โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

"สุนัย-จิรายุ" อภิปรายบทบาท “ไทยพีบีเอส”

Posted: 08 Sep 2011 01:19 PM PDT

เมื่อเวลา 17.00 น. วานนี้ (8 ก.ย. 54) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานการประชุม หลังจาที่ประชุมพิจารณ์กระทู้ถามสดเสร็จสิ้น ได้รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี2553 องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือทีวีไทย หรือไทยพีบีเอส ซึ่งการอภิปรายของสมาชิกได้แสดงความเห็นต่อบทบาทและการดำเนินการของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส อย่างกว้างขวางต่อการแสดงบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อสารมวลชน โดยทั้งนายชวน หลีกภัย และนายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.จากพรรคประชาธิปัตย์ได้อภิปรายบทบาทการทำงานของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสด้วย (อ่านข่าวก่อนหน้านี้)

ทั้งนี้ยังมีการอภิปรายโดย นายจิรานุ ห่วงทรัพย์ และนายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.พรรคเพื่อไทยด้วย

การอภิปรายของจิรายุ ห่วงทรัพย์ ในรัฐสภา เมื่อ 8 ก.ย. 54 (ที่มา: Youtube.com/fazhi2006)

โดยนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ อภิปรายว่า หลังเหตุการณ์พฤษภาคมปี 2535 มีไอทีวีเป็นทีวีเสรีเกิดขึ้น และในเดือนกุมภาพันธ์ 2543 รัฐบาลนายชวน หลีกภัย เป็นคนแก้สัญญาสัมปทานเปิดให้มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่เพื่อแก้ไขภาวะขาดทุน กลุ่มชินคอร์ปจึงเข้ามา ไม่ได้เป็นเพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่อาจเพราะเป็นชื่อที่บางคนไม่ชอบและหาว่ารัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณแทรกแซงสื่อ แต่ไม่ว่ารัฐบาลไหนก็ดูแลสื่อทั้งสิ้น

หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 รัฐบาล คมช.เรียกค่าเสียหายไอทีวี 1 แสนล้านบาท ไม่มีจ่ายก็จอดำจากคนมีอำนาจที่กดรีโมทไทยพีบีเอสหน้าจออาจมีความชื่นชม ว่ามีสารคดีสาธารณะ แต่หลังจอมีกระบวนการสอบเข้าที่เอื้อประโยชน์พวกพ้อง ไม่ทราบว่า ป.ป.ช. สตง. เข้าไปตรวจสอบได้หรือไม่ เพราะพูดกันมากกว่ามีกลุ่มคนที่ผลิตรายการที่ได้ผลิตรายการแบบซ้ำๆ ต้องตรวจสอบว่าเป็นคนของใครหรือไม่ เพราะยิ่งกว่าสถานีโทรทัศน์ลับแล

สถานีโทรทัศน์ทีพีบีเอส มีการใช้เงินของคนที่ดื่มสุราต้องเสียภาษีปีละ 2,000 ล้านบาท โดยในปี 2552 239 ล้านบาทเป็นงบประมาณจากภาษีสุรา และสำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ สถานีโทรทัศน์แห่งนี้เป็นหนี้ท่าน โดยปี 2552 กรมสรรพสามิต จ่ายเงินให้สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสปีละ 1,798 ล้านบาท รวมทั้ง 2 แหล่งงบประมาณ เป็นเงิน 2,038 ล้านบาท ปี 2553 ได้งบประมาณ 2,097 ล้านบาท

ผมอยากเรียกร้องให้สภาแห่งนี้ช่วยพิจารณาว่า เป็นไปได้ไหม เราร่างกฎหมายแก้ไข เลิกเสียทีเถอะ มันยังไม่ถึงเวลา ช่อง 11 มี ดูแลกันได้ไหม ไทยพีบีเอส สมัยก่อนมีช่อง 11 แล้ว ทำไมต้องเพิ่มทีวีแบบนี้ขึ้นมาอีกช่อง ผมไม่เห็นด้วยแต่ต้น ท่านจะไปเขียนกฎหมายอย่างไรก็แล้วแต่ก็ว่ากันไปประเทศมันเปลี่ยนไปตามจังหวะชีวิตของโลก ท่านบอกจะเดี๋ยวจะมีการแทรกแซงสื่อ อ้าว แล้วที่เป็นอยู่แบบนี้นี่มันอย่างไรครับ ท่านช่วยอธิบายให้ผมฟังหน่อยครับว่า แนวคิดในการทำงานแบบนี้ ถ้าเป็นทีวีปกติก็เอาไปเป็นของรัฐ ทุกวันนี้ทีวีเป็นของรัฐทุกช่อง ทีวีบางช่องก็พยายามทำตัวเป็นกลางก็ว่ากันไป แต่ไทยพีบีเอส ผมรู้สึกไม่มีความสุขที่จะจ่ายปีละ 2,000 ล้านบาท และปีนี้ใช้ 1,965 ล้านบาท และถ้าปีหน้าเขาจะพิจารณารายการใหม่ จะทำเรื่องผู้ก่อการร้าย ทำเรื่องคนหล่อหน้าชั่วที่เขาพูดกันในสภาเมื่อวานนี้ แล้วต้องขออีก 2,000 ล้านบาท เป็น 4,000 ล้านบาท สภาแห่งนี้ไม่ต้องจ่ายหรือครับ”

สุดท้าย ท่านผู้อำนวยการ ท่านคณะกรรมการของไทยพีบีเอส ผมอยากให้ท่านเป็นทีวีเสรีจริงๆ เอาล่ะ 10 คนบริหาร 10 หุ้น อาจจะทำไม่ได้ แต่อย่าได้โยงเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องครับ ถ้าประเทศไทยมีโทรทัศน์แบบนั้นได้ ท่านเป็นแบบอย่างน้อยก็ห่างอังกฤษ 20 ปี แบบบีบีซี แต่ประเทศไทยยังไม่ถึงเวลาจริงๆ ท่านพยายามบอกว่าปลอดการแทรกแซง มันก็เห็นกันอยู่นี่แหละครับ สุดท้ายผมขอขอบคุณที่ประเทศไทยยังมีโทรทัศน์ แต่ขอให้เพื่อนสมาชิกช่วยพิจารณาในรายละเอียดนอกจากที่เราได้รับกันมาแล้วเราอ่าน มันยังมีทั้งหน้าจอ หลังจอ และกลางจอ” นายจิรายุ อภิปรายตอนหนึ่งในสภา

การอภิปรายของสุนัย จุลพงศธร ในรัฐสภา เมื่อ 8 ก.ย. 54 (ที่มา: Youtube.com/fazhi2006)

ด้านสุนัย จุลพงศธร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่าเรื่องไอทีวีเป็นเรื่องที่เจ็บปวดที่สุดที่ต้องรู้ ว่าระบบธุรกิจในประเทศนี้มีระบบธุรกิจหนึ่งที่เรียกว่าทุนนิยมขุนนาง ทำธุรกิจอะไรก็ไม่เคยขาดทุน พอจะขาดทุนก็ยัดขายทักษิณ ขายชินคอร์ป เขาจะขึ้นเป็นนายกฯ ก็ต้องรับ ทำไมรับ ทำไมต้องขาย ก็เพราะบริหารขาดทุน ใครเป็นแกนนำบริหารก็พี่ชายคุณเทพชัย หย่อง คุณสุทธิชัย หยุ่น พอรับชินคอร์ปซื้อมาด้วยความจำเป็น พอรับเข้ามา ก็เลยรับศัตรูมากลุ่มหนึ่งคือกลุ่มเนชั่น

นายสุนัย อภิปรายด้วยว่า ปฏิเสธไม่ได้หรอกว่าไทยพีบีเอสเป็นผลผลิตของเผด็จการ เงินที่ใช้ก็มาจากภาษีบาป เหล้า บุหรี่ และรถถัง ซึ่งเป็นบาปที่สุด ส่วน กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ชุดใหม่ ทรัพย์สินอยู่ในมือทหารเกือบทั้งประเทศ พล.อ.สนธิ จริงไหมครับ วิทยุทหารหมด โทรทัศน์ทหารหมด กรรมการใน กสทช. คนจับตาว่ามาจากไหน เพราะเหมือนมีตัวแทนทหารนั่งอยู่

สุนัยอภิปรายว่า หลังรัฐประหารปี 2549 มีการสร้างเครือข่ายของสิ่งที่เรียกว่า “สื่อเลือกข้างขึ้นมา” สื่อเลือกข้างเสื้อแดงมีที่ไหนเมื่อก่อน ไม่มี ท่านไปสร้างระบบเผด็จการ ชื่นชมระบบเผด็จการ ใครจะไปทนได้ สุนัยคนหนึ่งทนไม่ได้ ท่านพยายามจะโจมตี “นักธุรกิจการเมือง” ท่านครับ ธุรกิจการเมืองมันต้องใช้สตางค์ ต้องผ่านกระบวนการประชาธิปไตย และนี่จะไม่พูดถึง “ธุรกิจทหารการเมือง” เลยหรือประเทศนี้ ไอ้ที่กินคลื่นวิทยุมายาวนาน ที่ไปนั่ง พล.อ. ต่างๆ ไปนั่งบริหารในธนาคารต่างๆ นั่นไม่ใช่ธุรกิจทหารการเมืองหรอกหรือ ตกลงเป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือแขกยามคุ้มครองทหาร จนระบบธนาคารพังเมื่อปี 2540 หลังถูกกัดกินด้วยระบบทุนนิยมขุนนางอย่างนี้มาอย่างยาวนาน

การยึดไอทีวี ที่อ้างว่าเป็นหนี้แล้วต้องยึดเขา เกิดมาเคยเห็นไหมครับ ทวงหนี้แสนล้านเจ็ดวัน รัฐบาลของ พล.อ.สุรยุทธ์ (จุลานนท์) โดยคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทวงหนี้แสนล้านภายใน 7 วัน ถ้านั่งเบิกก็ไม่รู้จักเบิกอย่างไร เจตนาจะยึดเขาพูดกันตรงๆ ดีกว่า

นายสุนัยอภิปรายว่า ระบบต่างๆ มีปัญหาหมด ระบบนายทุนยังถูกด่าได้ แต่ระบบทุนขุนนางถือปืนนั้น ยิ่งกว่าพันธมิตรฯ ขึ้นป้ายบอกประชาชน อย่าเลือกสัตว์เดรัจฉานเข้าสภา หาว่าพวกเราเป็นวรนุช แล้วพวกที่ขี่รถถังเข้าสภา ไม่อภิมหาสัตว์เดรัจฉานเลยหรือ และอยากถามว่าหลังจากการรัฐประหารใครได้ ประโยชน์นายสุทธิชัย หยุ่น หรือเครือเนชั่น ได้เข้าไปจัดผังรายการหรือไม่

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สื่อพม่าเผย รัฐบาลพม่าจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

Posted: 08 Sep 2011 10:58 AM PDT

‘นิวไลท์ออฟเมียนมาร์’ เผย รัฐบาลพม่าจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เพื่อ “พิทักษ์” สิทธิของประชาชนชาวพม่า ด้านฝ่ายค้านติง เป็นเพียงเสือกระดาษ

6 ก.ย. 54 - หนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ ซึ่งเป็นสื่อของรัฐบาลพม่า เปิดเผยว่า เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (5 ก.ย.) รัฐบาลพม่าได้จัดตั้ง “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน” ซึ่งประกอบไปด้วยข้าราชการที่เกษียนแล้วจำนวน 15 คน เพื่อเป็นการ “พิทักษ์และปกป้อง” สิทธิของประชาชนชาวพม่า ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศ ฉบับปีพ.ศ. 2551

การจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ตรวจการพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ โทมัส โอเคีย ควินทานา ไปเยือนประเทศพม่าเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยมีเรียกร้องต่อรัฐบาลพม่า ให้ปล่อยตัวนักโทษการเมือง รวมถึงจัดตั้งคณะกรรมการการตรวจสอบ (Commission of Inquiry) เพื่อสืบสวนอาชญากรรมที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายระหว่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม นักสิทธิมนุษยชนมองว่า การจัดตั้งคณะกรรมการดังกล่าว เป็นเพียงความพยายามของรัฐบาลพม่าในการสร้างภาพที่ดูเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น หลังจากที่พม่าเปลี่ยนเป็นรัฐบาลพลเรือนหลังการเลือกตั้งในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ถึงแม้ว่า เตน ไส่น ประธานาธิบดีของพม่าปัจจุบัน จะมีความพยายามสร้างโฉมหน้ารัฐบาลพม่าใหม่ เพื่อลงแรงกดดันและข้อวิพากษ์วิจารณ์จากทั่วโลก แต่มีรายงานว่า การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงยังคงดำรงอยู่เช่นเดิม ไม่ว่าจะเป็นการสู้รบระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ การใช้แรงงงานบังคับ ทหารเด็ก การบังคับให้โยกย้ายถิ่นฐาน

ออง เมียว มิน ผู้อำนวยการสถาบันสิทธิมนุษยชนศึกษาพม่า ที่ประจำในประเทศไทย กล่าวว่า ตนสงสัยว่าคณะกรรมการดังกล่าวจะพูดความจริง และสามารถจัดการการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามที่ระบุไว้ในกฎหมายหรือไม่ นอกจากนี้ ยังตั้งคำถามว่า การที่มีอดีตข้าราชการเข้ามาทำงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนพม่า จะเป็นอิสระจากรัฐบาลได้มากน้อยเพียงใด

เช่นเดียวกับ โซ อ่อง ตัวแทนจากองค์กร Forum for Democracy in Burma ให้ความเห็นว่า ตนมีความกังขาต่อคณะกรรมการดังกล่าว เนื่องจากประธานและรองประธานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งพม่าที่เพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่นี้ ที่ผ่านมา ได้ทำหน้าที่แก้ต่างให้กับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในพม่าที่เลวร้าย ต่อสหประชาชาติและประชาคมนานาชาติ

“ผมตั้งข้อสงสัยว่า การที่พวกเขาได้รับตำแหน่งดังกล่าว นับเป็นการได้รางวัลตอบแทนจากการทำงานที่จงรักภักดีต่อรัฐบาลเท่านั้น” โซ อ่องกล่าว

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลอุทธรณ์ไม่ให้ประกันตัว ผู้ต้องหาคดีหมิ่นฯ สัญชาติไทย-อเมริกัน

Posted: 08 Sep 2011 10:54 AM PDT

‘โจ กอร์ดอน’ ผู้ต้องหาคดีหมิ่นฯ ถูกปฏิเสธประกันตัวเป็นรอบที่ 8 ศาลอุทธรณ์ ให้เหตุผลกลัวหลบหนี ระบุเป็นคดีร้ายแรง และ “กระทบกระเทือนจิตใจปวงชนผู้จงรักภักดี”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า “โจ กอร์ดอน” หรือ เลอพงศ์ (ข้อสงวนนามสกุล) ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพสัญชาติไทย –อเมริกัน ถูกปฏิเสธการให้ประกันตัวเป็นครั้งที่ 8 หลังจากถูกจับกุมด้วยข้อหาละเมิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

สำนักงานกฎหมายราษฎรประสงค์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2554 เวลา 11.00 น. ศาลอาญา ได้อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ ซึ่งทนายความได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ประกันตัวนายโจ กอร์ดอน ว่า ความผิดดังกล่าวมีอัตราโทษสูง ถ้าหากปล่อยตัวชั่วคราว จำเลยอาจจะหลบหนี และอาจเกิดความเสียหายแก่รูปคดี จึงไม่อนุญาตให้ประกันตัวชั่วคราว

“พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ความผิดมีอัตราโทษสูง ตามพฤติการณ์แห่งคดีและลักษณะแห่งการกระทำ นำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เทิดทูนและเคารพสักการะ กระทบกระเทือนจิตใจปวงชนผู้จงรักภักดี” คำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ระบุ

ทั้งนี้ โจ กอร์ดอน เป็นพลเมืองไทย- สหรัฐ ที่ถูกจับกุมโดยพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2554 ณ บ้านพักในจังหวัดนครราชสีมา และถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้แปลหนังสือ “The King Never Smiles” และนำลิงค์ที่เกี่ยวข้องไปเผยแพร่ในเว็บไซต์ ซึ่งเขาให้การปฏิเสธทั้งในชั้นจับกุมและสอบสวน

ต่อมา เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2554 หลังจากที่ถูกควบคุมตัว ณ เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เป็นเวลา 84 วัน สำนักงานอัยการสูงสุดจึงสั่งฟ้องโจ กอร์ดอน ในข้อหาละเมิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์

ทำให้สองวันถัดมา สถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ออกแถลงการณ์แสดงความผิดหวัง และเรียกร้องให้ “ทางการไทยให้ความมั่นใจว่า เสรีภาพในการแสดงความเห็นเป็นสิ่งที่ได้รับการเคารพ และนายกอร์ดอน ซึ่งเป็นพลเมืองสหรัฐจะได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม"
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“เทพชัย” แจงกรณีทีวีไทยสัมภาษณ์ทักษิณเปรียบดั่งบีบีซีไปคุยกับไออาร์เอ

Posted: 08 Sep 2011 10:38 AM PDT

ทีวีไทยชี้แจงรัฐสภา “เทพไท เสนพงศ์” แนะทีวีไทยสัมภาษณ์ “ทักษิณ” ต้องอำพรางหน้าด้วยเพราะเป็นนักโทษ จวกไปสัมภาษณ์คนหนีคดีได้อย่างไร ถ้านักโทษคนอื่นอยากใช้สื่อบ้างจะได้หรือไม่ “เทพชัย หย่อง” แจงเหตุสัมภาษณ์เพราะ “ทักษิณ” ทรงอิทธิพลสุดทำให้เพื่อไทยชนะเลือกตั้งและไม่อยากสัมภาษณ์ “หุ่นกระบอก” ชี้กรณีนี้ไม่ต่างจากที่บีบีซีไปสัมภาษณ์ไออาร์เอ หรือลูกน้องบินลาเดน

เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์ รายงานว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรช่วง 17.00 น. วานนี้ (8 ส.ค.) ที่มีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ทำหน้าที่ประธานการประชุม มีการรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี2553 องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ทีวีไทย) ซึ่งการอภิปรายของสมาชิกได้แสดงความเห็นต่อบทบาทและการดำเนินการของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส อย่างกว้างขวางต่อการแสดงบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อสารมวลชน อาทิ ประเด็นการสัมภาษณ์พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในช่วงที่มีการรายงานผลการเลือกตั้ง 2554 การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 53 ที่ยังคงมีการเสนอข่าวสถานการณ์ โดยไม่ทำตามคำสั่งของ ศอฉ. ที่ให้ออกอากาศเพลงแสดงความรักชาติและคำสั่งที่ให้ระงับการเผยแพร่ข่าว

 

ชวนแนะใช้ชื่อรายการเป็นภาษาไทย

นายชวน หลีกภัย สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายให้กำลังใจการทำงานของทีวีไทย โดยถือว่าทีวีไทยเป็นองค์สื่อที่มีรายได้จากรัฐ ไม่ต้องพึ่งเอกชนถือเป็นส่วนที่สถาบันแห่งนี้จะเป็นความภาคภูมิใจ โดยนายชวนกล่าวว่าเคยเสนอคณะกรรมการบริหารให้สถาบันแห่งนี้เป็นที่ภาคภูมิใจของคนไทยด้วย การใช้ชื่อเป็นภาษาไทย จึงหวังว่าคณะกรรมการบริหารจะพิจารณาเรื่องนี้อีกครั้ง นอกจากชื่อสถานีเป็นภาษาไทยควรให้ชื่อรายการเป็นภาษาไทยด้วย

 

เทพไท” แนะสัมภาษณ์ “ทักษิณ” ต้องอำพรางหน้าตา

ด้านนายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เป็นไปได้อย่างไรที่ผู้บริหารสถานีจะอนุมัติให้นักข่าวไปดูไบ เพื่อสัมภาษณ์นักโทษหนีคดี แล้วถ้านักโทษหนีคดีคนอื่น อยากใช้สื่อสาธารณะเหมือนนักโทษหนีคดีที่ดูไบคนนี้จะได้หรือไม่ เพราะนักโทษคนอื่นออกทีวีต้องพรางให้หน้าเบลอ แต่นักโทษที่ดูไบให้สัมภาษณ์ผ่านรายการตอบโจทย์ไม่มีการอำพรางหน้าตา ทั้งที่หน้านักโทษคนนั้นไม่ต่างอะไรกับเขียงหมู ดังนั้น การไปสัมภาษณ์ครั้งนี้ต้องได้รับการอนุมัติงบจากผู้บริหารสถานีแน่นอน วันนี้การเมืองมีสงครามสื่อค่อนข้างรุนแรง ไม่ว่าสื่อแท้หรือเทียมล้วนเป็นอาวุธที่สำคัญทางการเมืองอย่างยิ่ง

 

เทพชัย หย่อง” แจงมีฝ่ายการเมืองเคลื่อนไหวคว่ำ “ทีวีไทย”

หลังจากที่มีผู้อภิปรายคนอื่นๆ แล้วเสร็จ นายเทพชัย หย่อง ผู้อำนวยการองค์การแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะ ชี้แจงว่า ขณะนี้มีนักการเมืองบางกลุ่มเคลื่อนไหวให้ออกกฎหมายกเลิกไทยพีบีเอส โดยให้เห็นผลว่าประชาชนบางส่วนไม่ค่อยพอใจการทำงาน สถานีเห็นว่าประเทศที่เป็นประชาธิปไตยควรมีสื่อที่เป็นอิสระ กล้าเปิดโปงทุกกลุ่มในสังคม โดยไม่มีใครสามารถเข้ามาครอบงำได้ สื่อที่เป็นอิสระเป็นหัวใจของประชาธิปไตย ไทยพีบีเอสมีกลไกและหลักประกันในการตรวจสอบตัวเองได้ ไม่ให้คนในองค์กรเอาองค์กรไปแสวงหากำไรได้ เลิกฝันเสียทีว่าสักวันหนึ่งจะกลับไปเป็นเหมือนเดิม สังคมยอมรับองค์กรนี้ว่าเป็นสื่อสาธารณะไปแล้ว จากเวทีที่จัดกับภาคประชาชน ประชาชนส่วนหนึ่งได้รู้สึกไปแล้วว่าไทยพีบีเอสเป็นสื่อของเขา

 

ให้นักข่าวไปสัมภาษณ์ ทักษิณ” เพราะทรงอิทธิพลสุดทำให้ “เพื่อไทย” ชนะเลือกตั้ง

นายเทพชัย กล่าวว่า ส่วนที่ไปสัมภาษณ์พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะยุทธศาสตร์ทิศทางการเดินทั้งหลายสื่อมวลชนทุกประเภทมองตรงกันว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นคนที่ทรงอิทธิพลที่สุดที่ทำให้พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง เรื่องไปสัมภาษณ์อาชญากรหรือไม่ ตนคงไม่อยากไปสัมภาษณ์คนที่เป็นหุ่นยนต์หุ่นกระบอกที่ถูกชักใยอยู่แน่นอน ซึ่งไม่ต่างอะไรกับที่สื่อไปสัมภาษณ์นายปิ่น จักกะพาก นายราเกซ สักเสนา หรือที่บีบีซีไปสัมภาษณ์ไออาร์เอ หรือลูกน้องของบินลาเดน

 

ลั่นไม่เคยเขียนคอลัมน์หนุนปฏิวัติ มาทำทีวีไทยเพราะเชื่อเรื่องสื่อสาธารณะ

ส่วนที่มีผู้อภิปรายกล่าวหาว่าผมทำงานเข้าข้างเผด็จการ ผมไม่เห็นด้วยกับการยึดอำนาจ ผมไม่ได้เขียนคอลัมน์สนับสนุนให้ทหารปฏิวัติ แต่ผมมาทำที่นี่เพราะเชื่อในสื่อสาธารณะ เงินเดือนผมหายไปครึ่งหนึ่งจากที่เดิม ส่วนนายสุทธิชัย หยุ่น พี่ชายผมเป็นสื่อที่สังคมยอมรับ ในยุคที่มีรัฐบาลเสียงข้างมากใช้อำนาจเงินซื้อสื่อได้ มีการส่งญาติที่สนิทมากมาคุยกับผม ว่าเนชั่นอย่าโจมตีรัฐบาลได้ไหม ถ้าไม่โจมตี อยากได้อะไร แต่เราไม่รับเงินหรืออะไรทั้งสิ้น” นายเทพชัย กล่าว

ส่วนกรณีที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์การไม่ทำหน้าที่ตามคำสั่งของ ศอฉ.เพราะเราปฏิบัติตามคำสั่งของศอฉ.มาโดยตลอด สิ่งที่ไทยพีบีเอสนำเสนอรายการสดมากกว่าการเผยแพร่มิวสิควีดิโอรักชาติ แต่รายงานความรู้สึกของคนที่กำลังสิ้นหวังถือเป็นการทำหน้าที่สื่อมวลชนที่จะทำหน้าที่บนหลักการของสื่อสาธารณะ

มีรายงานว่า มีการอภิปรายนานกว่า 5 ชั่วโมง และนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ซึ่งทำหน้าที่ประธานได้สั่งปิดการประชุมในเวลา 19.45 น.

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ความไม่เป็นธรรมที่ ‘ดา ตอร์ปิโด’ ได้รับ : มองจากทัศนะทางพุทธศาสนา

Posted: 08 Sep 2011 10:33 AM PDT

“อย่างคุณดา ตอร์ปิโดนั้น ผมคิดว่าเธอจริงใจ และพูดออกไปตามที่เธอเชื่อ คนเช่นนี้ผมคิดว่าสมควรที่กระบวนการยุติธรรมจะพิจารณาผ่อนปรนให้เป็นพิเศษ ซึ่งหากระบบยุติธรรมแสดงความเห็นใจ เข้าใจว่าเธอคับแค้นใจ จึงได้แสดงความคิดออกมาอย่างนั้น การผ่อนปรนจากหนักให้เป็นเบา จะเป็นหนทางที่ดีที่สุด”

ข้อความข้างต้นนี้ คือบางส่วนในข้อเขียนชื่อ “ความยุติธรรมและมนุษยธรรม” ของ สมภาร พรมทา (วารสารปัญญา วารสารออนไลน์ ฉบับที่ 11 สิงหาคม 2554 หน้า 703) ซึ่งเป็นข้อเขียนแสดงทัศนะส่วนตัวของผู้เขียนเพื่อสรุปจบงานวิชาการขนาดยาว ชื่อ “นิติปรัชญา” ที่เขียนต่อเนื่องในวารสารดังกล่าว ตั้งแต่ฉบับที่ 1-11 (รวม 700 กว่าหน้า)

ที่สมภารบอกว่า คำพูดของดาออกมาจากความจริงใจ จากความคับแค้นใจที่กระบวนการยุติธรรมควรเข้าใจ เห็นใจ ผ่อนหนักให้เบานั้น (ตามข้อเท็จจริงศาลตัดสินจำคุกฐานผิด ม.112 เป็นเวลา 18 ปีในความผิด 3 กรรม กรรมละ 6 ปี) เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับคำพูดของฝ่ายที่ประกาศ “สู้เพื่อในหลวง” หรือ “พร้อมสละชีวิตเพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์และราชบัลลังก์” เช่น สนธิ ลิ้มทองกุล ประพันธ์ คูณมี เป็นต้นแล้ว คนทั่วๆ ไปย่อมจะมองออกว่า คำพูดดังกล่าวยากที่จะทำให้เชื่อได้ว่าออกมาจากความบริสุทธิ์ใจจริงๆ พูดตรงๆ คือการอ้างถึงสถาบันในลักษณะดังกล่าวไม่ว่าจะกระทำโดยใคร หรือกลุ่มใด ตั้งแต่อดีตจวบปัจจุบันมักจะเป็นการอ้างเพื่อทำลายคู่ต่อสู้ทางการเมือง หรือเพื่อให้ตนเองดูเป็นคนดีเสียส่วนใหญ่

ส่วนคำพูดของดานั้น เป็นคำพูดที่ออกมาจากความเชื่อในอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างบริสุทธิ์ใจว่า การปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น อำนาจอธิปไตยต้องเป็นของประชาชนจริงๆ หมายความว่าหากมีอำนาจลึกลับใดๆ เข้ามาแทรกแซงทางการเมือง หรือบิดเบือนเจตนารมณ์ทั่วไปของประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง จึงเป็นหน้าที่ของพลเมืองผู้รักประชาธิปไตยที่จะไม่ยอมให้เป็นเช่นนั้น นี่คือความเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจของดาที่คนทั่วไปเข้าใจได้ (หากใช้เหตุผล) ส่วนสำนวน หรือลีลาในการพูดของเธอนั้นอาจเป็นเพียงการระบายความคับแค้นใจ ขมขื่นใจ ที่สามารถเข้าใจได้ อธิบายได้อีกเช่นกัน

ฉะนั้น หากกระบวนการยุติธรรมไต่สวน และตัดสินด้วยความเคารพต่อความเชื่อในอุดมการณ์ประชาธิปไตยของพลเมืองคนหนึ่ง และเข้าใจถึงอารมณ์ความรู้สึกที่อาจคับแค้นใจกับสิ่งที่ตนเองเชื่อว่าไม่ถูกต้องในทางการเมือง การผ่อนหนักให้เป็นเบาย่อมเป็นการให้ "ความเป็นธรรม" ที่อธิบายได้

หากมองตามทัศนะของพุทธศาสนา โทษจำคุก 18 ปี ที่ดาได้รับถือว่าไม่เป็นธรรมแก่เธออย่างยิ่ง บางคนอาจแย้งว่า ทำไม่จะไม่เป็นธรรมในเมื่อศาลตัดสินไปตามตัวบทกฎหมายที่มีอยู่ แต่พุทธศาสนามองว่าความเป็นธรรมนั้นไม่อาจมองเฉพาะจากตัวบทกฎหมายเท่านั้น เพราะบางที่กฎหมายก็บัญญัติขึ้นบนพื้นฐานของความเชื่อที่ไม่เป็นธรรมอยู่ก่อน ขึ้นอยู่กับว่าคนกลุ่มใดเป็นผู้บัญญัติกฎหมาย เช่น สมัยพุทธกาลศาสนาพราหมณ์เชื่อว่าพระพรหมสร้างมนุษย์มาให้ไม่เสมอภาคกัน สูงต่ำกว่ากันตามระบบวรรณะสี่ จากพื้นฐานความเชื่อนี้ พราหมณ์จึงออกกฎหมายให้ชนชั้นสูงได้เปรียบ หรือมีอภิสิทธิ์เหนือชนชั้นล่างทุกด้าน

คติความศักดิ์สิทธิ์ของกษัตริย์ก็เป็นคติความเชื่อที่บรรพบุรุษของเราได้รับอิทธิพลจากความเชื่อแบบพราหมณ์ผ่านทางวัฒนธรรมขอม และภายหลังอาจหนุนเสริมด้วยการตีความคำสอนพุทธศาสนาเรื่องกษัตริย์เป็นผู้บำเพ็ญบุญบารมีมามากกว่าสามัญชน จึงเป็นผู้มีบุญญาธิการสมควรอยู่ที่สูงเหนือคนธรรมดาทั่วไป แต่ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าปฏิเสธความเชื่อแบบพราหมณ์ และเสนอว่า กษัตริย์จะเป็นกษัตริย์ที่ดีไม่ใช่เพราะได้รับเทวสิทธิ์จากพระเจ้า แต่เพราะมีคุณธรรมของผู้ปกครองที่ช่วยให้ทำหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ผู้ใต้ปกครองพึงพอใจ

ฉะนั้น กษัตริย์ตามอุดมคติของพุทธศาสนาแบบดั้งเดิม จึงไม่ใช่ผู้มีอำนาจแบบเทวสิทธิ์ ภาพลักษณ์ของกษัตริย์ที่ดีไม่ใช่ผู้ใช้อำนาจให้คนกลัวเหมือนกษัตริย์ตามอุดมคติแบบพราหมณ์ แต่เป็นกษัตริย์ที่ประชาชนรัก เพราะอุทิศตนเสียสละ ซื่อสัตย์ อ่อนน้อมต่อผู้ใต้ปกครองตามหลักทศพิธราชธรรม และจักรวรรดิวัตร

แต่ทว่าคติเกี่ยวกับกษัตริย์ของไทยนั้นปนๆ กันอยู่ระหว่างพราหมณ์กับพุทธ ภาพลักษณ์ของกษัตริย์จึงมีสองภาพลักษณ์ที่ขัดแย้งกัน ภาพลักษณ์หนึ่งคือภาพลักษณ์ของผู้มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่ต้องปกป้องอำนาจนั้นด้วยการสร้าง “ความกลัว” เช่นมีกฎหมายปกป้องความศักดิ์สิทธิ์นั้นอย่างแน่นหนา ขณะที่อีกภาพลักษณ์หนึ่งคือความเป็นที่รักของประชาชน เพราะเสียสละอุทิศตนเพื่อประชาชน

ถึงตรงนี้เราคงพอจะเข้าใจว่า กฎหมายหมิ่น ม.112 (และกฎหมาย จารีตประเพณีที่มุ่งรักษาอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ของกษัตริย์ด้วยการสร้าง “ความกลัว”) คือ กฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อปกป้องภาพลักษณ์ของกษัตริย์ตามคติพราหมณ์ ฉะนั้น เมื่อมองตามทัศนะทางพุทธศาสนา กฎหมายดังกล่าวที่มีบทลงโทษสูงเกินไป จึงเป็นกฎหมายที่ไม่ยุติธรรมตั้งแต่ต้น เพราะเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นบนพื้นฐานความเชื่อที่ไม่เป็นธรรม คือความเชื่อที่ว่ามนุษย์ไม่เท่าเทียมกัน

เมื่อพุทธศาสนาปฏิเสธระบบชนชั้นแบบพราหมณ์ก็เพื่อยืนยันว่า "มนุษย์เท่าเทียมกัน" จึงไม่มีเหตุผลที่พุทธศาสนาจะไม่สนับสนุนความเสมอภาคตามระบอบประชาธิปไตย และจะไม่สนับสนุนการต่อสู้ของพลเมืองของรัฐที่ยืนยันความเสมอภาคตามระบอบประชาธิปไตย

ฉะนั้น ที่นักวิชาการด้านพุทธศาสนาอย่าง สมภาร พรมทา เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมควรพิจารณาอย่างเข้าใจ เห็นใจดา ตอร์ปิโด และควรผ่อนหนักให้เป็นเบานั้น เพราะเมื่อมองตามทัศนะทางพุทธศาสนา ม.112 ก็ไม่ใช่กฎหมายที่ยุติธรรมตั้งแต่แรกดังกล่าว และประชาชนที่ถูกเอาผิดด้วยกฎหมายนี้ ก็คือคนที่โดยใจจริงแล้ว พวกเขาต่อสู้เพื่อปกป้องความเสมอภาคตามอุดมการณ์ประชาธิปไตย ที่พุทธศาสนาก็สนับสนุนหลักการนี้

คิดอย่างตรงไปตรงมาแบบชาวพุทธและผู้ซื่อสัตย์ต่อหลักการประชาธิปไตย คุณดาและคนอื่นๆ ที่ถูกดำเนินการด้วย ม.112 เนื่องจากพวกเขาออกมาต่อสู้ด้วยอุดมการณ์ประชาธิปไตย ควรได้รับการปล่อยตัว และกฎหมายฉบับนี้ก็ควรถูกยกเลิกได้แล้ว!

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เพิร์ลออยตั้งแท่นนอกฝั่งสงขลา แนะเฉือนค่าภาคหลวงให้ชาวประมง

Posted: 08 Sep 2011 10:18 AM PDT

เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2554 ที่ห้องสงขลา 2 โรงแรมบี.พี.สมิหลาบีช อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา บริษัท เพิร์ลออย บางกออก จำกัด จัดการประชุมเพื่อเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 โครงการพัฒนาและผลิตปิโตรเลียมในทะเล แหล่งผลิตปิโตรเลียมนงเยาว์ แปลงสัมปทานปิโตรเลียมในทะเลอ่าวไทย หมายเลข จี 11/48 มีตัวแทนส่วนราชการและชาวบ้านเข้าร่วมประมาณ 50 คน

นายถาวร ชินะธิมาตร์มงคล เจ้าหน้าบริษัทอีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด เปิดเผยในที่ประชุมว่า บริษัท เพิร์ลออย บางกออก จำกัด ผู้ได้รับสัมปทานในแปลงสัมปทานปิโตรเลียมในทะเลอ่าวไทย หมายเลข จี 11/48 จึงได้ว่าจ้างบริษัทอีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด จัดทำรายการการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการพัฒนาและผลิตปิโตรเลียมในทะเล แหล่งผลิตปิโตรเลียมนงเยาว์

นายถาวร เปิดเผยต่อไปว่า ที่ตั้งแท่นผลิต เรือกักเก็บปิโตรเลียม และท่อขนส่งปิโตรเลียมใต้ทะเล รวมถึงโครงสร้างต่างๆของโครงการพัฒนาและผลิตปิโตรเลียมในทะเล แหล่งผลิตปิโตรเลียมนงเยาว์ อยู่ในแปลงสัมปทานปิโตรเลียม หมายเลข จี 11/48 อ่าวไทยตอนใต้ ใกล้เกาะโลตินทางทิศใต้ประมาณ 95 กิโลเมตร ห่างจากชายฝั่งที่ตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานีไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 145 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดสงขลาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 162 กิโลเมตร บริเวณที่ตั้งแท่นผลิตมีระดับน้ำทะเลลึกประมาณ 70 เมตร

นายสุทธิชัย สุขสีเสน พลังงานจังหวัดสงขลา กล่าวว่า กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติควรแก้ระเบียบ ข้อกฎหมายเพื่อแบ่งค่าภาคหลวงให้เป็นกองทุนพัฒนาอาชีพให้ชาวประมง นอกจากนี้บริษัท เพิร์ลออย บางกออก จำกัด ควรทำโครงการ (CSR) ในการตอบแทนและรับผิดชอบสังคม ไม่ว่าแท่นผลิตน้ำมันจะอยู่ไกล หรือใกล้ฝั่งมากน้อยแค่ไหน เพราะอย่างไรก็ตามต้องใช้ท่าเทียบเรือในจังหวัดสงขลาอยู่แล้ว

นายอภินันท์ ตอบว่า สำหรับโครงการในการรับผิดชอบสังคมและชุมชน บริษัทฯ จะให้ชาวประมงในจังหวัดสงขลา เสนอปัญหาและความต้องการกับสมาคมประมงจังหวัดสงขลา ว่าต้องการอะไร เช่น ต้องการให้มีการวางปะการังเทียม เป็นต้น ทางบริษัทฯจะประสานกับสมาคมประมงจังหวัดสงขลาอีกทีหนึ่งเพื่อรับทราบปัญหาและความต้องการ

นายโสภณ ชุมยวง รองนายกสมาคมประมงจังหวัดสงขลา เสนอว่า การแก้ระเบียบ ข้อกฏหมายเพื่อแบ่งค่าภาคหลวงซึ่งเป็นการแก้เชิงนโยบายนั้นสำหรับชาวประมงแล้วไม่มีความหวังเลย เนื่องจากต้องผ่านคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี

“การทิ้งปะการังเทียม ส่วนราชการได้ดำเนินอยู่แล้ว ตนอยากให้ทางบริษัทฯส่งเสริมให้ชาวประมงรวมตัวกันเป็นกลุ่มเป็นองค์กรให้มีความเข้มแข็งแล้วให้งบประมาณมาสนับสนุน เช่น การส่งเสริมอาชีพ มอบอุปกรณ์ในการทำการประมง ซึ่งจะทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น ลดความขัดแย้งระหว่างชาวประมงด้วยกัน” นายโสภณ กล่าว

เพิร์ลออยตั้งแท่นนอกฝั่งสงขลา แนะเฉือนค่าภาคหลวงให้ชาวประมง
แหล่งผลิตปิโตรเลียมนงเยาว์ แปลงสัมปทานปิโตรเลียมในทะเลอ่าวไทย หมายเลข จี 11/48

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ค้านสร้างท่าเรือทะเลสาบสงขลา ชี้ไม่คุ้ม-เปลืองค่าขุดลอก-ซ้ำเติมสิ่งแวดล้อม

Posted: 08 Sep 2011 10:07 AM PDT

เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2554 ที่ห้องประชุมแกรนด์บอลรูม ชั้น 2 โรงแรมราชมังคลาพาวิลเลี่ยนบีช รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ร่วมกับไทยเอนยิเนียริ่งคอนซัลแตนท์ส์จำกัด และบริษัทซีคอนซัลท์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด จัดประชุมสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบเพื่อก่อสร้างท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการขนส่งทางน้ำในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีผู้เข้าร่วมประมาณ 80 คน

นายประพัตร์ กรังพานิชย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของประชาชน บริษัท ไทยเอนยิเนียริ่งคอนซัลแตนท์ส์ จำกัด กล่าวว่า โครงการนี้เทศบาลนครสงขลาเป็นผู้เสนอให้กรมเจ้าท่า ศึกษาความเหมาะสมเพื่อสำรวจออกแบบการก่อสร้างท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ เพื่อสนับสนุนกิจการการขนส่งทางน้ำ กิจการประมง และการท่องเที่ยว ทั้งด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม

นายเชิดวงค์ แสงศุภวานิช ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุทรศาสตร์และท่าเรือบริษัท ซีคอนซัลท์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด นำเสนอว่า จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูลในพื้นที่พบว่า มีพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาท่าเทียบเรือ 3 แห่ง คือ บริเวณท่าเรือสะพานไม้ บริเวณท่าเรือเก่าถนนนครนอก และบริเวณชุมชนแหล่งพระราม ในเขตเทศบาลนครสงขลา

นายเชิดวงค์ เปิดเผยผลการประชุมกลุ่มย่อยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ว่า ผู้นำชุมชนร้อยละ 70.59 เห็นด้วยให้มีการสร้างท่าเรือดังกล่าว กลุ่มประมงสงขลาและผู้ประกอบการเรือเห็นด้วย ร้อยละ 41.94 ส่วนชาวบ้านชุมชนแหล่งพระรามเห็นด้วยน้อยที่สุด คือ ร้อยละ 12.90 เท่านั้น

“กลุ่มผู้นำชุมชนและชาวบ้านชุมชนแหล่งพระรามส่วนใหญ่เห็นด้วยว่า พื้นที่บริเวณท่าเรือศุลกากรสงขลาเหมาะสมที่สุด ควรพัฒนาท่าเรือสะพานไม้เป็นท่าเรือท่องเที่ยว และประมง ส่วนสมาคมประมงสงขลาและผู้ประกอบการเรือประมงเห็นว่าการพัฒนาท่าเรือสะพานไม้มีความเหมาะสมที่สุด” นายเชิดวงค์

นายสุรพล กำพลานนท์วัฒน์ นายกสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา กล่าวแสดงความเห็นว่า ไม่เห็นด้วยกับการสร้างท่าเรืออเนกประสงค์ในทะเลสาบสงขลา เนื่องจากระดับน้ำทะเลมีความตื้นเขิน ทำให้เรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่เข้าเทียบท่าไม่ได้ ต้องขนถ่ายนักท่องเที่ยวด้วยเรือขนาดเล็กอีกทอดหนึ่งเพื่อขึ้นฝั่ง

“ผมคิดว่าควรปรับปรุงท่าเรือน้ำลึกสงขลามากกว่า เพราะในอดีตเรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่ เคยเทียบท่าที่ท่าเรือน้ำลึกสงขลามาแล้ว โดยสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้วันละพันกว่าคน แม้อาจต้องเสียค่าจอดค่อนข้างสูง แต่ยังจะดีกว่าต้องลงทุนขุดร่องน้ำที่ต้องใช้งบประมาณสูงกว่า” นายสุรพล กล่าว

นายไกรเลิศ เรืองสงฆ์ ผู้ประกอบการอู่เรือดวงประมงสงขลา กล่าวว่า เห็นว่าพื้นที่ทางเลือกในการสร้างท่าเรืออเนกประสงค์ทั้ง 3 แห่ง ตั้งอยู่ในเขตชุมชนเมือง หากสร้างท่าเรือบริเวณนั้น เท่ากับซ้ำเติมปัญหาการจราจรที่ติดขัดอยู่แล้ว

“ต้องการให้พัฒนาท่าเรือน้ำลึกสงขลา ให้สามารถรองรับเรือท่องเที่ยวได้ด้วย เนื่องจากอยู่นอกเมือง ปริมาณสินค้าที่ขนส่งผ่านท่าเรือน้ำลึกสงขลาก็มีไม่มากนัก” นายไกรเลิศ กล่าว

นายไกรเลิศ กล่าวว่า ท่าเรือขนถ่ายสินค้าที่มีอยู่ในบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนนี้ ก็สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนมากพอแล้ว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ม็อบโรงไฟฟ้าจะนะสลาย ชาวบ้านเฮได้บริหารกองทุนคลองนาทับ

Posted: 08 Sep 2011 10:03 AM PDT

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2554 ชาวบ้านตำบลนาทับ และตำบลใกล้เคียง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ประมาณ 500 คน ชุมนุมประท้วงเรียกร้องค่าชดเชยผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนจากการดำเนินการของโรงไฟฟ้าจะนะ โดยกางเต็นท์ปิดทางหลวง 43 (หาดใหญ่ – ปัตตานี) บริเวณทางเข้าโรงไฟฟ้าจะนะ ฝั่งทางไปปัตตานี ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ทำให้รถที่สัญจรไปมาติดขัด โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่อาสาสมัครรักษาดินแดน (อ.ส.) ประมาณ 100 นาย คอยรักษาความปลอดภัย

เวลาประมาณ 14.30 น. ที่ห้องประชุมอาคารโรงอาหารของโรงไฟฟ้าจะนะ นายพิศาล ทองเลิศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เปิดเจรจากับชาวบ้านประมาณ 30 คน นำโดยนายโชติบริพัฒน์ ไชยแก้ว นายพีรดิศ เหร็มแอ และนายอมร เบ็ญหมาด โดยมี นายวิวัฒน์ ศิริเกียรติกุล ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าจะนะ นายวิทศักดิ์ จำเริญนุสิต ปลัดอาวุโส อำเภอจะนะ ร่วมเจรจา

การเจรจาใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง บรรยากาศเต็มไปด้วยความเคร่งเครียด กระทั่งเวลา 17.30 น.จึงตกลงกันได้ โดยตัวแทนโรงไฟฟ้าจะนะ ตัวแทนส่วนราชการ และตัวแทนชาวบ้าน ได้บันทึกข้อตกลงเพื่อแก้ปัญหาผลกระทบคลองนาทับ ประกอบด้วย

  1. พิจารณาจัดตั้งกองทุนพัฒนาอาชีพโดยขออนุมัติเงินจากมูลนิธิประมงคลองนาทับ ให้ชาวบ้านเป็นผู้บริหารงบประมาณ โดยมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นที่ปรึกษา ทั้งนี้ให้กำหนดกรอบหลักเกณฑ์ เงื่อนไขส่งให้นายวิญญู ทองสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นประธานมูลนิธิฯ ภายใน 30 วัน
  2. ให้เพิ่มรายชื่อตัวแทนชาวบ้านในตำบลนาทับ 15 คน เป็นคณะกรรมการมูลนิธิประมงคลองนาทับ ซึ่งจะเสนอประธานมูลนิธิฯพิจารณาภายใน 15 วัน
  3. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับคลองนาทับภายใน 7 วัน โดยพิจารราจากตัวแทนชาวบ้านตำบลนาทับ ตัวแทนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และตัวแทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
  4. ให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบฯ ที่ได้รับการแต่งตั้งร่วมกันตรวจสอบผลกระทบให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน นับแต่ได้มีการแต่งตั้ง หากผลการศึกษามีหลักฐานอันเกิดจากการกระทำของกฟผ. กฟผ.จะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหาย
  5. จังหวัดสงขลารายงานผลความต้องการของชาวบ้าน เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ให้หยุดการดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจะนะ ชุด 2 จนกว่าสามารถพิสูจน์ผลกระทบต่อคลองนาทับ ที่มาจากโรงไฟฟ้าชุดที่ 1 ให้แล้วเสร็จ
  6. กฟผ.จะต้องติดตามข้อมูลการติดตั้งตะแกรงดักสัตว์น้ำโดยเร่งด่วนที่สุด ทั้งนี้ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าจะนะ จะร่วมประสานงานเพื่อเร่งรัดการดำเนินงานในเรื่องนี้กับตัวแทนชาวบ้าน (นายโชติบริพัฒน์ ไชยแก้ว)

จากนั้น นายพิศาล นายวิวัฒน์ ลงนามในบันทึกในฐานะตัวแทนกฟผ. และนายโชติบริพัฒน์ ในฐานะตัวแทนชาวบ้านนาทับ

หลังประชุม กลุ่มชาวบ้านจึงได้รื้อเต็นท์เปิดถนนบางส่วนในเวลาประมาณ 17.40 น. โดยนายโชติบริพัฒน์ นายอมร และนายพิศาล ได้ขึ้นเวทีแจ้งผลการเจรจา แต่กลับมีชาวบ้านหลายคนทักท้วงเป็นระยะ ทำให้ต้องใช้เวลากว่า 40 นาที อธิบายให้เข้าใจตรงกัน กระทั่งเวลา 18.30 น. ชาวบ้านจึงช่วยกันรื้อเต็นท์ทั้งหมดและทยอยกันกลับบ้าน

ม็อบโรงไฟฟ้าจะนะสลาย ชาวบ้านเฮได้บริหารกองทุนคลองนาทับ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เริ่มแล้วอำเภอ 2 ภาษา ใช้ ‘ยาวี’ บริการประชาชน

Posted: 08 Sep 2011 09:55 AM PDT

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 8 กันยายน 2554 ที่ว่าการอำเภอเมืองปัตตานี มีพิธีเปิดโครงการอำเภอ 2 ภาษา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการยิ้มตานี ซึ่งเป็นโครงการที่ให้สถานที่ราชการใช้ภาษามลายูท้องถิ่น (ภาษายาวี) ควบคู่กับภาษาไทย ในการสื่อสารกับประชาชนที่มาใช้บริการ โดยมีนายทรงพล สวาสดิ์ธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานเปิดงาน มีผู้เข้าร่วมประมาณ 100 คน

ในพิธีมีการมอบเกียรติบัตรแก่ผู้เข้ารับการอบรมภาษาไทยจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปัตตานี (กศน.ปัตตานี) ประมาณ 20 คน

นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ นายอำเภอเมืองปัตตานี เปิดเผยว่า อำเภอปัตตานีเมืองเป็นอำเภอนำร่องในการทำโครงการอำเภอ 2 ภาษา และจะขยายต่อไปยังอำเภออื่นๆ ในจังหวัดปัตตานี

นายไกรศร กล่าวว่า โครงการอำเภอ 2 ภาษาจะสามารถช่วยประชาชน ที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยที่เข้ามาใช้บริการได้มากขึ้น เช่น ประชาชนที่ไม่สามารถอ่านป้ายข้อความตามจุดต่างๆ ที่มีทั้งภาษาไทยและภาษายาวี ก็สามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ที่ประจำอยู่ที่สำนักทะเบียนอำเภอได้ เนื่องจากนักประชาสัมพันธ์จะทำหน้าที่ล่ามไปด้วย ซึ่งจะช่วยลดเวลาการใช้บริการได้

นายไกรศร เปิดเผยอีกว่า สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกนักประชาสัมพันธ์คือ รับผู้ที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อายุ 18 ปีขึ้นไป ไม่จำกัดศาสนา สามารถสื่อสารภาษามลายูท้องถิ่นได้ ส่วนการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการมี 2 รูปแบบ คือ ประเมินจากโดยเครื่องวัดความพึงพอใจ และรับฟังเสียงสะท้อนจากผู้นำชุมชนหรือผู้นำศาสนาที่มีการพูดกันปากต่อปากในชุมชน

นายวันเฉลิม แวดอเลาะ นักประชาสัมพันธ์และบริการประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้ เปิดเผยว่า ภาระงานที่ตนได้รับมอบหมาย คือ ประจำอยู่หน้าห้องสำนักทะเบียนอำเภอเมืองปัตตานี เนื่องจากเป็นจุดที่มีผู้เข้ามาใช้บริการจำนวนมาก ประชาชนที่เข้าสอบถามนักประชาสัมพันธ์และบริการประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้ส่วนมากเป็นคนชรา หรือผู้ที่สื่อสารภาษาไทยได้น้อย

“เหตุที่เข้ามาถาม เนื่องจากประชาชนส่วนมากไม่ทราบขั้นตอนในการให้บริการตามระบบราชการ ผมจึงใช้ภาษามลายูท้องถิ่น สื่อสารให้เข้าใจมากขึ้น และเพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อระบบราชการมากขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับว่า ยังมีผู้ที่มีคติต่อระบบราชการอยู่” นายวันเฉลิม กล่าว

นายวันเฉลิม เปิดเผยอีกว่า ก่อนที่ตนจะมาเป็นนักประชาสัมพันธ์ ตนได้ไปสมัครสอบคัดเลือกครูที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปัตตานี (กศน.ปัตตานี) แต่ตนสอบติดเป็นตัวสำรอง หลังจากนั้นศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.)มีโครงการผลิตนักประชาสัมพันธ์และบริการประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้ขึ้นมา โดยให้ผู้ที่สอบติดสำรองดังกล่าวทั้งหมด ไปสอบสัมภาษณ์ที่ศอ.บต.เพื่อคัดเลือกเป็นนักประชาสัมพันธ์และบริการประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้ โดยศอ.บต.ได้ว่าจ้างในตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2553 ถึง เดือนกันยายน 2554

“ผมอยากให้ ศอ.บต.ต่อสัญญาจ้างนักประชาสัมพันธ์และบริการประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้ต่อไป เพราะเห็นว่าสามารถช่วยบัณฑิตที่ว่างงานอยู่ ให้มีงานทำได้ระดับหนึ่ง” นายวันเฉลิม กล่าว

นายสุกรี ดอเลาะ ผู้รับบริการที่ว่าการอำเภอเมืองปัตตานี กล่าวว่า การที่ข้าราชการปัจจุบันเริ่มเห็นความสำคัญ และหันมาสื่อสารด้วยภาษามลายูท้องถิ่นควบคู่กับภาษาไทย เป็นที่ต้องการของตนมานานแล้ว เนื่องจากไม่ทำให้รู้สึกอึดอัดใจเหมือนเมื่อก่อน ทั้งยังสะดวกในการติดต่อขอรับบริการมากขึ้น แต่ยังมีข้าราชการบางส่วนที่ไม่ค่อยสุภาพอ่อนน้อม หากปรับปรุงในส่วนนี้ได้ จะทำให้ชาวบ้านรู้สึกดีต่อข้าราชการมากขึ้นไปอีก

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พ.ต.ท.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ

Posted: 08 Sep 2011 09:21 AM PDT

ตั้งแต่ มิ.ย. ถึง ส.ค. 2554 DSI รับคดีไว้ทำการสอบสวนเพียง 33 คดี แต่คดีที่ยังค้างเก่ามาหลายปี มีจำนวนถึง 393 คดี, รับมาไม่เกิน 1 ปี มี 191 คดี, รับมาแล้ว 2-3 ปี มี 186 คดี และ รับมาดำเนินการ 3 ปีแล้วยังสอบสวนไม่เสร็จ ถึง 16 คดี ลองคิดดูว่าหน่วยงานนี้ ได้รับงบประมาณเท่าใด ทำคดีแต่ละปีเท่าไหร่ มีอคติในการดำเนินคดีขนาดไหน คุ้มค่าจะเอาไว้อยู่ต่อไปหรือไม่

โพสต์ในเฟซบุุ๊ก Siriphon Kusonsinwut 8 ก.ย. 2554 (อนุญาตให้ประชาไทเผยแพร่)

'ยิ่งลักษณ์' ชี้สรรหา กสทช. เป็นงานนิติบัญญัติ มีหน้าที่นำรายชื่อทูลเกล้าฯ แต่ต้องตรวจสอบ

Posted: 08 Sep 2011 08:42 AM PDT

8 ก.ย. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีการทูลเกล้ารายชื่อผู้ได้รับการสรรหาให้เป็น กสทช.ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับรายชื่อผู้ที่ได้รับการสรรหา แต่ได้มอบให้เลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปศึกษาขั้นตอนของกฎหมายแล้ว โดยชี้แจงว่า การทำงานระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารจะต้องแยกกัน และมีหน้าที่นำรายชื่อส่งไปเท่านั้น

นายกฯ ยังตอบคำถามกรณีที่กรมสอบสวนพิเศษ (ดีเอสไอ) รับพิจารณาคดีการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเกี่ยวกับกระบวนการสรรหา กสทช.ว่า ถ้ามีเรื่องการตรวจสอบเข้ามา ก็ต้องหารือข้อกฎหมายกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งทั้งหมดจะให้เลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ศึกษาและเร่งทำให้ถูกตามขั้นตอนต่อไป แต่หากนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯได้ก็จะดำเนินการเลย

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กก.ปฏิรูปกฎหมาย เสนอรัฐบาลใหม่ เร่งพิจารณาร่างกฎหมายต่อ

Posted: 08 Sep 2011 06:17 AM PDT

คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย นำโดยนายคณิต ณ นคร ทำหนังสือถึงนายกฯ ให้เดินหน้าพิจารณาร่างกฎหมายต่อ แบ่งเป็นร่างที่ควรเห็นชอบ 26 ฉบับ ไม่ควรเห็นชอบ 5 ฉบับ

เมื่อวันที่ 30 ส.ค.54 นายคณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ทำหนังสือถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แจ้งว่า ตามมาตรา 153 ของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา จะพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมหรือร่าง พ.ร.บ.ที่รัฐสภายังมิได้ให้ความเห็นชอบต่อไปได้ถ้าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่หลังการเลือกตั้งทั่วไปร้องขอภายใน 60 วัน นับแต่วันเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกหลังการเลือกตั้งทั่วไป และรัฐสภามีมติเห็นชอบด้วย

โดยคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายระบุว่า มีร่างกฎหมายที่ไม่ควรเห็นชอบให้พิจารณาต่อไป 5 ฉบับ ร่างกฎหมายที่สมควรเห็นชอบให้พิจารณาต่อไป แบ่งเป็นร่างกฎหมายที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมกันเข้าชื่อเพื่อเสนอโดยตรงต่อสภาฯ 7 ฉบับ และร่างกฎหมายที่สำคัญและจำเป็นสมควรให้พิจารณาต่อไป 19 ฉบับ

ทั้งนี้ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายได้จัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับร่างกฎหมายที่ค้างการพิจารณาของรัฐสภา พร้อมสาระสำคัญของร่างกฎหมายแต่ละฉบับ และเหตุผลประกอบการพิจารณาต่อนายกฯ เพื่อพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

อนึ่ง ร่างกฎหมายที่ไม่ควรเห็นชอบให้พิจารณาต่อไป 5 ฉบับ ได้แก่
1.ร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ
2.ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม
3.ร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
4.ร่าง พ.ร.บ.เงินทดแทน
5.ร่าง พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน

ร่างกฎหมายที่สมควรเห็นชอบให้พิจารณาต่อไป แบ่งเป็นร่างกฎหมายที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมกันเข้าชื่อเพื่อเสนอโดยตรงต่อสภาฯ 7 ฉบับ ได้แก่
1.ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
2.ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพแพทย์แผนไทย
3.ร่าง พ.ร.บ.การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
4.ร่าง พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
5.ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุข
6.ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข
7.ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย)

ร่างกฎหมายที่สำคัญและจำเป็นสมควรให้พิจารณาต่อไป 19 ฉบับ
1.ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
2.ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
3.ร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
4.ร่าง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่...)
5.ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
6.ร่าง พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ
7.ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
8.ร่าง พ.ร.บ.การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น
9.ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ
10.ร่าง พ.ร.บ.คุมประพฤติ
11.ร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการปฏิรูปและพัฒนากระบวนการยุติธรรมแห่งชาติ
12.ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์
13.ร่าง พ.ร.บ.ความร่วมมือระหว่างประเทศในทางแพ่งเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิและควบคุมดูแลเด็ก
14.ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามสิ่งยั่วยุพฤติกรรมอันตราย
15.ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
16.ร่าง พ.ร.บ.การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
17.ร่าง พ.ร.บ.พระราชบัญญัติ
เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินและผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
18.ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน
19.ร่าง พ.ร.บ.สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

  

ความเห็นคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เรื่อง กฎหมายค้างการพิจารณาของสภา

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปชช.ขอปธ.สภา พิจารณากฎหมายประชาชนต่อจากสภาที่แล้ว

Posted: 08 Sep 2011 03:36 AM PDT

 

เมื่อวันที่ 8 ก.ย.54 เวลา 13.30 น. ที่อาคารรัฐสภา เครือข่ายประชาชนผู้ผลักดันกฎหมายด้วยวิธีเข้าชื่อหนึ่งหมื่นชื่อกว่า 100 คน ประกอบด้วย เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายผู้หญิง เครือข่ายสมานฉันท์แรงงานไทย เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เครือข่ายผู้ป่วยมะเร็ง เครือข่ายผู้ป่วยจิตเวช ชมรมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน เครือข่ายผู้เสนอกฎหมายป่าชุมชน เครือข่ายประชาชนผู้เสนอกฎหมาย 3 จังหวัดชายแกนภาคใต้ และโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ร่วมกันเข้าพบประธานรัฐสภาและยื่นหนังสือเพื่อขอให้สมาชิกรัฐสภาช่วยสนับสนุนและมีมติเห็นชอบให้เดินหน้านำร่างกฎหมายประชาชนที่ค้างอยู่ในสภาที่แล้วมาพิจารณาต่อในการประชุมของรัฐสภานี้

ทั้งนี้ ประเด็นต่างๆ ที่เครือข่ายร่วมผลักดันออกมาเป็นกฎหมายหมื่นชื่อ และอยู่ระหว่างการพิจารณาในสภาแล้ว ได้แก่ 1. ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. .... , 2. ร่าง พ.ร.บ. องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคพ.ศ. .... , 3. ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... , 4. ร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. .... (ฉบับผู้ใช้แรงงาน) , 5. ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยวิชาชีพการสาธารณสุข, 6. ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.....

นอกจากนี้ ยังมีร่างกฎหมายหมื่นชื่อของภาคประชาชนอีกสองฉบับที่เป็นก ฎหมายเกี่ยวกับการเงิน แต่นายกรัฐมนตรีคนก่อน คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ลงนามรับรอง ได้แก่ 1. ร่าง พ.ร.บ. บำนาญประชาชน พ.ศ. .... , 2. ร่าง พ.ร.บ. กองทุนผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. …. และร่างกฎหมายประชาชนอีกหนึ่งฉบับที่ประธานรัฐสภาคนก่อนคือ นายชัย ชิดชอบมีคำสั่งไม่รับเพราะเห็นว่าเป็นกฎหมายที่ไม่ได้อยู่ในรัฐธรรมนูญหมวด 3 และหมวด 5 ประชาชนจึงไม่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมาย คือ ร่าง พ.ร.บ. การจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ พ.ศ. ....

สารี อ๋องสมหวัง มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า การมายื่นหนังสือในวันนี้เนื่องจากร่างกฎหมายทั้งเก้าฉบับนี้เป็นร่างกฎหมายที่มาจากการเข้าชื่อเสนอกฎหมายของประชาชนกว่าหนึ่งหมื่นชื่อ ที่มีทังอยู่ในขันตอนการพิจารณาและรอการพิจารณาแต่มีการยุบสภาไปก่อน ซึ่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 153 วรรคสอง กำหนดว่า เมื่อมีการยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ หากจะพิจารณากฎหมายดังกล่าวต่อไปได้ต้องให้คณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ร้องขอภายในหกสิบวันนับแต่วันเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรก และรัฐสภามีมติเห็นชอบด้วย

นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ออกมารับหนังสือและพูดคุยกับตัวแทนภาคประชาชนที่เคยเสนอร่างกฎหมายฉบับต่างๆ หลังจากรับเรื่องแล้วได้สั่งการให้นายอภิชาติ คำทอง ผู้อำนวยการสำนักงานประธานสภาผู้แทนราษฎรตรวจสอบดูว่าร่างกฎหมายทั้ง 9 ฉบับนี้อยู่ในรายชื่อร่างกฎหมายที่จะรับรองเพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาใหม่หรือไม่ หากไม่อยู่ให้นำร่างเหล่านี้ใส่เข้าไปรวมกับรายชื่อร่างกฎหมายทั้งหมดด้วย

ทั้งนี้ ในวันอังคารที่ 13 กันยายนนี้ เวลา 9.30 น. เครือข่ายภาคประชาชนจะนัดรวมตัวกันอีกครั้งที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อรอฟังผลการประชุมของคณะรัฐมนตรีว่ามีร่างกฎหมายฉบับใดบ้างที่คณะรัฐมนตรีร้องขอให้รัฐสภาพิจารณาต่อไป

 

 

ที่มา: http://ilaw.or.th/node/1160

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรีเสนอ"ความเป็นแดง/ไพร่”อัตลักษณ์ร่วมเสื้อแดง

Posted: 08 Sep 2011 03:26 AM PDT

 

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี, ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เมื่อวันที่ 1 ก.ย. ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมอาคารปฏิบัติการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการอภิปรายหัวข้อ เวที “ประสบการณ์ประชาธิปไตยของชาวบ้านเชียงใหม่” โดยมีการนำเสนอบทความจากงานวิจัย “พัฒนาการจิตสำนึกและขบวนการทางการเมืองของชาวเสื้อแดงในจังหวัดเชียงใหม่” โดยคณะผู้วิจัยซึ่งเป็นอาจารย์และนักศึกษาจากภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษย วิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบด้วย ผศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี, ดร.อรัญญา ศิริผล, นพพล อาชามาส และสืบสกุล กิจนุกร

และผู้วิจารณ์ ประกอบด้วย ศ.ทามาดะ โยชิฟูมิ มหาวิทยาลัยเกียวโต, รศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ รศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ

โดยผู้อภิปรายคนแรกคือ ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี อาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เสนอว่าขบวนการคนเสื้อแดง มีลักษณะที่ต่างไปจากขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมก่อนหน้านี้ทั้ง สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย (กทส.) และสมัชชาคนจน ในแง่ที่คนเสื้อแดงมีลักษณะของสมาชิกในขบวนการที่ “ข้ามชนชั้น” มีอัตลักษณ์ร่วมกันคือ “ความเป็นแดง/ความเป็นไพร่”

ปิ่นแก้วอภิปรายด้วยว่า การอธิบายการรวมตัวของคนเสื้อแดงแบบสำนักคิดเศรษฐกิจกำหนด จะไม่ช่วยให้เข้าใจว่า ความคิดทางการเมืองของชาวบ้านเปลี่ยนไปอย่างไร ขณะที่อุดมการณ์ทางการเมืองของคนเสื้อแดง ก็มีการเปลี่ยนผ่าน คือไม่ได้เริ่มจากฐานความคิด หรือความเชื่อเดียวกัน ในตอนแรกอาจเสนอให้มีการเลือกตั้งใหม่ แต่อุดมการณ์ทางการเมืองของคนเสื้อแดงก็เปลี่ยนผ่าน หรือในศัพท์ที่คนเสื้อแดงใช้ว่า “ตาสว่าง” ก็เกิดหลายระลอก โดยการอภิปรายของปิ่นแก้ว มีรายละเอียดดังต่อนี้ ส่วนเนื้อหาจากการประชุมทั้งหมด “ประชาไท” จะทยอยนำเสนอต่อไป

(หมายเหตุ: 1. ถอดเทปและขัดเกลาเพิ่มเติมจาก รายงานที่ตีพิมพ์โดยสำนักข่าวประชาธรรม วันที่ 5 ก.ย. 54
2. ข้อความในวงเล็บ เป็นการอธิบายเพิ่มเติมโดยประชาไท)

วิดีโอคลิปการอภิปรายของปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี เมื่อ 1 ก.ย. ที่ผ่านมา ในการประชุม "ประสบการณ์ประชาธิปไตยของชาวบ้านเชียงใหม่" ที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มีทั้งหมด 2 ตอน)

 

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี

"งานวิจัยยังพบอีกว่า สิ่งที่เรียกว่า อุดมการณ์ทางการเมืองของคนเสื้อแดงนั้น มีการเปลี่ยนผ่าน คือมันไม่ได้เริ่มจากฐานความคิด หรือความเชื่อเดียวกันในตอนแรก

ในตอนแรกเขาอาจจะคิดง่ายๆ ว่า เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่ แต่อุดมการณ์ทางการเมืองมันเปลี่ยนผ่านอย่างน้อย 2 ระลอก คือก่อนและหลังเดือนพฤษภาคม (2553) จริงๆ เปลี่ยนผ่านหลายระลอก ในศัพท์ที่คนเสื้อแดงเรียกว่า “ตาสว่าง” เกิดหลายระลอก แต่ว่าจุดที่เป็นจุดเปลี่ยนผ่านที่สำคัญที่มีผลอย่างยิ่งต่อวิธีคิดของคนเสื้อแดงในการมองความสัมพันธ์ของตนเอง กับสถาบันต่างๆ ในสังคมไทย รวมทั้งสถาบันสูงสุด ดิฉันคิดว่าเหตุการณ์พฤษภาคม 2553 เป็นเงื่อนไขที่สำคัญ"

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี, 1 ก.ย. 54

 

000

ขบวนการเสื้อแดงเป็นขบวนการที่น่าสนใจ ในแง่หนึ่งสมาชิกมีแหล่งกำเนิดมาจากชนบท แต่ว่าขบวนการเสื้อแดงกลับไม่ได้เกาะเกี่ยวกันด้วยความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจของชนชั้นชาวนา เหมือนกับสหพันธ์ชาวไร่ชาวนาแห่งประเทศไทย (กทส.) เมื่อทศวรรษ 2510 ขณะเดียวกันขบวนการนี้ก็ต่างไปจากขบวนการสมัชชาคนจนหรือขบวนการ วิถีชีวิต อำมาตย์

นักวิชาการที่เขียนเรื่องขบวนการเสื้อแดง ส่วนใหญ่ก็เห็นพ้องต้องกันว่าขบวนการเสื้อแดงมีความสลับซับซ้อนและประกอบไปด้วยกลุ่มคนหลายสถานะ หลากความคิดทางการเมือง ยากที่จะกำหนดด้วยเส้นแบ่งทางเศรษฐกิจ หรือกระทั่งความต่างระหว่างเมืองและชนบท

อาจารย์นิธิ (เอียวศรีวงศ์) รวมทั้งอาจารย์อรรถจักร (สัตยานุรักษ์) ที่นั่งอยู่ในที่นี้ เสนอเรื่องแนวคิดชนชั้นกลางระดับล่างในเมืองและชนบท อ.ผาสุก (พงษ์ไพจิตร) และ อ.ไชยรัตน์ (เจริญสินโอฬาร) ก็เรียกขบวนการนี้ว่าเป็นกลุ่มที่ประกอบด้วย/หรือผสมกันระหว่างกลุ่มที่คัดค้านรัฐประหารกับมวลชนผู้สนับสนุนทักษิณ

อ.เกษียร (เตชะพีระ) ก็มองว่าขบวนการนี้เป็นแนวร่วมระหว่างชนชั้นรากหญ้าและชนชั้นนายทุนใหญ่ อ.คายส์ (ชาร์ลล์ เอฟ คายส์ - Charles F. Keyes) ก็เรียกชาวชนบทที่เข้าร่วมขบวนการนี้ว่าเป็น "กลุ่มคนชนบทผู้เห็นโลกกว้าง" (Cosmopolitan villagers)

อ.พัฒนา (กิติอาษา) ก็เรียกคนเหล่านี้ว่าเป็นผู้ประกอบการทางการเมือง

คือมีผู้พยายามตอบคำถามว่าขบวนการนี้เป็นอะไรกันแน่ งานของเราก็พยายามทำอะไรแบบนั้นเหมือนกัน

 

เรามีคำถามหลักอยู่ 3 คำถามใหญ่ คือ หนึ่ง ขบวนการเสื้อแดงในเชียงใหม่ ประกอบไปด้วยกลุ่มคนสถานะใด ก่อรูปขึ้นเป็นขบวนการเสื้อแดงได้อย่างไร และมีพัฒนาการเช่นไร ที่เลือกศึกษาเสื้อแดงในเชียงใหม่เพราะว่าเชียงใหม่เป็นหนึ่งในเมืองหลวงของเสื้อแดง มีประชากรเสื้อแดงเยอะที่สุด

สอง เงื่อนไขทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองอะไรที่มีอิทธิพลต่อการก่อรูปของจิตสำนึกทางการเมืองของชาวบ้านหรือคนที่เข้าร่วมขบวนการนี้

สาม ขบวนการนี้ก็มีความแตกต่างไปจากขบวนการก่อนหน้านี้ ถ้าเทียบกับสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ฯ หรือสมัชชาคนจน เพราะเป็นขบวนการที่มีสื่อเป็นของตัวเอง การที่ขบวนการนี้มีสื่อเป็นของตัวเองแทนที่จะอิงกับสื่อของรัฐ สื่อของทุน ทำให้ขบวนการนี้ต่างไปจากขบวนการอื่นอย่างไร

ก่อนเริ่มอยากจะพูดถึง ความคิดกระแสหลักเกี่ยวกับคนเสื้อแดงสามารถแบ่งได้เป็นสองกลุ่มความคิดหลัก

ความคิดแรก มองว่าเป็นเสื้อแดงเป็นชนชาวรากหญ้าที่ไม่ค่อยมีการศึกษานัก เป็นชาวชนบทที่จงรักภักดีต่อทักษิณ และถูกลากเข้าสู่การเมืองของชนชั้นนำ การเมืองของพวกคณาธิปไตยทั้งหลาย แน่นอนทัศนะนี้สะท้อนความคิดของผู้ปกครอง หรือว่าชนชั้นกลาง นักวิชาการบางท่านก็มองเช่นนี้เหมือนกัน คือมองว่าผู้นำตีกันแล้วลากชาวบ้านเข้ามายุ่งทางการเมือง

กลุ่มความคิดอันที่สอง มองจากฐานความคิดเรื่องเศรษฐกิจเป็นหลัก ก็คือมองว่า กลุ่มคนเหล่านี้เป็นชนชั้นกลางระดับล่างในชนบท ที่ชีวิตทางเศรษฐกิจนั้น “ปริ่มน้ำ” นโยบายไทยรักไทยได้ช่วยให้คนเหล่านี้พ้นจากอาการปริ่มน้ำหรือความเสี่ยงขึ้นมาได้ และสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับพวกเขา เมื่อมีรัฐประหาร มันได้ทำลายโอกาสทางเศรษฐกิจอันนี้ พวกเขาจึงรวมตัวกันทวงสิทธิให้กับพรรคการเมืองของตนเองที่ได้เลือกขึ้นมา

 

ดิฉันคิดว่า ความคิดทั้งสองอันไม่ผิด แต่มันไม่พอ ความคิดที่ว่าผู้นำตีกันข้างบน แล้วลากชาวบ้านเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดิฉันก็ไม่มีความเห็นเพราะเป็นวิธีอธิบายความขัดแย้งในสังคมไทยที่มันดำเนินมาตลอดช่วงสมัยอยู่แล้ว พูดง่ายๆ คือมองว่าประชาชนไม่มีสมองหรือปัญญาของตัวเองในการวิเคราะห์การเมือง สามารถที่จะถูกลากมาประหนึ่งว่าเป็นวัวหรือเป็นหญ้า หรืออะไรทำนองนั้น ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะไปโต้เถียงทางวิชาการ

ความคิดที่สองอาจจะเป็นหลักคิดที่น่าสนใจกว่า คือ การมองว่าการวมตัวของกลุ่มคนรากหญ้าเหล่านี้ แรงผลักสำคัญเป็นแรงขับทางด้านเศรษฐกิจ โดยส่วนตัวของดิฉันเคยเถียงกับนักวิชาการหลายท่านที่เคยมาวิจารณ์วิจัยนี้ ที่ไม่ได้เล่าให้ฟังคือโครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการใหญ่ ของโครงการวิจัยที่ชื่อว่า “การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางการเมืองในชนบท” ที่มีอาจารย์อภิชาติ สถิตนิรมัย และอาจารย์ยุกติ มุกดาวิจิตรเป็นหัวหน้าโครงการ มีหลายท่านร่วมอยู่ในโครงการย่อยนี้ เราก็ยังเถียงอยู่ตลอดเวลา อาจารย์อภิชาติเป็นนักเศรษฐศาสตร์ ทฤษฎี “ปริ่มน้ำ” ก็มาจากอาจารย์อภิชาติ ดิฉันเองไม่ค่อยเห็นด้วย ในเรื่องเอาเศรษฐกิจมากำหนด เพราะคิดว่าไม่พอ การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ทางชนบททั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

พูดง่ายๆ คือ การอธิบายแบบใช้เศรษฐกิจกำหนดนั้น ไม่ช่วยให้เข้าใจว่า ความคิดทางการเมืองของชาวบ้านเปลี่ยนไปอย่างไร และเพราะอะไร

งานวิจัยชิ้นนี้จึงพยายามที่จะกลับหัวกลับหางในการวิจัย คือว่าแทนที่จะมองการเมืองจากด้านบนลงมา เราพยายามทำความเข้าใจความขัดแย้งทางการเมืองจากฐานคิดของรากหญ้า คือชาวบ้านที่เข้าร่วมขบวนการนี้เขาคิดอย่างไร และขบวนการนี้ต่างไปจากขบวนการทางสังคมอื่นในประวัติศาสตร์ก่อนหน้านี้อย่างไรบ้าง

ข้อค้นพบเบื้องต้นเราพบว่า จริงๆ แล้ว ก็จริงที่ว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ซึ่งนี่ก็เป็นค้นพบของงาน ในโครงการวิจัยอันหนึ่งของอาจารย์เวียงรัฐ (เนติโพธิ์) ในโครงการใหญ่ คือการมองว่า การเปลี่ยนแปลงของ “Electoral politics” หรือการเมืองในระบอบเลือกตั้ง มีผลอย่างยิ่งต่อจิตสำนึกทางการเมืองของประชาชนในชนบท

พูดง่ายๆ ในกลุ่มที่เราศึกษา ชาวบ้านที่เราศึกษา แทบจะทุกหมู่บ้านที่เราไป ในยุคก่อนไทยรักไทย ชาวบ้านไม่เคยคิดว่าการเลือกตั้งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต “4 ปี ก็มาที” แล้วไม่คิดว่าการเลือกตั้งคือปริมณฑลทางการเมืองผ่านการเลือกตั้งเป็นปริมณฑลของคนกรุงเทพ ไม่เคยคิดว่าปริมณฑลของการเลือกตั้งจะเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในชนบท

รัฐบาลไทยรักไทยสองสมัยได้เปลี่ยนความคิดอันนี้ แล้วก็ช่วยทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่า การเปลี่ยนแปลงในการเมืองในระบอบเลือกตั้งนั้นมีผลโดยตรงกับสถานะทางเศรษฐกิจของชาวบ้านเอง พูดง่ายๆ คือ นโยบายทางการเมืองมีผลกับภาวะเศรษฐกิจของชาวบ้าน

อันนี้แหละ เป็นตัวทำให้ชาวบ้านมองว่าสิทธิทางการเมืองจะนำมาซึ่งความมั่นคงทางเศรษฐกิจในภาคชนบท การเชื่อมโยงของสองอันนี้มันทำให้จิตสำนึกทางการเมืองของชาวบ้านในชนบทในปัจจุบันไม่ต่างไปจากสำนึกทางการเมืองของปัญญาชนหรือชนชั้นกลางทั่วไป

แต่ก่อนเรามองว่าชาวบ้านนั้นไม่เข้าใจการเมืองในระบอบเลือกตั้ง ไม่เข้าใจหรือมองการเมืองในระบอบการเลือกตั้ง หรือมองในเรื่องการเมืองในระบอบเลือกตั้งห่างไกลจากชนบท ประวัติศาสตร์ในยุคก่อนก็อาจจะใช่ แต่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาวิธีการในการอธิบายแบบนี้นั้น เราพบว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านขบวนการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง มันอธิบายไม่ได้หรือตอบไม่ได้อีกต่อไป

เรามองขบวนการเสื้อแดงเฉพาะในเชียงใหม่จังหวัดเดียวเราพบว่า มันไม่จริงที่เงื่อนไขทางเศรษฐกิจเป็นตัวลากชาวบ้านเข้ามาร่วมกัน จากงานวิจัยเราพบว่ามันมีสิ่งที่เรียกว่า “พหุลักษณ์ของเหตุผล” และ “พหุสัมพันธ์ของกลุ่มชนชั้นต่างๆ” ที่เข้ามาร่วมกันสร้างขบวนการ บางกลุ่มเป็นเหตุผลทางการเมืองหรืออุดมการณ์ บางกลุ่มเป็นเหตุผลทางเศรษฐกิจ

และจริงๆ แล้วถ้าถามว่า เฉพาะในเชียงใหม่ จากการสัมภาษณ์ การลุกขึ้นมาค้านรัฐประหารนั้น เหตุผลจริงๆ ถ้าจริงนะคะ แกนนำว่าเช่นนั้น ว่าไม่ใช่เพราะทักษิณ แต่เป็นเรื่องของการประกาศกฎอัยการศึกในเชียงใหม่ทำให้เศรษฐกิจท่องเที่ยวตกต่ำ และเมื่อกลุ่มแกนนำเขาไปประท้วงกัน ทหารก็จับไปขังในคุก นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้ก่อให้เกิดขบวนการต่อเนื่องตามมา

คือมันมีเหตุผลมากมายของผู้คนซึ่งเข้ามาร่วมกับขบวนการนี้ ความหลากหลายนี้มันจึงน่าสนใจถ้าเทียบกับขบวนการเคลื่อนไหวของขบวนการสังคมในยุคก่อนๆ ขบวนการชาวนาชาวไร่ ประเด็นคือค่าเช่านา ขบวนการของสมัชชาคนจน ประเด็นคือค้านโครงการขนาดใหญ่ เสื้อแดงอาจจะเป็นขบวนการแรกละมั้งในประวัติศาสตร์ของการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่มีเหตุผลที่มากมายแต่สามารถที่จะเหลาประเด็นให้เป็นประเด็นเดียวกันได้ในเวลาต่อมา เมื่อมันมีพัฒนาการ

ขบวนการดังกล่าวมีความเป็นเอกเทศ และรวมตัวกันแบบหลวมๆ พูดง่ายๆ คือว่า ตรงกันข้ามกับคำอธิบายกระแสหลักที่ว่า เป็นขบวนการที่สั่งการมาจากศูนย์กลางที่กรุงเทพฯ “เรียกก็มาม็อบ” เนี่ย เราพบจากการศึกษาว่าขบวนการนี้รวมตัวกันแบบหลวมๆ ไม่มีใครสั่งใครได้ ถ้าเห็นพ้องกันว่าการเคลื่อนไหวเป้าหมาย ณ เวลาหนึ่งๆ มันสำคัญ ก็รวมตัวกัน เป็นขบวนการแบบแนวนอนเชื่อมโยงในรูปแบบเครือข่ายและพึ่งพาตัวเองในแง่ทุน

เราพบว่ากลุ่มที่เรียกว่าเสื้อแดงในระดับอำเภอ ในระดับท้องถิ่น พัฒนายุทธศาสตร์หาทุนอันหลากหลาย  กล่าวคือ สมัชชาคนจนอาจจะได้รับทุนมากมาย และส่วนหนึ่งการระดมทุนก็คงจะมีวิธีการระดมทุนของตัวเอง เอ็นจีโอก็สนับสนุนทุนด้วย แต่ขบวนการของชาวบ้านเสื้อแดง ดิฉันว่าการพึ่งพาตัวเองในแง่ทุน ในการจัดหาทุนค่อนข้างเติบโตและเป็นตัวของตัวเอง

การเติบโตในระดับอำเภอ ในกรณีเชียงใหม่ การเกิดขึ้นของชมรมเสื้อแดงในแต่ละอำเภอ อิทธิพลใหญ่มาจากกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 และ นปช. เสื้อแดง และที่สำคัญก็คือแตกต่างจากขบวนการสังคมในอดีต

เราพบว่าในขณะที่ขบวนการสหพันธ์ชาวไร่ชาวนานั้น กลุ่มคนที่เรียกตัวเองเป็น “นักจัดตั้ง” หลักๆ ก็คือนักศึกษา หรือชนชั้นกลาง ปัญญาชนในเมือง ขบวนการสมัชชาคนจนกลุ่มที่จัดตั้งเป็นขบวนการเอ็นจีโอ ในกรณีของเสื้อแดงเราพบว่าชาวบ้านธรรมดานั้นผันตัวเองขึ้นมาเป็นนักกิจกรรมชนบท ทำงานจัดตั้งกันเอง ทำงานสร้างเครือข่ายกันเอง ซึ่งดิฉันคิดว่าเป็นมิติที่ไม่มีในขบวนการสังคมในอดีตที่ผ่านมา

งานวิจัยยังพบอีกว่า สิ่งที่เรียกว่า อุดมการณ์ทางการเมืองของคนเสื้อแดงนั้น มีการเปลี่ยนผ่าน คือมันไม่ได้เริ่มจากฐานความคิด หรือความเชื่อเดียวกันในตอนแรก

ในตอนแรกเขาอาจจะคิดง่ายๆ ว่า เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่ แต่อุดมการณ์ทางการเมืองมันเปลี่ยนผ่านอย่างน้อย 2 ระลอก คือก่อนและหลังเดือนพฤษภาคม (2553) จริงๆ เปลี่ยนผ่านหลายระลอก ในศัพท์ที่คนเสื้อแดงเรียกว่า “ตาสว่าง” เกิดหลายระลอก แต่ว่าจุดที่เป็นจุดเปลี่ยนผ่านที่สำคัญที่มีผลอย่างยิ่งต่อวิธีคิดของคนเสื้อแดงในการมองความสัมพันธ์ของตนเอง กับสถาบันต่างๆ ในสังคมไทยรวมทั้งสถาบันสูงสุด ดิฉันคิดว่าเหตุการณ์พฤษภาคม 2553 เป็นเงื่อนไขที่สำคัญ

ความเชื่อที่ว่าเสื้อแดงเกิดขึ้นมาเพื่อที่จะเป็นคล้ายๆ กับแขนขาของพรรคไทยรักไทย เพื่อจะทำให้พรรคการเมืองกลับเข้ามามีอำนาจอีกก็ไม่จริงที่เดียวนัก เพราะว่าหลังจากพรรคไทยรักไทยถูกโค่นล้มใหม่ๆ นั้นยังไม่มีปฏิบัติการทางการเมืองใดๆ จนกระทั่งมีรัฐประหารแล้ว และมันเริ่มต้นจากในเมืองก่อนในชนบท มีการก่อตัวของชนชั้นกลางในเมืองที่รวมตัวกันตั้งกลุ่มขึ้นมา และค่อยๆ ขยายลงสู่ชนบท และเครื่องมือหรือกลไกสำคัญที่ใช้ในการขยายตัวของกลุ่มระดับอำเภอก็คือวิทยุชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่อง 92.50 MHz

แต่เรายังพบว่า ในระดับอำเภอนั้น สมาชิกเสื้อแดงก็มีความหลากหลายทางอาชีพมาก “กลุ่มแดงดอยสะเก็ด” (อ.ดอยสะเก็ด) นั้น มีประธานเป็นพ่อค้าในตลาดดอยสะเก็ด แกนนำประกอบไปด้วย ครู นักธุรกิจท้องถิ่น ตำรวจ ทหาร ข้าราชการในอำเภอ เกษตรกร พูดง่ายๆ คือว่าแทบจะเป็นทุกกลุ่มที่เป็นสมาชิกสังกัดสถานะทางสังคมแทบทุกสถานะในสังคม มันไม่ใช่แค่เกษตรกรหรือชาวนารับจ้างอย่างเดียว

กรณีที่ อ.ฝาง (กลุ่มคนรักประชาธิปไตยฝาง-แม่อาย-ไชยปราการ) ก็เช่นเดียวกัน แกนนำมาจากหลายหมู่เหล่า ผู้นำก็เป็นคหบดีท้องถิ่น ที่เป็นประธานกลุ่มในอดีต ปัจจุบันก็เป็นเจ้าของร้านอาหาร และเป็นอดีตสหาย

ที่ อ.สันกำแพง (กลุ่มสันกำแพงรักประชาธิปไตย) กลุ่มหลักก็คือแม่ค้า

ที่พยายามจะบอกอันนี้ ก็คือจะบอกว่ามันเป็น ขบวนการข้ามชนชั้น” (Cross Class) ประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่มีความแตกต่างหลากหลายทางอาชีพและทางสถานะอย่างยิ่ง แต่สามารถที่จะมารวมตัวกันภายใต้อุดมการณ์ร่วมๆ เดียวกันได้

ดิฉันคิดว่า ขบวนการแบบนี้ยังไม่เคยเกิดขึ้นในสังคมไทย พูดง่ายๆ ก็คือว่า คนซึ่งต่างสถานะทางเศรษฐกิจนั้นจะมีอุดมการณ์ทางการเมืองเดียวกันได้อย่างไร

คำถามใหญ่ซึ่งมักจะถูกถามอย่างยิ่ง โดยเฉพาะจากนักรัฐศาสตร์ก็คือว่า เสื้อแดงนั้นสัมพันธ์อย่างไรกับพรรคการเมือง เราพบว่าจริงๆ แล้ว พรรคการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคไทยรักไทยมีบทบาทสำคัญในขบวนการเสื้อแดงนี้แน่ๆ แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือว่าในช่วงการก่อตัวของขบวนการในยุคแรก พรรคการเมืองหรือกระทั่ง นปช. ส่วนกลางมีความระมัดระวังอย่างยิ่ง หรือไม่ค่อยเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว

การเคลื่อนไหวของ นปช. หรือ เสื้อแดง ในระดับท้องถิ่นทำกันเอง พรรคการเมืองไม่ได้สนับสนุน แกนนำให้สัมภาษณ์ด้วยซ้ำไปว่า “จริงๆ อยากให้พรรคการเมืองท้องถิ่นสนับสนุน” แต่หลายส่วนค่อนข้างกลัวเพราะอยู่ในช่วงของการรัฐประหาร

แต่เมื่อมีกิจกรรมขึ้นมาแล้ว พรรคการเมืองจึงเริ่มเข้ามาสัมพันธ์ด้วย แต่ความสัมพันธ์เป็นไปในลักษณะของเครือข่ายพันธมิตร พรรคการเมืองสนับสนุนเรื่องเงินไหม สนุนเวลามีม็อบที่กรุงเทพฯ แต่ว่าทุนส่วนใหญ่ก็เป็นทุนมาจากชาวบ้านระดมกันเอง มันเป็นการคล้ายๆ กับ “เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน” เพราะว่ามีเป้าหมายเดียวกัน แต่เวลาพูดถึงพรรคการเมือง ก็ต้องระบุด้วยว่าเป็นปีกหนึ่งของนักการเมืองในพรรคไทยรักไทย มวลชนที่เข้าร่วมกิจกรรมก็ย่อมเป็นมวลชนที่เลือกพรรคไทยรักไทย หรือเพื่อไทยอยู่แล้วแน่นอน

ประเด็นที่สอง คือ การกลายเป็นแดง” เสื้อแดงไม่ใช่สิ่งที่เป็นอัตลักษณ์ที่อยู่ๆ ก็เป็นกันง่ายๆ ดิฉันมองว่า ในช่วงหลายปีของการเข้าร่วมขบวนการ กระบวนการกลายเป็นแดง มันเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างหลากหลาย จนกระทั่งสร้างอัตลักษณ์ร่วมขึ้นมาได้ ในที่สุดถ้าถามว่า “ความเป็นแดง” คืออะไร ชาวบ้านนิยามในความหมายที่คล้ายๆ กันคือ "ตัวตนใหม่ของพลเมืองเสรีนิยม" ขอใช้คำนี้ก็แล้วกัน

นี่เป็นคำพูดจากแกนนำ นปช. คนหนึ่งใน จ.เชียงใหม่ ก็ชัดเจนว่าในระดับชาวบ้านเองก็พูดชัดว่า สิ่งที่สำคัญที่ชาวบ้านหรือสมาชิกชาวเสื้อแดงพยายามเรียกร้องคือ การเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เรียกว่า “ระบอบ” ทีนี้ระบอบคืออะไรก็เป็นเรื่องซับซ้อนที่คุยกันได้ยาว ชาวบ้านอยากเห็นอะไรในแง่จินตนาการทางการเมือง แต่ว่าที่สำคัญก็คือว่าถ้าระบอบนี้ไม่เปลี่ยน คนเสื้อแดงก็คิดว่า สังคมไม่มีทางเป็นประชาธิปไตยได้

"ผมว่าเรื่องที่เราต่อสู้ช่วงแรกเนี่ย ต้องถือว่าปัญหาเป็นหลักใหญ่ใจความก็คือว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยก็คือ ว่าอำนาจสูงสุดอยู่ที่ปวงชน ฉะนั้นนั่นหมายความว่าสามอำนาจต้องถูกเลือกจากประชาชน...แล้วทุกคนพูดถึง ระบอบ ถึงโครงสร้างตัวนั้นเนี่ย ผมบอกว่าตัวนั้นถ้าไม่ปรับตัวนะ ผมว่าพัฒนาการขับเคลื่อนทางสังคม ผมทายไว้ก่อนเลยนะครับ มิคสัญญีจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยล้านเปอร์เซ็นต์?ตราบใดสังคมนี้ไม่ได้ประชาธิปไตย หนึ่ง โครงสร้างไม่ปรับ สอง ยาก ผมบอกเลย ยาก ที่สังคมจะสงบนะครับ"

 

นี่ก็น่าสนใจจากคำพูดของชาวบ้านที่ฝาง (บ้านสันทรายคองน้อย ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่) ที่บอกว่าการกลายเป็นแดงหรืออัตลักษณ์แดงมันไม่ได้เป็นคล้ายกับสมบัติที่ไปซื้อมาแล้วอยู่ๆ ก็เป็น หรือไปนั่งฟังแล้วกลายเป็นแดง คนนี้เขาเป็นเกษตรกรก็บอกว่าแต่ก่อนก็เป็นเหลือง ถามว่า เหลืองคืออะไร เขาบอกเหลืองเป็นพวกอนุรักษ์ทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า ทำนองนี้ล่ะค่ะ แต่ก่อนก็เป็นอะไรพวกนี้

ทีนี้แดงคืออะไร ชาวบ้านบอกว่าแดงเกิดจากความไม่ยุติธรรม หมายความว่าเวลามีกติกาก็ต้องเคารพกติกา แต่ถ้ารัฐไม่ทำตามสัญญา ก็คือละเมิดข้อสัญญาของเรา มีเลือกตั้งก็ไปล้ม แต่งตั้งมา ไม่มีการเลือก เอาอภิสิทธิ์มาเป็นนายกฯ คือประชาชนไม่ได้เลือกมาแสดงว่าไม่ทำตามกติกา เหมือนหมู่บ้านจะมีผู้นำ ก็ต้องมีการประชุม มีการเลือก มีกติกาแบบนี้ เมื่อรัฐไม่ยอมทำตามกติกา แกก็เลยเริ่มกลายเป็นเสื้อแดง เพราะไม่มีความยุติธรรม ดิฉันเข้าใจว่ามีชาวบ้านจำนวนไม่น้อยกลายเป็นแดงแบบนี้

"แต่ก่อนน่ะเหรอ เมื่อก่อนเป็นสีเหลืองน่ะสิ เมื่อก่อนนี้ก็เป็นเสื้อเหลือง อนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม พวก นี้ ในป่า ในอะไรพวกนี้ แล้วที่นี้เรื่องที่เป็นเสื้อแดงก็หมายถึงว่า ความไม่ยุติธรรม หมายความว่า กติกาคนเราจะต้องมีกติกาใช่ไหม กติกาก็หมายถึงสัญญา แล้วทีนี้ รัฐบาลมันไม่ทำตามสัญญาเราใช่ไหม ไม่ทำตามสัญญา ก็หมายความว่า ไปละเมิดข้อสัญญาเรา ไม่มีการเลือกตั้งขึ้นมา มีการไปแต่งตั้งขึ้นมา ไม่มีการเลือก แต่งตั้งแล้วเอาอภิสิทธิ์เป็นนายก อันนี้คือประชาชนเราไม่ได้เลือกตั้งขึ้นมา อันนี้หมายความว่าไม่ทำตามกติกา เหมือนกับชาวบ้านเราเหมือนกันน่ะ เมื่อมีการประชุม เราก็จะมีการกติกานะ ให้ทำตามแบบนี้ แล้วที่นี้ ทางรัฐบาลไม่ยอมทำตามกติกาเรา ตาก็เลยเริ่ม เออ ความไม่ยุติธรรมเกิดขึ้นมา ก็เลยเป็นเสื้อแดง เป็นเสื้อแดงแบบนี้แหละครับ"

 

สิ่งที่พยายามจะแยกให้เห็นว่า เสื้อแดงหรือ นปช. แม้ว่าจะเป็นพันธมิตรกับพรรคการเมือง คือ พรรคเพื่อไทย แต่ก็ไม่ได้เป็นแขนขา เพราะแกนนำพูดชัด ซึ่งอันนี้สัมภาษณ์ก่อนการเลือกตั้งว่า

"แต่ถ้าสมมติว่าพรรคที่ได้รับเลือกมาเป็นพรรคเพื่อไทย เป็นรัฐบาลนะครับ แล้วทำไม่ดี ทำห่วยยิ่งกว่าพรรคประชาธิปัตย์ เราก็จะจัดการคนของเราเองนะครับ อันนี้ก็จองกฐินไว้ล่วงหน้าเลย กลุ่มของเราชนะแล้วไม่ใช่จะเลิก"

 

ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ภายใต้ระบบเลือกตั้งก็เป็นเช่นนั้นนั้น ถ้าพรรคการเมืองไม่ทำตามนโยบายที่ได้รับปากไว้ ประชาชนก็มีสิทธิที่จะกดดันเรียกร้องให้เปลี่ยนพรรคการเมือง

ก็มีคำสองคำที่พูดในขบวนการเสื้อแดงอยู่มาก คือ สิ่งที่เรียกว่า ความเป็นแดง” กับ “ความเป็นไพร่” ซึ่งเมื่อไปถามคนเสื้อแดงว่า เสื้อแดงคืออะไร ทุกคนก็จะตอบคล้ายกันว่า เสื้อแดงคือ คนที่รักความเป็นธรรม รักประชาธิปไตย เป็นผู้ที่รักความจริง

อันสุดท้ายสำคัญมาก คือชาวบ้านมองสื่อกระแสหลัก และสิ่งที่รัฐพูดนั้นเป็นข้อมูลด้านเดียว เสื้อแดงพยายามเข้ามาเปิดข้อมูลอีกด้านหนึ่งให้โลกรู้ อันนี้เป็นที่มาว่า เหตุใดสื่อเสื้อแดงจึงมีความสำคัญอย่างมาก คือความพยายามเปิดเผยความจริงด้านที่สังคมไทยปิดและไม่ยอมเปิดให้มีการรับรู้ นี่เป็นอุดมการณ์ประชาธิปไตยทางการเมือง

ส่วน “ความเป็นไพร่” สะท้อนความเป็นพลเมืองชั้นสองภายใต้ความสัมพันธ์กับรัฐไทย แต่พอผ่านการเลือกตั้งมาก็ไม่แน่ใจว่า วาทกรรมอันนี้จะเปลี่ยนไปอย่างไร ก่อนการเลือกตั้งวาทกรรมนี้เป็นวาทกรรมใหญ่ คือ เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศแต่เป็นแค่พลเมืองชั้นสอง ไม่ว่าทำอะไรรัฐไม่เคยรับรู้ และพยายามกดทับอยู่ตลอดเวลา

สองอันนี้ (“ความเป็นแดง” และ “ความเป็นไพร่”) เป็นอัตลักษณ์ร่วม ที่ทำให้ ไม่ว่าจะเป็นใครหรือว่าอยู่ชนชั้นไหนก็แล้วแต่ ความเป็นผู้ที่รักความจริง รักประชาธิปไตย เป็นผู้ไม่มีอำนาจทางการเมืองในสังคมไทย มันสร้างอัตลักษณ์ร่วมความเป็นเสื้อแดงขึ้นมา

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ผู้บริหารซีพี เตือนระวังสมองไหลหากค่าจ้างต่ำเกินเพื่อนบ้าน

Posted: 08 Sep 2011 01:51 AM PDT

เว็บไซต์ซีพีเผยแพร่บทความ ดร.อาชว์ เตาลานนท์ รองประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ ชี้ “เงินเดือน” ของ “แรงงานไทย” เป็นเรื่องสำคัญ นับจากนี้จะพิจารณากันแค่ตลาดภายในประเทศไม่ได้ แต่ต้องวิเคราะห์ตลาดของอาเซียนด้วย เนื่องจากในอนาคตการเคลื่อนย้ายแรงงานจะเสรีมากขึ้น


 

รายละเอียดดังนี้

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จะมีผลใช้บังคับในปี ค.ศ. 2015 หรือ พ.ศ. 2558 ผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมความพร้อมเพื่อจะรองรับกับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจใหม่ โดยเฉพาะเรื่องของ "ทุนมนุษย์" (Human capital: HC) ที่ต้องมีคุณสมบัติที่สอดคล้องกับบริบทของการแข่งขันทางการค้าในระบบเศรษฐกิจใหม่ วันนี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง

การที่รัฐบาลมีนโยบายเรื่องค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน และให้ผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีได้รับ เงินเดือนเริ่มต้น 15,000 บาทนั้น มีความเห็นว่าทั้ง 2 เรื่องหลักการต่างกัน

การปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันนั้น เป็นเรื่องความเป็นธรรมในสังคม เพราะในภาวะที่ค่าครองชีพสูงขึ้นทุกวันๆ คนทำงานระดับล่างสุด พอกินพอใช้หรือไม่ เพราะเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นของลูกจ้างที่ต้องจ่ายต่อวันเป็นประเด็นสำคัญ

ซี.พี.ได้ให้ความสำคัญกับเรื่อง “คน” เป็นอย่างมาก นับตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งเป็นช่วงที่ค่าครองชีพเพิ่มสูงมากเป็นประวัติการณ์ ซี.พี.วิตกกังวลด้วยเกรงว่าพนักงานโดยเฉพาะพนักงานที่มีรายได้น้อยจะอยู่ไม่ได้ หรือมีรายได้ไม่พออยู่ไม่พอกิน จึงได้ทำการสำรวจค่าใช้จ่ายของพนักงานเพื่อนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการปรับขึ้นค่าแรงและเงินเดือนให้เป็นกรณีพิเศษ

จะเห็นว่า ซี.พี. ไม่ใช่เพิ่งมาเริ่มตื่นตัวเรื่องการปรับค่าจ้าง ในช่วงรัฐบาลใหม่ แค่คำนึงถึงเรื่องนี้มานาน เพราะซี.พี.มองว่าความสำเร็จของธุรกิจมาจากคน จึงมุ่งเน้นแสวงหาคนดี คนเก่ง มาทำงานแล้วพยายามพัฒนาให้มีก็ความก้าวหน้า แล้วให้ผลตอบแทนที่เป็นธรรมและเหมาะสม

เมื่อรัฐบาลมีนโยบายปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทก็สอดคล้องกับแนวคิดของบริษัทที่ต้องปรับรายได้ของพนักงานให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง

แต่การปรับเพิ่มเงินเดือนบัณฑิตจบใหม่ระดับปริญญาตรีเป็น 15,000 บาทนั้น ไม่เกี่ยวกับเรื่องการพออยู่พอกิน เพราะคนกลุ่มนี้มีรายได้ที่พอรองรับค่าใช้จ่ายพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกลไกตลาดและขีดความสามารถในการแข่งขันของแต่ละสายอาชีพ ดังนั้นหากจะถามว่าบัณฑิตจบใหม่ควรได้รับเงินเดือนเท่าไร มองว่าควรปล่อยให้เป็นเรื่องของอุปสงค์(Demand) อุปทาน(Supply)ในตลาดแรงงาน

โครงสร้างเงินเดือนของแต่ละบริษัทจะแตกต่างกัน บางบริษัทอาจจะเลือกจ่ายเงินในแต่ละตำแหน่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในตลาด เพื่อจูงใจ คนเก่งและคนดีเข้าทำงานกับองค์กร ยิ่งเป็นสาขาที่ตลาดมีความต้องการสูง แต่บัณฑิตที่จบมีน้อย ค่าจ้างก็จะสูง เช่น กลุ่มวิศวฯ ไอที สัตวแพทย์ เป็นต้น

สำหรับซี.พี.นั้นอัตราเงินเดือนสำหรับบัณฑิตจบใหม่ระดับปริญญาตรีมีความแตกต่างกันตามสายวิชาชีพ สายอาชีพที่เป็นที่ต้องการของตลาดก็จะได้รับอัตราเงินเดือนที่สูงกว่าอาชีพอื่น เช่น วิศวกร ไอที ตลาดจะจ่ายสูงกว่าด้าน social science ในเครือซี.พี.เอง ในสายวิศวฯ ไอที ก็จ้างอยู่ในระดับ 18,000-20,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป

“เงินเดือน” ของ “แรงงานไทย” เป็นเรื่องสำคัญ นับจากนี้จะพิจารณากันแค่ตลาดภายในประเทศไม่ได้ แต่ต้องวิเคราะห์ตลาดของอาเซียนด้วย เนื่องจากในอนาคตการเคลื่อนย้ายแรงงานจะเสรีมากขึ้น โดยเฉพาะใน 7 สาขาอาชีพ คือ แพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก สำรวจ บัญชี ทันตแพทย์ ซึ่งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ทำข้อตกลงให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี ดังนั้นถ้าเงินเดือนของไทยต่ำกว่าในประเทศเพื่อนบ้าน ก็จะเกิดภาวะสมองไหลไปในต่างประเทศ เพราะฉะนั้นบุคคลที่อยู่ในวิชาชีพนี้จะได้รับการปรับเงินเดือนโดยอัตโนมัติ เพื่อให้แข่งขันกับต่างประเทศได้

อย่างไรก็ตามในชั่วโมงนี้ บุคคลที่อยู่ในวิชาชีพอื่น ๆ ก็ต้องเตรียมพร้อมเช่นกัน ต้องวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน จะสู้กับคนในสิงคโปร์ มาเลเซียอย่างไร?

สิ่งที่สำคัญคือจะพิจารณาแค่เงินเดือนเพียงประการเดียวไม่ได้ แต่ต้องคำนึงถึงความสามารถของบุคลากรด้วยว่าเป็นอย่างไร สมดุลกับเงินเดือนที่จะได้รับหรือไม่ อย่าเปรียบเทียบกับต่างประเทศเฉพาะตัวเงินว่าจ่ายเงินเดือนกันเท่าไร แต่ต้องมองถึงคุณภาพ และขีดความสามารถของบัณฑิตไทยด้วยว่าแตกต่างจากของต่างประเทศมากน้อยแค่ไหน

ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยต้องพัฒนาขีดความสามารถของ“ทุนมนุษย์”ของเรา ต้องศึกษาว่าจะปรับตัวให้แข่งกับต่างประเทศได้อย่างไร ถ้าบุคลากรของไทยต้องไปทำงานในกลุ่มประเทศอาเซียน ต้องพัฒนาตัวเองในด้านใดบ้าง เช่น ความสามารถด้านภาษา การสื่อสาร การใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องยอมรับว่าคนไทยมีจุดอ่อนโดยเฉพาะด้านภาษาเมื่อเปรียบเทียบกับสิงคโปร์ มาเลเซีย หรือแม้กระทั่งฟิลิปปินส์ก็ยังใช้ภาษาอังกฤษได้ดี ส่วนเวียดนามนั้นก็เป็นประเทศที่มีความกระตือรือล้นในการศึกษาเป็นอย่างมาก

ที่มากกว่านั้น เมื่อเราก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มตัว คนต่างชาติก็จะเข้ามาทำงานในประเทศไทย แล้วคนไทยมีอะไรที่แข่งกับเขาได้บ้าง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเฉพาะภาครัฐต้องมานั่งวิเคราะห์ หารือกันว่า บัณฑิตของไทยควรจะรู้อะไร ควรพัฒนาตัวเองอย่างไร เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องพูดก่อนที่จะบอกว่าบัณฑิตควรได้เงินเดือนเท่าไร

ทั้งนี้เมื่อถึงเวลา เงินเดือน หรือ รายได้ของแรงงานไทยก็จะขยับขึ้นไปตามความต้องการของตลาดแรงงานโดยไม่ต้องมีใครมากำหนดหรือแทรกแซง…

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น