ประชาไท | Prachatai3.info |
- พรรคอนาคตใหม่จี้รัฐหยุดคุกคามสมาชิกหลังวันประชุม !!
- นักศึกษาชูป้ายหน้าสถานทูตจีน รำลึก 29 ปี เหตุการณ์ 'เทียนอันเหมิน'
- นัดฟังคำสั่งรับฟ้องหรือไม่ 12 มิ.ย.นี้ ปมฟ้องกลับ 'ศรีวราห์และพวก' คดีระเบิดสมานเมตตาฯ
- คนทำงาน พฤษภาคม 2561
- เลขาฯ กกต. หวั่นพรรคฯ ทำไพรมารี่ไม่ทัน เห็นด้วย ม.44 ประกาศเขตเลือกตั้งก่อน
- กกต.จ่อส่งเรื่อง “ดอน” ให้ศาล รธน.สัปดาห์หน้า-เจ้าตัวดอดพบนายกฯ ร่วมประชุมอีอีซี
- จงสดับฟังอย่างตั้งใจถึงเสียงของเหล่ามารดาแห่งเทียนอันเหมิน
- กองทัพปฏิเสธข่าวเล็งดาวเทียมจารกรรม 9 หมื่นล้าน จวก 'ศรีสุวรรณ' อย่ามโน
- อภิสิทธิ์พินิจ "รวมพลังประชาชาติไทย" ยอมรับพรรคคงต้องแย่งฐานเสียง-แข่งขันกันเป็นปกติ
- โอดอส โอกาสเดียวเปลี่ยนชีวิต
- กวีประชาไท: ต้อนรับพรรคน้ำตาจระเข้
- ชี้แจงผลสอบ "บางรักซอย 9/1" กสทช.ย้ำไม่มีนโยบายส่งเสริมการใช้ถ้อยคำหยาบคาย
พรรคอนาคตใหม่จี้รัฐหยุดคุกคามสมาชิกหลังวันประชุม !! Posted: 04 Jun 2018 09:45 AM PDT พรรคอนาคตใหม่โพสต์แถลงการณ์ ระบุ วันจัดประชุมพรรคที่ มธ. เจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบบันทึกละเอียด ถ่ายรูปรถผู้เข้าร่วม และปรากฏมีเจ้าหน้าที่ไปหาสมาชิกก่อตั้งพรรคจำนวนมากเพื่อคุกคามให้หวาดกลัว จี้เจ้าหน้าที่รัฐยุติการกระทำอันลุแก่อำนาจ ล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพพลเมือง 4 มิ.ย.2561 เวลาประมาณ 22.00 น. เพจ อนาคตใหม่-The Future We Want ซึ่งเป็นช่องทางเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลของพรรคอนาคตใหม่ ได้โพสต์แถลงการณ์เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ยุติการคุมคามผู้มาร่วมประชุมพรรคเมื่อ 27 พ.ค.ที่ผ่านมา ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยในแถลงการณ์ระบุว่า ในวันจัดงานมีเจ้าหน้าที่ถ่ายรูปทะเบียนรถรอบบริเวณที่จัดงาน และปรากฏจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้เดินทางไปยังบ้านของสมาชิกก่อตั้งพรรคจำนวนหลายคนเพื่อคุกคามให้หวาดกลัว จึงเรียกร้องให้ยุติการดำเนินการดังกล่าว พร้อมยืนยันว่าทุกคนมาด้วยความกระตือรือร้นทางการเมืองและไม่ได้ทำผิดกฎหมายหรือกฎ คสช. รายละเอียดมีดังนี้
แถลงการณ์เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐยุติการคุกคาม เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีการประชุมจัดตั้งพรรคอนาคตใหม่ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต การประชุมครั้งนี้เป็นไปเพื่อให้ผู้ร่วมจดจัดตั้งพรรคกว่า 700 คน มาร่วมลงมติรับรองอุดมการณ์ หลักการ แนวนโยบาย ข้อบังคับ และเลือกกรรมการบริหารชุดแรกตามขั้นตอนทางกฎหมาย และเพื่อตอกย้ำความเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม และนโยบายกระจายอำนาจ ซึ่งเป็นแนวนโยบายหลักของพรรค สมาชิกก่อตั้งที่มาร่วมประชุม จึงมาจากทุกภูมิภาคของประเทศไทย รวมถึงมีเครือข่ายแรงงานและเยาวชนคนหนุ่มสาว นอกจากนี้ ในการประกาศอุดมการณ์ แนวทาง และการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้นำพรรคและตัวแทนเครือข่ายต่างๆ ซึ่งมีขึ้นในช่วงบ่ายวันเดียวกัน พรรคได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมงาน ซึ่งปรากฏว่ามีคนหลากหลายอาชีพ วัย และภูมิภาค เข้าร่วมรวมเป็นจำนวนกว่า 3,000 คน มีผู้ติดตามชมการถ่ายทอดสดทางเฟซบุ๊กไลฟ์และชมย้อนหลังรวมกว่า 160,000 คน ซึ่งแสดงถึงความต้องการมีส่วนร่วมทางการเมืองกับพรรคอนาคตใหม่ อันเป็นสิ่งที่เราภาคภูมิใจ อย่างไรก็ตาม กลับปรากฏว่าในวันงาน นอกจากเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้ามาดูแลความปลอดภัยตามปกติ ยังมีเจ้าหน้าที่ทั้งในและนอกเครื่องแบบจำนวนมากที่เข้าร่วมสังเกตการณ์ปะปนกับผู้ชมงาน บันทึกภาพบรรยากาศอย่างละเอียด รวมถึงตามถ่ายภาพทะเบียนรถที่จอดอยู่รอบๆ ยิมเนเซียมที่จัดการประชุม และหลังจากนั้นไม่กี่วัน สมาชิกก่อตั้งของพรรคอนาคตใหม่จำนวนมากก็ถูกเจ้าหน้าที่ติดตามไปถึงบ้านและข่มขู่คุกคามให้หวาดกลัว การกระทำดังกล่าว นอกจากจะเป็นการคุกคามสิทธิเสรีภาพในการเดินทางของประชาชนยังละเมิดสิทธิในการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งแม้ปัจจุบันจะไม่สามารถทำได้เนื่องจากขัดคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 แต่ในเมื่อพรรคอนาคตใหม่ได้รับอนุญาตให้จัดการประชุมพรรค สมาชิกก่อตั้งของพรรคจึงย่อมมีสิทธิเดินทางไปร่วมประชุมเพื่อให้การจัดตั้งพรรคลุล่วงตามขั้นตอนทางกฎหมาย เช่นเดียวกับที่พรรคอื่นๆ ได้ทำไปแล้วหลายพรรค พรรคอนาคตใหม่ขอยืนยันว่าสมาชิกผู้ร่วมจดจัดตั้งพรรคทุกคนที่เดินทางมาร่วมประชุมในวันที่ 27 พฤษภาคมมาด้วยความกระตือรือร้น ความตั้งใจที่จะมีส่วนร่วมทางการเมือง ต้องการให้การเมืองไทยกลับมาเป็นเรื่องของประชาชน กำหนดโดยประชาชน เพื่อประชาชนอีกครั้ง มิได้กระทำการใดอันละเมิดด้วยกฎหมาย ทั้งกฎหมายปกติและคำสั่ง คสช. ด้วยเหตุนี้ พรรคอนาคตใหม่จึงเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐ ยุติการกระทำอันลุแก่อำนาจ ล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพพลเมือง และให้ปฏิบัติกับพรรคการเมืองทุกพรรคอย่างเท่าเทียมกัน ปล่อยให้พรรคการเมืองและประชาชนทุกคนทำกิจกรรมต่าง ๆ อันพึงมีในระบอบประชาธิปไตย เพื่อให้การเลือกตั้งที่จะมาถึงเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมตามหลักสากล รักษาการคณะกรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||
นักศึกษาชูป้ายหน้าสถานทูตจีน รำลึก 29 ปี เหตุการณ์ 'เทียนอันเหมิน' Posted: 04 Jun 2018 09:32 AM PDT เนติวิทย์ พร้อมด้วยนักกิจกรรม ชูป้ายรำลึกเหตุการณ์จตุรัสเทียนอันเหมิน บริเวณตรงข้ามสถานทูตจีน อ่านแถลงการณ์ 'หลิว เสี่ยวปอ' ย้ำชาวจีนต้องเลิกอ่อนน้อมต่อผู้มีอำนาจที่มีมานับพันปี ต้านกฎอัยการศึก ประกาศวัฒนธรรมใหม่ไม่ให้ความรุนแรงเป็นอุปสรรคต่อการเป็นประชาธิปไตย 4 มิ.ย.2561 ข่าวสดออนไลน์ รายงานว่า เมื่อเวลา 17.45 น.วันนี้ บริเวณถนนรัชดา ฝั่งตรงข้าม สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยเพื่อนนิสิต นักศึกษา ราว 10 คน ร่วมกันแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ยืนสงบนิ่งระลึกถึงวันครบรอบ 29 ปี โศกนาฎกรรม การสังหารหมู่นักศึกษาที่จตุรัสเทียนอันเหมินประเทศจีน เมื่อปี 2532 มีการชูป้ายข้อความถามถึง แทงค์แมน (Tank man) ภาพประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ ที่ชายขาวจีนรายหนึ่งยืนตรงขวางรถถัง โดยการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ใช้เวลาไม่นาน ท่ามกลางการดูแลของเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ ส่วนเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบยืนตั้งแถวหน้ากระดานอยู่ด้านหน้าสถานทูตจีน เนติวิทย์ อ่านแถลงการณ์ ของ หลิว เสี่ยวปอ เจ้าของรางวัลโนเบลสันติภาพ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง และการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในจีน ใจความว่า "เราต่อต้านอดอาหารประท้วง เราต่อต้าน เราเรียกร้อง สำนึกผิด เราไม่ได้แสวงหาความตายแต่เราแสวงหาชีวิตที่แท้จริง เมื่อต้องเผชิญหน้าต่อการปราบปราบจากกองทัพของรัฐบาลจีนสมัยนั้น ชาวจีนจะต้องเลิกอ่อนน้อมต่อผู้มีอำนาจที่มีมานับพันปี ต้องต่อต้านกฎอัยการศึก ประกาศวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ เราจะไม่ให้ความรุนแรงเป็นอุปสรรคต่อการเป็นประชาธิปไตย"
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||
นัดฟังคำสั่งรับฟ้องหรือไม่ 12 มิ.ย.นี้ ปมฟ้องกลับ 'ศรีวราห์และพวก' คดีระเบิดสมานเมตตาฯ Posted: 04 Jun 2018 06:30 AM PDT ศาลนัดฟังคำสั่งว่าจะรับสำนวนคำฟ้องไว้เพื่อไต่สวนมูลฟ้องโจทก์หรือไม่ ในวันที่ 12 มิ.ย.นี้ เหตุ 'ครูแขก' ฟ้องกลับ 'ศรีวราห์และพวก' หลังศาลยกฟ้องคดีระเบิดสมานเมตตาแมนชั่น ด้าน 'ศรีวราห์' ฟ้องหมิ่นฯ กับ ทนายความทันที หลังให้ข่าวว่าจะไปฟ้องกลับ 6 มิ.ย.2561 หลังจากเมื่อวันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมา อัมพร ใจก้อน หรือครูแขก อายุ 59 ปี ที่ศาลอุทธรณ์เพิ่งยกฟ้องคดีระเบิดสมานเมตตาแมนชั่นปี 53 ไปเมื่อไม่นานมานี้ พร้อมด้วย เบญจรัตน์ มีเทียน ทนายความของอัมพร เดินทางมาที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ยื่นฟ้อง คณะตำรวจซึ่งเคยดำเนินคดี รวม 12 คน เป็นจำเลย ในความผิดฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และข้อหาอื่นเกี่ยวกับความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ซึ่งศาลรับเอกสารคำฟ้องไว้สารบบคดีหมายเลขดำ อท.121/2561 เพื่อตรวจคำฟ้องว่าถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้วหรือไม่ ซึ่งศาลนัดฟังคำสั่งว่าจะรับสำนวนคำฟ้องไว้เพื่อไต่สวนมูลฟ้องโจทก์หรือไม่ ในวันที่ 12 มิ.ย.นี้ เวลา 09.00 น. เบญจรัตน์ กล่าวกับประชาไทด้วยว่า หลังจากที่ตนให้ข่าวไปวันที่ 24 พ.ค.61 ว่าจะไปฟ้อง พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) เขาก็ไปแจ้งความ;ตนทันทีวันเดียวกันในข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณากับตน ที่ สน.คลองสาน จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เบญจรัตน์ มองว่าเป็นการคุกคามข่มขู่โดยใช้กฎหมายนี้แจ้งความกลับ โดยการเล่นงานทนายความ ไม่ได้เล่นงานลูกความ เพื่อทำลายขวัญและกำลังใจของลูกความ สำหรับคดีของอัมพร หรือครูแขก 10 เม.ย.ที่ผ่านมา สำนักข่าวไทย รายงานว่า ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 ฟ้องในความผิดฐานมีวัตถุระเบิดชนิดแสวงเครื่อง และกระสุนปืนไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือแล้วเห็นว่า พยานหลักฐานโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วย พิพากษายืนยกฟ้อง ส่วนศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 17 พ.ย.2559 พิพากษายกฟ้อง โดยให้เหตุผลว่าฝ่ายโจทก์มีนายตำรวจ 2 ราย เป็นพยานโจทก์เบิกความเกี่ยวกับข้อเท็จจริงว่า เมื่อช่วงปี 2553 ได้เกิดเหตุที่สมานเมตตาแมนชั่นและมีผู้เสียชีวิต โดยโจทก์มีเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกนายเบิกความถึงการสอบสวน ด้วยการไปสังเกตการณ์ในที่เกิดเหตุ ขณะที่กองพิสูจน์หลักฐานเข้าตรวจ แต่โจทก์ไม่มีพยานที่รู้เห็นขณะเกิดเหตุ และก่อนเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ได้เห็นจำเลยได้ร่วมนำวัตถุระเบิดไปไว้ในห้องเกิดเหตุ ซึ่งข้อเท็จจริงที่ได้จากผู้ดูแลอพาร์ทเมนท์ก็ระบุเพียงว่าได้ดูแลอาคารโกมลอพาร์ทเม้นท์ที่ให้เช่าเท่านั้น แต่ไม่ได้ดูแลอาคารสมานเมตตาแมนชั่น พยานโจทก์ที่นำสืบมาจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ ประกอบกับจำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดจริงตามโจทก์ฟ้อง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||
Posted: 04 Jun 2018 05:30 AM PDT | ||||||||||||||||||
เลขาฯ กกต. หวั่นพรรคฯ ทำไพรมารี่ไม่ทัน เห็นด้วย ม.44 ประกาศเขตเลือกตั้งก่อน Posted: 04 Jun 2018 05:27 AM PDT วันนี้ (4 มิ.ย.) พันตำรวจเอก จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ กกต. ได้ยื่นหนังสือต่อ คสช. ให้มีการผ่อนปรนการดำเนินงานของพรรคการเมืองในหลายประเด็น อาทิ เรื่องทุนประเดิม, การเก็บเงินค่าบำรุงพรรค, การหาสมาชิกพรรคที่ยังไม่สามารถหาสมาชิกพรรคเพิ่มได้และสาขาของพรรคการเมืองเก่าก็ถูกยุบไปแล้ว อันเป็นผลมาจากคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/2560 และจะเกิดขึ้นได้หลังจากที่ร่าง พ.ร.ป. ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยระบุว่า ประเด็นต่างๆ ข้างต้นจะส่งผลต่อการทำไพรมารีโหวตของพรรคการเมือง ซึ่ง กกต. เห็นว่า ควรมีเวลาให้พรรคการเมืองได้เตรียมตัว อีกทั้งยังเห็นด้วยกับแนวคิดที่จะให้มีการใช้อำนาจตามมาตรา 44 ให้ กกต. ประกาศเขตเลือกตั้งก่อนการบังคับใช้ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่ต้องรอ 90 วัน หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพราะหากรอให้กฎหมายมีผลบังคับใช้อาจดำเนินการไม่ทัน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||
กกต.จ่อส่งเรื่อง “ดอน” ให้ศาล รธน.สัปดาห์หน้า-เจ้าตัวดอดพบนายกฯ ร่วมประชุมอีอีซี Posted: 04 Jun 2018 03:10 AM PDT "กกต.เผยเตรียมส่งเรื่องเชือด "ดอน" ขาดคุณสมบัตินั่ง รมต.คาดลงนามเสร็จสัปดาห์นี้ ก่อนส่งศาล รธน.ชี้ขาดคุณสมบัติสัปดาห์หน้า โยนเป็นดุลพินิจศาล สั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ "วิษณุ" ย้ำดอนยังอยู่ในตำแหน่งได้จนกว่าจะมีคำสั่งศาล "อภิสิทธิ์" สวนวิษณุยก รธน.60 ถ้ามาตรฐาน ปชป.ต้องลาออก 4 มิ.ย. 2561 นายบุญส่ง น้อยโสภณ กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงกรณี ที่ประชุม กกต.มีมติเสียงข้างมากเห็นว่าการถือครองหุ้นของ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ เข้าลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 264 ประกอบมาตรา 187 ที่บัญญัติไม่ให้รัฐมนตรีถือครองหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือในกรณีประสงค์จะได้รับประโยชน์จากหุ้นที่ถือครองนั้นว่า ขณะนี้ กกต.กำลังเร่งยกร่างคำวินิจฉัยกรณีดังกล่าว ซึ่งต้องใช้เวลามาก เพาะคำวินิจฉัยค่อนข้างยาว โดยคาดว่า กกต.จะสามารถลงนามได้ภายในสัปดาห์นี้ และจะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญภายในสัปดาห์หน้า ส่วนว่านายดอนจะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ รมว.ต่างประเทศหรือไม่นั้น หากศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องกรณีดังกล่าว ศาลก็มีอำนาจที่จะให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ก่อนที่จะมีคำวินิจฉัยได้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่าขาดคุณสมบัติก็ต้องพ้นจากตำแหน่งก็จะทำให้ผู้ที่ขาดคุณสมบัติไม่สามารถกลับมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้อีก เว้นแต่จะพ้นตำแหน่งไปแล้ว 2 ปี ตามมาตรา 160(8)ในรัฐธรรมนูญ ดอน พบนายกฯ ร่วมประชุมอีอีซี วันเดียวกัน ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) พร้อมกล่าวก่อนการประชุมว่า วันนี้มีผู้ให้ความสนใจมากโดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา แม้จะอยู่ในแผนแม่บท แต่ก็มีเสียงเรียกร้องให้เร่งดำเนินการในแผนระยะแรก ซึ่งไทยยังต้องพิจารณาเรื่องงบประมาณด้วย และสิ่งสำคัญที่สุดจะต้องเรียงลำดับความเร่งด่วน และการจัดสรรงบประมาณ เพื่อจะทำให้ทุกอย่างเดินหน้าไปตามแผนทั้งหมด ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนการประชุม นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชี้ว่าขาดคุณสมบัติในการเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากคู่สมรสถือครองหุ้นในธุรกิจเกินกว่าร้อยละ 5 โดยไม่แจ้งต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เข้าพบนายกรัฐมนตรีที่ตึกไทยคู่ฟ้า ก่อนเข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ด้วย โดยมีรัฐมนตรีและข้าราชการที่ร่วมประชุมเข้าทักทายและพูดคุยด้วยจำนวนมาก เช่นเดียวกับนายสนธยา คุณปลื้ม ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ที่เข้าทำงาน และเข้าร่วมประชุมอีอีซีที่ทำเนียบรัฐบาลเป็นครั้งแรก ก็ได้รับความสนใจจากข้าราชการและรัฐมนตรีที่เข้าร่วมประชุมจำนวนมากเช่นกัน วิษณุย้ำ ดอนยังอยู่ในตำแหน่งได้จนกว่าจะมีคำสั่งศาล ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีนี้ว่า ต้องให้ศาลเป็นผู้วินิจฉัย เพราะขณะนี้ กกต.ยังไม่ได้ส่งเรื่องให้ศาล จึงยังไม่มีอะไรให้ทำ เหมือนที่ตนเคยพูดไปก่อนหน้านี้ ว่าจะยังไม่มีเกิดขึ้นจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยคำสั่งของศาลออกมาซึ่งคำสั่งดังกล่าวอาจออกมาก่อนจะมีคำตัดสินก็ได้ เพราะในรัฐธรรมนูญระบุว่าหากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่จะเป็นปัญหา ก็ให้สั่งอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา นายวิษณุกล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ก็ต้องรอให้ กกต.ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญก่อน ขณะนี้ยังไม่แน่ว่าจะเป็นอย่างไร เพราะตนยังไม่เห็นคำวินิจฉัยของ กกต. เกี่ยวกับกรณีการร้องรัฐมนตรีทั้ง 9 คน ทั้งนี้ที่เคยบอกว่าทราบเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตนนั้นก็เป็นการรับทราบอย่างไม่เป็นทางการ และกรณีของนายดอน ยิ่งนายเรืองไกร ระบุว่าตอนไปร้องได้ร้องเรื่องหุ้นสัมปทาน แต่พอออกมาเรื่องคู่สมรส ตนยิ่งไม่รู้ไปใหญ่ แต่ทางข้อกฎหมาย กกต.สามารถพิจารณาเรื่องที่ไม่อยู่ในคำร้องได้ นายดอนยังไม่จำเป็นต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลจะมีคำสั่งออกมาอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อถามว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ได้แสดงความคิดเห็นเรื่องนี้อย่างไรบ้าง นายวิษณุ กล่าวว่า เมื่อรายงานไปนายกฯ ไม่ได้พูดอะไรทั้งนั้น ท่านฟัง พยักหน้า สั่นหัว และยกนิ้วโป้งให้กับสื่อ "อภิสิทธิ์" ชี้ถ้ามาตรฐาน ปชป.ต้องลาออก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในรายการต้องถาม ทางช่องฟ้าวันใหม่ ถึงกรณี นายดอนว่า ความจริงหากศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ แต่หากถามบรรทัดฐานในกรณีพรรคประชาธิปัตย์ ก็คือลาออก เมื่อถามว่า นายดอน จะแสดงสปิริตลาออกหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สิ่งที่ตนสนใจขณะนี้คือการที่มีหลายคนออกมาพูดว่า อย่าไปทำอย่างนั้น มันจะยุ่งวุ่นวาย เรื่องนี้จึงเป็นตัววัดว่า มันจะเปลี่ยนแปลงในเรื่องบรรทัดฐานทางการเมืองหรือไม่ อีกทั้งตนชี้มาตลอดว่า ในอดีตการเมืองไทยมักมีปัญหา เมื่อเกิดปัญหาในลักษณะนี้ เพราะเราจะบอกรอให้กฎหมายจัดการ จนกระทั่งมันเกิดปฏิกิริยาแรงต่อต้าน นำมาสู่ความเสื่อมศรัทธาและการยอมรับต่อรัฐบาล ดังนั้นอยู่ที่เจ้าตัวว่าจะตัดสินใจอย่างไร เมื่อถามว่า นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย ระบุว่า กฎหมายออกมาภายหลัง นายดอน ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน บัญญัติชัดเจนว่าคนที่เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาล ณ วันที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้จะต้องมีคุณสมบัติลักษณะต้องห้าม หรือห้ามกระทำการ หรือต้องพ้นตำแหน่งด้วยเงื่อนไขอะไรบ้าง และที่ตนอ่านไม่มีข้อยกเว้นในเรื่องนี้ ฉะนั้นต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ "บิ๊กตู่" ลั่นยังไม่ปรับ ครม. ด้านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานเปิดการเสวนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศและมอบนโยบายถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) มีมติให้นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เข้าลักษณะต้องห้ามซึ่งจะมีผลต่อคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรี เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.)หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวตอบด้วยสีหน้าและอารมณ์ฉุนเฉียวว่า "ไม่มี จะปรับไปทำไมเล่า" เมื่อถามว่า มีข่าวว่าจะมีการปรับ ครม. 6เดือนหลังก่อนรัฐบาลหมดอายุ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "คุณก็ปรับเองแล้วกัน ผมไม่ปรับ อย่างไรก็ตามสำหรับกรณีนายดอน ถ้าอยู่ได้ท่านก็อยู่ถ้าอยู่ไม่ได้ท่านก็ต้องออกอยู่แล้ว" ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่าสรุปแล้วจะไม่มีการปรับ ครม.ใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ที่พูดมาไม่เข้าใจกันหรืออย่างไร" เมื่อถามว่าตำแหน่งอื่นๆใน ครม. จะมีการปรับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวปฏิเสธว่า "ไม่มี ไม่มีแผน ไม่เคยคิดว่าจะปรับใคร" เมื่อถามว่าหลังจากเกิดข่าวดังกล่าวนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงขั้นตอนการดำเนินการตามกฏหมายอย่างไร พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ก็อยู่ในขั้นตอนตามกฏหมายนั่นแหละ" เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า สุดท้ายหากนายดอน ต้องพ้นสภาพจากการเป็นรัฐมนตรีจะต้องปรับ ครม. หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ตอบคำถามดังกล่าวก่อนจะเดินออกจากไมโครโฟนที่ให้สัมภาษณ์ทันทีด้วยสีหน้าบึ้งตึง พร้อมกับบ่นเสียงดังว่า ไม่มีการปรับ ครม. ทั้งนี้เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า นายกรัฐมนตรีมองอย่างไร ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (มทป.) ตั้งพรรคการเมืองถือเป็นกองหนุนสำคัญหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ตอบคำถามดังกล่าวก่อนจะเดินขึ้นตึกไทยคู่ฟ้าไปทันที
ที่มา: ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||
จงสดับฟังอย่างตั้งใจถึงเสียงของเหล่ามารดาแห่งเทียนอันเหมิน Posted: 04 Jun 2018 03:07 AM PDT
ยามดึกของวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1989 เด็กชายอายุ 17 ปี นามว่า เจี่ยง เจี๋ยเหลียน (Jiang Jielian) ถูกยิงสังหาร ด้วยฝีมือของกองกำลังปลดปล่อยประชาชนในกรุงปักกิ่ง ในเวลาถัดมา ติง จึหลิน (Ding Zilin) แม่ของเขาผู้เป็นอาจารย์สอนวิชาปรัชญาที่เกษียณอายุจากมหาวิทยาลัยแห่งประชาชน พร้อมกับ จาง เสียนเลี่ยง (Zhang Xianling) ผู้สูญเสียบุตรชายวัย 19 ปี ได้รวมตัวกับ หวง จิ้นผิง (Huang Jinping) ผู้สูญเสียสามีในการจัดตั้งและนำกลุ่ม "เหล่ามารดาแห่งเทียนอันเหมิน" พวกเธอถือว่าเป็นภารกิจในการค้นหาญาติพี่น้องของผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตในเหตุการณ์สังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ปี ค.ศ. 1989 ความพยายามดังกล่าวนี้ต้องอาศัยความอุตสาหะเป็นอย่างมากเนื่องจากรัฐบาลจีนประกาศอย่างชัดเจนว่าเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายเหล่านั้นล้วนถือเป็น "ผู้ก่อความไม่สงบที่ต่อต้านการปฏิวัติ" อันจะส่งผลให้ครอบครัวของเหยื่อที่ให้ข้อมูลกับกลุ่มนี้อาจจะเผชิญปัญหากับรัฐบาลได้ในอนาคต อย่างไรก็ตาม หลังจากเคลื่อนไหวไปราวหนึ่งทศวรรษ ในที่สุดกลุ่มเหล่ามารดาแห่งเทียนอันเหมิน ก็ได้รวบรวมเรื่องราวมากพอที่จะตีพิมพ์หนังสือเล่มเล็ก ๆชื่อ "ประจักษ์พยานต่อเหตุการณ์สังหารหมู่และการเฟ้นหาความยุติธรรม" โดยหนังสือดังกล่าวรวบรวมรายชื่อ พร้อมทั้งรูปถ่าย และเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ของผู้เคราะห์ร้าย 155 คน ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์สังหารหมู่ ในหนังสือยังมีเรื่องเล่าถึงยี่สิบห้าเรื่องที่บ่งบอกถึงความยากลำบากของในการค้นหาเหล่าสมาชิกครอบครัวของเหยื่อ ส่วนหนังสือฉบับเพิ่มเติมรายละเอียดนั้นถูกตีพิมพ์ในภายหลังที่ฮ่องกงภายใต้ชื่อว่า "การแสวงหาเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย วันที่ 4 มิถุนายน 1989-2005" หลิวเสี่ยวโป ผู้ถือตนเองว่าเป็นศิษย์ของ ติง จึหลิน (Ding Zilin) เคยเป็นหนึ่งในผู้ห้าวหาญรุ่นบุกเบิกที่สนับสนุนกลุ่ม เหล่ามารดาแห่งเทียนอันเหมิน หลังจากนั้นเขาได้เขียนความเรียงฉบับยาวในปี ค.ศ. 2004 ในวันก่อนครบวันรอบสิบห้าปีเหตุการณ์สังหารหมู่ ซึ่งมีการคัดย่อเพื่อเผยแพร่ในภายหลัง สองเดือนก่อนที่หลิวจะเขียนความเรียงดังกล่าว ติง จึหลิน (Ding Zilin), จาง เสียนเลี่ยง (Zhang Xianling) และ หวง จิ้นผิง (Huang Jinping) ได้ถูกจับกุมตัวจากบ้านพวกเขา และถูกคุมขังไว้เป็นเวลาหลายวัน เห็นได้ชัดว่าน่าจะเป็นเพราะพวกเขาได้ตีพิมพ์งานเขียนเกี่ยวกับครอบครัวของเหยื่อนั่นเอง (ถึงแม้ว่าทางเจ้าหน้าที่ไม่เคยได้บอกเหตุผลเลยก็ตาม) บรรณาธิการฉบับภาษาอังกฤษ
การอ่านบทรำลึกของสมาชิกครอบครัวเหยื่อผู้ถูกสังหาร ทำให้ข้าพเจ้าได้เห็นชัดถึงความโหดร้ายป่าเถื่อนของเหล่าเพชฌฆาต และยิ่งเห็นชัดขึ้นไปอีกถึงแสงสว่างแห่งมนุษยธรรม ที่เปล่งประกายท่ามกลางความหวาดกลัว ทันทีที่เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ในกรุงปักกิ่งเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1989 ทางการจีนใช้ข้อได้เปรียบจากการผูกขาดสื่อสารมวลชน เพื่อให้เส้นแบ่งขาวดำเลือนรางไป พวกเขาประโคมข่าวซ้ำ ๆ ว่ากลุ่มคนที่ถูกเรียกว่าเหล่าผู้ก่อความไม่สงบปฏิบัติอย่างรุนแรงโหดร้ายกับเหล่าทหารผู้ทำหน้าที่ภายใต้กฎอัยการศึกอย่างไร พร้อมทั้งพยายามอย่างถึงที่สุดในการปกปิดความจริงว่าทหารเหล่านั้นได้สังหารผู้บริสุทธิ์ไปอย่างโหดเหี้ยม แต่ถึงรัฐบาลจะพยายามที่จะปกปิดแหล่งข้อมูลข่าวสารอย่างไร ความโหดร้ายของเหล่าทหารก็ยังปรากฏอยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง และได้ถูกรวบรวมไว้อยู่ดี หนึ่งในนั้นได้เล่าว่าเกิดอะไรขึ้นในย่านซีดาน เมื่อกองทัพได้ใช้รถถังไล่ล่าและขยี้นักศึกษาและประชาชน มีผู้เห็นเหตุการณ์เพียงสองสามคนเท่านั้นที่ไดเปิดเผยถึงเหตุอันขมขื่นนี้ แต่ในขณะนี้ด้วยเหตุที่มีสมาชิกในครอบครัวเหล่าผู้เสียชีวิตที่ได้ออกมายืนยันเหตุดังกล่าว เราจึงมีพยานหลักฐานที่กระจ่างแจ้งและสมบูรณ์แบบมากกว่าเดิม เห็นได้ชัดจากคำให้การเหล่านั้นว่ากองทัพได้เปิดฉากยิง สาดกระสุนใส่ประชาชนผู้บริสุทธิ์จากทุกทิศทาง และได้คร่าชีวิตพลเรือนผู้บริสุทธิ์ไปมากมาย เมื่อเวลาราวสี่ทุ่มของคืนวันที่ 3 มิถุนายน กองทัพที่กำลังเคลื่อนตัวจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออกตามเส้นทางของถนนหลวง Fuxing โดยสาดกระสุนไปยังแหล่งที่พักอาศัยของประชาชนอย่างไม่คำนึงถึงชีวิตของผู้คน ในเวลาราว 5 ทุ่ม ขณะที่กองกำลังลาดตระเวนของทหารราบเคลื่อนตัวผ่านสะพานที่เขต Muxidi ทั้นใดนั้น คำบัญชาการได้ถูกส่งออกไป กองทหารได้แปรทัพสู่วิถีจู่โจมทันที จากนั้นเจ้าหน้าที่ทหารกองนั้นนายหนึ่ง ตั้งท่าชันเข่า ยกปืนกลขึ้นพร้อมทั้งกราดยิงอย่างหน้ามืดตามัวตามแนวถนน เป็นเหตุให้ผู้คนมากมายล้มลงไปนอนจมกองเลือด ผู้คนที่เหลือแตกตื่น ขวัญกระเจิง หนีไปทุกทิศทาง ส่วนนักศึกษาที่พยายามยุติฉากยิงดังกล่าวนี้ด้วยตัวเองกลับถูกยิงไปด้วย เนื่องจากการเปิดฉากยิงที่เกิดขึ้นนั้นมืดบอดมาก ผู้คนหลายคนต้องล้มตายภายในบ้านตัวเอง ผู้คน 182 คนที่ต้องเสียชีวิตไปตามที่ปรากฎในคำให้การ บางคนไม่เคยเข้าร่วมการประท้วงเลย ไม่เคยเผชิญหน้ากับกองทัพ ไม่เคยแม้แต่จะออกมาพบกับเหตุการณ์เร้าใจต่างๆ แต่ทั้งนี้ห่ากระสุนจากการกราดยิงก็ได้พรากชีวิตพวกเขาไป สตรีผู้หนึ่งผู้มีชื่อว่า หม่า เชิงเฝิน (Ma Chengfen) ผู้เป็นทหารผ่านศึกแห่งกองกำลังปลดปล่อยประชาชน ถูกยิงเสียชีวิตขณะที่นั่งคุยกับเพื่อนบ้านอยู่บนราวบันได คนงานชื่อ จาง ฟู่หยวน (Zhang Fuyuan) วัย 66 ปีถูกยิงที่ลานหลังบ้านของญาติ เหยื่ออีกหนึ่งรายเป็นสตรีสูงอายุจาก Wanxian ในมณฑลเสฉวนผู้เคยทำงานใน Muxidi เป็นพี่เลี้ยงเด็ก ในที่พัก 22 ชั้นของรัฐมนตรีคนหนึ่ง เธอถูกยิงเสียชีวิตหลังจากที่ลงมายังระเบียงชั้น 14 เพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้น ในอาคารหลังเดียวกับที่บุตรเขยของรองผู้ตรวจการเสียชีวิตในครัวของเขาเอง ดูเหมือนว่าเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนขวัญมากที่สุดอาจจะเป็นการที่คนธรรมดาที่กำลังเดินตามถนนกลับถูกไล่ล่าและสังหารในที่สุด เพียงเพราะบังเอิญเจอกับกลุ่มทหารที่กำลังเมามันเพราะได้รับคำสั่งให้ฆ่า กลุ่มคนเจ็ดคนประกอบด้วย ชายห้าคน และหญิงสองคนที่กำลังเดินอยู่ใกล้ถนน Nanlishi ถูกไล่ล่าในลักษณะดังกล่าวนั้น สามคนในนั้นได้แก่ หยาง จือผิง (Yang Ziping), หวาง เจิงเซิง (Wang Zhengsheng) และ อัน จี (An Ji) ถูกสังหาร ส่วนสองคนที่เหลือได้รับบาดเจ็บ คำให้การเหล่านี้แสดงให้เห็นเช่นกันว่า กองกำลังทหารแห่งกฎอัยการศึกมีความทารุณโหดร้ายได้ถึงขนาดที่สกัดกั้นไม่ให้ผู้ไดัรับบาดเจ็บ และผู้ที่กำลังจะตายได้รับความช่วยเหลือ จาง เสียนเลี่ยง (Zhang Xianling) หนึ่งในผู้ก่อตั้ง เหล่ามารดาแห่งเทียนอันเหมิน กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เด็กหนุ่มรีบวิ่งออกไปถ่ายรูปขณะที่ทหารกำลังเปิดฉากยิง แต่ท้ายที่สุดเขาก็โดนลูกหลงไปด้วย ผู้คนที่เห็นเด็กหนุ่มกำลังล้มลงต้องการที่จะช่วยเขา แต่เหล่าทหารไม่ยอมให้ใครเข้าใกล้เด็กหนุ่มคนนั้นเลย หญิงชราคนหนึ่งคุกเข่าอ้อนวอนขอร้องพวกเขา "เขายังเป็นแค่เด็กคนหนึ่งแท้ๆ" หล่อนกล่าว "ได้โปรดให้พวกเราเข้าไปช่วยเขาเถิด!" ทหารโต้ตอบด้วยการเอาปืนไปจ่อที่ใบหน้าของหล่อนพร้อมตะโกนคำราม "ไอ้เด็กนั่นเป็นผู้ก่อความไม่สงบ! ฉันจะยิงใครก็ตามที่ก้าวออกมาอีกหนึ่งก้าว" หลังจากนั้นรถพยาบาลสองคันก็ได้มาถึง และทหารก็ได้สกัดไว้ เมื่อแพทย์ได้ลงมาจากรถมาเพื่อพยายามจะเจรจา ทหารก็ได้ปฏิเสธ รถพยาบาลจึงต้องกลับไป กล่าวโดยสรุป คือ พวกเขาฆ่าคนและไม่ยอมให้คนอื่นช่วยเหลือ โหดเหี้ยมอำมหิตแค่ไหนกันนะ นอกจากนั้นแล้ว ผู้อ่านยังประจักษ์ว่าเหล่าฆาตกรเหล่านั้นพยายามที่จะปกปิดความชั่วร้ายที่พวกเขาทำอยู่ในขณะนั้นโดยไร้ยางอายอย่างไรบ้าง พวกเขาซ่อนศพของผู้เสียชีวิต หลายคนหายสาบสูญในวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ.1989 และแม้จวบจนวันนี้เองก็ยังยากที่จะระบุได้ถึงจำนวนที่แท้จริงของผู้เสียชีวิต และผู้ที่รอดชีวิต หลังจากที่ หวาง หนาน (Wang Nan) บุตรชายของ จาง เสียนเลี่ยง (Zhang Xianling) ถูกยิงเสียชีวิต กองทหารได้ฝังร่างเขาไว้ที่สนามหญ้า หน้าประตู 28 ของโรงเรียนมัธยม (ปัจจุบันที่รู้จักกันในนามโรงเรียนมัธยม Chang'an ในปัจจุบัน) ใกล้เทียนอันเหมิน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเขาได้สวมเครื่องแบบทหาร และคาดเข็มขัดทหาร ทางกองทัพจึงเกรงว่าเขาอาจจะเป็นหนึ่งในพวกของตน พวกเขาจึงขุดร่างของ หวาง หนาน (Wang Nan) ขึ้นมาและนำส่งโรงพยาบาล ในที่สุด เมื่อจาง เสียนเลี่ยง (Zhang Xianling) พบศพของลูกชายตนเอง ในเบื้องแรกพวกทหารไม่ยอมให้เธอนำร่างของลูกกลับไป "คุณเอากลับไปไม่ได้" ทหารหนึ่งนายตะคอกใส่หน้าเธอ "ถอยไป ไม่เช่นนั้นคุณจะโดนจับกุมตัว" หลังจากนั้นเธอจึงพบว่า จริง ๆ แล้วมีร่างของผู้เสียชีวิตถึงสามร่างในหลุมนั้น แต่สองร่างที่เหลือถูกส่งไปยังฌาปนสถานในฐานะ "ศพนิรนาม" แล้ว "ในระหว่างที่เรากำลังค้นหา" จาง เสียนเลี่ยง (Zhang Xianling) เล่าถึงช่วงเวลาที่เธอได้ประสบ "พวกเราวิ่งผ่านผู้คนเป็นสิบ เช่นเดียวกับเหล่าสมาชิกครอบครัวที่กำลังตามหาบุคคลผู้เป็นที่รักของตนอยู่ ทั้งที่ยังมีชีวิตรอด หรือที่เสียชีวิตไปแล้ว แต่ถึงกระนั้นก็คงจะต้องเสียเวลาเปล่า มันอาจจะเทียบได้กับการค้นหา "ศพนิรนาม" ที่ถูกฌาปนกิจแบบศพไม่มีญาติไปแล้วก็เป็นได้ ความรู้สึกผิดทิ่มแทงเข้ามาในใจของข้าพเจ้าราวกับกริชอันแหลมคมข้าพเจ้าอ่านบทสัมภาษณ์เหล่านี้ เนื่องจากผู้คนที่ถูกปลิดชีพอย่างทารุณในคืนนั้น ไม่ได้เป็นหนึ่งในจำพวก "ชนชั้นนำ" เลยแม้แต่น้อย ไม่มีนักกิจกรรมโดดเด่นอย่างเช่นข้าพเจ้าต้องสูญเสียชีวิตเลย ในบรรดาเหยื่อผู้สูญเสียชีวิตทั้งหมด มีตั้งแต่ ผู้สูงอายุวัย 66 ปี ไปจนถึงเด็กอายุเพิ่งจะเก้าขวบ ทั้งคนอายุสามสิบ สี่สิบกว่าๆในวัยที่เป็นช่วงสำคัญที่สุดในชีวิต เด็กวัยรุ่นอายุ 17 ปี อีกคนก็ 20 ปีกว่าๆ พวกเขาเป็นเพียงเด็กนักเรียนนักศึกษาธรรมดา ๆ และพลเรือนผู้เห็นได้ชัดว่าต้องการเพียงแค่ใช้ชีวิตที่เป็นปกติ และพึงพอใจกับความสุขธรรมดาๆไปแต่ละวันเพียงเท่านั้น และ ในค่ำคืนที่ชุ่มและเจิ่งนองไปด้วยเลือดพวกเขาทำความผิดในการตัดสินใจทำตามสัญชาติญาณความเห็นอกเห็นใจ หรือแม้แต่การตามหาความยุติธรรม ซึ่งเป็นผลให้เพวกเขาต้องสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างไปจนหมดสิ้น ผู้เสียชีวิตบางคนเคยร่วมในกลุ่มผู้เคลื่อนไหวในเหตุการณ์ปี ค.ศ. 1989 พวกเขาตั้งมั่นอยู่ ณ จัตุรัสแห่งนั้นกระทั่งวินาทีสุดท้าย ราวกับว่ากำลังแอ่นอกรอรับกระสุนจากเหล่าปีศาจร้ายที่มาคร่าชีวิตเขาไป อย่างเช่น
ส่วนคนอื่น ๆ นั้นแต่แรกเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์การประท้วงเท่านั้น แต่ถูกขับเคลื่อนด้วยการหยั่งรู้ถึงศีลธรรมซึ่งเป็นเนื้อแท้ของมนุษย์ พวกเขาเข้าไปช่วยเหล่าผู้ประท้วงที่ได้รับบาดเจ็บท่ามกลางช่วงเวลาที่เสี่ยงภัยต่อตัวเขาเองเป็นอย่างมาก เมื่อเกิดเหตุระทึกขวัญขึ้น บางคนรีบวิ่งเข้าไปยังจุดที่อันตรายที่สุด นี่คือตัวอย่างต่าง ๆ ของเหตุการณ์ดังกล่าว
ท่ามกลางเหล่าคนดังระหว่างเหตุประท้วง-ผู้คนที่คิดว่าตนสูงส่ง และในบางครั้งถึงกับเหยียดหยามเหล่าผองเพื่อนของเขาผู้เป็นปุถุชนคนทั่วไป-ไม่มีผู้ใดเสียชีวิต หรือได้รับบาดเจ็บเลยแม้แต่คนเดียว ผู้คนแถวหน้าบางคนถูกเนรเทศ และคนอื่น ๆ ก็โดนจำคุก แต่ทั้งหมดนั้นก็หนีพ้นคมมีดของเพชฌฆาตทั้งสิ้น มิหนำซ้ำบางคนยังสามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่ตนเองได้อีกไม่มากก็น้อย อีกทั้งยังดึงความสนใจจากคนอื่นๆ ในบรรดาพวก "มือมืด" ผู้ถูกกล่าวหาว่า "ตัวบงการก่อความโกลาหล" มีเพียง หวาง จวินถาว (Wang Juntao) และ เฉิน จึหมิง (Chen Ziming) ที่ได้รับโทษนานถึง 13 ปี และแม้ว่าพวกเขาจะได้รับการปล่อยตัวโดยการทัณฑ์บนด้วยเหตุผลทางการแพทย์ในกลางทศวรรษ 1990 ข้าพเจ้าเองก็เป็นหนึ่งใน "มือมืด" ดังกล่าว ข้าพเจ้าถูกจองจำถึงสามครั้งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989 เป็นต้นมา แต่ช่วงเวลาที่ข้าพเจ้าไร้ซึ่งอิสรภาพถึงสามครั้งนั้น ยังรวมกันได้น้อยกว่าหกปี การที่ข้าพเจ้ายกประเด็นนี้ขึ้นมากล่าวถึง ข้าพเจ้าไม่ได้พยายามที่จะส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในแง่ที่ว่าการ "เสียสละ" ของใครยิ่งใหญ่ที่สุด ข้าพเจ้าเพียงแต่ต้องการเตือนสติตัวเอง ในฐานะที่ข้าพเจ้าเองก็เป็นหนึ่งในเหล่าบุคคลสาธารณะ "ผู้ทรงอิทธิพล" เช่นกัน ถึงข้อเท็จจริงของเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่เทียนอันเหมิน รวมถึงเตือนตัวเองว่า ข้าพเจ้ายังคิดไม่ตกว่าเป็นไปได้อย่างไร ทั้ง ๆ ที่เหล่านักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ พร้อมทั้งเหล่าปัญญาชนชั้นนำร่วมกันนำขบวนประท้วงในการเคลื่อนไหวปี ค.ศ. 1989 แต่ในตอนที่ฝุ่นควันแห่งการสังหารหมู่จางลงไป ผู้คนที่ถูกฆ่า ผู้คนที่ออกไปช่วยเหลือคนบาดเจ็บ หรือผู้คนที่ต้องได้รับโทษสถานหนักกลับเป็นเพียงปุถุชนคนธรรมดา เพราะเหตุใดเราจึงแทบไม่ได้ยินเสียงของคนที่ต้องสูญเสียมากที่สุด ในขณะที่เหล่าผู้ทรงคุณวุฒิที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นแทบจะไม่หยุดพูดเลย ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เมื่อเหตุโศกนาฏกรรมเกิดขึ้น หยาดเลือดที่หลั่งรินของสามัญชนคนธรรมดากลับกลายเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงสร้างชื่อเสียงให้แก่เหล่าผู้ฉวยโอกาสทั้งเล็กและใหญ่ สร้างชื่อเสียงให้แก่ผู้คนที่กระโดดโลดเต้นไปมา เที่ยวป่าวประกาศว่าตนเป็นผู้นำใน "การเคลื่อนไหวของประชาชน" สิบห้าปีผ่านไป นับตั้งแต่เหตุการณ์ครั้งนั้น มีการนองเลือดเกิดขึ้นมากมาย แต่กลับกลายเป็นว่าหยาดเหงื่อเหล่านั้น นอกจากที่มีส่วนในการสถาปนาพื้นที่ให้กับ "วีรบุรุษ" ทั้งในประเทศ และต่างประเทศไม่กี่คนไปเสีย แต่แทบไม่ได้นำไปสู่ความก้าวหน้าใดๆในประเทศที่แสนเลือดเย็นของเราเลย อะไรคือความหมายของคำว่า "ทุกข์ทรมาน" และ "การเสียสละ" เราได้อะไรตอบแทนจากเลือดที่ต้องหลั่งริน และชีวิตที่ต้องดับสูญไป ใครๆต่างรู้ดีว่าในประเทศเรานี้ ช่องว่างระหว่างผู้แพ้และผู้ชนะนั้นเปรียบได้ราวฟ้ากับเหว แต่สำหรับคุณธรรมจากการต้องทนทุกข์ทรมานที่เกิดจากเหตุสังหารหมู่ครั้งนั้นจำเป็นต้องมีส่วนต่าง-สิ้นเชิงขนาดราวสวรรค์กับนรกเลยหรือ หลู่ ซวิ่น (Lu Xun) (1881-1936) นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ชาวจีน ได้ลงความเห็นไว้ หลังจากเหตุโศกนาฏกรรมอีกเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นที่ปักกิ่งในปี ค.ศ.1926 ว่า
เหล่าคนที่ถูกเรียกกันว่าชนชั้นนำของประเทศเรา ไม่ได้มีความก้าวหน้าเลยตั้งแต่วันของ หลู่ ซวิ่น (Lu Xun) เห็นได้ว่ายากนักที่จะหาความรู้สึกละอาย หรือความรู้สึกสำนึกผิดในตัวพวกเรา พวกเราเองยังไม่รู้ซึ้งถึงความหมายในเชิงจิตวิญญาณของการเผชิญหน้ากับความทุกข์ทรมาน ยังไม่รู้ซึ้งถึงการใช้ชีวิตอย่างภาคภูมิในความเป็นมนุษย์ หรือการรู้สึกเวทนาต่อความทุกข์ที่แท้จริงของปุถุชน ลองดูข้าพเจ้าเป็นตัวอย่าง: ด้วยการวางตัวเป็นปัญญาคนชนชั้นนำในช่วงทศวรรษ 1980 และผู้นำที่น่าจับตามองในขบวนการประท้วงปี ค.ศ. 1989 ข้าพเจ้าได้เคยทำอะไรบ้างสำหรับเหยื่อในเหตุสังหารหมู่ครั้งนั้น คำถามนี้ได้ก้องกังวาลในใจข้าพเจ้ามานาน หลังจากเหตุการณ์นั้น ระหว่างเวลาปีครึ่งที่ข้าพเจ้าได้ถูกคุมขังในคุก Qinchen ข้าพเจ้าเขียน "คำสารภาพ" ซึ่งการกระทำดังกล่าว ไม่เพียงแต่เป็นการสละซึ่งเกียรติยศส่วนตัวของข้าพเจ้าไป แต่ยังเป็นการทรยศต่อเลือดที่หลั่งรินของเหยื่อจากเหตุการณ์สังหารหมู่ ยิ่งไปกว่านั้น คำสารภาพดังกล่าวทำให้ข้าพเจ้าได้ออกมาจากคุกด้วยชื่อเสียงที่เสียหายไปในระดับหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วจึงมีคนกลุ่มหนึ่งเสนอตัวช่วยข้าพเจ้า สมควรแล้วหรือที่ข้าพเจ้าจะได้รับการช่วยเหลือนั้น เทียบกับใครเล่า แล้วเหล่าสามัญชนคนธรรมดาที่ต้องสูญเสียชีวิตของพวกเขาไปล่ะ แล้วผู้คนที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสกระทั่งปัจจุบันไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเสรีล่ะ หรือแม้กระทั่งบุคคลนิรนามที่กำลังใช้ชีวิตอ่อนระโหยโรยแรงอยู่ในคุกล่ะ พวกเขาได้รับการช่วยเหลืออะไรบ้าง Liao Yiwu ผู้ถูกคุมขังด้วยโทษ 4 ปี จากการแต่งบทกวียาวสองเรื่องคือ "การสังหารหมู่" และ "บทส่งวิญญาณ" โดยมีบทส่งท้ายว่า "แล้วใครกันเล่าคือผู้โชคดีรอดชีวิต-พวกสถุลสารเลวทั้งนั้น!" เมื่อมองจากทุกแง่ทุกมุมไปยังความทุกข์ทนของเหล่าคนธรรมดาสามัญผ่านบทสัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องความทุกข์เศร้าของพวกเขา ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกว่า ข้าพเจ้าไม่สมควรเลยแม้แต่น้อยที่จะถูกเรียกว่า เป็น "ผู้รอดชีวิต" จริงอยู่ที่ว่าข้าพเจ้าเป็นหนึ่งในกลุ่มคนท้าย ๆ ที่ออกจากจัตุรัสเทียนอันเหมินในวันที่ 4 มิถุนายน แต่ข้าพเจ้าไม่ได้ทำอะไรเลยในยามที่เกิดเหตุนองเลือด ไม่ได้ทำอะไรเพื่อแสดงให้เห็นว่าเศษเสี้ยวหนึ่งของความเป็นมนุษย์ในตัวข้าพเจ้าได้มีชีวิตรอดกลับมาเลย หลังจากที่ข้าพเจ้าออกจากจัตุรัส ข้าพเจ้าไม่ได้ไปที่คณะของมหาวิทยาลัยการศึกษากรุงปักกิ่ง เพื่อไปเยี่ยมเยียนเหล่านักศึกษาร่วมสถาบันเก่าที่คาดว่าออกจากจัตุรัสมาแล้ว นอกจากนั้นข้าพเจ้ายังไม่คิดที่จะอาสาไปช่วยเหลือคนที่ข้าพเจ้าไม่รู้จัก และกำลังบาดเจ็บล้มตายอยู่บนถนน ในทางกลับกัน ข้าพเจ้าหนีไปอยู่ที่แหล่งลี้ภัยในสถานฑูต จึงไม่น่าสงสัยเลยว่าทำไมเหล่าผู้รอดจากเหตุการณ์อันโหดร้ายอาจจะถามว่า: "เมื่อเกิดเหตุสะเทือนขวัญขึ้นกลางกรุงปักกิ่ง พวกเหล่า "มือมืด" ไปมุดหัวอยู่ไหนหมด 15 ปีหลังจากเหตุการณ์เทียนอันเหมิน เราไม่สามารถทำอะไรได้เลยเพื่อแก้ไขความเลือดเย็นที่ไหลเวียนอยู่ในตัวของเหล่าคนชั่วผู้สังหารคนบริสุทธิ์ แต่อย่างน้อย เราสามารถถามเหล่า "วีรบุรุษ" จากเหตุการณ์การเคลื่อนไหวได้ ผู้คนที่ทำให้เราต้องตระหนักถึงเหตุการณ์ปะทะจวบจนวันนี้ ด้วยคำถามนี้: เมื่อเราคิดถึงเหยื่อไม่ได้รับผลประโยชน์อันใด หรือแม้กระทั่ง "ได้รับ" ผลกระทบเชิงลบเป็นจำนวนมหาศาล เราไม่รู้สึกผิดบาปบ้างเลยหรือ เราควรต้องสำรวจขั้นต่ำสุดของมาตรฐานความเป็นมนุษย์กันใหม่ไหม ในทางกลับกัน หากเรายึดมั่นในเสรีภาพ มั่นใจได้เลยว่าบ่อเกิดศีลธรรมที่เกิดจากการสูญเสียชีวิตของมนุษย์-ซึ่งเป็นบ่อเกิดเดียวสำหรับผู้คนในการท้าทายอำนาจเผด็จการ-จะต้องถูกแบ่งสรรปันส่วนอย่างเหมาะสม เมื่อเรามองไปยังเหล่า "เหล่ามารดาแห่งเทียนอันเหมิน" ผู้แสวงหาความยุติธรรมให้แก่เหยื่ออย่างไม่หยุดหย่อน แล้วกลับมามองเหล่าชนชั้นนำอย่างเรา ๆ ที่รอดชีวิตมาได้ เราสามารถแสดงความเห็นอกเห็นใจ และความรู้สึกสำนึกคิดในความยุติธรรมและเท่าเทียมแม้เพียงเล็กน้อยบ้างได้ไหม?ด้วยการที่เราทำให้แน่ใจว่าคุณงามความชอบตกไปอยู่กับเหล่าผู้ที่ต้องทนทุกข์ทรมานมากกว่าเราเป็นไหน ๆ มิหนำซ้ำยังเป็นผู้ที่สมควรจะได้รับความดีความชอบนั้นตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว ให้เราขอขอบคุณเหล่าสมาชิกครอบครัวของผู้เสียชีวิต ผู้ซึ่งรังสรรค์ประวัติศาสตร์ของประเทศจีน ถึงการเสียชีวิตของเหล่าปุถุชนคนธรรมดาในเหตุสังหารณ์หมู่ครั้งนั้น
1 มิถุนายน ค.ศ. 1994
หมายเหตุ2: ขอให้อดใจรออ่านบทความนี้อีกครั้งชนิด เนื่องจากระยะเวลากระชั้นชิดเพื่อเผยแพร่ให้ทันโอกาส 29 ปี เหตุการณ์ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ในวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 2018 อาจจะทำให้งานแปลขาดความสมบูรณ์ไปบางส่วนได้ อย่างไรก็ตาม ในไม่ช้านี้ ขอสัญญาเลยว่าจะได้อ่านฉบับสมบูรณ์และบทความชิ้นสำคัญๆของหลิวเสี่ยวโปด้วย ซึ่งทางสำนักพิมพ์สำนักนิสิตสามย่านได้คัดสรรบทความ และแปลรวมเป็นเล่มให้อ่าน อย่าลืมสนับสนุนด้วยนะครับ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||
กองทัพปฏิเสธข่าวเล็งดาวเทียมจารกรรม 9 หมื่นล้าน จวก 'ศรีสุวรรณ' อย่ามโน Posted: 04 Jun 2018 02:15 AM PDT โฆษกกลาโหมจวก "ศรีสุวรรณ" มโนเรื่องดาวเทียมจารกรรม เพียงศึกษารายละเอียดดาวเทียมดวงใหม่หลังจะหมดสัมปทานเอกชน 2564 ผบ.ทสส. ถามเหน็บดูหนังมากไปหรือไม่ ชี้โครงการมีมาตั้งแต่สมัย "บิ๊กจิ๋ว" พัฒนาตามลำดับ 4 มิ.ย.2561 พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีที่นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ออกแถลงการณ์เรื่องขอคัดค้านกระทรวงกลาโหมที่เตรียมจัดซื้อดาวเทียมจารกรรมมูลค่า 91,200 ล้านบาทว่า ทางกระทรวงกลาโหมยืนยันอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดดาวเทียมดวงใหม่ เพราะว่าปัจจุบันภาครัฐใช้ดาวเทียมของภาคเอกชน และเมื่อภาคเอกชนจะหมดสัญญาสัมปทานในปี 2564 จึงมีแนวคิดว่ารัฐบาลควรเตรียมการเรื่องดาวเทียมเพื่อรองรับหรือไม่เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันในทุกส่วนราชการ ทั้งเรื่องของการถ่ายภาพ การสื่อสาร และเฝ้าระวังอวกาศ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายที่รอบรู้ไปทุกเรื่องออกมาพูดอะไรต้องระวังกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการบิดเบือนข้อมูลที่อาจสร้างความเข้าใจผิดหรือส่งผลกระทบต่อความเสียหายของรัฐ ทั้งนี้กระทรวงกลาโหมยืนยันยังไม่มีแนวคิดจัดทำดาวเทียมทหารหรือดาวเทียมจารกรรมตามที่ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระบุ "อย่ามโนและบิดเบือนเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจผิด เชื่อมโยงไปทางที่จะละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนและใช้งบประมาณจำนวนมาก โดยกระทรวงกลาโหมยืนยันว่าไม่ได้ออกมาตอบโต้ แต่ต้องการให้ข้อเท็จจริงกับประชาชน และขอให้เชื่อมั่นในข้อเท็จจริงของภาครัฐ ขอประชาชนอย่าเชื่อคำมโน" โฆษกกระทรวงกลาโหมกล่าว ส่วนที่กองบัญชาการกองทัพไทย พล.อ.ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) กล่าวถึงกรณีนี้ว่า เรามีโครงการเรื่องดาวเทียมมานานแล้วกว่า 10 ปี ตั้งแต่สมัย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ และมีการพัฒนาขึ้นมาตามลำดับในนามของศูนย์อากาศกระทรวงกลาโหม ซึ่งเรามีแนวคิดทำข้อพิจารณาถึงความเหมาะสมที่จะมีดาวเทียมเป็นของตัวเองโดยการร่วมทุนกับภาคเอกชน ไม่ใช่ของทางทหารเพียงอย่างเดียว พล.อ.ธารไชยยันต์ กล่าวยืนยันว่า จำเป็นจะต้องมีดาวเทียมในสถานการณ์และความพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี สังคมโลกเปลี่ยนไปเยอะมาก เราก็จะต้องมีเพื่อให้เกิดความทันสมัยมีประโยชน์ใช้งานได้จริง ส่วนที่มีความกังวลว่าเอาไปจารกรรมหรือสอดแนมข้อมูลนั้นยืนยันว่าไปไม่ถึงขั้นนั้น เพราะทุกระบบมีทั้งระบบป้องกันและระบบใช้ประโยชน์ สิ่งเหล่านี้มีข้อจำกัดอยู่ในตัว ไม่ใช่ว่าสามารถทำอะไรได้ทุกอย่าง ส่วนความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือกับต่างชาตินั้น ปกติแล้วเราต้องไปเช่าสัญญาดาวเทียมจากบริษัทเอกชนหรือต่างชาติ เพราะฉะนั้นจะมาปรับใหม่โดยที่ไม่ต้องเช่าเพียงแต่ลงทุนร่วมกัน ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพิจารณายังไม่ได้มีอะไรเป็นรูปธรรม อยากได้ก็ตามขณะนี้ทางกองทัพอากาศได้ดำเนินการวิจัยพัฒนาไปไกลพอสมควรแล้ว เมื่อถามว่า นายศรีสุวรรณ ระบุจะใช้เงินถึง 2 พันล้าน ในการเช่าดาวเทียม พล.อ.ธารไชยยันต์ กล่าวว่า ไม่เลย ใช้ฟรีหมด สิ่งที่ทำขึ้นมาก็จะได้ในเรื่องของการประหยัดงบประมาณเป็นการลงทุนร่วมกันร่วมกับเอกชน "เราทำเองใช้เอง เทียบกับเมื่อก่อนที่ไปเช่ามาก็ไม่ต่างกัน เรื่องการจารกรรมสงสัยดูหนังมากไปหรือไม่ เป็นเรื่องยากมากที่จะไปจารกรรมข้อมูล อย่างที่นายศรีสุวรรณยกตัวอย่าง กดเบอร์โทรศัพท์ สามารถดูได้หมด โอ้โหแบบนั้นต้องระดับมีพลังอำนาจด้านการเงินและเทคโนโลยีที่สูงมาก มีทั้งบุคลากรศูนย์จัดตั้งที่ใหญ่มาก ของเราคงไปไม่ถึงระดับนั้น" ผบ.ทสส.กล่าว
ที่มา: มติชนออนไลน์ ไทยรัฐออนไลน์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||
อภิสิทธิ์พินิจ "รวมพลังประชาชาติไทย" ยอมรับพรรคคงต้องแย่งฐานเสียง-แข่งขันกันเป็นปกติ Posted: 04 Jun 2018 01:28 AM PDT อภิสิทธิ์ตอบคำถามเจิมศักดิ์ทางช่อง "ฟ้าวันใหม่" ยอมรับพรรคการเมืองแย่งฐานเสียง แข่งขันกันเป็นเรื่องปกติ เรื่องร่วมงานกัน หากนโยบายใกล้กันคงไม่ยาก ส่วนจะร่วมกันหรือไม่ คงต้องรอดู ด้านเจิมศักดิ์ยกตัวอย่างคนออกจากพรรคประชาธิปัตย์อย่าง วีระ มุสิกพงศ์, สมัคร สุนทรเวช, เฉลิม อยู่บำรุง ออกไปแล้วมีปัญหาพอสมควร ที่ประสบความสำเร็จพอมีบ้างหรือไม่ โดยอภิสิทธิ์ตอบว่า "สมัคร" ก็ได้เป็นถึงนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ที่มา: เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์) 4 มิ.ย. 2561 ในรายการ "ต้องถาม" ทางสถานีโทรทัศน์ฟ้าวันใหม่ [1], [2] ดำเนินรายการโดยเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง มีการสัมภาษณ์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตยและอดีตนายกรัฐมนตรี โดยตอนหนึ่งเจิมศักดิ์สอบถามกรณีประชุมเปิดตัว "พรรครวมพลังประชาชาติไทย" เมื่อวานนี้ (3 มิ.ย.) (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) โดยเจิมศักดิ์ถามว่า "คุณอภิสิทธิ์กลับมาประเทศไทย เช้าตรู่วันเสาร์ พอวันอาทิตย์วานนี้ ที่มหาวิทยาลัยรังสิต มีการเปิดตัวพรรคการเมืองใหม่ ที่ชื่อว่า พรรครวมพลังประชาชาติไทย ทำไมเวลาเปิดตัวออกมา สังเกตดูว่าสื่อมวลชนดูจะไม่ค่อยเชื่อคำแถลง 1. เขาไม่ค่อยเชื่อว่า พรรคนี้ไม่สนับสนุน หรือว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับการพยายามจะหนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ ฟังสุ้มเสียงสื่อมวลชนเวลาเขาซัก เหมือนกับว่าเขาไม่ค่อยเชื่อในเรื่องนี้ 2. เขาไม่เชื่อว่าหัวหน้าพรรคจะไม่ใช่ อ.เอนก เหล่าธรรมทัศน์" "ทำไมสื่อมวลชนไม่เชื่อ ทั้งๆ ที่พรรคนี้ก็พยายามอธิบายว่าเป็นพรรคของประชาชน ตัวหัวหน้าพรรคจะเป็นใคร ยังไม่รู้ อ.เอนก ยินดีด้วยซ้ำ ถ้าจะเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนการเมือง แต่ว่าคนก็ยังไม่เชื่ออยู่ดี ตกลงเป็นเพราะคนไม่เชื่อเพราะการเมืองไทยหลอกกันมาตลอด หรือว่าไม่เชื่อเพราะว่าความจริงก็เป็นเช่นนั้นที่สื่อมวลชนเขาจับได้" เจิมศักดิกล่าว อภิสิทธิ์ ตอบคำถามว่า "แหม มาถามผมนี่ก็ให้ความเห็นยากในระดับหนึ่ง เพราะว่าผมว่าคนที่เขารวมตัวกันก่อตั้งพรรค ก็มีความหลากหลายระดับหนึ่ง เมื่อวานนี้ก็คงจะหลายร้อยคน ผมก็ไม่แน่ใจว่าแต่ละคนที่ไปรวมตัวกันนี้ ได้มีโอกาสในการวางแผน ประสานงานอะไรต่างๆ มากน้อยแค่ไหน ที่จะทราบคำตอบต่อคำถามของอาจารย์" "แต่ผมก็มองอย่างน้อย 2 ประเด็น ประเด็นที่ 1 ที่ถามว่า ทำไมสื่อยังพยายามซักอยู่ว่า เอ๊ะ พรรคนี้ตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์หรือไม่นั้น มันก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เนื่องจากท่าทีในอดีตที่ผ่านมาของคุณสุเทพนั้นค่อนข้างชัด ว่าเป็นผู้สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ ในการเป็นนายกรัฐมนตรี จะเห็นได้ว่าให้ความเห็นทุกครั้งก็จะสนับสนุนการทำงาน แล้วก็เห็นว่าเป็นผู้ที่จะนำไปสู่การปฏิรูปในสิ่งที่คุณสุเทพสนับสนุน" "แล้วก็มีข่าวคราวมาตลอดว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็คงจะมีการตั้งพรรค เพื่อที่จะมาสนับสนุน เพียงแต่ว่าในช่วงหลังนี้ ก็คงจะมีหลายพรรคการเมือง ที่แสดงท่าทีทำนองนี้ เช่นพรรคของคุณไพบูลย์ นิติตะวัน พรรคที่คนบอกว่าอะไรนะ พลังประชารัฐ ซึ่งก็มีคนในรัฐบาล น่าจะเป็นผู้ที่ขับเคลื่อนอยู่ แล้วรัฐธรรมนูญ อนุญาตให้พรรคเสนอชื่อ ใครก็ตามเป็นนายกฯ นั้นเพียงพรรคเดียว แล้วก็ดูเหมือนว่า ทุกคนก็เก็งกันว่า ถ้าพล.อ.ประยุทธ์จะยินยอมก็น่าจะเป็นการยินยอมพรรคที่คนในรัฐบาลปัจจุบัน ซึ่งก็คือพรรคพลังประชารัฐ เป็นผู้ขับเคลื่อนมากกว่า" "เพราะฉะนั้นเวลาที่มีการพูดถึงว่า ยังไม่ชัดเจนว่าจะสนับสนุนใครอย่างไร ผมว่าสื่อมวลชนก็คงอดคิดไม่ได้ ว่าเนื่องจากท่าทีที่ผ่านมาเป็นท่าทีของการสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ เพียงแต่ว่าอย่างที่บอก มีเงื่อนไขตามกฎหมายที่ว่า ก็ไม่ได้ปฏิเสธนี่ครับว่าจะไม่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ เพียงแต่บอกว่า ตอนนี้จะใช้คำว่า ก็จะฟังเสียงของประชาชน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ก็จะต้องมีการพิสูจน์ต่อไป เพราะว่าเรื่องแบบนี้ในที่สุด ทุกพรรคก็จะต้องเป็นผู้เสนอชื่อบุคคลที่เขาจะสนับสนุนเป็นนายกรัฐมนตรี" "ส่วนประเด็นที่ 2 ที่บอกว่า กรณีของ อ.เอนก ผมว่าอันนี้มันเป็นเรื่องของการมีข่าวในวงในมากกว่า เพราะว่าพูดกันตรงๆ การซุบซิบก่อนหน้านี้มาหลายสัปดาห์แล้ว ก็มีการพูดถึงว่า ดร.เอนก น่าจะเป็นหัวหน้าพรรค ของพรรคการเมืองที่ทางคุณสุเทพมาร่วมก่อตั้ง เพราะฉะนั้นสื่อก็คงได้ข่าวแบบเดียวกับที่หลายๆ คนได้ข่าว แล้วก็อย่างที่บอกครับ ตอนนี้ตามหลักของมันก็คือ ยังตอบไม่ได้ ว่าใครจะเป็นหัวหน้าพรรค เพราะว่ามันต้องมีการประชุมตามเงื่อนไขของกฎหมายเสียก่อน มีผู้ก่อตั้งพรรค" เจิมศักดิ์ถามต่อไปว่า คุณอภิสิทธิ์ใช้คำว่าตามหลักของมัน ดร.เอนกก็พยายามจะบอกว่าตามหลักของมัน อภิสิทธิ์ตอบว่า "ท่านก็คงต้องตอบอย่างนั้น" เจิมศักดิ์ถามว่า "แต่ความจริงมันคืออะไร" อภิสิทธิ์ตอบว่า "ความจริงนั้นก็คือ สมาชิกต้องเป็นผู้เลือก แล้วก็ทางพรรค รปช. เขาก็ประกาศชัดเจนว่าเขาจะให้สมาชิกเป็นผู้เลือก เพียงแต่ว่าทุกคนก็เก็งกันว่า บรรดาสมาชิกที่มาร่วมก่อตั้งนี้ก็น่าจะยินยอมพร้อมใจสนับสนุน ดร.เอนก" เจิมศักดิ์ถามต่อว่า "นั่นเป็นคำอธิบาย แต่คุณอภิสิทธิ์เชื่อเช่นนั้นหรือเปล่าว่า ทุกอย่างไม่ได้มีการเตรียมการ" อภิสิทธิ์ตอบว่า "ผมคงไปยุ่งกับเรื่องภายในของพรรคการเมืองอื่นเขาก็คงไม่เหมาะ แต่ว่า ณ ขณะนี้ถามว่าในบรรดาบุคคลที่มีการเปิดตัวกันเมื่อวาน ก็ดูจากรูปการแล้วก็เหมือนกับว่า ดร.เอนก ก็น่าจะมีโอกาสเป็นหัวหน้าพรรคมากที่สุด" เจิมศักดิ์ถามด้วยว่า "ประการที่ 3 สื่อดูท่าทางจะไม่ค่อยเชื่อว่า คุณสุเทพ จะเลิกการเมือง แม้คุณสุเทพจะอธิบายว่า ครั้งนี้ไม่ได้อยู่เบื้องหลังพรรคการเมืองนี้ แต่จะออกมายืนเคียงข้าง และจะทำงานร่วมไปกับผู้ก่อตั้งพรรค ในการหาสมาชิก และขณะเดียวกันจะเดินสาย 77 จังหวัด แต่คุณสุเทพจะไม่ลงสมัคร ส.ส. จะไม่เป็นรัฐมนตรี เพียงแต่เป็นคนทำงานในพรรคเท่านั้น ทำไมสื่อมวลชนก็ยังแคะกันอยู่ตรงนี้ ทำไมไม่เชื่อว่าคุณสุเทพจะเป็นอย่างนั้น" อภิสิทธิ์ตอบว่า "คงไม่ใช่เรื่องของเชื่อ หรือไม่เชื่อ คงเป็นเรื่องของการใช้คำว่า ตีความเหรอ คือในช่วงของการชุมนุม คุณสุเทพพูด แล้วก็เวลาคนสรุปก็จะบอกว่า เลิกเล่นการเมืองทำนองนี้ แต่สิ่งที่คุณสุเทพอธิบายขณะนี้ก็คือว่า ความหมายของท่าน ก็คือท่านไม่ได้จะเป็น ส.ส. ไม่รับตำแหน่งทางการเมืองใดๆ แล้วก็อธิบายว่าพรรคที่ตั้งขึ้น จะตั้งขึ้นนี้ ไม่ใช่ กปปส. แต่เป็นบุคคลซึ่งอาจจะเคยร่วมต่อสู้กับ กปปส. มา มีความคิด ความอ่านในทางของการปฏิรูป อยากจะสร้างพรรคการเมืองของประชาชน ของสมาชิก ซึ่งตรงกับแนวคิดของคุณสุเทพ" "เพราะฉะนั้นคุณสุเทพก็มีสิทธิ์ในการที่จะเข้าร่วม เป็นสมาชิก แต่ยังยืนยันว่าจะไม่รับตำแหน่งทางการเมือง เพราะฉะนั้นที่อาจารย์ถามว่า อ้าว แล้วทำไมสื่อถึงได้ค่อนแคะอะไรต่างๆ นี้ ก็คือเพราะ ผมว่าคนจำนวนหนึ่งตีความคำพูดก่อนหน้านี้ว่า คือไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองของพรรคการเมืองเลย ไม่ได้จำกัดแค่ว่าจะรับ หรือไม่รับตำแหน่ง แต่ว่าอันนี้ก็อยู่ที่ว่าเราจะย้อนกลับไปฟังว่า ท่านพูดนี้คนจะเข้าใจอย่างไร แต่ท่านก็อธิบายของท่านอย่างนี้ สื่อก็คงตีความว่าอันนี้ไม่ตรงกับที่เขาเข้าใจ จะเห็นว่า รู้สึกวันนี้ผมเห็นข่าว โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษนะ 2 ฉบับ จะพาดหัวว่า Break Promise ซึ่งก็หมายความ แสดงว่า เขาตีความว่าอันนี้ผิดจากที่เคยพูด" เจิมศักดิ์ ชงต่อไปว่า "บางฉบับบอกตระบัดสัตย์ด้วยซ้ำ" อภิสิทธิ์ตอบกลับว่า "คำว่าตระบัดสัตย์นี้ คุณสุเทพพูดเองนะ บอกว่าแม้ว่าจะต้องถูกโจมตีว่าตระบัดสัตย์ แต่ท่านก็อธิบายอย่างที่ท่านอธิบายนั่นแหละว่า ท่านไม่ได้จะมารับตำแหน่งทางการเมือง แต่ว่าก็เหมือนกับใช้สิทธิ์ของท่าน ในฐานะประชาชน ก็คงต้องดูต่อไปละครับว่าบทบาทในทางการเมืองจะเป็นอย่างไร" ส่วนคำถามที่ว่าสุเทพค่อยๆ กระเถิบๆ เข้ามาการเมืองหรือเปล่า หรือคิดอย่างนี้ตั้งแต่ต้น แล้วก็ดำเนินการอย่างถูกต้องแล้ว อภิสิทธิ์ตอบว่า "แหม ผมเดาใจนะ ไม่กล้าที่จะไปฟันธงหรอก แต่ว่าที่รู้จักกันมา ผมมองว่า คุณสุเทพไม่ได้ตั้งใจว่าจะเป็นอย่างนี้หรอก คือตอนที่เคลื่อนไหวนั้น ผมว่าคำประกาศนั้น เพื่อให้ประชาชนที่ไปร่วมชุมนุม เข้าใจว่าการต่อสู้ครั้งนี้ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ทางการเมืองของท่าน และคนที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นสบายใจได้ว่า ไม่ใช่ว่าออกไปต่อสู้เรื่องปฏิรูป หรือขับไล่รัฐบาลคอร์รัปชันแล้วนี้ เพื่อจะมาเป็นการทำฐานการเมืองให้ท่านเข้าสู่ตำแหน่ง ผมว่านั่นคืออารมณ์ในขณะนั้น แต่เมื่อพูดออกไปแล้ว แล้วมาเป็นอย่างนี้ ตอนนี้ผมว่าก็มีความเห็นที่หลากหลายนะ เพราะว่าผมก็จะสัมผัสกับคนที่เคยไปร่วมชุมนุม ก็ต้องบอกตรงๆ ว่าจำนวนนึงเขาก็โกรธ แต่อีกจำนวนนึงเขาก็บอกว่า ทำได้ มันก็เป็นความหลากหลายทางความคิด" "ซึ่งผมก็มองว่าในส่วนของคุณสุเทพ ก็เหมือนกับเคยคุยกับผมนั่นแหละนะ บอกว่า ถ้าเลือกได้ก็ไม่อยากจะต้องมายุ่งเกี่ยวอีก แต่ว่าเหตุผลความจำเป็นที่จะต้องทำขณะนี้ จะสมควร หรือไม่อย่างไร ก็นานาจิตตังละครับ ก็แล้วแต่คนจะมอง" เจิมศักดิ์ถามด้วยว่า "คนค่อนข้างเห็นใจ เพราะเห็นคุณสุเทพ เมื่อวานนี้พอจะขึ้นพูด นึกถึงคนที่เสียชีวิต นึกถึงคนที่บาดเจ็บล้มตาย คนที่เสียสละเงินทองออกมาโดยที่ไม่ได้อะไร ปัจจุบันนี้ อ่านได้หรือไม่ว่า คุณสุเทพมองว่า ถ้าทุกอย่างยุติอยู่แค่นี้ บ้านเมืองก็ไม่ไปไหน การสูญเสียทั้งหมดสูญเสียไปเฉยๆ ฉะนั้นจำเป็นต้องดึงเอาผู้คนที่มีจิตใจอยากจะปฏิรูป อยากจะเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง แล้วฟังจาก ดร.เอนกพูด Target Group ของพรรคนี้ ไม่ใช่เพียงแค่คนที่เคยออกมาชุมนุม กปปส. แต่มาตั้งแต่ 14 ต.ค. 16, 6 ต.ค.19, พฤษภาทมิฬ, รวมทั้งพันธมิตร ปี 48 – 49 แล้วก็มา 56 – 57 ด้วย ฟังดูอันนี้คือเป้าหมาย คุณอภิสิทธิ์ฟังว่าอย่างนั้นหรือเปล่า" อภิสิทธิ์ตอบว่า "ผมมองว่าคนที่ออกไปชุมนุมในช่วงก่อนปี 57 เขามีความคาดหวังว่าบ้านเมืองจะต้องมีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลง การเมืองมันจะต้องดีขึ้น จะเน้นหลักเรื่องของธรรมาภิบาล แต่ความจริงก็มีข้อเสนอหลายอย่างที่มีการพูดกันบนเวที เช่นการกระจายอำนาจ การปฏิรูปตำรวจ อะไรต่างๆ ประเด็นตอนนี้ก็จะอยู่เพียงแค่ว่า พรรค รปช. จะสามารถเป็นผู้ที่จะสานต่อแนวคิดตรงนี้ได้มากน้อยแค่ไหน แล้วตรงนี้มันอาจจะไปพันกับคำถาม ที่อาจารย์ถามในช่วงแรก เพราะว่าถ้าคนมองว่า เป็นพรรคเพื่อไปสนับสนุนบุคคล แล้วบุคคลนั้นอาจจะไม่ได้มีความชัดเจนว่า เอาเรื่องของการปฏิรูปนี้ มันก็จะสวนทางกับเจตนารมณ์ตรงนั้น เพราะฉะนั้นก็คงต้องเปิดโอกาส รอดูว่าพรรคนี้เขาจะมีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูป และมีจุดยืนในทางการเมืองที่มันสอดคล้องกับการปฏิรูปที่เคยพูดไว้ ได้มากน้อยแค่ไหน" เจิมศักดิ์ถามเปรียเทียบแนวทางของพรรค รปช. กับประชาธิปัตย์ด้วยว่า "คุณอภิสิทธิ์พูดถึงเรื่องอุดมการณ์ของพรรค หรือแนวนโยบายอย่างกว้างๆ ดร.เอนกก็ประกาศว่า ขณะนี้มีอุดมการณ์ของพรรคอยู่ 4 – 5 ข้อ ฟังแล้วรู้สึกว่าไม่ต่างอะไรกับประชาธิปัตย์ 1. เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ กระจายอำนาจ และมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ และพูดถึงเรื่องการปกครองส่วนภูมิภาคว่ามีปัญหา พูดถึงเรื่องลดช่องว่าง ความเหลื่อมล้ำของคนในสังคม จะปฏิรูปตำรวจ และกระบวนการยุติธรรม และอื่นๆ ไม่เห็นต่างอะไรเลยกับที่เคยสัมภาษณ์คุณอภิสิทธิ์" อภิสิทธิ์ตอบว่า "ผมก็ยืนยันว่าจุดยืนของพรรคฯ ในเรื่องของการปฏิรูปเหล่านี้ชัดเจนนะครับ แล้วก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ผมอาจจะแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากหลายท่านที่รวมตัวกันเมื่อวาน เพราะว่าผมมีความเห็นว่า ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลปัจจุบัน รวมทั้ง คสช. ไม่ได้ทำใน 3 – 4 ข้อนั้น อย่างที่เราอยากจะเห็น เช่นเรื่องการกระจายอำนาจนั้นค่อนข้างชัดว่า กลับสวนทางด้วยซ้ำ รวมไปถึงปัญหาการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่มักจะมองข้ามมติของความเหลื่อมล้ำในการตัดสินใจนโยบายแต่ละเรื่องที่เราพูดถึงภาคการเกษตรก็ดี อะไรก็ดี จะด้วยเจตนาหรือไม่นั้นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ว่าตรงนี้ก็เลยทำให้ผมนี้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลชุดนี้ค่อนข้างมาก ทีนี้ก็ถ้าพรรคใหม่เขายืนยันหลักการเหล่านี้ ก็ต้องดูว่าท่าทีของเขาต่อการดำเนินนโยบาย หรือการที่จะกำหนดนโยบายต่างๆ จะเหมือน หรือจะต่างจากประชาธิปัตย์ก็ดี จากทาง คสช. ก็ดี ก็ต้องว่ากันไป" "แต่ว่าจุดหนึ่งซึ่งสัปดาห์ที่แล้ว ผมก็ทิ้งท้ายไว้มั๊งครับ คุยกับอาจารย์ที่ผมยังแกะไม่ออก ก็คือที่คำพูดของ ดร.เอนก ที่พูดหลายครั้ง ทำนองว่า ตอนนี้ต้องก้าวข้ามเรื่องของอดีตทั้งหมด สีเสื้อ หรืออะไรต่างๆ ซึ่งตรงนี้ที่ผมยังแกะไม่ออกก็คือว่า แล้วมันจะสวนทาง หรือสอดคล้องอย่างไรกับ 2 ประเด็น ประเด็นคือเรื่องของจุดยืนต่อเรื่องการนิรโทษกรรม กับอันที่ 2 ก็คือ คำพูดของ พูดง่ายๆ ก็คือว่า กปปส. ที่บอกว่า ต่อต้านระบอบทักษิณ ว่าแสดงว่าตรงนี้มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่" จากนั้นเจิมศักดิ์ถามว่า "พอเห็นภาพอย่างที่เล่าให้ฟัง ที่ถ่ายทอดสดทางไลฟ์ ก็นึกว่ามันไม่ต่างอะไรกับประชาธิปัตย์ ถ้าอย่างนี้มีพรรคการเมืองใหม่ทำไม คุณสุเทพก็เคยเป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ บังเอิญ คุณสมจิตร นวเครือสุนทร ถามคำถามคุณสุเทพว่า ทำทั้งหมดนี้เป็นสาขาของพรรคประชาธิปัตย์หรือเปล่า หรือว่าไปแย่งฐานเสียงของประชาธิปัตย์หรือเปล่า คุณอภิสิทธิ์จะตอบอย่างไร" อภิสิทธิ์ตอบว่า "ข้อ 1 นี้ผมตอบได้เลยนะครับว่าไม่ใช่สาขาแน่นอน ประชาธิปัตย์ไม่มีแนวความคิดเรื่องการมีพรรคสาขา พรรคนอมินี หรืออะไรทั้งสิ้น และผมก็เชื่อว่า ทั้งคุณสุเทพ และผู้ก่อตั้งพรรค เขาไม่ประสงค์จะเป็นพรรคสาขาของใคร อันนี้ผมว่าตอบง่ายนะครับ ส่วนข้อที่ 2 ที่ถามว่า แล้วอันนี้คือมาแย่งฐานเสียงหรืออะไรนั้น ทุกพรรคการเมืองก็แย่งฐานเสียงกัน แล้วก็ยิ่งถ้าหากว่าการแสดงจุดยืนในประเด็นต่างๆ มันมีความคล้ายคลึงกัน มันก็ทำให้กลุ่มคนที่มีแนวโน้มที่จะสนับสนุนแนวความคิดที่บอกว่าเหมือนกันนี้ ก็ต้องเลือกระหว่างจะสนับสนุนพรรคการเมืองไหน อันนี้ก็คงเป็นความจริงทางการเมืองที่ปฏิเสธไม่ได้ ก็เป็นเรื่องที่ก็จะต้องแข่งขันกันไป ก็เป็นเรื่องปกติธรรมดา" จากนั้นเจิมศักดิ์ถามว่า "แข่งขันแล้วต่อไปร่วมกัน ทำงานด้วยกันได้มั้ย" อภิสิทธิ์ตอบว่า "การทำงานร่วมกันนั้น ถ้านโยบายความคิดพื้นฐานมันใกล้กัน ก็คงจะไม่ยาก แต่ว่าถามว่าจะร่วมกันหรือไม่อย่างไรนั้น ตอนนี้ต้องบอกว่า คงต้องรอดูกระมังครับ ต้องให้เวลาเขาสักหน่อยกระมังครับอาจารย์ เขายังไม่ได้มีการเลือกกรรมการบริหาร ประกาศนโยบาย แล้วก็อย่างที่บอก จะวนเวียนกลับไปสู่ว่า เอ๊ะ จะต้องไปสนับสนุนบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือไม่ เพราะฉะนั้นก็คงต้องเปิดโอกาสให้เขาทำงานไปก่อน" ทั้งนี้อภิสิทธิ์ได้ดูคลิปการแถลงข่าวของสุเทพ และให้ความเห็นว่า "ผมว่าแนวคิดในการทำงานการเมืองมันก็ต้องเป็นอย่างนี้ คือพรรคการเมืองก็แข่งขันกัน แต่ขณะเดียวกันการทำงานร่วมกัน อาจจะมีความจำเป็นที่เกิดขึ้นในอนาคต ก็อยู่ที่ว่าจะเอาอะไรเป็นตัวตั้ง ผมก็บอกว่ามันก็ต้องอยู่ที่เรื่องของนโยบาย หลักการ ความคิดต่างๆ คุณสุเทพก็ตอบคล้ายคลึงกัน เพียงแต่ว่ารู้สึกคุณสุเทพไม่ได้ตอบเรื่องสาขา แต่ผมตอบให้เลยว่าไม่ใช่" "ที่ผมปฏิเสธว่าไม่ใช่สาขา ก็คือว่า ต่างคนต่างทำงานตามความเชื่อของตัวเอง คำว่าพรรคสาขา คงจะหมายความว่า มีเจตนา ฮั้วกัน รู้กัน แล้วก็เป็นวิธีการในการที่จะหาทางที่จะไปดึงเสียงของหลายๆ ฝ่ายมา แล้วก็จริงๆ แล้วคือ ตกลงกันไว้ อันนี้ผมยืนยันได้เลยว่า ไม่มีแน่นอน ส่วนที่ว่าจะร่วมมือกันหรือไม่นั้น จะไปตอบชัดเจนกว่านี้นั้น คงจะตอบยาก เพราะมันต้องดูต่อไปว่าเป็นอย่างไร" อภิสิทธิ์กล่าวตอนหนึ่ง เจิมศักดิ์ถามด้วยว่า "มีข้อสังเกตอันหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถหาคำตอบได้ เลขาของพรรคประชาธิปัตย์คนก่อนคือ เสธ.หนั่น ออกจากพรรคประชาธิปัตย์ไปตั้งพรรคใหม่ แล้วเอา ดร.เอนก มาเป็นหัวหน้าพรรค เที่ยวนี้คุณสุเทพ เป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ออกจากพรรคประชาธิปัตย์ไปตั้งพรรคใหม่ แล้วเอา ดร.เอนกมาเป็นหัวหน้าพรรคตามข่าว ซึ่งจะเป็น หรือไม่เป็นไม่รู้ มันจะอธิบายอย่างไร" อภิสิทธิ์ตอบว่า "มันเป็นเหตุบังเอิญทางการเมือง มันก็เกิดขึ้นได้นะครับ แต่ว่าจะเหมือนกันทีเดียวมั้ย ก็คงไม่ใช่ เพราะว่าตอน พล.ต.สนั่น ดร.เอนกอยู่กับประชาธิปัตย์ เป็นรองหัวหน้าพรรคอยู่ด้วย เท่าที่ผมจำได้ แล้วก็พอตัดสินใจมีการแยกพรรคกันออกไป ก็เหมือนกับไปด้วยกัน แต่ครั้งนี้ ดร.เอนก พ้นจากความเป็นสมาชิกของพรรคต่างๆ มาระยะหนึ่ง แต่ว่ามันก็คงเป็นเหตุบังเอิญละครับว่า กลับมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค โดยมีอดีตเลขาธิการพรรคของประชาธิปัตย์ไปร่วม" เจิมศักดิ์ถามด้วยว่า "คุณอภิสิทธิ์อยู่กับประชาธิปัตย์มานาน อยู่ในแวดวงการเมืองมา 20 กว่าปี คิดว่าไปรอดมั้ย" อภิสิทธิ์ตอบว่า "ผมไม่สบประมาทใครนะครับ ไม่เคยไปประเมินใครต่ำทั้งสิ้น อยู่ที่การทำงาน อยู่ที่ความมั่นคงในเรื่องของหลักการ ผมว่าถ้ามีแนวคิดในการแก้ไขปัญหาของประเทศที่มีความชัดเจนเป็นที่ยอมรับของประชาชนก็ได้ แต่ว่าถ้าไปผูกติดกับเรื่องของตัวบุคคล ก็จะกลายเป็นปัญหาของ เหมือนกับพรรคต่างๆ เรื่องพรรคเฉพาะกิจ ก็ต้องอยู่ที่ว่าเขาจะกำหนดท่าทีอย่างไร" เจิมศักดิ์ถามว่า "พูดอย่างนี้ก็แสดงว่ามีโอกาสที่จะทำงานร่วมกันได้ ถ้าแนวนโยบายและอุดมการณ์" อภิสิทธิ์ตอบว่า "ถูกต้องครับ แล้วก็อยู่ที่เงื่อนไข มันมีเงื่อนไขอีกหลายอย่างนะครับ 1. เราพูดกัน อย่างที่บอก เราจะพูดกันอะไรก็ตาม ผมยังให้ความสำคัญกับกระบวนการของการเลือกตั้ง ความหมายก็คือเราจะมาพูดกันล่วงหน้า อย่างนั้นอย่างนี้นั้นคงไม่ได้ เพราะจุดสำคัญของพรรคการเมืองก็คือว่า เมื่อถึงวันที่มีการเลือกตั้งแล้ว แต่ละคนแสดงท่าทีต่อสาธารณะอย่างไรในประเด็นต่างๆ ซึ่งจะต้องถูกซักถามว่า นโยบายเรื่องนั้นจะสนับสนุนบุคคลไหน จะทำงานกับใคร บนเงื่อนไขอะไร นั่นประการหนึ่ง" "ประการที่ 2 ก็คือประชาชนจะเลือกเข้ามาอย่างไร จำนวน ส.ส. คะแนนเสียงที่ได้รับ ก็จะเป็นตัวที่บอกกับพรรคการเมืองว่า สมควร หรือไม่สมควร ที่จะทำงานกับใครในสถานะใด เพราะฉะนั้นต้องรอตรงนั้นนะครับ" จากนั้นเจิมศักดิ์ถามว่า "พูดถึงพรรคประชาธิปัตย์ และคนที่ออกไปตั้งพรรค ทำให้นึกถึงคุณวีระ มุสิกพงศ์ก็ดี นึกถึงคุณสมัคร สุนทรเวช นึกถึงคุณเฉลิม อยู่บำรุง และมีอีกหลายคน ดูจะเมื่อออกไปแล้ว ดูจะมีปัญหามากพอสมควร ที่ประสบความสำเร็จพอมีบ้างหรือไม่" ทำให้อภิสิทธิ์ตอบว่า "คุณสมัคร ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรี" จากนั้นเจิมศักดิ์ถามว่า "เป็นเพราะพรรคที่ออกไปตั้งใหม่ หรือเป็นเพราะ เขาเอาขึ้นมาชั่วคราวเป็นนอมินี" อภิสิทธิ์ตอบว่า "แหม เส้นทางการเมืองก็จะคดเคี้ยวกันไปแล้วแต่บุคคลละครับ ของแบบนี้ก็อยู่ที่แต่ละท่านจะประเมินว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ ผมว่าหลายคนที่ออกจากพรรคประชาธิปัตย์ไปก็ไปมีตำแหน่งแห่งหนนะครับ ในรัฐบาล บางคนก็มองว่านั่นคือความสำเร็จ" เจิมศักดิ์ถามต่อว่า "ก็กำลังจะถามว่านี่คือความสำเร็จเหรอ การได้ดำรงตำแหน่ง หรือได้ไปทำงานตามอุดมการณ์ที่มีอยู่" โดยอภิสิทธิ์ทิ้งท้ายว่า "แต่ละบุคคลก็เป็นเงื่อนไขที่ไม่เหมือนกันหรอกครับ เขาจะต้องไปประเมินเองว่ามันสำเร็จหรือไม่สำเร็จอย่างไร" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||
Posted: 04 Jun 2018 01:24 AM PDT
หนึ่งในนโยบายพื้นฐานของทุกรัฐบาลในการพัฒนาประเทศ ก็คือ การขยายและสร้างโอกาสเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่ดี มีคุณภาพ และมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ รวมทั้งผลิตบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในประเทศอีกด้วย หรือมองอีกมุมหนึ่ง การศึกษาเป็นหนทางหนึ่งที่จะเปลี่ยนแปลงและขยับสถานภาพทางสังคมให้สูงขึ้นในรูปแบบที่ง่ายและเร็วที่สุด เพราะเมื่อได้รับการศึกษาที่สูงขึ้นแล้วก็ย่อมมีช่องทางและโอกาสหารายได้ที่สูงขึ้นตามไปด้วย และหากได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลไปศึกษาต่อยังต่างประเทศแล้ว สามารถการันตีได้เลยว่า อนาคตอันเรืองรอง,ความก้าวหน้า และความสำเร็จในอาชีพการงานนั้นวางรออยู่เบื้องหน้า อีกทั้งยังสามารถผลักดันตนเองให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชนชั้นนำของประเทศได้โดยง่าย ภายใต้คำเรียกขานว่า "นักเรียนนอก" ทุนการศึกษาอันเป็นที่ใฝ่ฝันของนักเรียนที่มีการแข่งขันแย่งชิงกันมาก เช่น ทุนเล่าเรียนหลวง,ทุนธนาคารแห่งประเทศไทย,ทุนรัฐบาล (ก.พ.) ที่จัดสรรให้ตามความต้องการของกระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ เป็นต้น แต่ผู้ที่สอบชิงทุนได้ส่วนใหญ่มักจะมาจากครอบครัวชนชั้นกลางขึ้นไป และก็มาจากโรงเรียนขนาดใหญ่และมีชื่อเสียงซึ่งกระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพฯ เท่านั้น อีกทั้งภาครัฐเองก็ได้ลงทุนและทุ่มเททรัพยากรทางการศึกษาในเขตกรุงเทพฯ มากกว่าส่วนภูมิภาคมาตั้งแต่ในอดีตเช่นกัน ทำให้โรงเรียนเหล่านั้นมีความพร้อมทั้งอาจารย์ที่เก่ง มีบรรยากาศความเข้มข้นทางวิชาการ มีสื่อการเรียนการสอนที่ครบครัน และสถานที่ที่เอื้ออำนวย พร้อมทั้งมีโรงเรียนกวดวิชาให้เลือกมากมาย แต่สำหรับนักเรียนในต่างจังหวัดหรือในชนบทแล้ว การสอบชิงทุนไปศึกษาต่อยังต่างประเทศเป็นเรื่องที่ไกลเกินฝัน และไกลเกินเอื้อมที่จะไปถึง หรือเป็นไปไม่ได้เลยแม้แต่จะคิด ความฝันที่ใกล้เคียงและเป็นไปได้มากที่สุดสำหรับเด็กเรียนดี ก็คือ การสอบเข้ามหาวิทยาลัยรัฐทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ปี พ.ศ. 2547 รัฐบาลพรรคไทยรักไทยในขณะนั้น ได้ให้ความสำคัญต่อการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา จึงเกิดนโยบายขยายโอกาสด้วยการมอบทุนการศึกษาต่อต่างประเทศให้กระจายไปยังเขตชนบท ภายใต้ชื่อโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน (One District One Scholarship : ODOS หรือ โอดอส) โดยจะให้ทุนแก่เด็กนักเรียนมัธยมปลายจากทุกอำเภอและกิ่งอำเภอทั่วประเทศ เพื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศในระดับปริญญาตรีในประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก และในช่วงแรกนั้นได้รับเงินทุนสนับสนุนจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จากการขายหวยออนไลน์ และเลขท้าย 2 ตัวและ 3 ตัว แนวคิดพื้นฐานของรัฐบาลในสมัยนั้น เชื่อมั่นว่า การศึกษาเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ พร้อมทั้งเป็นการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรด้วย ดังนั้นหากมีการลงทุนจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งกระจายไปยังต่างจังหวัดแล้ว จะเป็นการสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศที่มีมาเนิ่นนานได้ เช่น แก้ปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้,ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม เป็นต้น และเมื่อปัญหาปากท้องได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธีแล้ว ก็จะเป็นรากฐานที่แข็งแรงและมั่นคงสำหรับการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยให้ยั่งยืนต่อไปในอนาคต สังคมส่วนรวมจะเกิดการพัฒนาศักยภาพอย่างรวดเร็วก็ต่อเมื่อมีการแบ่งปันโอกาสอย่างเสมอภาค เช่น การมอบโอกาสที่หาได้ยากให้แก่เด็กนักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะเด็กที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ รวมทั้งเด็กด้อยโอกาสในชนบท เมื่อเด็กเก่งในชนบทได้รับโอกาสอันดีเช่นนี้แล้ว ก็สามารถแสดงศักยภาพที่ซ่อนเร้นที่คนในสังคมระดับบนในกรุงเทพฯ มองไม่เห็นและไม่เคยให้โอกาสได้แสดงออก และปัจจุบันนักเรียนทุนกลุ่มนี้ได้กลายมาเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนและสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ ดังนั้นนโยบายสาธารณะเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันจึงควรเป็นหนึ่งในพันธกิจสำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์การสร้างชาติ จำนวนนักเรียนในโครงการทุนโอดอส มีดังนี้
ที่มา: www.odos.moe.go.th และนี่คือ หนึ่งในเรื่องราวความสำเร็จของโครงการที่พลิกผันชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งจากดินสู่ดาว "...คุณปุ๊ก (นามสมมติ) หญิงสาววัยเพียง 30 ปีต้นๆ ผู้เปี่ยมไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ เด็กสาวบ้านนอกในสายตาคนเมืองกรุง ศิษย์เก่าจากโรงเรียนประจำอำเภอแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น เป็นหนึ่งในผู้ได้รับทุนโอดอสรุ่นที่ 2 ไปศึกษาต่อปริญญาตรี ณ ประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันทำงานเป็นล่ามและผู้ช่วยผู้บริหารชาวญี่ปุ่นในบริษัทนำเข้า-ส่งออกแห่งหนึ่งย่านบางนา..." เธอเล่าให้ฟังว่า "...จากเด็กหญิงผู้กำพร้าคุณพ่อมาตั้งแต่เล็ก และต้องอยู่ในอุปการะของคุณลุงคุณป้า อีกทั้งต้องช่วยทางบ้านทำงานหารายได้พิเศษมาตลอด เมื่อใกล้เรียนจบมัธยมปลายแล้ว ทางบ้านตัดสินใจวางแผนอนาคตไว้ให้ โดยตั้งใจจะส่งเรียนพยาบาล เนื่องจากเป็นอาชีพที่มั่นคงและมีงานทำที่แน่นอน แต่เมื่อโอกาสมาถึงในจังหวะที่เหมาะสม ด้วยโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุนของรัฐบาล และด้วยความเป็นเด็กกิจกรรมที่มีผลการเรียนดีอยู่ในเกณฑ์ตามเงื่อนไขที่ทุนกำหนด จึงเกิดความพยายาม วิริยะอุตสาหะ มุ่งมั่น ตั้งใจที่จะสอบชิงทุนโอดอสมาให้ได้..." "...และเช่นเดียวกับนักเรียนทุนโอดอสอีกหลายคนที่ในระหว่างเรียนก็ต้องทำงานหารายได้พิเศษเพื่อส่งเงินกลับไปช่วยเหลือทางบ้าน รวมทั้งส่งน้องๆ เรียนหนังสืออีกด้วย จึงถือได้ว่าเธอเป็นเสาหลักคนหนึ่งของครอบครัวเลยทีเดียว..." "...ด้วยความสามารถทางภาษา ทำให้คุณปุ๊กได้ทำงานใกล้ชิดเป็นทั้งล่ามแปลภาษา และได้รับมอบหมายให้ตรวจสอบการแปลเอกสารและหนังสือสัญญาต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้นจึงได้รับผลตอบแทนทางรายได้ที่มากกว่าคนทั่วไปในวัยเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่เรียนจบมาจากมหาวิทยาลัยในประเทศ ส่งผลให้สามารถดูแลคนรอบข้างและผู้มีพระคุณได้มากขึ้น รวมทั้งเริ่มสร้างฐานะให้มีความมั่นคงในระดับหนึ่ง หรืออาจกล่าวได้ว่า เธอได้ลงมือปั้นดินให้เป็นดาวด้วยมือของตัวเอง,เจียระไนเพชรด้วยแรงกายแรงใจและความมุมานะบากบั่น เพราะเธอเชื่อว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จจะอยู่ที่นั่น คนเราต้องมีทัศนคติเชิงบวกที่ดีต่อชีวิต ต้องมีกำลังใจ มีความหวังและศรัทธาต่อตัวเองเสมอ..." "...ความยากลำบากในอดีตจะเป็นแรงผลักดันให้ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและอดทน ทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงสถานะทางสังคมได้ด้วยมือของตัวเอง อย่ายอมแพ้หรือท้อถอย หรือหมดกำลังใจไปเสียก่อนที่จะประสบความสำเร็จ ทุกคนต้องหาความถนัดของตัวเองให้พบและทำให้ดีที่สุด อย่าคาดหวังหรือพึ่งพาโชคชะตาที่ฟ้าลิขิตมากเกินไป และอย่าน้อยใจต่อชาติกำเนิดที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด เพราะทุกความสำเร็จนั้นเกิดขึ้นได้ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจจริง เธอจึงขอส่งต่อแรงบันดาลใจและเป็นกำลังใจให้น้องๆ ทุกคนใช้ความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อเดินตามหาความฝัน และไขว้คว้ามันด้วยมือของตัวเอง..." ทุนโอดอสนี้ เปรียบเสมือนเป็นสะพานเชื่อมโลกอันกว้างใหญ่ให้กับเด็กนักเรียนในต่างจังหวัด,ในถิ่นทุรกันดารที่อยู่ในป่าหรือหลังเขา ให้มุ่งหน้าไปสู่โลกาภิวัตน์และก้าวออกไปหาประสบการณ์ชีวิต ด้วยการเรียนรู้โลกใบใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม เรียนรู้วิถีชีวิตผู้คน วัฒนธรรม และประเพณีที่แตกต่าง พร้อมทั้งศึกษาองค์ความรู้สมัยใหม่เพื่อนำกลับมาพัฒนาประเทศชาติ ซึ่งในมุมมองเศรษฐศาสตร์แล้ว นี่ถือได้ว่า เป็นผลกระทบภายนอกเชิงบวกจากนโยบายใจกว้างทางการศึกษา โดยประเมินค่าในรูปผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล ทั้งในแง่การกระจายรายได้,การลดความเหลื่อมล้ำ,กระจายความกินดีอยู่ดีไปยังครอบครัวและเครือญาติในต่างจังหวัดของนักเรียนทุนโอดอสทุกคน แต่ในทางกลับกัน ถ้านักเรียนกลุ่มนี้ไม่มีโอกาสได้รับทุนโอดอส ปัจจุบันพวกเขาจะเติบโตขึ้นมามีชีวิตอย่างไร เรียนจบคณะอะไร ทำอาชีพแบบไหน ก็คาดคะเนได้ยากอย่างยิ่ง พวกเขาอาจจะรับช่วงอาชีพเกษตรกรต่อจากรุ่นพ่อรุ่นแม่ หรือรับมรดกสืบทอดความยากจนต่อจากบรรพบุรุษ,รับจ้างทำงานในท้องถิ่นของตนเอง,เข้ารับราชการตามหน่วยงานรัฐ หรือบากหน้าเข้ามาหางานทำในกรุงเทพฯ เป็นต้น แต่อนาคตที่หักเหและเบี่ยงเบนออกจากจุดเริ่มต้น และมุ่งหน้าไปสู่หนทางที่สดใสและดีกว่าเดิมเช่นนี้ นั่นก็เพราะ การได้รับทุนการศึกษาต่อต่างประเทศที่เปลี่ยนชีวิตไปทั้งชีวิต ซึ่งในขณะนั้น แม้แต่พวกเขาเองก็ไม่อาจคาดเดาหรือจินตนาการได้เลยว่า หากไม่ได้รับทุนดังกล่าวแล้ว ชีวิต ณ วันนี้จะเป็นอย่างไร แต่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่การหยิบยื่นโอกาสทางการศึกษาอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันเช่นนี้ ไม่สามารถยั่งยืนกลายเป็นนโยบายประจำปีงบประมาณได้ ต้องหยุดลงและขาดการต่อเนื่องในการดำเนินงาน เนื่องจากเกิดการปฏิวัติรัฐประหารมาถึง 2 ครั้ง ทั้งในปี พ.ศ. 2549 และ 2557 จึงทำให้การจัดสรรทุนโอดอสต้องหยุดชะงักลงโดยไม่ทราบสาเหตุ มีการเปลี่ยนแปลงแม้กระทั่งชื่อของทุน,เงื่อนไขการรับทุน,ระเบียบหลักเกณฑ์การสมัคร และแหล่งที่มาของเงินทุนไปจากเดิมด้วย ในขณะที่ทุนอื่นๆ สำหรับนักเรียนในเขตกรุงเทพฯ ยังคงมีอย่างต่อเนื่องตามปกติ ข้ออ้างสำคัญประการหนึ่งก็คือ งบประมาณมีไม่เพียงพอที่จะอุดหนุนทุนการศึกษาต่อต่างประเทศจำนวนมากในลักษณะนี้ให้กับลูกหลานชาวบ้านนอกเขตเมืองกรุง อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลเปิดโอกาสให้มีทุนการศึกษาต่อต่างประเทศเช่นนี้อีกครั้ง คนที่เตรียมความพร้อมไว้รอโอกาสจะสามารถไขว้คว้าหาโอกาสนั้นได้ทันที เพราะเป็นโอกาสเดียวที่จะเปลี่ยนแปลงอนาคตของเด็กคนหนึ่งในต่างจังหวัดไปตลอดกาล ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่สามารถพลิกผันชีวิตจากดินไปสู่ดาวเพียงชั่วรุ่นอายุคนหนึ่งเท่านั้น พร้อมทั้งสามารถนำพาตัวเองและคนรอบข้างให้หลุดพ้นจากกับดักความยากจนข้นแค้นได้ด้วยการศึกษา และลิขิตชะตาชีวิตได้ด้วยมือของตัวเอง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||
กวีประชาไท: ต้อนรับพรรคน้ำตาจระเข้ Posted: 04 Jun 2018 01:13 AM PDT น้ำตาคนหล่นรินไหลไปอาบแก้ม ปากหยาดแย้มย้อนแย้งย้ำน้ำตาหยด สมองสั่งดั่งใจคิดติดใจรส คิดกำหนดกำหนัดต้องตัดใจ ใช้สมองมากมายหมายอำนาจ ติดใจบาตรใหญ่ยิ่งกลิ้งเหมือนไข่ หลบข้างหลังบังกรรมที่ทำไว้ เชิดหุ่นใครใช้สมองปกป้องตน
รู้ทักษะจระเข้เร่กินคน เหยื่อไม่พ้นมันสมองของชนชั้น อันว่าความสามัคคีก็ดีอยู่ แต่พวกตูต้องเป็นใหญ่ใครอย่าฝัน ใครอื่นมาอย่าหวังพังทั้งนั้น พวกของฉันรักประชาฆ่ามาเยอะ
ในหัวใจ ใส่ริษยา พาเลือดเลอะ จะขอเถอะที่ทำมาพาขึ้นศาล อยากจะเห็นน้ำตาจระเข้เร่ร่ำไห้ รักคนไทยใช้กระสุนจริงยิงผ่าน ๆ น้ำตาอาบแก้มช้ำคำให้การ ขอโทษท่านพ่อแม่ที่ ฆ่าวีรชน
หลั่งน้ำตาจระเข้เร่กินคน ร่ายเวทย์มนต์ดลใจให้เลอะเลือน ครั้งต่อไปจะได้เห็นเป็นสุดท้าย มีที่หมายอยู่ที่ศาลท่านงำเงื่อน มีหัวใจไม่ใช้สมองต้องร้องเตือน หลายคนเหมือนมีที่ไปคล้ายกันเอย.
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||
ชี้แจงผลสอบ "บางรักซอย 9/1" กสทช.ย้ำไม่มีนโยบายส่งเสริมการใช้ถ้อยคำหยาบคาย Posted: 04 Jun 2018 12:06 AM PDT กสทช. ชี้แจงผลสอบ "บางรักซอย 9/1" ใช้คำว่า "เหี้ย" "ไอ้เหี้ย" "กู" และ "มึง" โดยเรียกบริษัทจีเอ็มเอ็มวันทีวี มาชี้แจงกับอนุกรรมการผังและเนื้อหารายการแล้ว ทางบริษัทยอมรับจะนำไปปรับปรุงแก้ไขและดูดเสียง ด้าน กสทช. ย้ำไม่ได้สนับสนุนให้มีการใช้ถ้อยคำหยาบคาย และมีการเฝ้าระวังผู้ผลิตรายการให้เป็นไปตามประกาศและกฎหมายอย่างเคร่งครัด บางรักซอย 9/1 (ที่มา: YouTube/One31) พล.ท.ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการ กสทช. (ที่มา: แฟ้มภาพ/กสทช.) 4 มิ.ย. 2561 ผู้สื่อข่าวได้รับหนังสือชี้แจงจาก พล.ท.ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กรณี ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต ได้ทำหนังสือร้องเรียนเนื้อหาละครเรื่อง บางรักซอย 9/1 นั้น โดยทาง กสทช. ชี้แจงในรายละเอียดตามลำดับขั้น ดังนี้ 1. ผศ. ดร. วรัชญ์ ครุจิต มีหนังสือร้องเรียน 12 ธันวาคม 2560 ให้ตรวจสอบช่อง ONE 31 รายการออกอากาศช่วง 19.00– 20.00 น. มีการใช้คำไม่เหมาะสม เช่นตัวละครพูดว่า "พี่คิดว่าผมเป็นผู้ชายเหี้ยๆ คนนึงก็พอ" ตัวละครที่ชื่อเอิร์ธ พูดว่า "กูคงให้ไอซ์ไปคบกับไอ้เหี้ยทอมแทน" และพบคำว่า "กู"และ "มึง" จำนวนมาก 2. สำนักงาน กสทช. โดย สำนักกำกับผังและเนื้อหารายการฯ นำเข้าสู่การพิจารณาของอนุกรรมการผังและเนื้อหารายการ ครั้งที่ 48/2560 เมื่อวันอังคารที่ 26 ธันวาคม 2560 และอนุกรรมการมีมติรับเรื่องไว้พิจารณาและให้เรียกบริษัท จีเอ็มเอ็มวันทีวี จำกัด เข้าชี้แจงข้อเท็จจริง 3. บริษัทฯได้เข้าชี้แจงต่อคณะอนุกรรมการผังและเนื้อหารายการ ในคราวประชุมวันที่16 มกราคม 2561 ที่ประชุมสรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้ - บริษัทฯ ยอมรับว่า บางถ้อยคำเป็นคำพูดที่วัยรุ่นพูดกันในชีวิตจริง แต่อาจไม่เหมาะสมในการออกอากาศ บริษัทฯ ยอมรับ และจะนำไปปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับระดับความเหมาะสม พร้อมดำเนินการดูดเสียงหรือตัดฉากที่มีถ้อยคำรุนแรงเกินไปออก - สำหรับการใช้คำบางคำ เช่นคำที่ใช้กันในสมัยโบราณ ตามประกาศ กสทช.ว่าด้วยการจัดระดับความเหมาะสมของรายการนั้น ได้กำหนดให้พิจารณาถึงบริบทที่เกี่ยวข้อง ซึ่งที่ประชุมคณะอนุกรรมการได้พิจารณาด้วยความรอบคอบก่อนมีมติ - ที่ประชุมอนุกรรมการมีมติว่า รายการละครดังกล่าว มีการใช้ถ้อยคำที่ไม่เหมาะสมจริง เมื่อบริษัทฯ ได้ยอมรับว่าจะปรับปรุงแก้ไขฉากที่มีการใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสม และจะขึ้นข้อความเตือนในฉากที่อาจมีความล่อแหลม จึงเห็นว่ามีความผิดแต่สามารถตักเตือนได้ พร้อมกำชับให้บริษัทฯใช้ความระวังวังเกี่ยวกับเรื่องภาษาและความรุนแรงในการผลิตรายการ 4. สำนักงาน กสทช. นำกรณีดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ พิจารณาให้ความเห็นตามความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ และนำเสนอกรรมการ กสทช. เพื่อพิจารณาเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 กรรมการ กสทช. มีมติเห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการฯ เสนอ คือเมื่อบริษัทฯ ยอมรับและนำไปดำเนินการปรับปรุง จึงเห็นควรยุติเรื่อง 5. กสทช. ขอเรียนว่า กสทช. ไม่ได้กำหนดมาตรฐานใดๆ ที่เป็นการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการใช้ถ้อยคำหยาบ คำไม่สุภาพ หรือความรุนแรงในรายการ อีกทั้งยังเฝ้าระวัง กวดขันให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการผลิตรายการและการกำหนดระดับความเหมาะสมของรายการให้เป็นไปตามประกาศและกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด สำหรับมาตรการกำกับดูแลที่ผ่านมา ในชั้นต้นจะใช้วิธีการตักเตือนและขอความร่วมมือ ก่อนการบังคับใช้กฎหมายและออกคำสั่งทางปกครองตามลำดับขั้น จึงใคร่ขอความร่วมมือสื่อมวลชน ชี้แจงข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น