โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

TCIJ: บันทึกการต่อสู้ด้วยแรงกายและแรงใจ เป้าหมายคือที่ดินทำกิน

Posted: 09 Jan 2012 10:31 AM PST

คำบอกเล่าจากพื้นที่สวนปาล์ม 7,500 ไร่ ท่ามกลางความขัดแย้งกรณีที่ดินของผู้ทำกินกับผลอาสินของกลุ่มทุนใหญ่ คืนวันที่ผ่านไปด้วยดวงใจระทึก พวกเขาคือผู้บุกรุกหรือเจ้าของที่ดินที่แท้จริง

 

5 มกราคม 2555

แม้ปีเก่าจะผ่านพ้นไปปีใหม่ย่างเข้ามา ฝนจะตกฟ้าจะร้องแม้อากาศจะหนาวเหน็บเพียงใด ความเป็นอยู่จะยากลำบากแค่ไหน เรื่องน้ำ-ไฟไม่ต้องพูดถึง แต่การต่อสู้เรื่องที่ดินทำกินของเราสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ก็ยังดำเนินต่อไป
 
ในพื้นที่สวนปาล์มแปลงใหญ่ เนื้อที่กว่า 7,500 ไร่ ชาวบ้านฉลองปีใหม่ 2555 กันอย่างเงียบสงบ โดยการนอนฟังเสียงพลุ และเสียงปืนสลับกันไปเป็นที่สนุกสนาน (?) ปนน่าตื่นตระหนก
 
ช่วงค่ำคืนวันที่ 31 ธ.ค.54 ถึงเริ่มต้นวันใหม่ 1 ม.ค.55 มีการยิงปืนจากบริเวณใกล้ที่พักของชาวบ้าน ในตำแหน่งที่ไม่ไกลนัก และลูกปืน 2 นัด วิ่งเข้ามาเที่ยวเล่นในแคมป์ที่พักยามเที่ยงคืนพอดี เกือบโดนศีรษะชาวบ้านที่ไม่ยอมหลับยอมนอนเพราะรอเวลานับถอยหลังวันสิ้นปี กลายเป็นเรื่องเล่าแบบขำๆ (?) ในวันต่อมา เพราะโชคดีที่ไม่มีใครได้รับของขวัญที่ไม่พึงประสงค์
 
ว่ากันถึงปฏิบัติการ “ทำลายสัญลักษณ์” ของกลุ่มทุนในพื้นที่ที่ดำเนินมาถึงวันที่ 5 แล้ว แม้ระยะนี้ฝนจะตกทุกวันชาวบ้านก็ทำงานกันท่ามกลางสายฝนและต้องทำงานกันอย่างรวดเร็วระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะช่วงวันที่ 30 - 31 ธ.ค.ที่ผ่านมา ได้มีคนงานของกลุ่มบริษัทขับรถเวียนบนถนน ในสวนปาล์มคอยตรวจตราดูความเคลื่อนไหวของชาวบ้านอยู่เหมือนกัน คาดว่าอีกไม่เกิน 10 วันอาจมีเหตุการณ์ที่ไม่ปกติบางอย่างเกิดขึ้นได้
 
ทางด้านผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้นัดตัวแทนจากสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้เข้าเจรจาแล้ว เรื่องการขยายพื้นที่ให้กับสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ซึ่งมีกว่า 600 คน ไม่ว่าผลการเจรจาจะออกมาอย่างไร แต่ที่แน่ๆ การเข้ายึดพื้นที่เพื่อขยายพื้นที่ทำกินของสมาชิก สกต.ในครั้งนี้นับว่ามีความพร้อม และเข้มแข็งทั้งกำลังกายและกำลังใจ เชื่อว่าไม่มีการถอยหลังกลับอย่างแน่นอนไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น
 
จากการพูดคุยกับสมาชิกหลายๆ คนต่างบอกว่า ครั้งนี้พวกเขาจะเอาผืนดินคืน และตั้งใจจะใช้ที่ดินผืนนี้มาแบ่งปันกันอย่างเป็นธรรมเพื่อทำมาหากิน
 
“ในเมื่อสังคมไม่ให้โอกาสพวกเรา พวกเราก็จำเป็นต้องสร้างโอกาสของเราเอง” สมาชิกคนหนึ่งกล่าว
 
คงต้องคอยติดตามสถานการณ์ความคืบหน้ากันต่อไป
 
ป้อมยามรักษาความปลอดภัยในยามค่ำคืน
 
29 ธันวาคม 2554
 
ผ่านมา 6 คืน ที่สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) เข้าจัดการพื้นที่สวนปาล์ม ต.ไทรทอง อ.ชัยบุรี จ.สุราษฏร์ธานี ด้วยการสร้างที่พักชั่วคราวและรวมตัวเข้ามาอยู่อาศัยร่วมกันในพื้นที่น้อยนิดบนของที่ดิน 7,500 ไร่ และมีเวรยามคอยดูแลผลัดเปลี่ยนตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่ได้มีเจ้าหน้าที่ของรัฐหน่วยงานใดเข้ามาดูแลสอบถามเลย
 
เวลากลางวัน สมาชิกร่วมกลุ่มกันออกทำงาน แผ้วถางหญ้า และต้องทำลายสัญลักษณ์บางอย่างของกลุ่มทุน เพื่อรอการเพาะปลูกพืชผลในฤดูกาลต่อไป โดยไม่ต้องการผลอาสินใดๆ ของบริษัท เพราะถือว่านี่คือผลประโยชน์ที่สร้างความขัดแย้งระหว่างกลุ่มทุนอิทธิพลกับชาวบ้าน และโดยนโยบายแล้ว การดำเนินการดังกล่าวก็เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและเป็นธรรมในการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของภาคเกษตรกรรม รวมทั้งเพื่อการรักษาปัจจัยการผลิตหรือที่ดินไว้สู่รุ่นลูกหลานไม่ให้เป็นสินค้า ตามแนวทางโฉนดชุมชนที่สมาชิกทุกคนตั้งความหวังไว้
 
การปฏิบัติการในครั้งนี้ยังไม่สามารถกำหนดวันแล้วเสร็จได้ แม้ว่าจะมีความสุ่มเสี่ยงต่ออันตรายอาจถึงแก่ชีวิต จากการเสียผลประโยชน์ของกลุ่มทุน แต่ทุกคนยังมีขวัญและกำลังใจดีพร้อมยืนหยัดกับความตั้งใจเดิมแม้ว่าในทุกค่ำคืนจะมีเสียงปืนดังเป็นระยะบริเวณรอบนอกที่พัก
 
แม้จะมีความหวาดกลัวบ้าง สมาชิกทุกคนก็อยู่กันอย่างสงบ ส่วนเหตุการณ์รุนแรงอื่นๆ ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นคาดว่าทางกลุ่มอิทธิพลก็น่าจะรอดูท่าทีของชาวบ้านเช่นกัน
 
ที่พักพิงในที่ดินพิพาท
 
26 ธันวาคม 2554
 
สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้  400 กว่าชีวิต ร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจกันเคลื่อนกำลังมุ่งสู่พื้นที่เป้าหมาย สวนปาล์ม 7,500 ใน อ.ชัยบุรี จ.สุราษฏร์ธานี และเป็นพื้นที่โฉนดชุมชนนำร่องที่ถูกกลุ่มทุนยึดครองใช้ประโยชน์มานานกว่า 20 ปี โดยภาครัฐไม่คิดจะจัดสรรให้กับชาวบ้านด้วยความเป็นธรรม
 
แม้จะรู้ว่านี่คือความเสี่ยงถึงชีวิตที่กล้าใช้จอบเสียม เข้าต่อสู้กับกระสุนปืนของกลุ่มอิทธิพล แต่ด้วยความจนยากและไม่อาจรอคอยด้วยการร้องขอจึงจำเป็นต้องจับมือกันในหมู่ประชาชน ยอมรับความเสี่ยง และต้องทำงานด้วยความระแวดระวังทุกเวลา
 
3 คืนมาแล้วที่ชาวบ้านขึ้นไปตั้งที่พักชั่วคราวที่นี่ แม้ในยามค่ำคืนที่ฝนตกหนักก็ยังต้องจัดเวรยามเฝ้าระวัง แม้ไม่มีอาวุธและต้องเป็นฝ่ายตั้งรับ ต้องคอยหลบหลีก ไม่ให้เกิดการปะทะ เพราะนั่นหมายถึงชีวิตของสมาชิกทุกคน
 
การเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่นี้ถือเป็นการทำลายผลประโยชน์ของกลุ่มทุนและกลุ่มอิทธิพลโดยตรง ก็ต้องคอยจับตาว่ารัฐบาลชุดนี้จะแก้ปัญหาเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของชีวิตชาวบ้าน และปัญหาการจัดสรรที่ดินให้กับชาวบ้านอย่างไรต่อไป
ชาวบ้านผู้ต่อสู้เพื่อผืนแผ่นดินทำกิน
 
23 ธันวาคม 2554
 
สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ซึ่งเป็นกลุ่มชาวบ้านไร้ที่ดินทำกินจำนวน 465 คน พร้อมของใช้และเสบียงอาหารเดินทางเข้าไปในสวนปาล์ม 7,500 ไร่ ซึ่งปัจจุบันเป็นพื้นที่ในการดูแลของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)
 
เดิมทีพื้นที่แห่งนี้ชื่อ ป่าไสทอน – คลองโซง เมื่อปี พ.ศ.2528 บริษัทรวมชัยบุรีปาล์มทองได้ขอเช่าทำประโยชน์ปลูกปาล์มน้ำมันตั้งแต่เมื่อครั้งที่ที่ดินยังอยู่ในความดูแลขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) แต่ด้วยความขัดแย้งภายในของกลุ่มบริษัทเองทำให้ต้องยกเลิกสัญญาเช่าไปในปี พ.ศ.2532 ถือว่าสิทธิตามกฎหมายได้สิ้นสุดลงไปแล้ว
 
แต่เนื่องจากผลประโยชน์ก้อนใหญ่ในแต่ละเดือนที่ได้จากผลอาสิน ทำให้กลุ่มอิทธิพลที่อ้างตัวว่าเป็นตัวแทนของบริษัทใช้สิทธิครอบครองและร่วมกับนักการเมืองท้องถิ่นบางกลุ่มเข้ามาบริหารจัดการร่วมแบ่งปันผลประโยชน์กันมาเป็นเวลากว่า 24 ปี พร้อมทั้งกีดกันข่มขู่ไม่ให้ชาวบ้านกลุ่มใดเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่นี้
 
“ที่ดินของรัฐที่สมควรกระจายให้กับภาคเกษตรกรผู้ทำการผลิตแต่กลับตกอยู่ในมือคนกลุ่มน้อยแค่กลุ่มเดียว” สมาชิกคนหนึ่งกล่าว  
 
แม้แต่วันที่มีกลุ่มสมาชิก สกต.เข้าไปเพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อทำการเกษตรก็ยังถูกกลุ่มอิทธิพลขับรถ 6 ล้อมีคนงานเต็มคันรถขับเข้ามาในเขตที่พักของชาวบ้านสร้างความหวาดผวากับกลุ่มชาวบ้านเพราะชาวบ้านไม่มีอาวุธใดๆ นอกจากเครื่องมือการเกษตร จอบ เสียม พร้า
 
สิ่งที่ชาวบ้านต้องการคือที่ดินเพื่อการทำอยู่ทำกิน แต่หลังจากฝากความหวังไว้ที่กระบวนการยุติธรรมเพื่อนำที่ดินคืนมาจัดสรรใหม่ กลับพบว่า คดีความอาญาต่อกลุ่มทุนฐานบุกรุกถูกอัยการสั่งไม่ฟ้อง คดีแพ่งอยู่ระหว่างพิจารณา ขณะที่บริษัททุนยื่นขอทุเลาคดี ส.ป.ก.ฟ้องขับไล่ การรอแล้วรอเล่าก็ยังคงได้แต่รอ
 
ปฏิบัติการครั้งนี้จึงมีขึ้น เพื่อให้เกิดรูปธรรมของการเปลี่ยนแปลงที่เป็นจริง เพื่อกรรมสิทธิ์ถือครองของผู้ทำกิน เพื่อที่ดินในการเพาะปลูกเพื่อลูกหลาน ไม่ได้หวังเก็บเกี่ยวมรดกพืชผลของกลุ่มทุน 
 
อย่างไรก็ตาม การที่ชาวบ้านเข้าไปอยู่ในพื้นที่สวนปาล์มในขณะนี้นับว่ามีความสุ่มเสี่ยงต่ออันตรายมากพอสมควรและต้องอยู่กันอย่างระมัดระวังต่อไป
 
สภาพสวนปาล์มในพื้นที่
 
สวนปาล์มที่รกร้างไม่ได้รับการตัดแต่ง แต่ยังมีผลปาล์มให้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์อยู่นี่คือผลประโยชน์ของกลุ่มทุนและนักการเมืองบางคนที่มีเอี่ยวอยู่ในพื้นที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี แม้สัญญาเช่าถูกยกเลิกไปแล้ว แต่ชาวบ้านก็ไม่สามารถเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้ 
 
กลุ่มชาวบ้านเคยเข้าไปต่อสู้ในปี 2546 และถูกยิงตายไป 7 ศพ หลังจากนั้นก็ไม่มีใครกล้าเข้าไปใข้ประโยชน์ในพื้นที่อีกจนกระทั่งเมื่อปี 2552 เป็นต้นมา สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้เข้าตรวจสอบพื้นทีนี้ และพยายามผลักดันด้านนโยบายกับภาครัฐมาตั้งแต่รัฐบาลนายกอภิสิทธิ จนเข้าสู่นโยบายโฉนดชุมชนนำร่องซึ่งเป็น 1 ใน 35 พื้นที่ทั่วประเทศ แต่ความคืบหน้าในการจัดสรรที่ดินอย่างเป็นรูปธรรมก็ไม่เกิดขึ้น ล่วงเลยเข้าสู่รัฐบาลปัจจุบันก็ยังคงล่าช้าอยู่ในการดำเนินการ 
 
ถึงวันนี้ อย่าปล่อยให้นโยบาย "ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียม และกระจายการถือครอง" ต้องอยู่แต่ในกระดาษเหมือนเช่นรัฐบาลที่ผ่านมาเลยเพราะนั่นหมายถึงความเดือดร้อนของประชาชนคนจนที่ไร้หนทางต่อสู้ และทำให้พวกเขาต้องต่อสู้ด้วยตัวเองอย่างจนตรอก
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กวีตีนแดง: เพียงความ (ไม่) เคลื่อนไหว

Posted: 09 Jan 2012 09:53 AM PST

 

 

 

 

เพียงความ (ไม่) เคลื่อนไหว

 

“และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ

เป็นความงดความงามใช่ความชั่ว

อันอาจขุ่นอาจข้นหม่นมัว

แต่ก็เริ่มจะเป็นตัวจะเป็นตน

พอเสียงร่ำรัวกลองประกาศกล้า

ก็รู้ว่าวันพระมาอีกหน 

พอปืนเปรี้ยงแปลบไปในมณฑล

ก็รู้ว่าประชาชนจะชิงชัย”

(เนาวรัตน์  พงษ์ไพพูลย์ : ๕ ตุลาคม ๒๕๑๗)

...

 

เสี่ยงสารมาคารวะมิตรสหาย

ในคืนร้าวดาวหม่นหล่นละลาย

และใบไม้ยังหายไปไม่หวนคืน

 

เรียงวลีวจีร้อยรอยความคิด

ถึงมิ่งมิตรจิตกวีที่สุดฝืน

เคยสร้างสรรค์อุดมการณ์หยัดยืน

หวังพลิกฟื้นสร้างสังคมอุดมธรรม

 

เคยบอกกล่าวย้ำใจให้สืบสาน

หรือพ้นวารผ่านวัยใจตกต่ำ

เคยขับขานกานท์กลอนสอนจดจำ

หรือเพียงพร่ำเพ้อพกแล้วผ่านพ้น

 

กวีกลอนบทเก่าเร้าสำนึก

แต่บทใหม่กลับรู้สึกแปลกสับสน

กระชับพื้นที่...หรือเข่นฆ่าประชาชน

ผู้ทุกข์ทน..หรือโจรปล้นก่อการร้าย..

 

เลือดที่นองท้องถนนบนผ่านฟ้า

ไหลลงมาราชประสงค์ไม่ขาดสาย

หรือเก้าสิบกว่าชีวิตสมควรตาย

จึงดูดาย..วายเว้นคารวะ

 

หรือสายตาเปลี่ยนไปไม่เหมือนก่อน

มองมวลชนก่อเดือดร้อนกักขฬะ

หรือเสรีภาพไม่สมควรจะชนะ

จึงเลิกละแล้วเลือกข้างอย่างขลาดกลัว

...

“และแล้วความเคลื่อนไหวไม่ปรากฏ

ใช่ความงดความงามกลับทรามชั่ว

ที่เคยขุ่นเคยข้นยิ่งหม่นมัว

 ประชาธิปไตยไม่เป็นตัวไม่เป็นตน

พอเสียงบดล้อรถถังระบาดบ้า

ก็รู้ว่า ”รัฐประหาร” กันอีกหน

พอควันไฟจางหายไปในมณฑล

ก็รู้ว่า “ประชาชน” ไม่พ้นภัย

...

ทางเท้า : กลุ่มกวีตีนแดง

 

 

 ....................................................

ขอประชาสัมพันธ์เชิญชวนร่วมชมงานนิทรรศการศิลปะ วรรณกรรม บทกวี

“กลับสู่แสงสว่าง”

เพื่อร่วมสนับสนุนข้อเสนอนิติราษฎร์

พบกับนิทรรศการศิลปะ อ่านบทกวี ฉายภาพยนตร์วงเสวนา และกิจกรรมอื่น ๆ มากมาย

ระหว่างวันที่ 15 - 22 มกราคม 2555

ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา

จัดโดย

 

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อะไรจะเกิดขึ้นในการเมืองพม่าปี 2012?

Posted: 09 Jan 2012 09:40 AM PST

 

เกมการเมืองที่ถูกเล่นในปี 2011 จะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อการเมืองพม่าในปีนี้

ปี 2011 เป็นปีที่พม่าเปลี่ยนโฉมการเมืองใหม่จากเผด็จการไปสู่รูปแบบที่ดูประหนึ่งเป็นรัฐบาลพลเรือน นายพลอาวุโสตานฉ่วย และนายพลอาวุโสหม่องเอ ผู้บัญชาการและรองผู้บัญชาการทหารที่ทรงอิทธิพลของกองทัพพม่า ได้หมดอำนาจไปตามหลักการภายหลังที่รัฐบาล “พลเรือน”ชุดนี้นี้ขึ้นสู่อำนาจท่ามกลางข้อกล่าวหาเรื่องการโกงการเลืกตั้ง

ตลอดปี 2011รัฐบาล”พลเรือน”ของพม่าได้แสดงให้เห็นอย่างต่อเนื่องว่ากำลังมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นและรัฐบาลชุดนี้ไม่ได้เป็นเหมือนกับรัฐบาลชุดก่อน รัฐบาล “พลเรือน”ได้สั่งระงับโครงการสร้างเขื่อนเมียนต์ ส่ง (Myintsone dam Project) มูลค่า 3.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ; ประกาศเจรจาสันติภาพกับกองกำลังติดอาวุธของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ; ประธานาธิบดีเต็งเส่งมีการพบปะหารือกับนางอองซาน ซูจี; รัฐบาลฯผ่อนปรนเรื่องการเซ็นเซอร์สื่อบางส่วน; นิรโทษกรรมนักโทษการเมืองประมาณ 200 คน; รัฐบาลฯ เตรียมตัวสำหรับวาระการเป็นประธานอาเซียนในปี 2014; มีการแก้ไขกฎหมายจดทะเบียนพรรคการเมือง, และอดีตพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ เอ็นแอลดี (National League for Democracy: NLD) ได้จดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองอีกครั้งโดยไม่นำเอาผลการเลือกตั้งเมื่อปี 1990 มาเป็นประเด็นอีกต่อไป; กองกำลังติดอาวุธของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆได้ร่วมกันจัดตั้งสภาสหพันธรัฐแห่งชาติ (United Nationalities Federal Council: UNFC) เพื่อเจรจากับรัฐบาลพม่า; กองทัพพม่าเปิดฉากโจมตีกองกำลังอิสระคะฉิ่น (Kachin Independence Army : KIA) และ กองกำลังไทใหญ่ส่วนเหนือ (Shan State Army: SSA –North); รัฐบาลฯมีการเจรจากับกองกำลังติดอาวุธหลายกลุ่มและบรรลุข้อตกลงหยุดยิงกับกองกำลังชนชาติว้า (United Wa State Army: UWSA), กองกำลังพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติ – รัฐฉานภาคตะวันออก (National Democratic Alliance Army-Eastern Shan State NDAA-ESS), และ กองกำลังกะเหรี่ยงพุทธ (Democratic Karen Buddhist Army: DKNB) แต่สมาชิกของสภาหพันธรัฐแห่งชาติยังคงดำเนินการเจรจาอยู่กับรัฐบาลพม่า รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (Myanmar National Human Rights Commission : MNHRC) ขึ้น และสิ่งที่แตกต่างไปจากรัฐบาลชุดที่แล้ว คือ เจ้าหน้าที่ในรัฐบาล “พลเรือน”ชุดนี้รวมถึงบรรดาที่ปรึกษาของประธานาธิบดีเต็งเส่งได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อในประเทศ, สื่อพลัดถิ่นของพม่า และสื่อต่างประเทศ รวมทั้งนักการทูตต่างประเทศ เช่น นางฮิลลารี่ คลินตัน ซึ่งเดินทางมาเยือนพม่าด้วย

การปฏิรูปที่เกิดขึ้นนี้อาจเป็นของปลอม หรือกลวิธี หรืออะไรก็ตามในปี 2011 แต่ก็ได้รับการขานรับด้วยความระมัดระวัง และมีเสียงเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงที่มากยิ่งขึ้น

เป็นเรื่องสำคัญที่จะวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของนโยบายรัฐบาลพม่าใน ปี 2012 ซึ่งตั้งอยู่บนฐานการเปลี่ยนแปลงในปี 2011 การแก้ไขกฎหมายการจดทะเบียนพรรคการเมืองในปี 2011 แสดงให้เห็นถึงความสามารถที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายอื่นๆในอนาคตได้ถ้ารัฐบาลฯมีความประสงค์ที่จะทำเช่นนั้น สภาสูงและสภาล่างนั้นไม่ได้เป็นทั้งฝ่ายที่มีอำนาจตัดสินใจที่แท้จริงและผู้เขียนกฎหมาย ผู้มีอำนาจที่แท้จริงและผู้เล่นหลักในเกมการเมืองคือ ประธานาธิบดีเต็งเส่ง, และรองประธานาธิบดี 3 คน คือ ตีฮ่า ตูระ ติน อ่อง เมียนต์ (Thiha Thura Tin Aung Myint), อู ขิ่น อ่อง เมียนต์ (U Khin Aung Myint) และตูระ ฉ่วย มาน (Thura Shwe Mann) โดย ประธานาธิบดีเต็งเส่ง และรองประธานาธิบดีตูระ ฉ่วย มาน จะเป็นผู้ได้รับความนิยมในปี 2012 ในฐานะที่เป็นนักปฏิรูป

ดังนั้น หากดอว์อองซาน ซูจี และสมาชิกพรรคเอ็นแอลดีชนะเลือกตั้งและต้องการแก้ไขกฎหมายใด แทนที่จะไปใช้ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงในสภาผู้แทนและสภาสูงแล้ว พวกเขาควรพยายามโน้มน้าวทั้งสองคนนี้ แน่นอนที่การแสวงหาทางออกในสภาฯนั้นเป็นเรื่องถูกต้องในเชิงหลักการ แต่มันอาจเป็นการใช้เวลาที่สูญเปล่าเมื่อผู้เล่นเกมหลักเป็นผู้ตัดสินใจและผู้วางนโยบายมากกว่าสมาชิกสภาสูงและสภาล่าง มันคือสภาพที่เป็นจริงที่แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลพม่ากำลังบริหารงานอย่างไร อาจเป็นไปได้ว่าเราจะเห็นรัฐบาลพม่าที่มีรูปแบบการนำแบบเดิมๆจนกว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งหน้า

ถ้าในปี 2012 นี้มีการนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองทั้งหมดรวมถึงกลุ่มนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยรุ่น 8-8-88 ขบวนการประชาธิปไตยและกระบวนการสมานฉันท์แห่งชาติก็จะก้าวต่อไปได้เร็วขึ้น อันที่จริง กลุ่มนักเคลื่อนไหวรุ่น 8-8-88 นี้เป็นกลุ่มที่จัดการการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหารเมื่อปี 2007 เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องบันทึกไว้ว่านักการเมืองและนักเคลื่อนไหวชาวพม่าจำนวนมากยังคงเชื่อมั่นในพลังประชาชนว่าเป็นทางออกเดียวที่จะหยุดยั้งเผด็จการในพม่า แน่นอนว่าความสำเร็จของการลุกขึ้นสู้ในโลกอาหรับ (Arab Spring) นั้นเกิดขึ้นได้เพราะพลังประชาชน

การเปลี่ยนแปลงสำหรับประเทศพม่านั้นอาจดูเหมือนว่าจะเป็นไปไม่ได้และไม่อาจจินตนาการได้หากไม่มีอองซาน ซูจี แต่ประชาชนชาวพม่ามีพลังที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศ ประชาชนจำเป็นต้องตระหนักว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่อาจที่จะขึ้นอยู่กับเธอเพียงคนเดียว พวกเขาสามารถที่จะสร้างพลังอำนาจให้ตัวเองและทำให้รัฐบาลที่ดูประหนึ่งเป็น “พลเรือน”พ่ายแพ้ในที่สุดเช่นเดียวกับการลุกขึ้นสู้ในโลกอาหรับ (Arab Spring) ที่นำไปสู่จุดจบของเผด็จการในประเทศตูนีเซีย อียิปต์ และลิเบีย หากพวกเขารอเพียงอองซาน ซูจีในการที่จะเปลี่ยนแปลงพม่า มันจะเหมือนกับการนั่งดูภาพยนตร์เรื่องยาวที่แสนจะน่าเบื่อโดยไม่รู้ว่าตอนจบจะเป็นเช่นไร ดอว์ อองซาน ซูจี จะไม่สนับสนุนการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลฯตราบเท่าที่ความสัมพันธ์ระหว่างเธอและรัฐบาลฯยังชื่นมื่นอยู่ เป็นไปได้ว่าฝ่ายรัฐบาลจะขอร้องให้เธอช่วยรักษาความมั่นคงแห่งรัฐไว้

ในปี 2012 ดูเหมือนว่าดอว์อองซาน ซูจีได้เตรียมตัวเป็นอย่างดีสำหรับการรณรงค์หาเสียงของพรรคเอ็นแอลดีโดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มศิลปิน ในปี 2011 ที่ผ่านมาเธอได้มีการพบปะกับบรรดาดารา นักร้อง นักแต่งเพลง และผู้กำกับภาพยนตร์ เส้นทางสู่สภาของเธอมิใช่เรื่องยาก แต่เธอจะสามารถสร้างความแตกต่างในสภาได้แค่ไหนนั้นยังเป็นคำถามอยู่ เพราะว่าสมาชิกสภาร้อยละ 75 เป็นนักการเมืองจากพรรคสหภาพเพื่อเอกภาพและการพัฒนา (Union Solidarity and Development Party: USDP) และอีกร้อยละ 25 เป็นนายทหาร

กลุ่มสิทธิมนุษยชนและกลุ่มการเมืองพลัดถิ่นต่างจำเป็นต้องคิดทบทวนใหม่ว่าจะรณรงค์กันอย่างไรในปี 2012 นี้ เพราะดูเหมือนว่าบรรดาแหล่งทุนที่เคยสนับสนุนพวกเขาจะเปลี่ยนไปให้ความสนับสนุนกับองค์กรต่างๆภายในประเทศพม่า

ในปี 2012 ถ้ารัฐบาลพม่านิรโทษกรรมนักโทษการเมืองทั้งหมด จะมีผู้ลี้ภัยกลับเข้าประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ การกลับมาของพวกเขาจะส่งผลต่อการเมืองนอกสภาภายในประเทศ การกลับมาของพวกเขามีความหมายยิ่งต่อประชาชนพม่าและประเทศ อย่างไรก็ตาม พวกเขาจะต้องเผชิญกับข้อถกเถียงอย่างเผ็ดร้อนกับฝ่ายตรงข้ามที่ไม่เคยลี้ภัยออกนอกประเทศ ว่าถ้าต้องการเข้าสู่เวทีการเมืองในประเทศ ทำไมพวกเขาถึงหนีออกไปในช่วงที่สถานการณ์เลวร้าย มันไม่ได้หมายความว่าพวกเขาไม่ได้รับการต้อนรับ แต่หมายถึงว่าพวกเขาจะต้องเผชิญกับปัญหาเช่นนี้

พม่าเป็นประเทศที่มีการคอรัปชั่นเป็นอันดับสองของโลก และในปี 2012 วัฒนธรรมการคอรัปชั่นนี้จะยังคงเป็นปัญหาของรัฐบาลต่อไป การต่อต้านคอรัปชั่นจะไม่ยุติตราบที่ยังไม่มีการจัดการกับเจ้าหน้าที่รัฐที่ทุจริตทั้งในรัฐบาลปัจจุบันและรัฐบาลชุดก่อน อาจจะต้องใช้เวลาอย่างน้อยสุดเป็นทศวรรษในการที่จะหยุดยั้งวัฒนธรรมการคอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่ทั้งในภาครัฐและภาคธุรกิจ ขั้นตอนสำคัญที่สุดสำหรับการต่อต้านคอรัปชั่นคือการนำเจ้าหน้าที่ระดับสูงและพวกพ้องมาดำเนินคดี และนำเจ้าหน้าที่รัฐในรัฐบาลชุดก่อน รวมถึงนายพลอาวุโสตานฉ่วย และนายพลอาวุโสหม่อง เอ มาสู่กระบวนการยุติธรรม นั่นจะเป็นสัญญานเตือนที่หนักแน่นว่าจะไม่มีผู้ใดได้รับการยินยอมให้คอรัปชั่นไม่ว่าด้วยเหตุผลใด

ในปี 2012 หรือระหว่างที่ดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดีเต็งเส่งอาจจะพยายามทำให้รัฐบาลของเขาเป็นรัฐบาลที่สะอาดและมีนโยบายที่สามารถนำคนเหล่านี้มาสู่กระบวนการยุติธรรม มิฉะนั้นแล้ว ถ้อยแถลงเมื่อปี 2011 ของประธานาธิบดีเต็งเส่งในเรื่องรัฐบาลที่สุจริตและมีธรรมาภิบาลนั้นจะไม่สามารถนำมาใช้กับใครได้เลยรวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐที่ทุจริตทั้งในรัฐบาลชุดก่อนและชุดปัจจุบัน

ด้วยเหตุที่พม่าเป็นประเทศยากจนที่สุดเป็นอันดับสองในเอเชียรองจากอัฟกานิสถาน ความพยายามของประธานาธิบดีเต็งเส่งในการที่จะลดความยากจนนั้นไม่อาจสร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วตราบเท่าที่ประเทศกลุ่มตะวันตกยังคงแซงชั่นพม่า ตราบเท่าที่วัฒนธรรมการคอรัปชั่นในประเทศยังไม่ถูกกำจัดไป และตราบเท่าที่สงครามประชาชนตามแนวชายแดนยังไม่ยุติลง

การเจรจาสันติภาพของรัฐบาลกับกองกำลังติดอาวุธของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในปี 2011 สามารถโน้มน้าวกองกำลังชนชาติว้า (UWSA), กองกำลังพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติ – รัฐฉานภาคตะวันออก (NDAA-ESS), และกองกำลังกะเหรี่ยงพุทธ (DKNB) ให้ลงนามในสัญญาหยุดยิงได้ แต่รัฐบาลไม่อาจบรรลุข้อตกลงหยุดยิงกับสมาชิกสภาสหพันธรัฐแห่งชาติ (UNFC) รวมทั้งกองกำลังติดอาวุธที่เข้มแข็งที่สุดอีกสองกลุ่ม คือ กองกำลังอิสระคะฉิ่น (KIA) และกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) แสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลจะต้องทบทวนวิธีการเจรจากับกลุ่มกองกำลังที่ยังมีการสู้รบอยู่ การเจรจากับกองกำลังติดอาวุธของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยเฉพาะสมาชิกของสภาสหพันธรัฐแห่งชาตินั้นยังไม่พียงพอ รัฐบาลต้องให้คำมั่นสัญญาทางการเมืองพร้อมกับแรงจูงใจต่างๆด้วย สมาชิกของสภาสหพันธรัฐแห่งชาติอาจจะยังคงเจรจาต่อไปกับรัฐบาล แต่พวกเขาจะยังคงยึดถือตามหลักการของสภาสหพันธรัฐแห่งชาติ หมายถึงว่ากลุ่มชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มสามารถที่จะแยกเจรจากับรัฐบาลได้ แต่เพื่อที่จะให้บรรลุข้อตกลงสันติภาพในขั้นท้ายสุด พวกเขาจะยังคงเป็นเอกภาพ และขอให้รัฐบาลแสวงหาข้อยุติในการเจรจาสันติภาพผ่านสภาสหพันธรัฐแห่งชาติ มีความเป็นไปได้ว่าในที่สุดรัฐบาลจะต้องแสวงหาข้อยุติในการเจรจากับสภาสหพันธรัฐแห่งชาติ

ประธานาธบดีเต็งเส่งอาจเผชิญความเสี่ยงในกระบวนการปฏิรูปของเขา รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงการนำในกองทัพ นั่นเป็นความเสี่ยงที่เขาต้องเผชิญหากเขามีความต้องการอย่างแท้จริงที่จะดำเนินการปฏิรูป

ปี 2012 รัฐบาลพม่าจะพยายามพัฒนาความสัมพันธ์กับประชาคมนานาชาติ และยุติการแซงชั่นของชาติตะวันตก โดยการประกาศกับประชาคมนานาชาติและสหรัฐอเมริกาถึงความสัมพันธ์อันราบรื่นระหว่างรัฐบาลกับดอว์อองซาน ซูจี และการลงนามในสัญญาหยุดยิงกับกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่ม รวมถึงความพยายามของรัฐบาลเพื่อที่จะให้บรรลุข้อตกลงกับกลุ่มที่ยังมีการสู้รบอยู่ การปล่อยตัวนักโทษการเมือง และพัฒนาการด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศ ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วที่จะให้มีการยุติการแซงชั่นต่อรัฐบาลพม่า

การเมืองพม่ามีความซับซ้อน บางคนเรียกมันว่าเป็นการเมืองอมโรค ความขัดแย้งต่างๆและประเด็นกลุ่มชาติพันธุ์ยังคงเป็นปัญหาที่ไม่แก้ไขไม่ได้ และสงครามประชาชนจะยังคงดำเนินต่อไปพร้อมกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน รัฐบาลมีสิ่งที่ต้องทำอีกมากในการที่จะพัฒนาสถานการณ์สิทธิมนุษยชน สำหรับการเมืองกระแสหลักนั้น ซูจีและพรรคการเมืองของเธอกำลังเตรียมการที่จะเข้าสู่สภาผู้แทนในปี 2012 นี้ เธอจะเป็นผู้เกื้อหนุนและที่ปรึกษาที่จะสามารถผลักดันเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในพม่า
อะไรจะเกิดขึ้นจริงๆในการเมืองพม่าในปี 2012 นี้เป็นสิ่งที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ อย่างไรก็ตาม เป็นที่แน่นอนว่าจะมีหลายสิ่งหลายอย่างตามมาในเกมการเมืองปี 2012 ซึ่งเป็นปีที่ชี้อนาคตของพม่าว่าประเทศจะก้าวไปสู่ประชาธิปไตยจริงหรือไม่
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เทศกาลหนังที่ย่างกุ้ง: หาความหมาย 'เสรีภาพ' เพื่อทดสอบ 'เสรีภาพ'

Posted: 09 Jan 2012 09:37 AM PST

ตามไปดูเทศกาลภาพยนตร์ “ศิลปะแห่งเสรีภาพ” ในย่างกุ้ง ที่นับเป็นเทศกาลภาพยนตร์ทดสอบอุณหภูมิทางการเมืองของประเทศ ด้วยการปฏิเสธการส่งหนังให้คณะกรรมการเซ็นเซอร์ได้ตรวจสอบก่อนออกฉาย และมอบรางวัลหนังยอดเยี่ยมแก่หนังสั้นว่าด้วยการปฏิวัติจีวร โดยมีผู้นำฝ่ายค้าน ‘ออง ซาน ซูจี’ เป็นประธานของเทศกาล

สิ้นสุดไปแล้วกับงานเทศกาลภาพยนตร์ “ศิลปะของเสรีภาพ” (The Art of Freedom Film Festival) ที่จัดขึ้นในย่างกุ้ง อดีตเมืองหลวงของพม่าเมื่อวันที่ 1-4 มกราคมที่ผ่านมา การจัดเทศกาลหนังว่าด้วยเสรีภาพ อาจดูเหมือนจะเป็นเรื่องปรกติหากจัดขึ้นในประเทศอื่น หากแต่ในพม่า การฉายภาพยนตร์เกี่ยวกับการ “ปฏิวัติจีวร” หรือการลุกฮือที่นำโดยพระสงฆ์ในพม่าเมื่อปี 2550 ต่อสาธารณชนหลายพันคนโดยไม่ถูกแทรกแซงโดยเจ้าหน้าที่รัฐ นับว่าเป็นเหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญทางการเมืองที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยเลยก็ว่าได้

การจัดเทศกาลภาพยนตร์ครั้งนี้ เกิดขึ้นจากความริเริ่มของนักแสดงตลกชาวพม่าที่ชื่อ “ซากานาร์” ศิลปินและนักเคลื่อนไหวผู้ถูกจำคุกมาแล้วสี่ครั้ง ทั้งจากการช่วยเหลือประชาชนในภัยพิบัตินาร์กิส การแสดงตลกล้อเลียนผู้นำรัฐบาล และการร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาลทหารในปี 1988 เขาเพิ่งได้รับการปล่อยตัวจากคุกที่เมืองมิตจินา รัฐคะฉิ่น เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา หลังจากรัฐบาลเต็งเส่งเริ่มประกาศให้มีการปล่อยตัวนักโทษการเมือง

“หลังจากที่ผมออกจากคุก ผมอยากรู้และเข้าใจความหมายของคำว่าเสรีภาพ จึงต้องการจัดเทศกาลภาพยนตร์ขึ้นมา และได้ไปพบกับออง ซาน ซู จี ซึ่งเธอก็ประสงค์ที่จะสนับสนุนงานนี้อย่างเต็มที่” เขากล่าว โดยหนังสั้นที่ได้รับเลือกให้มาฉายในงานนี้ มีทั้งหมด 54 เรื่อง ซึ่งมาจากการส่งเข้าร่วมจากผู้กำกับหนังที่สนใจทั้งในพม่าและต่างประเทศ 188 เรื่อง

หนังสั้นที่ได้รับการคัดเลือกทั้งหมด ถูกฉายขึ้นที่โรงภาพยนตร์ในห้าง “Taw Win Center” ห้างสรรพสินค้าแห่งใหม่ในย่างกุ้ง ซึ่งแบ่งออกเป็นสองโรง ฉายระหว่างวันที่ 1-3 มกราคม โดยมีออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย เดินเดินทางมาร่วมเปิดงานในวันที่ 31 ธันวาคม และมอบรางวัลภาพยนตร์ดีเด่นแก่ผู้กำกับในพิธีปิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม

เทศกาลภาพยนตร์ “ศิลปะของเสรีภาพ” เริ่มต้นวันแรกด้วยการท้าทายอำนาจรัฐบาลอย่างไม่กลัวเกรง โดยการฉายหนังสั้น “Ban That Scene” หนังสั้นความยาว 35 นาที ฝีมือกำกับโดย Waing ซึ่งเสียดสีการทำงานของคณะกรรมการการเซ็นเซอร์แห่งชาติได้อย่างเฉียบคมด้วยอารมณ์ขัน พร้อมๆกับสะท้อนมุมมองอนุรักษ์นิยมและวัฒนธรรมทางการเมืองที่ล้าหลังของพม่าได้อย่างแนบเนียน

อย่างไรก็ตาม ทั้งผู้จัดและผู้ชมภาพยนตร์ต่างตกใจไปตามๆ กัน เมื่อพบว่าประธานของกองเซ็นเซอร์แห่งชาติของพม่า ได้ประกาศกลางโรงหนังว่าจะฟ้องหมิ่นประมาทผู้จัดงาน หลังการฉายเรื่อง “Ban That Scene” สิ้นสุดลงไม่ถึงครึ่งชั่วโมง โดยให้เหตุผลว่า หนังสั้นดังกล่าวดูหมิ่นและไม่ให้เกียรติเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในกองเซ็นเซอร์แห่งชาติ

“หากพวกเขาอยากจะมาฟ้องผม พวกเขาก็เชิญทำได้เลย” ซาร์กานาร์กล่าวกับผู้สื่อข่าวประชาไท พร้อมทั้งชี้ว่า ภาพยนตร์ทั้งหมดที่นำมาฉายในเทศกาลนี้ มิได้ผ่านการตรวจสอบของกองเซ็นเซอร์ของประเทศแต่อย่างใด ซึ่งโดยปรกติแล้ว ตามกฎหมายของพม่า สื่อทุกชนิดไม่ว่าจะรูปแบบใดๆ ต้องผ่านกองเซ็นเซอร์ก่อนที่ได้รับอนุญาตให้ออกฉาย

“ผมได้เจรเจากับทางกองเซ็นเซอร์แล้ว และเขาก็อนญาตให้เราจัด เราพร้อมจะดำเนินการทุกอย่างด้วยความโปร่งใส” เขากล่าวต่อ พร้อมทั้งเสริมว่า เขาไม่ได้คาดหวังเลยว่าเทศกาลดังกล่าวจะได้รับความสนใจมากเท่านี้ เพียงในวันแรก ก็มีประชาชนหลั่งไหลเข้ามาจับจองตั๋วภาพยนตร์กันอย่างคึกคัก จนทำให้ภายหลังผู้จัดต้องเปิดโรงภาพยนตร์เพิ่มอีกแห่ง พร้อมกับยกเลิกระบบการให้ตั๋วเนื่องจากลดความวุ่นวายในการจัดการ

ทั้งนี้ การจัดเทศกาลภาพยนตร์เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มิใช่ครั้งแรกที่เคยเกิดขึ้นในพม่า โดยเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ก็มีเทศกาลภาพยนตร์ ’วาธาน’ ที่จัดขึ้นโดยผู้กำกับหนังท้องถิ่น ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสาธารณรัฐเช็ค อย่างไรก็ตาม เทศกาลที่จัดโดยซาร์กานาร์ในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่ภาพยนตร์ที่ออกฉายทั้งหมดไม่ผ่านกองเซ็นเซอร์แห่งชาติ และมีผู้นำฝ่ายค้านอย่างออง ซาน ซูจี เป็นประธานของเทศกาล

บรรยากาศการฉายภาพยนตร์เป็นไปอย่างคึกคัก ตั้งแต่จำนวนผู้เข้าชมที่ต้องต่อแถวเหยียดยาวเพื่อจับจองที่นั่งในโรงหนัง ไปจนถึงการพูดคุยถาม-ตอบระหว่างผู้กำกับและผู้ชม โดยหนังสั้นทั้งหมด ต่างตีความคำว่า “เสรีภาพ” ไปในทางต่างๆ กัน บ้างก็เชื่อมโยงกับแนวคิดทางพุทธศาสนา ชีวิตประจำวัน การเมือง หรือประชาธิปไตย

ไซ กอง คาม หนึ่งในผู้ส่งภาพยนตร์เข้าร่วมประกวด และผู้ชนะรางวัลสารคดียอดเยี่ยมในเทศกาลหนังวาธาน กล่าวว่า เขาดีใจที่เทศกาลหนังครั้งนี้จัดขึ้นมาได้สำเร็จ และตนหวังว่าจะสามารถเข้าสู่อุตสาหกรรมผลิตภาพยนตร์อย่างจริงจังได้ในอนาคต พร้อมทั้งชี้ว่า ในพม่าเอง ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับภาพยนตร์อยู่หลายด้าน ทั้งการเซ็นเซอร์ การขาดสถาบันการศึกษาที่ให้ความรู้เกี่ยวกับภาพยนตร์ และอุปกรณ์ด้านเทคนิคที่จำเป็น

ไฮไลท์ของเทศกาลหนังในครั้งนี้ นอกจากจะมีภาพยนตร์เรื่อง “Ban That Scene” ที่สามารถเรียกเสียงฮาจากผู้ชมและคว้ารางวัล “Audience’s Choice” ได้แล้ว ยังมีสารคดีเรื่อง “Click in Fear” โดยผู้กำกับที่ชื่อจายจ่อเข่ง (Sai Kyaw Khaing) ที่บอกเล่าชีวิตของช่างภาพชาวกะเหรี่ยง-พม่าที่ต้องหลบหนีออกนอกประเทศหลังจากบันทึกภาพเหตุการณ์การปฏิวัติชายจีวรในปี 2550 ซึ่งได้รับรางวัลสารคดียอดเยี่ยมไปครอง

“มันเป็นช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์และมีความสำคัญของประเทศของเราอย่างยิ่ง” ออง มิน บรรณาธิการหนังสือพิมพ์เมียนมาร์ โพสต์กล่าว “การฉายหนังเกี่ยวกับการปฏิวัติจีวรในที่สาธารณะไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และมันเป็นไปไม่ได้เลยเพียงสามเดือนก่อนหน้านี้”

ทั้งนี้ หลายฝ่ายมองว่า บรรยากาศทางการเมืองของพม่าภายใต้รัฐบาลพลเรือนที่นำโดยเต็นเส่ง มีความผ่อนคลายมากขึ้นหลังจากขึ้นสู่อำนาจในเดือนมีนาคมปี 2554 ด้วยการดำเนินนโยบายปฏิรูปต่างๆ เช่น การลดความเข้มงวดในการเซ็นเซอร์ การเจรจาสันติภาพกับชนกลุ่มน้อย การแก้ไขกฎหมายการเลือกตั้ง และการปล่อยตัวนักโทษการเมือง อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ยังจับตาต่อไปว่า การปฏิรูปนี้จะเป็นเพียงแค่การตบตาเพื่อแสวงหาการยอมรับจากนานาชาติ หรือสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนได้มากน้อยเพียงใด

เคโกะ เซอิ ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ-วัฒนธรรมศึกษาและการเมืองพม่า ให้ความเห็นว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในพม่าคล้ายกับช่วงเปตรอยสกา-กลาสนอสต์ในรัสเซียในทศวรรษ 1980 ที่บรรยากาศทางวัฒนธรรมเริ่มเปิดมากขึ้น เกิดวงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหมู่ประชาชนมากขึ้น ซึ่งท้ายที่สุดจะนำไปสู่การเมืองที่เสรีขึ้นตามมา

“ด้วยอัตราความเร็วขนาดนี้ พม่าอาจจะเปลี่ยนไปในทางทีดีเร็วกว่าประเทศไทยก็เป็นได้” เซอิกล่าว

คลิกเพื่อชมภาพอื่นๆ จากเทศกาลภาพยนตร์ The Art of Freedom Film Festival ที่นี่

CLICK IN FEAR (In English) from Sai Kyaw Khaing on Vimeo.

 

คลิกเพื่อชมภาพยนตร์เรื่อง “Click in Fear”

คลิกเพื่อชมภาพยนตร์เรื่อง “Ban That Scene”

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ใจ อึ๊งภากรณ์: ไทยจะมีวิกฤตคนชราจริงหรือ?

Posted: 09 Jan 2012 09:19 AM PST

พวกนักการเมืองฝ่ายทุน และนักวิชาการฝ่ายขวาจากสำนักเสรีนิยมกลไกตลาด (neoliberal) ในตะวันตก พูดมานานว่าในประเทศพัฒนามี “วิกฤตคนชรา” เพื่อให้ความชอบธรรมกับการตัดสวัสดิการบำเหน็จบำนาญ และบังคับให้คนงานทำงานนานขึ้นก่อนเกษียน ข้ออ้างเท็จของพวกนี้คือการที่คนชรามีอายุยืนนานขึ้น และการที่สัดส่วนคนในวัยทำงาน เมื่อเทียบกับคนเกษียณมีมากขึ้น

ตอนนี้ในไทยดร.สราวุธ ไพฑูรย์พงษ์ และดร.มัทนา พนานิรามัย จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) [1] “เตือน” ว่าคนทำงานในปัจจุบัน จะต้อง “ทำใจยอมรับการทำงานที่ยาวนานขึ้น” รวมทั้งต้องเก็บออมให้เพียงพอต่อการใช้ตลอดชีวิตเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ พร้อมกันนั้นมีการกล่าวว่า ในไทยในปี 2552 มีสัดส่วนวัยแรงงานที่สามารถเกื้อหนุนการดูแลผู้สูงอายุได้โดยเฉลี่ย วัยแรงงาน 4 คนต่อผู้สูงอายุ 1 คน แต่ในอีก 30 ปีข้างหน้าจะเปลี่ยนเป็นวัยแรงงาน 1.6 คนต่อการดูแลผู้สูงอายุ 1 คน

ทางออกของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยนี้ คือ “ควรดำเนินการให้มีการบริโภคอย่างฉลาดและลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ส่งเสริมให้มีรายได้จากการทำงานเพิ่มขึ้น โดยส่งเสริมให้ทำงานในระบบมากขึ้นและได้รับการคุ้มครองแรงงานเพื่อให้ผู้สูงอายุมีงานทำ มีรายได้ และมีการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุนต่าง ๆ เพิ่มขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการออมเพื่อชราภาพมากขึ้น”

ซึ่งทั้งหมดที่ TDRI เสนอมานี้ เป็นการโยนภาระให้คนจน ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในไทย ต้องดูแลตนเอง ทำงานนานขึ้น และต้องใช้แนวเศรษฐกิจพอเพียง เพราะมีการมองว่าคนธรรมดาในปัจจุบันยากจนเพราะใช้จ่าย “ฟุ่มเฟือย”

สรุปแล้วไม่มีการพิจารณาภาพรวมของสังคมไทย และข้อถกเถียงต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ในแวดวงวิชาการระดับโลกเลย นักวิชาการฝ่ายขวาไทยเสนอแนวคิดของตนเหมือนกับว่าเป็น “ข้อมูลวิทยาศาสตร์” ตามเคย

ในภาพรวม สิ่งที่นักวิชาการ TDRI จงใจมองข้ามคือ คนส่วนใหญ่ที่ทำงานในประเทศไทย ได้รับค่าตอบแทนน้อยเกินไป เพราะมูลค่าส่วนใหญ่ที่เขาร่วมกันผลิต ไม่ว่าจะในภาคอุตสาหกรรม  ภาคเกษตร หรือภาคบริการ กลับตกอยู่ในมือของคนส่วนน้อยที่เป็นนายทุน นักการเมือง และอภิสิทธิ์ชนที่ไม่เคยทำงานเลย นี่คือสาเหตุที่ในปี ๒๕๕๒ คนรวยที่สุดในไทย 20% ครอบครอง 59% ของทรัพย์สินทั้งหมด ในขณะที่คนจนที่สุด 20% ครองแค่ 3.9% [2] และดัชนีวัดความเหลื่อมล้ำ (Gini Coefficient) ของไทยสูงกว่าประเทศจีนและประเทศอินเดีย คือสูงถึง 0.54 เมื่อเทียบกับจีน 0.42 และอินเดีย 0.37[3] พูดง่ายๆ คนส่วนใหญ่ที่ทำงานในประเทศไทยสร้างเศรษฐกิจให้เจริญ แต่ไม่ได้ผลตอบแทนอย่างเป็นธรรม แล้วพอพ้นวัยทำงานก็ถูกนายทุนทอดทิ้งไปเลย มันเป็นสถานการณ์ที่ขัดกับศีลธรรมพื้นฐานโดยสิ้นเชิง และในสถานการณ์แบบนี้ TDRI เสนอให้คนจนออมเพิ่มผ่านการลดค่าใช้จ่าย เพราะสำนักวิชาการฝ่ายขวานี้ ปฏิเสธมาตรการทุกชนิดที่จะกระจายความร่ำรวยอย่างเป็นธรรมไปสู่พลเมืองทุกคน

นอกจากนี้มีประเด็นรายละเอียดสำคัญๆ หลายประเด็นที่นักวิชาการจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยนี้ ปิดหูปิดตา ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ไม่ยอมพิจารณา ดังนี้คือ

1. ไม่มีการยอมรับความจริงทางเศรษฐกิจว่าใน 30-50 ปีข้างหน้าจะมีการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานในประเทศไทย ซึ่งจะเพิ่มความสามารถของคนในวัยทำงานที่จะดูแลคนชรา นอกจากนี้ในทุกประเทศการชะลอของอัตราเกิดที่ทำให้สัดส่วนคนชราเพิ่มขึ้นเป็นปรากฏการณ์ชั่วคราวเท่านั้น เพราะในที่สุดสัดส่วนนั้นจะคงที่และไม่เปลี่ยนอีก อย่างเช่นในกรณีอังกฤษซึ่งมีคนชรา 20% เหมือนกับ 20 ปีก่อน และที่สำคัญอีกคือในประเทศที่อัตราการเกิดตกต่ำกว่าอัตราการตายเป็นเวลานาน การขาดแรงงานแก้ได้โดยการเปิดพรมแดนต้อนรับคนงานจากที่อื่นได้ ประเทศไทยก็ไม่ต่าง

2. แทนที่จะเสนอว่าในสังคมไทยควรมีการเพิ่มเงินเดือนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้คนสามารถออมได้ และจ่ายค่าประกันสังคม และเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำมหาศาลระหว่างนายทุนคนรวยกับประชาชนส่วนใหญ่ พวกนักวิชาการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เสนอว่าคนธรรมดาควร “ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น” และ “รู้จักออม” หรือไม่ก็ควรมีงานทำ “ในระบบ” แต่จริงๆ แล้วในประเทศไทยควรมีการเพิ่มระดับค่าจ้างขั้นต่ำไปสู่ปีละ 10,000 บาทเป็นอย่างน้อย และควรมีการจำกัดระดับรายได้ของเศรษฐีผู้ที่มีรายสูง ผ่านการเก็บภาษี Super Tax อย่างที่อาจารย์ปรีดีเคยเสนอ

แน่นอนพวกเสรีนิยมจะค้านว่า การเพิ่มรายได้ให้คนทำงานและการเก็บภาษีสูงจากเศรษฐีจะทำลาย “แรงจูงใจในการลงทุน” ของคนรวย แต่ตรรกะเสรีนิยมนี้ คือการเสนอว่าระบบเศรษฐกิจอยู่ในมือ “โจรโลภมาก” ที่เราต้องเอาใจเสมอ และ“เราไม่มีทางเลือกอื่น”

3. นักวิชาการ TDRI ไม่มีการนำตัวเลขมูลค่าทั้งปวงที่คนงานไทยสร้างขึ้นในระบบเศรษฐกิจ มาเปรียบเทียบกับรายได้และสวัสดิการอันน้อยนิดของเขา ไม่มีการพิจารณาตัวเลขงบประมาณทหาร และงบประมาณพิธีกรรมต่างๆ ของอภิสิทธิ์ชน เพราะถ้าทำอย่างนั้นเราจะเห็นว่าในสังคมไทย มูลค่าที่คนส่วนใหญ่ผลิตขึ้นด้วยการทำงาน กลับถูกใช้โดยคนอื่นในทางที่ผิด และยิ่งกว่านั้นคนที่พยายามพูดเรื่องแบบนี้จะถูกขู่ว่าเป็นพวก “ล้มเจ้าไม่เคารพกองทัพ” เป็นต้น

 

สถานการณ์สากล
ในระดับสากล ก่อนที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกปีค.ศ. 2008 นักวิชาการและนักการเมืองเสรีนิยมเสนอว่าคนชราทั่วไปในสังคม “เป็นภาระ” ถึงขั้นวิกฤต ความคิดนี้นอกจากจะไม่ระลึกถึงบุญคุณที่เราควรจะมีต่อคนทำงานรุ่นก่อน ที่สร้างเศรษฐกิจเราให้เจริญแล้ว ยังเป็นความเชื่อเท็จที่เสนอไปเพื่อเพิ่มอัตรากำไรให้บริษัทและกลุ่มทุน เพราะพวกนี้กำลังเสนอว่าบำเหน็จบำนาญของคนชรา “แพงเกินไป” ในยุโรปความเชื่อนี้นำไปสู่การยืดเวลาทำงาน มีการพยายามขยายอายุเกษียนถึง 65 หรือ 67มีการเรียกเก็บเงินสมทบเพิ่ม และมีการกดระดับสวัสดิการอีกด้วย

“วิกฤตของกองทุนบำเหน็จบำนาญ” ที่นักการเมืองและนักวิชาการเสรีนิยมพูดถึง ไม่ได้มาจากการที่มีคนชรามากเกินไปแต่อย่างใด แต่มาจากการที่รัฐบาลและบริษัทลดงบประมาณที่ควรใช้ในการสนับสนุนกองทุนดังกล่าว และไม่ยอมเก็บภาษีในอัตราเดิมสมัยที่เริ่มสร้างรัฐสวัสดิการ เป้าหมายคือการเพิ่มอัตรากำไรโดยทั่วไป

ประเด็นเรื่องคนชราเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับการแบ่งมูลค่าในสังคมที่คนทำงานสร้างขึ้นมาแต่แรก  บำเหน็จบำนาญเป็นเงินเดือนที่รอจ่ายหลังเกษียณ ไม่ใช่เงินของรัฐหรือนายทุน แนวคิดเสรีนิยมต้องการจะรุกสู้เพื่อให้ฝ่ายนายทุนได้ส่วนแบ่งมากขึ้นจากคนทำงาน ผลเห็นชัดที่สุดในสหรัฐอเมริกาเพราะระดับรายได้ของคนธรรมดาในสหรัฐในปี ค.ศ.1993 แย่ลงกว่า 20 ปี ก่อนและคนงานสหรัฐส่วนใหญ่ต้องทำงานเพิ่มอีกหลายวันต่อปี ในขณะเดียวกันสัดส่วนมูลค่าการผลิตที่ตกกับผู้บริหารและเจ้าของทุนมีการเพิ่มขึ้นมหาศาล

ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เริ่มในปีค.ศ. 2008 รัฐบาลตะวันตกหลายแห่ง ผลักดันแนวเสรีนิยมและเสนอว่าคนงานทุกคนต้องทำงานนานขึ้นก่อนเกษียน มีการเสนอว่าทุกคนต้อง “ทำใจ” ยอมรับการตัดบำเหน็จบำนาญ และต้องพร้อมจะจ่ายเงินสมทบบำเหน็จบำนาญสูงขึ้น ข้อแก้ตัวใหม่ที่รัฐบาลเหล่านี้ใช้คือปัญหาหนี้สินของรัฐ แต่เขาไม่ซื่อสัตย์พอที่จะยอมรับว่าหนี้ภาครัฐมาจากการอุ้มธนาคารที่ล้มละลายจากการปั่นหุ้นในตลาดเสรี ดังนั้นพวกนี้พร้อมจะให้คนธรรมดาแบกรับภาระวิกฤตที่นายธนาคารและนายทุนสร้างแต่แรก ในขณะเดียวกันพวกนายทุนและนักการเมืองก็ขยันดูแลตนเอง โดยรับประกันว่าพวกเขาจะได้บำเหน็จบำนาญหลายร้อยเท่าคนธรรมดาเมื่อตนเองเกษียณ นี่คือสาเหตุที่เกิดการประท้วงนัดหยุดงานของสหภาพแรงงานในหลายประเทศ

ทางออกในการแก้ปัญหาที่ดีกว่าข้อเสนอของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

1. ประเทศไทยต้องสร้างรัฐสวัสดิการ ที่มีระบบประกันสังคมถ้วนหน้าสำหรับวัยชรา เพื่อให้คนเกษียณมีชีวิตอยู่ได้ด้วยศักดิ์ศรี โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาคนในครอบครัว หรือพึ่งตนเองท่ามกลางความยากจน

2. ต้องมีการปรับเพิ่มค่าแรงอย่างมาก เพื่อให้พอเพียงสำหรับประชาชนทุกคน และเพื่อให้ทุกคนสามารถออมและจ่ายเงินสมทบทุนประกันสังคมได้อีกด้วย ซึ่งหมายความว่าเราต้องร่วมรณรงค์ให้สหภาพแรงงานมีเสรีภาพ อำนาจต่อรอง และความมั่นคงมากขึ้น

3. ต้องมีการสร้างงานในระบบที่มั่นคง ผ่านมาตรการของรัฐ โดยเฉพาะหลังน้ำท่วม

4. ต้องมีการเก็บภาษีจากคนรวย และกลุ่มทุน พร้อมกับตัดงบประมาณทหาร เพื่อช่วยกระจายรายได้และสร้างการมีส่วนร่วม และประชาธิปไตย

สิ่งเหล่านี้เราทำได้ เพราะสังคมอื่นก็ทำได้ แต่ถ้าจะทำ เราต้องร่วมกันผนึกขบวนการประชาธิปไตยกับขบวนการที่สร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ และส่วนสำคัญของขบวนการนี้ต้องเป็นสหภาพแรงงาน

ประเทศไทยจะไม่มีวิกฤตคนชราในอนาคต แต่ตอนนี้มีวิกฤตของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองต่างหาก

 

 


[1] ดู ประชาไท 21 ธันวาคม 2011 www.prachatai.com/journal/2011/12/38415

[2] Wolfram Mathematica 2011.

[3] The Economist  20 July 2011 และธนาคารโลกไทยจะมีวิกฤตคนชราจริงหรือ?

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พันธ์อาจ ชัยรัตน์

Posted: 09 Jan 2012 09:16 AM PST

คนเหนือไม่อายที่จะพูดคำเหนือในกรุงเทพฯ เมื่อก่อนคนอีสานอาจจะอายแต่เดี๋ยวนี้ไม่อายแล้ว แสดงว่าเขามีความภูมิใจในอัตลักษณ์ของเขา สภาพแวดล้อมในตัวเมือง ที่อำเภอเมือง คนไม่ต่างกับในกรุงเทพฯ แต่คนกรุงเสียอีกที่ความสามารถในการใช้ชีวิต (Survival Rate) ต่ำ

มองเมืองไทยจากปี 2600

จาตุรนต์ ฉายแสง : จับประเด็น ตอบคำถาม ทำไมต้องเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญ

Posted: 09 Jan 2012 09:02 AM PST

1) เหตุใดจึงต้องแก้รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความไม่ชอบธรรมและมีปัญหาทั้งที่มาและเนื้อหา

รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีที่มาจากการรัฐประหาร ถือได้ว่าคณะรัฐประหารเป็นผู้ร่างขึ้น รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังได้รับรองการรัฐประหารด้วย การคงใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ต่อไปทั้งที่มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว ในสายตาของอารยประเทศเขาถือเป็นเรื่องแปลกประหลาดที่รัฐบาลและรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งกลับยอมรับกฎกติกาที่พวกเผด็จการสร้างไว้

ในส่วนของเนื้อหา รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีเนื้อหาที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและขัดต่อหลักนิติธรรมคือให้องค์กรที่มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหารหรือผ่านความเห็นชอบมาจากคณะรัฐประหารสามารถล้มรัฐบาล  คนไม่กี่คนที่ไม่เชื่อมโยงกับประชาชนเลยสามารถหักล้างมติของประชาชนทั้งประเทศได้ การตรวจสอบ ควบคุมและถอดถอนฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารรวมทั้งข้าราชการระดับสูงทำโดยองค์กรที่ขาดความชอบธรรมและสามารถเลือกปฏิบัติโดยปราศจากการตรวจสอบถ่วงดุลนอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่นๆที่เป็นปัญหาอีกมาก

เมื่อใช้รัฐธรรมนูญนี้มาระยะหนึ่งก็พิสูจน์แล้วว่าทำให้ประเทศไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง ใครมาเป็นรัฐบาลก็ไม่มีเสถียรภาพและไม่สามารถบริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ พรรคการเมืองและระบบพรรคการเมืองถูกทำลายให้อ่อนแอลงอย่างมาก ความไม่เป็นประชาธิปไตยและขัดต่อหลักนิติธรรมของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังเป็นต้นเหตุสำคัญให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงในสังคมไทยที่นับวันจะหนักหนายิ่งขึ้นทำให้ประเทศไทยเสียโอกาสในการพัฒนา ประชาชนเสียประโยชน์ทั้งๆที่ประเทศไทยอยู่ในจุดที่มีภูมิรัฐศาสตร์ที่เอื้ออำนวย มีโครงสร้างพื้นฐานในด้านต่างๆที่พัฒนาก้าวหน้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ แต่ต้องกลับมาติดหล่มความขัดแย้งและยังขาดความน่าเชื่อถือจากนานาประเทศโดยเฉพาะในระบบความยุติธรรมและความไม่มีเสถียรภาพ ทำให้ความสนใจที่เขาจะมาลงทุนหรือทำมาค้าขายด้วยน้อยลงไปอย่างมาก

2) กระบวนการแก้รัฐธรรมนูญควรเป็นอย่างไร
ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้อำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นของรัฐสภา ผู้ที่สามารถเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมี 3 ฝ่ายคือคณะรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา หรือประชาชนแล้วให้รัฐสภาเป็นผู้พิจารณาแล้วลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ เพราะฉะนั้นจะใช้วิธีนี้ก็ได้ แต่ที่ผ่านมาเมื่อมีการเสนอแก้รัฐธรรมนูญโดยรัฐสภาเองก็มีการคัดค้านกันมากว่าจะแก้เพื่อประโยชน์ของสมาชิกรัฐสภาเอง พอคนคิดกันอย่างนี้มากๆเข้าก็ทำให้แก้โดยวิธีนี้จะสำเร็จได้ยาก เป็นที่มาของการมีสสร.ขึ้น นอกจากนั้นก็มีการเสนอว่าหลังจากร่างเส็จแล้วควรให้มีการลงประชามติเพื่อให้ประชาชนทั้งประเทศตัดสินเป็นขั้นตอนสุดท้าย

การจะมีสสร.และการลงประชามตินี้รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดไว้ ดังนั้นถ้าจะให้มีขึ้นจึงต้องมีการแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 291 ซึ่งเป็นมาตราว่าด้วยการแก้รัฐธรรมนูญเสียก่อน 

3) สสร.ควรมีที่มาและองค์ประกอบอย่างไร
ที่ผ่านมาเคยมีสสร.มาแล้วอย่างน้อย 2 ครั้ง ในปี 40 ให้ผู้สมัครในแต่ละจังหวัดเลือกกันเองให้เหลือ 10 คน แล้วให้รัฐสภาเลือกให้เหลือจังหวัดละคน ส่วนผู้ทรงคุณวุฒิก็ให้วงการวิชาการสรรหากันมาแล้วให้รัฐสภาเลือก ส่วนในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันสสร.มาจากการสรรหาแล้วให้คมช.เลือก ครั้งนี้จะใช้วิธีการอย่าง 2 ครั้งก่อนคงไม่ได้ แบบคมช.นั้นเป็นเผด็จการเต็มที่ ส่วนแบบปี 40 ก็อาจยังไม่เป็นที่ยอมรับเพียงพอ เมื่อการเมืองแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันมาก การให้ประชาชนทั้งประเทศเป็นคนตัดสินจะช่วยแก้ปัญหาได้ดีที่สุด ดังนั้นสสร.จึงควรจะมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน

สสร.ควรมีจำนวนเท่าไหร่นั้นย่อมขึ้นกับภารกิจที่จะมาทำ คือการร่างรัฐธรรมนูญ น้อยไปก็ไม่ได้ มากไปก็ไม่ดี

จะมาจากจังหวัดละคนหรือจะเป็นสัดส่วนกับประชากร เป็นเรื่องที่หารือกันได้ในขั้นตอนต่อไป

สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิที่จะมาช่วยยกร่างนั้น อาจให้วงการวิชาการเสนอมาหรือสมัครมาเองแล้วให้รัฐสภาเลือก หรือจะให้ สสร.เลือกอีกทีก็ได้ บางคนเสนอให้สมัครกันเองแล้วให้ประชาชนทั้งประเทศเลือกโดยตรงไปเลย ก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป เรื่องเหล่านี้หารือกันคงมีข้อยุติที่ดีได้ 

4) ทำไมต้องมีการลงประชามติ การลงประชามติควรมีก่อนหรือหลังการยกร่าง
การลงประชามติเป็นเรื่องจำเป็นทำให้รัฐธรรมนูญใหม่มีความขอบธรรม คนที่ไม่เห็นด้วยก็มีโอกาสล้มร่างนั้นเสียก็ได้ หากคนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยร่างนั้นก็ต้องตกไป ถ้าเห็นด้วยก็ผ่าน แล้วใครจะมาฉีกก็จะยาก คนส่วนใหญ่จะไม่ยอม

การลงประชามติก่อนยกร่างนั้นมีปัญหาว่าจะถามว่าอย่างไร ถามว่าแก้หรือไม่นั้นไม่มีความหมาย เพราะไม่มีใครรู้ว่าจะแก้มากหรือน้อยในเรื่องอะไร ถ้าออกมาว่าไม่ให้แก้ก็จะขัดกับรัฐธรรมนูญปัจจุบันที่บอกว่าแก้ได้ จะกลายเป็นว่าต่อไปใครก็แก้รัฐธรรมนูญไม่ได้อีกเลยหรือ การลงประชามติก่อนยกร่างจึงไม่เป็นประโยชน์ เป็นการสูญเปล่า

ที่ควรให้ความสำคัญสำหรับการลงประชามติคือ ต้องให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารตลอดจนความคิดเห็นของทุกฝ่ายอย่างกว้างขวาง ต้องให้เป็นกระบวนการที่เป็นประชาธิปไตยจริงๆ ต้องเปิดโอกาส ส่งเสริมให้มีการรณรงค์ได้อย่างเสรี จัดเวลาให้แต่ละฝ่ายได้แสดงความเห็นต่อสาธารณชนได้เต็มที่และเท่าเทียมกันให้มากที่สุด อย่าทำเหมือนการลงประชามติรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ทำแบบมัดมือชกฝ่ายเดียว ไม่อนุญาตให้ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยได้มีโอกาสสื่อสารกับประชาชน ขณะนั้นยังคงใช้กฎอัยการศึกในหลายสิบจังหวัด ใครไม่เห็นด้วยก็จับไปขังในค่ายทหาร ปล่อยให้พูดได้อยู่ฝ่ายเดียว และยังออกกติกาด้วยว่าถ้าไม่ผ่านก็ให้คมช.นำรัฐธรรมนูญฉบับไหนมาใช้ก็ได้ตามใจชอบ การลงประชามติอย่างนั้นเป็นเรื่องลวงโลก รัฐบาลนี้ไม่ควรทำอย่างนั้นอีก 

5) ควรแก้รัฐธรรมนูญในประเด็นอะไร มาตราใดบ้าง
รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหาสำคัญๆจำนวนมากที่ต้องแก้ ถึงได้เรียกกันว่าต้องยกร่างกันใหม่ แต่เมื่อจะแก้หรือยกร่างใหม่โดยสสร.ก็คงต้องช่วยกันให้แก้มาตรา 291 ให้สำเร็จเสียก่อนแล้วค่อยมาว่ากันที่เนื้อหาสาระที่จะแก้ ถึงตอนนั้นควรเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเสนอความเห็นกันได้เต็มที่

6) ใครควรเป็นผู้เสนอแก้มาตรา 291
เท่าที่เป็นข่าว ขณะนี้ประชาชนกำลังรวบรวมรายชื่อกันอยู่ใกล้จะยื่นได้แล้ว นี่ก็เป็นสิทธิอันชอบธรรมของประชาชน นอกจากนี้เข้าใจว่าสส.ฝ่ายรัฐบาลก็เตรียมเสนอร่างเช่นกัน ก็สอดคล้องกับที่พรรคเพื่อไทยเคยหาเสียงไว้ตอนเลือกตั้ง ก็เหลือแต่รัฐบาล เมื่อมาถึงขั้นนี้แล้วรัฐบาลก็คงต้องเสนอด้วยเพราะรัฐบาลก็แถลงนโยบายไว้ว่าจะแก้ แถมยังแถลงไว้เป็นนโยบายเร่งด่วนที่จะทำใน 1 ปีด้วย นอกจากนี้เมื่อปรากฏว่าประชาชนเห็นต่างกันในเรื่องเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญ ก็ชอบแล้วที่รัฐบาลจะหาทางออกให้สังคมด้วยการให้มี สสร.ที่มาจากประชาชนมาร่างแล้วให้ประชาชนตัดสินด้วยการลงประชามติเท่ากับรัฐบาลกำลังช่วยหาทางออกให้กับสังคม 

7) จะแก้เมื่อไหร่ดี
ยิ่งเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี ขณะนี้ความจริงก็ช้าไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่สายไป ถ้าจะให้ทันกำหนดหนึ่งปีก็คงต้องเริ่มในเร็วๆนี้จะได้แก้มาตรา 291 ได้ทันในสมัยประชุมนิติบัญญัติ มิฉะนั้นจะไปติดช่วงปิดสมัยประชุม เปิดอีกทีก็สิงหาคมก็ไม่ทันกำหนดแล้ว

ที่ว่าทำใน 1 ปีนั้นไม่ได้หมายความว่าต้องเสร็จทั้งฉบับ แต่ควรจะแก้มาตรา 291ให้เสร็จ เมื่อแก้มาตรา 291 แล้วยังต้องเลือกสสร. ต้องยกร่างแล้วยังต้องทำประชามติ ยังต้องใช้เวลาอีกเป็นปี 

8) มีข้อโต้แย้งว่าการแก้รัฐธรรมนูญจะทำให้เกิดความขัดแย้ง
ก็จริง การแก้รัฐธรรมนูญย่อมทำให้เกิดการต่อต้านคัดค้าน จนอาจเกิดความรุนแรง ก็ต้องดูว่าการคัดค้านนั้นมีเหตุผลหรือไม่ ใช้วิธีการที่ถูกต้องหรือไม่และมีทางออกที่คนส่วนใหญ่ยอมรับได้หรือไม่ ป้องกันหรือลดความขัดแย้งหรือความรุนแรงได้หรือไม่ การให้มีสสร.และการลงประชามติน่าจะช่วยลดปัญหานี้ได้มาก

แต่ไม่แก้ก็ขัดแย้ง สังคมไทยอยู่กับความขัดแย้งมาหลายปีแล้ว ขณะนี้ก็ยังขัดแย้งกันอยู่ ยิ่งใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ต่อไปนานเท่าใดก็จะยิ่งมีความขัดแย้งมากขึ้น การที่มีความพยายามที่จะปรองดองเป็นเรื่องดีและคงช่วยลดความขัดแย้งได้บ้าง แต่ถ้าไม่แก้รัฐธรรมนูญที่เป็นต้นเหตุสำคัญของความขัดแย้ง การปรองดองที่เป็นจริงก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ ก็ยังจะขัดแย้งไม่จบสิ้นและรุนแรงกว่าเดิม การแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยและเป็นธรรมและให้เป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ความจริงแล้วคือการแก้ปัญหาความขัดแย้งของสังคมไทยในระยะยาว เมื่อแก้แล้วก็มารณรงค์กันให้สังคมไทยมีค่านิยมที่ยอมรับกติกา แก้ปัญหาการมีความคิดที่แตกต่างกันที่ยังมีอยู่ตลอดไปด้วยด้วยสันติวิธีในระบบกติกาที่เป็นธรรม 

9) ข้อกล่าวหาว่าแก้เพื่อคนๆเดียว
เหตุผลสำคัญที่มักใช้ในการต่อต้านขัดขวางการแก้รัฐธรรมนูญก็คือการทำเพื่อคนๆเดียว ทั้งๆที่ความจริงแล้วการมุ่งทำลายคนๆเดียวต่างหากที่เป็นต้นเหตุให้ประชาธิปไตยและระบบยุติธรรมของประเทศนี้ต้องถูกทำลายเสียจนยับเยินอย่างทุกวันนี้ อย่างไรก็ตามหากรัฐบาลหรือรัฐสภาจะแก้รัฐธรรมนูญเองทั้งหมดคงหลีกเลี่ยงข้อกล่าวหานี้ได้ยาก ถึงไม่ได้ตั้งใจทำเพื่อคนๆเดียวเขาก็หาเรื่องได้อยู่ดี ดังนั้นการที่สสร.ที่มาจากประชาชนจะเป็นคนร่าง แล้วยังให้ประชาชนทั้งประเทศลงประชามติได้อีกซึ่งเท่ากับว่าไม่มีใครกำหนดอะไรได้ จึงเป็นวิธีที่จะทำให้ข้อกล่าวหาที่ว่าทำเพื่อคนๆ เดียวก็คงไม่มีน้ำหนักต่อไป

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

33 องค์กร หนุนแก้ รธน.เลือก สสร. หยุดอำนาจนอกระบบโดยสมบูรณ์

Posted: 09 Jan 2012 08:52 AM PST

33 องค์กรร่วมลงนามในแถลงการณ์ สนับสนุนแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ตามแนวทางของคณะนิติราษฎร์ และ นปช. ด้วยการเลือก สสร. 3 หวังสร้างสังคมไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง โดยมีรายละเอียดแถลงการณ์ ดังนี้

0 0 0 

 

 แถลงการณ์

ขอสนับสนุนแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112
แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 โดยประชาชนเลือก สสร. 3 
เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง

 

ความเห็นต่างทางความคิด และความขัดแย้งทุกปริมณทลทางการเมืองสังคมวัฒนธรรม ถือได้ว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาในสังคมประชาธิปไตย ในทางตรงกันข้าม มีแต่ความเห็นเหมือนอย่างถูกกดขี่บังคับและการปิดกั้นความต่างโดยการริดรอนเสรีภาพ ล้วนสะท้อนถึงการปกครองประเทศแบบเผด็จการอำนาจนิยมของผู้ปกครองทั้งสิ้น

ปัจจุบัน การขับเคลื่อนทางสังคมไทย เพื่อปรับเปลี่ยนแก้ไขนำพาสังคมไทยสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์นั้น ได้รวมศูนย์อยู่ในประเด็นการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 และการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ 50

“คณะนิติราษฎร์” ได้มีข้อเสนอเพื่อแก้ไขผลพวงของการรัฐประหาร และปัญหาด้านสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน โดยการแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 เพื่อสอดคล้องกับหลักการความยุติธรรมและระบอบประชาธิปไตยดั่งอารยะประเทศ

เพื่อมิให้เกิดกรณีเช่น “อากง” “สมยศ พฤกษาเกษมสุข” “สุรชัย แซ่ด่าน” “สุรพศ ทวีศักดิ์” “ก้านธูป” และอีกหลายคน จึงต้องยึดหลักนิติรัฐคู่กับหลักนิติธรรม มิใช่ปล่อยให้บุคคลใดฟ้องร้องกล่าวโทษก็ได้ และควรกำหนดโทษให้เหมาะสมกับสิทธิ์ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ยุคโลกาภิวัฒน์มิใช่ยุคป่าเถื่อนอีกแล้ว ตลอดทั้งเพื่อมิให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการบ่อนทำลายผู้รักชาติรักประชาธิปไตยเหมือนเช่นประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ผ่านมา

ขณะที่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายการปกครองสูงสุดของประเทศ และกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นการสะท้อนความสัมพันธ์ทางอำนาจของกลุ่มพลังต่างๆในสังคมไทย แต่อย่างใดก็ตามรัฐธรรมนูญก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไขทางการเมืองอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะเมื่อมีการรัฐประหารเกิดขึ้นในสังคมการเมืองไทย      

ปัญหารากเหง้าของรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่มาจาก “ระบอบอำมาตยาธิปไตย” โดย “อำมาตยาธิปไตย” และเพื่อ”อำมาตยาธิปไตย” จึงต้องดำเนิการแก้ไขเพื่อนำพาสังคมไทยสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อย่างแท้จริง

เราในนามองค์กรประชาธิปไตยข้างล่าง มีความคิดเห็น จุดยืน และข้อเสนอดังนี้

1. ขอสนับสนุนข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ ให้มีการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 เพื่อสอดคล้องกับหลักการความยุติธรรมและระบอบประชาธิปไตยดั่งอารยะประเทศ

2. ขอสนับสนุนข้อเสนอของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) องค์กรคนเสื้อแดง และองค์กรประชาธิปไตยทั้งหลาย ซึ่งดำเนินการเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ ปี 2550 และต้องใช้กระบวนการมีส่วนของประชาชนเท่านั้น โดยให้ประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) 3 โดยตรง ตลอดทั้งเป้าหมายของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 ก็เพื่อยุติบทบาทอำนาจนอกระบบประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์

3. เราขอเรียกร้องให้ฝ่ายนิยมอำมาตยาธิปไตย ฝ่ายอนุรักษ์นิยม ทั้งหลาย จงยอมรับกติกาประชาธิปไตย เคารพหลักการหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียง “คนเท่ากัน” เสียงส่วนน้อยต้องยอมรับเสียงส่วนใหญ่ โดยเสียงส่วนใหญ่ไม่ละเลยเสียงส่วนน้อยตามหลักอารยะประเทศประชาธิปไตย และหยุดกระทำใดๆ ที่นำสู่สร้าง “ความเกลียดชัง” โดยขอให้ดำเนินการเคลื่อนไหวอย่างมีหลักเหตุผลและต่อสู้กันทางความคิดความต่างอย่างอาระยชนที่พึงมี

 

ลงชื่อองค์กร

1. กลุ่มสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมอีสาน (กสส.)

2. กลุ่มดงมูลเพื่อการพัฒนา (กดม.) จ.กาฬสินธุ์

3. กลุ่มต้นอ้อ จ.ขอนแก่น

4. กลุ่มมิตรภาพ จ.ขอนแก่น

5. กลุ่มภูเวียงเพื่อการพัฒนา จ.ขอนแก่น

6. กลุ่มประชาชนไทยแวงน้อย-แวงใหญ่ จ.ขอนแก่น

7. กลุ่มเพื่อนพัฒนาภูกระดึง จ.เลย

8. เครือข่ายองค์กรชุมชนแก้ปัญหาที่ดินภาคอีสาน(คอป.อ.)

9. เครือข่ายองค์กรชาวบ้านลุ่มน้ำปาว (คอป.) จ.กาฬสินธุ์

10. เครือข่ายคนรุ่นใหม่ภาคอีสาน (คอส.)

11. แนวร่วมเกษตรกรภาคอีสาน (นกส.)

12. เครือข่ายคนรุ่นใหม่ลุ่มน้ำโขง จ.อุบลราชธานี

13. เครือข่ายอนุรักษ์ภูผาเหล็ก จ.สกลนคร

14. กลุ่มภูพานเพื่อการพัฒนา จ.สกลนคร

15. เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน จ.ชัยภูมิ

16. กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์น้ำพรมตอนต้น จ.ชัยภูมิ

17. กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ลุ่มน้ำบัง จ.นครพนม

18. เครือข่ายคนรุ่นใหม่ยโสธร จ.ยโสธร

19. สหพันธ์เยาวชนอีสาน (สยส.)

20. ชมรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือตอนล่าง (ชสร.)

21. เครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำชมพู จ.พิษณุโลก

22. เครือข่ายองค์กรชุมชนคลองเตย กทม.

23. กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ

24. เครือข่ายอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชุมชนเขลาโคก จ.ร้อยเอ็ด

25. เครือข่ายองค์กรชาวบ้านนางรอง จ.บุรีรัมย์

26. กลุ่มคนรุ่นใหม่ภาคใต้

27. กลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อประชาธิปไตย ภาคเหนือ

28. สหพันธ์นิสิตนักศึกษาอีสาน (สนนอ.)

29. สำนักเรียนรู้กระจายอำนาจและปกครองตนเอง(กอ.-ปอ.) จ.เชียงใหม่

30. สถาบันสร้างสรรค์ชีวิตและสังคม (LSI.)

31. สถาบันพัฒนาเยาวชนแห่งประเทศไทย (สยท.)

32. กลุ่มเถียงนาประชาคม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ.มหาสารคาม

33. กลุ่มยอป่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

‘แม่น้องเกด’ นำทีมญาติผู้เสียชีวิต มอบของขวัญ-คำขวัญให้ ‘กองทัพ’

Posted: 09 Jan 2012 06:58 AM PST

 

 

9 ม.ค.55 เวลาประมาณ 13.00 น. ที่กองบัญชาการกองทัพบก  ถนนราชดำเนินนอก กลุ่มญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์เม.ย.-พ.ค. 53 เข้าพบนายประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. เพื่อมองของขวัญปีใหม่ โดยมี พ.ท.วิศาล ศิริชัย นายทหารเวรชั้นผู้ใหญ่ เป็นตัวแทนรับของขวัญจากกลุ่มญาติ พร้อมระบุว่าจะดำเนินการส่งต่อให้ถึง พล.อ.ประยุทธ์

ทั้งนี้ ของขวัญที่กลุ่มญาติมอบให้นั้นเป็นรูปถ่ายของนางสาวกมนเกด อัคฮาด ถ่ายคู่กับพล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง

นางพะเยาว์ อัคฮาด มารดานางสาวกมนเกด อัคฮาด พยาบาลอาสาที่เสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม กล่าวว่า อยากให้นายประยุทธ์ได้ตั้งของขวัญชิ้นดังกล่าวไว้บนโต๊ะทำงานเพื่อเตือนใจ เพราะท่านเป็นส่วนหนึ่งที่มีหน้าที่ปกป้องคนในชาติ รวมถึงผู้เสียชีวิตทั้ง 91 ศพได้เสียชีวิตภายใต้การบังคับบัญชาของท่านก็เป็นคนในชาติด้วยจึงอยากให้ท่านช่วยรับผิดชอบ นอกจากนี้ตลอดทั้งสัปดาห์นี้ ตนและญาติผู้เสียชีวิตจะเดินสายมองของขวัญสวัสดีปีใหม่ให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือที่ต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตทั้ง91ศพ ซึ่งมีกำหนดการดังนี้

วันอังคารที่ 10 ม.ค. จะไปที่กระทรวงกลาโหม เพื่อมอบของขวัญให้แก่นายยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม

วันพุธที่ 11 ม.ค. จะไปที่รัฐสภา เพื่อมอบของขวัญให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ

วันพฤหัสบดีที่ 12 ม.ค. จะไปที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) เพื่อมอบของขวัญให้นายวิชา มหาคุณ

วันศุกร์ที่ 13 ม.ค. จะไปที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อมอบของขวัญให้นายเฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ

นางพะเยาว์ ยังมอบคำขวัญให้กับกองทัพบกในปีนี้ด้วยว่า "ใช้ปืนให้น้อยลง ใช้สมองให้มากขึ้น" พร้อมระบุว่า หวังว่างานวันเด็กนับจากนี้ไป ทหารจะไม่นำรถถังหรือปืนมาให้เด็กเล่นอีกต่อไป  

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลสั่งจำคุก "พ่อปลาบู่" 15 วัน-ปรับ 500 ให้รอลงอาญา

Posted: 09 Jan 2012 06:43 AM PST

ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 9 มกราคม ที่ สภ.เมืองตาก จ.ตาก นายทองใบ คำศรี อายุ 73 ปี บิดาของ ด.ช.ปลาบู่ พร้อมด้วย ดร.ปชา ภาณุบุญ ผู้ติดตาม เข้าพบ ร.ต.ท.ชัยวัฒน์ พริ้งสกุล พนักงานสอบสวน เพื่อให้ปากคำตามหมายเรียกหลังนายสงคราม มนัสสา สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก เข้าแจ้งความให้ดำเนินคดี ในข้อหากล่าวเท็จทำให้ประชาชนตื่นตกใจว่าเขื่อนภูมิพลจะแตกในคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา แต่ปรากฏว่าเวลาผ่านไปไม่เป็นไปตามกล่าวอ้าง จึงถูกดำเนินคดีดังกล่าว

การเดินทางเข้าให้ปากคำ นายสงครามพร้อมชาวบ้านกว่า 100 คน มาคอยพบนายทองใบแต่ไม่ได้พบจึงเดินทางกลับ พร้อมมอบดอกไม้ให้กำลังใจนายสงครามที่ทำหน้าที่แทนประชาชน จนกระทั่งเวลาผ่านไป 1 ชั่วโมง ต่อมาในเวลาประมาณ 15.00 น. พนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวนและนำตัวนายทองใบส่งฟ้องศาลจังหวัดตาก ขณะที่ศาลได้สั่งลงโทษจำคุกนายทองใบเป็นเวลา 15 วัน ปรับ 500 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญาเป็นเวลา 2 ปี และสั่งนายทองใบห้ามพูดจาเลื่อนลอยแบบเดิม หลังศาลตัดสินนายทองใบยังได้ยกมือขอโทษชาวเมืองตากที่ทำให้ตื่นตกใจพร้อมบอกว่าไม่ได้ตั้งใจ

นายสงคราม กล่าวว่า การแจ้งความดำเนินคดีกับนายทองใบครั้งนี้เพื่อจะทำให้หลาบจำไม่นำความเท็จไปสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนอีก เพราะที่ผ่านมาก็เกิดความวุ่นวายให้กับชาวเมืองตากโดยทั่วหน้าซึ่งเหตุการณ์ก็ไม่ได้เป็นไปอย่างคำกล่าวอ้าง ก็ขอให้นายทองใบจดจำไว้เป็นบทเรียนต่อไปก็อย่าพูดอะไรที่จะทำให้ผู้คนแตกตื่นตกใจอีก


ที่มา: มติชนออนไลน์

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ส่งท้ายซีรีส์ เมืองไทย 2555 อะไรรอเราอยู่ กับ พันธ์อาจ ชัยรัตน์ มองเมืองไทยจากปี 2600

Posted: 09 Jan 2012 05:51 AM PST

อนาคตศาสตร์ อาจจะชวนให้คิดไปถึงหมอดู หรือการพยากรณ์ระยะใกล้ แต่อนาคตศาสตร์ต่างจากทั้งสองสิ่งที่กล่าวมา มันต่างกันโดยกระบวนการทำงาน ที่เรียกว่า Action Research โดยดึงการมีส่วนร่วมจากสังคมให้มากที่สุด เพื่อจินตนาการร่วมกันถึงอนาคต ขณะที่ใช้ปัจจัยแวดล้อมในปัจจุบันเป็นตัวกำกับไม่ให้จินตนาการถึงอนาคตนั้นเตลิดไปไกล

ที่ผ่านมาเมืองไทยมีนักวิชาการที่ทำ Foresight มากที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ที่ทำออกมาเป็นรูปธรรมมากที่สุด เห็นจะเป็นสิงคโปร์

ประชาไทชวนคุยกับ ดร. พันธ์อาจ ชัยรัตน์ นักอนาคตศาสตร์ ผู้บริหารบริษัท โนวิสเคป คอนซัลติ้ง จำกัด ที่เน้นหนักด้านการศึกษาอนาคตศาสตร์ (Scenario Planning) และการพัฒนากระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovation Methodology) เขาชวนละวางบริบทที่แวดล้อมสังคมการเมืองไทยในระยะอันใกล้นี้ แล้วมองไปไกลๆ ก่อนจะหันกลับมาที่ปี 2555 ก่อนจะบอกกับเราว่า คำถามที่จะถูกถามมากที่สุดในปีนี้ สำหรับคนไทยคือ “พวกเรากำลังทำอะไรอยู่”

ส่งท้ายซีรีส์ เมืองไทย 2555 อะไรรอเราอยู่ กับ พันธ์อาจ ชัยรัตน์ มองเมืองไทยจากปี 2600

 

เมืองไทยปี 2600

เราเริ่มทำวิจัยไปบ้างแล้ว โดยศึกษาจาก 5 ทิศทาง คือ 1) Mobility เป็นเรื่องสำคัญเพราะว่าถ้าเรามองคนเรา 24 ชั่วโมง มีการเคลื่อนไหวตลอด ถ้าไม่ใช่คนก็สิ่งของ อนาคตของ Mobility จะเป็นอย่างไร Transportation จะเป็นอย่างไร

2) อัตลักษณ์ และ lifestyle อย่าลืมว่าตอนนี้เรามีไลฟ์สไตล์จำกัด แต่ต่อไปมันจะสำคัญมาก ทำไมอังกฤษและเกาหลีถึงทำเรื่องนี้ เกาหลีทำตามญี่ปุ่นมาหมด คือสร้างอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีแต่โปรดักส์ไม่มีคอนเทนท์ ใส่อะไรลงก็ไปใส่ความป็นตัวเองลงไป

ชนชั้นกลางใหม่จะขยายที่ข้างล่าง ซึ่งพวกเขาจะไม่ได้เลียนแบบข้างบน คือเขามีโทรศัพท์มือถือ มีรถ แต่ก็ยังฟังหมอลำซิ่ง พอเก็บเงินสักพักก็เบื่อกรุงเทพฯ ก็กลับบ้าน ไปใช้ชีวิตอีกแบบ

3) Consumption เพราะว่าถ้ามองสองตัวข้างหน้าไปแล้ว อัตลักษณ์ของคนจะหลากหลายขึ้นตั้งแต่ใต้ฐานปิรามิดจนถึงข้างบน เรื่องอัตลักษณ์จะหลากหลายขึ้น และในฐานะที่เป็นรัฐ หน่วยงานการศึกษา หรือคนที่บริหารกฎหมายต่างๆ สิทธิต่างๆ จะเปลี่ยนไหม ตัวอย่างแรก ถ้าเรามองว่าความหลากหลายทางเพศ ยอมรับได้แค่ไหน ความมีตัวตนของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เช่น เชียงใหม่ขอให้บรรจุอักขระล้านนามาเป็นภาษาราชการในท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดล้านนาใช้ ถือเป็นเรื่องใหม่ การหาคำจำกัดความของครอบครัวให้พ่อแม่ลูก ถ้าอนาคต เป็น พ่อ-พ่อ, แม่-แม่ คุณต้องหาขอบเขตของกฎหมาย สิทธิของคนสูงวัย สิทธิของคนที่อยากจะตาย เป็นเรื่องที่คนไม่รู้ว่าในระดับกลุ่มคน ในระดับปัจเจกเป็นอย่างไรมันสำคัญต่อประเด็นกฎหมายและสิทธิของประชาชน

สิ่งเหล่านี้เชื่อมโยงมายังการบริโภค กินอาหาร ทิ้งขยะ หนีไม่พ้น คาร์บอนฟุตปรินท์ (ปริมาณการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และแก๊สเรือนกระจกอื่นๆ ตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์และบริการ) การที่รัฐต้องจัดการเพื่อลดความขัดแย้ง เอกชนอยากได้มาตรฐานใหม่ คนไทยจะกินน้อยลง จะบริโภคอย่างไร จะขายของอย่างไร

4) Urbanization ความเป็นเมือง เมืองกับชนบทไทยน่าจะเป็นอย่างไร เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง เทศบาลนคร อัตลักษณ์เขาแรงกว่าคนในเมืองใหญ่ในปัจจุบัน เพราะคนพวกนี้อยู่ในเมืองใหญ่แต่กลับบ้านไปก็ได้มาตรฐานชีวิตแบบเมือง แต่ไปอยู่ในวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งกว่า คือวัฒนธรรมชุมชนของเขา ถามว่าเขาจะใช้วัฒนธรรมแบบอเมริกา ยุโรปหรือ ก็คงไม่

เมืองใหม่ในอีสาน ในหุบเขาภาคเหนือตอนบนมันคงแปลกๆ อย่างบางหมู่บ้านในอีสานมีชาวสวิสมาอยู่ 40-50 คน ที่สุดเขาก็ต้องมีชีวิตอีกรูปแบบหนึ่ง การออกแบบเมืองใหญ่ตอนนี้คือทำยังไงไม่ให้น้ำท่วมเมือง แต่ไม่บอกว่าทำอย่างไรไม่ให้น้ำท่วมนา ในที่สุดต่างก็ต้องป้องกันเมืองตัวเองไม่ให้ท่วม

จริงๆ แผนผังเมืองปี 2600 มีการทำแล้ว ซึ่งหลายคนก็น่าจะอยากรู้ Urbanization น่าจะมีแนวโน้มชัดเจนที่สุดเพราะมีการทำแล้ว

นอกจากนี้ เมืองไม่ใช่แค่มีนวัตกรรม แต่ต้องมีนวัตกรด้วย เมืองไหนเป็นแม่เหล็กดึงดูดทั้งคนในและคนนอก ให้คนที่อยู่ในเมืองอยู่แล้ว ไม่ไปที่อื่น ตัวอย่างเช่น เชียงใหม่มีมหาวิทยาลัย 8 แห่ง คุณดึงคนที่เป็นครีมได้ไหม ก็ไม่ได้ ในที่สุดก็ไหลมากรุงเทพฯ ไหลไปที่อื่น สุดท้ายเชียงใหม่มีอะไร อาจจะมีมหาวิทยาลัยอยู่ แต่ดึงคนที่จบตรี-โท-เอกแล้วใช้ชีวิตในเมืองไม่ได้ ล้มเหลว มหาวิทยาลัยมีตั้ง 8 แห่งแต่สร้างอะไรไม่ได้

5) Democratization -ความเป็นประชาธิปไตย (หัวเราะ) ที่ผมพูดนี่ไม่มีอะไรแอบแฝง Democratization จะมีการขยายตัวแนวนอนเยอะมาก เพราะเมื่อสองสามปีก่อนเรามีการพูดถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงสัญลักษณ์ในแนวตั้ง พูดเรื่องชนชั้น เรื่อง Double Standard แต่ขณะเดียวกัน ไม่ใช่แค่เรื่องการเมืองอย่างเดียว เช่นเราบอกว่าเรามีสิทธิในแม่น้ำสายนี้ แล้วคุณก็มีสิทธิเช่นกัน ถ้าเช่นนั้น ก็ต้องอยู่แบบ win-win เป็น Horizontal

แต่อีกหลายๆ คำถามเช่นระบบการเมืองการปกครองในอนาคต มีคนพูดเรื่อง Decentralization แต่อีกเรื่อง คือในที่สุดคนเมืองบอกว่าคนชนบททำไม่ได้หรือทำได้ไม่ดีเพราะว่าโกง ต้องคอนโทรลธรรมาภิบาล คุณไม่มองว่า Democratization วิวัฒนาการจากการเรียนรู้ ต้องได้มาตรฐานคุณ ทั้งที่ Democratization เป็นเรื่องกระบวนการเรียนรู้โดยตรง

จริงๆ คือคุณสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันมากกว่า เป็นรูปแบบที่ต้องออกแบบ นี่เป็นเรื่องที่พ้นจากทักษิณ พวกรอยัลลิสต์ ซึ่งให้ตายเถอะ พวกนี้ก็ยังอยู่ เป็นเหมือนรุ้งเพราะถ้าเป็นสีเดียวก็เป็นคิมจองอุน (หัวเราะ)

ทั้งหมดห้าประการนี้จะสร้างภาพเมืองไทยในอนาคต ตอนนี้เราต้องการขยายฐานผู้เข้าร่วมไอเดียให้มากที่สุดจริงๆ คือเราต้องการให้คนที่ suffer กับปัจจุบันเบื่อ ได้มองพ้นระยะเวลา 5-10 ปีไป ภาพที่ออกมาจะเห็นเลยว่า แทนที่จะตั้งคำถามว่าเราจะเดินไปทางไหน แต่เราตั้งคำถามว่าอีก 50 ปีคืออะไร

กระบวนการนี้จะทำให้เราย้อนกลับมามองว่าปัจจุบันเราจะเดินอย่างไร แม้ว่าบางคนจะบอกว่า ปี 2600 เราตายไปแล้ว บางคนอาจจะอยู่ในหลุม บางคนถูกเผาเป็นเถ้าธุลี แต่ถึงตอนนั้นทุกคนมุ่งไปสู่อนาคต

ในด้านสิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงมากขึ้นกว่านี้เยอะมาก เพราะว่าสภาพแวดล้อม Climate Change จะมาถึงอย่างรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ความเป็อยู่ต้องเปลี่ยนหมด ไม่ใช่เปลี่ยนตอนนี้แต่เราต้องเปลี่ยนดักไว้ เราจะเจอสภาพร้อนจัด แล้งจัด โรคจะกลับมาอุบัติซ้ำ

คนที่เปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ไม่ได้จะยิ่ง suffer ภาพปี 2600 จะไม่ต่างกับเมืองใหญ่ๆ อย่างนิวยอร์ก คือง่ายๆ เอานิวยอร์กกับมุมไบมาผสมกัน การบริโภคจะแย่งกันกินแย่งกันใช้ นี่เป็นซีนาริโอ

ขณะเดียวกัน ต่างจังหวัดจะเป็นเมืองใหญ่ขึ้นมากด้วย ไม่มีทางเลือก เพราะคนจะหาที่ปลอดภัยอยู่ เศรษฐกิจภายในประเทศจะสำคัญมาก นี่เป็นสิ่งที่แปลกเพราะว่าไทย 40 ปีที่ผ่านมาพึ่งพาการส่งออก ตอนนี้ต้องหันพึ่งพาตลาดภายใน เพราะคนที่อยู่ไม่ใช่แค่ไทย มีสิงคโปร์ มีจีน มียุโรป ไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว คนเมืองใหญ่จะ suffer แต่คนต่างจังหวัดจะมีศักยภาพสูงมาก ในที่สุดแล้วจะโตกันเอง อีกไม่กี่ปีอาเซียนเกิดราชการจะทำอะไร หลายคนบอกว่าไม่มีอะไรใหม่ แล้วถ้าไม่มีอะไรใหม่ เอกชนก็จะทำเอง อนาคตไม่ได้อยู่ที่รัฐ แต่อยู่ที่ปัจเจก และปัจเจกจะไม่ใช่คนไทย แต่จะมีความเป็นนานาชาติ

อัตลักษณ์จะหลากหลาย คนชั้นกลางขยายตัว คนจนจะกลายเป็นชนชั้นกลางมากขึ้น อัตลักษณ์ข้างล่างจะหลากหลายขึ้น คนสูงวัยเยอะ คนหนุ่มสาวมาจากที่อื่น แล้วจะไปสู่สังคมเปิดมากขึ้น 20 ปีก่อน 2600 จะมีการ Clash ทางวัฒนธรรมรุนแรง เพราะหลังจากนี้ 5-10 ปี จะมีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างจากนั้นจะมีการ Rebound ทางวัฒนธรรม ตีซะว่า 20 ปีคนอีกรุ่นหนึ่งจะถูกล้างความคิดแบบเดิมออกไป ตีซะว่าปี 2575 อีก Generation จะขึ้นมา แต่เจเนอเรชั่นเราจะเป็นเจเนอเรชั่นที่ suffer

เจเนอเรชั่นเราจะโตมาเป็นพ่อแม่ของเด็กกลุ่มนั้นที่ไม่เหมือนกับเราตอนนี้

เรามองได้นะครับว่าภัยพิบัติธรรมชาติมีการทำForesight ไว้แล้ว เรื่องโรคอุบัติใหม่ก็มีการทำศึกษาวิจัยในระดับสากลหมดเลย

ถ้าเราเสิร์ชคำว่า 2050 ขึ้นมา ก็คือ พ.ศ. 2593 อีก 7 ปี จะ พ.ศ.2600 คุณจะเห็นภาพโลกปี 2593 แล้ว แอฟริกาเป็นยังไง ยุโรปเป็นยังไง ซึ่งภาพไม่ค่อยดีเท่าไหร่ในเชิงสภาพแวดล้อมของโลก คุณไม่ต้องรอรัฐ ถามว่าอีก 20 ปี แอฟริกาจะเป็นแหล่งความเจริญใหม่หรือเปล่า แน่นอน ทรัพยากรธรรมชาติ คนพูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส ความเปลี่ยนแปลงมุ่งไปที่แอฟริกา เพราะจีนมุ่งไปแล้ว ยุโรปอเมริกาเข้าไปก่อนแล้ว ถ้าเรามีเวลา เราต้องเชื่อมดูว่า ณ เวลานี้มีการมองอนาคตปี 2050 ปี 2600 อยู่ไม่ไกลเลย

ส่งท้ายซีรีส์ เมืองไทย 2555 อะไรรอเราอยู่ กับ พันธ์อาจ ชัยรัตน์ มองเมืองไทยจากปี 2600

ส่งท้ายซีรีส์ เมืองไทย 2555 อะไรรอเราอยู่ กับ พันธ์อาจ ชัยรัตน์ มองเมืองไทยจากปี 2600

อาเซียน 2600

อาเซียนสำคัญอยู่แล้ว เส้นทางเดินเรือที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลกคือมะละกา โจรสลัดก็เยอะแถวนี้ แล้วไปเยอะอีกทีที่โซมาเลีย ในเชิงโลจิสติกส์โลก เราสำคัญมาก ในเชิงการทำอาหารป้อนโลก ในอนาคตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังจะเพิ่มความสำคัญอีกเยอะ

แล้วอัตราการเกิดของประเทศในภูมิภาคจะลดลงๆ โดยปริยาย เพราะมีความเป็นเมืองมากขึ้น Food surplus จะลด เราผลิตอาหารเกินกินอยู่แล้วขนาดตอนนี้เสียไป 12 เปอร์เซ็นต์ก็ยังอยู่ได้

เรามีความสำคัญในโลกอยู่ 2 ข้อคือ แหล่งผลิตอาหาร และฮับของการกระจายสินค้า

การเมืองระดับโลกคงไม่แรง แต่ที่จะสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ คือความขัดแย้งภายในที่เป็นระเบิดเวลาวางไว้ทั้งไทยและมาเลเซีย ขณะที่ฟิลิปปินส์ต้องมองเรื่องของภัยธรรมขาติ ส่วนอินโดนีเซียน่าจะไม่มีอะไรรุนแรงมาก อนาคตน่าจะนิ่งขึ้น ที่เหลือก็มีเวสท์ปาปัว แต่ยังเป็นเรื่องที่จับตาในระยะสั้น

ที่จะแย่คือสิงคโปร์ อีก 10 ปีอยู่ลำบาก จะเอาคนเกษียณไปไหน หาคนรุ่นใหม่มาทำงานก็ยาก ไทยก็จะเป็นพื้นที่รองรับปัญหาของสิงคโปร์

ประชาชนจะนำอาเซียนเอง

รัฐบาลไทยคงไม่มีบทบาทมากเท่าไหร่ เพราะทัศนคติราชการ อาเซียนจะเป็นเป็ดง่อย แต่คนในกลุ่มประเทศเองจะแอคทีฟเยอะขึ้นจะเป็นตัวแปรทำให้อาเซียนเปลี่ยน คือทุกวันนี้มีเอเปกซึ่งระบบดีกว่า ถ้าอาเซียนไม่สามารถสร้างอัตลักษณ์ได้ดีพอๆ กับเอเปก มันจะถูกซ้อนทับไป เพราะประเทศสมาชิกก็ซ้อนกันอยู่แล้ว คุณจะฟังจาการ์ตา (อาเซียน) หรือฟังสิงคโปร์ (เอเปก) ในเชิงผลประโยชน์ เอเปกมีรัสเซีย อเมริกา ละติน ขณะที่อาเซียนเป็นเรื่องการสร้างคลับให้ผู้นำมาเจรจากัน แต่เอเปกมีบทบาทอื่น ถ้าอาเซียนบอกว่ามี AEC (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน) แล้ว ในที่สุดแล้ว ประชาชนอาจจะนำอาเซียนเอง แต่องค์กรอย่างอาเซียนก็อยู่ไม่ได้ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพราะแรงกดดันมันอยู่ที่ว่าการบริหารงานเป็นแบบราชการมาก มีการประชุมรายกระทรวง มีรัฐมนตรีไปนั่งประชุมกัน เวียนกันเป็นเลขา ประชุมประจำปีแล้วก็จบ คณะทำงานไม่มีแรงทำ ไม่เหมือนอียู ที่บอกว่าจะเอาสไตล์ของอียูมาใช้ แต่อียูเขามีผู้แทนนะ อาเซียนไม่มี ในที่สุดก็เป็นงานรูทีนประจำปี

กองทัพเปลี่ยนแปลงจากภายใน การยอมรับจากประชาชนไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ

กองทัพจะมีแรงกดันให้ต้องเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น เป็นทหารมืออาชีพ role model ไม่ต้องไกล ทำอย่างทหารเรือ แรงกดดันต่อกองทัพจะมีอีกประมาณ 5-10 ปี แต่ตอนนี้ไม่มีนะ แรงกดดันให้กองทัพไม่ได้มีมาก ไม่เยอะถึง tipping point ตราบเท่าที่อเมริกายังไม่กดดันขนาดนั้น ก็ต้องดูที่เปลี่ยนแปลงจากสากล เช่น มีคนบอกว่าหลังน้ำลดกองทัพแข็งขึ้นเยอะ ผมว่าไม่เชิงนะ กองทัพหลังน้ำท่วมเป็นกองทัพเดิมไม่ได้แข็งขึ้น เพราะปฏิบัติหน้าที่ตามหน้าที่เขาเลย คนไทยต่างหากที่ emotional มากๆ กองทัพจะเปลี่ยนก็เปลี่ยนจากภายใน แต่ไม่ใช่ตอนนี้ การยอมรับหรือไม่ยอมรับจากประชาชนไม่สำคัญ ถ้าอย่างนั้นมันเปลี่ยนไปนานแล้วสิ คือการเมืองในที่สุดแล้วต้องดึงสมการกองทัพบกมา มันไม่ได้เปลี่ยนมาก เปลี่ยนมากมันต้องเปลี่ยนได้

การเมืองไทยน่าจะเปลี่ยนในปี 2570

การเมืองไทยคงเปลี่ยนช่วงปี 2570 เพราะนักการเมืองสามร้อยกว่าคนยังมีชีวิตอยู่และยังส่งทายาททางการเมืองมาเรื่อยๆ และถ้าจะเปลี่ยนกระบวนทัศน์มีพรรคการเมืองใหม่เกิดขึ้น แสดงว่า ณ ปีนั้น ปชป. และเพื่อไทยล้มแล้ว คนพร้อมใจกันไม่เลือก ถึงจะเกิดความเปลี่ยนแปลง แต่ ณ เวลานี้ คนเสื้อแดงยังเลือกพรรคเพื่อไทย คนที่เลือก ปชป. ก็ยังเลือก ปชป. สองขั้วไม่เปลี่ยน ถ้าพรรคการเมืองใหม่ๆ จะเกิดขึ้น เราก็ต้องลองวาดเรื่องราวดู ว่าอะไรคือ Tipping point ซึ่งเวลานี้ไม่มี ถ้าตัวละครซึ่งยังเป็นชุดเดิมจะขยับ ข้างบนยอมหรือยัง

คนเสื้อแดงจะลุกขึ้นมาปฏิเสธพรรคเพื่อไทยในเวลาอันใกล้?!

ใกล้...ถ้า ถ้าคุณเฉลิม (อยู่บำรุง) ยังไม่หยุดพูด หรือคุณอนุดิษฐ์ (นาครทรรพ) ยังตอบโจทย์ไม่ได้ อีกสักหกเดือนก็ลำบากแล้วล่ะ คนก็ยังรอบ้านเลขที่ 111 แต่คนบ้านเลขที่ 111 ก็ไม่ใช่ซุปเปอร์แมน

ส่งท้ายซีรีส์ เมืองไทย 2555 อะไรรอเราอยู่ กับ พันธ์อาจ ชัยรัตน์ มองเมืองไทยจากปี 2600

ก่อนปี 2600 มีภาพ Riot ไหม

มีครับ ผมคิดว่าความตายเท่าที่ผ่านมายังไม่มากพอด้วยซ้ำ ความวุ่นวายทางการเมืองอย่างรุนแรงน่าจะเกิดขึ้นประมาณ พ.ศ.2560 และช่วงวุ่นวายน่าจะประมาณ 10 ปี แต่เราผ่านได้อยู่แล้ว แต่ผ่านแบบไหนก็อีกเรื่องหนึ่ง

Rural Cosmopolitan (คนชั้นกลางในชนบท) โดยเฉพาะในอีสาน คนเหล่านั้นป็นใคร....เป็นอดีตสาวโรงงาน คนขับแท็กซี่ หรือเมียฝรั่ง เรามีร้านสะดวกซื้อทุกจังหวัด ถามว่าคนเหล่านี้หลายๆ คนจะอยู่กรุงเทพฯไหม ก็ไม่อยู่ เขาสามารถใช้ชีวิตในหมู่บ้านได้ คนเหนือไม่อายที่จะพูดคำเหนือในกรุงเทพฯ เมื่อก่อนคนอีสานอาจจะอายแต่เดี๋ยวนี้ไม่อายแล้ว แสดงว่าเขามีความภูมิใจในอัตลักษณ์ของเขา สภาพแวดล้อมในตัวเมือง ที่อำเภอเมือง คนไม่ต่างกับในกรุงเทพฯ แต่คนกรุงเสียอีกที่ความสามารถในการใช้ชีวิต (Survival Rate)ต่ำ

อัตลักษณ์นี้ มันเอามามัดกันแบบข้าวหลามไม่ได้ แต่ต้องยอมให้มีความหลากหลาย นั่นแสดงว่าคุณเชื่อว่าความหลากหลายทางประชาธิปไตยเกิดขึ้น มันเชื่อมโยงกับความหลากหลายทางประชาธิปไตย คำพูดแบบพลเอกประยุทธ์ (จันทร์โอชา) ที่ไล่คนออกจากประเทศนั้น ใช้ไม่ได้ เพราะว่าประชาธิปไตยมันเป็นการเคลื่อนตัวของการปฏิสัมพันธ์กับคนที่อยู่รอบๆ สังคม บางครั้งมันเลยเถิด แต่ถ้า Very Conservative ก็จะถูกตบๆ เข้ามา มันไม่ได้มีจุดสมดุล แต่มีจุดที่อยู่กันได้ เป็นจุดกระเพื่อม มันจะไม่มีลิมิต มันมีจุดตกต่ำได้ มี Riot (ความวุ่นวาย) ได้

ทำไมมันต้องมี Riot ผมคิดว่ามีคนอยากให้มี และมีคนไม่อยากให้มี มันอาจจะเหมือนปฏิวัติฝรั่งเศส รัสเซีย อังกฤษสมัยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 เราเคยหยุดความเปลี่ยนแปลงแบบรุนแรงได้ในตอนเลิกทาส ตอนนั้นป็นการปกครองอีกแบบ แต่ตอนนี้ไม่ใช่ แล้วไม่ต้องไปโทษคนชื่อทักษิณ โทษตัวเราเองทุกคน เพราะเราทุกคนเป็นหุ้นส่วน เพียงแต่ทักษิณเขาเสียงดังกว่าเรา ถ้าไม่อยากให้รุนแรง ก็ต้องคุยกัน แต่คุยกันก็ค้องไม่ตัดคนส่วนใหญ่ออกไป ตอนนี้เขากำลังตัดคนส่วนใหญ่ของประเทศออกไปจากโต๊ะเจรจา

อย่างไรก็ตาม ถ้าเราเอาการเมืองตั้งก็อาจจะเห็นภาพแบบนี้ แต่ถ้าเราเอาสภาพแวดล้อมอื่นมาผนวกอาจจะไม่เกิดความรุนแรงก็ได้ เช่นสภาพแวดล้อมธรรมชาติอย่างมโหฬาร การเมืองอาจจะต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อให้อยู่รอดได้ หรือการเกิดโรคระบาดอย่างรุนแรง ฉะนั้นปัจจัยภายในอย่างเดียวบอกไม่ได้ว่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงหรือไม่ นี่คือข้อดีของ foresight เพราะไม่ได้มองด้านเดียว ปัจจัยอื่นๆ เราก็จะไม่ตัดออกไป แต่มองว่า ภัยธรรมชาติจะช่วยได้เยอะ แต่ภัยธรรมชาติแบบน้ำท่วมคราวนี้ไม่ใช่ ต้องเจอแบบพายุ หรือสึนามิ มาเร็วไปเร็ว เสียหายเยอะ แต่คราวนี้กลายเป็นว่านักการเมืองก็ไปพิสูจน์ความอึดของกองเชียร์แทน

เมืองไทยปี 2555...คำถามสำหรับปีนี้คือ “เรากำลังทำอะไรกันอยู่”

สังคมไทยในปี 2555 ยังเป็นสังคมที่มีความแตกแยกและเยอะขึ้นด้วย น้ำท่วมไม่ได้ช่วยให้ลดลง ความขัดแย้งเยอะขึ้นเพราะตัวเลือกในการสมานฉันท์ก็ยิ่งลดลง ด่าพ่อล่อแม่กันเยอะขึ้น แต่ความรุนแรงใหญ่ๆ คงไม่มี ความขัดแย้งคงไม่พ้นตามหน้าสื่อ ตามโซเชียลมีเดีย แต่ความขัดแย้งรุนแรงขนาดที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2553-2554 คงไม่มี แต่จะเป็นความขัดแย้งประปราย การรณรงค์ทางการเมืองก็สร้างสรรค์นวัตกรรมมากขึ้น

จะเกิดกลุ่มใหม่ คือกลุ่มที่อยู่ตรงกลางๆ ของปิรามิด จะเริ่มตีเฉดออกมา เหลือง-แดงบางกลุ่มคุยกันได้ นั่นเป็นตัวชะลอความขัดแย้งทางอ้อม เพราะกลุ่มนี้ต้องสร้างความเชื่อถือเชื่อมั่น แต่สังคมไทยจะเป็นสังคมที่จะมีปัญหาเรื่องการนิยามตัวเองเพิ่มขึ้นมาอีกว่า “ตกลงเรากำลังทำอะไรกันอยู่” สองปีที่ผ่านมา ผมพูดเรื่องอนาคตเยอะนะครับ ปีหน้าคนคงพูดเรื่องเรากำลังทำอะไรกันอยู่มากขึ้น และเราทำไปเพื่ออะไร

ในเรื่องของเทคโนโลยี ที่น่าสนใจคือเรื่องของไอซีที ว่ากสทช. จะเอาอย่างไร แต่เรื่องการวิจัยก็ไปเรื่อยๆ ไม่เปลี่ยนแปลง น่าเสียดาย

เศรษฐกิจไม่ตกต่ำมาก เพราะว่า หนึ่ง มีการบูรณะ สองคือ อุตสาหกรรมบ้านเรามีความหลากหลาย ไม่เหมือนบางประเทศที่มีอุตสาหกรรมไม่กี่แบบ การย้ายฐานอุตสหากรรมจะเกิดจากปัญหาค่าแรงมากกว่า เศรษฐกิจปีหน้าน่าจะเคลื่อนมาที่ภายในประเทศมากกว่าระหว่างประเทศ และกลุ่มทุนต่างชาติเข้ามามากขึ้น เป็นโอกาสที่จะมาควบรวมกิจการ หรือธุรกิจที่ไม่มีความเสี่ยง เช่นอาหาร การท่องเที่ยว การบริการ

ด้านสิ่งแวดล้อม ผมว่าปีนี้เป็น Warning Alarm ปีหน้าน่าจะมีทั้งร้อนหนาวและฝนตกมาก หนึ่งจะเกิดโรคระบาด ปีหน้าไม่ต่างจากปีนี้ เหตุผลที่บอกว่า ปีหน้าไม่ต่างจากปีนี้เพราะว่าจากสถิติมันทับซ้อนกัน เพราะว่า ตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา มีกระบวนการคล้ายๆ กันมาก คือสถิติมันเพี้ยนไปหมด ทั้งปริมาณน้ำ หรือสภาพอากาศ มันจะไม่เปลี่ยนเยอะ แต่ถ้ามันมีการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพของโลกอีกสัก 2-3 ปี อาจจะมีรูปแบบของการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างใหม่ มันก็จะเป็นเหมือนเดิม ปัญหาคือคนจะเริ่มตั้งคำถามว่า ปชป. ทำไม่ได้ เพื่อไทยก็ทำไม่ได้ แล้วเราจะทำอย่างไร ฉะนั้นปีหน้าคนทุกราศีก็จะตั้งคำถามกับตัวเองว่า แล้วเราจะทำอย่างไรดี เราจะอยู่อย่างไร (หัวเราะ)

สื่อต้องปรับตัวมหาศาล สื่อเล็กไม่มี มีแต่สื่อใหญ่กับสื่อพลเมือง

สื่อหลักคงต้องมี แต่การสื่อสารด้วยตัวเองมันเรียลไทม์ มันจะเร็วมากจนสื่อกระแสหลักต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองหน้ามือเป็นหลังมือเลย เพราะตัวคนแต่ละคนเป็นสื่อได้เอง สื่อในอนาคตไม่ต้องรอ พ.ศ. 2600 ใน 10 หรือ 20 ปีข้างหน้านี้ สื่อหลักต้องปฏิวัติมหาศาลอีกรอบ

คนจะแสวงหาสื่อเฉพาะด้านซึ่งจะเป็นปัญหามาก ถ้าไม่แก้ตรงนี้ ถ้ายังปล่อยให้เป็นอย่างนี้ คนจะไม่อยากเสพสื่อที่แตกต่าง ข่าวหนึ่งมี 100 เวอร์ชั่น แล้วคนยินดีจะตามเฉพาะเวอร์ชั่นที่ตัวเองชอบ

ผมมองว่าเทคโนโลยีมันอนุญาตให้ห้องไม่กี่ตารางเมตรเป็นสถานีได้ สื่อกระแสรองจะไม่มีแล้ว จะมีแค่สองพวกคือ สื่อ กับประชาชน ไม่มีเล็กๆ แบบปลาซิวปลาสร้อย เพราะเนื้อหาทุกวันนี้ก็แทบสำลักตายอยู่แล้ว เทคโนโลยีบีบให้สื่อต้องปฏิวัติ แต่จะปฏิวัติอย่างไร

ถ้าสื่อหลัก เริ่มตันด้วยข่าวการเมือง บิกินี และอาชญากรรม แต่ไปดูสื่ออื่น การเมือง แต่ก็มีเรื่องอื่น วิทยากรความรู้ แล้วย่อยให้เป็นภาษาชาวบ้าน ภาษามนุษย์ นี่สำคัญมาก แต่สื่อไม่ทำ อาจจะโต้ว่าคุณเป็นนักวิชาการคุณก็พูดแบบนี้ แต่มันไม่ใช่ เพราะความรู้นั่นแหละที่ในที่สุดแล้วเอาไปวิเคราะห์การเมือง เศรษฐกิจ สังคมได้ ตัวอย่างข่าวจันทรุปราคาที่ผ่านมา ผมว่าแค่ภาพถ่ายก็สอบตกแล้วทั้งประเทศ ภาพถ่ายดวงจันทร์คุณเอากล้องอะไรไม่รู้มาถ่าย ได้ภาพมัวๆ แล้วคุณไม่โยงกับเรื่องอื่น คุณโยงแต่เรื่องโหราศาสตร์

ด้านเนื้อหาในสื่อ ผมว่าปี 2600 ไม่เหมือนเดิมแล้ว มันเปลี่ยนเพราะรูปแบบการเมืองคงมีเสถียรภาพมากกว่าเยอะ เพราะว่า Global Governance คงไม่ยอมให้เกิดความวุ่นวายขึ้น ถ้าเราสามารถสร้างสื่อพวกนี้ สื่อต่างๆ เล่นกับข้อมูลได้เยอะ สื่อไทยก็เปลี่ยนไปอีกเยอะ

 

ทำความรู้จักกับ Foresight Research

1) Foresight คืออะไร

เป็น Action Research เมื่อก่อนใช้คำว่า Future Study (อนาคตศาสตร์) แต่ตอนนี้เราใช้คำว่า Foresight

2) Forecast (พยากรณ์) Vs Foresight ต่างกันอย่างไร

มองคนละช่วงเวลา Forecast มองจากปัจจัยในปัจจุบัน แต่ Foresight มองว่าวันนี้เป็นวันที่ 21 ธ.ค. 2600 คนส่วนใหญ่มองจากภาพอนาคตมองกลับมา แต่ Forecast มีหน้าที่มองอนาคตระยะสั้น เก่งเรื่องมอนิเตอร์กับพรีวิว พูดง่ายๆ ว่าใช้สมองคนละด้าน

Foresight ต้องนอกกรอบมากๆ เพราะความไม่แน่นอนสูง เพราะพ้นระยะคาดการณ์จากห้าปีไปแล้ว

3) ใครบ้างทำ Foresight

บรรษัทเอกชน และอีกหลายประเทศทำ Foresight เพื่อหาแนวทางสำหรับอนาคต เช่น บริษัทเอกชน อุตสาหกรรมพลังงานกับการขนส่ง เขาพยายามเจาะหาแนวโน้มในตลาดจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเทคโนโลยีโรดแมป นี่ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง เป็น Corporate Foresight ซึ่งจะมีเยอะขึ้น เป็นอีกระดับหนึ่ง คือมีระดับชาติและระดับบรรษัท คอร์เปอร์เรท สมมติว่าวิจัยตอนนี้อาจจะใช้เวลา 7 ปีจากนี้

ในระดับรัฐบาล มีหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ แอฟริกาใต้ ฯลฯ ตอนนี้รัฐบาลอังกฤษพยายามค้นหาอัตลักษณ์ของคนอังกฤษในอนาคต คือ เขามองว่าแนวโน้มคนอังกฤษมีสไตล์อย่างไร การใช้พลังงาน อนาคตของประตูหน้าต่างพื้นบ้านคนอังกฤษเป็นยังไง

เป็นกระบวนการระดมความคิดเห็น แต่กระนั้น ก็มีสองพวก ถ้าเราปล่อยให้คนบางกลุ่มทำ เขาก็ทำประชาพิจารณ์แบบเดิม คือเอาร่างไปเสนอแบบนี้เอาไหม แต่ Foresight เราไม่มีกรอบมาก่อน คือให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมคิดตั้งแต่ต้น ไม่ใช่ทำวิจัยแล้วไปขอความเห็น

4) Foresight หาคำตอบอย่างไร

การทำ Foresight คือเราไม่ปฏิเสธใครเลย แต่เราต้องการดึงประเด็นออกมาให้มีความหมาย make sense ไม่ใช่บอกว่าเราทำวิจัยหมดแล้ว ไม่ต้องทำอะไรเพิ่ม คือต้องให้คนอื่นมีส่วนร่วมในไอเดีย

ตัวอย่างหนึ่งคือ ลำพูน ตอนแรกที่เราไปคุย กับนายกเทศมนตรี อ.เมืองลำพูน โชคดีมากที่เทศบาลเมืองลำพูนรับทุนสหภาพยุโรปในการทำประชาพิจารณ์มาแล้วประมาณ 3-4 ครั้ง เทศบาลฯ คุ้นกับการทำกระบวนการการมีส่วนร่วม รัฐท้องถิ่นกับชุมชนคุ้นเคยกัน เมื่อเราชวนมาทำเขาก็เต็มที่ เราก็เทรนคนที่จะเข้าร่วมกระบวนการกับเรา ก่อนทำเราก็หาแบกกราวด์ หาคีย์เวิร์ดของชุมชนลำพูน มีสิบกว่าคำ มีคำว่านิคมอุตสาหกรรม ซึ่งถามใครเขาก็พูดถึง แปลว่ามันสำคัญกับเขา เราก็ทำแบบสอบถามให้เขาไปอ่านก่อน แล้วเข้ากลุ่มคุยกัน หาประเด็นร่วมกัน ทำอยู่สามรอบ การกลับมาร่วมแสดงความเห็นสูงมาก เก้าสิบกว่าเปอร์เซ็น

แต่ถามว่าหลังจากนั้นเกิดอะไรขึ้น ก็เป็นไอเดียของนักการเมืองท้องถิ่น แต่ผมไม่ได้มองว่าทุกเมืองจะเวิร์ก บางแห่งที่เป็นเมืองใหญ่อาจจะมีเจ้าของพื้นที่อยู่แล้ว เขาก็จะบอกว่าเขามีแผนสำหรับอนาคตแล้ว แต่จริงๆ แล้วไม่มี

5) มองไกลแต่ไม่ทิ้งปัจจัยระยะสั้น

ถ้าเราติดอยู่กับบริบทปัจจุบันอย่างเดียว เราก็จะไม่เห็นทางออก แต่ไม่ได้แปลว่าจะไม่เอาบริบทปัจจุบันมาเป็นปัจจัยในการวิเคราะห์คาดการณ์ แต่สิ่งเหล่านี้จะถูกดึงเข้ามาในกระบวนการ เพราะถ้าฝันเฟื่องไปไกลมาก มันจะถูกตบ ขณะที่คนที่ Expert มาก มองภาพความเป็นจริงมา ก็จะถูกดึงมาว่าอย่ามองแบบนี้ ถ้ามองแบบนี้ไปไม่ได้

6) Foresight เป็น Positive Thinking หรือเปล่า

เรามองเชิงบวก และเราก็มองเชิงลบด้วย ภาพอนาคตบวกมากๆ เราก็ต้องทำ ลบมาก เราก็ต้องทำ เฉยๆ ไม่เปลี่ยนแปลงเลยก็ต้องทำ ถามว่าพลังบวกไหม เป็นพลังบวกส่วนหนึ่ง บวกลบคูณหารแล้วก็ยังบวก แต่เป็นพลังบวกเพียวๆ คงไม่ใช่เพราะไม่ได้มองโลกดีขนาดนั้น

7) ปัญหาของ Foresight

บางคนก็ยังไม่ซื้อไอเดีย บางคนก็เริ่มทำบ้างแล้ว ที่ผ่านมาก็พยายามใส่ข้อมูลต่างๆ จากทั่วโลก ลงไปในเฟซบุ๊ก ที่น่าสนใจคือแอฟริกาในปี 2050 ถามว่าเมืองไทยทำไมไม่ทำ เราจะมัวรอเสนอให้นายกยิ่งลักษณ์ทำไหม คุณพันธ์ศักดิ์ (วิญญรัตน์) ทำไหม เราทำแล้วเขาเอาไปอ่าน เขาเอาไปใช้นั่นก็เติมเต็มสิ่งที่เราทำแล้ว

มองในแง่นี้ แต่การเมืองภาพใหญ่ไม่ใช่ปัญหา แต่ถึงเวลาที่เราจะเอามาใช้ล่ะ

มีแนวทางอยู่สามอย่าง หนึ่งคือ ถ้าเราพยายามเจาะในแนวของนโยบาย จะใช้เวลามาก เพราะหน่วยงานไหนจะเป็นคนดำเนินการก็ไม่รู้ สอง ถ้าเราไม่ทำอย่างนั้น รัฐมีหน้าที่เป็นผู้มีส่วนร่วม ประชาสังคมต้องยกประเด็นแล้วทำงานร่วมกับหน่วยงานราชการ

สามคือ ไม่ต้องไปสนแล้ว เพราะในที่สุดแล้วรัฐจะมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เป็นสุดโต่งอีกทาง แต่ตอนนี้เรามองแต่ภาพแรก คือให้คนที่มีหน้าที่ทำ ไปหาคุณอภิสิทธิ์ทำไหม คุณยิ่งลักษณ์ทำไหม ถีงเวลาก็มีเรื่องฉุกเฉินอื่นๆ ขึ้นมา คือเมื่อก่อนเราทำแบบแรกเยอะแต่มีปัญหามาก

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 1-7 ม.ค. 2555

Posted: 09 Jan 2012 03:48 AM PST

อธิบดี กสร.เผยแรงงานเริ่มฟื้นตัวหลังปีใหม่ ชี้เลิกจ้างต่ำกว่าคาด

นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวถึงสถานการณ์ด้านแรงงานในปี 2555 ว่า ตั้งแต่ต้นปีจะเป็นช่วงของการฟื้นตัวภายหลังสถานการณ์อุทกภัย โดยแรงงานทั้งหมดที่ได้รับผลกระทบ จำนวนกว่า 990,000 คน พบว่าล่าสุดกลับเข้าทำงานแล้วกว่า 600,000 คน ขณะที่แรงงานจำนวน 240,000 คน เข้าร่วมโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างที่รัฐบาลช่วยจ่ายเงินเดือนละ 2,000 บาทต่อเดือน ส่วนแรงงานที่ถูกเลิกจ้างไปแล้วล่าสุดมีจำนวน 25,000 คน ดังนั้น จึงเหลือแรงงานที่ยังไม่ชัดเจนว่าจะถูกเลิกจ้างหรือไม่อีกประมาณ 30,000-40,000 คน ส่งผลให้ตัวเลขแรงงานที่อาจต้องถูกเลิกจ้างต่ำกว่าที่ประเมินไว้ มากที่สุดก็จะไม่เกิน 50,000-60,000 คน และคาดว่าหลังหยุดยาวช่วงปีใหม่ ตัวเลขจะมีความชัดเจนมากขึ้น

นายอาทิตย์ กล่าวว่าได้เตรียมแผนรองรับกรณีหากเกิดสถานการณ์เลิกจ้างหลังปีใหม่ โดยเตรียมขยายโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้าง ออกไปอีกเนื่องจากในช่วงแรกมีระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งเริ่มตั้งแต่พฤศจิกายน 2554 และจะสิ้นสุดในเดือนมกราคม 2555 นั้น โดยจะใช้งบประมาณที่เหลือจากที่ได้รับอนุมัติวงเงิน 1,800 ล้านบาท และได้โอนเงินก้อนแรกจำนวน 600 ล้านบาท ผ่านธนาคารออมสินไปแล้ว และคาดว่าจะใช้ไม่หมด เนื่องจากมีสถานประกอบการหลายแห่งฟื้นตัวได้เร็วและเปิดดำเนินกิจการได้ก่อน จบโครงการ

นายอาทิตย์ กล่าวอีกว่า สำหรับผู้ที่ยังไม่แน่ใจว่าถูกเลิกจ้างแล้วหรือไม่ ขอให้เร่งติดต่อที่ กสร.หรือสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด เพื่อให้ตรวจสอบและให้ความช่วยเหลือ ส่วนกรณีที่มีสถานประกอบการบางแห่ง ยังไม่สามารถเปิดกิจการแต่ไม่ยอมจ่ายค่าจ้าง หรือเลิกจ้างเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายเงินชดเชยนั้น จะเร่งส่งเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจสอบ หากพบว่าเป็นการกระทำที่เข้าข่ายการเลิกจ้าง เช่น ลูกจ้างพร้อมทำงาน แต่นายจ้างไม่จ่ายงานให้ ก็จะบังคับให้นายจ้างจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายทันที

(สำนักข่าวไทย, 2-1-2555)

ดันตั้งสหกรณ์เพื่อผู้ใช้แรงงานลดกู้นอกระบบ

นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ระบุว่า ในปี 2555 จะเน้นนโยบายส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยสร้างความเข้าใจกับนายจ้างเรื่องการปรับค่าจ้างขึ้นอีก 40% ซึ่งจะมีผลในวันที่ 1 เม.ย. “นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในอัตราใหม่ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ขณะเดียวกันลูกจ้างก็ต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้นายจ้างรู้สึกคุ้มค่ากับต้นทุนที่ต้องจ่ายเพิ่ม นอกจากนี้ยังมีโครงการโรงงานสีขาวปลอดยาเสพติด ลดอุบัติเหตุจากการทำงาน และส่งเสริมการออมเพื่อให้ห่างไกลจากหนี้นอกระบบ โดยตั้งสหกรณ์ในโรงงานให้ปล่อยกู้กันเอง”

(โลกวันนี้, 3-1-2555)

เผยหลังน้ำท่วมเลิกจ้างแล้ว 25,000 คน คาดมีอีกแต่ไม่เกิน 50,000 คน

นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวถึงสถานการณ์ด้านแรงงาน ภายหลังเหตุการณ์อุทกภัยว่า ล่าสุด (4 ม.ค.) ลูกจ้างถูกเลิกจ้างแล้วจำนวน 25,501 คน ในสถานประกอบการ 89 แห่ง โดยเป็นการเลิกจ้างใน จ.พระนครศรีอยุธยา มากที่สุด 16,371 คน รองลงมาคือ จ.ปทุมธานี 8,456 คน ขณะที่สถานประกอบการที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ยังไม่สามารถเปิดกิจการได้มีจำนวน 1,337 แห่ง ลูกจ้าง 233,536 คน ในจำนวนนี้บางส่วนได้เข้าร่วมโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างที่มียอด รวมจำนวน 257,887 คน จึงทำให้ตัวเลขการเลิกจ้างยังมีไม่มากนัก

อย่างไรก็ตาม คาดว่าภายในเดือนมกราคมนี้ อาจมีการเลิกจ้างเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสิ้นสุดระยะเวลา 3 เดือนของโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้าง ขณะที่บางโรงงานยังซ่อมแซมไม่แล้วเสร็จ หรือบางแห่งอาจปรับขนาดกิจการให้เล็กลง หรือปรับปรุงคุณภาพและสมรรถนะในการทำงานให้มากขึ้นโดยจ้างคนน้อยลง แต่ก็เชื่อว่าไม่น่าจะทำให้ยอดรวมการเลิกจ้างถึง 50,000 คน

นายอาทิตย์ กล่าวอีกว่า ที่เป็นห่วง ณ ขณะนี้คือ การฉวยโอกาสเลิกจ้างสหภาพแรงงาน ซึ่ง กสร.จะจับตาดูอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การเลิกจ้างเป็นไปด้วยความเป็นธรรม และคำนึงถึงผลงานอย่างแท้จริง ขณะที่ตัวลูกจ้างก็จะต้องเร่งพัฒนาตนเองหากยังอยากทำงานต่อไป

ทั้งนี้ ยอมรับว่าล่าสุดได้รับรายงานว่ามีสถานประกอบการขนาดใหญ่บางแห่งใน จ.ปทุมธานี เตรียมเลิกจ้างคนงานประมาณ 5,000 คน เพื่อปรับขนาดกิจการให้เล็กลง โดยมีสาเหตุจากอุทกภัยที่เกิดขึ้น รวมถึงการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทใน 7 จังหวัดที่กำลังจะบังคับใช้ในเดือนเมษายนนี้

(กรุงเทพธุรกิจ, 4-1-2555)

แรงงานจาก 3 จังหวัดที่ถูกน้ำท่วมร้องรัฐเร่งหามาตรการช่วยเหลือ

5 ม.ค. 54 - คนงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในจังหวัดสมุทรสาคร ปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา กว่า 30 คน เดินทางมาร้องเรียนที่กระทรวงแรงงาน โดยนางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย  เปิดเผยว่า ยังมีคนงานอีกหลายหมื่นคน ที่ประสบชะตากรรมเดียวกัน เมื่อบริษัทให้หยุดงานแต่ไม่ยอมจ่ายเงินช่วยเหลือใด ๆ ไม่มีการจ่ายค่าจ้าง ซึ่งที่ผ่านมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเคยออกมายืนยันชัดเจนว่าทุกโรงงาน ที่ประกาศหยุดงานในช่วงน้ำท่วมต้องจ่ายค่าจ้างร้อยละ 75 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้คนงาน แต่ความจริงกลับไม่เกิดขึ้น บางโรงงานไม่จ่ายเงินเลยและไม่มีการเลิกจ้าง ขณะที่บางโรงงานจ่ายเพียง 2,000 บาท หลังให้หยุดงานนานกว่า 3 เดือน จึงอยากเรียกร้องให้เร่งแก้ปัญหาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

นางสาวน้ำผึ้ง เพชรนงนุช คนงานบริษัทไดนามิค โปรโมชั่น จำกัด อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า บริษัทให้หยุดงานตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนและไม่มีความชัดเจนว่าจะเปิด กิจการอีกเมื่อใด เหมือนบีบให้ลูกจ้างลาออกไปเอง ซึ่งลูกจ้างส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 40 ปี ไม่สามารถไปหางานใหม่ได้ วันนี้อยากให้กระทรวงเร่งหาทางช่วยเหลือโดยด่วน

(สำนักข่าวไทย, 5-1-2555)

กกจ.เตรียมเปิด 25 ศูนย์บริการส่งแรงงานไทยทำงาน ตปท.

(6 ม.ค.) นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน(กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า แต่ละปีมีแรงงานไทยหมุนเวียนไปทำงานต่างประเทศปีละกว่า 1 แสนคนนำรายได้กลับเข้าประเทศไทยปีละ 7.4 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม กกจ.พบว่าแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงานต่างประเทศประมาณ 1-3 แสนบาทขึ้นไป ทั้งที่กฎหมายกำหนดไว้เสียค่าใช้จ่ายไม่เกิน 7 หมื่นบาท เนื่องจากสาเหตุ 3 ประการได้แก่ บางประเทศมีการเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มติม เช่น ไต้หวันเก็บค่าล่าม อิสราเอลเก็บค่าดูแลแรงงาน อีกทั้งบริษัทจัดหางานเก็บค่าบริการสูงกว่าอัตราที่กำหนดให้เก็บได้ในอัตรา 3 บวก 1 ของเงินเดือนและมีการเก็บค่าใช้จ่ายอื่นๆเพิ่มเติมโดยอ้างว่าเป็นค่าเตรียม ความพร้อม ซึ่งแรงงานส่วนหนึ่งก็ถูกหลอกลวงและเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในอัตราที่แพง
      
อธิบดีกกจ. กล่าวอีกว่า กกจ.ได้มีมาตรการป้องกันและช่วยเหลือให้แรงงานไทยที่จะไปทำงานต่างประเทศไม่ ให้ถูกหลอกลวงและเสียค่าใช้จ่ายในอัตราที่เหมาะสมโดยจะจัดตั้งศูนย์บริการ เบ็ดเสร็จจุดเดียวให้บริการแรงงานไปทำงานต่างประเทศขึ้นใน 25 จังหวัดโดยเฉพาะจังหวัดที่มีแรงงานไทยเดินทางไปทำงานต่างประเทศจำนวนมาก เช่น จ.อุดรธานี ขอนแก่น บุรีรัมย์ นครราชสีมา ลำปาง ซึ่งกกจ.ได้เจรจาขอความร่วมมือห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ เช่น ห้างโลตัส บิ๊กซี เพื่อเปิดศูนย์นี้ขึ้น
      
ทั้งนี้ ภายในศูนย์นี้จะมีเจ้าหน้าที่ 3 หน่วยงานหลักได้แก่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดทำหน้าที่รับลงทะเบียนและให้บริการข้อมูลตำแหน่งงาน ในต่างประเทศและให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆเช่น เงินเดือน กฎหมาย ขณะเดียวกันจะมีการติดประกาศตำแหน่งงาน อัตราค่าบริการ เงินเดือนและสวัสดิการต่างๆด้วย และยังมีบริษัทนายหน้าจัดหางานในต่างประเทศที่กกจ.ให้การรับรองซึ่งจะหมุน เวียนกันมาให้บริการ รวมถึงธนาคารที่ปล่อยกู้ให้แรงงานไทย เช่น ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย โดยเมื่อแรงงานได้ตำแหน่งงานแล้วก็สามารถทำเรื่องยื่นกู้กับธนาคารได้ทันที ซึ่งคาดว่าภายใน 2-3 เดือนข้างหน้าจะจัดตั้งศูนย์นี้ขึ้นได้
      
“เป้าหมายของกกจ.ที่ตั้งศูนย์บริการนี้ขึ้นมา ก็เพื่อต้องการตัดวงจรสายนายหน้าหาคนไปทำงานต่างประเทศซึ่งเรียกเก็บเงินจาก แรงงานไทย 1-3 หมื่นบาทต่อคน และเมื่อแรงงานเข้าไปสู่บริษัทจัดหางานก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีก ทำให้ต้องเสียเงินกว่า 1-3 แสนบาทกว่าจะได้ไปทำงานต่างประเทศทั้งที่กฎหมายกำหนดไว้เก็บได้ไม่เกิน 7 หมื่นบาทต่อคน รวมทั้งเมื่อไปทำงานต่างประเทศแล้ว ยังถูกเก็บค่าใช้จ่ายอื่นๆเพิ่มเติมเช่น ไต้หวันเก็บค่าล่าม อิสราเอลเก็บค่าดูแลแรงงานโดยล่าสุดกกจ.ได้เจรจาขอให้เก็บค่าใช้จ่ายเหล่า นี้ในอัตราที่ถูกลง ทั้งนี้ ภาพรวมต่างประเทศเช่น เกาหลี ไต้หวัน ประเทศตะวันออกกลางยังต้องการแรงงานอีกมาก ดังนั้น เชื่อว่าศูนย์นี้จะช่วยเหลือแรงงานไทยได้อย่างมาก” นายประวิทย์ กล่าว

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 6-1-2555)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บึ้มเจ็บระนาว! หลังศาลยกฟ้อง "อันวาร์" คดีร่วมเพศทางเวจมรรค

Posted: 08 Jan 2012 10:18 PM PST

ผู้นำฝ่ายค้านมาเลเซีย "อันวาร์ อิบราฮิม" พ้นผิดคดีร่วมเพศทางเวจมรรค ศาลไม่เชื่อหลักฐาน "ดีเอ็นเอ" "อันวาร์" เผยมุ่งศึกเลือกตั้ง ขณะที่หลังคำพิพากษาเกิดเหตุระเบิดอย่างน้อย 3 ครั้งมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก

ตามที่วันนี้ (9 ม.ค.) ศาลมาเลเซียกำหนดจะตัดสินคดีนายอันวาร์ อิบราฮิม อายุ 64 ปี อดีตรองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย และผู้นำฝ่ายค้านในความผิดฐานร่วมเพศทางเวจมรรคกับนายโมฮัมหมัด ไซฟูล บูคารี อัสลัน อดีตผู้ช่วยของเขานั้น ล่าสุด หนังสือพิมพ์มาเลเซียกินี รายงานเช้าวันนี้ (9 ม.ค.) ว่า ณ ที่ทำการศาลกัวลาลัมเปอร์ ถ.ดูตา กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย มีผู้สนับสนุนนายอันวาร์ และพรรคฝ่ายค้านทั้ง PKR PAS PSM และ DAP ได้เดินทางมาฟังคำพิพากษาของศาลจำนวนมากตั้งแต่เช้ามืด โดยตะโกนคำขวัญ "Reformasi" อยู่ภายนอกที่ทำการศาล ขณะที่ตั้งแต่เช้ามืดจนถึง 7.00 น. ได้เกิดฝนตกหนักบริเวณที่ทำการศาล ทั้งนี้มาเลเซียกินีรายงานว่ามีผู้สนับสนุนนายอันวาร์ราว 6 พันคนภายนอกศาล

ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านและนายอันวาร์ อิบราฮิมชุมนุมหน้าศาล (ที่มา: Media Rakyat)

บรรยากาศชุมนุมที่ศาลในกรุงกัวลาลัมเปอร์ และอันวาร์ อิบราฮิม ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหลังศาลยกฟ้อง (ที่มา: Malaysiakini.tv/youtube.com)

เหตุระเบิดที่ข้างศาล หลังตัดสินคดีอันวาร์เมื่อ 9 ม.ค. 54 (ที่มา: Malaysiakini.tv/youtube.com)

ขณะเดียวกันมีกลุ่มอนุรักษ์นิยม "เปอร์กาซา" มาชุมนุมต่อต้านนายอันวาร์อยู่ภายนอกศาลด้วยประมาณ 30 คน แต่ได้รีบสลายตัวไปหลังเผชิญหน้ากับผู้สนับสนุนนายอันวาร์

ด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายร้อยนายได้เข้าประจำการ และเตรียมรถบรรทุก 21 คัน และเตรียมรถดับเพลิงมาด้วย

ทั้งนี้ในเวลาประมาณ 9.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ผู้พิพากษาโมฮัมหมัด ซาบิดิน โมฮัมหมัดดิอา เริ่มอ่านคำพิพากษาโดยตัดสินว่า "หลักจากพิจารณาหลักฐาน ศาลไม่อาจมั่นใจ 100% ว่าตัวอย่างดีเอ็นเอที่นำมาตรวจนั้นไม่มีการปนเปื้อน และปลอดเชื้อพอที่จะนำมาเป็นหลักฐานทางดีเอ็นเอ

ดังนั้น จึงมีแต่คำให้การของนายไซฟูล แต่เนื่องจากนี่เป็นการกระทำผิดกฎหมายทางเพศ ศาลจึงรู้สึกไม่เต็มใจนักที่จะพิพากษาโดยยึดเอาแต่คำให้การของนายไซฟูล ซึ่งไม่มีข้อสนับสนุน ข้อกล่าวหานี้จึงให้พ้นความผิดและให้จำหน่ายคดี

นายอันวาร์กล่าวว่าเขารู้สึกประหลาดใจและขอยืนยันในความบริสุทธิ์ "พวกเรามีวาระว่าจะมุ่งไปที่การเลือกตั้ง"

ผู้สนับสนุนนายอันวาร์ที่อยู่บริเวณมัสยิดวิลายาห์ได้ปรบมือให้กับการตัดสินของศาล

สำหรับความผิดฐาน sodomy หรือการร่วมเพศทางเวจมรรคในมาเลเซียมีโทษจำคุก 20 ปี ถือเป็นกฎหมายที่ตกทอดมาจากสมัยอาณานิคมอังกฤษ ขณะที่อังกฤษได้ยกเลิกกฎหมายฐานความผิดนี้ไปแล้ว

สำหรับนายอันวาร์ อิบราฮิม เคยเป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรี ซึ่ง ดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียเคยวางตัวให้เขาเป็นทายาทการเมือง อย่างไรก็ตามเขาถูกปลดออกจากตำแหน่งหลังจากขัดแย้งกับ ดร.มหาธีร์ และถูกตัดสินจำคุก 6 เดือนในปี 2543 ในข้อหาใช้อำนาจในทางมิชอบ และถูกปฏิเสธการประกันตัว

ทั้งนี้หลังการตัดสินของศาล เกิดเหตุระเบิดขึ้นใกล้กับศาล 3 ครั้ง ผู้เห็นเหตุการณ์ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ว่าหลังเกิดเหตุมีผู้บาดเจ็บจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้มีรถยนต์จำนวนมากกระจกแตกได้รับความเสียหายด้วย

 

ที่มาของข่าว: เรียบเรียงบางส่วนจาก Sodomy II verdict: Anwar NOT guilty!, Malaysiakini, Jan 9, 2012 http://www.malaysiakini.com/news/186052

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ผู้นำรบ.จาไมก้า ประกาศแยกตนเป็นอิสระจากราชวงศ์อังกฤษ

Posted: 08 Jan 2012 09:13 PM PST

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ปอร์เซีย ซิมป์สัน มิลเลอร์ นายกรัฐมนตรีหญิงจาไมก้า ซึ่งปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาภายใต้เครือจักรภพ ประกาศเมื่อวันศุกร์ (6 ม.ค. 54) ที่ผ่านมาว่า ในวาระที่จาไมก้าได้เข้าสู่ปีที่ 50 ของการเป็นเอกราชจากอาณานิคม รัฐบาลจาไมก้าจะมุ่งบรรลุซึ่งความเป็นเอกราชที่สมบูรณ์ โดยการดำเนินการเพื่อแยกประเทศออกจากเครือราชวงศ์อังกฤษและประกาศตนเป็นสาธารณะอิสระ

ปอร์เซีย ซิมป์สัน มิลเลอร์ ผู้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สอง หลังชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา กล่าวต่อหน้าสาธารณชนว่า มันถึงเวลาแล้วที่จาไมก้าจำเป็นจะต้องแยกตัวออกจากการปกครองภายใต้เครือจักรภพ

“ดิฉันรักพระราชินี ท่านเป็นสตรีที่สง่างาม และยังเป็นสตรีที่ฉลาดและเยี่ยมยอดอีกด้วย แต่ดิฉันคิดว่า เวลานั้นได้มาถึงแล้ว” มิลเลอร์กล่าว

ทั้งนี้ จาไมก้าถูกปกครองเป็นอาณานิคมของอังกฤษตั้งแต่ปีค.ศ. 1655 และได้รับเอกราชเมื่อปี 1962 ภายใต้การปกครองเครือจักรภพ โดยรัฐธรรมนูญปัจจุบันของจาไมก้าได้ระบุให้ราชินีอลิซาเบ็ธเป็นประมุขของประเทศ โดยนายกรัฐมนตรีมาจากแต่งตั้งและรับรองโดยผู้ว่าการรัฐ ซึ่งใช้พระราชอำนาจแทนพระราชินีอังกฤษ

ทางด้านโฆษกของสำนักพระราชวังบัคกิงแฮมให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบีบีซีว่า การเลือกประมุขของจาไมก้า เป็นประเด็นที่รัฐบาลและประชาชนชาวจาไมก้าที่ต้องตัดสินใจด้วยตนเอง

เจ้าชายแฮร์รี่ ยังมีกำหนดเยือนจาไมก้าอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ ในฐานะส่วนหนึ่งของแผนการเสด็จเยี่ยมประเทศในเครือจักภพทั่วโลกของราชวงศ์อังกฤษ ประจำปี 2012

นักวิเคราะห์มองว่า ในยามที่ยุคสมัยเปลี่ยนไป ซึ่งถ้าหากสิ้นสุดยุคสมัยการครองราชย์ของพระราชินี ก็จะเหลือเพียงเจ้าชายสองพระองค์เป็นผู้สืบทอดตำแน่งประมุขนี้ ทำให้หลายๆ ประเทศที่อยู่ภายใต้เครือจักรภพ ประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงชะตากรรมของตนเอง

เมื่อปี 2552 มีรายงานว่า รัฐบาลนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นหนึ่ง 16 ประเทศในเครือจักรภพที่ยังคงมีราชินีอลิซาเบ็ธเป็นประมุข ได้เสนอร่างกฎหมายเพื่อเปลี่ยนประเทศให้เป็นสาธารณรัฐ อย่างไรก็ตาม ร่างดังกล่าวก็ต้องตกไป เมื่อได้รับการลงเสียง 53 ต่อ 68 ในรัฐสภา

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น