โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

รัฐสภาอาเซียนเพื่อพม่าร้องกดดันพม่าปฏิรูป ปชต. ปรับปรุงสิทธิมนุษยชน

Posted: 22 Sep 2011 12:37 PM PDT

กรุงพนมเปญ 21 กันยายน 2554 กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อพม่า หรือ ASEAN Inter-Parliamentary Myanmar Caucus (AIPMC) เผยแพร่เอกสาร ‘สิทธิทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจยังคงเป็นสิ่งขาดหายไปในพม่า’ เรียกร้องให้สมัชชารัฐสภาอาเซียน (AIPA) จัดการกับข้อห่วงใยพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เสรีภาพและประชาธิปไตยในพม่า เนื่องจากพม่ากำลังเข้ามาเป็นสมาชิก AIPA อย่างเต็มตัว และกำลังขอเป็นประธานอาเซียนในปี พ.ศ.2557 ที่จะถึงนี้

เอกสารดังกล่าวระบุว่า “นับว่าเป็นเวลาดีในประวัติศาสตร์ที่พม่าจะได้ปรับปรุงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนและเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริง”

“เราขอให้รัฐสมาชิกอาเซียนผลักดันให้พม่าริเริ่มปฏิรูปประชาธิปไตยอย่างก้าวหน้า และปรับปรุงด้านสิทธิมนุษยชนให้เท่าเทียมกับมาตรฐานสากลซึ่งบัญญัติไว้ในกฏบัตรอาเซียนและกฏหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศก่อนปี พ.ศ.2557ตามกฏบัตรอาเซียนซึ่งพม่าได้ลงนามไว้ เรียกร้องให้รัฐสมาชิก “ยึดมั่นในหลักการ ประชาธิปไตย...การเคารพและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน”

AIPMC มีความห่วงใยว่าการปกครองที่นำโดยกองทัพในพม่าไม่อาจทำให้เกิดการปฏิรูปประชาธิปไตยได้ ซึ่งขัดต่อหลักการในกฏบัตรอาเซียน ในปี พ.ศ.2553 รัฐธรรมนูญและกฏหมายเลือกตั้งที่ปราศจากความเป็นประชาธิปไตยได้ พรากสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งไปจากพรรคพรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ National League of Democracy (NLD)

“ดังนั้นเราขอเรียกร้องให้ AIPA เชื้อเชิญให้รัฐบาลพม่าทำการปฎิรูปอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้แน่ใจว่า สิทธิในการมีส่วนร่วมในกระบวนการประชาธิปไตยของทุกฝ่ายได้รับการปกป้อง ทั้งนี้รวมไปถึงการให้การยอมรับพรรค NLD ทางกฏหมาย ในฐานะเสียงฝ่ายค้านตามระบอบประชาธิปไตยของพม่าโดยชอบธรรม รวมทั้งจัดให้มีการเจรจากับกลุ่มต่อต้านต่างๆ ทั้งหมด ไม่เว้นแม้แต่ผู้นำชนกลุ่มน้อยทั้งหลาย”

AIPMC ระบุว่า การปล่อยตัวนางอองซานซูจีเน้นย้ำให้เห็นอิทธิพลของตัวแสดงระดับนานาชาติ ซึ่งรวมถึงรัฐสมาชิกของอาเซียนในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและยืนยาวในพม่า แต่ถึงจะมีการปล่อยตัวนางอองซานซูจีแล้วก็ตาม ก็ยังมีนักโทษการเมืองอีกมากกว่า 2000 คนที่ยังถูกกักขังอยู่ในคุกพม่า พวกเขาจำนวนมากต้องทนทุกข์จากการทรมานและการปฎิบัติที่โหดร้ายทารุณระหว่างถูกคุมขัง ผู้จัดทำรายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในพม่า กล่าวเมื่อไม่นานมานี้ว่า “การปล่อยตัว (นักโทษการเมือง) คือย่างก้าวที่จำเป็นและสำคัญในอันที่จะนำมาซึ่งการปรองดองแห่งชาติ และจะนำผลดีให้พม่าในการมุ่งสู่ประชาธิปไตย”

AIPMC ยังเรียกร้องให้ AIPA เน้นย้ำข้อคิดเห็นดังกล่าว และลงมือทำเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีการปลดปล่อยนักโทษการเมือง นักโทษทางความคิดหรือนักการเมืองที่มีลักษณะเดียวกัน โดยไม่มีข้อแม้ และโดยทันที เพื่อเป็นการปกป้องสิทธิมนุษยชน ขอให้ AIPA มั่นคงและกล้าหาญในการเรียกร้องให้หยุดสงครามในพม่าโดยทันทีในพื้นที่ชนกลุ่มน้อยหลายแห่งเช่น รัฐคะฉิ่น รัฐฉาน และรัฐกะเหรี่ยง ยังคงมีอาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการวิสามัญฆาตกรรม การล่วงละเมิดทางเพศ การจับกุมตามอำเภอใจ การกักขัง และการพลัดถิ่นภายในประเทศ ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือบรรดาประชากรที่มีความเสี่ยงเช่น ชนกลุ่มน้อย ผู้พลัดถิ่น ผู้หญิงและเด็ก

“เราจึงขอเรียกร้องให้ AIPA ร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศในการผลักดันให้ทหารพม่าปกป้องสิทธิมนุษยชนด้วยการหยุดความขัดแย้งที่รุนแรง และขอให้ AIPA เชื้อเชิญให้รัฐบาลพม่าเจรจาสันติภาพกับภาคส่วนอื่นที่ไม่ใช่รัฐเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ ประชาธิปไตยและเสรีภาพได้อย่างสันติ

“พวกเรายังมีความกังวลเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยมีความเชื่อมโยงกับโครงการพัฒนาในพื้นที่ชนกลุ่มน้อย โครงการพัฒนาต่างๆเหล่านั้นได้นำไปสู่ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น การยึดที่ดิน การไร้ที่อยู่อาศัย การทรมาน ข่มขืน และการละเมิดสิทธิอย่างเป็นระบบในรูปแบบอื่นๆ โดยที่ไม่มีกฏหมายภายในประเทศข้อใดปกป้องประชาชนพม่าและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น พวกเราจึงขอเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของ AIPA กระตุ้นให้รัฐบาลพม่าให้ความสำคัญต่อการปกป้องสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมด้วยการออกกฏหมายมาบังคับใช้ รัฐสมาชิกของ AIPA ควรงดเว้นจากการลงทุนในโครงการพัฒนาในพม่าจนกว่าจะมีมาตรการทางกฏหมายดังกล่าว”

นอกจากนี้ในเอกสาร AIPMC ชี้ว่า ยังมีความจำเป็นที่ต้องมีมาตรการในการตรวจสอบกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า เพื่อค้นหาความจริง และความยุติธรรม อีกทั้งเป็นการเยียวยาผู้ถูกละเมิดและครอบครัว และเพื่อล้มเลิกการงดเว้นไม่เอาโทษผู้กระทำผิดซึ่งขัดต่อการแสวงหาความยุติธรรมและสันติภาพในพม่า การตรวจสอบดังกล่าวควรเกิดขึ้นในลักษณะที่เป็นอิสระ เป็นกลาง และเชื่อถือได้ โดยได้รับการสนับสนุนจากประชาคมนานาชาติ

“เราจึงขอเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของ AIPA สนับสนุนการตั้งคณะกรรมาธิการตรวจสอบอาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ หรือ Commission of Inquiry (CoI) โดยสหประชาชาติ”

“เราขอเรียกร้องให้รัฐสมาชิก AIPA ริเริ่ม กระบวนการที่เป็นรูปธรรมสู่เสรีภาพ ความยุติธรรม และประชาธิปไตยในพม่าโดยการร่างและผ่านมติดังต่อไปนี้ 1) มติที่สะท้อนถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องมีการเจรจาระดับชาติ ระหว่างรัฐบาล พม่าและกลุ่มต่อต้านต่างๆรวมถึงผุ้นำชนกลุ่มน่อย 2) มติเรียกร้องให้มีการปกป้องสิทธิมนุษยชนของประชากรพม่า ร่วมถึงการหยุดละเมิดสิทธิ์ในพื้นที่ชนกลุ่มน่อยและปล่อยตัวนักโทษการเมืองทั้งหมด และ 3) มติสนับสนุนการตั้งคณะกรรมาธิการตรวจสอบอาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (CoI)

อนึ่ง กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อพม่าก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2547 โดยสมาชิกรัฐสภาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความสนใจและมีอุดมการณ์ร่วมกันในการติดตามกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศพม่า มีวัตถุประสงค์หลักในการผลักดันให้เกิดการปฏิรูปประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในประเทศพม่า ปัจจุบันมีสมาชิกจาก 6 ประเทศคือ มาเลเซีย ไทย กัมพูชา สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เชียงดาวไม่เอาเขื่อนกั้นแม่น้ำปิง ล้มเวทีประชุมฯกรมชลประทาน

Posted: 22 Sep 2011 12:33 PM PDT

เมื่อเวลา 8.30 น.ของวันที่ 22 กันยายน 2554 กลุ่มชาวบ้านพี่น้องประชาชนบ้านโป่งอาง หมู่ที่ 5 ต.เมืองนะ

ชุมชนลุ่มน้ำแม่แตงตอนบน /ลุ่มน้ำแม่คอง เครือข่ายทรัพยากรอำเภอเชียงดาว ปลายน้ำลุ่มน้ำแม่ปิงตอนบน และชุมชนลุ่มน้ำแม่ป๋าม ประมาณ 500 คน ได้เคลื่อนขบวนไปยังหอประชุมเทศบาลตำบลเชียงดาว เพื่อร่วมกันคัดค้านการดำเนินการจัดเวที(รายละเอียดในแถลงการณ์)

ซึ่งการประท้วงเคลื่อนไหวในครั้งนี้ ชาวบ้านได้เรียกร้องให้ยุติการดำเนินการโดยทันที เนื่องจากโครงการดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนบ้านโป่งอางและชุมชนใกล้เคียงเป็นอันมาก จนทำให้เวทีดังกล่าวต้องล่ม ยุติไปในที่สุด

มีรายงานแจ้งว่า ทางตัวแทนกรมชลประทานได้รับปากว่าจะนำข้อมูลจากชาวบ้านไปศึกษาหาแนวทางแก้ไขการดำเนินการเรื่องการศึกษาผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมต่อไป

แถลงการณ์

เรื่อง ขอคัดค้านการดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ หรือจิตวิญญาณ ดิน ป่า และสายน้ำ อันจะนำไปสู่ความขัดแย้ง ทำลายรากเหง้า วิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่บ้านโป่งอางและพี่น้องต้นน้ำแม่ปิงตอนบน

เรียน นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ ประธานคณะกรรมการดูแลกำกับงานที่ปรึกษาด้านวิชาการ โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่, นายอำเภอเชียงดาว, กำนัน ผู้ใหญ่บ้านอำเภอเชียงดาว, องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลตำบล 7 ตำบลอำเภอเชียงดาว, หน่วยงานราชการในพื้นที่ อำเภอ จังหวัดเชียงใหม่, เจ้าหน้าที่กรมชลประทาน, คณะผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ทำการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม, บริษัทที่ปรึกษา ซึ่งประกอบด้วย บริษัทพี แอนด์ ซีแมเนจ เมนท์ จำกัด บริษัท พิสุทธิ์ เทคโนโลยี จำกัดและบริษัท ธารา คอนซัลแตนท์ จำกัด

ตามที่กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการเข้ามาทำการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ สัญญาจ้างเลขที่ จ.46/2553 (กสพ.1) ลงวันที่ 20 กันยายน 2553 วันที่เริ่มปฏิบัติงาน 24 กันยายน 2553 ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2555 รวมระยะเวลา 600 วัน

เบื้องต้นทางคณะศึกษาฯร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ ได้เข้ามาจัดเวทีเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปิง 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 เดือนมกราคม 2554 ครั้งที่ 2 วันที่ 24 มีนาคม 2554 และครั้งที่ 3 วันที่ 5 เมษายน 2554 ประเด็นเวทีรับฟังความคิดเห็น มีการชี้นำและโน้มน้าวให้เห็นชอบและสนับสนุนการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน นอกจากการจัดเวทีเพื่อรับฟังความคิดเห็นแล้ว ทางคณะศึกษาฯยังได้ลงพื้นที่ ณ ที่ตั้งโครงการ ในบ้านโป่งอาง หมู่ที่ 5 ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อจัดทำข้อมูลทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม ระบบนิเวศพื้นที่และสุขภาพของคนในชุมชน ซึ่งการลงพื้นที่ในระยะเวลาที่ผ่านมานั้นทางชาวบ้านไม่ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับผลกระทบจากการดำเนินการโครงการฯใดๆทั้งสิ้น การให้ข้อมูลของคณะทำงานศึกษาฯที่ผ่านมายังมิได้ให้ข้อมูลที่เป็นจริงอย่างรอบด้านทั้งหมดของตัวโครงการ ทางชุมชนจึงตั้งข้อสังเกตการศึกษาโครงการฯในประเด็นดังต่อไปนี้

  1. การรับรู้ข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานตามโครงการ ชุมชนไม่มีโอกาสเข้าถึง รับรู้ข่าวสาร รายละเอียดโครงการฯ ที่เป็นจริงอย่างรอบด้าน เช่นกรณีการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทางคณะศึกษาได้เบี่ยงแบนประเด็น โดยพยายามอธิบายในเรื่องการพัฒนาและซ่อมแซมระบบชลประทานเดิมให้มีประสิทธิภาพ มิได้กล่าวถึงโครงการสร้างอ่าง (เขื่อน) แม่น้ำปิงตอนบนแต่อย่างใด
  2. กระบวนการมีส่วนร่วมและการตัดสินใจไม่ได้เกิดขึ้นจากคนในชุมชนอย่างแท้จริง เพราะคนในชุมชนที่อยู่ในพื้นที่โครงการสร้างเขื่อน ซึ่งจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่มีการดึงเอา หน่วยงานราชการ ชุมชนนอกพื้นที่ มาเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาโครงการเป็นหลัก
  3. ขั้นตอน กระบวนการศึกษามีลักษณะเร่งรีบในการดำเนินการ ขัดหลักวิชาการ ขาดรายละเอียดของการศึกษาความเหมาะสม ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพอย่างรอบด้าน
  4. ที่ตั้งโครงการอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนโป่งอางดังกล่าว อยู่ห่างจากชุมชนเพียงแค่ 1 กิโลเมตร ซึ่งเป็นโครงการที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่ รวมถึงพื้นที่น้ำท่วมอยู่ในเขตพื้นที่ป่าต้นน้ำแม่ปิงที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหาร แหล่งสมุนไพร ป่าชุมชน ของคนในชุมชน ซึ่งถือเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญไหลหล่อเลี้ยงชุมชนผ่านระบบเหมืองฝายของหมู่บ้านและชาวบ้านในพื้นที่อำเภอเชียงดาว เชียงใหม่จนถึงที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยา

จากการดำเนินงานของกรมชลประทานและคณะทำงานศึกษานำโดย รศ.ดร.เลิศ จันทนภาพ ผู้เชี่ยวชาญด้านประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมตามโครงการฯดังกล่าว ทางชุมชนบ้านโป่งอาง หมู่ที่ 5 ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว ในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียและได้รับผลกระทบโดยตรง จึงเห็นว่า การดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ของกรมชลประทานและคณะทำงานฯ เป็นไปในลักษณะที่ละเมิดสิทธิของชุมชน ซึ่งบัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รวมถึงฐานทรัพยากรฯที่ชุมชนได้อาศัยเป็นแหล่งอาหาร แหล่งสมุนไพร และป่าชุมชน ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นแหล่งซุปเปอร์มาเก็ตของชุมชน (กาดของคนตุ๊ก) สัมพันธ์กับวิถีการดำรงชีวิตตามวัฒนธรรม องค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น พึ่งพาอาศัยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ด้วยความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติมาช้านานตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

ที่สำคัญนับตั้งแต่โครงการฯเข้ามาได้สร้างผลกระทบเกิดมลพิษทางจิตใจอย่างใหญ่หลวงกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่บ้านโป่งอาง ก่อให้เกิดการแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย เกิดความแตกแยกในหมู่เครือญาติ อันเนื่องมาจากได้รับข้อมูลเพียงด้านเดียวและถูกกระทำให้แบ่งกลุ่ม มีการจัดตั้งมวลชนเพื่อให้เกิดขัดแย้งในพื้นที่

ผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนถึงกับกล่าวว่า ตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยพบเห็นความขัดแย้งของคนโป่งอางรุนแรงเช่นนี้ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า ความขัดแย้งดังกล่าว มาจากการเข้ามาดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนักวิชาการรับจ้าง แสวงหาความชอบธรรมในการดำเนินการโครงการฯ สิ่งที่เกิดขึ้นได้สร้างตราบาปอันหนักหนาสาหัสแก่ชาวบ้าน ที่ได้อยู่อาศัยกันอย่างเกื้อกูล

ดังนั้น วันนี้พวกเราจึงมารวมตัวกันเพื่อคัดค้านและมีมติไม่ยอมรับการดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน และให้นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ ประธานคณะกรรมการดูแลกำกับงานที่ปรึกษาด้านวิชาการ โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ รวมถึงรศ.ดร.เลิศ จันทนภาพ ผู้เชี่ยวชาญด้านประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วม ยุติการดำเนินโครงการดังกล่าว

พวกเราขอยืนยันอย่างมั่นคงว่า “จะติดตาม ทวงถามและพิทักษ์สิทธิของชุมชนอย่างต่อเนื่อง หากยังไม่มีความคืบหน้า หรือเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้อง หรือมีการกระทำใดๆ อันเป็นการข่มขู่คุกคามผู้นำ แกนนำ หรือชาวบ้าน พวกเราจะดำเนินการทุกวิถีทางตามสิทธิอันพึงมีของชุมชนเพื่อให้โครงการอ่าง(เขื่อน)เก็บน้ำแม่ปิงตอนบนล้มเลิก จนถึงที่สุด”

ด้วยจิตวิญญาณดิน ป่าและสายน้ำ
22 กันยายน 2554

ประชาชนบ้านโป่งอาง หมู่ที่ 5 ต.เมืองนะ
ชุมชนลุ่มน้ำแม่แตงตอนบน /ลุ่มน้ำแม่คอง
เครือข่ายทรัพยากรอำเภอเชียงดาว
พี่น้องปลายน้ำลุ่มน้ำแม่ปิงตอนบน
ชุมชนลุ่มน้ำแม่ป๋าม

เชียงดาวไม่เอาเขื่อนกั้นแม่น้ำปิง ล้มเวทีประชุมฯกรมชลประทาน

เชียงดาวไม่เอาเขื่อนกั้นแม่น้ำปิง ล้มเวทีประชุมฯกรมชลประทาน

เชียงดาวไม่เอาเขื่อนกั้นแม่น้ำปิง ล้มเวทีประชุมฯกรมชลประทาน

เชียงดาวไม่เอาเขื่อนกั้นแม่น้ำปิง ล้มเวทีประชุมฯกรมชลประทาน

เชียงดาวไม่เอาเขื่อนกั้นแม่น้ำปิง ล้มเวทีประชุมฯกรมชลประทาน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เปิดรายงานกรรมการสิทธิฯ ชะตากรรมชาวบ้านแหง! ใต้อุ้งมือนักการเมือง

Posted: 22 Sep 2011 12:20 PM PDT

รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แถลงนโยบายของรัฐบาลอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา หนึ่งในนโยบายรัฐบาล “ปู 1” แถลงคือ การเร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน ซึ่งถูกบรรจุอยู่ใน นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ในส่วนของภาคอุตสาหกรรม

ในขณะที่หน่วยงานโดยตรงที่รับผิดชอบโดยตรงในการทำเหมืองแร่ อย่างกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ได้เปิดแผนยุทธศาสตร์กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ประจำปีงบประมาณ 2554-2557 พร้อมทั้ง มอบรางวัล “เหมืองแร่สีเขียว” ให้กับผู้ประกอบการที่เข้าข่ายตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม กว่า 42 เจ้าของธุรกิจแร่

ทั้งแผนยุทธศาสตร์ และ โครงการเหมืองแร่สีเขียว ทีชูขึ้นเป็น แผนโฆษณาประชาสัมพันธ์ แบบ “ฉบับปิดตาข้างเดียว” แทบไม่เอ่ยถึง ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านในพื้นที่มีเกือบ 50 พื้นที่ทั่วประเทศ ตรงกันข้ามกลับถูกยกเป็นประเด็นนำเสนอในแผนพัฒนาดังกล่าว ที่ระบุว่า เป็นปัจจัยที่เป็น”อุปสรรค” ต่อการดำเนินงาน เพราะมองว่า “บทบาทของเองค์กรพัฒนาเอกชน ในการคัดค้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ส่งผลกระทบต่อบทบาทของกรมในการบริหารจัดการแร่ภายในประเทศ”

ใน “สายตา” ของรัฐ จึงไม่มีพื้นที่ไว้สำหรับชาวบ้าน ไม่ได้ยินเสียงร้องของผลกระทบที่เกิดขึ้นกับคนที่อยู่ในแต่ละพื้นที่ในการทำเหมืองแร่ ตั้งแต่การติดกระดุมเม็ดแรก อย่างการเริ่มต้นขอประทานบัตรที่สร้างความขัดแย้งของคนในชุมชน ความเดือดร้อนจากผลกระทบที่อยู่ระหว่างการประกอบกิจการเหมืองแร่ หรือ หลังจากเลิกกิจการแล้วทิ้ง “ซาก” อุตสาหกรรรมอันตราย เอาไว้ให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ดูต่างหน้า

ทรัพยากรแร่ที่ควรจะเป็นของ “ประชาชน”ทุกคน กลับถูกใช้วาทกรรมว่าเป็นของ “รัฐ” ที่พร้อม จะเสนอให้นักธุรกิจการเมือง และนายทุนข้ามชาติได้ตลอดเวลา

เปิดผลสอบอนุกรรมการสิทธิ

มีรายงานว่า คณะอนุกรรมการสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร ได้เสนอผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีคัดค้านการเปิดกิจการเหมืองแร่ลิกไนต์ ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง ภายหลังจากมีการร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามคำร้องที่ 533/2551 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2551 ที่ระบุว่ากลุ่มนายทุนได้เข้ามากว้านซื้อที่ดินทำกินของชาวบ้าน บริเวณหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 7 ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง จำนวนกว่า 1,000 ไร่

โดยกลุ่มนายทุนได้เสนอซื้อในราคาที่ถูก โดยอ้างว่าที่ดินทำกินดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นที่จับจองทำกินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ หากไม่ขายให้ก็จะถูกข่มขู่ จึงจำใจต้องขายไป ทั้ง ๆ ที่พื้นที่ทำกินดังกล่าวได้ใช้ทำกินมาหลายชั่วอายุคนแล้ว

ทั้งนี้จากการตรวจสอบของอนุกรรมการฯ ดังกล่าว พบว่า มีการกระทำที่เอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้องในกรณีการอนุญาตให้สัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ถ่านหินบ้านแหงเหนือ ของบริษัท เขียวเหลือง จำกัด โดยมีลำดับเหตุการณ์สำคัญ ตามข้อมูลในรายงานดังกล่าวดังนี้คือ

2 มิถุนายน 2551 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมต.อนงค์วรรณ เทพสุทิน) ทำหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีให้พิจารณายกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาแหล่งถ่านหิน 4 ฉบับ คือเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2531 วันที่ 5 มิถุนายน 2533 วันที่ 10 มีนาคม 2535 และวันที่ 25 กันยายน 2544 โดยยังคงสงวนพื้นที่แหล่งถ่านหินแอ่งเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และแอ่งสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพัฒนาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป เพื่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะได้ดำเนินการประกาศยกเลิกเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษาหรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ถ่านหิน (ลิกไนต์)

ตามความในมาตรา 6 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 และจะได้นำพื้นที่แหล่งถ่านหินในเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษาหรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ 8 พื้นที่ คือ แหล่งถ่านหินแอ่งเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี แอ่งสินปุน จังหวัดนครศรีธรรมราช แอ่งเชียงม่วน จังหวัดพะเยา แอ่งงาว แอ่งวังเหนือ แอ่งแจ้ห่ม-เมืองปาน แอ่งแม่ทะ และแอ่งเสริมงาม จังหวัดลำปาง ไปเปิดประมูลให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนสำรวจและทำเหมืองแร่ถ่านหินมาใช้ประโยชน์เป็นพลังงานทดแทนเพื่อช่วยแก้ปัญหาวิกฤติพลังงานของประเทศ ต่อไป

10 มิถุนายน 2551 บริษัท เขียวเหลือง จำกัด ได้ทำการจดทะเบียน ประเภทบริษัทจำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาท วัตถุประสงค์ตามที่ได้จดทะเบียนไว้คือประกอบกิจการป่าไม้ การทำไม้ ปลูกสวนป่า ซึ่งประธานบริษัท คือ นายเรืองศักดิ์ งามสมภาค อดีตอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม และเป็นผู้เคยถูกเสนอชื่อให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขแทนนายมานิต นพอมรบดี ที่ลาออกจากตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา

ปัจจุบัน “นายเรืองศักดิ์” เป็นรองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทยคนที่หนึ่ง ซึ่งเป็นคนใกล้ชิดกับอดีตนักการเมืองที่เป็นสามีของนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รมต.ทส. ที่ออกประกาศกระทรวงฯ “ปลดล็อค” มาตรา 6 ทวิ ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 เพื่อนำแหล่งแร่ถ่านหิน 8 พื้นที่ ไปเปิดประมูลให้เอกชน

17 มิถุนายน 2551 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาแหล่งถ่านหินรวม 4 มติ คือมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2531 (เรื่องมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2531 ครั้งที่ 11) วันที่ 5 มิถุนายน 2533 (เรื่อง ผลการสำรวจถ่านหินแอ่งงาว แจ้ห่ม-เมืองปาน เชียงม่วนและเสริมงาม) วันที่ 10 มีนาคม 2535 (เรื่อง การพัฒนาถ่านหินแอ่งเวียงแหง) และวันที่ 25 กันยายน 2544 [เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2544 (ครั้งที่ 85)] โดยยังคงสงวนพื้นที่แหล่งแร่ถ่านหินแอ่งเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และแอ่งสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพัฒนาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป เพื่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะได้ดำเนินการประกาศยกเลิกเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษาหรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ถ่านหิน (ลิกไนต์)

ตามความในมาตรา 6 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 และที่แก้ไขเพิ่มเติมต่อไป และจะได้นำพื้นที่แหล่งถ่านหินในเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษาหรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ 8 พื้นที่ คือ แหล่งถ่านหินแอ่งเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี แอ่งสินปุน จังหวัดนครศรีธรรมราช แอ่งเชียงม่วน จังหวัดพะเยา แอ่งงาว แอ่งวังเหนือ แอ่งแจ้ห่ม-เมืองปาน แอ่งแม่ทะ และแอ่งเสริมงาม จังหวัดลำปาง ไปเปิดประมูลให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนสำรวจและทำเหมืองแร่ถ่านหินมาใช้ประโยชน์เป็นพลังงานทดแทนเพื่อช่วยแก้ปัญหาวิกฤติพลังงานของประเทศ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอต่อไป

20 มิถุนายน 2551 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมต.อนงค์วรรณ เทพสุทิน) ออกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ยกเลิกเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2531 เนื่องด้วยบัดนี้ทางราชการได้ดำเนินการสำรวจแร่ในพื้นที่ดังกล่าวบางส่วนเสร็จสิ้นแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ดังกล่าวเพื่อการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่อีกต่อไป จึงประกาศให้ยกเลิกเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ในท้องที่ต่าง ๆ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2531 ดังต่อไปนี้

  1. เขตท้องที่อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา และอำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เนื้อที่ 673 ตารางกิโลเมตร
  2. เขตท้องที่อำเภอเชียงคำ และอำเภอปง จังหวัดพะเยา เนื้อที่ 529 ตารางกิโลเมตร
  3. เขตท้องที่อำเภอปง และอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา และอำเภอสอง จังหวัดแพร่ เนื้อที่ 182 ตารางกิโลเมตร
  4. เขตท้องที่อำเภองาว เนื้อที่ 195 ตารางกิโลเมตร
  5. เขตท้องที่อำเภอวังเหนือ และอำเภอแจ้ห่ม เนื้อที่ 332 ตารางกิโลเมตร
  6. เขตท้องที่กิ่งอำเภอเมืองปาน อำเภอแจ้ห่ม และอำเภอเมืองลำปาง เนื้อที่ 500 ตารางกิโลเมตร
  7. เขตท้องที่อำเภอเมืองลำปาง อำเภอแม่ทะ และอำเภอเกาะคา เนื้อที่ 783 ตารางกิโลเมตร
  8. เขตท้องที่อำเภอห้างฉัตร อำเภอเกาะคา และอำเภอเสริมงาม เนื้อที่ 205 ตารางกิโลเมตร

24 มิถุนายน 2551 หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ 0505/9287 ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2551 แจ้งว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ตามที่ รมต.ทส. เสนอ

ทั้งนี้ในรายงานดังกล่าว ได้ตั้งข้อสังเกตที่สำคัญว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 แต่หนังสือจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีด่วนที่สุด ที่ 0505/9287 แจ้งมายังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2551 จึงมีข้อสงสัยว่า รมต.ทส. ได้ทำการประกาศกระทรวงฯ เรื่องยกเลิกเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2551 ก่อนที่หนังสือจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะมาถึง รมต.ทส. ได้อย่างไร

คณะอนุกรรมการสิทธิชุมชนฯ มีความเห็นว่าการเร่งรีบออกประกาศกระทรวงฯ ดังกล่าว ของ รมต.ทส. ก่อนหนังสือจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะมาถึงเป็นการกระทำที่เอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้อง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ผู้นำแรงงานร้องไอแอลโอ ไทยละเมิดสิทธิเเรงงานข้ามชาติอย่างเป็นระบบ

Posted: 22 Sep 2011 12:15 PM PDT

วันที่ 1 กันยายน 2554 เป็นวันครบรอบ 43 ปี ที่ไทยได้อนุวัติ อนุสัญญาองค์การเเรงงานระหว่างประเทศ อ.ที่ 19 เรื่องการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน (การทดแทนกรณีอุบัติเหตุ) ในโอกาสนี้ เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้ยื่นหนังสือต่อองค์การเเรงงานระหว่างประเทศ เพื่อร้องเรียนกรณีที่รัฐบาลไทยไม่สามารถบังคับใช้นโยบายที่ปราศจากการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติ ในการเข้าถึงกองทุนเงินทดแทน หลังจากรัฐบาลไทยเสนอนโยบายประกันอุบัติเหตุเอกชนสำหรับแรงงานข้ามชาติ เเทนการให้เเรงงานข้ามชาติเข้าถึงกองทุนเงินทดแทน

21 กันยายน 2554 นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมธิการผู้เชี่ยวชาญในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อเเสดงถึงการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศของรัฐบาลไทย ดังปรากฏหลักฐาน จากการที่รัฐบาลไทยกำหนดนโยบายที่ปฏิเสธมิให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงกองทุนเงินทดแทน การยื่นหนังสือครั้งนี้ เป็นการยื่นเอกสารเพิ่มเติม จากการยื่นหนังสือครั้งล่าสุดของ สรส. ณ ที่ประชุมเเรงงานระหว่างประเทศ ที่ นครเจนีวา เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2554

การยื่นหนังสือครั้งนี้ สรส. ต้องการนำเสนอข้อมูลการเลือกปฏิบัติอย่างเป็นระบบล่าสุดแก่คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญขององค์การเเรงงานระหว่างประเทศ โดยเน้นนโยบาย “โครงการประกันอุบัติเหตุเอกชนสำหรับแรงงานข้ามชาติ” อันเป็นนโยบายที่เพิ่งประกาศ นโยบายนี้ปฏิเสธมิให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงกองทุนเงินทดแทน ที่สำนักงานประกันสังคมเป็นผู้กำกับดูแล เเม้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ออกกฎกระทรวงเป็นการ “เเจ้ง” ให้นายจ้างซื้อประกันของเอกชนให้แรงงานข้ามชาติ ในราคา 500 บาท จากบริษัทประกันภัยเอกชน เพื่อให้ความคุ้มครองกรณีที่ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน ทดเเทนการรับสิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทนของรัฐ แต่ประกาศดังกล่าวไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย เเละรัฐบาลไม่มีอำนาจที่จะบังคับให้นายจ้างปฏิบัติตามหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งเเตกต่างจากระบบกองทุนเงินทดแทน ที่มีกฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานให้บังคับใช้กฎหมาย เเละลงโทษนายจ้างที่ไม่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนทดแทน ระบบประกันภัยเอกชนจึงเป็นระบบที่ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ เเละไม่สามารถประกันการเข้าถึงการได้รับการชดเชยเมื่อประสบอุบัติเหตุ

นโยบายใหม่นี้ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติในประเทศ และยังส่งผลกระทบเชิงลบต่อแรงงานข้ามชาติ ประมาณ 2 ล้านคน ซึ่งส่วนมากเป็นแรงงานจากประเทศพม่าที่ทำงานในประเทศไทย แรงงานเหล่านี้เผชิญความเสี่ยงสูงที่จะเจ็บป่วยและได้รับอุบัติเหตุจากการทำงาน เพราะไม่ได้รับการคุ้มครองเพียงพอ แม้องค์การแรงงานระหว่างประเทศและองค์การสหประชาชาติจะทักท้วงนโยบายของรัฐบาลไทยมาโดยตลอด แต่ปัจจุบัน นโยบายของรัฐบาลไทยก็ยังคงเลือกปฏิบัติต่อแรงงานพม่าอย่างเป็นระบบ และปล่อยให้การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงต่อแรงงานข้ามชาติกลุ่มนี้ยังดำเนินต่อไป

ในการยื่นหนังสือต่อรัฐบาลไทยครั้งที่เเล้ว คณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญองค์การเเรงงานระหว่างประเทศเเละผู้รายงานพิเศษขององค์การสหประชาชาติด้านการย้ายถิ่น เรียกร้องให้รัฐบาลไทยทบทวนนโยบายตามหนังสือเวียนที่ รส 0711/ ว751 ซึ่งปฏิเสธมิให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงกองทุนเงินทดแทน หลังจากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานจึงได้ขอให้คณะรัฐมนตรี อนุมัติให้ตั้งกองทุนประกันภัยเอกชน แยกต่างหากสำหรับแรงงานข้ามชาติ เพื่อให้ความคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ เหยื่ออุบัติเหตุเเละการเจ็บป่วยจากการทำงาน โดยเเยกต่างหากจากกองทุนเงินทดแทน ภายใต้นโยบายปัจจุบัน แรงงานข้ามชาติยังไม่ได้รับความคุ้มครองเเละยังเป็นกลุ่มเปราะบางต่อเเนวปฏิบัติที่ละเมิดสิทธิ และการเลือกปฏิบัติกับเเรงงานข้ามชาติ สรส. ได้รับรายงานมาว่า ในหลายกรณี ไม่อาจเชื่อมั่นว่านายจ้างจะสมัครใจให้ความคุ้มครองเเรงงานข้ามชาติด้วยตนเอง นายจ้างยังหลบเลี่ยงความรับผิด หรือเเจ้งตำรวจให้มาจับลูกจ้าง โดยเฉพาะกรณีลูกจ้างประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน ระบบการประกันภัยภาคเอกชน ที่แยกการคุ้มครองเเละให้สิทธิประโยชน์กับแรงงานข้ามชาติน้อยกว่าเเรงงานไทย เป็นระบบที่ไม่สามารถยอมรับได้ เเละเป็นระบบที่เลือกปฏิบัติโดยธรรมชาติ เเรงงานในประเทศไทยทุกคน ไม่ว่า จะมาจากเเห่งหนหรือสัญชาติใดต้องได้รับการคุ้มครอง ภายใต้สิทธิเเรงงานเเละการคุ้มครองเเรงงานภายใต้กองทุนเงินทดแทนเดียวกัน

ด้วยเหตุนี้ สรส. ขอเรียกร้องให้ องค์การเเรงงานระหว่างประเทศ และประชาคมนานาชาติ สนับสนุนข้อเรียกร้องนี้ และดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่เเรงงานทุกคนสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย ได้รับสิทธิเเละการคุ้มครองอย่างเสมอหน้าเเละเท่าเทียมกัน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

น้ำท่วม...เป็นเรื่องของความเห็นแก่ตัว

Posted: 22 Sep 2011 12:11 PM PDT

ใครว่าคนไทยเป็นคนใจกว้าง มีความโอบอ้อมอารี เอื่อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปัน ผมว่า...พูดผิดพูดใหม่ได้นะครับ เพราะกรณีน้ำท่วมที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกตั้งแต่จังหวัดในภาคเหนือ เช่น จังหวัดอุตรดิตถ์ไล่ลงมาจนถึงจังหวัดในภาคกลาง เช่น สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยาฯลฯ ล้วนแสดงให้เห็นถึงความมักง่ายและความเห็นแก่ตัวของคนไทยอย่างปฏิเสธไม่ได้

ตัวอย่างปัญหาน้ำท่วมที่กำลังเกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่าสังคมไทยได้เปลี่ยนจากสังคมของการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขไปเป็นสังคมของความเห็นแก่ตัวอย่างสมบูรณ์ คนที่มีเงินหรือมีอำนาจทางเศรษฐกิจเหนือกว่าก็สามารถเอาเปรียบคนยากคนจนได้(อย่างหน้าชื่นตาบาน) ลองดูตัวอย่างดังต่อไปนี้นะครับ

ตัวอย่างที่หนึ่ง การปล่อยปะละเลยให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนในภาคเหนือเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าวโพด แสดงให้เห็นว่านักธุรกิจหรือผู้ที่มีอิทธิพลทั้งหลายไม่เคยสนใจเลยว่า การทำธุรกิจที่ใช้ข้าวโพดเป็นวัตถุดิบนั้นได้นำมาสู่การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ที่ทำหน้าที่เป็นต้นน้ำสำคัญของประเทศ พื้นที่ต้นน้ำเหล่านี้ทำหน้าที่ชะลอการไหลของน้ำในฤดูฝนและคลายน้ำที่อุ้มไว้ในฤดูแล้ง เมื่อนักธุรกิจไทยเลือกที่จะรุกรานพื้นที่ป่าไม้เพื่อปลูกข้าวโพดทั้งที่รู้ว่าเป็นการทำลายระบบนิเวศและเป็นต้นตอของปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งของประเทศไทย ก็ย่อมแสดงให้เห็นถึงความมักง่ายและความเห็นแก่ตัวของกลุ่มทุนเหล่านี้ทั้งสิ้น หลังจากที่นักธุรกิจค้าข้าวโพดได้กอบโกยผลประโยชน์จากการทำลายระบบนิเวศในพื้นที่ต้นน้ำ เป็นที่พอใจแล้วก็แสดงความใจแคบโดยการทิ้งปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งให้คนยากคนจนในชนบทในภาคกลาง

ตัวอย่างที่สอง น้ำเป็นทรัพยากรที่ไม่สามารถบริหารจัดการอย่างง่ายๆ ไม่งั้นคนเขาไม่เสียเวลาห้าปีแปดปีเพื่อร่ำเรียนวิชาชลศาสตร์หรือวิศวกรน้ำหรอกครับ แต่การแก้ปัญหาน้ำท่วมในปัจจุบันกลับอาศัยความมักง่ายโดยการมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ รับผิดชอบการแก้ปัญหาน้ำท่วมในจังหวัดของตน เช่น การสร้างทำนบกั้นน้ำไม่ให้เข้าท่วมพื้นที่ในจังหวัดของตนเอง แต่เคยคิดหรือไม่ว่าน้ำจำนวนนั้นจะถูกผลักออกไปท่วมจังหวัดอื่นๆ ถัดไปอย่างไรบ้าง ดังนั้น การป้องกันปัญหาน้ำท่วมที่ดำเนินกันมาแบบว่าพื้นที่ใดมีเงินมากก็สร้างเขื่อนให้สูงกว่าเพื่อผลักน้ำให้ไปท่วมพื้นที่อื่นหรือจังหวัดอื่นแทน ถ้าคนไทยยังแก้ปัญหากันแบบนี้ ผมก็คิดว่าเป็นการทำงานที่เห็นแก่ตัวสิ้นดี และเป็นการแก้ปัญหาแบบมักง่าย

ตัวอย่างที่สาม การพัฒนาตัวเมืองต่างๆ ผู้คนหวังแต่จะกอบโกยประโยชน์ใส่ตนเองโดยไม่แยแสต่อส่วนรวม ในการพัฒนาเมืองพบว่า ทางไหลของน้ำเดิม เช่น ลำคลอง ลำห้วย ลำธารต่างๆ ที่เป็นทางระบายน้ำในฤดูฝนก็ถูกถมไปหมดเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กอบโกยเงินโดยการถมทางน้ำสาธารณะเพื่อทำหมู่บ้านจัดสรร เจ้าหน้าที่ของรัฐพอได้รับเงินค่าน้ำร้อนน้ำชาแล้วก็ทำเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ สร้างถนนต่างๆ ก็ยกระดับให้สูงซะจนน้ำไม่สามารถไหลผ่านได้ พื้นที่เขตธุรกิจหรือเขตอุตสาหกรรมก็สร้างทำนบกันน้ำไม่ให้ท่วมพื้นที่ของตนโดยให้คนยากคนจนในพื้นที่เกษตรกรรมต้องรับชะตากรรมกับปัญหาน้ำท่วมน้ำหลากแทน การขยายตัวของพื้นที่เมืองในลักษณะเช่นนี้นอกจากไม่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนแล้วช่างสะท้อนความด้อยพัฒนาคนอีกด้วย

ตัวอย่างที่สี่ เกิดเป็นคนกรุงเทพนี้ช่างวิเศษเสียจริงๆ กี่ปีต่อกี่ปีที่ประเทศไทยมีปัญหาน้ำท่วมสูงถึงหลังคาบ้าน ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายมากมาย ทรัพย์สมบัติของชาวบ้านที่ซื้อหามาด้วยเงินทองที่แสนจะหายากก็ถูกน้ำพัดพาอันตรธานไปหมด แต่คนกรุงเทพยังคงใช้ชีวิตปกติ ว่างจากงานก็ช้อปปิ้ง ดูหนัง ฟังเพลง ทำสิ่งที่ตนเองสนใจ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาน้ำท่วมเลย การที่คนกรุงเทพฯ ไม่ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมเป็นเพราะคนกรุงเทพฯ มีเอกสิทธิ์และมีสตางค์มากพอทีจะสร้างแนวกันน้ำสองริมฝั่งแม่น้ำและปิดประตูกันน้ำทุกจุดเพื่อ ป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้าเขตกรุงเทพฯ เมื่อน้ำจำนวนนี้ไม่สามารถไหลเข้าพื้นที่กรุงเทพได้ มันก็ต้องไหลไปท่วมพื้นที่ข้างเคียงแทน อย่างนี้ไม่เรียกว่าเป็นการบริหารจัดการน้ำอย่างเห็นแก่ตัวก็ไม่รู้ว่าจะเรียกอะไรแล้วครับ ถามว่า...คนรวยในกรุงเทพฯเคยมีจิตใจที่คิดจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษเพื่อนำเงินรายได้ของชาวกรุงเทพฯไปชดเชยประชาชนในพื้นที่ข้างเคียงที่ต้องอยู่ใต้น้ำแทนคนกรุงเทพหรือไม่...ไม่เคยและไม่คิดจะทำด้วย อย่างนี้ไม่เรียกว่าเอาเปรียบ ใจแคบ เห็นแก่ตัวก็ไม่รู้ว่าจะเรียกอะไรแล้ว

นอกจากจะมีเล่ห์เหลี่ยมในการเอาเปรียบพื้นที่รอบๆ แล้ว คนกรุงเทพฯ ก็ยังยกภาระการจ่ายค่าชดเชยทั้งหมดไปให้รัฐบาลกลางแทน อย่าลืมนะครับว่าเงินของรัฐบาลที่นำมาจ่ายเป็นค่าชดเชยน้ำท่วมก็คือเงินของประชาชนทั้งประเทศนั่นเอง เมื่อรัฐบาลนำเงินจำนวนนี้มาจ่ายเป็นค่าชดเชยน้ำท่วมเสียแล้ว เงินที่จะนำมาใช้เพื่อพัฒนาประเทศให้กับประชาชนในชนบทในอนาคต ก็ต้องถูกตัดทอนลงไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ คนกรุงเทพฯ ไม่ยอมรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองทำ แต่โยนภาระทั้งหมดให้คนจนในชนบทที่ต้องใช้เงินของตัวเองมาชดเชยให้ตัวเองจากปัญหาน้ำท่วม การทำแบบนี้เป็นวิธีการทางการคลังสาธารณะที่แยบยลมาก ผมเองไม่คิดเลยว่าคนไทยด้วยกันจะกล้าทำกันขนาดนี้

สรุปความได้ว่า การบริหารจัดการน้ำท่วมของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นเพียงการแก้ปัญหาแบบตัวใครตัวมัน ใครมีเงินมากกว่า มีอำนาจทางเศรษฐกิจเหนือกว่า เช่น ชาวกรุงเทพมหานคร หรือคนในเขตเมืองใหญ่ๆ ก็ใช้อิทธิพลของตัวเองสร้างสิ่งปลูกสร้างที่แข็งแรงกว่าเพื่อผลักน้ำให้ไปท่วมพื้นที่รอบนอกแทน ทำให้พื้นที่อื่นๆ ที่ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมอยู่แล้วต้องอยู่ใต้น้ำนานขึ้นและ/หรือเผชิญกับระดับน้ำที่สูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น การกระทำอย่างนี้ไม่เรียกว่าเอาเปรียบ เห็นแก่ตัว มักง่ายก็ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไรแล้วครับ.

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์ ไม่ต้องรอพระราชบัญญัติ

Posted: 22 Sep 2011 12:05 PM PDT

มาตรา 41 ของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 เป็นกลไกสำคัญและมีความเป็นไปได้ในการนำมาใช้เพื่อคุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์

หลายเสียงอาจบอกถึงข้อจำกัดของมาตรา 41 และบอกถึงข้อดีของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์ ซึ่งสำหรับผู้เขียนเองเห็นว่า พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์ ยังไม่มีผลบังคับใช้ และเมื่อมีผลบังคับใช้ก็ยังต้องพัฒนากลไกต่างๆให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างจริงจัง

การนำมาตรา 41 มาใช้ให้เต็มศักยภาพในระหว่างที่ยังไม่มี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์ จึงเป็นทางเลือกที่ไม่ควรละเลย และเมื่อมีพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์ ที่ได้รับการยอมรับ เห็นพ้องต้องกัน และมีผลใช้บังคับ ก็สามารถเปลี่ยนไปใช้กลไกที่เกิดขึ้นใหม่นั้นได้ โอกาสที่ผู้รับบริการทางการแพทย์ในปัจจุบันเสียไป จากการไม่นำพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาตรา 41 มาใช้ให้เกิดประโยชน์เต็มที่ จึงเป็นเรื่องน่าเสียดาย

มาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มีบทบัญญัติว่า

มาตรา ๔๑ ให้คณะกรรมการกันเงินจำนวนไม่เกินร้อยละหนึ่งของเงินที่จะจ่ายให้ หน่วยบริการไว้เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหาย ที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ โดยหาผู้กระทำผิดมิได้หรือหาผู้กระทำผิดได้แต่ยังไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควร ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ คณะกรรมการกำหนด

การจะทำให้พระราชบัญญัตินี้มีผลอย่างครอบคลุมแก่ผู้รับบริการทั้งมวล สามารถจะทำได้ก็ต่อเมื่อได้มีการดำเนินการเพิ่มเติม โดยสามารถนำเงื่อนไขต่างๆที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาพิจารณาและดำเนินการให้ครบถ้วน

แนวทางที่เป็นไปได้

  1. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เสนอคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้กำหนดให้สถานพยาบาลที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยร่วมบริการ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพประกอบด้วย หน่วยบริการประจำ หน่วยบริการรับการส่งต่อ หน่วยบริการปฐมภูมิ และหน่วยบริการร่วมบริการ หากเขาอยู่ในระบบแล้วก็เป็นหน่วยบริการแบบใดแบบหนึ่ง แต่เพื่อขยายบทบาทของหน่วยบริการตามมาตรานี้ ก็สามารถให้หน่วยบริการที่มีมาตรฐานตามกฎหมายอื่นๆเป็นหน่วยร่วมให้บริการ เพื่อที่จะได้เอื้ออำนวยเราสามารถคุ้มครองผู้รับบริการได้ตามกลไกของกฎหมายที่ได้กำหนดไว้)
  2. กรณีผู้รับบริการไม่ว่าเป็นสิทธิประโยชน์ใด ได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรับการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เสนอหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่ง กำหนดให้ผู้รับบริการสามารถใช้สิทธิตามมาตรา 41 ของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้

เมื่อดำเนินการทั้งสองแนวทางนี้ พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาตรา 41 ก็จะครอบคลุมความเสียหายของผู้รับบริการทางการแพทย์จากหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพทั้งมวล และครอบคลุมไม่ว่าเขาใช้สิทธิใด ทั้งบัตรทอง ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการหรือแม้แต่บุคคลผู้ไร้สิทธิ

 

ปัญหาที่อาจจะมีผู้โต้แย้งในภาคปฏิบัติคือ

ปัญหาที่ 1 งบประมาณที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้มา เป็นงบประมาณจากงบรายหัวที่รัฐคำนวณให้จากประชากรที่ลงทะเบียนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพียง 47 ล้านคน

ความเห็น 1 พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ครอบคลุมทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 5

มาตรา ๕ บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดโดยพระราชบัญญัตินี้

การได้รับงบประมาณที่คำนวณจากประชากร 47 ล้านคนจึงเป็นเพียงตัวเลขในการจัดการทางงบประมาณ ไม่ได้ตัดสิทธิประชากรกลุ่มอื่นๆ และในปัจจุบันการดำเนินการเรื่องสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก็ครอบคลุมประชากรกลุ่มอื่นๆแล้ว ไม่ได้จำกัดเฉพาะประชากร 47 ล้านคน

ปัญหาที 2 หากมีการจ่ายเงินชดเชยที่กันมาจากเงินซึ่งคำนวณจากประชากร 47 ล้านคน ที่จะจ่ายให้หน่วยบริการ เงินอาจจะไม่เพียงพอและไม่เป็นธรรมกับหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ความเห็น 2 พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีเจตนารมณ์ ที่จะครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มในประเทศ โดยเน้นการจัดบริการที่ได้มาตรฐานให้กับประชาชนไทยอย่างเสมอภาค และมุ่งหวังให้การเกิดขึ้นของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นกลไกในการจัดระบบการจัดการสิทธิประโยชน์ต่างๆให้มีประสิทธิภาพ เมื่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพได้จ่ายเงินเพื่อคุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์ไปจากงบกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้แก่ประชาชนใน สิทธิประกันสังคม สิทธิสวัสดิการราชการและสิทธิอื่นๆ ก็เป็นบทบาทของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะได้ขอรับเงินชดเชยนั้นคืนมาจากกองทุนอื่นๆ หรือจากสำนักงบประมาณ

ปัญหา 3 การเรียกเงินคืนจากกองทุนอื่นๆจะยุ่งยากและหรือทำไม่ได้

ความเห็น 3 นอกจากเจตนารมณ์ของกฎหมายจะกล่าวไว้ในตอนท้าย [1] “จึงสมควรนำระบบการช่วยเหลือดังกล่าวมาจัดการรวมกันเพื่อลดค่าใช้จ่ายในภาพรวมในด้านสาธารณสุขมิให้เกิดการซ้ำซ้อนกันดังกล่าว และจัดระบบใหม่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้” ในพระราชบัญญัติ มาตรา 9 และมาตรา 10 [2] ยังได้กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ดำเนินการขยายบริการสาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้ครอบคลุม สิทธิสวัสดิการข้าราชการและประกันสังคม ซึ่งเป็นการเสริมให้สิทธิที่อาจจะยังไม่ได้รับการพัฒนาในระบบเดิมเช่นกรณีการคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการทางการแพทย์ หรือสิทธิย่อยบางสิทธิ พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดกลไกให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ดำเนินการ โดยจะต้องมีพระราชกฤษฎีกามารองรับ

ปัญหา 4 ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกา เพื่อรองรับการใช้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้ครอบคลุมสิทธิอื่นๆ

ความเห็น 4 การเสนอให้มีการตราพระราชกฤษฎีกา จึงเป็นภารกิจสำคัญที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะได้เร่งเสนอ เพราะแม้ว่าในบทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัติมาตรา 66 [3] ได้ให้เวลาไว้

แต่บัดนี้ได้ล่วงเลยเวลามาพอสมควร เพราะเข้าสู่ปีที่ 9 ของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การเสียสิทธิและเสียโอกาสหลายประการของประชาชนควรจะได้รับการปลดเปลื้อง โดยการเริ่มจากการ คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์ ทุกกลุ่ม จากพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

 

หมายเหตุ:

[1] เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 52 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้ชนชาวไทยย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ และการให้บริการสาธารณสุขของรัฐต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนมีส่วนร่วมเท่าที่จะกระทำได้ และมาตรา 82 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติให้รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุข ให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง ด้วยเหตุนี้ จึงต้องจัดระบบการให้บริการสาธารณสุขที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตให้มีการรักษาพยาบาลที่มีมาตรฐาน โดยมีองค์กรกำกับดูแลซึ่งจะดำเนินการโดยการมีส่วนร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคประชาชนเพื่อจัดการให้มีระบบการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพทั้งประเทศ และให้ประชาชนชาวไทยมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานด้วยกันทุกคน นอกจากนี้เนื่องจากในปัจจุบันระบบการให้ความช่วยเหลือในด้านการรักษาพยาบาลได้มีอยู่หลายระบบ ทำให้มีการเบิกจ่ายเงินซ้ำซ้อนกัน จึงสมควรนำระบบการช่วยเหลือดังกล่าวมาจัดการรวมกันเพื่อลดค่าใช้จ่ายในภาพรวมในด้านสาธารณสุขมิให้เกิดการซ้ำซ้อนกันดังกล่าว และจัดระบบใหม่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

[2] มาตรา ๙ ขอบเขตของสิทธิรับบริการสาธารณสุขของบุคคลดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ มติคณะรัฐมนตรีหรือคำสั่งใดๆ ที่กำหนดขึ้นสำหรับส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และให้ใช้สิทธิดังกล่าวตามพระราชบัญญัตินี้

(๑) ข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการ
(๒) พนักงานหรือลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(๓) พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ หรือผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานอื่นของรัฐหรือบุคคลอื่นใดที่มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลโดยใช้จ่ายจากเงินงบประมาณ
(๔) บิดามารดา คู่สมรส บุตร หรือบุคคลอื่นใดที่ได้รับสวัสดิการการรักษาพยาบาล
โดยอาศัยสิทธิของบุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓)

ในการนี้ ให้คณะกรรมการมีหน้าที่จัดการให้บุคคลดังกล่าวสามารถได้รับบริการสาธารณสุขตามที่ได้ตกลงกันกับรัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ แล้วแต่กรณี

การกำหนดให้บุคคลตามวรรคหนึ่งประเภทใด หรือหน่วยงานใด ใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขตามพระราชบัญญัตินี้ได้เมื่อใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาตามวรรคสามใช้บังคับแล้ว ให้รัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ แล้วแต่กรณี ดำเนินการจัดสรรเงินในส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสำหรับบุคคลตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกานั้นให้แก่กองทุนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่ตกลงกับคณะกรรมการ

 

มาตรา ๑๐ ขอบเขตของสิทธิรับบริการสาธารณสุขของผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม การขยายบริการสาธารณสุขตามพระราชบัญญัตินี้ไปยังผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการและคณะกรรมการประกันสังคมตกลงกัน

ให้คณะกรรมการจัดเตรียมความพร้อมในการให้บริการสาธารณสุขแก่ผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม และเมื่อได้ตกลงกันเกี่ยวกับความพร้อมให้บริการสาธารณสุขกับคณะกรรมการประกันสังคมแล้ว ให้คณะกรรมการเสนอรัฐบาลเพื่อตราพระราชกฤษฎีกากำหนดระยะเวลาการเริ่มให้บริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการตามพระราชบัญญัตินี้แก่ผู้มีสิทธิดังกล่าว

เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาตามวรรคสองใช้บังคับแล้ว ให้สำนักงานประกันสังคมส่งเงินค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขจากกองทุนประกันสังคมให้แก่กองทุนตามจำนวนที่คณะกรรมการและคณะกรรมการประกันสังคมตกลงกัน

[3] มาตรา ๖๖ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๙ และมาตรา ๑๐ ภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และหากไม่แล้วเสร็จให้ขยายระยะเวลาได้ครั้งละหนึ่งปี โดยให้สำนักงาน หรือสำนักงานและสำนักงานประกันสังคม แล้วแต่กรณี รายงานเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการได้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และจัดให้มีการเผยแพร่รายงานนั้นต่อสาธารณชน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เมื่อพระอ้างพระไตรปิฎก “ผู้หญิงไม่ควรเป็นผู้นำประเทศ”

Posted: 22 Sep 2011 11:50 AM PDT

พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฏก เป็นหูที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฏก เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฏก เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฏก เป็นกายที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฏก เป็นใจที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฏก เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฏก เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฏก เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฏก เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฏก เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง

ข้อความข้างบนนี้คือข้อความที่ปรากฏบนหน้าเว็บไซต์สำนักสงฆ์ป่าสามแยก ที่พำนักของพระเกษม อาจิณฺณสีโล ผู้อ้างพระไตรปิฎกว่า “ผู้หญิงไม่ควรเป็นผู้นำประเทศ” ผมคิดว่าวิธีอ้างพระไตรปิฏกแบบ “อีเดียต” ของพระรูปนี้เป็น “กรณีศึกษา” ที่น่าสนใจ แต่โปรดเข้าใจว่า “อีเดียต” ในที่นี้ผมไม่ได้ใช้เป็นคำด่า แต่ใช้ในความหมายเชิงวิชาการที่หมายถึง การอ้างข้อความในพระไตรปิฎกโดยไม่วิเคราะห์เนื้อหาและบริบทเพื่อเป็น “คำตอบสำเร็จรูป” แก่ทุกเรื่องอย่าง (ที่ไม่รู้จะใช้คำไหนแทนดีจึงใช้) อีเดียต”

บังเอิญผมเพิ่งได้อ่านแง่คิดในการอ่านพระไตรปิฎกจากข้อเขียนของสมภาร พรมทา (วารสารปัญญา ฉบับที่ 12 กันยายน 2554) ซึ่งเข้ากันได้กับเรื่องนี้พอดี จึงขอ “เก็บความ” มาเล่าโดยย่อ ข้อเขียนดังกล่าวยกตัวอย่างเรื่องหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เขียนประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ตอนหนึ่งว่าคืนที่ท่านบรรลุธรรมนั้นเกิดนิมิตมีพระพุทธเจ้าหลายองค์มาแสดงความยินดี พระพุทธเจ้าแต่ละองค์มีพระอรหันต์เป็นบริวารจำนวนมากน้อยต่างกันตามบารมีที่บำเพ็ญมาต่างกัน แถมมีพระอรหันต์ที่เป็นสามเณร อายุประมาณ 7- 8 ขวบ หน้าตาน่ารักน่าเอ็นดูมาในขบวนนั้นๆ ด้วย ความประทับใจในความน่ารักของสามเณรทำให้หลวงตาบัวถึงขนาดเขียนว่า “ถ้าเป็นเราคงอดไม่ได้ที่จะเข้าไปหยิกแก้มสามเณร แล้วค่อยขอขมาโทษทีหลัง”

อีกเรื่องเป็นประวัติของหลวงพ่อชา สุภัทโท ตอนวัยหนุ่มท่านต่อสู้กับ “ราคะ” ชนิดตาต่อตาฟันต่อฟัน ระหว่างเดินจงกรมอยู่กลางป่าตอนกลางคืน ปรากฏว่าท่านเกิดนิมิตเห็นอวัยวะเพศผู้หญิงลอยมาเวียนวนรบกวนสมาธิอยู่ตลอดเวลา จนทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศ องคชาติแข็งตัวจนต้องถลกสบงเดินจงกรมสู้กับความรู้สึกทางกามารมณ์นั้นอย่างเอาเป็นเอาตายอยู่ถึง 10 วันจึงเอาชนะได้เด็ดขาด (ปกติถ้าเราจะเกิดอารมณ์ทางเพศเมื่อเห็นหรือจินตนาการภาพผู้หญิงเปลือยทั้งตัว ถ้าเห็นอวัยวะชิ้นใดชิ้นหนึ่งลอยมา เราน่าจะเผ่นป่าราบมากกว่า ไม่รู้ว่าคนเขียนประวัติหลวงพ่อชาทำไมถึงจินตนาการได้พิลึกพิลั่นขนาดนั้น)

อาจารย์สมภารแสดงความเห็นทำนองว่า ตัวอย่างที่ยกมานี้ เป็นการเขียนประวัติพระเกจิอาจารย์แนวโรแมนติก คือใส่จินตการเหนือจริงเข้าไป แม้ว่าผู้เขียนจะบอกว่าเขียนจากคำบอกเล่าของเจ้าของประวัติเองก็ตาม แต่ท่วงทำนอง ลีลาในการเขียน หรือการใส่สีตีไข่เพื่อให้เห็นความน่าอัศจรรย์ หรือเห็นความเพียรเป็นเลิศในการเอาชนะกิเลสของครูบาอาจารย์นั้นเป็นของผู้เขียนเอง

ประเด็นคือ เราต้องเข้าใจว่า ประวัติของพระเกจิอาจารย์ต่างๆ นั้น ไม่ใช่ตัวท่านเขียนเอง แต่เป็นลูกศิษย์ท่านเขียน ขนาดประวัติพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัยเรายังเห็นความโรแมนติก หรือความเหนือจริงที่ถูกเติมแต่งโดยผู้เขียนเพื่อยกย่องหรือสร้างศรัทธาในครูอาจารย์ของตนขนาดนี้ เรื่องราวของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกในสมัยพุทธกาลก็เช่นกัน ท่านไม่ได้เขียนประวัติของตัวท่านเอาไว้เอง เป็นเรื่องที่คนอื่นเขียนให้ท่านทั้งนั้น แม้แต่เนื้อหาคำสอนที่ถูกบันทึกเป็นพระไตรปิฎกทั้งหมดก็ถูกรวบรวมจัดหมวดหมู่ที่เรียกว่า “สังคายนา” หรือ edit โดยกลุ่มพระสาวกผู้เชี่ยวชาญที่ทำกันมาแล้วหลายครั้ง

จะเห็นว่าเรื่องราวของพระพุทธเจ้าที่เราพบในพระไตรปิฎกมีอยู่สองแนวคือ แนวโรแมนติก (romantic) กับแนวสมจริง (realistic) ที่เป็นเช่นนี้เพราะพระสาวกมีสองประเภทคือพวก romanticists กับพวก realists และสองพวกนี้ก็ทรงจำและบันทึกเรื่องราวของพระพุทธเจ้าต่างกัน เราจึงได้เห็นภาพลักษณ์ของพระพุทธสองภาพที่แตกต่างกัน (ซึ่งต่างก็ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกนั่นแหละ) ภาพของพระพุทธเจ้าในพุทธประวัติแนวโรแมนติก คือภาพของ “อภิมนุษย์” ที่สง่างามสมบูรณ์แบบ มีลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ เกิดมาแล้วเดินได้ 7 ก้าวทันที มีอิทธิปาฎิหาริย์ต่างๆ เป็นสัพพัญญูรู้ทุกอย่างในจักรวาล ทำอะไรไม่เคยผิดพลาดล้มเหลว เป็นต้น แต่ภาพของพระพุทธเจ้าแนวสมจริง คือมนุษย์ธรรมดาเหมือนเรา ต่างจากเราเพียงเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นจากกิเลส ทว่าร่างกายบุคลิกภาพก็เหมือนคนธรรมดา มีความเจ็บป่วยแก่ชรา นั่งนานๆ ก็เหนื่อย บางครั้งต้องนั่งพิงเสาศาลาเวลาประชุมสงฆ์ บางครั้งก็สอนลูกศิษย์ให้เป็นพระที่ดีก็ไม่ได้ เช่นพระเทวทัต ลูกศิษย์บางคนก็หัวดื้อไม่เชื่อฟัง เช่นพระฉันนะอดีต “อำมาตย์คนสนิท” ของท่านเอง บางครั้งลูกศิษย์แตกเป็นสองก๊ก พระองค์ก็ไม่สามารถประสานให้เกิดความสามัคคีกันได้ เช่นภิกษุเมืองโกสัมพีทะเลาะกัน เป็นต้น

สำหรับพวก realists เวลามองคำสอนของพระพุทธเจ้าเขาก็มองตามเป็นจริง ไม่คิดว่าทุกข้อความของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกจะเป็นสัจธรรมที่ตอบปัญหาได้ทุกเรื่อง คือเขาแยกคำสอนของพระพุทธเจ้าออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นความจริงอันเป็นหลักการทั่วไปที่ไม่สัมพันธ์หรือขึ้นอยู่กับบริบทใดบริบทหนึ่งโดยเฉพาะ เช่นอริยสัจสี่ ปฏิจจสมุปบาท ไตรลักษณ์ ฯลฯ กับส่วนที่เป็นความจริงที่สัมพันธ์หรือขึ้นต่อบริบทเฉพาะบางอย่าง ซึ่งบริบทเฉพาะนั้นอาจเป็นปัญหาของบุคคลที่พระพุทธเจ้าสอน หรือวัฒนธรรมทางสังคมในเวลานั้นก็ได้ หมายความว่าเวลาสอนคนเป็นรายบุคคล พระพุทธองค์จะใช้วิธีพูดแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับบุคคลนั้นมีทุกข์หรือปัญหาเฉพาะตัวอย่างไร หรือมีภูมิหลังทางความเชื่ออย่างไร หรือเวลาสอนธรรมะทางการเมืองก็ดูบริบททางวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ เช่น คำสอนเรื่องทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตรพระองค์ก็สอนเพื่อตอบสนองต่อปัญหาของระบบสังคมการเมืองแบบราชาธิปไตย วัชชีธรรมหรืออปริหานิยธรรมก็สอนแก่สังคมการเมืองแบบสามัคคีธรรม หรือคณาธิปไตยในเวลานั้น เป็นต้น

เมื่อค้นดูข้อความในพระไตรปิฎกที่พระเกษมยกมาอ้างแล้วสรุปว่า “ผู้หญิงไม่ควรเป็นผู้นำประเทศ” นั้น จะเห็นว่า เป็นข้อความในกัณฑินชาดก (และเพิ่มเติมตัวอย่างในอินทริยชาดก) “ว่าด้วยผู้ตกอยู่ในอำนาจหญิง” (พระไตรปิฎกเล่มที่ 27 ข้อ 13 หน้า 5) ว่า “เราติเตียนบุรุษผู้มีลูกศรเป็นอาวุธ ผู้ยิงไปเต็มกำลัง เราติเตียนชนบทที่มีหญิงเป็นผู้นำ อนึ่ง สัตว์เหล่าใดตกอยู่ในอำนาจของหญิงทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้น บัณฑิตก็ติเตียนแล้วเหมือนกัน”

บริบทของการตรัสข้อความนี้คือ เกิดปัญหาว่าพระรูปหนึ่งจะสึกเพราะภรรยาเก่าลวงว่าจะไปแต่งงานกับคนอื่น การอยากจะสึกของพระรูปดังกล่าวนั้นตามค่านิยมของสังคมสงฆ์หมายถึงการตกอยู่ใน “อำนาจ” (ในเรื่อง หมายถึงความติดใจในรสปลายจวักและในทางกามารมณ์) ของตรีซึ่งเป็นอุปสรรคต่อชีวิตพรหมจรรย์ของพระ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสข้อความในพระไตรปิฎกนั้นในบริบทของการสอนพระที่ตกอยู่ใน “อำนาจ” ของสตรีในความหมายดังกล่าวนั้น จนทำให้อยากสึกไป (โดยการสอนนั้นใช้วิธีเล่านิทานชาดกประกอบ ซึ่งการสอนด้วย “นิทาน” น่าจะเป็นที่นิยมในยุคนั้น)

แต่ข้อความว่า “เราติเตียนชนบทที่มีหญิงเป็นผู้นำ” เราอาจเข้าใจได้ว่า ข้อความนี้น่าจะเป็นการพูดถึงความจริงที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคมวัฒนธรรมยุคนั้นที่หัวเมืองใดมีผู้หญิงเป็นผู้นำอาจทำให้อ่อนแอเนื่องจากเป็นยุคสมัยที่ “ศึกชิงเมือง” เกิดได้ตลอดเวลา หรือเป็นยุคที่สังคมยังไม่ยอมรับบทบาทความเป็นผู้นำของสตรี ซึ่งเป็นไปได้ว่าพระพุทธเจ้าก็เห็นด้วยกับการไม่ยอมรับบทบาทเช่นนั้นด้วย

ทว่าการไม่ยอมรับบทบาทความเป็นผู้นำของสตรีดังกล่าวนั้น เป็นเพียงค่านิยมร่วมสมัยในยุคหนึ่ง (ในยุคใกล้เคียงกับพุทธกาล เพลโตก็ถือว่าสตรีไม่ใช่เสรีชน) ไม่ใช่ “หลักการตายตัว” ของพุทธศาสนาที่ใช้ได้กับทุกยุคสมัย ฉะนั้น การที่พระเกษมอ้างคำพูดของพระพุทธเจ้า (ถ้าใช่?) ที่ว่า “เราติเตียนชนบทที่มีหญิงเป็นผู้นำ” เพื่อเป็น “คำตอบสำเร็จรูป” กับยุคปัจจุบันว่า “ผู้หญิงไม่ควรเป็นผู้นำประเทศ” จึงเป็นการอ้างแบบอีเดียต คือไม่รู้จักใช้สติปัญญาจำแนกแยกแยะว่า ข้อความดังกล่าวเป็นความจริงในบริบทของสังคมวัฒนธรรมยุคกว่าสองพันปีที่แล้ว ไม่ใช่ความจริงที่เป็นหลักการทั่วไปเหมือนความจริงของอริยสัจสี่ หรือไตรลักษณ์ที่ปรับใช้ (apply) ได้กับทุกยุคสมัย

ส่วนข้อความที่ว่า “สตรีผู้มีปัญญาทราม” ที่พระเกษมอ้างถึง แม้จะเป็นข้อความในพระไตรปิฎกจริง แต่ก็ไม่ใช่ข้อความที่พูดถึงธรรมชาติของความเป็นผู้หญิง หรือเป็นคำตัดสินค่าความเป็นเพศหญิง เพราะมีข้อความมากมายในพระไตรปิฎกที่ระบุว่า “บุรุษผู้มีปัญญาทราม” ซึ่งทั้งสองข้อความดังกล่าวเป็นข้อความที่พาดพิงถึงสตรีหรือบุรุษบางคนที่แสดงออกถึงความมีคุณภาพทางปัญญาเช่นนั้น เช่น ข้อความว่า “พระอ้างพระไตรปิฎกแบบอีเดียต” ในที่นี้ก็หมายเฉพาะพระบางรูป ไม่ใช่พระทุกรูป เป็นต้น

หากย้อนไปดูข้อความโปรยต้นบทความจะเห็นว่า พระเกษมเชื่ออย่างสุดโต่ง (extreme) ว่าปัญหาทุกเรื่องหา “คำตอบสำเร็จรูป” ได้จากพระไตรปิฎก หรือสามารถอ้างพระไตรปิฎกมาตอบปัญหาในชีวิตและสังคมปัจจุบันได้ทุกเรื่อง นี่ก็เป็นความเชื่อแบบอีเดียตเช่นกัน เมื่อเชื่อแบบอีเดียตเช่นนี้จึงทำให้อ้างพระไตรปิฎกแบบอีเดียตดังกล่าวแล้ว

จะว่าไปวิธีคิด และทัศนคติที่มองคำถามท้าทายทางวิชาการเป็นคำด่า มองกัลยาณมิตรทางวิชาการเป็นตัวปัญหา และวิธีอ้างพระไตรปิฎกแบบอีเดียตดังกล่าว คือภาพสะท้อนปัญหาของระบบการศึกษา และวัฒนธรรมทางปัญญาของสังคมสงฆ์ที่ฝังรากลึกมานาน และยังมองไม่เห็นวิสัยทัศน์ของการปรับเปลี่ยนแต่อย่างใด!

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ถามหาความกล้าหาญของนักนิติศาสตร์และนักรัฐศาสตร์ไทย (อีกครั้งหนึ่ง)

Posted: 22 Sep 2011 11:45 AM PDT

ในกระแสของการสนับสนุนและคัดค้านกันอย่างหนักต่อแถลงการณ์ของคณะอาจารย์นิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ใช้ชื่อว่า “นิติราษฎร์”ที่แถลงเนื่องในโอกาสครบรอบ 5 ปี ของการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ว่าไม่ให้การรับรองการกระทำของคณะรัฐประหารและผู้ที่ใช้กฎหมายของคณะรัฐประหารไม่ว่าจะเป็นศาลหรือองค์กรอื่นใดว่ามีผลตามกฎหมาย พูดง่ายๆก็คือมีค่าเหมือนไม่เคยเกิดขึ้นนั่นเอง

ผมในฐานะที่เคยเสนอแนวความคิดนี้มาตั้งแต่ภายหลังการรัฐประหารใหม่ๆ โดยได้เขียนบทความตีพิมพ์ในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 11 ตุลาคม 2549 และมีการนำไปเผยแพร่กันอย่างกว้างขวางในหลายๆ สื่อ อาทิ ประชาไท เว็บไซต์เครือข่ายกฎหมายมหาชนไทย (Error! Hyperlink reference not valid. จึงอยากนำบทความดังกล่าวมาเสนอเพื่อถามหาความกล้าหาญของนักนิติศาสตร์และนักรัฐศาสตร์ไทยอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นการสนับสนุนแถลงการณ์ของ “นิติราษฎร์”ครับ

0 0 0

เมื่อช่วงระยะเวลาที่ผ่านพ้นการดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์กับการรัฐประหารที่มาพร้อมกับการประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรมาถึง หลาย ๆ คนเริ่มรู้สึกถึงความอึดอัดของการ ถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพที่พึงมี ไม่ว่าจะเป็นสิทธิเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารหรือสิทธิเสรีภาพ ในการชุมนุมทางการเมือง หลายๆคนหงุดหงิดกับการที่ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นในรายการวิทยุ โทรทัศน์ หรือเว็บไซต์ที่ตนเองชื่นชอบเพราะต้องถูกปิดลงเพราะเหตุแห่งความ ”บ้าจี้”ของคนบางคน หลาย ๆ คนถามหาความถูกต้องความชอบธรรมว่า การใช้กำลังเข้าล้มล้างรัฐบาลซึ่งเป็นวิธีการ ที่ผิดกฎหมายและฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง แล้วออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่ตนเองว่าถูกต้องด้วย หลักนิติศาสตร์หรือรัฐศาสตร์หรือไม่อย่างไร

นักวิชาการบางคนออกมาบอกว่า คณะรัฐประหารที่ใช้กำลังเข้าล้มล้างรัฐบาลได้สำเร็จย่อมเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ซึ่งหมายถึงผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐหรือองค์อธิปัตย์ (sovereign ) เพราะเป็นผู้ที่ใช้กำลังเข้ายึดครองอำนาจอธิปไตยได้สำเร็จ ทั้งๆที่มุมมองทางด้านรัฐศาสตร์นั้น นักรัฐศาสตร์ทั้งหลายต่างก็ยอมรับในลัทธิประชาธิปไตย (popular sovereign) ที่ถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนหรือในอีกชื่อหนึ่งก็คือทฤษฎีสัญญาประชาคม (social contract theory)ที่มีรากฐานมาจากความคิดที่ว่ามนุษย์เป็นผู้สร้างรัฐ โดยที่ประชาชนตกลงยินยอมให้ผู้ปกครองใช้อำนาจอธิปไตยแทนตนตามเจตจำนงของประชาชน หากผู้ปกครองละเมิดเจตจำนงของประชาชน ประชาชนมีสิทธิถอดผู้ปกครองได้ตามวิถีทางประชาธิปไตย มิใช่การแย่งชิงอำนาจอธิปไตยไปจากประชาชนโดยการใช้กำลังเข้ายึดอำนาจแล้วออกกฎหมายมาบังคับเอากับประชาชน

ในเรื่องของความชอบธรรมของคณะรัฐประหารนั้นแม้แต่องค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการเองก็ตาม ในอดีตเมื่อมีการนำคดีเข้าสู่ศาล ก็ได้มีแนวบรรทัดฐานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 ว่า เมื่อคณะรัฐประหารยึดอำนาจได้สำเร็จ ย่อมเป็นผู้ปกครองบ้านเมืองหรือแม้กระทั่งองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติเองก็ตามก็ยอมรับว่าประกาศหรือคำสั่งของคณะรัฐประหารเป็นกฎหมาย เมื่อจะยกเลิกก็ต้อง ออกกฎหมายใหม่มายกเลิก สุดแล้วแต่ว่าประกาศหรือคำสั่งที่ออกมานั้นเป็นกฎหมายอยู่ใน ลำดับศักดิ์ใดก็ออกกฎหมายในลำดับศักดิ์ที่เท่ากันหรือสูงกว่ามายกเลิกประกาศหรือคำสั่งนั้น

ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นแนวคิดและความเชื่อของบรรดาเหล่านักนิติศาสตร์และ นักรัฐศาสตร์ไทยมาโดยตลอดว่าหากยึดอำนาจได้สำเร็จก็เป็นรัฏฐาธิปัตย์ไม่ต้องรับโทษทัณฑ์ใดใด จึงเป็นเหตุให้เรามีการก่อการรัฐประหารทั้งที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลวหลายสิบครั้งซึ่งมากที่สุดในโลกนับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เป็นต้นมา ทั้ง ๆ ที่ชื่อของประเทศไทยแปลว่า ประเทศแห่งความเป็นอิสระและเสรี แม้แต่พม่า เขมร ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ชิลี อาร์เจนตินา โคลัมเบีย ปารากวัย ซูดาน ซิมบับเว เซราลีโอนส์ ระวันดา คองโก ลิเบีย อิรัก อาฟกานิสถาน ปากีสถาน สุรินัม เนปาล ฯลฯ ที่ล้วนเคยแต่ตกเป็นเมืองขึ้นของนักล่าอาณานิคมทั้งหลาย แต่ประเทศเหล่านั้นก็ยังมีการรัฐประหารน้อยครั้งกว่าประเทศไทย

กลับมาทางมุมมองด้านนิติศาสตร์หรือกฎหมาย แน่นอนว่า การก่อการรัฐประหารนั้นเป็นการกระทำความผิดตามกฏหมาย โดยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 ก็ระบุไว้ชัดว่าผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ (1) ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ (2) ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ หรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้ หรือ (3) แบ่งแยกราชอาณาจักร หรือยึดอำนาจปกครอง ในส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งราชอาณาจักร ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นกบฏ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิตและมีอายุความที่จะนำเอาตัวผู้กระทำความผิดตามมาตรานี้มาฟ้องร้องดำเนินคดีถึงยี่สิบปี

แม้ว่าการก่อการรัฐประหารของไทยที่ผ่านมาทุกครั้งจะถือว่ารัฐธรรมนูญถูกยกเลิกตามความเห็นของนักวิชาการทั้งนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ก็ตาม แต่เราลืมไปว่าประมวลกฎหมายอาญามิได้ถูกยกเลิกไปแต่อย่างใด การกระทำดังกล่าวก็ย่อมถือว่ามีความผิดอยู่นั่นเอง ถึงแม้ว่าจะมีการออกกฎหมายมา นิรโทษกรรมก็ตาม ซึ่งก็หมายความว่าเป็นความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษไม่ได้หมายความว่าการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดแต่อย่างใด ประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณาก็คือว่าการออกกฎหมายมานิรโทษกรรมให้แก่ตนเอง ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง จะถูกต้องหรือไม่ ซึ่งก็ต้องอาศัยความกล้าหาญของนักวิชาการทั้งทางด้านนิติศาสตร์และด้านรัฐศาสตร์ทั้งหลายที่จะเป็นผู้ให้ความเห็นหักล้างแนวบรรทัดฐานเดิมที่มีมาในอดีต ซึ่งก็หมายความรวมไปถึงผู้ที่จะมีหน้าที่วินิจฉัยเมื่อมีการนำคดีขึ้นสู่ศาลไม่ว่าจะเป็นศาลยุติธรรมหรือศาลอื่นใดก็ตามหากจะมีผู้ฟ้องร้องเป็นคดีความขึ้นมา

จริงอยู่ความเชื่อที่ว่าคณะรัฐประหารคือรัฏฐาธิปัตย์ ประกาศหรือคำสั่งของ คณะรัฐประหารคือกฎหมายต้องปฏิบัติตามนั้นมีมาช้านาน แต่ก็มิได้หมายความว่า เราจะเปลี่ยนแปลงความเชื่อหรือแนวคิดนี้ไม่ได้ แม้แต่ความเชื่อที่เป็นวิทยาศาสตร์แท้ ๆ ยังมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอด อาทิ การไม่จัดให้ดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลอีกต่อไป โดยวิธีการเพียงเพราะการยกมือของนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ในที่ประชุม แล้วนับประสาอะไรกับความเชื่อทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ด้านสังคม(social science)ที่อ่อนไหวและยืดหยุ่นกว่าวิทยาศาสตร์แท้ ๆ ( pure science ) จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

หากเราเปลี่ยนแนวคิดเสียใหม่ว่าการทำรัฐประหารไม่ว่าจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ ก็ตามเป็นการกระทำผิดกฎหมายที่ต้องได้รับโทษเสมอ ประกาศหรือคำสั่งของคณะรัฐประหารไม่ถือว่าเป็นกฎหมายและกฎหมายนิรโทษกรรมที่ออกให้เพื่อตนเองย่อมไม่มีผลบังคับใช้แล้วไซร้ ประเด็นของการถกเถียงว่าเราจะทำอย่างไรที่จะป้องกันมิให้มีการรัฐประหารเกิดขึ้นอีกก็คงจะลดลงไป อย่างน้อยก็ประเด็นความชอบด้วยกฎหมายทางด้านนิติศาสตร์และประเด็นความชอบธรรมของสัญญาประชาคมหรือลัทธิประชาธิปไตยทางด้านรัฐศาสตร์นั่นเอง

ถึงเวลาแล้วที่นักนิติศาสตร์และนักรัฐศาสตร์ทั้งหลายจะต้องมีความกล้าหาญ ที่จะเปลี่ยนแปลงแนวคิดหรือความเชื่อที่เคยมีมาในอดีตแล้วสร้างบรรทัดฐานใหม่เสียให้ถูกต้อง โดยการไม่ยอมรับการรัฐประหารว่าเป็นการกระทำที่ชอบด้วยหลักนิติศาสตร์หรือรัฐศาสตร์ ไม่ว่า จะด้วยการอ้างเหตุผลใดใดเพื่อการทำรัฐประหารก็ตาม

หากเราสามารถทำได้เช่นนี้แล้วผู้ที่จะคิดทำรัฐประหารในคราวต่อไปจะได้คิดหน้าคิดหลังให้รอบคอบ จะได้ไม่ทำให้พัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยไทยที่สั่งสมมาเกือบร้อยปีต้องพังทลายลงครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างไม่รู้จักจบจักสิ้นดังเช่นที่ผ่านๆมาเสียที

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ร้ายสไตล์กับรุ้งรวี: Neosexual : ช้อปปิ้งกับ ‘ผู้ชาย’

Posted: 22 Sep 2011 09:57 AM PDT

ว้า...สัปดาห์นี้ไม่มีเรื่องดราม่าเลย

อุตส่าห์อดทนนั่งรอมาตั้งแต่วันจันทร์ นั่งๆ นอนๆ รอดราม่าให้บังเกิดเผื่อจะมีเรื่องให้เขียนบ้างก็ปรากฏว่ามีแต่เรื่องเดิมๆ ก็เลยหนีไปช้อปปิ้งเสียเลย ไหนๆ ครั้งก่อนก็เขียนเรื่องเสื้อผ้า แฟชั่น เทรนด์ ไปแล้ว ก็ขอตามติดเลยแล้วกัน พอดีว่าเพิ่งไปช้อปปิ้งกับผู้ชายมาค่ะ (ขออนุญาตเขียนเรื่องส่วนตัวนี้ดดด...นึง นะคะ...นะคะ)

ไม่ใช่คนเดียวด้วย แต่ในสัปดาห์เดียวไปช้อปปิ้งกับผู้ชายมาถึง 2 คน !!!

สัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อนผู้ชายสมัยเรียนที่ตอนนี้ได้ดิบได้ดี ทำงานเป็นทนาย อุ๊ย! ไม่ใช่สิ ต้องบอกว่าที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สำนักงานกฎหมายอินเต้อ...อินเตอร์ โทรมาขอความช่วยเหลือ เนื่องจากต้องซื้อชุดทำงาน ชุดลำลอง เพื่อไปประชุมงานที่ต่างประเทศ ดิฉันก็ดี๊ด๊า ได้ไปเป็น Personal Shopping แลกกับข้าวหนึ่งมื้อ มัน อุ๊ย! เขา มีงบประมาณอยู่จำนวนหนึ่ง (3 หมื่นบาท) เพื่อซื้อเสื้อผ้าสักสองสามชุด รองเท้าอีกหนึ่งคู่ โจทย์คือสามารถมิกซ์แอนด์แมทช์ได้ทั้งในแบบทางการและไม่ทางการ แต่ยังเป็น Smart Casual อยู่

ภาพตัดมาที่เซ็นทรัลชิดลมในวันนั้น....

“เอานี่ไปลอง...เดี๋ยวเดินตามไป” ดิฉันยื่นกางเกงชิโน (กางเกงชิโนคือกางเกงที่ทำจากผ้าทวิล เป็นคอตตอนชนิดหนึ่งที่ผสมอีกหลายๆ เส้นใยไม่ใช่คอตตอน 100 เปอร์เซ็นต์แล้วในปัจจุบัน เป็นกางเกงสแล็คประเภทหนึ่ง ที่ไม่ใช่ผ้าโพลีเอสเตอร์ที่ทิ้งตัว ย้วยยาน เหมือนกางเกงสูทรุ่นพ่อ แต่ผ้ามันจะแข็งๆ หน่อย เกือบคล้ายกับผ้ายีนส์ หรือผ้าตัดสูท ส่วนมากที่เราเห็นจะเป็นผ้าสีกากี เหมือนผ้าชุดยูนิฟอร์มนายอำเภอประมาณนั้น ตอนนี้กำลังอินเทรนด์ เพราะเด็กๆ นำมาใส่โดยการสไตลลิ่งแบบ ‘พับขา’ เพราะถ้าเป็นสแล็คปกติจะพับขาไม่ได้ เนื้อผ้าไม่อำนวย ไม่สวย) ให้มันไปลองตัวหนึ่ง วันนั้นคุณจะเห็นผู้หญิงคนหนึ่งเดินเข้าๆ ออกๆ ห้องลองผู้ชายเป็นที่ตกอกตกใจ เล่น นอกจากกางเกงชิโนที่ดิฉันให้มันไปลองแล้ว ดิฉันยังหยิบสแล็คเนื้อผ้าบางๆ สีเทาขาลีบเข้าไปอีกหนึ่งตัว

“ไหนเปิดประตูออกมาให้ดูซิ” ผู้หญิงคนเดียวในห้องลองเสื้อผ้าผู้ชาย ขู่บังคับให้เพื่อนใส่กางเกงอออกมาให้ดู

“มันรัดไข่อ่ะมึง” เพื่อนผู้ชายประท้วง แต่ก็ยอมเดินออกมาให้ดูโดยดี

“ขามันเล็ก อึดอัดว่ะ ไม่เอาได้เปล่าวะ เอาแบบธรรมดาๆ ได้ป่ะ ไม่เอาแบบดูเป็นตุ๊ด”

อ้อ...ลืมไป ดิฉันลืมอธิบายเพื่อนผู้ชายคนนี้ให้ฟัง เขาเป็นชายหนุ่มอายุอีกไม่กี่ปีก็สามสิบ สูง 180 กว่า หุ่น ‘จ้องจะอวบ’ ไม่เคยข้องแวะกับแฟชั่นนอกจากกางเกงยีนส์ (ขากระบอก ไม่ใส่สกินนี่แน่นอน) เสื้อคอโปโลของ La coste หรือ Polo คืออะไรที่เซฟที่สุดในวันสบายๆ ก่อนหน้านี้ใส่แสล็คขากางเกงตีกันผั่บๆ เวลาเดินไปไหนต่อไหน กับเสื้อเชิ้ตสีเรียบๆ คือขาว อย่างมากก็ฟ้าอ่อนๆ หรือเทา หรือมีลายทางเส้นเล็กๆ ได้นิดหน่อย วันไหนมันไม่ใส่เสื้อทีมบอลกับกางเกงยีนส์มากินข้าวด้วยก็บุญแล้ว...อย่างนั้นแหละ

“ตุ๊ดตรงไหน ใครๆ เค้าก็ใส่กัน ไม่งั้นเค้าจะทำมาขายใคร แล้วมึงจะกลัวอะไร หน้าอย่างมึงไม่มีใครอยากให้เป็นตุ๊ดหรอก เสียภาพลักษณ์ตุ๊ดหมด” ดิฉันทำหน้าเพลียๆ เพราะนี่ไม่ใช่กางเกงตัวแรกที่ลอง แต่เป็นตัวที่เท่าไหร่ก็ไมรู้

การไปช้อปปิ้งให้เพื่อน ‘ผู้ชาย’ ไม่ใช่เรื่องสนุก และ ‘ไม่ง่าย’ เหมือนไปช้อปให้เพื่อนผู้หญิง เพราะแม้ใครๆ จะบอกว่าผู้ชาย ‘ไม่เรื่องมาก’ แต่จริงๆ แล้ว เขาก็จะมีกฎของเขาอยู่หลากหลาย สีนั้นไม่ได้ ทรงนี้ไม่ไหว แฟชั่นเกินไปก็ไม่ได้อีก ฯลฯ อย่างกางเกงที่ดิฉันให้มันลอง มันเป็นเพียงสแล็คขาลีบ ย้ำ ‘ลีบ’ ไม่ใช่เดฟ หรือสกินนี่แบบที่นักศึกษาชายสมัยนี้ดัดแปลงกางเกงนักศึกษาให้รัดจนกลายเป็นสกินนี่ไป แต่ถึงกระนั้น เพื่อนของดิฉันก็ยังประท้วงว่ามันดู ‘ตุ๊ด’ ไป หรือแม้กระทั่งคาร์ดิแกน เชิ้ตสีนำเงินโคบอลต์ กับเบลเซอร์สีเทา มันก็ยังบอกว่า ‘สุภาพ’ เอาเป็นว่าเดี๋ยวมาเล่าต่อ แต่ขอตัดภาพไปยังอีกวันที่ดิฉันไปช้อปปิ้งกับเพื่อนผู้ชายอีกคน

ภาพตัดมาที่เซ็นทรัล เวิลด์...ในอีกวัน

ทีแรกดิฉันคิดว่าน่าจะสนุกกว่าผู้ชายคนแรก เพราะผู้ชายคนนี้เป็น ‘เพื่อนสาว’ สูงร้อยเจ็ดสิบกว่า หุ่นลีนมีกล้าม อกกว้างเอวคอด ผิวพรรณไม่ต้องพูดถึง ดีกว่าดิฉันเสียอีก! งานนี้สนุกแน่ ใจก็คิดว่าเธอ อุ๊ย! เขาคงหาอะไรเนี้ยบๆ อย่างเช่นคัตติ้งเนี้ยบๆ แบบ Prada หรือ Dior Homme กับกางเกงชิโนแต่เข้ารูปกว่าขาเต่อนิดๆ เบลเซอร์ (เบลเซอร์คือแจ๊กเก็ตสูท ถ้าเราพูดถึงมันเดี่ยวๆ ไม่รวมเชิ้ต กางเกง เราจะเรียกว่า เบลเซอร์ Blazer) เนี้ยบๆ สักตัว รองเท้าหนังผูกสายหัวแหลมนิดๆ แต่ปราฏกว่า สิ่งที่มันเลือกคือกางเกงคาร์โก้ (คือกางเกงแบบพวกช่างใส่ ที่มีกระเป๋าด้านข้างเยอะๆ) ทรงขาแครอทตัวใหญ่กว่าตัวมันนิดๆ กับเชิ้ตแขนสั้นลายทางตัวโคร่ง และรองเท้าคอมแบ็ตบู๊ต !!! ครั้นจะเรียกให้มันดูอะไรที่เราคิดว่า เริ่ด! มันกลับเชิ่ดใส่ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้สัก 5-6 ปี มันก็ใส่อย่างที่เราเห็นว่าสวยเนี้ยบ สไตลิชสุดๆ !!! แต่ตอนนี้มันเปลี่ยนไปแล้ว (พร้อมกับเคราพอครึ้มๆ ที่เริ่มปลูกเริ่มไว้ได้ไม่นาน!)

เล่ามาเสียยืดยาววว...เพื่อมาสู่ประเด็นที่ดิฉันได้อ่านมาจากเว็บไซต์ข่าวแห่งหนึ่ง กับบทความ ‘กระแส Neosexual ,มาแรง! หนุ่มๆ จัดเต็มแอคเซสเซอรี่’ ที่พูดถึงเทรนด์ล่าสุดของผู้ชายที่เรียกว่า ‘Neosexual’ ในบทความชิ้นนั้นกล่าวว่าผู้ชายแบบ Neosexual คือผู้ชายที่ประโคม ‘เครื่องประดับเยอะๆ แตกยอดมาจาก Metrosexual ใส่ใจในตัวเอง ความหล่อ บุคลิกภาพ แบบพี่โดม ปกรณ์ ลัม

ร้ายสไตล์กับรุ้งรวี: Neosexual : ช้อปปิ้งกับ ‘ผู้ชาย’

อ่ะแฮ่ม...มีเรื่องต้องโต้แย้งอีกแล้ว Neosexual ซึ่งเป็นประเภทผู้ชายมาใหม่ (เดี๋ยวเราจะมาพูดถึงการมาของมันอีกที) นี้ ไม่ใช่ผู้ชายประเภท ‘ประโคมเครื่องประดับ’ แต่อย่างใด และมันไมได้แตกยอดมาจาก Metrosexual แต่อย่างใด ตรงกันข้าม กันคือการเหม็นเบื่อผู้ชายแบบ Metrosexual ต่างหาก Neosexual คือผู้ชายที่อยู่ตรงข้ามกับผู้ชายแบบโดม ปกรณ์ ลัม ที่ออกมาบอกวิธีเสริมหล่อสารพัดอย่างบนยูทูบ ทั้งการเซ็ตผม กินวิตามินร้อยแปดพันอย่าง (ผู้หญิงอย่างดิฉันยังอายที่แค่วิตามินซียังกินบ้างไม่กินบ้างเลย) เพื่อ ‘ความหล่อ’ หรือภาพลักษณ์ทางหน้าตา ร่างกาย รูปร่างที่ดูดี ซึ่งผู้ชายประเภทนี้ ที่หมกมุ่นอยู่กับความหล่อ ดูดี ทั้งหน้าตา ร่างกาย เสื้อผ้า หน้าผม ซึ่งเป็นลักษณะที่เราใช้เรียกผู้ชายประเภทนี้ว่า Metrosexual

แต่ Neosexual นั้นคือผู้ชายที่ ‘แมน’ มากกว่านั้น ไม่ได้สนใจเรื่องความสวยความงาม ไม่ได้ใช้เวลาหน้ากระจกนานๆ คอยตรวจดูความหล่อของตัวเอง หรือยื้อแย่งกระปุกครีมทาหน้ากับผู้หญิง หรือสนใจในแฟชั่นพอๆ กับผู้หญิง กลับกัน Neosexual คือผู้ชายหล่อล่ำ ดูดิบเถื่อนในแบบฉบับผู้ชายแบบคาวบอย มีความเก่งกาจในการซ่อมนั่น ซ่อมนี่ ใช้แรงงาน และถ้าตีรันฟันแทงกับใครก็คงจะชนะ เพราะผู้ชายประเภทนี้จะล่ำบึ้ก (แต่ไมได้ล่ำแบบนายแบบนะ) เหมือนอย่าง Huge Jackman หรือผู้ชายอย่างเจมส์ บอนด์ ที่เก่งสารพัด นอกจากนี้ยังอธิบายไปถึงการเป็นพ่อบ้านที่ทำงานโน่นนั่นนี่ในบ้านได้ หรือความแมนๆ แบบ ‘กินเหล้าหัวราน้ำ’ แต่ยังเว้นไว้ว่ากินอย่างมีสติ แต่กินเก่งและไม่สกปรก ซกมก (แม้เคราจะรุงรังสักหน่อยก็ตาม)

เฮ้อ! นี่ไม่อยากจะจับผิดนะคะ...เดี๋ยวคนจะหาว่าดิฉันดีแต่อ่านงานคนอื่นแล้วมานั่งจับผิด ทำไงได้ สายตามันไว๊...ไว แล้วสิ่งที่อ่านก็ดันผิดแบบกลับหัวกลับหางแบบให้อภัยไม่ได้ด้วย ทำการบ้านนิดนึงก็ดีนะคะ...อย่าสักแต่จะขายของ!

เอาล่ะ เราเห็นคำสองคำที่ใช้จัดประเภทผู้ชาย ซึ่งก็คือ Metrosexual กับ Neosexual ไปแล้ว ที่จริงมันมีมากกว่านี้ โดยเรียงลำดับการมาก่อนหลังได้ดังนี้

  1. Metrosexual คำนี้เกิดขึ้นในปี 2003 ที่จริงใช้อธิบายถึงผู้ชายที่มีองค์ประกอบอยู่ 2 อย่างคือ ใส่ใจในตัวเอง ทั้งด้านการดูแลตัวเอง ความหล่อ ความสวย สุขภาพ รูปร่าง หน้าตา รวมถึงเสื้อผ้าหน้าผม และผู้ชายประเภทนี้คือผู้ชายที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ (Metro) ที่ติดตามความเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง ของสังคมตลอดเวลา ไม่ใช่เพียงเรื่องเทรนด์ของเสื้อผ้า แต่ยังรวมถึงเทคโนโลยี แต่เอาไปเอามา Metrosexual กลายเป็นผู้ชายที่ใส่ใจแต่เรื่องความสวยงามของหน้าตา รูปร่างเครื่องแต่งกายเท่านั้น และมีการถกเถียงกันว่าเส้นแบ่งของ Metrosexual Men กับ Gay ต่างกันตรงไหน
  2. Ubersexual เป็นศัพท์ที่เกิดตามมาจากหนังสือเรื่อง ‘The Future Of Men’ เขียนโดย Salzman, Ira Matathia และ Ann O'Reilly คำว่า Uber นั้นมาจากภาษาเยอรมันซึ่งแปลว่า ‘super’ ในภาษาอังกฤษ ผู้ชายแบบ Ubersexual จะเรียกได้ว่าเป็นการ ‘ฉีก’ ออกจากกระแส Metrosexual ก็เป็นได้ เพราะผู้ชายแบบ Metrosexual นั้นถูกตั้งคำถามถึงความเป็น Feminine ที่มีอยู่ อันเป็นเส้นบางๆ ที่ทำให้ผู้ชายแบบ Metrosexual มาปะปนกับสเตอริโอไทป์ของเกย์ ซึ่งผู้ชายหลายๆ คนอาจจะรู้สึกอึดอัดมากพอสมควร โดย Ubersexual นั้น ไม่คำนึกถึงเทรนด์ที่ต้องวิ่งไล่ล่า แต่เขามีการครีเอทสไตล์ของตัวเองขึ้นมา มีความเนี้ยบแบบผู้ดี (ชาติตระกูลดี)และมีความ ‘แมน’ มากกว่า metrosexual และแทนที่จะเอาใจใส่แต่ตัวเอง พวกเขากลับคิดถึง ‘คนอื่น’ มากกว่า เช่นเรื่องของโลก สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม โดยผู้ชายที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างของ Ubersexual นี้ก็มีอย่างเช่น จอร์จ คลูนีย์ หรือโบโน่ แห่งวง U2
  3. Retrosexual เหมือนว่า Ubersexual จะ ‘แมน’ ไม่พอ หรืออาจจะดูสูงส่งดัดจริตเกินไปก็ไม่รู้ (หรือว่าการสนใจในเรื่องการเมือง สิ่งแวดล้อม มันอาจจะหาช่องทางการตลาดได้ยาก) จึงเกิดการปะดิษฐ์ศัพท์ใหม่ แบบใหม่ของผู้ชายขึ้นมาหลังจากนั้น ซึ่งก็คือ Retrosexual คำว่า ‘Retro’ ก็บอกแล้วว่าย้อนยุค ผู้ชายแบบ retrosexual จึงเหทือนกับย้อนไปหารูปแบบผู้ชายแบบเก่า ที่แมนๆ มาเล้ย....คาบบุหรี่มาร์โบโร่ คาบไปป์ เป็นผู้นำ เสือผู้หญิง ชอบการผจญภัย ท่องเที่ยวแบบลุยๆ ไม่ใส่ใจเรื่องแฟชั่น การแต่งตัวอะไรทั้งนั้น แต่สนใจในตัวผู้หญิง ผู้ชายที่ถูกนำมาเป็นไอคอนของรูปแบบนี้คืออินเดียน่า โจนส์ หรือท่านเซอร์หนุ่มฮอลลีวู้ดยุคเก่าๆ ทั้งหลาย (ที่เอ่ยชื่อมาไม่อยจะรู้จักเลย) อย่าง บ๊อบบี้ มัวร์ ร็อด สจ๊วต
  4. Neosexual ก็อย่างที่กล่าวไปตั้งแต่ต้น

ประการแรก ไม่ว่าจะเป็น Metrosexual, Ubersexual, Retrosexual หรือ Neosexual นั้นก็เป็นการสร้าง ‘คำ’

เพื่ออธิบายรูปแบบ ประเภทของผู้ชาย เพื่อสร้าง ‘เทรนด์’ ใหม่ๆ ในหมู่ผู้ชาย ซึ่งเป็นความต้องการที่อยากจะเพิ่มตลาดการบริโภคให้มากขึ้นนอกจากตลาดของผู้หญิง ผู้ชายจึงเป็นตลาดใหม่ที่ยังไม่ถูกกระตุ้นให้เกิดการบริโภคตามเทรนด์มากนัก กลุ่มคนที่มีกำลังบริโภคแต่ยังไม่ถูกกระตุ้นอย่างผู้ชายนี้จึงเป็นเค้กก้อนใหญ่ที่บรรดาสินค้าทั้งหลายพยายามจะเจาะตลาด การสร้างเทรนด์ผู้ชายแบบต่างๆ ขึ้นมาก็เป็นเพียง ‘แผนการตลาด’ เพื่อให้บรรดาเจ้าของสินค้าต่างๆ ผลิตสินค้าที่อยู่ในขอบข่ายการบริโภคของรูปแบบของผู้ชายนั้นๆ ออกมาเพื่อให้ผู้ชายบริโภค ตามเทรนด์ หรือรูปแบบที่ตัวผู้ชายคนนั้นอยากเป็นหรือถูกกระตุ้นให้เป็น

ซึ่งตัวอย่างของ Metrosexual ซึ่งเป็นรูปแบบที่โด่งดังที่สุดนั้นสามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะบรรดาผลิตภัณฑ์ความงามต่างๆ ที่ผลิตออกมาให้ผู้ชายบริโภคมากขึ้นเพื่อ ‘ความดูดี’ แบบเมโทร ซึ่งถูกกระตุ้นผ่านการสร้างคำ สร้างรูปแบบ สร้างเทรนด์ ให้เห็นว่าผู้ชายในแบบ ‘ใหม่’ นั้นต้องหันมาใส่ใจตัวเอง ซึ่งรูปแบบผู้ชายใหม่ๆ ต่อจากนั้น ไม่ว่าจะเป็น Ubersexual, Retrosexual หรือแม้กระทั่ง Neosexual นั้น อาจจะไปด้วยกันกับ ‘การบริโภค’ ไม่ค่อยดีนัก เราจึงไม่ค่อยได้ยินกลุ่มคำเหล่านี้มากนัก หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือมันเป็นแผนการตลาดที่ ‘ล้มเหลว’ ในการกระตุ้นให้เกิดการบริโภค โดยการสร้างกลุ่มคำเพื่อหารูปแบบให้กับผู้ชาย ซึ่งบางครั้งมันอาจจะไม่ได้มาในรูปแบบของคำแบบโต้งๆ อาจจะผ่านการสไตลิ่งเสื้อผ้าของพรีเซ็นเตอร์ของแบรนด์ที่ถูกเลือกมาในช่วงนั้นๆ บางช่วงอาจจะเป็นผู้ชายแบบเดวิด เบ็คแฮม บางช่วงอาจจะเป็นจอร์จ คลูนีย์ ซึ่งไม่ได้หมายความแค่ว่าช่วงไหนคนไหนดัง แต่ช่วงนั้นผลิตภัณฑ์ทั้งหมดมุ่งเป้าไปที่เทรนด์ของผู้ชายแบบใด

ความน่าสนใจของการสร้างเทรนด์ในกลุ่มผู้บริโภคชายนั้น ไม่เพียงแค่การสร้างกลุ่มคำ การเลือกพรีเซ็นเตอร์ หรือการแสวงหารูปแบบใหม่ๆ (ที่จริงๆ แล้วไม่มีอะไรใหม่เลย) คำใหม่ๆ มาปั่นกระแสเท่านั้น แต่ในปรากฏการณ์ทางการตลาดนี้มันมีความน่าสนใจในเรื่อง ‘เพศ’ ที่ซ้อนอยู่ด้วย จะเป็นว่า ไม่ว่าจะเป็น Ubersexual, Retrosexual หรือ Neosexual ซึ่งเป็นรูปแบบผู้ชายที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อแผนการตลาดต่อจาก Metrosexual นั้นล้วนเป็นรูปแบบที่พยายามจะตีตัวออกห่าง หรือต่อต้านรูปแบบผู้ชายอย่าง Metrosexual แม้กระทั่งการพูดถึง หรือการอธิบายว่า Ubersexual, Retrosexual หรือ Neosexual คืออะไร ในบทความต่างๆ ก็จะนำ Metrosexual เป็นที่ตั้ง เพื่อเปรียบเทียบเทียบว่าต่างกันอย่างไร หรือแม้กระทั่งเสียดสี Metrosexual ด้วยซ้ำไป แน่นอนว่าการสร้างเทรนด์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมาทีหลังมันจำเป็นต้องอธิบายว่าแตกต่างจากอันเก่าอย่างไร แต่ในกรณีนี้เหมือน Metrosexual จะถูกนำมาเป็นข้อเปรียบเทียบอยู่อันเดียว (ไม่ค่อยเห็นมีการเปรียบเทียบกับอันเก่าตามไทม์ไลน์ อย่าง Neosexual เปรียบเทียบกับ Retrosexual หรือ Ubersexual เท่าไหร่เลย)

Metrosexual ซึ่งเป็นการตลาดที่มาแรงที่สุดกว่ารูปแบบใดๆ ของผู้ชาย กลายเป็นความน่ากลัวน่ารังเกียจไปในบัดดล ภายใต้ ‘การบริโภค’ (และเป็นผู้บริโภคในอุตสาหกรรมการบริโภคของโลกใบนี้) เช่นเดียวกัน แต่การบริโภคแบบ Metrosexual (ที่เน้นไปที่การบำรุงบำเรอตัวเอง ภาพลักษณ์) กลับถูกโจมตี ว่าเป็นพวกบริโภคนิยม ห่วงแต่เรื่อง ‘เปลือกนอก’ รูปลักษณ์ เสื้อผ้า ในขณะที่ผู้ชายอย่าง Ubersexual, Retrosexual หรือ Neosexual ก็อาจบริโภคสิ่งเหล่านี้ไม่ต่างกัน (เช่นผู้ชายแบบ Ubersexual ที่อาจจะไว้เครานิดๆ แต่นั่นไมได้หมายความตั้งใจปล่อยให้รกเป็นธรรมชาติ แต่มันเป็นการตัดแต่งอย่างพิถิพิถันและดูแลทุกวันอย่างดีด้วยผลิตภัณฑ์ความงามเช่นกัน ไม่ต่างอะไรกับ Metrosexual ที่ทาครีมบำรุงก่อนนอนทุกวัน) แต่นั่นก็ยังไม่เท่ากับการเกรงกลัวว่าการบริโภคเช่นนั้นเป็นการบริโภคที่ ‘ไม่ใช่ผู้ชาย’

สิ่งที่ ‘Metrosexual’ ถูกโจมตีมากที่สุดเห็นจะเป็นภาพลักษณ์ที่ทำให้ผู้ชายไม่เป็นผู้ชาย Metrosexual กลายเป็นข้อสับสนระหว่างว่าอันไหน Metro อันไหน Gay และดูเหมือนว่าประเด็นนี้จะเป็นประเด็นที่ทำให้การกำหนดคำ กำหนดเทรนด์ขึ้นใหม่หลังจากที่ Metrosexual ถูกตั้งคำถามถึงรื่องเกย์ไม่เกย์ แมนไม่แมน นั้น ระมัดระวังเป็นพิศษ อย่าง Ubersexual ก็พยามเพิ่มความ ‘แมน’ ด้วยการปฏิเสธเทรนด์หลัก แต่หันมาครีเอทสไตล์ด้วยตัวเอง หรือการที่หันเหความสนใจของผู้ชายไปยังเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และที่ชัดเจนกว่านั้นคือ Retrosexual และ Neosexual ที่ตีตราไว้เลยว่าผู้ชายรูปแบบนี้ต้องแมน (ดังที่อธิบายไว้ เช่น ขี้มา หลีหญิง ซ่อมของในบ้านได้ ฯลฯ ซึ่งที่จริงดิฉันว่าเกย์สมัยนี้ก็ทำได้หมดเหมือนกัน) ผ้ชายจึงไมได้เกรงกลัวการถูกกำหนดรูปแบบเพื่อการบริภค หรือเกลียดกลัวการบริโภคในเชิง ‘บริโภคนิยม’ เหมือนที่ผู้หญิงได้รับคำกล่าวหา แต่เกรงกลัวการบริโภคในรูปแบบทีจะถูกเหมารวมไปว่าตัวเอง ไม่ใช่ผู้ชาย ไม่แมน

การกำหนดเทรนด์ของผู้ชายใหม่ขึ้นมา นอกจากจะเป็นการสร้างแผนการตลาดใหม่ เพื่อขายสินค้าใหม่ หรือจุดอิ่มตัว จุดตกต่ำของเทรนด์เก่าที่ไปต่อไปไม่ได้แล้ว สิ่งหนึ่งที่เพื่อนสาวของดิฉันเล็คเชอร์ให้ฟัง เป็นประเด็ท่น่าสนใจ ที่ได้มากการสังเกตสังกาล้วนๆ ก็คือ เทรนด์ของผู้ชายนั้นพยายามเขยิบหนีความเหลื่อมซ้อนระหว่างผู้ชายกับเกย์ ดังเช่น Metrosexual ที่เราเห็นได้อย่างชัดเจน แต่พอผู้ชายหันมาเป็น Ubersexual ก็จะเห็นว่าสักพักเกย์เองก็ปฏิเสธภาพลักษณ์แบบ Metrosexual หันมาเป็นผู้ชายแบบ Ubersexual เช่นเดียวกัน (ที่เห็นได้ชัดคือการเริ่มไว้หนวดไว้เครานิดดๆ ให้ดูเข้ม เปลี่บนจากรองเท้าหัวแหลมเปี๊ยบมาใส่ Onisuka Tiger กับกางเกงขาสั้น ไม่ต่างอะไรกับผู้ชาย Straight) ซึ่งที่จริงเราไม่อาจเคลมได้หรอกว่ารูปลักษณ์การแต่งกายแบบไหนเกย์ไม่เกย์ มันเป็นเรื่องของการสเตอริโอไทป์ (แต่ดิฉันเชื่อว่าถ้าไม่มีมูลหมามันไม่ขี้หรอก) และก็มักมีกรณียกเว้นแบบ Individual มากๆ (ซึ่งก็เป็นประเด็นเรื่อง Crisis of Representation ไป)

แต่ที่น่าสังเกตต่อไปคิอ เมื่อผู้ชายรู้ว่าการกำหนดเทรนด์แบบเอารูปลักษณ์เข้าว่ามันทำให้เกิดความเหลื่อมซ้อนจนแยกไม่ออกว่าอันแบบไหนเกย์ แบบไหนผู้ชาย เทรนด์ที่กำหนดขึ้นใหม่จึงย้อนไปหาความเป็นผู้ชายแบบ (สเตอริโอไทป์) ดั้งเดิม ที่ไม่ได้ดูแค่รูปลักษณ์ภายนอก แต่ดูเรื่องอื่นๆ ที่สามารถใช้อ้างอิงความเป็นผู้ชายได้ อย่างเช่น เริ่มมีการอธิบายเรื่องพฤติกรรมต่อสุภาพสตรีมากขึ้นในเทรนด์ผู้ชายแบบ Retrosexual และ Neosexual หรือเริ่มมีการเพิ่มความสามารถแบบ ‘ผู้ชาย’ มากขึ้นเช่น Retrosexual ต้องเป็นนักผจญภัย เข้าป่าล่าสัตว์ Neosexual ต้องเป็นพวก Handy Man หยิบจับทำงานช่างได้ทั้งหมด (ซึ่งเหล่านี้เป้นสเตอริโอไทป์ของผู้ชาย ที่มักคิดว่าเกย์ทำไมได้ อย่างเกย์จะไม่แตะบอล อะไรประมาณนั้น อต่อย่างที่รู้ว่า เดี่ยวนี้ไม่มีอะไรต่างกันแล้ว)

ทั้งหมดมันคือการหา ‘พื้นที่ที่ปลอดภัย’ พื้นที่ที่สามารถบ่งบอกความแตกต่างทางเพศได้อย่างชัดเจน ที่พอจะเป็นที่รับประกันทางใจได้ว่าจะไม่มีการปะปนจนถูกตั้งคำถามว่าอันไหนชายแท้ อันไหนเกย์ อย่างที่เทรนด์แบบ Metrosexual เคยทำไว้ และเมื่อไหร่ที่มันเกิดมีความเคลือบแคลงขึ้น (อย่างเกย์เริ่มไว้เครา เปลี่ยนจากรูปร่างอ้อนแอ้นมาเป็นตัวหนา ล่ำ เสื้อผ้าแบบแมนๆ ที่จริงเรื่อง ‘หุ่น’ พูดได้ต่ออีกหลายหน้าเชียว) เทรนด์ของผู้ชายก็จะเขยิบหนี โดยสร้างเงื่อนไขความเป็น ‘ชาย’ มากขึ้นไปอีก กันวงให้แคบที่สุด เพื่อความปลอดภัยในการดำรง ‘บุคลิก’ บางอย่าง (หรือ Essence บางอย่าง) ที่เป็นของสงวนไว้สำหรับเพศนี้เท่านั้น

จึงไม่แปลกใจเพื่อนชายของดิฉันจะคอยแต่จะปฏิเสธสิ่งที่ดิฉันเลือก (ภายใต้ความคิดว่ามันดูเก๋ขึ้นมาหน่อย เป็นแฟชั่นขึ้นมาอีกนิด แต่เราคนนอกดูก็ไม่เห็นว่ามันจะเกย์ตรงไหน) ส่วนเพื่อนสาวก็เช่นเดียวกันที่เลือกของตรงข้ามกับที่ดิฉันคิดไว้ตลอด (ส่วนประเด็นเรื่องแล้วทำไมเกย์จึงเขยิบหนีจากภาพลักษณ์ที่ตัวเองถูกเสอตริโอไทป์ แล้วเขยิบตามให้ More Masculine มากที่สุดนั้น หรือเป็นเพราะว่าสังคมมันไม่ปลอดภัย ไว้มีเวลาค่อยมาว่ากันอีกที) สรุปว่าไปช้อปปิ้งกับเพื่อนผู้หญิงดีที่สุด แม้จะไม่ค่อยมีใครห้ามปรามใครก็ตามที !

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สืบพยานนัดแรก คดี “เอ็นจีโอด้านพลังงาน” หมิ่นประมาท “บริษัทโรงไฟฟ้า”

Posted: 22 Sep 2011 04:26 AM PDT

คดีฟ้อง “วัชรี เผ่าเหลืองทอง” หมิ่นประมาท “โรงไฟฟ้าบางคล้า”ศาลนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก โจทก์ชี้ต้องการให้ศาลตัดสินให้เป็นบรรทัดฐาน ด้าน “จอมขวัญ” พิธีกร “รายการคมชัดลึก” รับร่วมเป็นพยานจำเลย

 
ภาพ AEPS : ชาวบ้านสระบุรีรวมตัวกันปิดถนนมิตรภาพเพื่อคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าหนองแซง 
 
วันนี้ (22 ก.ย.54) เมื่อเวลา 9.00 น.ศาลอาญารัชดาภิเษก ห้อง 912 ศาลออกนั่งบัลลังก์สืบพยานโจทก์ครั้งแรกในคดีหมายเลขดำ 3151/52 ที่บริษัท สยาม เอ็นเนอร์จี จำกัดเจ้าของโครงการโรงไฟฟ้าบางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา โดยนายบุญชัย เจียมจิตจรุง ผู้รับมอบอำนาจ เป็นโจทก์ฟ้อง นางสาววัชรี เผ่าเหลืองทอง เอ็นจีโอด้านพลังงาน เป็นจำเลยที่ 1 ฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา
 
คดีความดังกล่าวโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 8 ก.ย.52 โดยมีนางสาววัชรี เป็นจำเลยที่ 1 และนางสาวจอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ เป็นจำเลยที่ 2 จากการที่นางสาววัชรีได้ให้สัมภาษณ์ออกอากาศทางรายการคมชัดลึก ของสถานีโทรทัศน์เนชั่นชาแนล ที่มีนางสาวจอมขวัญ ทำหน้าที่ผู้ดำเนินรายการ เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.52 เกี่ยวกับกรณีชาวบ้านจาก อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ได้ปิดถนนประท้วงการก่อสร้างโรงไฟฟ้ากำลังผลิต 1600 เมกะวัตต์ ในพื้นที่ อ.บางคล้า ระหว่างวันที่ 8-10 มิ.ย.52 
 
นายบุญชัย พยานโจทก์ปากแรกเบิกความต่อศาลสรุปความได้ว่า การพูดผ่านรายการโทรทัศน์ของนางสาววัชรีเชื่อได้ว่ามีเจตนากล่าวหา บริษัท สยาม เอ็นเนอร์จี จำกัด เพราะจำเลยมีประวัติเคยร่วมคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าของบริษัท ทั้งโรงไฟฟ้าบ่อนอก และโรงไฟฟ้าบ้านกรูด จ.ประจวบคีรีขันธ์ โรงไฟฟ้าหนองแซง อ.หนองแซง จ.สระบุรี และโรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 จ.สระบุรี นอกจากนี้ จำเลยยังกล่าวในรายการว่าการประมูลโรงฟ้าของรัฐไม่มีความถูกต้อง น่าจะต้องมีการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อนที่จะมีการประมูล และมีการกล่าวถึงผลประโยชน์ทับซ้อนในวงการพลังงาน ซึ่งสามารถขยายความได้ว่ามีเจตนาใส่ความบริษัท ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้
 
ต่อคำถามว่าทำไมไม่ทำการชี้แจงผ่านสื่อ นายบุญชัย กล่าวว่า ต้องการฟ้องร้องเพื่อให้ศาลพิจารณาตัดสินให้เป็นบรรทัดฐาน เพื่อไม่ให้มีการกล่าวหาต่อบริษัทฯ เกิดขึ้นอีก
 
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า คดีดังกล่าวนัดสืบพยานโจทก์ ตั้งแต่ วันที่ 22 - 23 และวันที่ 27 ก.ย.54 จากนั้นจะเป็นการนัดสืบพยานฝ่ายจำเลยในวันที่ 28 - 30 ก.ย.54 โดย นางสาวจอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ ผู้ดำเนินรายการคมชัดลึก จำเลยที่ 2 ในคดีเดียวกันซึ่งศาลมีคำสั่งยกฟ้องไปก่อนหน้านี้ ร่วมเป็นพยานฝ่ายจำเลยด้วย
 
ทั้งนี้ จากเหตุการณ์วันเดียวกัน บริษัท สยาม เอ็นเนอร์จี จำกัด ยังได้ดำเนินการฟ้องร้องคดีแพ่งนางสาววัชรี  เรียกร้องค่าเสียหายกว่า 300 ล้านบาท โดยขณะนี้คดีแพ่งศาลสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว รอจนกว่าการพิจารณาคดีอาญาแล้วเสร็จ เพื่อพิจารณามูลเหตุ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น