โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com

Link to ประชาไท

นิติรัฐที่พังทลาย : รายงาน 4ปี สิทธิมนุษยชนภายใต้ คสช. และผลพวงรัฐประหารต่อสังคมไทย 2

Posted: 18 Jun 2018 09:27 AM PDT

ในรายงาน "นิติรัฐที่พังทลาย" ตอนที่ 2 นี้เนื้อหายังคงอยู่ในประเด็นที่ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา คสช.ได้สร้างผลพวงอะไรไว้บ้างในระบอบการเมืองและกฎหมายที่จะส่งผลต่อไปในภายภาคหน้า แม้ว่าอาจจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นและ คสช.อาจจะไม่อยู่แล้วหรืออยู่ในรูปแบบอื่น เช่น นายกฯ คนนอกหรือได้เป็นพรรครัฐบาล แต่ระบบที่ คสช.ได้วางเอาไว้จะยังคงอยู่ต่อไป


2. การสถาปนาการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จของคณะรัฐประหารให้อยู่อย่างถาวรในรัฐธรรมนูญ

ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งหลังรัฐประหารครั้งนี้ คือการที่คณะรัฐประหารสร้างและผลักดันการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ ซึ่งเป็นอำนาจในภาวะยกเว้นชั่วคราวระหว่าง "สถานการณ์ฉุกเฉิน" ให้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ (Constitutionalization of Absolutism)

ระบบกฎหมายในการปกครองแบบนิติรัฐต้องประกันสิทธิเสรีภาพของบุคคล และการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ รวมถึงต้องเคารพต่อกฎหมายอย่างเคร่งครัดทั้งในทางรูปแบบและเนื้อหา มีกลไกตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายและความรับผิดของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติโดยองค์กรตุลาการ รวมถึงมีเส้นแบ่งที่ชัดเจนระหว่างภารกิจการบังคับใช้กฎหมายภายในประเทศของฝ่ายพลเรือน อย่างฝ่ายปกครอง ตำรวจ ศาลยุติธรรม และภารกิจในการรักษาความมั่นคงภายในรัฐ-การป้องกันประเทศของทหาร รวมถึงความเป็นใหญ่ของพลเรือนเหนือทหาร (Civilian Supremacy)

หากบางช่วงเวลา เมื่อเกิดสถานการณ์ที่กระทบต่อการดำรงอยู่ของรัฐ เช่น ภัยพิบัติสาธารณะ โรคระบาด สงคราม จลาจล การก่อการร้าย เป็นต้น แม้มีข้อถกเถียงอยู่มาก แต่บางระบบกฎหมายก็ยินยอมให้มีการเปลี่ยนมาใช้ระบบกฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นระบบชั่วคราว เพื่อแก้ไขสถานการณ์ให้จบลง รักษาความสงบเรียบร้อย และรักษาระบบกฎหมายปกติไว้ ระบบกฎหมายเช่นนี้ยินยอมให้ลดระดับความเข้มข้นในการประกันสิทธิเสรีภาพของบุคคลลง บางกรณีฝ่ายบริหารจะมีอำนาจเพิ่มมากขึ้น รวมถึงสามารถก้าวล่วงเข้าไปใช้อำนาจนิติบัญญัติได้ ส่วนองค์กรตุลาการจะไม่ใช้ความชอบด้วยกฎหมายในสถานการณ์ปกติเป็นฐานตรวจสอบการกระทำของฝ่ายบริหาร บางครั้งการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายก็อาจหลุดพ้นจากความรับผิด ท้ายที่สุด บางระบบกฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉิน จะอนุญาตให้โอนภารกิจการบังคับใช้กฎหมายภายในประเทศที่เป็นของพลเรือนให้ทหารเป็นการชั่วคราวได้

ระบบกฎหมายอำนาจเบ็ดเสร็จของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แม้ คสช. จะทำการรัฐประหาร โดยอ้างความสงบเรียบร้อยของประเทศ จนคล้ายกับว่าการใช้อำนาจพิเศษของ คสช. ทั้งในรูปแบบคำสั่ง/ประกาศ คสช. กฎหมายจาก สนช. และรัฐธรรมนูญ มีลักษณะสอดคล้องกับระบบกฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีขึ้นเพื่อพิทักษ์ระบบกฎหมายปกติและความสงบเรียบร้อย แต่หากพิจารณาโดยละเอียดจะพบความแตกต่างระหว่างระบบกฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉินกับระบบกฎหมายของ คสช. ด้วยกันสี่ประการ ดังต่อไปนี้

ประการที่ 1 ที่มาของระบบกฎหมาย กล่าวคือ คสช. ทำรัฐประหารและทำลายระบบกฎหมายเดิมลง ผ่านการออกประกาศคณะรัฐประหาร ยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 คณะรัฐมนตรี และรัฐสภา ไม่ได้มาจากการงดเว้นการบังคับใช้ระบบกฎหมายปกติลงชั่วคราว เช่นในระบบกฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉินแต่อย่างใด

ประการที่ 2 เนื้อหาของระบบกฎหมาย กล่าวคือ เนื้อหาของระบบกฎหมายของ คสช. มีลักษณะให้อำนาจรวมศูนย์ ทั้งบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ อยู่ที่องค์กรเดียวเบ็ดเสร็จ โดยอำนาจดังกล่าวไม่อาจถูกตรวจสอบได้ และผู้ใช้อำนาจไม่ต้องรับผิดต่อการใช้อำนาจดังกล่าว ซึ่งขั้นตอนการทำให้อำนาจลักษณะนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบกฎหมาย สามารถแบ่งออกเป็นสามช่วง ตามเหตุการณ์สำคัญทางกฎหมายเป็นเกณฑ์ กล่าวคือ

ระยะแรก ระหว่างวันที่ 22 พ.ค. 2557 ถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 เป็นช่วงที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 หรือระบบกฎหมายเดิมถูกยกเลิก และอยู่ในช่วงรอยต่อระหว่างที่ คสช. ยังมิได้สร้างระบบกฎหมายขึ้นมาใหม่ ในช่วงนี้ระบบประกันสิทธิเสรีภาพของบุคคลตามกฎหมายรัฐธรรมนูญจึงถูกยกเลิกทั้งหมด คสช. ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จที่ได้มาจากการทำรัฐประหาร ปกครองและสั่งการองค์กรของรัฐและบุคคลในรูปแบบของประกาศ คสช. จำนวน 122 ฉบับ และคำสั่ง คสช. จำนวน 178 คำสั่ง

ระยะที่สอง นับตั้งแต่ประกาศรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2557 ถึงก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 เป็นช่วงเวลาที่ระบบกฎหมายชั่วคราวถูกสร้างขึ้นในรูปแบบของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว  รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้แปรสภาพการใช้อำนาจในช่วงระยะแรกของ คสช. ให้เข้ามาอยู่ในระบบกฎหมายชั่วคราว ตั้งแต่การบัญญัติรับรองให้การรัฐประหารไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย (มาตรา 48) รับรองให้คำสั่ง/ประกาศ คสช. มีสถานะบังคับใช้เป็นกฎหมายสมบูรณ์ (มาตรา 47) และทำให้อำนาจเบ็ดเสร็จที่มาจากรัฐประหารของ คสช. กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบกฎหมายชั่วคราวต่อไป ผ่านการให้อำนาจหัวหน้า คสช. ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ตามมาตรา 44

ระยะที่สาม หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 (ประกาศใช้วันที่ 6 เม.ย. 2560) กล่าวคือ แม้ประกาศใช้ "รัฐธรรมนูญฉบับถาวร" แล้ว แต่อำนาจเบ็ดเสร็จของหัวหน้า คสช. ตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ แม้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรจะรับรองสิทธิเสรีภาพไว้ในบทบัญญัติ แต่การใช้อำนาจที่มุ่งสนองเป้าหมายความมั่นคงของรัฐดังกล่าว ก็ดำรงอยู่เหนือสิทธิเสรีภาพของบุคคล โดยกำหนดให้รัฐสามารถอ้างความมั่นคงของรัฐที่มีลักษณะเป็นถ้อยคำกว้างๆ และเปิดโอกาสให้ใช้ดุลพินิจเข้าแทรกแซงสิทธิเสรีภาพของบุคคลได้ตามอำเภอใจ

ประการที่ 3 การตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายและความรับผิดจากการใช้อำนาจ กล่าวคือ แม้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแล้ว และมีการรับรองสิทธิเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อน รวมถึงพันธกรณีระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี แต่บรรดาสิทธิเสรีภาพดังกล่าวก็ถูกยกเว้นการบังคับใช้ตั้งแต่ต้น เพราะระบบกฎหมายแบบอำนาจเบ็ดเสร็จของ คสช. ถูกออกแบบขึ้นโดยไม่ให้มีกลไกที่บุคคลสามารถตรวจสอบเนื้อหาและรูปแบบของกฎหมายที่ออกโดย คสช. และการปฏิบัติตามคำสั่ง/ประกาศ คสช. ว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลหรือไม่ รวมไปถึงไม่สามารถเอาผิดทางอาญากับบุคคลที่กระทำรัฐประหารได้

ประการที่ 4 ระยะเวลาการดำรงอยู่ กล่าวคือ ระบบกฎหมายเบ็ดเสร็จของ คสช. ข้างต้น จะมิได้ดำรงอยู่เพียงชั่วคราวและสิ้นสุดไปเมื่อเข้าสู่ระบบกฎหมายใหม่ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 แต่จะดำรงอยู่อย่างถาวรไม่สิ้นสุด เนื่องจากผลของมาตรา 279 ของรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน แม้จะมีระบบกฎหมายใหม่ที่มีการรับรองสิทธิเสรีภาพของบุคคลแล้ว แต่ประกาศ/คำสั่ง คสช. หรือคำสั่งหัวหน้า คสช. ทั้งหมดก็ยังมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย และไม่อาจถูกตรวจสอบได้เช่นเดิมต่อไป

จากข้อแตกต่างทั้งสี่ประการ สรุปได้ว่าระบบกฎหมายเบ็ดเสร็จไม่ได้มีลักษณะเป็นระบบกฎหมายในที่บังคับใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินเพียงชั่วคราว แต่เป็นระบบกฎหมายที่ คสช. มุ่งทำลายระบบกฎหมายเดิมลงและแปรสภาพการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จที่ปลอดการตรวจสอบและไม่ต้องรับผิด ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งที่จะดำรงอยู่อย่างถาวรต่อไปในระบบกฎหมายปกติ แม้ว่าอำนาจของ คสช. จะสิ้นสุดไปก็ตาม  และเมื่อพิจารณาประกอบกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 255-256 ซึ่งกำหนดเงื่อนไขทางกฎหมายในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ยากยิ่ง จนอาจไม่สามารถแก้ไขได้ในความเป็นจริง ย่อมสันนิษฐานได้ว่า คสช. ประสงค์ให้มรดกชิ้นนี้ดำรงอยู่กับสังคมไทยต่อไป


3. การใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการยกเว้นสิทธิเสรีภาพของบุคคล

การปกครองโดย "กฎหมาย" แบบ คสช. มีความแตกต่างประการสำคัญของรัฐที่เป็นนิติรัฐ กับรัฐภายใต้การปกครองแบบอำนาจเบ็ดเสร็จ คือรัฐที่เป็นนิติรัฐ (Rule of Law) เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ใช้อำนาจล่วงล้ำแดนสิทธิเสรีภาพของบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย มีกฎหมายให้อำนาจไว้ และเป็นไปโดยสมควรแก่เหตุ รัฐที่เป็นนิติรัฐยังให้ความสำคัญกับเนื้อหาของกฎหมาย โดยมีหลักประกันสิทธิเสรีภาพของบุคคลไว้ และรับรองสิทธิในการนำคดีมาฟ้องต่อศาล เพื่อให้ศาลที่เป็นอิสระและเป็นกลางเข้ามาตรวจสอบว่ากฎหมายหรือการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐมีเนื้อหาเป็นการละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนหรือไม่  แต่รัฐภายใต้การปกครองแบบอำนาจเบ็ดเสร็จอย่างในยุค คสช. แม้จะอ้างว่าเป็นการดำเนินการตามกฎหมาย แต่โดยเนื้อหาแล้วเป็นการปกครองที่แปลงอำนาจเบ็ดเสร็จและไม่อาจตรวจสอบได้ของคณะรัฐประหารให้อยู่ในรูปของตัวบทแบบ "กฎหมาย" เพื่อใช้เป็นเครื่องมือปกครองและยกเว้นสิทธิเสรีภาพของบุคคล ทั้งศาลในฐานะองค์กรทางตุลาการยังเข้าไปรับรองและมีบทบาททำให้แนวทางการใช้กฎหมายของ คสช. ได้รับความชอบธรรมและดำเนินต่อไปอีกด้วย

ลักษณะการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการยกเว้นสิทธิเสรีภาพของบุคคลโดย คสช. ออกมาในรูปแบบ 3 ลักษณะ ดังต่อไปนี้

ลักษณะที่ 1 การเปลี่ยนอำนาจของ คสช. ที่ได้มาโดยมิชอบและไม่ยึดโยงกับประชาชนตามหลักการประชาธิปไตยให้เป็น "กฎหมาย" เพื่อสร้างความชอบธรรมว่ามีลักษณะเป็นการปกครองโดยกฎหมายหรือนิติรัฐ มิใช่การใช้อำนาจโดยอำเภอใจของกองทัพ ผ่านวิธีการ 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบแรก การใช้อำนาจเบ็ดเสร็จให้รูปแบบคำสั่ง/ประกาศ คสช. หรือหัวหน้า คสช. พร้อมกับให้มาตรา 44 และมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 และมาตรา 279 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 รับรองให้มีสถานะเป็นกฎหมาย ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นที่สุด และรูปแบบที่สอง ให้ สนช. ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งและแต่งตั้งโดย คสช. ทำหน้าที่ตรากฎหมายเสมือนรัฐสภาในสถานการณ์ปกติ

ลักษณะที่ 2 เจ้าหน้าที่รัฐและศาลบังคับใช้กฎหมายของ คสช. ในลักษณะเป็นการควบคุมสังคม เพื่อรักษาความมั่นคงของ คสช. และจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่เป็นปรปักษ์ทางการเมืองกับ คสช. ทำให้การใช้สิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญและพันธกรณีระหว่างประเทศ กลายเป็นความผิดทางอาญา ป้องปรามมิให้บุคคลแสดงออกซึ่งการต่อต้านการรัฐประหาร หรือคัดค้าน คสช.

ลักษณะที่ 3 การใช้และตีความกฎหมายที่มีอยู่เดิม ในลักษณะปิดกั้นการใช้สิทธิเสรีภาพของบุคคล โดยกฎหมายสำคัญที่ถูกใช้ในลักษณะนี้ เช่น ข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา, ข้อหายุยงปลุกปั่น ตามมาตรา 116 ประมวลกฎหมายอาญา, พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ หรือข้อหาดูหมิ่นศาล ก่อให้เกิดการตีความกฎหมายที่กว้างกว่าตัวบท และก่อให้เกิดความไม่แน่นอนในขอบเขตของกฎหมาย หลายการกระทำที่ไม่น่าเป็นความผิดตามกฎหมายในสภาวะปกติกลับถูกกล่าวหาดำเนินคดี ทำให้บุคคลไม่อาจทราบได้ล่วงหน้าว่าการกระทำใดบ้างที่เป็นความผิดทางกฎหมาย ส่งผลให้เกิดความหวาดกลัวที่จะใช้สิทธิเสรีภาพของบุคคล และยุติการใช้เสรีภาพด้วยตัวเองในที่สุด


4. บทบาทของสถาบันตุลาการในฐานะผู้พิทักษ์การรัฐประหารและผลพวงทางกฎหมายของ คสช.

บทบาทสถาบันตุลาการในประเทศไทยต่อการรัฐประหารและการรักษาผลพวงทางกฎหมายของคณะรัฐประหารไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ แต่เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่สืบมาอย่างต่อเนื่อง โดยอาจพิจารณาบทบาทด้านนี้ของสถาบันตุลาการได้จากผลของคำพิพากษาใน 4 ประการ

ประการที่ 1 ผลของคำพิพากษาที่รับรองความสมบูรณ์ของการรัฐประหารของ คสช.

เงื่อนไขสำคัญที่จะตัดสินได้ว่าการรัฐประหารสำเร็จหรือไม่ โดยมากมักจะพิจารณาว่าเมื่อทำลายระบบกฎหมายเดิมลงแล้ว คณะรัฐประหารสามารถก่อตั้งระบบกฎหมายใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ กล่าวคือบุคคลหรือองค์กรของรัฐยอมรับและปฏิบัติตามระบบกฎหมายใหม่หรือไม่ แม้เบื้องต้นจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องดูว่าการรัฐประหารดังกล่าวมีประชาชน หรือองค์กรของรัฐ รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปฏิเสธการรัฐประหารและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะรัฐประหารอยู่หรือไม่  แต่ในทางกฎหมาย มีปัญหาว่าองค์กรใดจะเป็นผู้วินิจฉัยรับรองความสำเร็จของการรัฐประหาร ว่าได้ทำลายระบบกฎหมายเดิมจนสิ้นสภาพลงแล้ว และระบบกฎหมายใหม่ได้รับการสถาปนาสำเร็จ

สำหรับการรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 ศาลยุติธรรมมีส่วนสำคัญอย่างมากในการเป็นผู้วินิจฉัยประเด็นเหล่านี้ กรณีสำคัญคือคดีที่นายสมบัติ บุญงามอนงค์ ถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืนไม่มารายงานตัวต่อ คสช. คดีนี้ต่อสู้ว่าขณะที่ คสช. เรียกจำเลยรายงานตัว การรัฐประหารยังไม่แน่ชัดว่าจะสำเร็จหรือไม่ เนื่องจากพระมหากษัตริย์ยังไม่มีพระบรมราชโองการรองรับสถานะของ คสช. แต่อย่างใด ศาลฎีกาในคดีนี้พิพากษารับรองว่าการรัฐประหารของ คสช. สำเร็จแล้ว เนื่องจากไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่ามีประชาชนหรือองค์กรของรัฐต่อต้านการรัฐประหาร จน คสช. ไม่อาจบริหารประเทศได้ ระบบกฎหมายเดิมสิ้นสภาพผ่านการยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 คสช. มีฐานะเป็นรัฎฐาธิปัตย์และเป็นผู้ใช้อำนาจรัฐได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 3578/2560)

ประการที่ 2 ผลของคำพิพากษาที่ทำให้การใช้อำนาจของ คสช. ในรูปแบบคำสั่ง/ประกาศ และพระราชบัญญัติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นส่วนหนึ่งในระบบกฎหมาย

การที่ศาลยอมรับและปฏิบัติตามคำสั่ง/ประกาศของ คสช. และหัวหน้า คสช. รวมถึงบรรดาพระราชบัญญัติของ สนช. คำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวย่อมส่งผลรับรองให้ผลผลิตของการใช้อำนาจของคณะรัฐประหารเหล่านี้มีสถานะเป็น "กฎหมาย" ขึ้นมา หลังการรัฐประหาร สถาบันตุลาการทั้งศาลยุติธรรมและศาลทหารมีส่วนสำคัญอย่างมากในการนำผลผลิตจากการใช้อำนาจของ คสช. มาบังคับใช้เป็นกฎหมายหรือรับรองให้มีสถานะทางกฎหมาย เช่น ศาลยุติธรรมและศาลทหารนำประกาศหรือคำสั่ง รวมถึงพระราชบัญญัติที่ตราขึ้นโดย สนช. ได้แก่ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 และ พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 เป็นต้น มาพิจารณาลงโทษบุคคล หรือมีความเห็นรับรองว่าประกาศ คสช. มีสถานะเป็นกฎหมาย

ประการที่ 3 ผลคำพิพากษาที่สร้างผู้ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพจากการใช้อำนาจของ คสช.

การที่ศาลนำบรรดาคำสั่ง/ประกาศ คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. รวมถึงพระราชบัญญัติที่ตราโดย สนช. ที่ส่งผลละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคล มาบังคับใช้หรือรับรองให้มีสถานะทางกฎหมาย ผลของคำสั่งหรือคำพิพากษาดังกล่าวย่อมเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลโดยตัวเองอยู่แล้ว เช่น การพิพากษาลงโทษบุคคลที่ใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ โดยวินิจฉัยตามประกาศ คสช. ที่ 7/2557 หรือคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 รวมถึง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 หรือการรับรองให้เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยมีอำนาจควบคุมตัวบุคคลตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ได้ เป็นต้น

ประการที่ 4 ผลคำพิพากษาที่สร้างเอกสิทธิ์คุ้มครองให้ คสช. และการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติตามคำสั่ง/ประกาศของ คสช. ให้ลอยนวลพ้นผิด (Impunity) และปลอดจากการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมาย โดยอาจแยกพิจารณาได้เป็น

การกระทำแรก คือ การทำรัฐประหารของ คสช. โดยสภาพแล้วการกระทำดังกล่าวย่อมถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 แต่เมื่อ คสช. ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 กลับบัญญัติมาตรา 48 นิรโทษกรรมให้กับการกระทำความผิดของตนเอง

นักกิจกรรมกลุ่ม "พลเมืองโต้กลับ" เคยยื่นฟ้อง คสช. ในข้อหาประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 และมาตรา 114 แต่ปรากฏว่าศาลอาญาพิพากษายกฟ้องโดยอ้างเหตุผลว่ารัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2557 มาตรา 48 ยกเว้นความผิดให้การกระทำดังกล่าวแล้ว ต่อมาศาลอุทธรณ์ก็วินิจฉัยยกฟ้องด้วยเหตุผลแบบเดียวกัน ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างฎีกา

การกระทำที่สอง คือ บรรดาคำสั่ง/ประกาศ คสช. ที่ออกก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญ หลังรัฐประหาร คสช. ได้ออกประกาศ คสช. ฉบับที่ 37/2557 และฉบับที่ 38/2557 กำหนดให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาคดีพลเรือนในความผิดบางประเภท เมื่อประชาชนจำนวนหนึ่งเห็นว่าคดีของตนไม่ควรอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลทหาร จึงยื่นคำร้องให้ศาลทบทวนความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและพันธกรณีระหว่างประเทศของประกาศทั้งสองฉบับ ผ่านสองช่องทาง ได้แก่ การขอให้ศาลทหารส่งประกาศดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่  กับการวินิจฉัยขี้ชาดเขตอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล

ในส่วนช่องทางแรก ศาลทหารยกคำร้องทั้งหมด โดยระบุว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดช่องทางตามกฎหมาย ให้ศาลทหารส่งเรื่องถึงศาลรัฐธรรมนูญได้ พร้อมวินิจฉัยในคำสั่งทั้งหมดว่าประกาศทั้งสองฉบับมีเนื้อหาชอบด้วยกฎหมาย ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และเป็นที่สุด เนื่องจากมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 รับรองเอาไว้  ส่วนช่องทางที่สองก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน นอกจากนี้ คดีที่นายวัฒนา เมืองสุข ยื่นฟ้องเพิกถอนประกาศ คสช. ฉบับที่ 21/2557 ซึ่งห้ามนายวัฒนาและบุคคล 155 รายออกนอกประเทศ ต่อศาลปกครอง ทั้งศาลปกครองกลางและศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับฟ้อง โดยวินิจฉัยและให้เหตุผลเช่นเดียวกับศาลทหาร

การกระทำที่สาม คือ การออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557  ซึ่งศาลปรับใช้มาตรา 44 ในทำนองเดียวกับมาตรา 47 เพื่อละเว้นการตรวจสอบการกระทำดังกล่าว เช่น กรณีศาลปกครองกลางไม่รับพิจารณาคำฟ้องที่ขอให้ศาลตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 24/2558 เรื่องการแก้ไขการประมงที่ผิดกฎหมาย (คำสั่งหมายเลข 1938/2558) และกรณีศาลปกครองสูงสุด ไม่รับพิจารณาคำฟ้องที่ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 4/2559 เรื่องการยกเว้นการใช้บังคับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสำหรับการประกอบกิจการบางประเภท (คำสั่งที่ ฟส.8/2559)

สุดท้าย การกระทำที่สี่ คือ การใช้อำนาจตามคำสั่ง/ประกาศ คสช. และหัวหน้า คสช. ของเจ้าหน้าที่รัฐไม่ว่าจะเป็นฝ่ายปกครอง ตำรวจ หรือทหาร การคุ้มครองเอกสิทธิ์ในส่วนนี้ปรากฏอย่างเด่นชัดในคดีที่บุคคลซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวเป็นระยะเวลา 7 วัน ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558  ญาติของผู้ถูกควบคุมตัวเคยยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาอาญา มาตรา 90 ต่อศาลอาญา เพื่อขอให้ไต่สวนว่าการควบคุมตัวดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แต่ศาลก็วินิจฉัยไปในแนวทางเดียวว่า ทหารมีอำนาจตามคำสั่งดังกล่าว และเป็นการควบคุมตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย

 

ที่มา: www.tlhr2014.com/th/?p=7792

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เทียบเส้นทางฟ้อง‘คนสั่ง’สลายชุมนุมเหลือง-แดง ก่อน ป.ป.ช.ตอบรื้อไม่รื้อคดีปี 53

Posted: 18 Jun 2018 09:12 AM PDT

จับตา 21 มิ.ย. เลขาฯ ป.ป.ช.เผยจะมีการแถลง ป.ป.ช.รื้อคดีฟ้องอภิสิทธิ์-สุเทพ ผิด ม.157 สลายการชุมนุม นปช.ปี 53 ที่ป.ป.ช.ปัดตกไปแล้วอีกรอบหรือไม่ / การฟ้อง "ผู้สั่งการ" สลายการชุมนุมนั้นมีเส้นทางอันสลับซับซ้อนและยาวนานจนคนอาจลืมเลือน รายงานนี้จะไล่เรียงลำดับเส้นทางของกรณีพันธมิตรฯ ปี 51 และเส้นทางอันคดเคี้ยวเลี้ยวลดชนิดไม่เห็นฝั่งของ นปช.ปี 53

18 มิ.ย.2561 นายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการพิจารณาคำร้องการสลายการชุมนุมของนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ว่า ทาง ป.ป.ช.ก็จะนำคำอุทธรณ์และข้อมูลที่มีการยื่นมาใหม่นั้นมาเปรียบเทียบกับสำนวนเดิมที่ ป.ป.ช.เคยมีมติยกคำร้องไปแล้วเพื่อดูว่าเป็นข้อมูลเดิมหรือข้อมูลใหม่เพิ่มเติม รวมทั้งมีการนำไปเปรียบเทียบกับสำนวนการพิจารณาคดีสลายการชุมนุมพันธมิตรฯ เมื่อปี 2551 ด้วยซึ่งในส่วนนี้ทางสำนักงานได้สรุปข้อมูลเรียบร้อยแล้ว และจะเสนอให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาในวันที่ 21 มิ.ย.นี้ รวมทั้งแถลงผลให้สื่อทราบในวันเดียวกัน ส่วนกรณีความคืบหน้าการตรวจสอบเรื่องนาฬิกาหรูของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ นั้น วรวิทย์กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า อย่าเพิ่งถามเรื่องนี้ รอให้มีการแถลงทีเดียว

ก่อนหน้านี้ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ได้แต่งตัวเป็นผู้ไร้ที่พึ่งเดินทางมาประท้วง ป.ป.ช. เพราะ 8 ปีคดีคนเสื้อแดงไม่คืบหน้า ที่ผ่านมาได้ยื่นข้อมูลหลักฐานเพิ่มเติมขอให้รื้อฟื้นการไต่สวนใหม่นั่นคือ กรณีที่ป.ป.ช.ส่งเรื่องการสลายการชุมนุมของพันธมิตรฯ โดยการสั่งการภายใต้รัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ไปให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจนกระทั่งศาลสั่งยกฟ้อง และป.ป.ช.ก็ยื่นอุทธรณ์อีก  

เรียกว่าเป็นการเปิดประเด็นตั้งคำถามเปรียบเทียบถึงความ active ที่แตกต่างกันของ ป.ป.ช. ในคดีเหลือง-แดง

หากไล่เรียงดูรายละเอียดเปรียบเทียบการทำงานของสองคดีนี้ของ ป.ป.ช. จะพบว่า นี่เป็นคดีที่ฟ้องผู้นำทางการเมืองและผู้รับผิดชอบในการสลายการชุมนุมเหมือนกัน อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ข้อหาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ส่วนช่องทางการเอาผิดนั้น เริ่มจากผู้ร้องยื่นเรื่องที่ป.ป.ช.จากนั้น ป.ป.ช.จะมีการชี้มูลความผิดเพื่อส่งต่อให้อัยการสูงสุด (อสส.) พิจารณาสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องต่อไปยัง ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อรับคำพิพากษาในท้ายที่สุด

เส้นทางฟ้องผู้สั่งการคดีสลายการชุมนุมพันธมิตรฯ 51

กรณีการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ในปี 2551 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 2 รายและบาดเจ็บกว่า 400 ราย หลังจากมีผู้ร้องและ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดแล้ว นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุดพิจารณาอยู่สักพักก่อนจะทำความเห็นว่าสำนวนยังมีข้อไม่สมบูรณ์ จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่าง อัยการ และ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณา ซึ่งสุดท้ายได้ข้อสรุปว่าคดีนี้ยังมีข้อไม่สมบูรณ์ อัยการจึงสั่งไม่ฟ้อง จากนั้น ป.ป.ช.ยื่นฟ้องต่อศาลเอง มีจำเลย 4 รายคือ สมชาย วงศ์สวัสิด์ นายกฯ, พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกฯ, พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ก่อนที่สุดท้ายศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งนักการเมืองจะพิพากษายกฟ้อง (อ่านที่นี่) ต่อมา ป.ป.ช.มีมติยื่นอุทธรณ์ โดยอุทธรณ์ในส่วนของ พล.ต.ต.สุชาติ ผู้บังคับบัญชาหน่วยปฏิบัติการเพียงรายเดียว จากนั้นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตั้งองค์คณะมาพิจารณา เรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณา

เส้นทางฟ้องผู้สั่งการสลายการชุมนุม นปช.53

กรณีการสลายการชุมนุมของ นปช.ปี 2553 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตกว่า 90 ราย บาดเจ็บกว่า 2,000 คน การฟ้องคดีแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก และคำอธิบายก็ออกจะยาวเสียหน่อยเพราะมีความสลับซับซ้อนกว่า

ส่วนแรกคือ การฟ้องผู้ออกคำสั่งสลายการชุมนุม คือ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และสุเทพ เทือกสุบรรณ  กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งขณะนั้นธาริต เพ็งดิษฐ์ เป็นอดิบดีได้ยื่นฟ้องต่ออัยการสูงสุดและอัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้องทั้งสองคนในข้อหาร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าและพยายามฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล ต่อมาศาลอาญายกฟ้องโดยระบุว่า เรื่องดังกล่าวเป็นความผิดตามอำนาจหน้าที่ราชการ ไม่อยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลอาญา พูดง่ายๆ ว่าต้องไปฟ้องตาม มาตรา 157 ละเว้นหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กับป.ป.ช. อย่างไรก็ตาม คดีนี้น่าสนใจมากตรงที่ นายธงชัย เสนามนตรี อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ได้มีความเห็นแย้งไว้ในสำนวน โดยระบุว่าคดีนี้ไม่ใช่เรื่องการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และเป็นคดีในเขตอำนาจของศาลอาญา

"แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องในตอนแรกว่าจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าพนักงาน แต่ก็เป็นเพียงคำบรรยายเพื่อให้ปรากฏที่มาของการใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดเท่านั้น การที่เจ้าพนักงานใช้อาวุธสงครามยิงผู้ตายย่อมเป็นการกระทำนอกเหนือตำแหน่งหน้าที่ราชการของจำเลยทั้งสอง โดยคำฟ้องระบุว่าจำเลยที่ 2 มีคำสั่งอนุมัติใช้อาวุธและกระสุนจริงรวมทั้งพลแม่นปืนปฏิบัติหน้าที่ จำเลยทั้งสองมีเจตนาเล็งเห็นผลว่าเจ้าพนักงานจะใช้อาวุธสงครามยิงประชาชนได้ จึงเป็นเรื่องการกระทำนอกเหนือตำแหน่งราชการ เป็นการก่อหรือใช้ให้เจ้าพนักงานกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ส่วนพยานหลักฐานจะรับฟังได้หรือไม่เพียงใดก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง" ตอนหนึ่งของความเห็นแย้งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาระบุ (อ่านความเห็นแย้งทั้งหมดที่นี่)

จากนั้นทนายและญาติผู้เสียชีวิตปี 2553 ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ผู้เสียยื่นฎีกา ศาลฎีกาก็พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ว่าไม่ใช่การกระทำทางอาญาที่กระทำโดยส่วนตัวดังนั้นจึงเป็นการกระทำที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งราชการ จากนั้นเรื่องจึงไปที่ ป.ป.ช. โดยมีการกล่าวหา อภิสิทธิ์ สุเทพ และพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ว่ามีความผิดตาม ม.157 สุดท้าย ป.ป.ช.ชี้มูลว่าคนสั่งการทั้งสามไม่มีความผิด ส่วนเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการในพื้นที่ให้ดีเอสไอดำเนินการต่อเพื่อให้มีการพิสูจน์กันในคดีอาญาต่อไปว่ากระทำเกินกว่าเหตุหรือไม่

นั่นเป็นเพียงเส้นทางคดีอันคดเคี้ยวเลี้ยวลดของ "ผู้สั่งการ" และท้ายที่สุดดูเหมือนจะไม่มีโอกาสได้เข้าสู่การพิจารณาของศาล แม้แต่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองดังเช่นกรณีการชุมนุมของพันธมิตรฯ ในปี 2551  

ในส่วนของ "ผู้ปฏิบัติการ" ก่อนหน้านี้ศาลได้มีคำสั่งชันสูตรพลิกศพ หรือเรียกง่ายๆ ว่า ไต่สวนการตาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150 มีหลายรายที่ศาลมีคำสั่งชัดเจนว่า กระสุนมาจากฝั่งทหาร แต่การไต่สวนการตายนั้นไม่ใช่การพิจารณาคดีชี้ตัวผู้กระทำผิด เป็นเพียงการสืบเสาะเบื้องต้นว่าผู้ตายเป็นใคร ตายอย่างไร การฟ้องคดีเป็นหน้าที่ของทางดีเอสไอที่ต้องไปรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อระบุตัวผู้กระทำผิดแล้วส่งฟ้องต่ออัยการ (อ่านสรุปคำสั่งไต่สวนการตายที่นี่) ที่ผ่านมาญาติและทนายความไปทวงถามความคืบหน้ากับอัยการหลายครั้ง ล่าสุดคือเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561

ล่าสุด ผู้สื่อข่าวสอบถามไปยังโชคชัย อ่างแก้ว ทนายความที่ติดตามเรื่องนี้พร้อมกับญาติผู้เสียชีวิตมาโดยตลอด ได้ความว่า เรื่องยังคงไม่มีความคืบหน้าใด แต่ทราบมาว่าทางดีเอสไอส่งสำนวนบางส่วนมายังอัยการแล้วว่าไม่ทราบว่าผู้กระทำผิดเป็นผู้ใด ไม่สามารถหาตัวผู้กระทำผิดได้ ซึ่งทางญาติและทีมทนายจะติดตามเพื่อให้หน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบชี้แจงในเรื่องนี้ให้ชัดเจนต่อไป อย่างไรก็ตาม หากอัยการไม่มีการยื่นฟ้องดำเนินคดีใดๆ กับผู้กระทำผิด ผู้เสียหายซึ่งคือญาติผู้เสียชีวิตก็สามารถยื่นฟ้องเองได้ เพราะในคำสั่งไต่สวนการตายนั้นมีการระบุชื่อผู้บังคับบัญชาในระดับพื้นที่ชัดเจนหลายกรณีที่ศาลชี้ว่ากระสุนมาจากฝั่งทหาร เช่น กรณีของ 6 ศพวัดปทุม

 

ที่มาบางส่วน มติชนออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ใบตองแห้ง: เผด็จการถุงก๊อบแก๊บ

Posted: 18 Jun 2018 08:50 AM PDT



ไชโย ลุงตู่เป็นผู้นำ ชวนคนไทยแก้ปัญหาขยะ รณรงค์ลดใช้ถุงก๊อบแก๊บ กล่องโฟม จดบันทึกสร้างจิตสำนึก แบ่งเบาภาระรัฐบาล

ส่วนเรื่องโรงงานคัดแยกขยะรีไซเคิล ที่ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นถังขยะโลก ท่านบอกว่าเกิดขึ้นนานแล้ว รัฐบาลนี้ต้องมาแก้ปัญหา

ไม่รู้มีใครบอกท่านไหม ใช่เลย ปัญหาต่อเนื่องหลายรัฐบาล แต่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่งประกาศยกเว้นให้ผู้นำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย เมื่อปี 2558 นี่เอง ซ้ำ ม.44 อีอีซี ก็มีช่องโหว่ให้โรงคัดแยกขยะโดยไม่ติดกฎหมายผังเมือง นี่มูลนิธิบูรณะนิเวศบอกมา

แต่เชื่อเถอะ ถ้าลุงตู่รู้ คงควันขึ้น รีบแก้ปัญหา ถ้าจำเป็นก็ใช้ ม.44 ปราบขยะ เหมือนปิดเหมืองทอง ไม่ต้องกลัวถูกฟ้อง เพราะใช้ ม.44 แล้วไม่ต้องรับผิดชอบอะไร

เผด็จการยุคลุงตู่ แม้บรรยง พงษ์พานิช ผิดหวังว่าไม่ใช่ "เผด็จการผู้ทรงคุณ" แต่ก็เป็นเผด็จการที่ใส่ใจกระแสสังคมนะ โดยเฉพาะสังคมออนไลน์ ไม่งั้นคงไม่อัดอั้น ระบายอารมณ์ บ่นสื่อโซเชี่ยล ถามเด็กอนุบาลรู้จักลุงตู่ไหม รู้สิ เป็นนักร้องไง รู้สิ มาเมื่อไหร่ปิดทีวี

เผด็จการยุคลุงตู่ไม่เหมือนอดีต ตรงที่รู้จักเอาใจกระแส ไม่แพ้นักการเมือง ทั้งที่เป้าหมายมุ่งสถาปนาระบอบถอยหลัง เพิ่มอำนาจรัฐราชการขุนทหารชนชั้นนำ ครอบงำเหนือประชาชน จำกัดสิทธิเสรีทางการเมือง การชุมนุม วิพากษ์วิจารณ์

แต่ถ้าเป็นด้านอื่น เผด็จการลุงตู่เอาใจหมด โดยเฉพาะคนชั้นกลางในเมือง ที่มีเป้าหมายร่วมกัน คือไม่เอาประชาธิปไตยจากเลือกตั้ง ฝันสร้างโลกแสนงามร่วมกับระบอบทหาร

เราก็เลยเห็นเผด็จการโลกสวย คุณภาพชีวิต รักสัตว์ รักษ์ป่า รักษ์น้ำ เผด็จการลดถุงก๊อบแก๊บ ลดเหลื่อมล้ำ สร้างทางจักรยาน ถนนเลียบแม่น้ำ ฯลฯ อะไรที่ถูกรสนิยมคนชั้นกลางเซลฟี่ ดีไปหมด กระทั่งตั้งศศิน เฉลิมลาภ เป็นกรรมการอุทยาน ตั้งธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นบอร์ด ปตท.เพื่อรักษ์ทะเล (พร้อมเบี้ยประชุมโบนัส)

ขณะเดียวกันก็จัดระเบียบสังคม รถตู้ แท็กซี่ แมงไซค์ หาบเร่ แผงลอย ไล่คนรุกล้ำแม่น้ำลำคลอง ไล่ที่ป้อมมหากาฬ ทวงคืนผืนป่า ไล่คนออกจากป่า ปราบค้ามนุษย์ ปราบอิทธิพล ปราบโกง โดยใช้อำนาจเฉียบขาดเข้มข้น ถูกใจสะใจคนชั้นกลาง โดยไม่ถามถึงความยั่งยืนหรือผู้ได้รับผลกระทบ

ยิ่งถ้ามีดราม่าออนไลน์ ก็ไม่ต้องห่วง รัฐบาลเต้นเร่า อำนาจพิเศษจัดให้ ปลด ผอ. ปลดปลัดกระทรวงทันใจ รัฐบาลเลือกตั้งทำได้อย่างนี้ไหม (ยกเว้นนาฬิกาลุงป้อม หรือสปิริตปู่ดอน นั่นดราม่ากันไปเอง)

จึงไม่แปลกใจ 4 ปีผ่านไป คนชั้นกลางจำนวนมากที่เคยร่วม "กองทัพธรรม" ชัตดาวน์ขัดขวางเลือกตั้ง ยังพอใจเผด็จการลดถุงก๊อบแก๊บ อยากให้แช่แข็งต่อไปด้วยซ้ำ เพื่อปฏิรูปประเทศ ปฏิรูปการศึกษา ให้เด็กไทยรู้จักคิดวิเคราะห์ คิดนอกกรอบ มีจริยธรรม ภายใต้ระบอบทหาร

เพียงแต่เมื่อจำต้องเลือกตั้ง ก็หนุนลุงตู่กันต่อไป ให้ได้เสียงข้างมาก ไม่ว่าจะดูดจะกวาด หรือถ้าแพ้เสียงข้างมาก ก็พึ่งกติกาที่บล็อกไว้เพื่อชาติ ไม่น่าเกลียดอะไร

แค่สงสัยว่าระบอบที่ไม่มีกฎกติกาแน่นอน ฝากความหวังไว้กับลุงตู่คนเดียว จะอยู่อย่างไรเมื่อไม่มี ม.44

เผด็จการยุคลุงตู่ ไม่ได้เป็นเพียงพรรคพวกนิยม หรือคณาธิปไตย อย่างที่บรรยงเทียบยุคทักษิณ เผด็จการยุคลุงตู่มีเป้าหมายยิ่งใหญ่กว่าประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง นั่นคือต้องการฟื้นอำนาจรัฐราชการอนุรักษนิยมให้เข้มแข็ง แบบไม่ให้ประชาธิปไตยจากประชาชนได้ผุดได้เกิดอีกเลย อย่างน้อยก็ในยุทธศาสตร์ 20 ปี โดยเชื่อว่านี่คือภารกิจรักษาความมั่นคงของชาติบ้านเมือง

เพียงแต่สิ่งที่ได้มา คือระบบอุปถัมภ์ ความใหญ่โตเทอะทะ สิ้นเปลือง ไม่โปร่งใส ไร้ประสิทธิภาพ วัฒนธรรมเจ้าขุนมูลนาย ของรัฐราชการ ที่ไม่มีทางปฏิรูปตัวเอง ขับเคลื่อนประเทศไม่ได้

ขณะเดียวกัน หลังจากทำลายกฎกติกา สถาปนานิติรัฐอุปโลกน์ ประเทศก็ไม่เหลือหลักเกณฑ์ให้ยึดเหนี่ยว นอกจากความเชื่อตัวบุคคลกับอำนาจเฉพาะหน้า คือลุงตู่กับ ม.44 ซึ่งแก้ปัญหาไปตามกระแสสังคม

ประชาชนก็อยู่กันแบบวันดีคืนดี ลุงตู่ชวนคนไปเลือกตั้ง ทั้งที่เพิ่งจับคนอยากเลือกตั้ง วันดีคืนดี ลุงตู่บอกให้ด่าได้ แต่คนด่าถูกแจ้งจับฐานให้ร้าย ข้อมูลเท็จ แค่แชร์ก็โดน

รัฐราชการล้าหลังเป็นใหญ่ อำนาจใช้โดยไม่มีหลักเกณฑ์ ออกคำสั่งเป็นกฎหมาย อารมณ์สังคมแปรปรวน น้ำขึ้นน้ำลง ไม่เว้นแม้ผู้นำ นี่คือจุดที่เราอยู่ หลัง 4 ปีผ่านไป และอีก 8 เดือนจะเลือกตั้ง ถามเด็กหน่อยไหม ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร

 

ที่มา: www.khaosod.co.th/politics/news_1224023

 

ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อิริค โอลิน ไรท์ และ อิริช ฟรอมม์ ว่าด้วยชนชั้นกลาง: ชนชั้นกลางไทยกับประชาธิปไตย

Posted: 18 Jun 2018 08:43 AM PDT

"...ชนชั้นกรรมาชีพไม่อาจเป็นพลังหนึ่งเดียวในการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ แต่ยังมีพลังอื่น ๆ (นั้นก็คือ ชนชั้นกลาง ๆ ที่เขาเรียกว่าตำแหน่งที่ตั้งทางชนชั้นที่มีลักษณะขัดแย้งภายใน) ที่จะสามารถปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคมได้…" (Erik Olin Wright, "What is middle about the middle class?,"

- อ้างใน เก่งกิจ กิติเรียงลาภ 2560, น.39)

ในการศึกษาชนชั้น (Class) ในฐานความคิดแบบมาร์กซ์ (Marxism) นั้นเริ่มเดิมที มีการจำแนกชนชั้นออกเป็นสองชนชั้นที่ตัดขาดออกจากกันคือ ชนชั้นนายทุน (Capitalist) และชนชั้นกรรมาชีพ (Proletariat/Working Class) โดยการอธิบายของมาร์กซ์ (Karl Marx) ได้มองข้ามความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นที่อยู่กึ่งกลางของชนชั้นล่างสุด และบนสุด อีกทั้งยังมองว่าในท้ายที่สุดชนชั้นที่อยู่กึ่งกลางจะค่อย ๆ ลดจำนวนลงและกลายเป็นชนชั้นกรรมาชีพ (Proletarianization)[1] จะมีเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่ยังคงสภาพหรือพัฒนามาเป็นนายทุน งานของมาร์กซ์จึงพูดถึงชนชั้นกลางน้อยมาก แต่มีการนำความคิดของมาร์กซ์มาพัฒนาใหม่ ซึ่งได้แก่กลุ่มที่เรียกว่า มาร์กซ์ใหม่/นวมาร์กซ์ หรือนีโอมาร์กซิสต์ (Neo Marxism)

สำนักนีโอมาร์กซิสต์ ได้พัฒนาแนวคิดของมาร์กซ์และเริ่มให้ความสำคัญในการมองชนชั้นกลาง (Middle Class) มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม โดยมองว่าชนชั้นกลางเป็นชนชั้นที่ไม่ต้องใช้แรงงาน (Non-manual) โดยเป็นชนชั้นที่ยกระดับตัวเองมาจากชนชั้นกรรมาชีพต่าง ๆ เช่น หัวหน้างานกรรมกร อีกทั้งยังมีชนชั้นกลางระดับบน (Upper Middle Class) เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหาร ฯลฯ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นชนชั้นกลางทั้งสิ้น โดยชนชั้นกลางเหล่านี้มีการเพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ในระบบทุนนิยมสมัยใหม่ ที่เกิดการขยับเคลื่อนตัวของชนชั้นทางสังคม (Social Mobility) ชนชั้นกลางเหล่านี้มีรายได้มากกว่า ชั่วโมงทำงานที่น้อยกว่า และสวัสดิการที่ดีกว่าชนชั้นกรรมาชีพ แต่กระนั้นชนชั้นกลางเหล่านี้จะสามารถควบคุมการผลิตได้ก็จริง แต่ก็ไม่ได้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตในระบบเศรษฐกิจอยู่ดี ซึ่งแตกต่างจากชนชั้นกระฎุมพี และกระฎุมพีน้อย ที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตเอง[2] ดังนั้นชนชั้นกลางในลักษณะนี้ จึงเป็นชนชั้นกลางใหม่ ที่พัฒนามาจากสายงานวิชาชีพต่าง ๆ และเข้ามามีบทบาทอย่างใกล้ชิดกับทั้งชนชั้นกรรมาชีพ และชนชั้นนายทุน

เมื่อเป็นเช่นนี้ชนชั้นกลางจึงมีลักษณะของการเป็นชนชั้นที่สามารถสมาคมเข้ากับทั้งชนชั้นนายทุน และชนชั้นกรรมาชีพ คือมีลักษณะที่เลื่อนไหล ไม่แน่นอน และเปราะบาง นิคอส ปูลองซาส (Nicos Poulantzas) ได้ให้ทรรศนะว่า ชนชั้นกลางนั้น เมื่อเกิดความขัดแย้งทางชนชั้นขึ้น ชนชั้นกลางก็จะลังเลว่าจะเข้าไปสนับสนุนชนชั้นกรรมาชีพ หรือชนชั้นนายทุน หรือในบางกรณีชนชั้นกลางก็เป็นชนชั้นที่ สามารถเข้าได้ทั้งสองฝ่าย ทั้งนายทุนและกรรมาชีพ[3] และอีกทรรศนะหนึ่งจากนักคิดสำนักนีโอมาร์กซิสต์ คือมองว่าชนชั้นกลางจะเข้าสนับสนุนชนชั้นใดนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพทางสังคม และการเมือง โดยมองว่าชนชั้นกลางในยุโรปมีความก้าวหน้า ชนชั้นกลางมีแนวโน้มที่จะเข้าร่วมทำกิจกรรมกับชนชั้นล่างมากกว่าชนชั้นสูง ต่างกับชนชั้นกลางในประเทศกำลังพัฒนาที่มีความร่วมมือที่ไม่ชัดเจนระหว่างชนชั้นกลางและชนชั้นล่าง[4]

แต่การอธิบายชนชั้นนำที่กล่าวในข้างต้นนั้น ไม่สามารถอธิบายความสัมพันธ์ทางการผลิต และการขูดรีดได้ (Exploitation Concept) ในการอธิบายชนชั้นกลางที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือแนวคิดเรื่องชนชั้นกลางของ อิริค โอลิน ไรท์ (Erik Olin Wright) โดย ไรท์ ได้ใช้แนวคิดเรื่องการขูดรีด และผสานเข้ากับแนวคิดเรื่องการครอบงำ (Domination) มาอธิบายชนชั้นกลาง โดยสร้างแนวคิดเรื่อง ตำแหน่งแห่งที่ของชนชั้นที่มีลักษณะขัดแย้งภายใน (Contradictory Class Location) โดยไรท์ได้พัฒนาแนวคิดเรื่องชนชั้นกลาง ที่มุ่งวิเคราะห์เรื่องของผลประโยชน์ทางชนชั้น จิตสำนึก และการก่อตัวทางชนชั้น โดยเฉพาะในแง่ของผลประโยชน์ ที่มีลักษณะขัดแย้งในตัวเอง (Contradictory Interest) โดยข้อเสนอที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ ไรท์มองชนชั้นกลางเป็นชนชั้นที่ขูดรีดชนชั้นกรรมาชีพ คือเป็นผู้ขูดรีด (Exploiter) โดยเป็นผู้ควบคุมทรัพยากรในการผลิต รวมถึงควบคุมแรงงานด้วย แต่ในขณะเดียวกัน ชนชั้นกลางเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นผู้ถือครองปัจจัยการผลิตแต่ขายแรงงานของตนเอง ให้กับนายทุนอีกทีหนึ่ง ชนชั้นกลางจึงมีลักษณะของการถูกขูดรีด (Exploited) ในเวลาเดียวกันด้วย[5]

ชนชั้นกลางเป็นชนชั้นที่ถูกขูดรีดโดยชนชั้นนายทุน ซึ่งเป็นชนชั้นผู้ถือครองปัจจัยการผลิต ชนชั้นกลางมีฐานะเป็นช่วงชั้นกลางระหว่าง ชนชั้นสูง กับชนชั้นล่าง ในฐานะของการเป็นพนักงานที่มีตำแหน่งสูงทั้งในภาคเอกชน และภาคราชการ ชนชั้นกลางเหล่านี้เป็นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์มากกว่าชนชั้นกรรมาชีพ แต่ไม่ได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มหน่วยเท่ากับชนชั้นนายทุน ชนชั้นกลางเหล่านี้คือชนชั้นที่ได้รับส่วนแบ่งจากการขูดรีดจากชนชั้นกรรมาชีพ ซึ่งในมุมมองของไรท์ ชนชั้นกลางมักจะมีแนวโน้มเข้าร่วมกับชนชั้นนายทุนมากกว่าชนชั้นกรรมาชีพ เนื่องจาก ชนชั้นนายทุนมียุทธวิธีในการครองอำนาจนำ (Hegemony) ได้มากกว่าชนชั้นกรรมาชีพ โดยดำเนินการให้ชนชั้นกลางเหล่านี้ได้รับผลประโยชน์จากการขูดรีดชนชั้นกรรมาชีพมากขึ้น

ในอีกแนวคิดหนึ่งที่ผู้เขียนเห็นว่ามีความคล้ายคลึงกันกับแนวคิดเรื่อง ชนชั้นที่มีความขัดแย้งในตัวเอง คือแนวคิดเรื่อง บุคลิกเชิงอำนาจ (Authoritarian Personality) ของ อิริช ฟรอมม์ (Erich Fromm) โดยพัฒนาแนวคิดดังกล่าวจาก แมกซ์ ฮอร์ไคเมอร์ (Max Horkheimer) ในงาน Authority and Family โดย ฟรอมม์ ใช้แนวคิดจิตวิเคราะห์ในการอธิบาย เกี่ยวกับบุคลิกเชิงอำนาจในแต่ละช่วงวัย และในแต่ละสถาบันทางสังคม[6] โดยฟรอมม์ อธิบายเกี่ยวกับบุคลิกเชิงอำนาจที่เกิดจากสถาบันครอบครัว ไปสู่สถาบันทางการศึกษา และไปจนถึงในสถานที่ทำงานในสังคมโดยทั่ว ฟรอมม์ อธิบายว่า อำนาจในครอบครัวนั้น พ่อ มักจะมีอำนาจมากที่สุด และใช้อำนาจนั้นกับแม่ และการใช้อำนาจเหล่านั้นก็ส่งทอดมาสู่ลูก เป็นไปในลักษณะเดียวกันภายในโรงเรียนคือ จากครูใหญ่ มาสู่ครู และส่งไปถึงนักเรียน และในที่ทำงานคือ จากเจ้านายระดับสูง ไปสู่เจ้านาย และลงไปสู่ลูกน้อง เป็นเช่นนี้ซ้ำไปเรื่อย ๆ ในทุกภาคส่วนของสังคม (เยอรมนี- ซึ่งเป็นสังคมที่ฟรอมม์ใช้ศึกษา) โดยสะท้อนผ่านโครงสร้างเดียวกัน โดย อำนาจสูงสุดคือ ฮิตเลอร์ ส่งมาสู่คนเยอร์มัน และส่งไปสู่คนยิว ซึ่งเป็นคนระดับล่างสุดในสังคมเยอรมัน

ลักษณะดังกล่าว ฟรอมม์ได้ใช้แนวคิดขยายความคิดของ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) คือความขัดแย้งกันของบุคลิกที่แสดงออกมาในสองลักษณะคือ กลายเป็นคนที่นิยมชมชอบการใช้ความรุนแรง และชอบที่จะถูกใช้ความรุนแรงในเวลาเดียวกัน ในภาษาจิตวิเคราะห์เรียกว่าเป็นลักษณะแบบ ซาโด-มาโซดิสติก (Sado-masochistic Character) คือเป็นคนที่สยบยกย่องให้กับอำนาจ แต่ในขณะเดียวกัน คนเหล่านั้นก็อยากมีอำนาจและอยากให้ผู้อื่นสยบแก่ตน มีลักษณะของความเป็นซาดิสม์ (Sadism) คือนิยมการใช้ความรุนแรงกดขี่แก่คนที่อ่อนแอกว่า แต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีลักษณะของความเป็นมาโซคิสม์ (Masochism) คือรู้สึกว่าตัวเองต่ำต้อยไร้กำลัง จำยอมต่ออำนาจภายนอก จึงต้องการลดทอดความรู้สึกเช่นนี้ ด้วยการใช้วิธิการแบบซาดิสม์ ในการกดขี่ผู้ที่อยู่ต่ำกว่า เป็นทั้งคนที่จำนนต่ออำนาจที่เหนือกว่า และก็พร้อมที่จะใช้อำนาจต่อคนที่ด้อยกว่าตน[7]

แนวคิดดังกล่าวของฟรอมม์ มีลักษณะคล้างคลึงกันกับแนวคิดของ ไรท์ ที่ได้กล่าวในข้างต้น แต่แนวคิดทั้งสองแตกต่างกันในแง่ของการใช้กรอบความคิดในการมอง ในขณะที่ไรท์ใช้แนวคิดเรื่องการขูดรีด และผลประโยชน์ทางชนชั้น ในทางเศรษฐกิจ และใช้อธิบายชนชั้นกลางอย่างชัดเจน ว่าเป็นชนชั้นที่มีลักษณะขัดแย้งกันในตัวเอง คือเป็นทั้งชนชั้นที่ถูกขูดรีดเอาเปรียบ แต่ในขณะเดียวกันก็ขูดรีดชนชั้นล่างไปด้วย แต่ในอีกทางหนึ่ง ฟรอมม์ใช้แนวคิดแบบจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ในการอธิบายบุคลิกลักษณะของคนในสังคมเยอรมัน ในช่วงเวลาของการขึ้นมาสู่อำนาจของฮิตเลอร์ ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงชนชั้นกลางอย่างตรงไปตรงมา แต่ในที่นี่ผู้เขียนเล็งเห็นว่า แนวคิดของฟรอมม์ สามารถนำมาใช้อธิบายลักษณะของชนชั้นกลางซึ่งในบทความนี้จะเป็นการอธิบายชนชั้นกลางไทย (Thai Middle Class) โดยจะเป็นในมุมมองเชิงจิตวิทยา ประกอบกับแนวคิดเรื่องการครอบงำ และใช้คู่กับแนวคิดเรื่องการขูดรีด และผลประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจแบบไรท์ด้วย จะใช้ในการอธิบายเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่ว่าด้วยเศรษฐกิจ และส่วนที่ว่าด้วยจิตวิเคราะห์ และความคิด

ในช่วงเวลาเกือบ 5 ปีที่ผ่านมา สังคมไทยได้รับบทเรียนอย่างใหญ่หลวงกับ ปฏิบัติการที่ทำโดยชนชั้นกลางในเมือง/ชนชั้นกลางบน ผ่านเวทีของการเคลื่อนไหวทางการเมือง ที่เด่นชัดที่สุดคือการเคลื่อนไหวชุมนุมกันของขบวนการ กปปส. หรือชื่อเต็มคือ คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ทำการเคลื่อนไหวเพื่อล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และเสนอให้มีการนำนายกคนนอกเข้ามาแทนที่ จนในท้ายที่สุดกลับได้การรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2557 มาแทน และได้รัฐบาลทหารมาเป็นรัฐบาลจนถึงปัจจุบัน (พฤษภาคม 2561) โดยลักษณะที่สำคัญอย่างยิ่งของการเคลื่อนไหวดังกล่าวนั้น จะต้องสืบสาวไปตั้งแต่ก่อนการทำรัฐประหารในปี พ.ศ.2549 ที่เกิดขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองขนาดใหญ่สองขบวนการด้วยกัน อันได้แก่ ขบวนการพันธมิตรฯ ซึ่งเป็นฝ่ายที่ต่อต้านรัฐบาลในขณะนั้น และอีกฝ่ายคือขบวนการเสื้อแดง หรือ นปช. ที่เป็นฝ่ายออกมาสนับสนุนรัฐบาลในขณะนั้น ความขัดแย้งดังกล่าวดำเนินผ่านตัวแสดงหลักสำคัญคือชนชั้นกลางในเมือง และชนชั้นกลางในชนบท รวมไปถึงชนชั้นล่าง หรือที่เรียกว่าชนชั้นรากหญ้า

การก่อเกิดขึ้นของขบวนการทางการเมืองไทยโดยชนชั้นกลางนั้นเป็นสิ่งที่นักทฤษฎีทางการเมือง และทางสังคมศาสตร์ อธิบายไว้หลากหลายแง่มุม แต่ได้ข้อสรุปว่า ชนชั้นกลางเป็นตัวขับเคลื่อนทางการเมืองที่สำคัญ โดยเฉพาะการเมืองในระบอบประชาธิปไตย จึงไม่แปลกเลยว่า การเข้ามามีส่วนเคลื่อนไหวทางการเมืองของชนชั้นกลางนั้นเริ่มก่อตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ภายหลังเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ปี พ.ศ.2535 และสืบเนื่องมาจนถึงขบวนการพันธมิตรฯ สะท้อนจากทั้งตัวของผู้นำ ดาราศิลปิน และชนชั้นกลางในเมือง โดยเฉพาะเมืองหลวงกรุงเทพฯ ที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการรณรงค์ทางการเมืองในแนวทางของตน การก่อเกิดขึ้นของชนชั้นกลางในเมืองนั้น มีท่าทีจะขยายตัวมากยิ่งขึ้น แต่สิ่งที่ตามมาอย่างไปอาจละทิ้งได้ คือ ชนชั้นกลางในชนบท ที่เริ่มมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ผ่านการกระจายถ่ายโอนทรัพยากรไปสู่ภมิภาคและท้องถิ่นต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในช่วงรัฐบาล ไทยรักไทย ของนายทักษิณ ชินวัตร (พ.ศ.2544-2549)

ยุครัฐบาลทักษิณนี้เองทำให้การพัฒนาในชนบท มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น เกิดการพัฒนาในทางเศรษฐกิจ คนเหล่านี้ผันตัวเองจาก คนจน คนชั้นล่าง เข้ามาเป็นชนชั้นกลางใหม่ หรือเป็นชนชั้นกลางระดับล่าง คือไม่ได้มีรายได้เท่ากับชนชั้นกลางในเมือง หรือแม้กระทั่งเรื่องการศึกษา การสาธารณะสุข การคมนาคม และสถานะภาพทางสังคมก็ยังไม่ได้เทียบเท่ากับชนชั้นกลางในเมือง แต่ชนชั้นกลางระดับล่างเริ่มเข้ามามีส่วนในการเรียกร้องต่อรัฐมากยิ่งขึ้น จากแต่เดิมชนชั้นกลางระดับล่างเหล่านี้ไม่ได้มีปากเสียงในทางการเมือง เท่ากับที่ชนชั้นกลางในเมืองมี และยังคงมีอยู่ในขณะนั้น[8] ส่งผลให้ข้อเรียกร้องทางการเมืองของชนชั้นกลางระดับล่าง ซึ่งในทรรศนะของชนชั้นกลางในเมือง หรือชนชั้นกลางระดับสูงนั้น ยังมองว่าชนชั้นเหล่านี้เป็นชนชั้นที่อยู่ล่างตนอยู่ ซึ่งก่อนหน้านี้ชนชั้นกลางในเมืองได้รับประโยชน์จากการคงไว้ซึ่งชนชั้นทางสังคมแบบเดิม คือเป็นผู้ขูดรีดทางเศรษฐกิจจากชนชั้นล่าง (ซึ่งเริ่มผันตัวมาเป็นชนชั้นกลางระดับล่าง จากการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การศึกษา และระบบโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ) เริ่มเกิดความวิตกกังวลต่อพื้นที่ของผลประโยชน์ทางชนชั้นของตน จึงมีท่าทีที่ไม่เห็นดีกับการคงอยู่ของรัฐบาลที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ชนชั้นกลางระดับล่างในชนบทต่าง ๆ มากนัก โดยมักใช้วาทกรรมในการดำเนินนโยบายว่าเป็นนโยบายแบบประชานิยม ในแง่ลบ[9]

หากนำเอาแนวคิดเรื่อง ชนชั้นที่มีลักษณะขัดแย้งภายใน ของไรท์ มาอธิบายจะเห็นว่า ชนชั้นกลาง ที่เคยมีส่วนแบ่งการขูดรีดจากชนชั้นกรรมาชีพที่มากจากจำนวนที่ต่างกันระหว่าง ชนชั้นกลาง และชนชั้นกรรมาชีพ ที่ชนชั้นกรรมาชีพมีจำนวนมากกว่า ส่งผลให้ชนชั้นกลางสามารถได้รับประโยชน์จากการขูดรีดเอาผลผลิตส่วนเกิด จากเวลาการทำงานต่อหัวของชนชั้นกรรมาชีพจำนวนมหาศาล แต่ในขณะที่ ในภายหลังสังคมไทยเกิดการเคลื่อนไหลทางชนชั้นในสังคม ที่ชนชั้นกรรมาชีพ หรือชนชั้นล่าง มีการแปรสภาพกลายเป็นชนชั้นกลางมากขึ้น โดยเฉพาะภายหลังการก่อเกิดขึ้นของกระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) โดยประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างมหาศาล จากระบบเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงเอาบรรดาท้องถิ่น (Localities) เข้ามาเป็นภาคส่วนหนึ่งของการผลิตในระบบโลก[10] ส่งผลให้เกิดการจ้างงานในภาคแรงงานมากยิ่งขึ้น ผ่านบรรษัทข้ามชาติ ที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย อันก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของรายได้ของชนชั้นกลางระดับล่าง ที่มีส่วนในกิจการทางเศรษฐกิจในภาคแรงงานเป็นส่วนใหญ่ จึงเกิดการเติบโตของชนชั้นกลางใหม่ ที่เป็นชนชั้นกลางที่เริ่มมีความใกล้เคียงในภาคเศรษฐกิจกับชนชั้นกลางระดับสูงในเมืองมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน กระแสโลกาภิวัตน์และเสรีนิยมใหม่ (Neo-Liberalism) ก็ทำลายฐานทางเศรษฐกิจของชนชั้นกลางในเมือง และชนชั้นกลางระดับสูง อาจหมายรวมถึงชนชั้นนำบางกลุ่มด้วย สะท้อนผ่านวิกฤติการต้มยำกุ้ง ในปี 2540[11] ส่งผลให้ การขยับตัวขึ้นมาของชนชั้นกลางระดับล่าง หรือชนชั้นกลางใหม่ ที่ได้ประโยชน์จากโลกาภิวัตน์เข้าใกล้ชนชั้นกลางในเมืองมากยิ่งขึ้น แต่ในขณะเดียวกันชนชั้นกลางในเมืองก็ไม่เห็นความใกล้เคียงที่จะเข้าใกล้กับชนชั้นสูงที่อยู่จุดสูงสุดของปริมิตรได้เลย ส่งผลให้ชนชั้นกลางในเมือง มองชนชั้นกลางล่าง หรือชนชั้นล่างในสายตาของชนชั้นกลางในเมือง กลายเป็นภัยสำหรับตำแหน่งแห่งที่ทางเศรษฐกิจ และทางการเมืองของชนชั้นกลางในเมืองทั้งหลาย

ซึ่งแตกต่างกับในยุคสมัยของ พลเอง ชาติชาย ชุณหวัน และพลเอก เปรม ที่ชนชั้นกลางในเมือง มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ก้าวกระโดด หนีห่างไปจากชนชั้นกลางล่าง และชนชั้นล่าง ส่งผลให้ชนชั้นกลางในเมืองมีแนวคิดที่จะนิยมชมชอบรัฐบาลในลักษณะทั้งสองมากกว่า (โดยเฉพาะ กลุ่ม กปปส.) ในขณะที่ในยุคภายหลังวิกฤติต้มยำกุ้ง และรัฐบาลทักษิณ การบริโภคของชนชั้นกลางระดับล่าง ละชนชั้นล่าง มีการบริโภคมากยิ่งขึ้น กำลังซื้อจับจ่ายสูงขึ้น แต่ชนชั้นกลางในเมือง ที่บอบช้ำจากวิกฤติเศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐที่ไม่เอื้อประโยชน์กลับอ่อนกำลังลง และถูกไล่ตามหลังมาอย่างติด ๆ[12]  ก่อให้เกิดวิกฤติในทางผลประโยชน์ทางชนชั้นที่อาจสั่นคลอนการขูดรีดที่เป็นไปในลักษณะเดิมได้ ภาวะดังกล่าวส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชนชั้นกลางระดับบน และชนชั้นกลางระดับล่างในเวลาต่อมา

เมื่อสภาวการณ์เป็นเช่นนี้ ชนชั้นกลางในเมืองจึงหันหน้าหนีออกไปจากระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบตัวแทน ที่ไม่ได้เอื้อประโยชน์แก่ตน อีกทั้งยังก่อให้เกิดช่องว่างระหว่างชนชั้นที่แคบลง อันเป็นผลเสียต่อตัวชนชั้นกลางในเมืองเอง เพราะพวกเขาขูดรีดเอาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้น้อยลง แต่ในขณะเดียวกันพวกเขาก็ถูกชนชั้นนายทุน/ชนชั้นนำ ขูดรีดอยู่เช่นเดิม สภาวะดังกล่าวหากนำแนวคิดเรื่อง บุคลิกเชิงอำนาจ ของ ฟรอมม์ มาอธิบายจะเห็นว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว ชนชั้นกลางในเมืองอยู่ในสภาวะที่ถูกกระทำ เป็นมาโซคิสม์ ที่ถูกชนชั้นที่สูงกว่ากระทำชำเราอย่างหนักหน่วง แต่กลับมีชนชั้นล่างน้อยลงที่จะเอาอำนาจไประบาย เพื่อลดทอนความน้อยเนื้อต่ำใจ และเสริมสร้างอำนาจให้แก่ตน ชนชั้นล่างค่อย ๆ ขยับตัวเข้ามาอยู่ในตำแหน่งแห่งที่เดียวกับชนชั้นกลางในเมือง ผ่านการบริโภค รสนิยม และความคิดความอ่าน ที่ใกล้เคียงชนชั้นกลางในเมืองมากขึ้น ผ่านการโฆษณาชวนเชื่อ และการสาธิตการบริโภคจากชนชั้นกลางในเมืองตลอดเวลาที่ผ่านมา

ชนชั้นกลางเหล่านั้นจึงอยู่ในสภาวะที่กดดัน ไร้ซึ่งที่ระบายทางจิตใจ ที่เคยมีมาก่อนหน้า สิ่งเหล่านี้หลอมรวมเอาความคิดของชนชั้นกลางในเมือง ให้ต้องยกระดับตนเองให้เหนือกว่าในทางอื่น ซึ่งการยกตัวเหนือกว่านี้สะท้อนออกมาอย่างชัดเจนในขบวนการเคลื่อนไหวของ กลุ่ม กปปส. ซึ่งล้วนประกอบด้วยชนชั้นกลางในเมืองแทบทั้งสิ้น โดยการยกย่องให้ตนเป็น 'คนดี' ซึ่งเป็นคู่ตรงข้ามกับอีกฝ่ายที่เป็น 'คนเลว' ความนึกคิดเหล่านี้ส่งผลให้ชนชั้นกลางในเมืองกระทำสิ่งที่เรียกว่า 'การสำเร็จความใคร่ทางศีลธรรม' คือสำเร็จความดีด้วยตนเอง และยกย่องพวกตนให้เหนือกว่า เพื่อที่จะลดทอนความอ่อนแอของตนในด้านอื่น การกระทำทั้งหลายสะท้อนออกมาจากวาทกรรม การเหยียดหยาม และดูถูก ในทุกด้าน เช่น

"โง่กว่าบาบูนอีกนะ พูดก็ไม่รู้เรื่อง สะกดคำว่าประชาธิปไตยก็ไม่ถูก ทำมาหากินก็ไม่ได้ ผ้าห่มก็หาเองไม่ได้ ต้องแจกทุกปี แต่ดันมีสิทธิ์เลือกตั้ง...",

"...ประชาธิปไตยมันว่าด้วยเสียงข้างมาก ฉะนั้นประเทศไหนที่เสียงข้างมากไม่มีการศึกษา ประเทศก็ล่ม เพราะกุ๊ยซื้อกุ๊ยและกุ๊ยเลือกกุ๊ยแน่นอนครับ…" [13],

"มีคนสิบห้าล้านคนที่ไม่มีคุณภาพ กับสามแสนที่มีคุณภาพ เราเลือกสามแสนคนที่มีคุณภาพไม่ดีกว่าเหรอ"[14]


เหล่านี้เป็นต้น

เมื่อเป็นเช่นนั้นชนชั้นกลางในเมืองของไทย จึงไม่มีทางและไม่มีแนวโน้มที่จะเข้าร่วมกับกลุ่มชนชั้นกลางล่าง และชนชั้นล่างทั้งในชนบทและในเมือง เพราะพวกชนชั้นกลางในเมืองเล็งเห็นว่า ชนชั้นกลางใหม่ที่ก่อเกิดเหล่านี้นั้น เป็นภัยแก่ตัวของพวกเขาเอง ชนชั้นกลางเหล่านี้จึงเข้าไปคบหาสมาคมกับชนชั้นกลางระดับสูงด้วยกันเอง ชนชั้นสูง และสถาบันที่มีอำนาจในสังคมไทย ที่จะคอยเป็นเหมือนสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของพวกเขา กลายเป็นมาโซคิสม์อย่างรุนแรง คือยอมอ่อนน้อมต่ออำนาจที่เหนือกว่าอย่างเต็มรูปแบบ และก็พร้อมจะเป็นซาดิสม์อย่างรุนแรงด้วยการประนามหยามเหยียดดังที่กล่าวมาในข้างต้น ด้วยลักษณะทางสังคม และการเมืองเหล่านี้ ส่งผลให้ชนชั้นกลางในเมือง เป็นชนชั้นที่อยู่ตรงกลางระหว่างการถูกกระทำโดยชนชั้นนำ ซึ่งอาจเป็น นายทุนใหญ่ กองทัพ สถาบันทั้งหลาย และอื่น ๆ ด้วยการแสดงความเป็นฝักฝ่ายเดียวกัน (Alliance) กับชนชั้นนำทั้งหลาย เพื่อเป็นกำลังในการกดชนชั้นที่อยู่ล่างกว่าในทุกวิถีทาง จึงจะไม่เห็นถึงการที่ชนชั้นกลางในเมืองลุกขึ้นมาเดินขบวนเพื่อเรียกร้องสวัสดิการของแรงงาน ซึ่งเป็นคู่ตรงข้ามกับพวกเขา หรือการออกมาต่อต้านการรัฐประหารอย่างจริงจัง หรือแม้กระทั่งการวิพากษ์วิจารณ์สถาบัน แต่กลับกลายเป็นว่าพวกเขามุ่งโจมตี และวิพากย์ซึ่งสถาบันทางการเมือง โดยเฉพาะที่มีที่มาจากชนชั้นล่าง และชนชั้นกลางระดับล่าง กลับกลายเป็นว่า ชนชั้นกลางที่ควรเป็นกำลังหลักในการสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย ได้เป็นชนชั้นที่หลายครั้งก็ ปฏิเสธระบอบประชาธิปไตย ความเท่าเทียม ความเสมอภาค และกฎกติกาของสังคม ทั้งที่ประเทศไทยหากดูการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแล้วก็ไม่ควรจะกลับมามีการปกครองในระบอบเผด็จการได้อีกต่อไป แต่กลับกลายเป็นว่าชนชั้นกลางในเมือง/ระดับบน กลับสนับสนุนให้เกิดการปกครองที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย[15]

กล่าวโดยสรุปคือชนชั้นกลางในไทยที่เป็นชนชั้นที่ถูกขูดรีด และเป็นชนชั้นขูดรีดในเวลาเดียวกันนั้น ไม่อาจทนต่อกระแสความเปลี่ยนแปลงทางชนชั้นที่มีความเลื่อนไหล ที่ชนชั้นล่างมีความเปลี่ยนแปลงเข้ามาเป็นชนชั้นกลางมากยิ่งขึ้น อันเนื่องมาจากพวกชนชั้นกลางทั้งหลาย ล้วนได้ประโยชน์จากการขูดรีดเอาส่วนเกินทางเศรษฐกิจจากชนชั้นล่างเหล่านั้น แต่เมื่อชนชั้นล่างเริ่มลดลง และเข้ามาแย่งชิงตำแหน่งแห่งที่ของพวกเขา จึงก่อให้เกิดความไม่พอใจ และความต้องการสกัดกั้นการพัฒนาต่อของชนชั้นกลางใหม่เหล่านี้

และในอีกทางหนึ่งคือ ชนชั้นกลางมีลักษณะของความเป็น ซาโด-มาโซดิสติก คือเป็นกลุ่มคนที่ยอมรับซึ่งอำนาจที่เหนือกว่า โดยให้ตัวเองมีสถานะด้อยค่า และยอมรับซึ่งอำนาจ แต่ในขณะเดียวกัน ชนชั้นกลางเหล่านี้ก็ต้องหาที่ลดทอนความอ่อนแอของพวกเขา ด้วยการใช้อำนาจกับชนชั้นที่ต่ำกว่า คือชนชั้นล่าง แต่เมื่อชนชั้นล่างไม่อาจอยู่ในสถานะเดิมได้ มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนให้เข้าใกล้พวกชนชั้นกลางเก่ามากขึ้น ทำให้มีกำลังที่จะทัดทานการใช้อำนาจของชนชั้นกลางเก่าได้ ทำให้ชนชั้นกลางเก่าเหล่านั้นไม่พึงพอใจ และเกิดความเก็บกดมาโดยตลอด

การแสดงออกที่ชัดเจนที่สุดในสังคมไทย คือการยกย่องเชิดชูตัวเอง ให้มีความเหนือกว่าในทุกด้าน เพื่อที่จะปฏิเสธความเท่าเทียมที่ชนชั้นกลางใหม่กำลังคืบคลานเข้ามาใกล้เรื่อย ๆ ผ่านการสร้างเวทีที่จะเปิดทางให้พวกเขาได้แสดงออกทางอารมณ์ ความคิด ผ่านวาทกรรม การเหยียดหยาม และดูหมิ่นคนที่พวกเขาเห็นว่าอยู่ต่ำกว่า สภาวการณ์เช่นนี้จะคงอยู่ต่อไปในสังคมไทย เมื่อชนชั้นนำยังสาธิตการใช้อำนาจแก่ชนชั้นกลาง และชนชั้นกลางก็ใช้อำนาจเหล่านั้นลงมาที่ชนชั้นล่าง เป็นภาวะที่ไม่หยุดหย่อนในทุกภาคส่วนของสังคมไทย

"ชนชั้นกลาง ชนชั้นแกว่ง ชนชั้นกลวง"

 

 

 

เอกสารอ้างอิง

กาญจนา แก้วเทพ และ สมสุข หินวิมาน (2551). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับการ   สื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ. (2560). เริ่มต้นใหม่จากจุดเริ่มต้น ทฤษฎีมาร์กซิสต์ในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 1).     เชียงใหม่: ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เกษียร เตชะพีระ. (2561). ประชานิยมในโลก(ไร้)ประชาธิปไตย. ประชาไท. ที่มา:         https://prachatai.com/journal/2018/04/76679

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2560). คนชั้นกลางไทยกับประชาธิปไตย (2). มติชนออนไลน์. ที่มา:         https://www.matichon.co.th/news/435873

ประจักษ์ ก้องกีรติ. (2553). ประชาธิปไตยของฉัน ของท่าน และของเธอ. OCTOBER 09 ฉบับ       ประชาธิปไตย, 8-53.

ไพโรจน์ คงทวีศักดิ์. (2560). โลกาภิวัตน์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). เชียงใหม่: ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะ   สังคมศาสตร์       มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมคิด พุทธศรี. (2560). ทำไมคนชั้นกลางไทยถึงหันหลังให้ประชาธิปไตย, The 101 ที่มา:                  https://www.the101.world/thoughts/thai-middle-class-and-democracy

สุภางค์ จันทวานิช. (2557). ทฤษฎีสังคมวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

เสรี วงษ์มณฑา. (คลิปวีดีโอ). (2554). ปราศรัยเวทีชุมนุม กปปส. 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2554. ที่มา:         https://www.youtube.com/watch?v=qd-jGtKz4Ig

 

 

เชิงอรรถ

[1] เก่งกิจ กิตติเรียงลาภ, เริ่มต้นใหม่จากจุดเริ่มต้น ทฤษฎีมาร์กซิสต์ในศตวรรษที่ 21, น. 20-21.

[2] สุภางค์ จันทวานิช, ทฤษฎีสังคมวิทยา, น.177-178

[3]  เก่งกิจ กิตติเรียงลาภ, เริ่มต้นใหม่จากจุดเริ่มต้น ทฤษฎีมาร์กซิสต์ในศตวรรษที่ 21, น. 28-29.

[4] สุภางค์ จันทวานิช, ทฤษฎีสังคมวิทยา, น.182

[5] เก่งกิจ กิตติเรียงลาภ, เริ่มต้นใหม่จากจุดเริ่มต้น ทฤษฎีมาร์กซิสต์ในศตวรรษที่ 21, น. 33-34.

[6] กาญจนา แก้วเทพ และ สมสุข หินวิมาน, สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับการสื่อสาร, น.267-268

[7] กาญจนา แก้วเทพ และ สมสุข หินวิมาน, สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับการสื่อสาร, น.269-270

[8] นิธิ เอียวศรีวงศ์ ,คนชั้นกลางไทยกับประชาธิปไตย (2), มติชนออนไลน์ https://www.matichon.co.th/news/435873

[9] เกษียร เตชะพีระ, ประชานิยมในโลก(ไร้)ประชาธิปไตย, ประชาไท https://prachatai.com/journal/2018/04/76679

[10] ไพโรจน์ คงทวีศักดิ์, โลกาภิวัตน์, น.186

[11] เกษียร เตชะพีระ, ประชานิยมในโลก(ไร้)ประชาธิปไตย, ประชาไท https://prachatai.com/journal/2018/04/76679

[12] เกษียร เตชะพีระ, ประชานิยมในโลก(ไร้)ประชาธิปไตย, ประชาไท https://prachatai.com/journal/2018/04/76679.

[13] บทสัมภาษณ์ 'ซูโม่ตู้' (2551) ,ประจักษ์ ก้องกีรติ, OCTOBER ฉบับประชาธิปไตย, น.29,1

[14] เสรี วงษ์มณฑา, ปราศรัยเวทีชุมนุม กปปส. 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2554, ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=qd-jGtKz4Ig

[15] สมคิด พุทธศรี, ทำไมคนชั้นกลางไทยถึงหันหลังให้ประชาธิปไตย , The 101 https://www.the101.world/thoughts/thai-middle-class-and-democracy/

 

ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ข้อพิจารณาว่าด้วยปัญหาในวงการพระพุทธศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน : กรณีพระสงฆ์กับเงิน

Posted: 18 Jun 2018 08:29 AM PDT


 


ช่วงนี้บ้านเรามีประเด็นทางศาสนาซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดก็คือ พระสงฆ์กับเงิน โดยจุดเริ่มต้นของเรื่องเท่าที่ทราบกันมาจากอำนาจรัฐที่ต้องการจัดการแก้ไขปัญหาทุจริตเงินทอนวัด และมีการขยายผลไปสู่การตั้งประเด็นว่า การที่พระสงฆ์รับเงินเป็นการละเมิดพุทธบัญญัติ ชีวิตพระสงฆ์ไปกันไม่ได้กับเงิน การถวายเงินแก่พระสงฆ์เป็นบาป ฯลฯ โดยที่รัฐได้แสดงเจตนารมณ์อย่างแน่วแน่ในการนำพระสงฆ์ในสังคมไทยกลับคืนสู่การปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า การแสดงความมุ่งมั่นแข็งขันในการกำจัดสิ่งที่ขัดแย้งต่อพระธรรมวินัยออกไปจากวิถีชีวิตของพระสงฆ์จึงสอดคล้องกับเจตนารมณ์ดังกล่าวของรัฐเป็นอย่างดี

แน่นอนว่า ข้อห้ามในพุทธบัญญัติที่ไม่ให้พระสงฆ์รับเงินรับทองนั้นปรากฏอย่างชัดเจนในคัมภีร์พระวินัย โดยความหมายของข้อห้ามนี้อธิบายอย่างตรงไปตรงมาได้ว่า พระพุทธเจ้าไม่อนุญาตให้พระสงฆ์ยุ่งเกี่ยวกับการรับเงิน การใช้เงินจับจ่ายซื้อสิ่งของ ไม่อนุญาตให้คนอื่นรับหรือเก็บไว้ให้ หรือแม้แต่ยินดีในเงินทองที่คนอื่นเก็บไว้ให้ก็เป็นเรื่องที่ผิดพุทธบัญญัติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงประสงค์ให้พระสาวกรับเงินหรือครอบครองเงินเพื่อสะสมไว้จับจ่ายใช้สอยเฉกเช่นคฤหัสถ์ (ผู้ที่รู้พุทธบัญญัติในคัมภีร์ดีจะไม่พยายามอธิบายเลี่ยงๆ (แถ) ว่า เงินในพุทธบัญญัติเป็นอย่างอื่นไม่ใช่ธนบัตร หรือสิ่งที่ใช้แทนเงินอย่างที่ใช้กันในปัจจุบัน เพราะการอธิบายเช่นนั้นเป็นการเลี่ยงบาลีซึ่งไม่ได้ช่วยให้พระสงฆ์ที่รับธนบัตรรอดพ้นจากอาบัติไปได้ เช่นเดียวกับพระสงฆ์ที่ไม่รับธนบัตรโดยตรง แต่เลี่ยงไปรับในปวารณา หรือเช็ค หรือของอย่างอื่นๆ ที่ระบุมูลค่าแทนตัวเงินซึ่งก็ไม่ได้ช่วยให้ท่านพ้นจากการต้องอาบัตินิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ไปได้เช่นกัน หากดูคำอธิบายในอรรถกถาและฎีกาประกอบจะเข้าใจตรงนี้ได้ชัดเจนมากขึ้น) โดยทั่วไป เงินนั้นไม่ได้มีประโยชน์อย่างเดียว แต่ยังมีโทษที่สามารถชักนำหายนะมาให้แก่ผู้ครอบครองได้ พระพุทธเจ้าเคยตรัสอุปมาทรัพย์ (เงิน) ว่าเป็นประดุจอสรพิษ ชีวิตของพระสงฆ์เนื่องด้วยผู้อื่น กล่าวคือ การเดินบิณฑบาตขออาหารจากผู้อื่นเพื่อยังชีพตามมีตามได้ การพึ่งพาปัจจัย ๔ ที่ได้จากการทำบุญของญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาเท่าที่จะดำเนินชีวิตได้สะดวกก็เพียงพอแล้วสำหรับวิถีชีวิตที่มุ่งปฏิบัติธรรมเพื่อขจัดกิเลสและความทุกข์ของพระสงฆ์ตามคำสอนของพระศาสดา ดังนั้น เราจึงไม่จำเป็นที่จะมาถกเถียงกันว่า พระจับเงินได้หรือไม่ เพราะคำตอบตามพระวินัยบัญญัติก็ชัดเจนอยู่แล้วว่า การที่พระจับเงิน/ทองเป็นการละเมิดสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ การยุ่งเกี่ยวกับเงินๆทองๆนั้นไม่เหมาะแก่ชีวิตพระสงฆ์โดยประการทั้งปวง โดยเฉพาะพระสงฆ์ที่ดำรงชีวิตภายใต้รูปแบบหรือวิถีชีวิตที่ออกแบบโดยพระพุทธเจ้า

ประเด็นคือ เมื่อมีข้อห้ามไว้อย่างชัดเจนดังกล่าว ทำไมพระสงฆ์ในสังคมไทย หรือคณะสงฆ์ในพุทธศาสนาแบบไทยๆ (ผมหมายรวมทั้งพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตและพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย) จึงรับเงินรับทองกันเป็นเรื่องปกติ กระทั่งเกิดปัญหาเมื่อพบว่า มีการทุจริตเงินทอนวัด และพระบางรูปถือครองบัญชีส่วนตัวซึ่งมีเงินจำนวนนับล้านบาท (หรือมากกว่านั้น) สังคมจึงได้ถกเถียงกันอย่างจริงจังว่า จริงๆ แล้วเงินทองจำเป็นต่อวิถีชีวิตของพระสงฆ์ยุคนี้หรือไม่

มีหลายคนพยายามอธิบายแทนพระสงฆ์ (รวมทั้งพระสงฆ์ออกมาอธิบายเอง) โดยอ้างว่า การรับเงินทองของพระสงฆ์สอดคล้องกับสังคมโลกที่เปลี่ยนไป การถวายเงินพระสงฆ์เพื่อให้ท่านไว้ใช้จ่ายซื้อสิ่งจำเป็นแก่สมณบริโภคย่อมเป็นการสะดวกแก่พระสงฆ์เองและญาติโยม โยมบางคนก็คิดว่า เงินเป็นเพียงวัตถุที่ใช้แลกเปลี่ยนสิ่งของที่ต้องการ บ่อยครั้งที่เราไม่ทราบว่าพระสงฆ์ท่านต้องการปัจจัยแบบไหน อย่างเช่น จีวร เราไม่ทราบว่า พระสงฆ์นิยมใช้ผ้าแบบไหน การถวายเงินให้ท่านได้จับจ่ายซื้อจีวรที่ทำจากผ้าเนื้อดีที่พระนิยมใช้กันย่อมเป็นการดีกว่าที่เราซื้อไปถวายแล้วท่านไม่ใช้ให้ แต่ถ้าถวายเป็นเงิน พระท่านจะได้ใช้แน่นอน แม้จะไม่ได้ซื้อจีวร ท่านก็สามารถนำไปซื้อปัจจัยอื่นๆ ที่จำเป็นแก่สมณะ ในเมื่อญาติโยมประสงค์จะถวายเงินของตนเองแก่พระด้วยเจตนาอันเป็นกุศล พระสงฆ์จึงควรมีสิทธิ์ที่จะรับ (จริงๆ พระสงฆ์อ้างสิทธิ์ในการรับเงินไม่ได้ เพราะการอ้างสิทธิ์ในการรับเงินเท่ากับอ้างสิทธิ์ที่จะละเมิดพระวินัย) รัฐบาลเองเล็งเห็นถึงความสะดวกตรงนี้จึงมีการถวายเงินเดือนในนาม "นิตยภัต" แก่พระสงฆ์ที่ทรงสมณศักดิ์หรือมีอำนาจปกครองในระดับต่างๆ เราต้องยอมรับว่า การที่พระสงฆ์มีเงินนั้นส่วนหนึ่งก็มาจากรัฐเป็นผู้จัดสรรให้ แต่เงินที่รัฐถวายนี้ก็เพียงเล็กน้อย ไม่ได้มีจำนวนมากพอที่จะเอื้อให้พระสงฆ์นำไปสะสมจน "รวย" ได้ แต่เงินส่วนใหญ่ของพระสงฆ์ที่อาจกล่าวได้ว่า "จำนวนมาก" นั้นมาจากการถวายของญาติโยมทั่วไป การถวายเงินแก่พระสงฆ์จึงเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นจริงในสังคมชาวพุทธในประเทศไทยเป็นเวลาช้านานมาตั้งแต่อดีตกาล

อันที่จริง พระสงฆ์ทั้งหมดก็ล้วนผ่านการศึกษาพระธรรมวินัยเบื้องต้นและรู้ดีว่า เงินเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับพระสงฆ์ตามพุทธบัญญัติ แต่หลายท่านมีภารกิจที่จำเป็นต้องใช้เงินเองเพื่อความสะดวก เช่น พระที่เป็นเจ้าอาวาสที่ปกครองพระเณรจำนวนมาก มีภาระต้องมีเงินสำหรับซื้อปัจจัยมาบำรุงเลี้ยงพระเณรให้ทำกิจพระศาสนาได้สะดวก อย่างสำนักที่มีการศึกษาปริยัติธรรม หรือสำนักที่มีการปฏิบัติธรรม (สังคมไทยเรามีวัดหรือสำนักปฏิบัติธรรมแบบนี้จำนวนมาก ชาวพุทธส่วนหนึ่งนิยมไปปฏิบัติธรรมในสำนักเหล่านี้ ส่วนการปฏิบัติธรรมในรูปแบบของสำนักเหล่านี้จะถูกต้องหรือไม่นั้นเป็นสิ่งที่เราจะต้องศึกษาและพิจารณากันในรายละเอียด) ผมเคยได้ยินพระที่เป็นเจ้าอาวาสวัด หรือสำนักปฏิบัติธรรมที่มีชื่อเสียงมีพระเณรและญาติโยมไปปฏิบัติธรรมกันเป็นจำนวนมากๆ ปรารภว่า รู้สึกลำบากใจที่ต้องรับเงินและใช้เงิน ถ้าหลีกเลี่ยงได้ก็ไม่อยากแตะต้องเงินเลย  แต่ถ้าไม่ทำด้วยตัวเองก็เกรงจะมีปัญหาอื่นตามมา (เช่น กรณีการใช้คนอื่นบริหารเงินแทนแล้วเกิดความผิดพลาดหรือเกิดการทุจริต) เมื่อมีพระเณรและญาติโยมมาอยู่ปฏิบัติธรรมจำนวนมากๆ เราจะปล่อยให้ลำบากก็ไม่ได้ ยิ่งผู้ปฏิบัติธรรมมามาก ก็ยิ่งต้องการปัจจัยอื่นๆ เช่น อาหาร มาบำรุงเลี้ยงในปริมาณที่มาก เพื่อให้เพียงพอสำหรับทุกคนที่มาปฏิบัติธรรม จะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องการอยู่การฉัน เพราะลำพังแค่อาหารที่ชาวบ้านนำมาถวายนั้นไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงคนที่มาปฏิบัติธรรมได้ หลวงพ่อเจ้าสำนัก หรือเจ้าอาวาสวัดก็จำเป็นต้องจัดหามาเองด้วยเงินที่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคไว้  แม้จะรู้สึกอึดอัดลำบากใจที่ต้องละเมิดพุทธบัญญัติจับเงินทองซื้อของ แต่ก็ต้องยอมผิด เพราะเห็นแก่ประโยชน์แก่คนหมู่มากที่สำคัญกว่า แต่พระที่ผมรู้จักเหล่านี้ก็ไม่ได้มีเงินเก็บในบัญชีส่วนตัว การรับเงินก็เป็นเพียงการรับเงินมาแล้วใช้ไปกับข้าวปลาอาหารในแต่ละวัน และค่าใช้จ่ายในสิ่งจำเป็นส่วนอื่นๆ อีก ผมค่อนข้างมั่นใจว่า สังคมชาวพุทธส่วนมากที่รู้ภารกิจในความรับผิดชอบของพระสงฆ์เหล่านี้ซึ่งมีจำนวนมากในสังคมไทยจะไม่ตำหนิว่า ถ้าเป็นพระที่ดีจริง หากรู้ว่าการรับเงินเป็นสิ่งผิดพระวินัยสงฆ์ก็ไม่น่าจะรับ เพราะรู้ว่าผิดแล้วยังรับก็จะเข้าข่ายกระทำความผิดทั้งที่รู้ ซึ่งไม่ได้ช่วยทำให้สิ่งที่ผิดกลายเป็นถูกไปได้  ชาวพุทธที่รู้จักและเคยเข้าไปพึ่งพาแนวทางของวัดเหล่านี้ย่อมเข้าใจในสิ่งที่พระสงฆ์หลายรูปทำ เช่น หลวงพ่อพยอมวัดสวนแก้ว หลวงพ่ออลงกตวัดพระบาทน้ำพุ หลวงพ่อที่มีปฏิปทาดีๆ ซึ่งมรณภาพไปแล้วอย่างหลวงพ่อคูณ หลวงตามหาบัวที่รับบริจาคเงินและทองคำในโครงการผ้าป่าช่วยชาติ หรือพระสงฆ์เจ้าสำนักปฏิบัติธรรม รวมไปถึงพระนักพัฒนารูปอื่นๆ ที่ตรงไปตรงมากับการรับเงินเพื่อซื้อปัจจัยมาบำรุงเลี้ยงพระเณรและญาติโยมที่อยู่ในวัด โดยไม่มีบัญชีเงินฝากที่เก็บไว้ใช้เป็นของส่วนตัว

แต่อย่างไรก็ดี เราจะเห็นว่า พระสงฆ์เหล่านี้ไม่ได้บอกว่า การที่พระรับเงินทองเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ท่านเองก็ยอมรับว่าการรับเงินเป็นความผิดฐานละเมิดพุทธบัญญัติ แต่จะว่าไปตามหลักพระวินัยแล้ว การรับเงินก็จัดอยู่ในอาบัติที่มีความผิดสถานเบา ซึ่งแก้ไขได้โดยการสละออกไปแล้วแสดงอาบัติ สำหรับคนมีปัญญามีศีลธรรมรู้จักใช้ การรับเงินทองแม้จะผิด ก็ทำให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณชนได้ แต่สำหรับคนที่ไม่มีปัญญาหรือมีปัญญาน้อย และไม่มีศีลธรรม การรับเงินรับทองอาจก่อให้เกิดโทษได้ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น สิ่งที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นด้านดีและน่าชื่นชมของพระสงฆ์ในสังคมไทยประการหนึ่งก็คือ แม้จะทราบดีว่า มีพุทธพจน์อนุญาตให้สงฆ์ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้ (การรับเงินซึ่งอยู่ในกลุ่มอาบัติที่มีโทษสถานเบาสามารถตีความให้อยู่ในกลุ่มสิกขาบทเล็กน้อยที่ถอนได้ตามพุทธานุญาต) แต่ก็ยังแน่วแน่มั่นคงในหลักการของพระธรรมวินัยตามเดิม แม้การรักษาพระธรรมวินัยในท่ามกลางกระแสสังคมโลกยุคใหม่จะเป็นเรื่องยากยิ่ง แต่ก็ยังพยายามยึดมั่นในอุดมการณ์ของพระพุทธศาสนาเถรวาทตามรอยของครูบาอาจารย์ในอดีตอย่างเหนียวแน่น ในทางปฏิบัติ วิถีชีวิตของพระสงฆ์ปัจจุบันอาจมีความขาดตกบกพร่องในข้อปฏิบัติหลายอย่างเมื่อเทียบกับพระสงฆ์เถรวาทในอดีต แต่ในทางอุดมการณ์ พระสงฆ์ปัจจุบันก็ยึดมั่นที่จะรักษาหลักการไว้อย่างครบถ้วนตามที่พระสงฆ์ในอดีตรักษาสืบทอดกันมา การรับเงินทองอาจเป็นความผิดต่อพระวินัยสงฆ์ แต่เมื่อรับมาแล้วใช้ไปในทางที่จะให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นให้มากที่สุด การกระทำของพระสงฆ์เหล่านี้อาจมองได้ว่าเป็นการเสียสละตัวเองด้วยซ้ำไป กล่าวคือ การยอมทำผิดเพื่อให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ ผมเชื่อว่า การรับเงินของพระสงฆ์หลายรูปที่ทำคุณประโยชน์แก่สังคมประเทศชาติที่กล่าวมานั้นย่อมเป็นสิ่งที่ชาวพุทธทั่วไปยอมรับและเข้าใจได้ (ซึ่งน่าคิดเช่นกันว่า หากรัฐมีการแสดงความเข้มงวดกวดขันจริงจังในการจัดการปัญหาพระสงฆ์กับเงิน โดยยืนยันชัดเจนว่า พระสงฆ์กับเงินต้องแยกกันอย่างเด็ดขาดเพราะขัดแย้งต่อพุทธบัญญัติ จนพระสงฆ์ที่จำเป็นต้องใช้เงินหลังพิงฝาและหาทางออกของปัญหาโดยการประกาศถอนสิกขาบทตามพุทธานุญาตให้การรับเงินทองเป็นสิ่งที่พระสงฆ์สามารถทำได้ ผลที่เกิดขึ้นตามมาจะเป็นอย่างไร ในแง่หนึ่ง การประกาศถอนสิกขาบทเปิดช่องให้พระสงฆ์รับเงินทองได้โดยไม่มีความผิด ทำให้ชีวิตพระสงฆ์เกี่ยวข้องกับเงินทองได้สะดวก แต่ในอีกแง่หนึ่ง การเข้าไปเกี่ยวข้องกับเงินทองสามารถส่งผลด้านลบต่อพระสงฆ์เอง ความเสื่อมเสียที่มีสาเหตุมาจากเงินทองสามารถเกิดขึ้นแก่พระสงฆ์เมื่อใดก็ได้ รวมไปถึงกลุ่มคนที่ต้องการหาเรื่องพระสงฆ์อาจใช้การถอนสิกขาบทมาเป็นประเด็นตำหนิพระสงฆ์ได้เช่นกันว่า ตามใจกิเลสอยากใช้เงินทองมากจนถอนพุทธบัญญัติของพระศาสดา เป็นการทำลายสิกขาบทเพื่อสนองความต้องการของกิเลส ฯลฯ ไม่ว่าพระสงฆ์จะเลือกแบบใดก็ล้วนมีจุดให้อีกฝ่ายมีจุดโจมตีได้เสมอ แต่ตรงนี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐานของผู้เขียนเท่านั้น ยังไม่ใช่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง)

ในสาระสำคัญของกรณีพระสงฆ์ที่มีบทบาทเด่นชัดในการทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนา การรับเงินของพระสงฆ์ที่มุ่งทำประโยชน์ต่อสาธารณะดังกล่าวเหล่านี้จึงไม่น่าใช่ประเด็นปัญหาที่สังคมพากันวิพากษ์วิจารณ์ แต่ที่เป็นปัญหาก็คือ วัดและพระเณรอีกจำนวนหนึ่งที่รับเงินทองจากการทำบุญของชาวพุทธมาเก็บสะสมไว้ในบัญชีจำนวนมาก เช่น มีการพบว่า วัดหลายแห่งมีเงินเก็บในบัญชีจำนวนมากโดยไม่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในทางศาสนารวมไปถึงพระหลายรูปมีเงินในบัญชีส่วนตัวนับล้าน (หรือมากถึงหลายสิบล้าน ร้อยล้าน) ซึ่งถือว่าเกินความจำเป็นของการใช้ชีวิตของพระสงฆ์ ทำให้เกิดคำถามว่า พระสงฆ์เหล่านี้เก็บเงินจำนวนมากนี้ไว้ใช้เพื่อการใด เงินในบัญชีของพระเณรเหล่านี้เกิดประโยชน์แก่สังคมประเทศชาติในด้านใดบ้างหรือไม่ กรณีเหล่านี้ต่างหากที่น่าจะเป็นประเด็นที่ชาวพุทธในสังคมไทยควรตั้งคำถามถึงความเหมาะสม ซึ่งโดยความเป็นบุคคลสาธารณะ พระสงฆ์ไม่อาจโต้แย้งได้ว่า ทำไมต้องมายุ่งกับบัญชีเงินส่วนตัวของพระ เพราะจุดยืนของรัฐขณะนี้ก็คือ ความพยายามที่จะไม่ให้เงินในบัญชีของพระเป็นเรื่องส่วนตัวของพระอีกต่อไป การหาแนวทางนำเงินของวัดและพระเหล่านี้เข้าสู่การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบระเบียบจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่รัฐมุ่งมั่นจะทำให้เกิดขึ้นโดยมองว่าเป็นแนวทางที่ช่วยแก้ปัญหาได้   

ในอีกด้านหนึ่ง เราต้องยอมรับว่า ในสังคมไทยเรานั้น มีพระสงฆ์ที่ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับเงินทองอยู่จริง บรรดาพระสงฆ์ที่ใช้ชีวิตโดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใช้เงิน เช่น พระสงฆ์ในวัดที่มีไวยาวัจกรที่ดีทำหน้าที่ในการบริหารจัดการภาระที่ต้องใช้เงินให้ พระที่บิณฑบาตเป็นวัตร ใช้ปัจจัยต่างๆ เช่น จีวร จากโยมที่ปวารณา (การหาทางออกของปัญหาพระสงฆ์กับเงินอาจพิจารณาได้จากสำนักสงฆ์ที่มีภาพลักษณ์และวิถีชีวิตที่ไม่เกี่ยวข้องกับเงินอย่างชัดเจน เช่น สำนักสันติอโศก หรือสำนักสายกรรมฐานเคร่งครัดด้านพระธรรมวินัย เช่น วัดหนองป่าพง และวัดสายกรรมฐานอื่นๆ) พระสงฆ์เหล่านี้จะไม่ลำบาก และไม่มีปัญหาที่จะต้องเกี่ยวข้องกับการรับเงิน แต่เนื่องจากพระสงฆ์และวัดในสังคมไทยเราไม่ได้มีรูปแบบดังที่กล่าวมานั้นทั้งหมด พระสงฆ์ในบ้านเราจึงทั้งส่วนที่ไม่จำเป็นต้องใช้เงิน (ซึ่งน่าจะมีจำนวนน้อยที่ปฏิเสธการรับเงินอย่างเด็ดขาด) และส่วนที่ยังมองว่าจำเป็นต้องใช้เงิน (ซึ่งน่าจะมีจำนวนมากที่รับเงินและยินดีในการรับเงินและใช้เงิน) ประเด็นจริงๆ ก็คือ เมื่อแยกพระสงฆ์ออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่ไม่รับเงิน กับกลุ่มที่จำเป็นที่ต้องรับเงินและใช้เงิน สำหรับพระสงฆ์ที่ไม่มีกิจจำเป็นเกี่ยวข้องกับเงินนั้น การไม่รับเงิน และไม่มีผู้ถวายเงินก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่สำหรับพระสงฆ์ที่ยังมองว่ามีกิจจำเป็นที่ต้องใช้เงิน เช่น ค่าน้ำ/ไฟ (หลายวัดพระสงฆ์ต้องจ่ายเอง) ค่าพาหนะเดินทาง ค่าอาหาร (กรณีที่ไม่ได้บิณฑบาตหรือบิณฑบาตไม่ได้ และไม่มีญาติโยมเลี้ยงเพลทุกวัน) ค่ารักษาพยาบาล (กรณีที่พระใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน) และค่าเล่าเรียน (กรณีพระเข้าศึกษาในสถานศึกษาต่างๆ ซึ่งพระควรมีสิทธิ์ที่จะเล่าเรียนได้ในฐานะพลเมืองคนหนึ่งที่ได้รับการคุ้มครองสิทธิ์และหน้าที่ (บางอย่าง) โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่พระวินัยบัญญัติให้สิทธิ์นี้ไว้หรือไม่ ผู้รู้ต้องช่วยกันพิจารณากันให้ดี หลายคนอาจมองว่า พระสงฆ์ไม่ควรเรียนวิชาแบบทางโลก เพราะเรียนจบก็ลาสิกขาไปทำงานแข่งกับชาวโลก แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาเลย เพราะตามพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนา ไม่มีข้อห้ามพระลาสิกขา เมื่อบวชได้ตามความเลื่อมใสศรัทธา ก็สามารถสึกได้ตามที่ปรารถนา) หากไม่มีเงินและไม่รับเงิน พระสงฆ์กลุ่มหลังนี้ก็ไม่สะดวกในการทำภารกิจของพระสงฆ์ได้ หากโอกาสในการรับเงินถูกปิดลงอย่างเด็ดขาด พระสงฆ์กลุ่มนี้อาจจะถึงขั้นต้องหยุดเรียนเพื่อตัดค่าใช้จ่าย หรือไม่ก็อาจจะต้องตัดสินใจลาสิกขาเพื่อออกไปทำงานหาเงินในการศึกษาเล่าเรียนด้วยตัวเองต่อไป

หลายคนพยายามเสนอทางออกของปัญหาพระสงฆ์กับเงินว่า หากเรายืนยันว่า พระสงฆ์ไม่ควรรับเงินและไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับเงิน เราก็ต้องควบคุมวิถีชีวิตของพระสงฆ์ โดยนำเงินทั้งของวัดและบัญชีส่วนตัวของพระสงฆ์เข้าไปรวมไว้ในบัญชีกลาง (ซึ่งคาดกันว่าจะเป็นเงินที่มีจำนวนมหาศาล) เงินเหล่านี้จะถูกนำไปใช้จ่ายในกิจของวัดและของพระสงฆ์ให้สมกับเจตนารมณ์อันแท้จริงของผู้ถวาย ผมคิดว่า ข้อเสนอดังกล่าวถือว่าเป็นวิธีที่ดี แต่มันอาจจะแก้ปัญหาได้ในระยะสั้นเพียงไม่กี่ปีเท่านั้น เพราะเงินของวัดและของพระสงฆ์ที่ถูกยึดเข้าสู่บัญชีกลางและถูกนำไปใช้นั้นจะลดลงทุกปี ไม่ใช่เพิ่มมาก  เหตุผลก็คือว่า หากพระสงฆ์ไม่ได้รับอนุญาตให้พระเกี่ยวข้องกับเงิน ต่อจากนี้ไป ญาติโยมที่เคยถวายเงินแก่พระสงฆ์จะหยุดถวาย หรือแม้แต่อาจจะหยุดถวายวัด เราต้องไม่ลืมว่า เงินจำนวนมากที่อยู่ในบัญชีของวัดและของพระนั้นมาจากชาวพุทธผู้มีจิตศรัทธาถวายไว้ ไม่ใช่มาจากการอุปถัมภ์ของรัฐบาลทั้งหมด เพราะลำพังเงินงบประมาณในสำนักงานพระพุทธศาสนาที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลนั้นคงไม่เพียงพอสำหรับการทำกิจของวัดและพระสงฆ์ทั่วประเทศ 

ปัญหาจึงมีอยู่ว่า เมื่อพระสงฆ์รับเงินไม่ได้ จำนวนของผู้ถวายเงินลดลง เมื่อเงินที่เคยได้รับบริจาคถูกตัดไป เงินในบัญชีกลางที่จำเป็นต้องจ่ายเพื่อกิจของวัดและของพระสงฆ์ก็ต้องลดลงไปทุกปี ขณะรายรับที่จะเข้าสู่บัญชีกลางก็ลดลงเรื่อยๆ สวนทางกับรายจ่าย จุดนี้อาจเป็นปัญหาที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว เว้นเสียแต่ว่า แม้พระสงฆ์จะรับเงินไม่ได้ แต่ญาติโยมผู้มีจิตศรัทธายังคงบริจาคเงินถวายเข้าสู่บัญชีกลางอย่างต่อเนื่องกันเป็นปกติ เวลาผ่านเงินบริจาคในบัญชีกลางยิ่งเพิ่มมากขึ้น ถ้าเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นจริง จำนวนเงินในบัญชีกลางของวัดอาจไม่ได้รับผลกระทบ แต่หากเหตุการณ์จริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น ภาระรับผิดชอบเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของวัดและของพระสงฆ์ทั่วประเทศก็คงไม่พ้นจากหน่วยงานของรัฐบาลผู้เป็นต้นคิดในการรวมเงินวัดและพระสงฆ์เข้าไว้ในบัญชีกลาง คือ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ รัฐบาลเองที่ต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อการอื่นเป็นจำนวนเงินมหาศาลอยู่แล้ว คงไม่ต้องการที่จะรับภาระเพิ่มขึ้นโดยการนำภาระเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ ของวัดและของพระสงฆ์มาแบกไว้เอง แต่หากรัฐยินดีที่จะรับภาระส่วนนี้เพื่อแลกกับการนำพระสงฆ์ไทยกลับสู่การปฏิบัติดีปฏิบัติตามตามพระธรรมวินัยเฉกเช่นครั้งพุทธกาล ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ผมเชื่อว่าพระสงฆ์ทั้งมวลน่าจะร่วมยินดีอนุโมทนาสาธุการโดยพร้อมเพรียงกันเป็นแน่ เพียงแต่มีประเด็นที่เราต้องพิจารณามากกว่านั้นก็คือ สิ่งที่ควรถูกมองว่าเป็นปัญหาของพระสงฆ์ซึ่งขัดกับพระธรรมวินัยนั้นไม่ใช่เรื่องเงินเพียงอย่างเดียว หากเราจะคิดแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่อพระธรรมวินัยในหมู่สงฆ์อย่างจริงจัง ยังมีสิ่งแปลกปลอมที่ไม่มีในพุทธบัญญัติแทรกอยู่ในวิถีของพระสงฆ์ในสังคมไทยอีกมากซึ่งล้วนแต่สร้างมลทินแก่วิถีชีวิตพระสงฆ์ เช่น สมณศักดิ์ระดับต่างๆ อำนาจปกครองทั้งหมด สิ่งเหล่านี้ทำให้พระสงฆ์เกิดกิเลส เกิดความอิจฉา ริษยา และการห่มเหงเบียดเบียนขึ้นในหมู่สงฆ์ ทำให้พระสงฆ์เกิดการแบ่งชนชั้น เกิดความแตกแยก ไม่มีความสามัคคี และขาดความเคารพนับถือกันอย่างอ่อนน้อมและจริงใจในหมู่สงฆ์ พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาครั้งพุทธกาลนั้นเป็นสมณศากยบุตร เป็นเพียงพระภิกษุที่มุ่งขจัดกิเลส ภายใต้พระธรรมวินัยอันบริสุทธิ์ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ ไม่มีสมณศักดิ์ (ไม่ควรนำสมณศักดิ์ปัจจุบันไปเทียบกับตำแหน่งเอตทัคคะในสมัยพุทธกาล เพราะมีรายละเอียดของการได้มาที่แตกต่างกันมาก) ไม่มีอำนาจปกครอง พระสงฆ์ทุกรูปเสมอภาคกัน และเคารพนับถือกันตามลำดับพรรษา เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในหมู่สงฆ์ก็แก้ไขไปตามข้อบัญญัติในพระธรรมวินัยที่พระพุทธบัญญัติไว้ชัดเจนและครอบคลุมทุกกรณี การจะนำพระสงฆ์กลับคืนสู่สัมมาปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริงนั้น จึงไม่ควรนำสิ่งที่ขัดต่อพระธรรมวินัย เช่น สมณศักดิ์ อำนาจปกครอง เข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของพระสงฆ์ ซึ่งผู้ที่เห็นแก่ความบริสุทธิ์ของพระสงฆ์ในพระธรรมวินัยจะต้องมองให้เห็นปัญหาอย่างรอบด้านและหาวิธีแก้ไขโดยการพิจารณาอย่างจริงจังว่า สิ่งที่ขัดต่อพระธรรมวินัยดังกล่าวมานั้นควรมีอยู่ในวิถีชีวิตของพระสงฆ์ต่อไปหรือไม่ ไม่ใช่มองเห็นแต่ปัญหาของเงินในบัญชีของพระสงฆ์เพียงอย่างเดียว

ผมคิดว่า ประเด็นเรื่องพระสงฆ์กับเงินที่กำลังเป็นที่วิพากษ์ วิจารณ์กันอยู่ในเวลานี้นั้นสะท้อนให้เห็นความลักลั่นของการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยแท้ในคัมภีร์พระไตรปิฎกกับการปฏิบัติตนในวิถีชีวิตจริงของพระสงฆ์ในสังคมปัจจุบันอย่างชัดเจน การแก้ไขปัญหาดังกล่าวอาจไม่ได้ยากอย่างที่คิด หากเรายอมรับให้พระสงฆ์ดำเนินชีวิตของท่านไปตามปกติ ญาติโยมอยากถวายเงินพระก็สามารถทำได้ พระสงฆ์ที่จำเป็นจะรับเงินไปใช้จ่ายในกิจต่างๆ ที่ไม่ขัดต่อสมณวิสัยก็สามารถรับได้ตามสะดวก แต่ส่วนพระสงฆ์ที่มีเงินในบัญชีส่วนตัวจำนวนมากๆ นั้นที่ถูกมองว่าเป็นปัญหาก็ควรได้รับการแก้ไขเป็นกรณีๆ ไป (ตามแนวทางการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบระเบียบ) เพราะความจริงคือ พระสงฆ์-สามเณรที่เป็นลูกหลานชาวบ้านไม่ได้มีเงินจำนวนในบัญชีส่วนตัวมากแบบนั้นกันทุกรูป ส่วนประเด็นปัญหาการละเมิดพุทธบัญญัติเกี่ยวกับการรับเงินทองนั้นเป็นปัญหาทางพระวินัยสงฆ์ที่ต้องแก้ไขไปตามพุทธบัญญัติ ซึ่งอยู่นอกเหนือจากรับผิดชอบของชาวพุทธ หรือแม้กระทั่งรัฐบาล สิ่งที่ชาวพุทธ และรัฐบาลทำได้คือ การเอื้ออำนวยให้พระสงฆ์ได้ปฏิบัติตนในทางแห่งความสะอาด สว่าง สงบตามวิถีแห่งพระสงฆ์ตามพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนาในขอบเขตที่จะพึงทำได้เท่านั้น ไม่ใช่การใช้กฎหมายของรัฐเข้าไปแก้ปัญหาพระธรรมวินัยซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างผิดฝาผิดตัว เพราะการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้องตรงจุดแม้จะทำด้วยเจตนาดีก็อาจปรากฏผลเป็นการทำลายพระสงฆ์และพระพุทธศาสนาแทนที่จะเป็นการบำรุงพระศาสนาตามที่ตั้งใจก็เป็นได้


 

ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กรมราชทัณฑ์เผยได้ประหารนักโทษ 1 ราย นับเป็นรายล่าสุดในรอบ 9 ปี

Posted: 18 Jun 2018 06:57 AM PDT

อธิบดีกรมราชทัณฑ์เผยว่าได้ประหารชีวิตนักโทษเด็ดขาดในคดีฆ่าผู้อื่นอย่างทารุณ โดยใช้วิธีฉีดยาสารพิษ นับเป็นนักโทษที่ถูกประหารรายล่าสุดนับตั้งแต่การประหารครั้งสุดท้ายเมื่อ 24 ส.ค. 2552 โดยนับตั้งแต่เปลี่ยนโทษประหารเมื่อธันวาคม 2546 มีผู้ถูกประหารด้วยวิธีฉีดยาสารพิษแล้ว 6 ราย ขณะที่สถิติเดือนเมษายน 2561 มีนักโทษประหารชีวิตทั่วประเทศ 517 ราย ในจำนวนนี้เป็นนักโทษเด็ดขาด คดีถึงที่สุดแล้ว 200 ราย

แฟ้มภาพ พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ (ที่มา: ประชาสัมพันธ์ กรมราชทัณฑ์)

สถิตินักโทษประหารชีวิต เดือนเมษายน 2561 (ที่มา: กรมราชทัณฑ์)

18 มิ.ย. 2561 ในจดหมายแถลงข่าวกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม "ราชทัณฑ์ประหารชีวิตนักโทษเด็ดขาด คดีฆ่าผู้อื่นอย่างทารุณ" เผยแพร่ในมติชนออนไลน์ ระบุว่า พ.ต.อ.ณรัชต์  เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 15.00-18.00 นาฬิกา  กรมราชทัณฑ์ได้ดำเนินการบังคับโทษตามคำพิพากษาของศาลด้วยการประหารชีวิตนักโทษเด็ดขาดชายธีรศักดิ์ หลงจิ อายุ 26 ปี ผู้ต้องขังในคดีฆ่าผู้อื่นอย่างทารุณโหดร้ายเพื่อชิงทรัพย์ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2555 เหตุเกิดที่จังหวัดตรัง นักโทษเด็ดขาดดังกล่าวได้ทำร้ายและบังคับให้เอาทรัพย์สิน คือ โทรศัพท์มือถือ และกระเป๋าสตางค์ รวมทั้งใช้มีดแทงผู้ตาย รวม 24 แผล เป็นเหตุให้เหยื่อถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นพิพากษาประหารชีวิต ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืนเป็นผลให้คดีถึงที่สุด

พ.ต.อ.ณรัชต์กล่าวอีกว่า การบังคับโทษประหารชีวิตดังกล่าวเป็นการดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 ประกอบมาตรา 19 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประหารชีวิตนักโทษ พ.ศ.2546 ซึ่งกำหนดให้ดำเนินการด้วยวิธีการฉีดยาหรือสารพิษให้ตาย นับเป็นผู้ต้องขังรายที่ 7 นับแต่มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2546 ซึ่งเปลี่ยนวิธีการบังคับโทษประหารชีวิตจากการยิงเสียให้ตายเป็นการฉีดสารพิษ

อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ยังเปิดเผยต่อไปว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2478 ถึงปัจจุบันมีการบังคับโทษประหารชีวิตมาแล้ว จำนวน 325 ราย โดยแยกเป็นการใช้อาวุธปืนยิงจำนวน 319 ราย (ยิงรายสุดท้ายเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2546) การฉีดยาสารพิษ จำนวน 6 ราย (ฉีดสารพิษครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2546 และครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2552) การประหารชีวิต ถือเป็นบทลงโทษทางอาญาที่หนักที่สุดตามกฎหมายไทย ซึ่งมีโทษ 5 อย่างคือ ปรับ ริบทรัพย์สิน กักขัง จำคุก และประหารชีวิต แม้หลายประเทศได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตไปแล้วก็ตาม แต่ก็มีอีกหลายประเทศที่ยังคงมีโทษประหารชีวิตอยู่เช่นเดียวกับประเทศไทย เช่น สหรัฐอเมริกา และจีน ซึ่งเน้นการปกป้องสังคมและพลเมืองส่วนใหญ่ให้พ้นจากการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมมากกว่าเน้นสิทธิเสรีภาพของปัจเจกบุคคลที่กระทำผิดกฎหมาย กรมราชทัณฑ์ หวังว่าการประหารชีวิตในครั้งนี้ จะเป็นอุทาหรณ์ให้ผู้ที่คิด จะก่ออาชญากรรมร้ายแรงหรือกระทำผิดกฎหมายได้ยั้งคิดถึงบทลงโทษนี้

'โทษประหาร' ของมันต้องมีหรือถึงเวลาต้องยกเลิก?, 15 มีนาคม 2561

แอมเนสตี้เผย 142 ประเทศไม่ประหารชีวิตแล้ว ปี 60 จีนยังครองแชมป์ ไทยยังใช้โทษนี้อยู่, 12 เมษายน 2561

อนึ่งข้อมูลจากกรมราชทัณฑ์ ระบุว่าในเดือนเมษายน 2561 มีนักโทษประหารชีวิตทั่วประเทศ 517 ราย ในจำนวนนี้เป็นนักโทษเด็ดขาดเมื่อคดีถึงที่สุด 200 ราย

ข้อมูลจากสมาคมสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเปิดเผยว่า ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันกัมพูชาและฟิลิปปินส์ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว โดยโทษสูงสุดคือจำคุกตลอดชีวิต ประเทศบรูไน พม่า ลาว ยกเลิกในทางปฏิบัติ หมายความว่าไม่มีการประหารชีวิตมาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว

ขณะที่ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และไทยยังคงโทษประหารชีวิตไว้ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีการประหารชีวิตครั้งล่าสุดเมื่อปี 2552 ถ้าอีก 1 ปีกว่านี้ยังไม่มีการประหารชีวิตเกิดขึ้น ก็จะครบ 10 ปี ซึ่งจะถือว่าไทยไม่มีโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ อย่างไรก็ตามก็มีการลงโทษประหารชีวิตล่าสุดดังกล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หมายเรียก ‘คนอยากเลือกตั้ง’ คดีลักทรัพย์ คาดใช้ไฟหลวงตอนชุมนุม UN62

Posted: 18 Jun 2018 04:40 AM PDT

รังสิมันต์ โรม อานนท์ นำภา เอกชัย หงส์กังวาน โพสต์ภาพหมายเรียกจาก สน.ชนะสงคราม คดีลักทรัพย์ ผู้กล่าวหาคือเจ้าเก่าตัวแทนคสช.-พ.ท.บุรินทร์ ด้านพนักงานสอบสวนปฏิเสธให้สัมภาษณ์รายละเอียดใดๆ บอกเป็นคดีสำคัญ พูดไม่ได้ อานนท์ระบุโดนคดีทางการเมืองรวมแล้ว 14 คดี โรม 10 คดี เอกชัย 3 คดี


ขอบคุณภาพจากเพจ Banrasdr Photo


ภาพจากเฟสบุ๊ค อานนท์ นำภา

18 มิ.ย.2561 อานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนและแกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง โพสต์ภาพหมายเรียกในเฟสบุ๊คส่วนตัวซึ่งมีเนื้อหาว่า พนักงานสอบสวนเรียกอานนท์ หนึ่งในผู้ต้องหาคดีลักทรัพย์ไปรับทราบข้อกล่าวหา "ร่วมกันลักทรัพย์" ในวันที่ 22 มิ.ย.นี้ เอกสารหมายเรียกระบุด้วยว่าผู้กล่าวหาคือ พ.ท.บุรินทร์ ทองประไพ

ผู้สื่อข่าวโทรศัพท์สอบถามร.ต.อ.รัฐกานต์ ทองไทย รองสารวัตรสอบสวนผู้รับผิดชอบคดี ถึงรายละเอียดว่า ผู้ต้องหามีทั้งสิ้นกี่คน เนื่องจากหมายเรียกระบุเพียง "นายรังสิมันต์ โรม กับพวก" และพฤติการณ์ที่ถูกกล่าวหาคืออะไร แต่ร.ต.อ.รัฐกานต์ ปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลโดยถอนหายใจและกล่าวเพียงสั้นๆ ว่า "ต้องขออภัยจริงๆ คดีนี้เป็นคดีสำคัญ ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลใดได้"

ด้านนายอานนท์ กล่าวว่า คดีดังกล่าวน่าจะสืบเนื่องมาจากการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งในวันที่ 22 พ.ค.2561 ส่วนการนัดหมายในวันที่ 22 มิ.ย.นั้น คงจะทำการขอเลื่อนการเข้ารับทราบข้อกล่าวหา เนื่องจากเป็นผู้ฟ้องคดีกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอช และพวก ข้อหากบฏ ซึ่งจะต้องไปฟังคำสั่งศาลฎีกาในวันดังกล่าวว่าจะรับฟ้องคดีหรือไม่

ขณะที่เอกชัย หงส์กังวาน และรังสิมันต์โรมก็โพสต์หมายเรียกคดีนี้เช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ หากนับคดีล่าสุดนี้ อานนท์ กล่าวว่า เขาโดนแจ้งความดำเนินคดีทางการเมืองแล้วจำนวนทั้งสิ้น 14 คดี, รังสิมันต์ โรม ระบุในเฟสบุ๊คว่ารวมทั้งหมด 10 คดี ส่วนเอกชัยถูกดำเนินคดีทั้งสิ้น 3 คดี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การแจ้งข้อหาลักทรัพย์ดังกล่าว น่าจะสืบเนื่องจากคืนวันที่ 21 พ.ค.ก่อนการเดินขบวนประท้วงครบรอบ 4 ปีรัฐประหารในวันรุ่งขึ้น ผู้ชุมนุมมีการนอนค้างที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อีกทั้งพล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร.ก็เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่าจะมีการแจ้งความดำเนินคดีกับแกนนำ 6 คนใน 3 ข้อหาหนึ่งในนั้นคือลักทรัพย์ ทั้งนี้ ในการชุมนุมดังกล่าวมีการแจ้งข้อหากับผู้ร่วมชุมนุมด้วยรวมทั้งสิ้น 62 คน และมีการกำหนดชื่อเรียกคดีคนอยากเลือกตั้งครั้งนี้ว่า #UN62

ข้อหาแรก คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. แจ้งความเอาผิด 6 แกนนำ นายรังสิมันต์ โรม, นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์, นายเอกชัย หงส์กังวาน, นายปิยรัตน์ จงเทพ, นางสาวณัฐฐา มหัทธนา และนายนิกร วิทยาพันธ์ ข้อหาขัดคำสั่ง คสช. ที่ 3/2558 ร่วมกันมั่วสุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ข้อหาที่สอง ทำลายทรัพย์สินของทางราชการ กรณีกลุ่มผู้ชุมนุมตัดกุญแจประตู 3 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ข้อหาที่สาม ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน กรณีกลุ่มผู้ชุมนุมขโมยน้ำ - ไฟหลวง ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมมีการต่อสายตรงกับหม้อแปลงไฟของการไฟฟ้านครหลวงโดยไม่ได้ขออนุญาต

อย่างไรก็ตาม ในคดีทำลายทรัพย์สินของธรรมศาสตร์ เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าทางมหาวิทยาลัยจะไม่ดำเนินคดี (อ่านที่นี่)

ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผาสุก พงษ์ไพจิตร : 'ทุนพันลึก' บทวิเคราะห์ประชารัฐผลพวงจากความสัมพันธ์ 'รัฐ-ทุน'

Posted: 18 Jun 2018 04:23 AM PDT

รายงานคำอภิปรายของ ผาสุก กับการวิเคราะห์ 'ทุนพันลึก' ว่าด้วยความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างรัฐกับนักธุรกิจที่มีต่อนโยบายเศรษฐกิจ ผลประโยชน์ และความเหลื่อมล้ำในสังคม  ชี้ความสัมพันธ์รัฐธุรกิจที่เด่นชัดคือ 'ประชารัฐ'

ผาสุก พงษ์ไพจิตร (แฟ้มภาพ)

ภายในห้องเรียนของศูนย์ข้อมูล & ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง หรือ TCIJ School Season 5 เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.ที่ผ่านมา จัดบรรยายเรื่อง "ทุนพันลึก" โดย ผาสุก พงษ์ไพจิตรศาสตราจารย์และนักวิจัยจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์ความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างรัฐกับนักธุรกิจ เมื่อนายทุนใหญ่เข้ามามีบทบาททางการเมืองหรือมีบทบาทเกี่ยวกับนโยบายมากขึ้นจึงเกิดผลพวงที่มาจากสายสัมพันธ์นี้คือประชารัฐ ซึ่งบรรยายไว้ทั้งหมด 4 ประเด็นหลัก ดังนี้

รัฐกับนักธุรกิจ

ประเด็นที่ 1 รัฐกับนักธุรกิจ ผาสุก กล่าวถึง สิ่งที่ผู้อำนวยการ TCIJ นิยาม "ทุนพันลึก" ว่ามาจากแนวคิดที่ว่าประเทศไทยมีความเป็นรัฐพันลึกที่พัวพันซับซ้อนระหว่างเครือข่ายอำนาจและผลประโยชน์ต่างๆโดยเฉพาะหลังรัฐประหาร ทำให้ทุนใหญ่เข้ามามีบทบาทแม้แต่นโยบายชื่อว่า "ประชารัฐ" โดย ผาสุก ชี้ว่า ถ้าจับประเด็นสำคัญจากนิยามนี้คือเรื่องความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างรัฐกับนักธุรกิจ ผลพวงที่มีจากนโยบายอาจจะไม่ได้มีแค่ประชารัฐ อาจจะมีนัยยะอื่นๆนโยบายอื่นๆรวมทั้งเศรษฐกิจ การจัดสรรงบประมาณ การกระจายอำนาจ นโยบายเกี่ยวกับบทบาทของภาคประชาสังคม สิทธิเสรีภาพของสื่อ นโยบายลดความเหลื่อมล้ำและรวมทั้งเรื่องรัฐสวัสดิการด้วย

ความสัมพันธ์รัฐกับนักธุรกิจและผลพวงที่มีต่อนโยบาย ถือได้ว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่สามารถพบเห็นได้ในประเทศที่พัฒนาแล้ว กรณีที่ความสัมพันธ์ของรัฐกับนักธุรกิจที่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ เช่น ประเทศญี่ปุ่นนั้น รัฐกับธุรกิจได้ร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมจนประสบความสำเร็จทำให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจ ก้าวขึ้นเป็นสมาชิกของ องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development - OECD)  ได้ ซึ่งเกิดขึ้นได้เพราะเป็นระบบประชาธิปไตย ไม่ค่อยมีการคอรัปชั่นที่รุนแรงประชาชนมีเสรีภาพ อีกความสำเร็จของญี่ปุ่นคือสามารถลดความเหลื่อมล้ำจนได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีความเท่าเทียมสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก

ด้านกรณีความสัมพันธ์รัฐกับธุรกิจในรูปแบบที่ไม่น่าพอใจ ก็สามารถพบเห็นได้และอยู่ในระบอบประชาธิปไตยก็คือประเทศมาเลเซีย เป็นที่น่าสนใจคือ นาจิบ ราซัก ที่อยู่ไม่ได้ แต่ก็มีความพยายามต่างๆ ที่จะอยู่ให้ได้ เช่น เข้าไปแทรกแซงกระบวนการตุลาการและรวบรวมพรรคพวกแต่สุดท้ายก็แพ้การเลือกตั้งไป จะเห็นว่าความสัมพันธ์นี้ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นใหม่และมันมีทั้งที่เป็นผลดีและผลเสีย ประเทศไทยนั้นมีพัฒนาการที่แตกต่างจากทั้งของญี่ปุ่นและของมาเลเซีย ผลกระทบถึงนโยบายอนาคตของสังคมไทยก็จะแตกต่างเช่นกัน

ความสัมพันธ์รัฐ-ธุรกิจในการเมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สู่ระบอบทักษิณจนถึงปัจจุบัน

ประเด็นที่ 2 ความสัมพันธ์รัฐธุรกิจในการเมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สู่ระบอบทักษิณ ชินวัตร จนถึงปัจจุบัน ผาสุก อธิบายว่า ถ้าหากย้อนไปสมัยช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะในปี 2490-2500 ก่อนสมัยของ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นสมัยซึ่งนักธุรกิจไทยยังไม่เข้มแข็งภาคเกษตรมีความสำคัญกว่าภาคอุตสาหกรรม ในระบบการปกครองข้าราชการเป็นใหญ่มีสหรัฐและธนาคารโลกคอยหนุนหลังด้านนโยบายด้านเศรษฐกิจ นักธุรกิจจึงเป็นรองมักจะอยู่ข้างหลังและถูกกำกับด้วยข้าราชการหรือนักการเมือง แทบจะไม่มีบทบาทที่จะเข้ามามีส่วนในการกำหนดนโยบายเขาจึงเรียกระบบนี้ว่ารัฐราชการวิสาหกิจ

หลังจากมีแผนเศรษฐกิจจนถึงสมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกฯ เริ่มมีการปรับเปลี่ยน มีอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นนักธุรกิจเริ่มเข้ามามีบทบาท แต่อำนาจการเมืองยังไม่อยู่ในภาวะรวมศูนย์กระจายเป็นหลายขั้วอำนาจ รัฐบาลที่เกิดขึ้นคือการรวมกลุ่มของนักการเมืองขนาดเล็กหลายพรรคในลักษณะเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ถ้าหากว่าเกิดการรัฐประหารขึ้นก็ไม่ได้มีการควบรวมอำนาจไปอยู่ที่คนๆ เดียว จึงเปิดช่องให้กลุ่มธุรกิจต่างๆ หาวิธีสร้างสายสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์มีทั้งระดับนายพลและรัฐมนตรี จึงเริ่มมีการแข่งขันและเรียกกันว่าระบบอุปถัมภ์ที่มีการแข่งขัน

นักธุรกิจสามารถเข้าถึงทรัพยากรบางอย่างที่ต้องการ เข้าถึงนโยบาย สัมปทาน สิทธิพิเศษจากระบบรัฐที่สามารถเพิ่มกำไรให้ธุรกิจได้ เช่น สามารถเช่าที่รัฐบาลหรือได้โครงการจากรัฐบาล ได้สัมปทานโครงการใหญ่ๆ นี่เป็นสถานการณ์ทางเศรษฐกิจการเมืองไทยมาตั้งแต่ประมาณปี 2504 มาจนถึงสมัยคุณทักษิณเมื่อปี 2544 ในยุคนี้ก็เกิดระบอบพรรคพวกนิยมทักษิณ เกิดขึ้นในกรอบโครงของประชาธิปไตยที่แน่นหนาแต่เป็นประชาธิปไตยที่สังคมยังลองผิดลองถูกอยู่ ในบริบทที่หลักการนิติรัฐและระบบกฎหมายที่จะกำกับการใช้อำนาจของผู้บริหารในระบบการปกครองระดับสูงยังไม่ลงหลักปักฐาน และในขณะเดียวกันในรัฐธรรมนูญ 2540 ได้ให้อำนาจกับนายกรัฐมนตรีสูงมากกว่ารัฐธรรมนูญฉบับอื่นๆ

ระบอบพรรคพวกนิยมนั้นหมายถึงกลุ่มที่เป็นพรรคพวกของคุณทักษิณ มีทั้งธุรกิจครอบครัวและนักธุรกิจที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ มีลักษณะพิเศษ 2 ประการ อย่างแรกคือพรรคไทยรักไทยทำตามนโยบายที่หาเสียงอย่างรวดเร็ว ผู้ได้รับประโยชน์ที่เป็นคนระดับล่างทั้งในเมืองและชนบท จึงสร้างความประทับใจส่งผลให้ระบบรัฐสภาประชาธิปไตยเป็นที่นิยมอย่างล้นหลาม ประการที่สองของพรรคพวกนิยมระบอบทักษิณสู่การรวมศูนย์อำนาจทางการเมืองอยู่ที่กลุ่มของทักษิณ ระบบความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ขาดความโปร่งใสขัดแย้งกับความยุติธรรม อีกนัยหนึ่งคือขัดกับหลักการของประชาธิปไตย แม้รัฐบาลชุดนี้จะส่งผลดีก็จริงแต่มันก็ยังมีจุดอ่อนอย่างที่ได้กล่าวมา ซึ่งจุดอ่อนนี้ก็ทำให้ระบบทักษิณอยู่ได้ไม่นานไม่ยั่งยืนและถูกทดแทนโดยรัฐประหารและประชารัฐ

มาถึงสมัย คสช. กลุ่มที่แต่งตั้งตัวเองเป็นรัฐบาลหลังรัฐประหารปี 2557 แทนที่จะทำลายระบอบพรรคพวกนิยมทักษิณแต่สิ่งที่เกิดคือเป็นการปรับและทำให้เข้มแข็งขึ้น อีกนัยหนึ่งก็คือทำให้เป็นระบบยังมีความพยายามจะใช้กรอบกฎหมายมากำกับด้วย ในรูปของการเขียนรัฐธรรมนูญและรูปกฎหมายอื่นๆ ที่เอื้อกับกรอบประชารัฐ ประชารัฐมีพรรคพวกที่กว้างขวางจากหลากหลายกลุ่มมากขึ้น มีทั้งข้าราชการที่ประจำการและเกษียร ทั้งทหารที่ประจำการและพลเรือนรวมทั้งฝ่ายตุลาการ มีกองทัพ 4 เหล่าเป็นผู้ปกป้องต่อมามีการเชิญชวนนักธุรกิจใหญ่ระดับนำ ให้เข้ามาร่วมรวมในศูนย์กลางอำนาจ ในการกำหนดนโยบายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

ความสัมพันธ์รัฐกับธุรกิจและผลพวงนโยบายที่เป็นรูปธรรมบางประการ

ประเด็นที่ 3 ความสัมพันธ์รัฐกับธุรกิจและผลพวงนโยบายที่เป็นรูปธรรมบางประการ ประเด็นนี้ ผาสุก พูดถึงประชารัฐ ที่มาของคำ, แนวคิดและการตีความ ได้มีโอกาสอ่านงานของ อ.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องประชารัฐในมติชนรายวันว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้พูดเมื่อเดือนกันยายน 2558 ในเวทีสานพลังประชารัฐบอกว่า ประชารัฐไม่ใช่เรื่องใหม่ มันต่อเนื่องกับธรรมาภิบาลใช้มาตั้งแต่แผน 8 ด้าน นพ.พลเดช ปิ่นประทีป ประธานมูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ได้เขียนและเสนอแนวคิดประชารัฐอย่างเป็นระบบตั้งแต่ปลายปี 2558 โดยเปรียบเทียบว่า ประชานิยมเอาเงินไปแจกชาวบ้าน ประชารัฐเสริมสร้างความเข้มแข็งประชาชนฐานรากให้หายจน มีเกียรติพึ่งตนเองได้ ควบคุมนักการเมืองทำให้เป็นประชาธิปไตยโดยแท้จริง

สำหรับคุณสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ บอกว่าประชารัฐไม่ใช่แนวคิดใหม่ เป็นเรื่องการทำงานต้องทำงานร่วมกันระหว่างรัฐ,เอกชนและประชาชน ต่อมา อ.พิชญ์ ได้วิเคราะห์เพิ่มเติมว่าประชารัฐเป็นวาทกรรมที่รองรับความชอบธรรมของการปกครองและการเมืองในยุค คสช.ใช้แนวคิดชาตินิยมและธรรมาภิบาล ฐานของประชารัฐก็คือกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน หรือ NGO ส่วนหนึ่งและกลุ่มข้าราชการนักธุรกิจ และที่ว่าเป็นวาทกรรมนั้นก็เพราะว่าเรื่องจริงมันคือความขัดแย้งในระดับพื้นที่ เช่น การใช้ ม.44 หรือประชาชนไม่มีส่วนร่วมจึงทำให้รู้สึกว่าขาดสิทธิเสรีภาพต่างๆ

นักวิเคราะห์จากสื่อสำคัญท่านหนึ่งพูดไว้น่าสนใจว่า คุณสมคิดเวลาพูดอยู่ในสายสัมพันธ์ประชารัฐต่างๆจะให้ความสำคัญกับคนจน,เกษตร,ผู้ประกอบการรายย่อย ทำให้สื่อใหญ่ของญี่ปุ่นคือ นิเคอิ เข้าใจผิดแล้วก็เขียนออกมาว่าประเทศไทยย้อนกลับไปอยู่ในสมัยทักษิณ แต่เมื่อวิเคราะห์ลึกๆแล้วจะพบว่ากลุ่มประชารัฐมีแผนแยกแตกต่าง มีการแก้ข้อผิดพลาดในอดีตที่ว่าประชานิยมต้นทุนสูงและมีความต้องการลบทุกอย่างของรัฐบาลทักษิณ อาจจะเพิ่มเติมว่าแนวคิดประชารัฐเป็นการต่อกรกับประชานิยมที่ต้องการลบความยึดแน่นในประชาธิปไตยจากชาวบ้าน แล้วสร้างฐานสนับสนุนขึ้นมาใหม่ที่เป็นมวลชนมายึดแน่นกับระบบการกุศลโดยรัฐ และมีบัตรคนจนแบบไม่ต้องเช็คว่าจนจริงไหม

ประชารัฐมีรูปธรรมอย่างหนึ่งที่ชัดเจนคือเรื่องคณะกรรมการขับเคลื่อนประเทศ 12 ชุด สิ่งที่เกิดขึ้นคือ การเชิญนักธุกิจใหญ่ให้มาร่วมในคณะทำงานระหว่างภาคราชการและภาคเอกชน ในคณะทำงานทั้ง 12 ชุด หัวหน้าจะเป็นการประกบคู่กันระหว่างเจ้าหน้าที่กระทรวงและ CEO ของกลุ่มบริษัทใหญ่ เช่น ประชารัฐสามัคคีทั่วประเทศเพื่อเศรษฐกิจฐานราก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจับคู่กับผู้อำนวยการใหญ่บริษัทไทยเบฟฯ จึงเกิดสถานการณ์ที่นักธุรกิจขนาดใหญ่สามารถทำงานใกล้ชิดกับผู้มีอำนาจการเมืองสูงสุดในประเทศได้ในกรอบโครงของคณะทำงานนี้

สำหรับรูปธรรมในเรื่องอื่นๆ เช่น การยกเลิกระบบข้อตกลงแบ่งผลประโยชน์ 70:30 ชาวไร่อ้อยและโรงงานโดยฝ่ายชาวไร่แทบจะไม่มีส่วนร่วม เรื่องนี้จริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากและยังไม่มีสื่อลงไปทำอย่างลึกซึ้ง มีเพียงบทความของ อ.วีรพงษ์ รามากูร ในมติชนรายวัน ซึ่งผลพวงของประชารัฐที่ยังมีโครงการรถไฟความเร็วสูงจีน – ไทย โครงการนี้ก็มีการถกเถียงกันมากว่าคุ้มทุนหรือไม่แต่ก็ยังดำเนินการสร้างต่อ

การตั้งบริษัทประชารัฐ รัฐสามัคคีประเทศไทย จำกัดเป็น Holding company และก็ยังมีการจัดตั้งบริษัทลูกในอีก 77 จังหวัด บริษัทเหล่านี้จัดตั้งขึ้นเพื่อให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการในท้องถิ่น ในการส่งเสริมอาชีพผ่านกลุ่มงานเกษตรแปรรูปและการท่องเที่ยว ตามนโยบายการดำเนินงานสานพลังประชารัฐ บริษัทใหญ่ๆ ที่เข้ามาร่วมทุนกับโครงการนี้ก็จะได้รับการยกเว้นภาษี มีบริษัทชั้นนำบางแห่งที่พร้อมจะเข้าไปลงทุน 99.99% แล้วในกลุ่มอื่นๆ ก็ลงทุนระดับที่น้อยลงมา บริษัทประชารัฐส่วนใหญ่ทำในเรื่องการส่งเสริมเกษตร ส่งเสริมคนท้องถิ่นต่างๆ ให้มีกิจกรรมที่หลากหลายมากขึ้น เช่น ที่เชียงใหม่ประชารัฐพยายามส่งเสริมให้ประชาชนปลูกต้นไผ่แทนข้าวโพด

เมื่อเร็วๆ นี้บริษัทประชารัฐรัฐสามัคคี Holding โดยบริษัท ไทยเบฟฯ ที่มีหุ้น 99.9% พึ่งจะลงนามความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ เพื่อสนับสนุนการผลิตผ้าขาวม้าไปขายทั่วโลก และยังมีกิจกรรมอื่นๆ อีก กิจกรรมสอนเลี้ยงผึ้ง โครงการเกษตรปราดเปรื่อง โครงการเกษตรแปลงใหญ่ โครงการบริษัทผู้ผลิต (Producer Company) สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนวิสัยทัศน์ของกลุ่มคนที่จัดตั้งหรือเสนอแนวคิดประชารัฐ คือการให้ความสำคัญกับกลุ่มคนใหญ่เป็นระบบขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทั้งทุนใหญ่ในไทยและต่างประเทศ เพราะฉะนั้นรูปธรรมของประชารัฐในด้านนโยบายเศรษฐกิจอีกอย่างหนึ่งคือเรื่องของ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ซึ่งจะมีการชักชวนนักธุรกิจใหญ่ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุน มีคนเสนอว่าประชารัฐในด้านเศรษฐกิจ มีโครงการที่มีความเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนค่อนข้างมาก เลยชูประเด็นเรื่องการดึงเอาตัวนักธุรกิจเข้ามาร่วมวงหรือร่วมมือในการสร้างนโยบายเศรษฐกิจโดยตรงไม่ใช่เป็นตัวแทนผ่านสมาคมหรือองค์กรของนักธุรกิจ นอกจากนั้นประชารัฐยังมีการใช้ ม.44 ในการผลักดันโครงการขนาดใหญ่โดยไม่มีการรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) หรือผลกระทบทางสังคม

ประชารัฐกับประเด็นความเหลื่อมล้ำ สวัสดิการ

ประเด็นที่ 4 ประชารัฐกับประเด็นความเหลื่อมล้ำ สวัสดิการ สืบเนื่องมาจากนิตยสารฟอร์บส์ได้จัดอันดับ 50 เศรษฐีไทยในปี 2561 มูลค่ารวมของเศรษฐีไทย 50 รายพุ่งสูงกว่า 5 ล้านๆ บาท เพิ่มขึ้น 1 ใน 3 ในครึ่งปี หากมองย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2557 พบว่ากลุ่มเศรษฐีไทย top 4 มูลค่าของทรัพย์สินรวมกันเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัวตั้งแต่ปี 2557 จะเป็นพวกกลุ่มค้าปลีก, แปรรูป, กลุ่มเครื่องดื่มชูกำลัง, กลุ่มสุราและอสังหาริมทรัพย์ หากเราวิเคราะห์ประกอบกับนโยบายเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น มันก็มีความเกี่ยวโยงกันกับนโยบายในเรื่องการลดภาษีเงินได้ขั้นสูงทั้งนิติบุคคลและรายบุคคลธรรมดา หรือนโยบายช้อปช่วยชาติ และการมีเครือข่ายใกล้ชิดกับระบบรัฐบาลกับคนสำคัญก็เป็นเรื่องของการเปิดช่องที่จะเข้าถึงทรัพยากร เข้าถึงสิทธิประโยชน์หรือการส่งแรงดันต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบาย ในบางทีเราอาจจะมองไม่เห็นแต่มันมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นซึ่งให้ประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องได้

จะเห็นตัวเลขดัชนีแสดงความเหลื่อมล้ำในสังคมมันมีแนวโน้มลดลงหลังเศรษฐกิจวิกฤต 2540 แต่หลังๆ เริ่มเพิ่มขึ้นซึ่งเรื่องนี้มันก็สะท้อนถึงกลุ่มคนจำนวนน้อยที่อยู่บนพีระมิดสังคมมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันมีนโยบายที่ทำให้คนตัวเล็กเสียเปรียบ บางทีจนถึงขนาดขาดแหล่งทำมาหากินเช่น นโยบายการจัดระเบียบแผงลอย ทางเท้าไม่ให้คนขายของแต่ไม่ได้จัดหาที่ให้คนเหล่านี้ขายของเพื่อเป็นการทดแทน ขณะที่ Thailand 4.0 ยังไม่ก้าวไปไหน ที่สิงคโปร์ก็มีการจัดระเบียบแผงลอยทางเท้าเช่นเดียวกันแต่เขาได้มีการจัดที่ให้คนเหล่านี้ได้ไปขายของซึ่งก็ตั้งอยู่ในเขตชุมชนด้วย ในกรณีของประเทศไทยที่ยกเลิกเพราะให้เกิดความเรียบร้อยเพื่อให้กรุงเทพฯ มีความศิวิไลซ์เหมือนกับปารีสหรือลอนดอนไม่มีหาบเร่ไม่มีแผงลอย แต่ตรงนี้มันทำให้คนขาดการทำมาหากินจำนวนมากบางคนต้องกลับบ้าน บางคนต้องพยายามไปแอบที่ซอยต่างๆเพื่อขายของ

การยกเลิกข้อตกลงระบบแบ่งผลประโยชน์ต่อชาวไร่อ้อยและโรงงาน 70:30 ที่เคยมีมาเป็นเวลานานและก็ได้ผลดีแต่ก็ถูกยกเลิกไป การยกเลิกระบบนี้คือโรงงานก็จะได้ประโยชน์จากการบีบอ้อยเอาไปทำขนมเอาไปทำอย่างอื่นได้โดยไม่ต้องแบ่งกับชาวไร่อ้อย มีข้อถกเถียงว่าการยกเลิกข้อตกลงอะไรแบบนี้ มันน่าจะต้องพูดคุยกันระหว่างสองฝั่งมากกว่าที่จะใช้ม.44 นโยบายที่กล่าวมานั้นถือได้ว่าทำให้ประชาชนทั่วไปเสียเปรียบเทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่และร้านสะดวกซื้อ เราจึงพบว่าเศรษฐีไทยเข้าสู่ศูนย์กลางอำนาจในการกำหนดนโยบาย มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล โอกาสที่คนธรรมดามีสิทธิสู้แรงกดดันต่อนโยบายกลับลดลง จึงไม่แปลกใจที่ความเหลื่อมล้ำมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้น อีกเรื่องหนึ่งที่ยังไม่พูดถึงประชารัฐที่เป็นรูปธรรมอีกอันหนึ่งแต่ยังไม่เกิดขึ้นก็คือ การคุกคามที่จะยกเลิกระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ถือว่ายังอยู่ในช่วงที่พยายามจะยกเลิกแต่ยังไม่ยกเลิกและก็ยังมีโอกาสเสี่ยงที่จะยกเลิกค่อนข้างสูง

ผาสุก สรุปว่า ประชารัฐเป็นความพยายามที่จะทดแทนประชานิยมสมัยพรรคเพื่อไทยและพรรคพวก แล้วก็พยายามที่จะดึงมวลชนออกจากความยึดแน่นความเชื่อถือในระบบรัฐสภาประชาธิปไตยมาสู่ความเชื่อถือในระบบการกุศลจากภาครัฐอาจจะเป็นในรูปของบัตรคนจนหรืออะไรก็ตาม โดยที่ประชาชนไม่ได้มาด้วยการมีสิทธิ์จากการออกเสียงเลือกตั้ง แล้วเรียกร้องให้พรรคที่ตนสนับสนุนอยู่เป็นผู้ดำเนินนโยบาย มีลักษณะเป็นเหมือนการกุศลประชาชนไม่ต้องเรียกร้องแค่รออยากได้อะไรห้ามพูดห้ามบอก รอให้ภาคราชการ ภาครัฐบาลหาให้หรืออยากที่จะจัดให้ อันนี้ก็เป็นความแตกต่างในเรื่องของวิธีคิดเกี่ยวกับการปกครองเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

คสช.ใช้คำว่าประชารัฐมาเพื่อทดแทนประชานิยมเป็นวาทกรรมปฏิเสธทักษิณและกลุ่ม ในทางปฏิบัติเน้นไปที่หน้าที่ เน้นบทบาทของข้าราชการจะพูดถึงว่ามีส่วนร่วมในการพัฒนาแต่เอาเข้าจริงในการปฏิบัติคือห้ามออกความคิดเห็น ห้ามประชุมกันเกิน 5 คน ยกเลิกการเลือกตั้ง อปท.ปฏิเสธหลักการที่ว่าสวัสดิการเป็นของประชาชนซึ่งจะเรียกร้องจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ภายใต้ คสช.สวัสดิการเป็นเหมือนการกุศล ประชารัฐมีวิสัยทัศน์อยากจะให้นักธุรกิจใหญ่นำประเทศเป็นประเทศพัฒนาจนสามารถเป็นสมาชิกของ OECD ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ ได้ตั้งความหวังไว้ตอนรัฐประหารเมื่อปี 2557 ว่าอยากจะเข้าไปอยู่ในสมาชิก OECD ในเวลา 20 ปีซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนับสนุนเพราะเอาเข้าจริงเรื่องนี้ OECD จะให้เข้าไปอยู่ได้ก็ต่อเมื่อระบบรัฐบาลมีความโปร่งใสและแก้ปัญหาคอรัปชั่น ถ้าไม่แก้เรื่องนี้ก็เข้า OECD ไม่ได้ เราจึงควรจะสนับสนุนวิสัยทัศน์นี้

 

สำหรับ ทัศมา ประทุมวัน ผู้รายงานชิ้นนี้ ปัจจุบันเป็นนักศึกษาฝึกงานกับประชาไท ประจำปีการศึกษา 1/2561 จากคณะศิลปศาสตร์ สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีความสนใจด้าน ข่าว การเมือง การ์ตูน และซีรีส์เกาหลี

 

ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสทช.ถก 5 ชม.ยันใช้เกณฑ์เดิมประมูลคลื่น 1800 ไม่ร่วมประมูลไม่เยียวยา

Posted: 18 Jun 2018 03:50 AM PDT


18 มิ.ย.2561 มติชนออนไลน์ รายงานว่า นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อทบทวนปรับปรุงเงื่อนไขการเปิดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ว่า การประชุมในวันนี้เบื้องต้นยังไม่สามารถสรุปเนื้อหาทั้งหมดได้อย่างชัดเจน เนื่องจากจะต้องนำเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองงานของ กสทช.ด้านโทรคมนาคมอีกครั้งในวันที่ 19 มิถุนายนนี้ และนำเข้าที่ประชุมบอร์ด กสทช.อีกครั้งในวันที่ 27 มิถุนายน 2561 ซึ่งอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ จึงไม่อยากที่จะระบุรายละเอียดต่างๆ ที่ชัดเจน

เบื้องต้นเนื้อหาที่จะนำเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการ กสทช.ในวันพรุ่งนี้ ประกอบด้วย 1.จะมีการพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ต่อเนื่อง ตามกรอบระยะเวลาเดิม 2.พิจารณา กรณีดีแทค ยื่นขอใช้สิทธิ์เยียวยาคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ 3.พิจารณา กรณีดีแทค ยื่นขอใช้สิทธิ์เยียวยาคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ และ 4.พิจารณานำคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ออกมาประมูลในครั้งนี้ด้วย ทั้งนี้ การดำเนินการประมูลจะต้องเสร็จสิ้นภายในวันที่ 15 กันยายน 2561 ก่อนสัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดลง

นายฐากรกล่าวว่า ยืนยันว่า หลักเกณฑ์การประมูลยังคงเป็นไปตามเดิม คือ ราคาตั้งต้นการประมูลจะไม่ลดลง และการปรับลดขนาดในอนุญาตให้เหลือเพียงใบอนุญาตละ 5 เมกะเฮิรตซ์นั้น ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากจะไม่ทันกำหนดก่อนวันที่ 15 กันยายน 2561 เพราะจำเป็นจะต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะใหม่ ทั้งนี้ หาก กสทช.ได้ดำเนินการทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้ว ยังไม่มีผู้เข้าร่วมการประมูลก็ต้องรอไปอีกสักระยะ เนื่องจาก กสทช.จะต้องมีการปรับหลักเกณฑ์ใหม่ทั้งหมด ทั้งนี้ อยากให้ทำความเข้าใจว่า หากไม่เข้าร่วมการประมูลก็จะไม่สามารถเข้าสู่มาตรการเยียวยาได้ ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการหารือดังกล่าวเริ่มตั้งแต่เวลา 11.00 น.และเสิร็จสิ้นเมื่อเวลาประมาณ 17.00 น. โดยใช้เวลาหารือทั้งสิ้นเกือบ 5 ชั่วโมง

 


 

ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 11-17 มิ.ย. 2561

Posted: 18 Jun 2018 03:25 AM PDT

เดดไลน์!! 30 มิ.ย.รัฐบาลขีดเส้น แรงงานต่างด้าวพิสูจน์สัญชาติ

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผย ขณะนี้เหลืออีก 2 สัปดาห์ในการพิสูจน์สัญชาติ การจัดทำและปรับปรุงทะเบียนประวัติแรงงานต่างด้าว โดยตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.นี้ จะเริ่มระดมกวาดล้างแรงงานผิดกฎหมาย

"พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด" โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้ "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี ได้รับทราบรายงานความคืบหน้าการพิสูจน์สัญชาติ การจัดทำและปรับปรุงทะเบียนประวัติแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ระยะที่ 2 ณ ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จทั่วประเทศแล้ว

โดยล่าสุดแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาได้รับการพิสูจน์สัญชาติครบถ้วนแล้ว ส่วนกัมพูชายังคงเหลือที่ต้องเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติอีก 22,770 คน และลาว 5,614 คน  ส่วนการจัดทำและปรับปรุงทะเบียนประวัติแรงงานต่างด้าว ตรวจลงตราวีซ่า และขออนุญาตทำงาน ณ ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ ระยะที่ 2 นั้น มีแรงงานที่คงเหลือจะต้องเข้าศูนย์ฯ อีกประมาณ 59,000 คน

"นายกฯ ขอบคุณทางการเมียนมา และนายจ้างของแรงงานต่างด้าวเมียนมา ที่ได้ดำเนินการพิสูจน์สัญชาติแล้วเสร็จก่อนกำหนดที่ตั้งไว้ และขอความร่วมมือส่วนที่เหลือให้เร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งการพิสูจน์สัญชาติและขั้นตอนอื่นๆ เพราะเหลือเวลาอีกเพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น เพื่อประโยชน์ของทั้งตัวแรงงานเองและการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวโดยรวม"

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า "นายกรัฐมนตรี" เน้นย้ำว่าไม่ควรรีรอจนถึงวันสุดท้าย เพราะอาจไม่ทันเวลาหรือไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร หากมีผู้ไปติดต่อจำนวนมาก และรัฐบาลจะไม่มีการผ่อนปรนหรือขยายเวลาอย่างแน่นอน

หากพ้นวันที่ 30 มิ.ย.นี้แล้วยังไม่ไปดำเนินการ แรงงานต่างด้าวจะไม่สามารถอยู่และทำงานต่อไปได้ โดยจะต้องกลับประเทศต้นทางและกลับเข้ามาใหม่ในรูปแบบการนำเข้าแรงงานตามระบบ MOU

ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 61 เจ้าหน้าที่จะระดมกวาดล้างผู้กระทำผิดกฎหมายครั้งใหญ่ หากพบแรงงานต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือทำงานนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด จะมีโทษปรับ 5,000 – 50,000 บาท และเมื่อชำระค่าปรับแล้วจะถูกส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร และห้ามขออนุญาตทำงานภายใน 2 ปี

ส่วนนายจ้างที่จ้างแรงงานต่างด้าวโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือทำงานนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด จะมีโทษปรับ 10,000 -100,000 บาทต่อแรงงานต่างด้าวที่จ้าง 1 คน หากกระทำผิดซ้ำต้องมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามจ้างแรงงานต่างด้าวทำงานเป็นเวลา 3 ปี

ที่มา: คมชัดบึก, 17/6/2561

จ๊อบไทยดอทคอมเผยสถานการณ์แรงงานในช่วงครึ่งหลังปี 2561 พร้อม 10 สายงาน ที่ต้องการแรงงานมากที่สุด

จ๊อบไทยดอทคอม เว็บไซต์หางาน คาดการณ์ภาพรวมสถานการณ์แรงงานไทยในช่วงครึ่งปีหลัง ปี 2561 จากการวิเคราะห์ฐานข้อมูลเว็บไซต์ตั้งแต่ปี 2016 จนถึงปัจจุบันพบ 10 สายงานที่คาดว่า ต้องการแรงงานมากที่สุด ดังนี้ 1. พนักงานขาย จำนวน 17,000-21,000 อัตรา 2. ช่างเทคนิค จำนวน 9,000-11,500 อัตรา 3. ผลิต/ควบคุมคุณภาพ จำนวน 8,000-9,800 อัตรา 4. บริการลูกค้า จำนวน 5,800-7,000 อัตรา 5. บัญชี/การเงิน จำนวน 5,000-6,500 อัตรา 6. ธุรการ/จัดซื้อ จำนวน 4,800-5,900 อัตรา 7. วิศวกรรม จำนวน 4,600-5,700 อัตรา 8. อาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 3,900-4,700 อัตรา 9. คอมพิวเตอร์/ไอที จำนวน 3,200-3,900 อัตรา และ 10. โลจิสติกส์และซัพพลายเชน จำนวน 2,900-3,500 อัตรา

ทั้งนี้สอดคล้องกับผลสำรวจสำนักงานสถิติแห่งชาติ ประจำเดือน เม.ย.2561 ที่พบว่า ความต้องการแรงงานของภาคการผลิต ขนส่งและบริการ มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้าน น.ส.แสงเดือน ตั้งธรรมสถิตย์ ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าผู้บริหารด้านปฏิบัติการ เว็บไซต์จ๊อบไทยดอทคอม กล่าวว่าสถานการณ์แรงงานไทยจากผลสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ประจำเดือน เม.ย.2561 ของสำนักงานสถิติฯ พบว่าประเทศไทยมีความต้องการแรงงานกลุ่มภาคการผลิต ขนส่ง ตลอดจนบริการ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว สอดคล้องไปกับสถานการณ์ปัจจุบันของเศรษฐกิจประเทศไทยที่อยู่ในช่วงกำลังฟื้นตัว สำหรับปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนการเติบโตเศรษฐกิจไทย ยังคงเป็นภาคส่งออก ท่องเที่ยว บริโภคของเอกชน และการลงทุนภาครัฐในโครงการสำคัญต่างๆ โดยเฉพาะในโครงการ EEC ที่คาดว่าจะปิดประมูลเสร็จในไตรมาส 2 จะทำให้ครึ่งปีหลังเริ่มมีนักลงทุนเข้ามามากขึ้น รวมถึงมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐในโครงการต่างๆ ก็เริ่มทยอยออกมาอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นการบริโภคของประชาชน

ขณะที่ภาคส่งออกและบริการได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก และจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งจากในประเทศและต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยคาดว่าครึ่งปีหลังยังมีแนวโน้มที่เป็นบวก ซึ่งการขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลต่อความต้องการแรงงานไทยในอนาคต เพื่อมารองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ น.ส.แสงเดือน กล่าวต่อว่า จากฐานข้อมูลของเว็บไซต์จ๊อบไทยดอทคอมยังมีตำแหน่งงานจากบริษัทชั้นนำทั่วประเทศอีกมากมาย สำหรับผู้ต้องการหางาน สมัครงานสามารถใช้บริการของจ๊อบไทยดอทคอมได้ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กระทรวงแรงงานเปิดเผยตัวเลขผู้จบปริญญาตรีปีละประมาณ 3 แสนคน แต่กว่าครึ่งต้องออกมาเตะฝุ่น เหตุเลือกเรียนไม่ตรงความต้องการของตลาดแรงงาน เลือกตามค่านิยม ป.ตรีตกงาน1.7แสน ระบุเรียนมาไม่ตรงความต้องการตลาด

ที่มา: ไทยรัฐ, 15/6/2561

รมว.แรงงาน ตั้งเป้าพัฒนาฝีมือสูงวัย 7.7 หมื่นคน เอกชนขานรับนโยบายจ้างงานผู้สูงอายุ

เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2561 พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน "สานพลังประชารัฐ สร้างงาน สร้างอาชีพรองรับสังคมผู้สูงอายุ" ณ ห้องประชุมเทียนอัชกุล ชั้น 10 กรมการจัดหางาน เพื่อร่วมกันหารือถึงแนวทางในการส่งเสริมการมีงานทำแก่ผู้สูงอายุ และความต้องการของภาคเอกชนที่จะให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการส่งเสริมการมีงานทำผู้สูงอายุ โดยมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมประชุม โดย รมว.แรงงาน กล่าวว่า วันนี้เรื่องผู้สูงอายุเป็นเรื่องใหญ่ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีอยู่จำนวน 11 กว่าล้านคน ซึ่งเป็นวาระสำคัญของรัฐบาลที่นายกรัฐมนตรีได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนทั้งในเรื่องของการจ้างงานผู้สูงอายุ ที่อยู่อาศัย สินเชื่อรวมทั้งการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ ในส่วนของกระทรวงแรงงาน ได้มีเป้าหมายดำเนินการส่งเสริมการมีงานทำของผู้สูงอายุจำนวน 15,600 คน ทั้งการทำงานแบบมีนายจ้าง การรับงานไปทำที่บ้าน และอาชีพอิสระ รวมทั้งมีเป้าหมายในการพัฒนาทักษะฝีมือให้แก่ผู้สูงอายุเพื่อให้สามารถทำงานได้จำนวน 77,000 คน

พล.ต.อ.อดุลย์ฯ กล่าวต่อว่า ในระยะต่อไปกระทรวงแรงงาน จะพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.การจ้างงานผู้สูงอายุ การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมงของผู้สูงอายุ ขณะเดียวกันจะมีการกำหนดมาตรการทางภาษีเพื่อให้สามารถจูงใจภาคเอกชนในการจ้างงานผู้สูงอายุเพิ่ม ทั้งนี้ ในปี 2562 ระบบการจ้างงานผู้สูงอายุจะมีความชัดเจนมากขึ้น ทั้งตำแหน่งงาน ประเภทของงาน ลักษณะงานที่ผู้สูงอายุสามารถทำได้ การพัฒนาทักษะฝีมือ การคุ้มครองและหลักประกันทางสังคม โดยกระทรวงแรงงานจะดำเนินการตามแผนปฏิบัติการพร้อมกับการแก้ไขกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องควบคู่กันไปกับภาคเอกชนในหลายสถานประกอบการที่ได้มีการจ้างงานผู้สูงอายุก่อนหน้านี้ไปบ้างแล้ว เพื่อให้การส่งเสริมการมีงานทำของผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพและเห็นผลเป็นรูปธรรม อาทิ การกำหนดอัตราค่าจ้างรายชั่วโมง ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และนโยบาย บริการจัดหางาน จ้างงานผู้สูงอายุในภาครัฐ ขยายโอกาสการมีงานทำ ส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุในอาชีพที่เหมาะสมกับวัยและประสบการณ์ ฝึกอาชีพและพัฒนาเพิ่มทักษะฝีมือแรงงานผู้สูงอายุ ส่งเสริมสิทธิสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุ รวมทั้งสร้างหลักประกันทางสังคม เป็นต้น

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ, 14/6/2561

ก.แรงงานชูต้นแบบสถานประกอบกิจการที่ดี

นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จัดพิธีมอบรางวัล Thailand Labour Management Excellence Award สถานประกอบกิจการที่มีระบบบริหารจัดการด้านแรงงานยอดเยี่ยมขึ้น ปีนี้เป็นปีที่ 2 โดยมุ่งยกระดับการดูแลลูกจ้างให้ได้รับสภาพการจ้างงานที่เป็นธรรม มีความปลอดภัยในการทำงาน มีระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดีและมีสวัสดิการเหมาะสม สำหรับปี 2561 ได้กำหนดจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม 2561 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี นนทบุรี โดยได้รับเกียรติจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานพร้อมปาฐกถาพิเศษ

ทั้งนี้ กิจกรรมหลักของงานการมอบรางวัล Thailand Labour Management Excellence Award 2018 ให้แก่สถานประกอบกิจการที่มีการบริหารจัดการด้านแรงงานยอดเยี่ยมและธำรงรักษาได้ตามมาตรฐานเป็นระยะเวลานานที่สุด จำนวน 3 รางวัล ซึ่งจะได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นอกจากนี้ ยังมีการมอบรางวัลสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านแรงงานและสวัสดิการแรงงาน สถานประกอบกิจการต้นแบบดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สถานประกอบกิจการที่ธำรงรักษาระบบมาตรฐานแรงงานไทยและรางวัลอื่น ๆ รวมทั้งสิ้น 481 รางวัล

ที่มา: ไอเอ็นเอ็น, 14/6/2561

'อดุลย์' สั่งเร่งช่วยเหลือแรงงานไทย กลับจากภัยสงครามในลิเบีย

นายอนุรักษ์ ทศรัตน์ อธิบดีกรมการจัดหางาน(กกจ.) เปิดเผยว่า พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน(รมว.แรงงาน) สั่งเร่งติดตามช่วยเหลือแรงงานไทยที่เคยเดินทางไปทำงานที่ประเทศลิเบียและกลับประเทศไทยก่อนครบสัญญาจ้างเนื่องจากเกิดภัยสงคราม ให้ได้รับสิทธิประโยชน์หรือความคุ้มครองช่วยเหลือ

นายอนุรักษ์ กล่าวอีกว่า ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ กรมการจัดหางานได้แจ้งให้สำนักงานจัดหางานจังหวัดเร่งติดตามรายชื่อ ที่อยู่คนงานที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือด้านค่าจ้างค้างจ่ายและสิทธิประโยชน์อื่นๆ จากนายจ้างในต่างประเทศ

อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันได้เร่งรัดให้บริษัทที่จัดส่งแรงงานไทยไปลิเบียตรวจสอบการคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายให้แก่คนงานพร้อมทั้งประสานนายจ้างที่ลิเบียให้จ่ายค่าจ้างที่ค้างจ่ายและสิทธิประโยชน์ให้แก่แรงงานไทย

อธิบดีกรมการจัดหางาน  กล่าวย้ำว่า อย่างไรก็ตาม แรงงานไทยที่ยื่นคำร้องทุกข์ขอค่าบริการและค่าใช้จ่ายคืนจากบริษัทที่จัดส่ง ส่วนหนึ่งได้ข้อยุติเรื่องร้องทุกข์และได้รับการช่วยเหลือเรียบร้อยแล้ว บางส่วนยังไม่ได้คืน อยู่ระหว่างฟ้องร้องธนาคารผู้ค้ำประกันให้แก่บริษัทจัดหางานผู้จัดส่ง เพื่อหักหลักประกันคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายให้กับแรงงาน ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครอง

นายอนุรักษ์ กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ แรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศโดยบริษัทจัดหางานจัดส่งจะต้องเป็นสมาชิกกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานต่างประเทศ สำหรับประเทศลิเบียจ่ายค่าสมาชิกฯ ในอัตรา 400 บาทต่อคน ซึ่งจ่ายเพียงครั้งเดียว แต่คุ้มครองตลอดระยะเวลาสัญญาจ้าง ซึ่งกรณีที่ต้องเดินทางกลับประเทศไทยจากการประสบปัญหาจากภัยสงคราม จะได้รับการสงเคราะห์รายละ 15,000 บาท

โดยแรงงานทุกคนที่ได้ยื่นคำร้องได้รับเงินสงเคราะห์เรียบร้อยแล้ว สำหรับการติดตามค่าจ้างค้างจ่ายจากนายจ้างที่ประเทศลิเบียนั้น เรื่องยังไม่แล้วเสร็จเนื่องจากสถานการณ์ในประเทศลิเบียยังไม่สงบ และยังไม่มีความคืบหน้าในการเปิดสถานทูตไทย

ทั้งนี้ หากสถานการณ์ในประเทศลิเบียมีความสงบแล้ว จะได้ประสานสำนักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานเพื่อดำเนินการต่อไป โดยแรงงานจะได้รับค่าจ้างที่ค้างจ่ายคืนตามสัดส่วนของระยะเวลาในการทำงาน อย่างไรก็ตาม หากแรงงานที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือหรือยังไม่ได้ร้องทุกข์ สามารถยื่นคำร้องทุกข์ได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ, 13/6/2561

สมาพันธ์ครูชายแดนใต้ วอนดูแลธุรการ ร.ร. กว่า 600 ชีวิตระส่ำหลัง 'สพฐ.' เลิกจ้าง

เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2561 ที่ห้องประชุมสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา จ.ปัตตานี นายบุญสม ทองศรีพราย ประธานสมาพันธ์ครูสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมประชุมกับตัวแทน ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และธุรการของโรงเรียน ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กว่า 300 คน เพื่อหารือ แนวทางการช่วยเหลือบุคลากรปฏิบัติงานธุรการในสถานศึกษา 629 ราย กำลังถูกเลิกจ้าง เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แจ้งจัดสรรงบประมาณเป็นค่าจ้างเหมาบุคลากรปฏิบัติงานในสถานศึกษา ในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจชายแดนใต้ ประจำเดือน เม.ย.-มิ.ย. 2561 โดยแจ้งสิ้นสุดการจ้างภายในเดือนมิถุนายน 2561 นี้

ทำให้ธุรการของโรงเรียนได้รับผลกระทบ รวมทั้งโรงเรียนได้รับผลกระทบ เนื่องจากขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเอกสาร ข้าราชการครูต้องเสียเวลาการสอนเพื่อดำเนินงานธุรการแทน ทำให้ศักยภาพด้านการสอนลดลง นักเรียนจะได้รับความรู้ไม่เต็มศักยภาพ และไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนั้น บุคลากรทางการศึกษาจึงรวมตัวกันเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าใจ เห็นใจ และให้ความเป็นธรรมต่อพนักงานธุรการสถานศึกษา ซึ่งเป็นคนในพื้นที่โดยตรง อยากให้หน่วยงานที่รับผิดชอบช่วยเหลือและหาทางออกที่ดี เพื่ออนาคต ความเป็นอยู่ที่มั่นคงของบุคลากรปฏิบัติงานธุรการโรงเรียน

นายบุญสม กล่าวว่าการประชุมครั้งนี้เพื่อเรียกร้องสิทธิ อยากให้กระทรวงศึกษาธิการดูแลบุคคลเหล่านี้ ได้มีอาชีพ และอนาคตที่ยั่งยืน โครงการนี้จุดประกายให้การศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ขยับขึ้นแน่นอน ธุรการโรงเรียนเป็นบุคลากรที่เข้ามาทำให้การศึกษามีคุณภาพ สมเจตนารมณ์คืนครูสู่ห้องเรียน คืนครูสู่ชั้นเรียน คืนครูสู่นักเรียน ซึ่งธุรการทำหน้าที่เพื่อพัฒนาการศึกษาในประเทศซึ่งตกต่ำมานานให้ดีขึ้น จึงมาสมัครเป็นครูธุรการได้ประมาณ 10 เดือน แต่กลับมีคำสั่งว่าไม่มีงบประมาณ เนื่องจากว่างบไม่พอ จะเลิกสัญญาจ้างเหมา 9,000 ทำให้น้องๆวิตกกังวล กลัวไม่มีความมั่นคง โดยหลายคนลาออกจากงานเดิมมา หลายคนเป็นผู้นำครอบครัว

"ฝากเรียนไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ช่วยดูแลน้องๆเหล่านี้ให้มีงานทำต่อเนื่อง และเป็นระบบ เพียงแค่มีความหวังว่า บุคคลเหล่านี้เป็นคนในพื้นที่ คำพูดที่ว่าคนในพื้นที่สามารถช่วยชาติได้ น่าจะสมเจตนารมณ์ และเด็กตรงนี้เป็นเด็กในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งสิ้น ทั้งไทยพุทธและมุสลิม ซึ่งอยู่ภายใต้พหุวัฒนธรรม หวังว่ากระทรวงศึกษาธิการและผู้ที่เกี่ยวข้องจะช่วยเหลือน้องๆเหล่านี้ให้มีงานทำ"นายบุญสม กล่าว

นายปฏิวัติ หมานเหม ธุรการโรงเรียนบ้านควนขี้แรด อ.จะนะ จ.สงขลา กล่าวว่า หลังรู้ตัวเองว่าจะถูกเลิกจ้าง ตนรู้สึกกังวล เนื่องจากแต่ก่อนทำงานได้เงินเดือน 15,000 บาท แต่พอสอบธุรการได้เงินเดือน 9,000 จึงตัดสินใจออกจากงานเดิม เนื่องจากงานธุรการ ทำให้มีความสุขที่ได้ทำงานและอยู่กับลูกภรรยา ซึ่งเงินเดือน 9,000 บาทไม่มาก แต่อยู่ได้บนพื้นฐานของการอยู่บ้าน อยู่ในพื้นที่ ขณะที่มีคนวิตกกังวล 629 คน บางคนทุกข์มากถึงขั้นล้มป่วย ประกอบกับเงินเดือนไม่ออก ต้องไปกู้เงินนอกระบบ ทำให้ครอบครัวเกิดปัญหาขึ้น เมื่อมีหนังสือขอสพฐ.เลิกจ้าง ความกังวลยิ่งเพิ่มขึ้น

"จากการสอบถามผู้ใหญ่ในระบบราชการไทย ทราบว่า เหตุการณ์แบบนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เมื่อมีหนังสือจากเขตพื้นที่ออกมายืนยันว่าสิ้นสุดการจ้างเดือนมิถุนายน คือเดือนนี้ ยิ่งเพิ่มทวีความวิตกเพิ่มมากขึ้น จึงมาร่วมกันประชุม ไม่ได้ประท้วง แต่ ขอความเห็นใจให้พวกเราได้อยู่ต่อ ซึ่งการอยู่ต่อจะส่งผลให้กับโรงเรียนอย่างมาก ถ้าโรงเรียนมีธุรการ ครูได้สอนเต็มที่จริงๆเพราะธุรการทำหมดทุกอย่าง เมื่อครูไม่อยู่ ธุรการก็เป็นครูด้วย ดังนั้นมองว่าธุรการมีความสำคัญอย่างยิ่งในระบบการศึกษาบ้านเรา" นายปฏิวัติ กล่าว

ว่าที่ร.ต. ปพน มีสุข ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านตาหมน อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี เปิดเผยว่า ตำแหน่งธุรการมีคุณูปการต่อโรงเรียน มีความสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นคนในพื้นที่ สามารถทำงานต่างๆในพื้นที่ได้อย่างจัดเจนและเป็นรูปธรรม งานด้านธุรการโรงเรียน รับหนังสือ ตอบโต้หนังสือ ทำรายงานต่างๆ เตรียมเอกสารต่างๆตลอดจนช่วยเหลือเอกสารทางวิชาการของครู จะทำให้ครูสามารถลดภาระหน้าที่เรื่องการจัดทำเอกสารต่างๆและมีเวลาทำการเรียนการสอนและสื่อการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่

ที่มา: มติชนออนไลน์, 12/6/2561

กสร. ห่วงแฟนบอลแนะจัดเวลาเหมาะสมป้องกันอุบัติเหตุและขาดงานโดยไม่จำเป็น

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ห่วงลูกจ้างแฟนบอล แนะจัดเวลาเหมาะสมชมถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2018 พักผ่อนให้เพียงพอ ป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงาน และขาดงานโดยไม่มีเหตุอันสมควร

นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า เทศกาลฟุตบอลโลก 2018 ซึ่งได้กำหนดจัดการแข่งขันขึ้น ระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน ถึง 15 กรกฎาคม 2561เป็นช่วงที่แฟนกีฬาฟุตบอลทั่วโลกให้ความสนใจ สำหรับประเทศไทยคาดว่าจะมีแฟนกีฬาฟุตบอลติดตามชมการถ่ายทอดการแข่งขันเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันปัญหาการประสบอันตรายจากการทำงานอันเนื่องจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ รวมไปถึงการมาทำงานสายหรือขาดงานโดยไม่มีเหตุสมควรกสร.จึงขอให้ลูกจ้างจัดสรรเวลาในการรับชมการถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลโลกให้เหมาะสม มีเวลาพักผ่อนที่เพียงพอเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานโดยเฉพาะลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับเครื่องมือ เครื่องจักร หรือขับขี่ยานพาหนะ รวมทั้งการถูกลงโทษทางวินัยได้เนื่องจากมาสายหรือขาดงาน

อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวด้วยว่า ในส่วนของนายจ้าง กสร.ขอความร่วมมือในการกำกับดูแลลูกจ้างมีความพร้อมก่อนปฏิบัติเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานและขอให้กำกับดูแลลูกจ้างไม่ให้มีการเล่นพนันฟุตบอลในสถานประกอบกิจการในช่วงเทศกาลบอลโลกนี้

ที่มา: กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, 12/6/2561

กลุ่มแรงงานลิเบียนครพนมขอความเป็นธรรม

นายสมชาย วิทย์ดำรงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม มอบหมายให้ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดนครพนม รับเรื่องร้องทุกข์ร้องเรียนในการขอให้ช่วยเหลือติดตามสิทธิประโยชน์ต่างๆ และขอรายชื่อคนงานที่ได้รับความเดือดร้อนที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนครพนม เพื่อมาลงชื่อสำหรับการรับความช่วยเหลือ จากกลุ่มผู้ขายแรงงานจังหวัดนครพนม ที่เคยเดินทางไปทำงานที่สาธารณรัฐสังคมนิยมอาหรับแห่งลิเบียเมื่อปลายปี 2552 และถูกส่งตัวกลับก่อนครบสัญญาว่าจ้างด้วยเหตุความมาสงบภายในประเทศ

นายบุญนำ บุญตั้ง หนึ่งในกลุ่มผู้ขายแรงงานเปิดเผยว่า ตนเองและเพื่อนบ้านในหมู่บ้านได้เดินทางไปทำงานที่บริษัทแห่งหนึ่งในเมืองเบงกาซี ประเทศลิเบียและถูกส่งกลับเมื่อปี 2553 ทำให้ครอบครัวได้รับความเดือดร้อนมากเนื่องจากภาระค่าใช้จ่ายที่เดินทางไปขายแรงงานในครั้งนั้น ขณะที่ระยะเวลาผ่านมากว่า 8 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ จึงได้ร่วมกันออกมาติดความคืบหน้าในวันนี้

ขณะที่ นายไชยวุฒิ วัชเรนทร์สุนทร แรงงานจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า หลังจากทราบเรื่องในวันนี้แล้ว ทางศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดนครพนม และสำนักงานแรงงานจังหวัดนครพนม ได้ให้กลุ่มผู้ขายแรงงานที่มาร้องเรียนในวันนี้ลงทะเบียนไว้ เพื่อที่จะได้นำข้อมูลไปตรวจสอบว่ามีผู้ใดที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเงินกองทุน เงินช่วยเหลือเบื้องต้น แล้วก็จะส่งเรื่องเข้าไปที่กระทรวงใหม่ ซึ่งถ้าได้ผลประการใดก็จะมีหนังสือแจ้งกลับไปยังกลุ่มผู้ขายแรงงาน โดยในเบื้องต้นเมื่อรับเรื่องแล้วสามารถตรวจสอบได้เลยคาดไม่เกิน 7 วันจะสามารถส่งเรื่องไปยังกระทรวงแรงงานได้ทั้งหมด

ที่มา: ไอเอ็นเอ็น, 12/6/2561

เปิดบัญชีค่าจ้างแรกเข้า-ขั้นสูง ของ 'ลูกจ้างชั่วคราวกระทรวงสาธารณสุข'

บัญชีค่าจ้างขั้นต่ำ(แรกเข้าบรรจุ) -ขั้นสูงของลูกจ้างชั่วคราวกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งใช้เงินนอกงบประมาณ(เงินบำรุง) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มสายวิชาชีพ อาทิ สายงานเภสัชกร สายงานพยาบาลวิชาชีพ สายงานนักวิชาการสาธารณสุข และสายงานสหวิชาชีพ

2.กลุ่มสนับสนุน มีทั้งกรณีไม่กำหนดวุฒิ และที่มีวุฒิตั้งแต่ ปวช. ปวท. ปวส. และวุฒิปริญญาตรี โดยจะทำงานสายสนันสนุน อาทิ พนักงานขับรถ พนักงานเปล เป็นต้น

โดยบัญชีดังกล่าวอิงตามระเบียบของกระทรวงการคลัง แต่ทางลูกจ้างชั่วคราวที่ออกมาเรียกร้องมองว่า ค่าจ้างดังกล่าวได้ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำของกระทรวงแรงงาน และต้องการเรียกร้องให้เท่าค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งบัญชีดังกล่าวใช้ตั้งแต่สมัย นพ.ไพจิตร์ วราชิต เป็นปลัดกระทรวงสาธารณสุข จนถึงขณะนี้ ซึ่งล่าสุดผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข  อยู่ระหว่างดำเนินการพิจารณาปรับปรุงบัญชีการจ้างงานดังกล่าว

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ, 11/6/2561

 

ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยื่น ผบ.ทบ. ทวงภาพวงจรปิด ยิง ‘ชัยภูมิ ป่าแส’

Posted: 18 Jun 2018 01:02 AM PDT

ญาติ ชัยภูมิ ป่าแส ขอ ผบ.ทบ. เปิดเผยภาพจากกล้องวงจรปิดขณะทหารวิสามัญฆาตกรรม เปิดขั้นตอนใช้สิทธิ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร พ.ศ.2540 หนทางยาวไกล


ภาพจาก Voice TV

18 มิ.ย. กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) นายรัษฎา มนูรัษฎา ทนายความของนายชัยภูมิ ป่าแส นักกิจกรรมชาวลาหู่ ที่ถูกเจ้าหน้าที่ทหารวิสามัญฆาตกรรม เข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ขอให้เปิดกล้องวงจรปิดในขณะที่เกิดเหตุ วิสามัญฆาตกรรม เมื่อวันที่ 17 มี.ค.60 บริเวณด่านตรวจถาวรบ้านรินหลวง ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ โดยมี พล.ต.ปัณณทัต กาญจนะวสิต เลขานุการกองทัพบก เป็นผู้รับหนังสือ

นายรัษฎา แถลงว่า ในฐานะตัวแทนผู้เสียหายมายื่นหนังสือที่ลงนามโดยมารดาผู้เสียหาย เนื่องจากจุดที่เกิดเหตุมีกล้องวงจรปิด สามารถบันทึกและใช้การได้ พร้อมทั้งส่งให้พนักงานสอบสวนและกองพิสูจน์หลักฐานเปิดแล้ว แต่ปรากฏว่าในทางสาธารณะและในการไต่สวนการเสียชีวิตโดยศาลที่ผ่านมาไม่มีภาพและหลักฐานชิ้นนี้ปรากฏ การมายื่นหนังสือในวันนี้จึงต้องการให้ ผบ.ทบ.สั่งการให้หน่วยงานรับผิดชอบที่ดูแลกล้องวงจรปิด เปิดภาพดังกล่าวให้ญาติและทนายความ ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร พ.ศ.2540 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย โดยเฉพาะกับเจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นการป้องกันตัว ดังนั้นพยานวัตถุดังกล่าวจึงสำคัญในการต่อสู้คดีว่าการป้องกันตัวชอบธรรมหรือไม่ อีกทั้งก่อนหน้านี้นายทหารผู้บังคับกองร้อยให้การในชั้นสอบสวนว่าได้ดูภาพดังกล่าวแล้ว พร้อมทำสำเนาภาพไว้เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2560 เพื่อส่งให้พนักงานสอบสวน ดังนั้นจึงมั่นใจว่า ข้อมูลภาพนั้นมีอยู่ หรืออย่างน้อยต้องมีสำเนาภาพ

ทั้งนี้ วันที่ 6 มิ.ย.ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดเชียงใหม่มีคำสั่งชี้ว่า ผู้ตายคือ นายชัยภูมิ เสียชีวิตโดย ถูกยิงจากอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ทหารและเสียชีวิตบริเวณด่านรินหลวง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ส่วนเรื่องข้อโต้แย้งของญาติที่ไม่เชื่อว่าชัยภูมิมียาเสพติดไว้ในครอบครอง และไม่เชื่อว่าชัยภูมิใช้มีดและระเบิดเพื่อจะทำร้ายเจ้าหน้าที่ ศาลไม่ได้มีคำวินิจฉัยให้ โดยศาลเห็นว่า หากมีผลคำสั่งใดๆ ออกไปจะมีผลต่อรูปคดีหรือผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย ศาลจึงไม่วินิจฉัยสาเหตุที่เจ้าหน้าที่ทหารยิงนายชัยภูมิ ส่วนกระบวนการต่อจากนี้ศาลจะส่งคำไต่สวนทั้งหมดให้กับพนักงานอัยการเพื่อให้มีการสอบสวนเพิ่มเติมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด ทั้งประเด็นว่า เจ้าหน้าที่ทหารกระทำไปโดยชอบหรือไม่ รวมทั้งพยานและหลักฐานสำคัญโดยเฉพาะกล้องวงจรปิดที่ยังไม่ถูกเปิดเผย ก่อนที่พนักงานอัยการจะมีคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องต่อไป

การใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

          การใช้สิทธิขอดูข้อมูล ตามข้อมูลข่าวสาร พ.ศ.2540 ระบุไว้ในมาตรา 11 ว่า ถ้าบุคคลใดขอข้อมูลข่าวสารอื่นใดของราชการและคำขอของผู้นั้นระบุข้อมูลข่าวสารที่ต้องการในลกษณะที่อาจเข้าใจได้ตามควร ให้หน่วยงานของรัฐผู้รับผิดชอบจัดหาข้อมูลข่าวสารนั้นให้แก้ผู้ขอภายในเวลาอนสมควร

สิทธิร้องเรียน / อุทธรณ์
สิทธิในการร้องเรียน  เกิดขึ้นจากกรณีที่ผู้ใดเห็นว่าหน่วยงานของรัฐไม่จัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสารที่ต้องพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 7  หรือไม่จัดข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้ตามมาตรา 9  หรือไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารให้แก่ตนตามมาตรา 11 หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้  หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า  หรือเห็นว่าตนไม่ได้รับความสะดวกโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร  ผู้นั้นมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการได้ (มาตรา 13)  ในกรณีที่มีการร้องเรียน  คณะกรรมการต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30  วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องเรียน ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นให้ขยายเวลาออกไปได้  แต่รวมเวลาทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 60 วัน

สิทธิในการอุทธรณ์  ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารใดตาม หรือมีคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านของผู้มีประโยชน์ได้เสีย ผู้นั้นอาจยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายใน 15 วัน  นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง  และคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารจะต้องพิจารณาอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 30  วัน  ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นให้ขยายเวลาออกไปได้  แต่ต้องแสดงเหตุผลและรวมเวลาทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 60 วัน

แต่ถ้าอุทธรณ์คำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารให้ตรงตามที่มีคำขอ  ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง โดยยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการและไม่ว่ากรณีใดๆ ให้เจ้าของข้อมูลมีสิทธิร้องขอให้หน่วยงานของรัฐหมายเหตุคำขอของตนแนบไว้กับข้อมูลข่าวสารส่วนที่เกี่ยวข้องได้

สำหรับการแต่งตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้น  แต่งตั้งตามสาขาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของข้อมูลข่าวสารของราชการ  เช่น  ความมั่นคงของประเทศ  เศรษฐกิจและการคลังของประเทศ  การบริหารราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมาย  วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี  การแพทย์และสาธารณสุข  เป็นต้น

ที่มา : ดลฤดี  มงคลดิเรก
(วารสารออมสิน สิงหาคม 2542)

 

ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปัดข่าว ‘สุดารัตน์’ ทิ้งเพื่อไทยหากไม่ได้เป็นหัวหน้าพรรค-อดีตส.ส.ไหลออกไป 'พลังประชารัฐ'

Posted: 18 Jun 2018 12:05 AM PDT

อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ชี้ข่าวไม่จริง ยันสุดารัตน์ไม่ทิ้งพรรคเพื่อไทย ไม่เคยต้องการเป็นหัวหน้าพรรค ขณะที่ก่อนหน้านี้มีข่าวระแคะระคาย พิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมว.พลังงาน อาจขึ้นแท่นเป็นหัวหน้าพรรคเพราะผลงานวิจารณ์คสช.หนัก-สุดารัตน์อาจออกไปตั้งพรรคใหม่ ด้าน อดีต ส.ส.เพื่อไทยทยอยซบอกพรรค 'ประชารัฐ' นำทีมตระเวนคุยโดย สุริยะ-สมศักดิ์

18 มิ.ย.2561 น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าคุณหญิงสุดารัตน์ เกยถราพันธุ์ แกนนำพรรคเพื่อไทย (พท.) ขู่ทิ้งพรรคหากไม่ได้เป็นหัวหน้าพรรค หรือกระแสข่าวความไม่ชัดเจนเรื่องของผู้นำพรรคเพื่อไทย ว่า กระแสข่าวที่ว่าคุณหญิงสุดารัตน์จะทิ้งพรรคไม่เป็นความจริงอย่างแน่นอน และยิ่งมีการปล่อยข่าวว่าจะทิ้งพรรคหากไม่ได้เป็นหัวหน้าพรรคยิ่งไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด เพราะคุณหญิงได้ให้สัมภาษณ์ยืนยันมาโดยตลอดว่าไม่เคยมีความประสงค์จะเข้ามาเป็นหัวหน้าพรรค และในปัจจุบันพรรคพท.ก็มี พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ รักษาการหัวหน้าพรรคพท. ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ของพรรคทำหน้าที่หัวหน้าพรรคได้อย่างเหมาะสมอยู่แล้ว ซึ่งส่วนตัวของคุณหญิงไม่เคยเรียกร้องหรือมีความต้องการตำแหน่งใดๆในพรรค หากสามารถทำงานหรือให้คำปรึกษากับพรรคในเรื่องใดๆ ได้ ท่านก็พร้อมที่จะสนับสนุนโดยปราศจากเงื่อนไขอยู่แล้ว ซึ่งขณะนี้ก็รอให้ผู้มีอำนาจปลดล็อกทางการเมืองเสียก่อนเพื่อท่านจะได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยอย่างเป็นทางการต่อไป

ก่อนหน้านี้มติชนรายงานข่าวโดยอ้างแหล่งข่าวในพรรคเพื่อไทยระบุว่า พรรคเพื่อไทยยังหาหัวหน้าพรรคไม่ลงตัว มีกระแสในสังคมออนไลน์ระบุว่า นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อาจขึ้นแท่นเป็นหัวหน้าพรรคเนื่องจากที่ผ่านมามีบทบาทสูงในการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของ คสช. แต่ผู้ใหญ่ในพรรคประเมินว่าข่าวนี้เกิดขึ้นจากบุคลภายนอกที่หวังสร้างผลกระทบทางลบให้พรรค คณะที่คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นั้นมีกระแสว่าได้รับการสนับสนุนจากคุณหยิงพจมาน ดามาพงษ์ ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค แต่แกนนำพรรคจำนวนหนึ่งไม่เห็นด้วย จึงเกิดข่าวว่าคุณหญิงสุดารัตน์อาจออกไปตั้งพรรคใหม่ แต่แกนนำพรรคก็ยังเชื่อว่าจะไม่เป็นเช่นนั้น

ส.ส.เพื่อไทย จังหวัดเลย คุย สุริยะ-สมศักดิ์ เตรียมร่วม พลังประชารัฐ

ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่า บ่ายวันนี้ (18 มิ.ย.) นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข อดีตรัฐมนตรีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส.ส.จังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย และนางเปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข นายวันชัย บุษบา อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย จ.เลย พร้อมด้วยคณะได้เดินทางไปยังสนามบิน จ.เลย เพื่อต้อนรับนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และนายสมศักดิ์ เทพสุทิน พร้อมด้วยคณะจำนวนหนึ่ง จากนั้นได้เดินทางไปยังวัดป่าม่วงไข่ ต.สานตม อ.ภูเรือ จ.เลย กราบไหว้พระและทำบุญ ก่อนเดินทางมาที่คีรีคราม ต.หนองบัว อ.ภูเรือ ที่เป็นบ้านพักและรีสอร์ตหรู ของนายปรีชา โดยพูดคุยกัน ที่ห้องรับรองอยู่ประมาณ 20 นาที ต่อด้วยการไปรับประทานข้าวร่วมกันในห้องรับรองของรีสอร์ต ประมาณ 40 นาที โดยไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนสัมภาษณ์แต่อย่างใด

  นายปรีชา เปิดเผยว่า ตนเองพร้อมด้วย อดีต ส.ส.จังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย 3 คน พบกับนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และนายสมศักดิ์ เทพสุทิน ที่จะมาเชิญให้เข้าร่วมพรรคพลังประชารัฐ โดยจะมีการพบกันและรับประทานข้าว ที่รีสอร์ต หรือบ้านพักของตน ที่ อ.ภูเรือ ส่วนการจะเข้าพรรคประชารัฐหรือไม่นั้น ต้องรอดูความชัดเจน

"ผมจะแถลงเปิดตัวเลย ในเมื่อทุกอย่างมีความชัดเจน ผมก็จะประกาศไปร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ" นายปรีชา กล่าว

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของอดีต ส.ส. คนอื่นๆ ในภาคอีสานของพรรคเพื่อไทย ทราบว่าจะย้ายตามมาอีกหลายคน เช่น จ.นครราชสีมา ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี หนองบัวลำภู ขอนแก่น มหาสารคาม สำหรับ 3 อดีต ส.ส.เลย พรรคเพื่อไทย ที่จะย้ายประกอบด้วย นายปรีชา นางเปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข และนายวันชัย บุษบา

ด้านแหล่งข่าวจากพรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า ขณะนี้ทางพรรคได้ตัดสินใจให้นายสุริยะ เป็นเลขาธิการพรรค โดยนายสุริยะ ได้เดินสายดึงอดีต ส.ส.ภาคอีสาน และเหนือของพรรคเพื่อไทย ไปได้แล้วในเบื้องต้นประมาณ 30 คน และจะทยอยเปิดตัวไปแต่ละจังหวัด ซึ้งเบื้องต้นประเดิมที่ จ.เลย เป็นจังหวัดแรก

ผู้สื่อข่าวขอสัมภาษณ์นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เปิดเผยว่า วันนี้พร้อมด้วยนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ มาพบปะกินข้าวกับนายปรีชา นางเปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข และนายวันชัย บุษบา อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย จ.เลย คุยกันธรรมดา เรื่องรายละเอียดขอให้ชัดเจนมากกว่านี้ ถึงจะให้ข่าวได้ โดยไม่มีการให้สัมภาษณ์แต่อย่างใด จากนั้นได้เดินทางกลับทันที เพื่อไปขึ้นเครื่องที่สนามบิน จ.เลย

 

ติดตามความเคลื่อนไหว ประชาไท แอด LINE ไอดี @prachatai (มีแอทนำหน้า) และเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น