการล้มล้างกษัตริย์” โดยอ้างว่า “นิติราษฎร์ไม่เคยเอ่ยคำว่าระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” นอกจากเป็นการพูดเท็จ และใส่ความเลื่อนลอยแล้ว ยังเป็นการใช้เหตุผลที่บกพร่องวิปริตไปจากหลักเหตุและผลโดยทั่วไป คำว่า “ระบอบประชาธิปไตย” เป็นคำที่ใช้กันทั่ว ไม่เพียงแต่ในวงวิชาการ แต่คนทั่วไปก็ใช้ การเอ่ยคำว่าระบอบประชาธิปไตยโดยไม่มีคำว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ก็เป็นเรื่องปรกติทั่วไป ไม่มีเหตุอะไรให้เชื่อมโยงไปว่าต้องเป็นการล้มล้างกษัตริย์แต่อย่างใด หากนำบันทึกเทปโทรทัศน์ของรายการต่าง ๆ หรือหนังสือวิชาการหรือแม้แต่บทความหนังสือพิมพ์มาสำรวจดู ก็จะเห็นว่าการพูดคำว่า “ระบอบประชาธิปไตย” เป็นเรื่องปรกติโดยแท้

ด้วยความรู้ความเข้าใจและวุฒิภาวะที่นายคมสันแสดงในประโยคก่อนหน้า จึงไม่น่าประหลาดใจแต่อย่างใดที่นายคมสันจะแสดงการด้อยความรู้ความเข้าใจในประโยคต่อมา

โดยหลักการแล้ว พระมหากษัตริย์นั้นเป็น “ประมุข” ของรัฐ ส่วนประชาชนนั้นเป็น “พลเมือง” ของรัฐ  ประมุขไม่สามารถเป็นพลเมืองได้ และพลเมืองก็ไม่สามารถเป็นประมุขได้ ต้องเป็นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เนื่องจากการเป็นพระมหากษัตริย์นั้นเป็นตลอด 24 ชั่วโมง ไม่สามารถที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ไป 10 ชั่วโมง ออกจากการเป็นพระมหากษัตริย์มาเป็นประชาชนเสีย 4 ชั่วโมง แล้วกลับเป็นพระมหากษัตริย์ต่ออีก 10 ชั่วโมง การทำเช่นนี้ทำไม่ได้ เพราะมาตรา 8 ระบุไว้ชัดเจนว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้  ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้   ดังนั้น ความเป็นพระมหากษัตริย์จึงต้องเป็นสถานะที่สืบเนื่อง ไม่สามารถขาดช่วงได้ เพราะมิเช่นนั้น หากช่วงใดพระมหากษัตริย์ออกจากความเป็นกษัตริย์ชั่วคราวมาเป็นประชาชนและเกิดมีผู้ไปล่วงละเมิดในขณะที่เป็นประชาชน ก็ต้องไม่ถือว่าเป็นความผิดต่อกษัตริย์ รัฐธรรมนูญมาตรา 8 ก็จะต้องเป็นโมฆะทันที

การเป็นกษัตริย์และเป็นพลเมืองนั้นเป็นสิ่งที่เป็นพร้อม ๆ กันไม่ได้ในระบบกฎหมาย เพราะในสายตาของกฎหมายจะต้องมองไปที่สถานะใดสถานะหนึ่ง เพียงสถานะเดียวเท่านั้น ไม่สามารถที่จะมองให้เป็นกษัตริย์ไปพร้อม ๆ กับเป็นประชาชนได้ ในรัฐธรรมนูญก็ได้ระบุคุณลักษณะของสิทธิและเสรีภาพของกษัตริย์อยู่แล้วในหมวดกษัตริย์ และประมวลกฎหมายอาญาก็ระบุการคุ้มครองกษัตริย์อยู่แล้วในหมวดความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ก็ต้องดูที่สถานะกษัตริย์เป็นหลัก ไม่ใช่สถานะประชาชน ดังนั้น การที่นายคมสันยก สิทธิ เสรีภาพ ของกษัตริย์ มาอ้าง จึงใช้ไม่ได้ เพราะสิทธิ เสรีภาพเป็นเรื่องของพลเมือง เป็นเรื่องของประชาชน ส่วนประมุขก็มีบทบัญญัติในส่วนของประมุข เพราะหากนำมาปะปนกันเช่นที่นายคมสันทำนี้ กฎหมายก็ไม่จะไม่สามารถแยกแยะได้ว่าบุคคลใดอยู่ในสถานะใด ก็ปนกันมั่วไปเสียหมด

ดังนั้น กษัตริย์ หรือ ประมุข จึงไม่มีสิทธิ เสรีภาพ ไม่สามารถอ้างสิทธิ เสรีภาพในฐานะประชาชนได้ หนทางเดียวที่จะได้สิทธิ เสรีภาพของประชาชนคือ สละฐานะประมุขเท่านั้น พระมหากษัตริย์จะได้สถานะสามัญชน ประชาชน ก็โดยการสละราชบัลลังก์เท่านั้น เพราะการเป็นกษัตริย์นั้นเป็นตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีอายุราชการ

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อธิบดีราชทัณฑ์คาดสัปดาห์หน้าย้าย ‘นักโทษการเมือง’ มาเรือนจำใหม่

Posted: 11 Jan 2012 07:53 AM PST

อธิบดีคาดสัปดาห์หน้าได้ย้าย นปช.เผยได้ข่าวผู้ต้องขังคดีเด็ดขาดและคดีหมิ่นฯ อาจจะยังไม่ได้ย้าย พยายาทำความเข้าใจภาครัฐ ด้านญาติผู้ต้องขังจังหวัดเชียงใหม่แห้วไม่ได้พบผู้ต้องขัง ย้ายด่วนลงกทม. มึนไม่รู้จะเดินทางไปเยี่ยมอย่างไร

 11 ม.ค.55 พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าในการย้ายผู้ต้องขังมายังเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ (เรือนจำโรงเรียนพลตำรวจบางเขน) ว่า ขณะนี้คณะกรรมการพิจารณาเรื่องนี้ ซึ่งมี นายกอบเกียรติ กสิวิวัฒน์  รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์เป็นประธานได้กำหนดหลักเกณฑ์และส่งให้เรือนจำทั่วประเทศแล้ว เพื่อให้ส่งรายชื่อกลับมาให้คณะกรรมการพิจารณาอีกครั้ง คาดว่าจะดำเนินการย้ายผู้ต้องขังได้ภายในสัปดาห์หน้า

สำหรับการประชุมคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์และคัดเลือกผู้ต้องขังที่เข้าข่ายเป็นนักโทษการเมืองเพื่อส่งไปแยกขังที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่นั้น มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

1. เป็นผู้ต้องขังกระทำความผิดในคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการ เมือง ซึ่งคดีอยู่ระหว่างการไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณา หรืออยู่ระหว่างอุทธรณ์ฎีกา ที่ได้กระทำความผิดตั้งแต่ก่อนและหลังการก่อรัฐประหารวันที่ 19 ก.ย.49 เช่น ช่วงเหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประกาศสงคราม ครั้งสุดท้ายต่อเนื่องถึงการบุกยึดสนามบินคดีความผิดระหว่างวันที่ 25 พ.ค.51 ถึงวันที่ 2 ธ.ค.51 เหตุการณ์กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล  ต่อเนื่องถึงกลุ่มคนรักเชียงใหม่ก่อความวุ่นวายคดีความผิดระหว่างวันที่ 26 มี.ค.52 ถึงวันที่ 22 ธ.ค.52 เหตุการณ์ นปช.ชุมนุมทางการเมือง ต่อเนื่องถึงปิดแยกราชประสงค์และวางเพลิงสถานที่ราชการ คดีความผิดระหว่างวันที่ 21 ม.ค.53 ถึงวันที่ 21 พ.ค.53

2. เป็นการกระทำความผิดในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายที่มีโทษทางอาญาอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับข้อ 1. ได้แก่ ความผิดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา เช่น ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย ความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ความผิดเกี่ยวกับการวางเพลิงเผาทรัพย์ ความผิดเกี่ยวกับการกระทำต่ออาวุธยุทธภัณฑ์ของทางราชการ และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ในส่วนของผู้ต้องขังที่ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนนั้น กรมราชทัณฑ์จะต้องพิจารณาโดยมีหลักฐานจากฝ่ายต่าง ๆ อย่างรอบคอบ

ด้านนางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้พยายามรวบรวมตัวเลขผู้ต้องขังเสื้อแดงทั้งหมดไปให้คณะกรมการฯ แล้ว จากข้อมูลกรมคุ้มครองสิทธิ ซึ่งได้งบประมาณ 43 ล้านเพื่อประกันตัวผู้ต้องขังพบว่า มีผู้ต้องขังในเรือนจำทั่วประเทศ 57 ราย นอกเหนือจากนั้นส่วนใหญ่ได้รับการปล่อยตัวหลังถูกคุมขังครบเวลา หรือไม่ก็เป็นส่วนที่ได้รับการประกันตัว อย่างไรก็ตาม ทราบมาว่าผู้ที่จะได้รับคัดเลือกให้ย้ายไปสถานที่คุมขังแห่งใหม่นั้นมีไม่ถึงจำนวนดังกล่าว เนื่องจากผู้ต้องขังคดีเด็ดขาดและผู้ต้องขังคดีมาตรา 112 จะยังไม่ได้โยกย้าย ซึ่งทาง นปช.พยายามอธิบายและผลักดันต่อไปว่าพวกเขาล้วนเป็นนักโทษทางการเมืองตามแนวทางของ คอป.ทั้งสิ้น

ธิดากล่าวอีกว่า ส่วนผู้ต้องขังที่อยู่ในต่างจังหวัดเท่าที่สอบถามมายังไม่มีใครที่ไม่สมัครใจในการย้ายที่คุมขัง ส่วนปัญหาที่ญาติอาจเดินทางมาเยี่ยมลำบากนั้น ทางเครือข่าย นปช.ในต่างประเทศได้รับปากจะช่วยเหลือค่าเดินทางสำหรับญาติในต่างจังหวัดเดือนละครั้งเพื่อเดินทางมาเยี่ยมผู้ต้องขังที่กรุงเทพฯ

 

ญาติผู้ต้องขังเชียงใหม่งง ย้ายลง กทม.ด่วน

ด้านกลุ่มครอบครัวผู้ต้องขังเสื้อแดง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งประกอบด้วยแม่ เมีย ลูก และเพื่อนๆ ได้นัดกันเข้าเยี่ยมผู้ต้องขัง ซึ่งเป็นคดีอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงปี 2551 ที่เรือนจำกลางจังหวัดเชียงใหม่  แต่กลุ่มญาติได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่เรือนจำว่า ผู้ต้องขังคดีเสื้อแดง คือ นายนพรัตน์ แสงเพชร  นายประยุทธ บุญวิจิตร  นายบุญรัตน์ ไชยมโน  นายสมศักดิ์ อ่อนไสว  และนายพยอม ดวงแก้ว  ได้ถูกย้ายตัวไปที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครแล้วตั้งแต่ช่วงเช้ามืดของวันนี้ (11 ม.ค.) โดยยังเหลืออยู่แต่เพียงนายแดง ปวนมูล ซึ่งเจ้าหน้าที่แจ้งเหตุที่ไม่ได้ถูกย้ายไปเนื่องจากคดีของนายแดงสิ้นสุดแล้ว 

 

 

"นางเล็กมาเยี่ยมสามีที่ถูกคุมขังโดยไม่รู้ว่าถูกย้ายไปกรุงเทพแล้วตั้งแต่เช้ามืด"

 

รายงานข่าวแจ้งว่า ญาติบางส่วนรู้สึกสับสนเนื่องจากไม่ทราบมาก่อนว่าผู้ต้องขังจะถูกย้ายไป โดยเฉพาะนางเล็ก เอื้องคำ อายุ 60 ปี ภรรยาของนายประยุทธ บุญวิจิตร ซึ่งประกอบอาชีพเก็บขยะขาย อาศัยอยู่คนเดียวในชุมชนหลังวัดโลก โมฬี ทั้งคู่มีอาการทางประสาท เมื่อถามว่ารู้สึกอย่างไร นางเล็กบอกว่า ตอบไม่ถูก ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไป แต่อยากจะไปเยี่ยมนายประยุทธ เพราะนายประยุทธไม่มีญาติทางอื่นอีก

เกศรา ไชยมโน บุตรสาวของนายบุญรัตน์ ไชยมโน ผู้ต้องขังอีกคนหนึ่งได้เตรียมอาหารสำหรับเข้าเยี่ยม แต่ไม่ทราบมาก่อนว่าจะมีการย้ายตัวผู้ต้องขัง เล่าว่า เคยรู้ข่าวมาบ้างและเคยคุยกับพ่อเรื่องนี้ พ่อบอกว่าไม่อยากไปเพราะไกลบ้านไกลญาติ หวังว่าจะได้รับการดูแลดีขึ้นทั้งในทางคดีที่อยู่ระหว่างฎีกาและในทางความเป็นอยู่ในเรือนจำ แต่ก็ยังไม่แน่ใจนัก

ส่วนนายแดง ปวนมูล ผู้ต้องขังที่ไม่ได้ถูกย้ายเผยว่า ก่อนหน้านี้มีการแจ้งเรื่องนี้ภายใน เคยเห็นมีชื่อตนอยู่ ตนอยากไปกรุงเทพพร้อมกับเพื่อนๆ แต่เจ้าหน้าที่ไม่ได้เรียก ทั้งนี้ นายแดงเป็นผู้ติดเชื้อ HIV ต้องได้รับการดูแลสุขภาพต่างจากผู้ต้องขังทั่วไป นางสาวพรพิศ ผักไหม อดีตอาสาสมัครมูลนิธิเข้าถึงเอดส์กล่าวว่า เรือนจำเชียงใหม่รองรับผู้ต้องขังได้ประมาณ 2500 คน แต่ขณะนี้มีจำนวนผู้ต้องขังอยู่กว่า 4000 คน  เกรงว่าผู้ป่วยจะติดเชื้อได้ง่ายในสภาพที่แออัดอย่างมากนี้ โดยเฉพาะในฤดูหนาวที่ร่างกายผู้ติดเชื้อจะอ่อนแอกว่าปกติ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เศรษฐศาสตร์สามัญสำนึก: ด้วยเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ รัฐบาลควรยุบสภาภายใน 3 เดือน (เหมือนกัน)

Posted: 11 Jan 2012 06:56 AM PST

 

เมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้วดิฉันเผยแพร่บทความเรื่อง “ด้วยเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ รัฐบาลควรยุบสภาภายใน 3 เดือน” เพื่อวิพากษ์รัฐบาลอภิสิทธิ์ [1] วันนี้ดิฉันขอวิพากษ์รัฐบาลยิ่งลักษณ์ด้วยเหตุผลเดียวกัน

รัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลอภิสิทธิ์เหมือนกันอย่างไร?

ทั้งสองรัฐบาลพยายามหาทางให้แบงค์ชาติเข้ามารับภาระดอกเบี้ยหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งเกิดจากวิกฤตการเงินปี 2540 แม้ว่าปัจจุบันอดีตรมต.กรณ์วิจารณ์นโยบายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในเชิงลบ แต่สมัยอดีตรมต.กรณ์เป็นรมต.คลังอดีตรมต.กรณ์และอดีตรองนายกฯไตรรงค์ก็พยายามผลักภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯให้แบงค์ชาติเหมือนกันแต่ทำไม่สำเร็จก่อนยุบสภา การโยนภาระการคลังให้แบงค์ชาติจะทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ นโยบายดังกล่าวเหมือนนโยบายของรัฐบาลในประเทศละตินอเมริกาเมื่อ 30-35 ปีที่แล้ว ที่่ให้แบงค์ชาติพิมพ์แบงค์ให้รัฐบาลใช้หนี้จนเกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง

ทั้งรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลอภิสิทธิ์เอาใจกองทัพด้วยการเพิ่มงบประมาณกลาโหม งบประมาณกลาโหมปี 2554 ซึ่งจัดสรรโดยรัฐบาลอภิสิทธิ์แล้วรัฐบาลยิ่งลักษณ์รับช่วงมานั้นมีมูลค่า 1 แสน 7 หมื่นล้านบาท [2] นอกจากนี้ในระหว่างวิกฤตอุทกภัยที่ผ่านมากองทัพได้ส่งบิลเรียกเก็บค่าบรรเทาวิกฤตจากกระทรวงการคลังเพิ่มเติม (ท่ามกลางกระแส “รักพี่ทหาร”) รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็อนุมัติอย่างรวดเร็ว เมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณกลาโหมปี 2549 ซึ่งมีมูลค่า 8.6 หมื่นล้านบาทแล้วพบว่างบประมาณกลาโหมเพิ่มขึ้น 8.4 หมื่นล้านบาท คือเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว โปรดสังเกตว่างบประมาณกลาโหมที่เพิ่มขึ้นมา 8.4 หมื่นล้านบาทนั้นมากกว่าภาระดอกเบี้ยจากหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 6.5 หมื่นล้านบาทที่รองนายกฯกิตติรัตน์และโฆษกรัฐบาลอ้างอิงเสียอีก

แม้ว่าทั้งรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลอภิสิทธิ์บ่นว่าดอกเบี้ยหนี้กองทุนฟื้นฟูฯเป็นภาระหนักหนาสาหัส แต่ทั้งสองรัฐบาลไม่เคยบ่นเรื่องภาระจากการเพิ่มงบประมาณกลาโหม ถ้าตัดงบประมาณกลาโหม 6.5 หมื่นล้านบาทเพื่อนำเงินไปชำระดอกเบี้ยหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ กองทัพก็ยังจะได้งบประมาณมากกว่ายุคก่อนรัฐประหารถึง 1.9 หมื่นล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 22% ถ้ารัฐบาลคิดว่าการจ่ายดอกเบี้ยนานๆทำให้เสียทรัพยากรและรัฐบาลต้องการให้เงินต้นลดลงเร็วๆ รัฐบาลสามารถลดงบประมาณกลาโหมให้เท่าระดับก่อนรัฐประหารแล้วเอาส่วนต่างไปช่วยแบงค์ชาติชำระเงินต้นของหนี้กองทุนฟื้นฟูไปก่อนก็ได้

การอ้างว่าภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูเป็นภาระทางการคลังอันใหญ่หลวงเป็นเพียงการบิดเบือนประเด็นที่แท้จริง การผลักดันให้แบงค์ชาติีรับภาระดอกเบี้ยกองทุนฟื้นฟูฯโดยรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลอภิสิืทธิ์็คือการผลักดันให้แบงค์ชาติรับภาระงบประมาณกระทรวงกลาโหมที่เพิ่มขึ้นมาหลังจากรัฐประหารนั่นเอง

ระหว่างกระทรวงการคลังและแบงค์ชาติใครควรรับผิดชอบมากกว่ากัน?

หนี้กองทุนฟื้นฟูฯเกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ทำให้กองทุนฟื้นฟูฯเข้าไปช่วยเหลือสถาบันการเงินที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต ประเด็นขัดแย้งระหว่างกระทรวงการคลังและแบงค์ชาติเกิดจากการออกพ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯฉบับปี 2541 และฉบับปี 2545 กำหนดเงื่อนไขการชำระหนี้ โดยระบุให้แบงค์ชาติเป็นผู้ชำระเงินต้นส่วนกระทรวงการคลังรับชำระดอกเบี้ย ทำให้รัฐบาลอ้างว่าเป็นภาระหนี้ที่ธปท.ต้องรับผิดชอบ บ้างก็ยกเหตุผลว่าแบงค์ชาติต้องรับผิดชอบในฐานะที่เป็นผู้กำกับสถาบันการเงินที่บกพร่องจนหนี้เสียมากมาย

ดิฉันคิดว่าการที่แบงค์ชาติเป็นผู้ชำระเงินต้นนั้นก็ชดเชยในส่วนนี้แล้ว ฝ่ายรัฐบาลก็ร่วมก่อหนี้เสียโดยการอนุมัติให้เปิดเสรีทางการเงิน แม้ว่าแบงค์ชาติเป็นผู้ตัดสินว่าธนาคารใดได้ใบอนุญาตประกอบวิเทศธนกิจ แต่การเปิดเสรีทางการเงินต้องผ่านการอนุมัติของรัฐบาล ถ้าฝ่ายการเมืองเสนอนโยบายแย่ๆแล้วแบงค์ชาติตอบสนองฝ่ายการเมืองเพราะกฎหมายอนุญาตให้รมต.คลังปลดผู้ว่าฯแบงค์ชาติได้ ก็แปลว่าฝ่ายการเมืองมีอำนาจเหนือแบงค์ชาติ ฝ่ายที่มีอำนาจมากกว่าก็น่าจะต้องรับผิดชอบมากกว่า

อย่างไรก็ดี อดีตผู้ว่าฯเริงชัย มะระกานนท์โดนฟ้องร้องให้จ่ายค่าเสียหาย 1.86 แสนล้านบาท ศาลชั้นต้นตัดสินให้มีความผิดแต่ศาลอุทธรณ์ตัิดสินให้ยกฟ้อง คดีนี้ยังไม่สิ้นสุดเพราะต้องรอศาลฎีกาตัดสิน แต่ยังไม่มีอดีตรมต.คลังคนไหนโดนดำเนินคดีจากวิกฤตต้มยำกุ้ง ความล้มเหลวของการขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินหรือปรส.เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กองทุนฟื้นฟูฯต้องรับภาระสูง กองทุนฟื้นฟูฯในบางประเทศ (เช่น สวีเดน)สามารถทำกำไรให้กระทรวงการคลังจากการขายทรัพย์สินของสถาบันการเงินเพื่อปฎิรูปสถาบันการเงินหลังวิกฤตการเงิน

ชัดเจนว่าความล้มเหลวของปรส.คือความล้มเหลวของฝ่ายรัฐบาล แต่คดีปรส.เพิ่งจะสืบพยานกันเมื่อปี 2 ปีที่แล้ว แล้วเราควรปล่อยให้ฝ่ายรัฐบาลรวบรัดออกกฎหมายผลักภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูหรือ? สุดท้ายแล้วภาระการคลังจะตกอยู่กับผู้เสียภาษีผ่านอัตราเงินเฟ้อ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจะทำให้เงินบาทอ่อนลงแต่็นั่นก็จะไม่้มีผลดีต่อผู้ส่งออก เพราะอัตราเงินเฟ้อทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นด้วย

โดยหลักการแล้วหนี้กองทุนฟื้นฟูฯมาจากสถาบันการเงิน ดังนั้นสถาบันการเงินก็น่าจะมีส่วนร่วมในการชำระหนี้ ถ้ากังวลว่าสถาบันการเงินจะผลักภาระให้ผู้บริโภคโดยการขึ้นค่าธรรมเนียม รัฐบาลและแบงค์ชาติสามารถออกกฎเพื่อป้องกันได้ อาทิ กฎเกณฑ์เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมธุรกรรมต่างๆ ปัจจุบันค่าธรรมเนียมในระบบธนาคารไทยก็สูงกว่ามาตรฐานสากลอยู่แล้ว การกำหนดเพดานค่าธรรมเนียมไม่น่าจะทำให้ธนาคารไทยขาดทุน อย่างมากก็ทำให้กำไรลดลงเท่านั้น

ปริศนาหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ

โปรดสังเกตว่าไม่มีการรายงานสรุปให้ชัดเจนว่าหนี้กองทุนฟื้นฟูมีอัตราดอกเบี้ยเท่าไรและมีโครงสร้างอายุหนี้อย่างไรบ้าง? ทั้งๆที่อายุหนี้และอัตราดอกเบี้ยมีความสำคัญต่อการประเมินสภาพหนี้

ถ้าเราใช้ข้อมูลยอดหนี้และภาระดอกเบี้ยก็พอจะคำนวณอัตราดอกเบี้ยดอกเฉลี่ยได้ จากข้อมูลที่รายงานโดยสำนักข่าวบลูมเบิร์ก [3] หนี้กองทุนฟื้นฟูฯมีเงินต้น 1.4 ล้านล้านบาท แบงค์ชาติได้ชำระเงินต้นไปแล้ว 3 แสนล้านบาท ดังนั้นยังเหลือเงินต้น 1.1 ล้านล้านบาท ส่วนข้อมูลภาระดอกเบี้ยจากฝ่ายรัฐบาลนั้นไม่ชัดเจน รองนายกฯและรมต.คลังให้ข่าวไม่ตรงกัน รองนายกฯกิตติรัตน์ให้ข่าวว่าภาระดอกเบี้ยคือปีละ 6.5 หมื่นล้านบาท แต่รมต.ธีระชัยให้ข่าวว่าปีนี้ภาระดอกเบี้ยคือ 4.5 หมื่นล้านบาท ทำให้เกิดปริศนาว่าภาระดอกเบี้ยเป็นเท่าไรกันแน่?

ถ้ารัฐบาลจ่ายดอกเบี้ยปีละ 6.5 หมื่นล้านบาทตามที่รองนายกฯให้ข่าวก็แปลว่าอัตราดอกเบี้ยประมาณ 5.91% (= 65,000/1,100,000) แต่ถ้ารัฐบาลจ่ายดอกเบี้ย 4.5 หมื่นล้านบาทตามที่รมต.คลังให้ข่าวก็แปลว่าอัตราดอกเบี้ยเพียง 4.09% (= 45,000/1,100,000) ความไม่สอดคล้องกันระหว่างข้อมูลจากรมต.คลังและรองนายกฯนั้นมีนัยยะสำคัญดังต่อไปนี้

  1. อัตราดอกเบี้ย 4.01% เป็ันอัตราที่ต่ำ อัตรานี้สูงกว่าดอกเบี้ยพันธบัตร 30 ปีของรัฐบาลสหรัฐฯเพียง 1% นี่ไม่ใช่อัตราดอกเบี้ยที่หนักหนาสาหัสสำหรับรัฐบาลทีมีหนี้สาธารณะราวๆ 40% ของ GDP ประเทศยุโรปที่มีปัญหาภาระดอกเบี้ยจริงๆคือประเทศที่จ่ายดอกเบี้ยถึง 7% และยอดหนี้สาธารณะมากมายกว่านี้ แล้วทำไมรัฐบาลต้องตีโพยตีพายว่าจ่ายดอกเบี้ยไม่ไหว?
  2. อัตราดอกเบี้ย 5.91% จัดว่าไม่ต่ำ แต่ถ้ารัฐบาลจ่ายดอกเบี้ยด้วยอัตรานี้จริงๆก็น่า้สงสัยว่าหนี้มีอายุเท่าไรและเงื่อนไขอย่างไรทำไมถึงปรับโครงสร้างหนี้ให้ดอกเบี้ยต่ำกว่านี้ไม่ได้? พันธบัตรรัฐบาลไทยปีที่แล้วก็ไม่ได้มีอัตราดอกเบี้ยเท่านี้ แม้แต่พันธบัตร50 ปีของรัฐบาลไทยที่ออกจำหน่ายปีที่แล้วยังให้ดอกเบี้ย 4.85% ที่สำคัญวงเงินส่วนใหญ่ของพันธบัตรรัฐบาลปีที่แล้วเป็นพันธบัตรที่ดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 2.80%-3.85% ไม่ใช่ 4.85% หนี้กองทุนฟื้นฟูฯมีเงื่อนไขอย่างไรถึงจ่ายดอกเบี้ยสูงกว่าดอกเบี้ยตลาดถึง 2%-3% ปัจจุบันเจ้าหนี้ของกองทุนคือใคร? ทำไมเจ้าหนี้กองทุนฟื้นฟูถึงได้ดอกเบี้ยสูงกว่าดอกเบี้ยตลาด?

ดิฉันสรุปไม่ได้ว่าหนี้กองทุนฟื้นฟูฯมีอัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยเท่าไรกันแน่? ทั้งสองกรณีมีคำถามให้รัฐบาลต้องตอบสาธารณชน

บทสรุป

เมื่อเปรียบเทียบนโยบายการคลังของรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลอภิสิทธิ์แล้ว ทั้งสองรัฐบาลมีศักยภาพในการก่อวิกฤตเงินเฟ้ออย่างทัดเทียมกัน เนื่องจากดิฉันเคยเสนอให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ยุบสภาเพราะความพยายามใช้นโยบายการคลังที่จะนำไปสู่วิกฤตเงินเฟ้อ เพื่อไม่ให้เกิดสภาวะ“สองมาตรฐาน”ดิฉันจึงเสนอให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ยุบสภาด้วยเหตุผลเดียวกัน ถ้ารัฐบาลยืนยันว่ารายจ่ายรัฐบาลมากจนรายรับรัฐบาลไม่พอจัดสรรงบประมาณ รัฐบาลก็ต้องปฎิรูประบบภาษีและระบบจัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ทั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ไม่มีความสนใจในการปฎิรูประบบภาษี

อย่างไรก็ดี ด้วยเหตุผลทางการเมืองรัฐบาลยิ่งลักษณ์คงจะไม่ยุบสภาภายใน 3 เดือนเหมือนที่รัฐบาลอภิสิทธิในอดีตไม่ยุบสภาภายใน 3 เดือน รัฐบาลยิ่งลักษณ์คงจะพยายามใช้นโยบายเดียวกับรัฐบาลอภิสิทธิ์ต่อไปเรื่อยๆจนกว่าฐานเสียงจะเห็นว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ให้ความสำคัญกับกองทัพมากกว่าผู้เสียภาษีเช่นเดียวกันกับรัฐบาลอภิสิทธิ์

หมายเหตุ

  1. ด้วยเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ รัฐบาลควรยุบสภาภายใน 3 เดือน ประชาไทออนไลน์ 30 มีนาคม 2553
  2. งบประมาณโดยสังเขป สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี
  3. Thailand’s Government Scraps Plan to Transfer Legacy Debt to Central Bank, Bloomberg, December 30, 2011
  4. ข้อมูลดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลที่ออกจำหน่ายในปี 2554 จากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แฟรงค์ ลา รู

Posted: 11 Jan 2012 06:47 AM PST

นี่ก็ไม่ใช่เป็นการแทรกแซงด้วย เนื่องจากสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องในทางระหว่างประเทศ และเป็นความรับผิดชอบของประเทศที่ทันสมัย มีอารยะ และเป็นประชาธิปไตย ซึ่งมีแต่ประเทศที่ต้องการจะกลับไปสู่ระบอบอำนาจนิยม ไร้อารยะ และไม่ตามครรลองประชาธิปไตยเท่านั้น ที่จะปฏิเสธหลักสิทธิมนุษยชน

ผู้ตรวจการพิเศษด้านเสรีภาพการแสดงออก UN

ร้ายสไตล์บายรุ้งรวี: เชือด (พ่อ) ปลาบู่ ให้ลิงดู

Posted: 11 Jan 2012 06:43 AM PST

ในคืนวันส่งท้ายปีเก่า ที่มีเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่าจะเกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่ ดิฉันกำลังเต้นอย่างเอาเป็นเอาตายกับเพลง ‘We Found Love’ ของริฮันน่า ที่ฟังกี้ (Funky) อยู่เลย โดยถัดไปไม่ไกลเป็นน้องแอ๊ฟ ทักษอรคนสวยหน้าหวาน ที่สลัดมาดนางเอกมาร่วมเคาน์ดาวน์ด้วยกัน (แต่ไม่ได้มาด้วยกัน) ไม่ใช่เพราะว่าดิฉันไม่เชื่อคำทำนายของเด็กชายปลาบู่อะไรนั่นหรอก แต่เป็นเพราะว่าไม่ได้สนใจดู/ฟัง เลยต่างหาก

จวบจนเกือบเช้าวันใหม่ ที่ทุกอย่างปรกติ ไม่มีแผ่นดินไหว ไม่มีเขื่อนแตก รอบกายมีแต่คนเมา ณ ร้านก๋วยเตี๋ยวต้มยำรสแซ่บไม่ไกลจากกันนั้น เพื่อนในกลุ่มจึงออกโรงแถลงให้ฟังว่า เด็กชายปลาบู่เป็นใคร อะไรยังไง ทำไมเรื่องนี้ถึงดัง จนแล้วจนรอดดิฉันก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีว่า เอ่อ...ทำไมเรื่องนี้มันถึงดัง

ที่จริง...เรื่องเล่าประเภทนี้ เราล้วนได้ยินกันมานักต่อนัก ตามหน้าหนังสือพิมพ์หัวสี ในรายการทอล์กโชว์ จากปากหมอดู โหรชื่อดัง ต่างๆ นานาๆ และทุกปีก็ว่าได้ เราก็ล้วนฟังผ่านๆ ไม่ได้จดจ่อ เตรียมตัวรอดูว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ เราจะมารู้ตัวอีกที หลังจากที่หมอดูชื่อดังคนนั้นออกมาอ้างความแม่นยำในสิ่งที่ตัวเองเคยทำนายไป (ส่วนอันที่ไม่ถูกก็ลืมๆ มันไป ถือว่าไม่ได้ทาย) เพื่อ...อะไรก็แล้วแต่

แต่ปรากฏการณ์ ‘เด็กชายปลาบู่’ นั้นมาแปลก แม้จะอ้าง ‘ความแม่นยำ’ กับคำทำนายในเหตุการณืที่ผ่านมา แต่ก็ไม่มีอะไรพอจะมาเป็นหลักฐานว่าได้ทำนายไว้จริง (เหมือนพวกหมอดูทั้งหลายที่มีหลักฐานว่าเคยเขียนในนิตยสารเล่มนั้น หรือเคยสให้สัมภาษณ์ไว้ที่ไหน) มีเพียงแค่คำบอกเล่าจาก ‘พ่อเด็กชายปลาบู่’ เพียงเท่านั้น แต่กลับได้รับความสนอกสนใจอย่างท่วมท้นจากสังคม (ผ่านการนำเสนอของสื่อมวลชน รายการโทรทัศน์) และเกิดการตื่นตระหนกอย่างไม่สมเหตุสมผลมาก่อน

ทำไมสังคมไทยถึงได้อ่อนไหว (ง่ายดาย และไม่สมเหตุสมผล) ถึงเพียงนี้....

ดิฉันคิด (เอาเอง) ว่า อาจเป็นเพราะเราเพิ่งผ่านพ้น (?) ภัยธรรมชาติครั้งยิ่งใหญ่อย่างน้ำท่วมมาหมาดๆ และคำทำนายของเด็กชายปลาบู่ก็เป็นคำทำนายเกี่ยวกับภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น ความเกี่ยวเนื่องของสองเหตุการณ์นี้อยู่ที่ ความเสียหายอันใหญ่หลวงของภัยน้ำท่วมที่ผ่านมา ซึ่งทำให้คนในสังคมเห็นว่าไม่มีชุดความรู้ทางวิชาการ วิทยาศาสตร์ไหนที่เชื่อถือได้ และสัมฤทธิ์ผลในการนำมาปฏิบัติและป้องกันภัยธรรมชาติได้เลย (ซึ่งนี่คืออีกชุดหนึ่งของความคิดที่เราคิดว่าความเป็นวิทยาศาสตร์มันต้องแม่นเป๊ะๆ นำมาใช้แบบ 1+1 แล้วต้องเป็นสอง) ไม่เพียงแค่ในช่วงระยะเวลาที่น้ำท่วม แต่แม้แต่การคาดการณ์ ป้องกัน แจ้งเตือน ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติครั้งไหนๆ (สึนามิ ?) สังคมไทยก็ไม่เคยได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยี วิวัฒนาการ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่กระเดียดไปในทางวิทยาศาสตร์ได้เลย

นั่นทำให้ความคิดของเราไม่สมาทานไปกับเรื่องวิชาการ วิทยาศาสตร์เลยแม้แต่น้อย

จึงทำให้คนในสังคม ไม่ Rational กับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ แม้ว่าในยุคนี้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะก้าวหน้ามากถึงเพียงใด แต่ด้วยความที่เราไม่เห็นถึงสัมฤทธิ์ผลของวิทยาศาสตร์ในการจัดการกับปัญหาภัยธรรมชาติได้เลยสักครั้ง (ซึ่งนี่ก็คืออีกหนึ่งชุดความคิดที่อาจไม่ถูกต้องนัก) เราจึงไม่หวังผล ไม่ศรัทธา ไม่เชื่อมั่น ไม่สมาทานตัวเองเข้ากับความเป็นเหตุเป็นผลแบบวิทยาศาสตร์ ส่วนการที่เราหันมาสมาทานตัวเองกับ ‘เรื่องที่ออกแนวไสยศาสตร์’ (หรือเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้) มากกว่านั้น อาจเป็นเพราะไม่ว่าสังคมใดๆ ก็เกิดและเติบโตมาจากสังคมแบบสังคมบุพกาลทั้งสิ้น นับถือฟ้าเพราะฟ้าร้อง..น่ากลัว นับถือผี บูชาสิ่ง (ที่ถูกยกระดับให้เป็น) สิ่งศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นความเชื่อรากเหง้าดั้งเดิมของสังคม เช่นเดียวกันกับสังคมไทย และสตอรี่แบบนี้ก็ยังเวียนว่ายอยู่ในบทสนทนาของคนส่วนใหญ่ ในหน้าหนังสือพิมพ์ (ขอหวย ? ต้นกล้วยออกลูกมาคล้ายมังก ร ?) แม้วิทยาศาสตร์จก้าวไกลไปมากแค่ไหน แต่เมื่อเรายังไม่โผล่พ้นจากการเป็นสังคมบุพพกาล และยังผิดหวังด้วยเพราเทคโนโลยีไม่แคยสำแดงฤทธิ์เดชให้เห็นว่าสามารถจัดการกับภัยธรรมชาติได้ จึงไม่แปลกใจที่เรื่องของเด็กชายปลาบู่จะกลายเป็นทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ และมีคนเชื่อย่างจริงจังเช่นนี้

ในปรากฏการณ์นี้มันทำให้เห็นถึงทัศนคติ ความเชื่อ ของคนในสังคมไทยที่มีต่อวิทยาศาสตร์ (ไม่ใช่ไม่เชื่อ แต่เลือกเชื่อเป็นเรื่องๆ ตามเหตุที่วิทยาศาสตร์สามารถสำแดงฤธิ์เดชให้เห็นได้จริง) ทำให้เห็นถึงความอ่อนไหว และอ่อนด้อยของคนในสังคมต่อชุดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เหมือนดังเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา ที่เราต้องการผู้เชี่ยวชาญแล้วเชี่ยวชาญอีกมาคอยย่อยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ ให้ง่าย...ง่ายเข้าไปอีก (นัยถึงเราอาจจะบอกได้ว่าก็ข้อมูลเหล่านั้นนำเสนอไมได้เรื่องเอง ถึงทำให้เข้าใจยาก แต่อีกนัยหนึ่งก็คือเราเป็นสังคมที่อ่อนด้อยในเรื่องวิทยาศาสตร์จริงๆ)

ความผิดหวัง (ด้วยชุดความรู้ที่เราทึกทักเอาเองว่าวิทยาศาสตร์มันต้องเป็นแบบนี้) จากอำนาจของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อภัยธรรมชาติ ก็ไม่ต่างจากข่าวเรื่อง ‘ชาวบ้าน’ (หนังสือพิมพ์มักจะใช้คำนี้) แห่ไปขอหวยจากต้นกล้วยออกลูกมาคล้ายมังกร หรือวัวออกลูกสองหัว ฯลฯ ในความคล้ายคลึงกันของมันคือ ไม่ใช่ว่าประชาชน คนในสังคมไทย (หรือตามแบบที่หนังสือพิมพ์ชอบใช้คำว่า ‘ชาวบ้าน’) นั้น ‘ด้อยการศึกษา’ แต่เป็นเพราะด้วยโครงสร้างของสังคม ไม่เปิดโอกาสให้คนได้ ‘ร่ำรวย’ ได้อย่างเท่าเทียม (ไม่ต้องถึงกับร่ำรวยหรอก แค่ไม่จนก็พอแล้วมั้ง) คงยากที่ชาวนา ชาวสวน ที่นอกจากจะต้องลุ้นว่าน้ำจะท่วมไหม หรือบางปีก็จะมีน้ำทำนาไหม จะสามารถค่อยๆ เก้บเงินจนเป็นเศรษฐีเงินล้านได้จากการทำงาน เช่นเดียวกันกับผู้ใช้แรงงาน ที่จะสามารถไต่เต้าจากเงินค่าแรงวันละสองร้อยกว่าบาท (เอ๊ะ ได้สามร้อยกันหรือยัง ?) อดทนทำงานไปหลายๆ จนได้วันละพัน การจะรวย (ทางลัด หรือในทางที่พอมีเปอร์เซ็นต์จะเป็นไปได้) สำหรับคนอีกกลุ่มหนึ่งก็คือการเล่นหวยรวยเบอร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาอาจจะไม่ชอบหรอก แต่มันสามารสมาทานตัวเองเข้าไปได้ มันทำให้เกิดการใฝ่ฝันได้ ในสังคมที่ไม่เท่าเทียม

 

เรื่องความงมงายในทางโหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ก็เช่นเดียวกัน มันเป็นสิ่งที่เขา (เรา?) สามารถสมาทานตัวเองเข้าไปได้อย่างง่ายดาย เพื่อปกป้องตัวเองจากความหวาดกลัว จากความเสียหาย จากอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับชีวิต ทรัพย์สิน เพราะวิทยาศาสตร์ในสังคมนี้ บ้านเมืองนี้ ไม่เคยพิสูจน์ให้เขาเห็นว่าสามารถปกป้องพวกเขา (เรา?) จากความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินจากภัยธรรมชาติได้เลย...เท่าที่ผ่านมา

มันไม่ใช่เรื่องของการโง่ หรือไร้การศึกษา

ทีนี้เรามาดู ‘คนมีการศึกษา’ เขาทำกัน

ศาลสั่งจำคุก "พ่อปลาบู่" 15 วัน-ปรับ 500 ให้รอลงอาญา

“ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 9 มกราคม ที่ สภ.เมืองตาก จ.ตาก นายทองใบ คำศรี อายุ 73 ปี บิดาของ ด.ช.ปลาบู่ พร้อมด้วย ดร.ปชา ภาณุบุญ ผู้ติดตาม เข้าพบ ร.ต.ท.ชัยวัฒน์ พริ้งสกุล พนักงานสอบสวน เพื่อให้ปากคำตามหมายเรียกหลังนายสงคราม มนัสสา สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก เข้าแจ้งความให้ดำเนินคดี ในข้อหากล่าวเท็จทำให้ประชาชนตื่นตกใจว่าเขื่อนภูมิพลจะแตกในคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา แต่ปรากฏว่าเวลาผ่านไปไม่เป็นไปตามกล่าวอ้าง จึงถูกดำเนินคดีดังกล่าว

การเดินทางเข้าให้ปากคำ นายสงครามพร้อมชาวบ้านกว่า 100 คน มาคอยพบนายทองใบแต่ไม่ได้พบจึงเดินทางกลับ พร้อมมอบดอกไม้ให้กำลังใจนายสงครามที่ทำหน้าที่แทนประชาชน จนกระทั่งเวลาผ่านไป 1 ชั่วโมง ต่อมาในเวลาประมาณ 15.00 น. พนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวนและนำตัวนายทองใบส่งฟ้องศาลจังหวัดตาก ขณะที่ศาลได้สั่งลงโทษจำคุกนายทองใบเป็นเวลา 15 วัน ปรับ 500 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญาเป็นเวลา 2 ปี และสั่งนายทองใบห้ามพูดจาเลื่อนลอยแบบเดิม หลังศาลตัดสินนายทองใบยังได้ยกมือขอโทษชาวเมืองตากที่ทำให้ตื่นตกใจพร้อมบอกว่าไม่ได้ตั้งใจ

นายสงคราม กล่าวว่า การแจ้งความดำเนินคดีกับนายทองใบครั้งนี้เพื่อจะทำให้หลาบจำไม่นำความเท็จไปสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนอีก เพราะที่ผ่านมาก็เกิดความวุ่นวายให้กับชาวเมืองตากโดยทั่วหน้าซึ่งเหตุการณ์ก็ไม่ได้เป็นไปอย่างคำกล่าวอ้าง ก็ขอให้นายทองใบจดจำไว้เป็นบทเรียนต่อไปก็อย่าพูดอะไรที่จะทำให้ผู้คนแตกตื่นตกใจอีก”

ที่มา : เว็บไซต์ประชาไท

จากข่าวนี้เชื่อว่าทุกคนคงมีคำถามมากมาย ไม่ว่าจะเป็น

  1. มีกฎหมายเอาผิดกรณีแบบนี้จริงๆ หรือ (กฎหมายอาจมี แต่กรณีแบบนี้เข้าข่ายความผิดทางกฎหมายจริงๆ หรือ)
  2. กรณีต่างอะไรกันกับกรณีหมอดูทั้งหลายที่ชอบออกมาทำนายว่าปีหน้าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง (แล้วไม่เป็นจริง) ถือเป็นความผิดโทษเดียวกันหรือไม่ ทำไมจึงไม่การกล่าวโทษฟ้องร้อง ทำไมประชาชนถึงไม่ตื่นตกใจ นี่คือสองมาตรฐานในสังคมไทยอีกอย่างหรือเปล่า
  3. ศาลใช้เหตุผลกลใดในการตัดสินความผิดในกรณีนี้
  4. เหตุใดตัวกลางอย่าง ‘สื่อมวลชน’ ซึ่งเป็น ‘ตัวการ’ ในการไขข่าว เผยแพร่ข้อความนี้ไม่โดนดำเนินคดีด้วย ในฐานะ ‘ตัวการ’ (agent) ที่ทำให้ประชาชนตื่นตกใจ
  5. ตามข่าว พบว่าในคืนวันที่ 31 ธันวาคมนั้น มีประชาชนจำนวนมากไปเคาน์ดาวน์ในสถานที่เด็กชายปลาบู่ทำนายไว้ว่าจะเกิดภัยพิบัติ จากข้อเท็จจริงนี้สามารถนำมาหักล้างคำว่า ‘ประชาชนตื่นตกใจ’ และศาลจะรับฟังหรือไม่ ในเมื่อมีประชาชนอีกกลุ่มที่ไม่ตื่นตกใจ
  6. เรื่องแบบนี้มันควรจะเป็นเรื่องเหรอ...!!!

ความเศร้าใจในสังคมไทยของดิฉันไม่ได้อยู่ที่ปรากฏการณ์แบบเรื่องของเด็กชายปลาบู่ ที่มีคนตื่นตระหนก เชื่อถือ

หรือคิดจริงจังว่ามันจะเกิดขึ้นจริง ทั้งๆ ที่ไม่มีปัจจัยที่แสดงถึงเหตุแห่งภัยพิบัตินั้นเลย (ในหนังฮอลลีวูดพล็อตเรื่องแบบนี้มีมากมาย แต่มันก็จะมีตัวแปรที่ตัวเอก ซึ่งอาจเป็นนักวิทยาศาสตร์หนุ่มหล่อ จะเห็นอยู่คนเดียว เสมอๆ ไม่ใช่ไม่มีอะไรเลยแบบนี้) หรือการเป็นสังคมบุพพกาลของสังคมไทย หรือชุดความเชื่อต่างๆ ที่ผิดๆ ที่ฝังแน่นอยู่ในสังคมไทย จนเกิดเป็นปรากฏการณ์ที่หลายๆ หลายคนบอกว่าถ้าเรื่องนี้ไปเกิดที่อื่น...(เติมคำในช่องว่าเอาเอง) เพราะตราบเท่าที่มันไม่ไปทำร้ายใคร

แต่การจัดการปัญหา ความขัดแย้ง ของคนที่ได้ชื่อว่า ‘มีการศึกษา’ (และมีอำนาจ ?) นี่สิ คือความเสื่อมถอยของสังคมไทยโดยแท้ หรือนี่เป็นการเชือด (พ่อ) ปลาบู่ให้ลิงดู ว่าใครที่ ‘เป็นใครไม่รู้’ ไม่มีความรู้ในศาสตร์อันเก่าแก่ ไม่มีตำราโหราศาสตร์ถือโก้ๆ โชว์ในโทรทัศน์ ไม่มีฐานะทางสังคม คำนำหน้า นามสกุล หรืออะไรก็แล้วแต่ ออกมาพูดอะไรที่ไม่เข้าท่าในสังคมที่ประชาชน (กลุ่มหนึ่ง) ไร้ซึ่งสติปัญญา เหตุผลในการแยกแยะ คัดกรอง ว่าอะไรที่ควรเชื่อไม่ควรเชื่อ อะไรจริงไม่จริง ด้วยวิจารณญาณของตัวเองได้นั้น (ซึ่งในกรณีนี้จะเห็นได้ว่าผู้ใช้กฎหมายก็ไม่ต่างอะไรกับประชาชน (กลุ่มนั้น) ของตัวเอง) ต้องถูก ‘เชือด’ เพื่อที่จะได้ไม่มีใคร (ที่เป็นใครไม่รู้) หาญกล้าทำซ้ำอีก (ซึ่งตอนนี้ก็เห็นๆ กันอยู่ว่ามีหลายเรื่องทีเดียว)

คนมีการศึกษาในบ้านนี้เมืองนี้ (ที่พิจารณาดีๆ แล้ว ระดับสติปัญญาในการใช้ตรรกะ เหตุผล วิจารณญาณ นั้นไม่แตกต่างกันกับคนไร้การศึกษา) น่ากลัวกว่าคนไร้การศึกษา ที่ถูกเรียกว่าชาวบ้าน งมงาย เชื่อเรื่องโหราศาสตร์ ไสยศาสตร์เสียอีก

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

การเปลี่ยนผ่าน...ปัญหาที่ไม่เคยผ่านไป

Posted: 10 Jan 2012 11:52 PM PST

การเปลี่ยนผ่านในทางการเศรษฐกิจเมืองเป็นเรื่องที่ถูกถกเถียงอย่างไม่จบสิ้นทั้งในทางทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และหากกล่าวให้เจาะจงมากยิ่งขึ้น แม้กระทั่งผู้ที่มีแนวความคิดหลักๆ ตรงกัน เช่น พยายามมุ่งสู่ประชาธิปไตย พยายามมุ่งสู่สังคมที่ปราศจากการขูดรีด เขาเหล่านั้นก็ยังไม่อาจจะตกลงร่วมกันได้โดยง่ายนักว่า กระบวนการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวจะใช้วิธีการที่ “ฉับพลันทันด่วน” หรือ “ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม” ถึงจะเหมาะสม บทความนี้จึงจะกล่าวถึงการวิวาทะในเรื่องของการเปลี่ยนผ่านการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตย (Democratization) เปรียบเทียบกัน

การเปลี่ยนผ่านจากระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตยไปสู่ระบอบประชาธิปไตยนั้นเป็นเรื่องที่ยากในการวิเคราะห์ เพราะเพียงแค่เริ่มต้น ผู้ที่ต้องการจะวิเคราะห์เรื่องนี้ก็จะต้องประสบกับความยากลำบากที่จะต้องตอบคำถามเอาเสียแล้วว่า ระบอบประชาธิปไตยหมายความว่าอย่างไร? โดยเฉพาะเมื่อเรามีความคิดเห็นตรงกันว่า “ชื่อ” ของระบอบการเมืองที่ใช้อย่างเป็นทางการนั้นไม่ได้บอกอะไรแก่เรามากมายนัก

Acemoglu กับเพื่อนร่วมงานของเขา Robinson ได้ให้นิยามของความเป็นประชาธิปไตยเอาไว้ว่า “ประชาธิปไตยโดยทั่วไปแล้วหมายถึงสถานการณ์ที่มีความเท่าเทียมกันในทางการเมือง โดยเปรียบเทียบกับระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตย” (Acemoglu and Robinson, 2006: 29) นิยามดังกล่าวอยู่บนข้อสมมติฐานเพิ่มเติมที่ว่า (หนึ่ง) สิทธิทางการเมืองที่ทั่วถึงกันนี้จะนำมาซึ่งการทำนโยบายทางเศรษฐกิจที่ตรงความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคมด้วย และ (สอง) คนส่วนใหญ่ของประเทศคือคนยากจน ดังนั้น การที่คนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในทางการเมืองจะทำให้นโยบายของรัฐบาลประชาธิปไตยมีลักษณะให้ความสำคัญกับคนจนในประเทศนั้นๆ (pro-poor policy)

การที่มีนโยบายเข้าใกล้ความต้องการของคนจนมากยิ่งขึ้นเป็นทั้งคุณสมบัติของพัฒนาการประชาธิปไตย ในขณะเดียวกันก็นำมาสู่ทฤษฎีอีกประการหนึ่งของ Acemoglu และ Robinson นั่นคือทฤษฎีการปฏิวัติ (coup theory) โดยเขาทั้งสองอธิบายว่า เมื่อพัฒนาการของประชาธิปไตยมีแนวโน้มจะทำให้นโยบายของรัฐดังกล่าวเอนเอียงไปหาคนจนมากยิ่งขึ้น คนรวย(ในงานของ Acemoglu มักเรียกว่า elite) ย่อมมีความรู้สึกถูกคุกคามในสองระดับด้วยกันคือ (หนึ่ง) ถูกคุกคามโดยอำนาจทางการเมืองที่ลดลง และ (สอง) ถูกคุกคามโดยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ลดลงซึ่งเป็นผลพวงมาจากอำนาจทางการเมืองที่ลดลงอีกทีหนึ่ง และนั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมพัฒนาการประชาธิปไตยในบางประเทศจึงถูกทำให้ถดถอยลงด้วยการปฏิวัติ เช่น การเก็บภาษีชนชั้นนำสูงขึ้นในละตินอเมริกานำมาสู่การปฏิวัติในท้ายสุด (Kaufman and Stallings, 1991)

“ความขัดแย้ง” ข้างต้นเป็นความขัดแย้งระหว่างคนจนและคนรวย (the poor/the rich) หรือ ประชาชนและชนชั้นนำ (citizen/elite) โดยฝ่ายหนึ่งต้องการประชาธิปไตยและอีกฝ่ายต้องการระบอบการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ความขัดแย้งนี้จะนำไปสู่เกมของการปฏิวัติ (game of coup) โดยเกมนี้ทั้งสองฝ่ายจะต้องเลือกที่จะต่อสู้กันเพื่อที่จะรักษาผลประโยชน์โดยรวมของตนเองเอาไว้ให้มากและนานที่สุด, การต่อสู้ระหว่างคู่ขัดแย้งนี้นำมาสู่แนวคิดสองกระแสด้วยกัน:

กระแสที่หนึ่ง, เป็นกระแสที่เห็นว่าการต่อสู้เพื่อที่จะเปลี่ยนผ่านสังคมไปสู่ระบอบประชาธิปไตยนั้น ต้องจำกัดอำนาจของชนชั้นนำอย่างเข้มงวดหรือสลายชนชั้นนำให้หมดไป ไม่เช่นนั้นเมื่อสภาวการณ์เอื้ออำนวยชนชั้นนำก็พร้อมที่จะลุกขึ้นมาปฏิวัติหรือเปลี่ยนแปลงการปกครองกลับไปสู่ระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตยได้อีก แนวทางในกระแสนี้เชื่อว่าการประนีประนอมหรือรีรอให้เวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านทอดยาวออกไป คือการสลายพลังการของปฏิวัติประชาชนต่อชนชั้นนำอ่อนแอลง

แนวคิดในกระแสที่หนึ่งนี้ มักถูกวิจารณ์ว่า มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่ความรุนแรง เพราะฝ่ายชนชั้นนำซึ่งเล่นเกมการปฏิวัตินี้ด้วย ย่อมตระหนักถึงภัยคุกคามและพร้อมที่จะตอบโต้อย่างเต็มที่ ในประเทศที่ชนชั้นนำถือครองสินทรัพย์ในรูปที่ดินมากกว่าแรงงาน ชนชั้นนำอาจเลือกวิธีการปราบปรามอย่างรุนแรง (repressive approach) เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นจะไม่กระทบต่อความมั่งคั่งของชนชั้นนำมากนัก (ดู Acemoglu and Robinson, 2006)

กระแสที่สอง, เป็นกระแสที่มองเรื่องความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำและประชาชนเป็นเรื่องที่มีพัฒนาการอย่างเป็นลำดับ การลัดขั้นตอนกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย อาจก่อให้เกิดความผันผวนทางการเมือง ความสูญเสีย และอาจกลายเป็นการปฏิวัติเพื่อกลับมาสู่จุดเดิม (revolution as repetition) หากยังไม่มีสถาบันทางการเมืองที่มั่นคงเพียงพอ กระแสการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยในแบบที่สองนี้ มองว่าชนชั้นนำเป็นคนที่มีเหตุมีผลและสามารถที่จะเห็นด้วยกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยได้หากสร้างเงื่อนไขที่เหมาะสมขึ้นมา

เงื่อนไขเหมาะสมที่จะทำให้ชนชั้นนำยินยอมเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยก็คือ การที่ชนชั้นนำได้มีเวลา (และทรัพยากรอื่นๆ)เพียงพอที่จะสร้างคะแนนความนิยมทางการเมืองของตนเองก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงสู่ระบอบประชาธิปไตย ชนชั้นนำจะยังได้รับอภิสิทธิ์ทางเศรษฐกิจการเมืองบางประการเหนือไปกว่าบุคคลทั่วไปในระยะเปลี่ยนผ่าน โดยการได้รับอภิสิทธิ์เหล่านี้จะลดลงอย่างเป็นลำดับในระหว่างที่พัฒนาการของประชาธิปไตยดำเนินไปโดยไม่มีการสะดุดหยุดลงด้วยการปฏิวัติ [1]

การที่ชนชั้นนำจะยินยอมผ่อนปรนอำนาจทางเศรษฐกิจการเมืองของตนเองออกมาอย่างค่อยเป็นค่อยไปได้นั้น จำเป็นต้องผ่านเงื่อนไขเบื้องต้น (necessary condition) ที่สำคัญสองข้อเสียก่อน นั่นคือ (หนึ่ง) ชนชั้นนำต้องตระหนักว่าเขามีทางเลือก และ (สอง) เขาอยู่ในสภาวะเสี่ยง หรือกล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้นก็คือ ประชาชนต้องมีพลังมากพอจะต่อรองชนชั้นนำจริงๆ หากชนชั้นนำไม่ยินยอมผ่อนปรนการผูกขาดอำนาจและทรัพยากรของตนเองออกมา (credible threat)

ภายใต้เงื่อนไขทั้งสองประการข้างต้น, หากประชาชนส่งสัญญาณที่หนักแน่นมากพอให้แก่ชนชั้นนำได้คิดคำนวณ ก็มีโอกาสอย่างมากที่ชนชั้นนำจะยอมผ่อนปรนอำนาจทางการเมืองหรือเศรษฐกิจของตนเอง และในระยะยาวเมื่อประชาชนเข้าถึงทรัพยากรได้มากขึ้น (มีชนชั้นกลางมากขึ้น) มีการสร้างสถาบันทางการเมือง ซึ่งหมายรวมถึงการสร้างอุดมการณ์ประชาธิปไตยได้อย่างเหนียวแน่นมั่นคงขึ้น พัฒนาการประชาธิปไตยก็จะรุดหน้าไปอย่างราบรื่น

แนวคิด (concept) ทั้งสองกระแสที่ยกมากล่าวถึงอย่างง่ายนี้ อันที่จริงแล้วมีรายละเอียดที่สามารถโต้แย้งกันไปมาได้อย่างไม่รู้จบ และอาจแยกเป็นแนวคิดย่อยๆ ที่แตกต่างออกมาต่างหากได้อีกมาก และอย่างที่เกิดขึ้นเสมอ นั่นคือการถกเถียงเชิงพรรณนาความมักไม่อาจนำมาซึ่งข้อสรุปที่แน่นอนได้ ดังนั้นเราอาจจะต้องสอดส่องหาหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อตรวจสอบแนวคิดทั้งสองกระแสดังกล่าว

หนึ่งในงานที่ช่วยให้เราเข้าใกล้ข้อพิสูจน์มากขึ้นเล็กน้อยก็คืองานของ Joseph, W. (2009) ซึ่งพยายามทดสอบว่า ผู้นำในระบอบไม่เป็นประชาธิปไตยมีแนวโน้มจะสนองตอบต่อการให้เงินช่วยเหลือ (หรือตัดเงินช่วยเหลือ)อย่างไรบ้าง หากถูกร้องขอให้เปลี่ยนแปลงการปกครองของตนเองไปสู่ประชาธิปไตย งานชิ้นนี้เข้าข่ายแนวคิดกระแสที่สองซึ่งเรากล่าวถึง เพราะผู้นำเผด็จการมีทางเลือกที่จะรับเงินช่วยเหลือต่อไปแล้วค่อยๆ เปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ประชาธิปไตย หรือยอมถูกตัดเงินช่วยเหลือ (credible threat) แล้วปกครองแบบไม่เป็นประชาธิปไตยต่อไป ซึ่งมีความเสี่ยงจะถูกปฏิวัติโดยประชาชน

ผลการศึกษาของ Joseph, W. (2009) ชี้ว่า ระบอบเผด็จการทหารจะพยายามอยู่ในอำนาจยาวนานขึ้นและมีแรงจูงใจที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองตนเองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยน้อยลง ในขณะที่ระบอบราชาธิปไตยและระบอบพรรคการเมืองผูกขาดพรรคเดียวมีโอกาสเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยได้มากขึ้น

งานของ Joseph, W. (2009) มีส่วนช่วยอย่างยิ่งในการยืนยันเบื้องต้นว่า แนวคิดเรื่องการประนีประอมกับชนชั้นนำเพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยในระยะยาวนั้นสามารถที่จะทำได้ในสองระบบคือระบบราชาธิปไตย และระบบเผด็จการพรรคการเมืองเดียว แต่ไม่ประสบความสำเร็จในกรณีเผด็จการทหาร ส่วนหนึ่งก็เพราะระบอบเผด็จการทหารมักไม่สามารถสร้างความนิยมอย่างกว้างขวางเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่การแข่งขันทางการเมืองแบบประชาธิปไตยได้

ทว่า การพิจารณาผลการศึกษาของ Joseph, W. (2009) จำเป็นต้องระมัดระวังในการตีความในสองประเด็นด้วยกันคือ (หนึ่ง) ผลการทดสอบ ไม่ได้บอกว่าการต่อสู้ทางการเมืองแบบถอนรากถอนโคนใช้การไม่ได้ การบอกว่าวิธีการที่ A ใช้งานได้ ไม่จำเป็นต้องหมายความว่าวิธีการ B ใช้งานไม่ได้ ทั้งสองเรื่องต้องพิจารณาแยกขาดจากกัน ผลการทดลองของ Joseph, W. (2009) ไม่ได้ให้ข้อสรุปอะไรเลยต่อวิธีการแบบกระแสถอนรากถอนโคน (สอง) ในระบอบการเมืองจริงๆ ชนชั้นนำอาจไม่ได้มีเพียงชนชั้นนำเดี่ยว (single elite) แต่เป็นลักษณะของการร่วมมือกันเช่น พรรคการเมืองพรรคเดี่ยวอาจร่วมมือกับทหาร ราชาธิปไตยอาจร่วมมือกับทหาร ซึ่งงานของ Joseph, W. (2009) ยังไม่สามารถอธิบายถึงจุดนั้นได้ และ (สาม) ต้องเข้าใจข้อจำกัดของแบบจำลองที่ใช้ในการศึกษา อาทิ ผู้นำในระบอบเผด็จการซึ่งกำลังกล่าวถึงนี้มีลักษณะแบบอรรถประโยชน์นิยม (utilitarianism) ซึ่งหมายความว่าเขาให้คุณค่ากับความสุขที่สามารถวัดได้ เป็นต้น

เมื่อเป็นเช่นนี้ การเดินทางของข้อวิวาทะว่าด้วยการเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจการเมืองไปสู่จุดที่เป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น จึงยังไม่บรรลุจุดสิ้นสุด กระแสของการเปลี่ยนแปลงที่เชี่ยวกราก หรือกระแสของการเปลี่ยนแปลงที่ไหลเอื่อย นั้นยังคงเป็นทางเลือกที่ยากจะหาข้อยุติในกลุ่มหัวก้าวหน้าว่าวิธีการใดดีกว่ากัน... การเปลี่ยนผ่านจึงยังเป็นปัญหาที่ไม่เคยผ่านไป

 


เอกสารอ้างอิง
Acemoglu, Daron and Robinson, James (2006). Economic Origins of Dictator and Democracy. Cambridge University Press.
Joseph, W. (2009). How Foreign Aid Can Foster Democratization in Autoritarian Regimes. American Journal of Political Science, 552-571.
Kaufman, Robert R. and Stallings Barbara (1991). The Political Economy of Latin American Populism. University of Chicago Press.

 


 

//////////////////////
[1] ในหลายประเทศได้มีการจัดตั้งสถาบันทางการเมืองที่ค้ำประกันว่าชนชั้นนำจะมีปากเสียงในการคัดค้านนโยบายซึ่งเอนเอียงจะให้ความสำคัญกับคนจำนวนมาก (Pro-majority policy) เอาไว้ในโครงสร้างทางการเมืองด้วย อาทิ Prussian Junkers ในเยอรมนีศตวรรษที่ 19 หรือ British House of Lord ในอังกฤษ เป็นต้น ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ทำให้ระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีมีแนวโน้มที่จะเกิดการรัฐประหารมากกว่าระบอบรัฐสภา เพราะระบอบรัฐสภาเปิดให้ชนชั้นนำได้วิ่งเต้น หรือแทรกแซงจากชนชั้นนำได้ง่ายกว่าระบอบประธานาธิบดี (ดู Acemoglu and Robinson, 2006)
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สหภาพโฮยา เดินหน้ายื่นหนังสือถึง "ยิ่งลักษณ์"

Posted: 10 Jan 2012 11:43 PM PST

11 ม.ค. 55 - สหภาพแรงงานอิเลคทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์เตรียมยื่นหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ครั้งที่ 1 วันที่ 15 ม.ค.2555 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ 
 
โดยทางสหภาพฯ ระบุว่าจะเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีช่วยเหลือพนักงานที่กำลังจะถูกเลิกจ้างในวันที่ 1 ก.พ.2555 จำนวน 1,606 คน ซึ่งบริษัทอ้างถึงสาเหตุการขาดทุนต่อเนื่องตั้งแต่เดือน เม.ย.2554 และสถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย
 
ซึ่งทางสหภาพฯ เห็นว่าการเลิกจ้างไม่มีความเป็นธรรมกับลูกจ้าง เป็นการเลิกจ้างที่มีพนักงานมากที่สุด โดยเลือกทำการเลิกจ้างเฉพาะโรงงานที่ 2 และเมื่อเปรียบเทียบผลกำไรของบริษัท ในปีปี 2553 พบว่ามีกำไรที่ 591 ล้านบาท ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย พบว่าบริษัทคู่ค้าที่ประสบน้ำท่วมอย่างหนักทำไมไม่มีการเลิกจ้าง ซึ่งไม่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ซึ่งไม่สนับสนุนให้มีการเลิกจ้างพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม
 
รวมถึงข่าวลือการโยกย้ายฐานการผลิตไปประเทศเวียดนามนั้น สหภาพฯ ระบุว่าสถานการณ์ ณ เวลานี้ ทางบริษัทยังคงเปิดโรงงานอยู่ ไฟฟ้า-น้ำ เครื่องจักรขนาดเล็กและใหญ่ยังคงมีการเดินเครื่อง ถึงแม้ว่าจะไม่มีพนักงานฝ่ายผลิตบางส่วนทำงานก็ตาม ขณะเดียวกันเมื่อมีผลบังคับให้เลิกจ้างคือวันที่ 31 ม.ค.นี้แล้ว เบื้องต้นวันที่ 20 ม.ค.บริษัทหยุดการผลิต วันที่ 23 ม.ค. ทางบริษัทโอนเงินให้กับแรงงานที่เข้าร่วมโครงการเลิกจ้างโดยสมัครใจ วันที่ 2 ก.พ.เลิกจ้างพนักงานทั้งหมดพร้อมกับโอนเงินส่วนที่เหลือซึ่งรวมแล้วกว่าหลายร้อยล้านบาท ทางสหภาพแรงงานฯจึงจำเป็นต้องเดินหน้าทวงความเป็นธรรมจากทางบริษัท เพราะพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง 1,606 คนเหล่านี้ได้รับผลกระทบ ต้องหางานใหม่ มีภาระหนี้สินที่ต้องชดใช้ จึงอยากให้ทางนายกรัฐมนตรีพิจารณาให้ความช่วยเหลือด้วย ส่วนหนังสือที่เคยยื่นให้กับนายกรัฐมนตรีผ่านนายสถาพร มณีรัตน์ ส.ส.ลำพูน เขต 2 เรื่องก็เงียบหายไป จึงอยากติดตามเรื่องนี้ว่าไปถึงไหนแล้ว

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น