โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ชาวบ้านโป่งอาง เชียงดาว รุกยื่นหนังสือถึง ส.ส.เพื่อไทยจี้รัฐบาลระงับโครงการเขื่อนกั้นแม่น้ำปิง

Posted: 24 Sep 2011 11:00 AM PDT

ชาวบ้านโป่งอางรุกยื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ขอให้จี้ต่อองค์กรหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการอ่างเก็บน้ำแม่น้ำปิงตอนบน หรือเขื่อนกั้นแม่น้ำปิง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ให้ทบทวนและยุติโครงการนั้นโดยทันที

หลังจากเมื่อวันที่ 22 ก.ย.ที่ผ่านมา ชาวบ้านโป่งอางและเครือข่ายลุ่มน้ำในพื้นที่อำเภอเชียงดาว ได้ชุมนุมคัดค้านการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปิง ที่กรมชลประทานและทีมงานศึกษาฯ จัดขึ้น ณ หอประชุมเทศบาลตำบลเชียงดาว และได้ร่วมกันกดดันเคลื่อนไหว จนการจัดเวทีประชุมในครั้งนั้นต้องล่มไปนั้น

ล่าสุด เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2554 ตัวแทนชาวบ้านโป่งอาง หมู่ที่ 5 ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ได้รุกเดินหน้าต่อ โดยเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เพื่อขอให้จี้ต่อองค์กรหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการอ่างเก็บน้ำแม่น้ำปิงตอนบน หรือเขื่อนกั้นแม่น้ำปิง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ให้ทบทวนกระบวนการศึกษา และขอให้ยุติโครงการนั้นโดยทันที

โดยตัวแทนชาวบ้านได้ยืนยันว่า โครงการดังกล่าวนั้นขาดกระบวนการมีส่วนร่วมและการตัดสินใจไม่ได้เกิดขึ้นจากคนในชุมชนอย่างแท้จริง และที่ผ่านมานั้น ขั้นตอน กระบวนการศึกษามีลักษณะเร่งรัดในการดำเนินการ ขาดความละเอียดของการศึกษาความเหมาะสม ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

อีกทั้ง ที่ตั้งโครงการฯ ดังกล่าวอยู่ในเขตพื้นที่ป่าต้นน้ำแม่ปิง ซึ่งถือว่าเป็นขุนน้ำสำคัญไหลหล่อเลี้ยงชุมชนในพื้นที่อำเภอเชียงดาว เชียงใหม่จนถึงที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยา และยังเป็นพื้นที่ป่าของชุมชน ที่ชุมชนได้อาศัย พึ่งพาเป็นแหล่งอาหาร แหล่งสมุนไพร ไม้ใช้สอยของคนในชุมชน ซึ่งหากมีการสร้างเขื่อน จะทำให้ต้นทุนองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมสูญหายไป

และที่สำคัญ การเข้ามาศึกษาฯครั้งนี้ไม่ได้ตรงกับข้อเท็จจริงและสิ่งที่ชุมชนเสนอ ทั้งที่ผ่านเอกสาร และการศึกษาข้อมูล เพราะผลที่ออกมาเป็นรูปแบบของการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ทั้งความสูง พื้นที่รองรับน้ำ ความยาวของตัวเขื่อน ที่สำคัญการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การเข้ามาดำเนินการกระบวนการศึกษา ไม่ได้เปิดโอกาสให้ชุมชนได้รับรู้อย่างทั่วถึงหรือไม่เปิดเผยข้อมูลที่แท้จริง ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจร่วมของคนในชุมชน ซึ่งได้สร้างความวิตกกังวลให้ชุมชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก               

ด้านนายจุลพันธ์ หลังจากรับหนังสือร้องเรียนแล้ว ได้กล่าวว่า ถึงยังไง ตนเองในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่ ก็ต้องฟังเสียงของพี่น้องประชาชน หากถ้าโครงการใดๆ ที่เข้ามาในชุมชน ถ้าผลประโยชน์ไม่ตกกับชาวบ้าน หรือได้ไม่คุ้มเสีย ก็จำเป็นต้องหาทางยับยั้งต่อไป 

“แต่เบื้องต้นขอรับเรื่องนี้ไว้ก่อน แล้วจะขอเวลาศึกษาข้อมูลโครงการนี้เพิ่มเติม และดูว่าชุมชนมีความต้องการหรือมีปัญหาในเรื่องโครงการนี้มากน้อยเพียงใด เพราะโครงการใดๆ ที่ดำเนินการไปนั้น ถ้ามีปัญหา ปัญหามันไม่ได้เกิดขึ้นกับตัวผมหรือว่ารัฐมนตรี แต่มันจะตกกับพี่น้องประชาชนนั่นเอง ซึ่งหากชาวบ้านยืนยันตามแถลงการณ์ แสดงเจตนารมณ์ว่าการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นไปไม่ถูกต้องก็คงต้องมีการทบทวนกระบวนการศึกษากันใหม่”

อย่างไรก็ตาม ตัวแทนชาวบ้าน ได้เสนอขอให้นายจุลพันธ์ หาทางให้มีการยับยั้งการดำเนินการศึกษาและขอให้ยุติโครงการดังกล่าวเสีย  และขอให้รัฐบาลชุดนี้ได้ทบทวนแผนการจัดการลุ่มน้ำทั้ง 25 ลุ่มน้ำ ให้ล้มเลิกแนวคิดการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ แต่ขอให้ทบทวนและหันมาผลักดันแนวคิดการจัดการน้ำโดยชุมชนดูแลกันเอง ซึ่งจะเป็นทางออกในการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนมากกว่า

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อุษาคเนย์เสวนา: นักวิชาการชี้ สตรีก้าวขึ้นสู่อำนาจหลังความรุนแรงมักดำรงตำแหน่งยาวนาน

Posted: 24 Sep 2011 09:59 AM PDT

อุษาคเนย์เสวนา: นักวิชาการชี้ สตรีก้าวขึ้นสู่อำนาจหลังความรุนแรงมักดำรงตำแหน่งยาวนาน

 

วันที่ 23 ก.ย. 2554 โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มธ. ร่วมกับ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ชมรมอุษาคเนย์ที่รัก สมาคมจดหมายเหตุสยาม จัดการเสวนาหัวข้อ "ผู้นำสตรีในอาเซียน/อุษาคเนย์: Female Leadership in Southeast Asia : Aquino-Megawati-Suu Kyi-Yingluck

โดยมีนักวิชาการด้านเอเชียตะวีนเฉียงใต้ศึกษาร่วมเสวนา ประกอบด้วยคริส เบเกอร์ นักวิชาการอิวระ, อัครพงษ์ ค่ำคูณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์, อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มธ, ดุลยภาค ปรีชารัชช โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มธ. และพิเชฐ สายพันธ์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เป็นผู้นำเสนอเรื่องราวของผู้นำสตรีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ โดยมี สุภัตรา ภูมิประภาส นำการเสวนา และชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

 

ผู้นำสตรีในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์ โดย สุภัตรา ภูมิประภาส

สุภัตราเริ่มนำการเสวนาโดยกล่าวว่า ทุกครั้งที่มีปรากฏการณ์ที่ผู้หญิงสักคนก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในสังคม ก็จะเกิดการตื่นตัวถกเถียงถึงความสามารถว่าจะอยู่ได้รานแตค่ไหน สังคมไทยอยู่ในวงจรนี้ เมื่อมีนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก และเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของไทย

อย่างไรก็ตาม สุภัตราตั้งคำถามว่า ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อาจจะมาก่อนกาล โดยให้เหตุผลว่าที่ผ่านมา แม่แต่กลุ่มที่ทำงานเรื่องความเท่าเทียมระหว่างเพศ ซึ่งตลอดเวลาจะเรียกร้องให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับต่างๆ รวมไปถึงการเข้าพบห้วหน้าพรรคการเมืองต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ผู้หญิงได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และแสงความยินดีที่ผู้หญิงได้รับเลือกตั้ง แต่เธอตั้งข้อสังเกตว่ายังไม่เห็นกลุ่มองค์กรที่เคลื่อนไหวเรื่องสิทธิสตรีในเวทีการเมืองเหล่านี้การเรียกร้องให้มีนายกรัฐมนตรีหญิง

“ดิฉันไม่เคยได้ยินว่าพวกนี้เรียกร้องให้มีนายกรัฐมนตรีหญิงหรืออะไร จึงน่าสงสสัยว่เธอจะมาก่อนกาล”

สุภัตรากล่าวว่า ในความเป็นจริงแล้ว การที่ผู้หญิงขึ้นมาเป็นผู้นำถือเป็นเรื่องธรรมดาที่กลุ่มผู้หญิงไม่สนใจ เหมือนเป็นมุมกลับ เช่นเดียวกับกรณีของเมกาวตี อดีตผู้นำของอินโดนีเซีย

“ในประเทศฟิลิปปินส์ หรือพม่า คนก๋ไม่สนใจเรื่องความเป็นหญิงของเธอ แต่สนใจเรื่องกระบวนการต่อสู้ แต่ส่วนใหญ่มาเร็วและมาแรง เลือกตั้งชนะอย่างถล่มทลาย จนหลายฝ่ายตั้งรับไม่ทัน”

สุภัตรากล่าว พร้อมเล่าประวัติศาสตร์ย้อนกลับไปที่ศตวรรษที่ 18 เมื่อนครรัฐปัตตานี มีผู้นำหญิงถึง 4 คนติดต่อกัน

ราจาฮิเจาคือพี่สาวคนโตในบรรดาพี่น้องสี่คน หลังจากพ่อตายและญาตผู้ชายต่างรบกันเพื่อแย่งชิงบัลลังก์ ราจาฮิเจาถูกจับเป็นหุ่นเชิด แต่อาศัยสภาวะที่ถูกประเมินต่ำกว่าความเป็นจริง (Under Estimate) เธอจึงกำจัดคู่แข่งทางการเมืองพร้อมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างแข็งแกร่ง โดยความช่วยเหลือของน้องสาวคนรอง เจ้าหญิงบิรู

ราจาฮิเจา ครองปัตตานีถึง 32 ปี จนสิ้นพระชนม์ ในช่วงนั้นพ่อค้าตะวันตกคือ ปีเตอร์ ฟิลลิส เขียนบันทึกไว้ว่าในยุคของพระนาง เป็นเวลาที่รุ่งโรจน์ที่สุดคืออ่าวปัตตนี

จากนั้น เจ้าหญิงบิรูขึ้นคอรงราชย์ โดยเลือกที่จะรักษาระดับความสัมพันธ์กับประเทศสยามไว้ แต่ก็ไปโน้มน้าวสุลต่านของกลันตันให้มารวมกันเป็นสหพันธรัฐปัตตานี เป็นการทูตแบบสองหน้าและสั่งให้หล่อปืนใหญ่สามกระบอก ซึ่งกระบอกหนึ่งตั้งอยู่ที่หน้ากระทรวงกลาโหม ในปัจจุบัน

“เรื่องราวของสองคนนี้สะท้อนถึงบทบาทของผู้หญิงภายใต้ความนิ่ง และการถูกจับเป็นหุ่นเชิด” สุภัตรากล่าว และเล่าต่อไปว่า ในดินแดนอุษาคเนย์ ยังมีผู้ปกครองรัฐอีกหลายคน เช่น ที่นครอาเจะห์ พ.ศ. 2184 ระตูซาฟีอะห์ เป็นสุลต่านของอาเจะห์ บริหารการค้าให้ผู้ค้าแข่งกันเอง อยู่ในอำนาจ 34 ปี, ระตูกัมมะรัต ผู้นำหญิงคนสุดท้าย ของอาจะห์ ซึ่งปกครองนครอาเจะห์ติดต่อมาครึ่งทศวรรษ กระทั่งมีประกาศิตมาจากนครเมกกะห์ ว่าผู้หญิงไม่สามารถครองเมืองได้

ในประเทศพม่าพระนางสุภลาลัต ซึ่เงป็นนางตัวร้ายในสายตาของม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ซึ่งมองว่าพระองค์มีบทบาทควบคุมพระเจ้าสีป่อ ถ้าหากถามความเห็นจากคนพม่า ก็จะได้มุมมองต่อพระนางสุภยาลัตอีกแบบหนึ่ง คือการเป็นผู้ที่ไม่ยอมจำนวนต่ออำนาจของชาติตะวันตก

 

ผู้นำสตรีในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยคริส เบเกอร์

กล่าวถึงผู้นำสตรีในเอเชียใต้ และเอเชียอุษาคเนย์ โดยระบุว่า สิริมาโว บันดาราไนยเกย์ ของศรีลังกาก้าวขึ้นมาเป็นนายกหลังจากที่สามีถูกสังหาร และดำรงตำแหน่ง 3 สมัย 13 ปี

นายอาลี บุตโต ถูกประหารชีวิต หลังจากนั้นนางเบนาซีร์ บุตโต บุตรสาวขึ้นมาดำรงตำแหน่ง ถูกยิงตายเช่นกัน

ในประเทศอินเดีย ยวาห์ราล เนรูห์ ตายปี 2507 หลังจากนั้น 2 ปี ลูกสาวขึ้นมาเป็นนายกฯ โดยก่อนหน้านั้น มหาตมะ คานธี ถูกยิงตาย

ที่บังคลาเทศ ชีค ฮาซีน่า ดำรงตำแหนงนายกฯ มา 2 สมัย หลังจากบิดาของเธอถูกสังหาร

กาเลดา เซีย เป็นนายกรัฐมนตรีของบังคลาเทศหลังสามีถูกยิงตาย และยังเป็นคู่แข่งทางการเมืองของชีค ฮาซีนา

หลังซูการ์โนถูกโค่นอำนาจโดยรัฐประหาร นางเมกาวตี ขึ้นดำรงตำแหน่งหลังอำนาจทหารในยุคของซูฮาร์โตถูกโค่นลงไป

นางคอราซอน อาควิโน ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีหลังสามีถูกยิงตาย

และเมืองไทย ทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรีที่ถูกรัฐประหาร หลังจากนั้น ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวก้าวขึ้นมาเป็นนายกฯ

คริส เบอเกอร์กล่าวว่า ทั้งหมดนี้คือรูปแบบของผู้หญิง 9 คนที่ขึ้นมาสู่อำนาจในลักษณะเดียวกัน เป็นเบสิกโมเดล คือผู้ชายถูกยิงตาย หรือถูกประหารชีวิต จากนั้นทายาทหญิง อาจจะเป็นภรรยา ลูกสาว หรือน้องสาว ขึ้นสู่ตำแหน่ง และจะอยู่ในอำนาจค่อนข้างนาน มีเพียงคนเดียวที่จบค่อนข้างเร็ว คือนางเมกาวตี ซึ่งแตกต่างจากคนอื่น เพราะว่าต้องใช้เวลานานกว่าจะขึ้นสู่อำนาจ และอยู่ในอำนาจสั้น

คริส เบเกอร์ตั้งข้อสังเกตว่า ไม่มีผู้ชายที่ขึ้นมาในลักษณะเดียวกัน ไม่มีลูกชายของหัวหน้าประเทศเก่า ขึ้นมาเป็นนายกหรือประธานาธิบดีนอกจากว่าแม่ของเขาดำรงตำแหน่งคั่นกลาง เช่น กรณีของนายราจีฟ คานธีซึ่งขึ้นดำรงตำแหน่งต่อจากแม่ แต่ไม่มีลูกชายขึ้นสู่อำนาจตามพ่อ ซึ่งเขาเห็นว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจ

“สถานการณ์แบบนี้เราเห็นจากประเทศในเอเชียที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียมากกว่าจีน เพราะเราไม่พบรูปแบบนี้ในจีน ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม หรือสิงคโปร์”

คริส เบเกอร์ตั้งข้อสังเกตต่อไปว่า สำหรับกรณีกัมพูชาก็เป็นเรื่องน่าจับตามอง เพราะฮุนเซน มีบุตรสาวถึง 3 คน

ขณะที่หากมองไปที่การเมืองระดับรัฐในประเทศอินเดีย จะพบว่า มีผู้หญิงที่ก้าวขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีของรัฐต่างๆ ถึง 7 คน

คริส เบเกอร์เสนอทฤษฎีว่า รูปแบบของการขึ้นสู่อำนาจของผู้หญิงคือ ผู้ชายในครอบครัวเป็นผู้ดำรงอำนาจอยู่ก่อน จากนั้นเกิดเหตุรุนแรงขึ้น และผู้หญิงจึงก้าวขึ้นมาเป็นผู้สืบทอด

ในอีกแง่หนึ่ง เขาเห็นว่า การเปิดโอกาสให้ผู้หญิงขึ้นมาสู่อำนาจได้นั้น ผูกพันกับความเชื่อเรื่อง Goddesses แบบเก่า เช่น พระแม่กาลี

อย่างไรก็ตาม คริส เบเกอร์ มองว่ายิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีปัจจัยการก้าวสูอำนาจต่างจากผู้นำสตรีคนอื่น ๆได้ ผู้ชายที่ถูกโค่นอำนาจนั้นคือพี่ชาย ไม่ใช่พ่อหรือสามี แต่ก็เป็นพี่ชายที่แสดงบทบาทคล้ายพ่อ ประการที่สองคือ พี่ชายคนนี้ยังมีชีวิตอยู่

“ความแตกต่างนี้ต้องพิสูจน์ว่าเขาจะอยูได้นานหรือเปล่าเมื่อเทียบกับผูนำหญิงคนอื่นๆ”

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า วัฒนธรรมอินเดีย ส่งเสริมให้ผู้หญิงก้าวขึ้นมาได้ ขณะที่จีนไม่มีแนวโน้มแบบนั้น และมักมีคำถามว่า ยิ่งลักษณ์จะอยู่นานเท่าไหร่ “บางคนบอก 6 เดือน บางคนบอก 8 ปี แต่ถ้าดูจากผู้นำหญิงที่ขึ้นมาในลักษณะเดียวกันจะอยู่ได้นาน เช่น สิริมาโว 13 ปี อินทิรา คานธี 15 ปี น่าเป็นห่วงนะ คนบางคนคงไม่สบายใจ”

 

นางคอราซอน อากีโน โดยอัครพงษ์ ค่ำคูณ

นางคอราซอน อากีโน ซึ่งเลือกแคมเปญทางการเมืองโดยใช้สีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ คนฟิลิปปินส์ เรียกเธอสั้นๆ ว่าคอรี่ อาคีโน พื้นฐานเป็นลูกคนรวย เป็นลูกวุฒิสมาชิก เป็นผู้หญิง และถูกส่งไปเรียนที่ต่างประเทศ กลับมาเรียนกฎหมายที่ฟิลิปปินส์ แต่เรียนไม่จบ เนื่องจากพ่อจับแต่งงาน กับเบนิญโน อาคีโน เป็นแม่บ้าน มีลูก 4 คน มีคำพูดล้อเลียนว่าเธอเป็นแค่หญิงเสริฟน้ำชาตอนที่สามีคุยงานการเมือง

ปี 1980 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการกวาดล้างคอมมิวนิสต์ และสามีจะถูกประหารชีวิตในสมัยของมาร์กอส แต่สหรัฐอเมริกาขอให้ปล่อยสามีของเธอ เธอและครอบครัวจึงได้ลี้ภัยไปอเมริกาทั้งครอบครัว หลังจากพำนักที่อเมริกา 3 ปี สามีของเธอจึงเดินทางกลับฟิลิปปินส์ 1983 และถูกยิงตายทันที เธอบินกลับมะนิลา 3 วันหลังจากนั้น และเมื่อผ่านกระบวนการสอบสวนตามคำเรียกร้องของสหรัฐอเมริกา (ในชีวประวัติเธอเขียนว่า ช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุดคือช่วงที่อยู่ที่บอสตัน) ศาลตัดสินปล่อยตัวผู้ต้องหายิงสามีของเธอ เป็นจุดเริ่มต้นที่คอรี่ อากีโนเริ่มเรียกร้องความยุติธรรมให้กับสามี โดยมีพระคาดินัลสนับสนุนและสร้างความเชื่อว่าเธอคือตัวแทนของพระนางแมรี่ ซึ่งจะมาจัดการกับซาตานคือระธานาธิบดีมาร์กอส

อัครพงษ์กล่าวว่า อากีโน หรือผู้นำหญิงในเอเชียนตะวีนออกเฉียงใต้ขึ้นมาได้ส่วนมาเป็นผู้รับความทุกข์ทรมาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิวัติรัฐประหาร ผู้หญิงจึงอยู่ใรคราบของนารีขี่ม้าขาวนั่นเอง

อากีโน ก็ขึ้นมาด้วยลักษณะนี้ โดยเธอใช้สัญลักษณ์สีเหลือง สามีตายปี 2526 มือปืนถูกปล่อยปี 2528 ทำการรณรงค์ทางการเมืองปี 2529 มีกาเรลือกตั้งปี 2529 ถือเป็นสามปีที่ทำงานหนักมาก ขณะเดียวกันมาร์คอสเป็นที่ชื่นชอบของคนจำนวนมาก เช่นเดียวกับอาคีโน ต่างสาดโคลนใส่กัน แต่ก็มีคนปรามาสเธอว่าเธอไม่มีประสบการณ์ทางการเมือง ด้วยความที่เธอเป็นคุณหนู เธอก็ยอมรับและว่า เธอบริหารได้ เพราะเธอไม่มีประสบการณ์ในการโกง คอรัปชั่น พูดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว เมื่อเธอขึ้นสู่อำนาจเดือน ก.พ. 2529 เธอก็ก้าวขึ้นมาในวันเดียวกับที่มาร์คอสเดินทางออกนอกประเทศ

แต่รัฐมนตรีของเธอไม่มีผู้หญิงเลย มีแต่ผู้ชาย โดยผู้ชายในคณะรัฐมนตรีของเธอเองซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเปิดเผยในภายหลังว่ายอมให้นางอากีโนเป็นผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเพราะว่าพระคาดินัลมาขอร้อง “หญิงถูกใช้ในแง่นี้เพราะเป็นเครื่องหมายของความดีงาม”

อัครพงษ์กล่าวว่าในระยะเวลา 6 ปีที่เธออยู่ในอำนาจ มีปัญหาหลากหลายมาก คนฟิลิปปินส์ ก็รู้สึกธรรมดากับเธอ ขณะที่ประเทศตะวันตกกลับใหความสนใจเธอมาก “คนในคิดแบบหนึ่งคนนอกคิดอีกแบบหนึ่ง” อัครพงษ์กล่าว และอธิบายต่อไปว่า

หากถ้าอ่านวารสารวิชาการ จะพบว่าคนที่ได้อำนาจในยุคของนางอากีโนก็คืออำนาจเก่าที่ถูกกีดกันออกจากอำนาจในช่วงของมาร์คอส เสียงจากรากหญ้ามองว่าอาคีโนมาบรรเทาความเจ็บปวดรวดร้าวในยุคของความไม่เป็นประชาธิปไตยของมาร์คอส แต่เธอไม่ได้ทำอะไรจริงจังนอกจากวางรากฐานให้กับผู้ชายคนต่อมาคือฟิเดล รามอส แต่เมื่อเธอลงจากอำนาจก็ยังออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง เมื่อเธอตายปี 2009 คนพูดเธอในนามของแม่ของแผ่นดิน

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า นางอากีโน เป็นแค่ตัวเปลี่ยนผ่น เป็นชนชั้นนำ (Elite) ลูกครึ่งจีนฮกเกี้ยน ขึ้นมาสู้ตำแหน่งโดยเกี๊ยเซี้ยเป็นหลัก แม้ว่าจะเป็นความหวังของประชาธิปไตยเป็นความหวังของคนรากหญ้า แต่เมื่อมาเป็นประธานาธิบดีจริงๆ แล้วก็ทำอะไรได้มากเท่าไหร่ ต้องประนีประนอม “และผมคิดว่านายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของเรา ที่สุดเธอก็ต้องเกี๊ยเซี๊ย เพราะฉะนั้นก็อย่าไปไว้ใจทาง อย่าไปวางใจนารี”

 

เมกาวตี ซูการ์โนบุตรี โดยอรอนงค์ ทิพย์พิมล

อรอนงค์ กล่าวว่า นางเมกาวตีไม่แต่งกายด้วยชุดสากล ทรงผมแบบชวาดั้งเดิม มักจะออกงานด้วยชุดสีแดงเพราะเป็นสีประจำพรรค

คนอินโดเรียกเธอว่า อิบูเมกา อิบูความหมายหนึ่งคือแม่ อีกความหมายหนึ่งเรียกนำหน้าผู้หญิงและสถานะความเป็นแม่บ้านเป็นภาพที่เธอต้งการนำเสนอ และโลกรู้จักเธอเมื่อเธอก้าวเข้ามเป็นประธานาธิบดีคนที่ 5 เธอเป็นลูกของเมียที่ 3 และเป็นผู้นรำของพรรค PDIP รูปสัตว์ประจำพรรคคือรูปกระทิงแดง

นางเมกาวตีเรียนมหาวิทยาลัยสองครั้ง ครั้งแรกไม่จบเพราะว่าพ่อถูกรัฐประหาร ครั้งที่ 2 แต่งงานเสียก่อน และเมื่อเธอขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี สิ่งที่กลุ่มผู้หญิงทำต่อเธอคือ ขุดคุ้ยชีวิต ว่เธอผ่านการแต่งงานสามครั้ง สามีคนแรกเป็นนักบิน สามีคนที่สองคือนักการทูตชาวอิยิปต์ และคนที่สามเป็นคู่ชีวิตจนถึงปัจจุบันซึ่งดำรงตำแหน่งประธานสภาที่ปรึกษาประชาชนในปัจจุบัน

เธอเคยแอคทีฟในขบวนการนักศึกษาในอินโดนีเซียมาก่อน เข้าสู่อาชีพนักการเมืองเมื่อาอยุ 39 ปี และเข้าไปเป็นส.ส. โดยใช้เวลาแคมเปญแค่ปีเดียว และได้รับการเลือกเป็นหัวหน้าพรรคพีดีไอปี 1993 โดยที่ซูฮาร์โตไม่พอใจมาก ทำให้มีการเลือกตั้งอีกครั้งโดยที่ซูจาดี ได้รับการเลือกเป็นหัวหน้าพรรค ขณะที่เมกาวตีและผู้สนับสนุนของเธอไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งตำแหน่งผู้นำพรรคครั้งนั้น และส่งผลเป็นความรุนแรง เธอไม่ยอมหนีจากวงการการเมือง และยิ่งได้รับควาเมห็นใจและโดดเด่นมากขึ้นในเวทีการเมืองของอินโ และหลังจากนั้นพรรคพีดีไอ จึงแตกเป็นสองส่วน

เมื่อซูร์ฮาร์โตถูกโค่นลงไปในปี 1998 ก็มีเสรีในการตั้งพรรคการเมือง จึงตั้งพรรคใหม่เป็นพรรค PDIP

ปี 1999 เธอไดรับคะแนนเลือกตั้งเป็นอันดับ คือหนึ่งประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง แต่ขณะนั้นมีการต่อต้านจากผู้นำศาสนาสายเคร่งครัดซึ่งให้เหตุผลว่าผู้หญิงไม่ควรเป็นผู้นำประเทศ และสุดท้าย เธอแพ้โหวตให้อับดุลเราะห์มาน วาฮิด ไปในที่สุด

ปี 2001 สภาที่ปรึกษาประชาชนถอดถอนวาฮิดออกจากตำแหน่ง และลงมติให้นางเมกาวตีดำรงตำแห่งแทน เหตุผลที่ถอดถอนายวาฮิดมาจากการดำเนินนโยบายแข็งกร้าว โดยเฉพาะต่อทหาร โดยที่เมกาวตีดำรงตำแหน่งมาจนครบวาระ และในปีที่เธอขึ้นมาดำรงตำแหน่ง ก็เป็นปีครบรอบ 100 ปีประธานาธิบดีซูร์การ์โน พ่อของเธอ ซึ่งเป็นผู้ประกาศเอกราชและได้รับการยกย่องในฐานะบิดาแห่งชาติ ยิ่งทำให้ภาพของเมกาวตีเด่นชัดมากขึ้น

นางเมกาวตีลงเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2004 แต่ปีนี้เป็นปีแรกการเลือกตั้งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน เธอแพ้ให้กับซุซิโล บัมบัง ยุดโยโน

ในด้านภาพลักษณ์นั้น เมกาวตี เป็นคนที่ได้รับเสียงสนับสนุนอย่างรุนแรงพอๆ กับเสียงคัดค้าน ภาพลักษณ์แม่หรือแม่บ้านเป็นสิ่งที่เธอภูมิใจนำเสนอ เป็นการตอกกลับระเบียบใหม่ เพราะว่าระเบียบใหม่พยายามให้ผู้หญิงเป็นแม่บ้าน เธอจะมีลักษณะที่ดูอบอุ่น เหมือนแม่ เป็นคนที่พูดน้อย เงียบมากและถูกค่อนขอดว่าการอ่านร่างแถลงการณ์เพราะมีคนเขียนให้ ถ้าถามนอกสคริปต์ก็ตอบไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ในประเทศอินโดนีเซียมีสุภาษิตว่า “นิ่งคือทอง”

“เมกาวตีอาจจะเป็นประธานาธิบดีคนแรกและคนเดียวที่ถูกสื่อจวกอย่างสาดเสียเทเสีย เพราะมีเสรีภาพมาก เช่น ปากเหม็นน้ำมัน หมายถึงคอร์รัปชั่น หรือความสามารถแค่นี้เป็นได้แค่นายอำเภอ แต่ยิ่งถูกเหยียดหยามมากๆ เธอก็ยิ่งโดเด่นเพราะไม่ตอบโต้เลย” อรอนงค์กล่าว

ความท้าทายอย่างยิ่งของเมกาวตีคือ ทหารซึ่งให้ความสนับสนุนเธอมากกว่าวาฮิด , ปัญหาขบวนการแบ่งแยกดินแดน การที่เธอมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทหาร ทหารจึงดำเนินการอย่างรุนแรงที่อาเจะห์และอิเรียนจายา, ปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่เงป็นปัญหาที่โค่นซูฮาร์โตลงไป และบรรยากาศการเรียกร้องการปฏิรูปประเทศซึ่งเป็นสิ่งที่ต่อเนื่องจากการที่นักศึกษาและประชาชนเรียกร้องต่อซูฮาร์โตให้ปฏิรูปประเทศทุกด้านและการลดบทบาททหาร แต่ปรากฏว่าบทบาทของเธอขัดกันเอง คือเธอต้องประนีประนอมกับทหารอย่างมาก

“ถ้าจะมองว่าเมกาวตีเป็นลุกไม้หล่นไกลต้น คือ พ่อเธอชนกับทหารอย่างรุนแรง อีกเรื่องคือ มีความสัมพันธ์ที่ดีอย่างยิ่งของอเมริกาและชาติตะวันตก หลังเหตุการณ์ 9-11 เป็นประเทศแรกที่ประกาศจะจัดการกับผู้ก่อการร้าย”

“อนาคตการเมืองของเมกาวตีเหมือนไม่ตาย เธอคิดจะลงชิงตำแหน่งปธน. อีกครั้งปี 2014 ซึ่งหลายคนคาดการณ์ว่าเธออาจจะมาได้อีกครั้ง เพราะไม่มีผู้ชายเหมาะสม และขณะนี้ยุดโยโนไม่สามารถจัดการปัญหาการศึกษา และตามรัฐธรรนูญของอินโดนีเซียแล้ว ประธานาธิบดีสามารถดำรงตำแหน่งได้แค่สองสมัย และถ้าจะส่งใครมาลงก็ตามคนจะเลือกก็อาจจะไม่เลือกแล้วพราะดีแต่พูด ทำไม่ได้จริง” อรอนงค์กล่าวในที่สุด

 

อองซาน ซูจี โดย ดุลยภาค ปรีชารัชช

อองซานซูจีไม่เหมือนอาโรโย หรือเมกาวตี เธอชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย แต่ประวัติศาสตร์ก็เล่นตลก ทำให้เธอไม่ได้รับตำแหน่งในการเป็นผู้นำพม่า เพราะรัฐบาลทหารพม่าล้มกระดาน และปลายปีที่แล้วก็ถอดเครื่องแบบทหารใส่ชุดพลเรือนเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่เธอเหนือกว่าคนอื่นคือเธอเป็นผู้นำสตรีคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล และต้องส่งลูกชายไปรับแทน

สิ่งที่ต้องมองให้ออกว่าเพราะอะไรเธอจึงไม่มีโอกาสได้ก้าวมาเป็นผู้นำพม่า และเพราะอะไรจึงพ่ายแพ้ทางยุทธศาสตร์ที่ต้องตกเป็นหมากของรัฐบาลทหารพม่า

ชีวประวัติอองซาน

เกิดเมื่อประมาณ 1945 ปลายสงครามโลกครั้งที่ 2เป็นบุตรสาวของบิดาผู้กู้เอกราชพม่า คือนายพลอองซาน และถูกฆ่าตายตอนเธออายุ 2 ปี และได้รับการถ่ายทอดเรื่องราวของบิดาจากมารดา จากคนรอบข้างและะชนชั้นนำทหารระดับสูงเป็นต้นแบบให้อองซานได้คลุกคลีและเรียนรู้

เมื่ออายุ 16 ปี ดอว์ ขิ่น ยี มารดาได้รับแต่งตั้งเป็นอัครราชทูตพม่า ที่เดลี เธอจึงได้ไปรับการศึกษาที่สถาบันการศึกษาชั้นเยี่ยมที่นั่น และมีโอกาสพูดคุยกับมหาตมะ คานธี ยวาหราล เนห์รู ประสบการณ์ที่ดีในอินเดียทำให้เธอได้รับแบบอย่างที่ดีคือหลักสัตยาเคราะห์ คือการเรียกร้อง การเคลื่อนไหวทางกาเรมืองโดยไม่ใช้กำลังแม้จะถูกจับกุม กักขังบริเวณในเวลาต่อมา เธอก็ยืนหยัดได้

หลังจากนั้นเธอจบจากออกซ์ฟอร์ดสาขาปรัชาเศรษฐศาสตร์และการเมือง และทำงานที่มหาวิทยาลัยลอนดอน และย้ายไปประจำกองเลขาธิการสหประชาชาติ โดยที่อูถั่นทำหน้าที่เป็นเลขาธิการ เธอได้เรียนรู้เทคนิคการพูดต่อหน้าชุมชน มีประสบการณ์การพีอาร์กับต่างประเทศ เทคนิคเหล่านี้ทำให้เธอแตกต่างและเหนือชั้นกว่าผู้นำพม่าคนอื่นๆ รุ่นเดียวกัน ทและมีวิสัยทัศน์ที่กวางไกล

เมื่อกลับมายังประเทศพม่าปี 1988 เธอรู้จักการใช้วาทศิลป์ การเข้าถึงฝูงชน เป็นทักษะที่ผู้นำทหารพม่าไม่คาดคิดมาก่อน

ผู้ชายสองคนในชีวิต

บิดาและสามี เป็นผู้ชายสองคนที่ให้คุณและให้โทษต่อภาพลักษณ์ต่อยุทธศาสตร์และยุทธวิธีแตกต่างกันไป กรณีของอองซาน ซึ่งไม่ได้เป็นบิดาแห่งการเรียกร้องเอกราชของพม่าเพียงอย่างเดียว แต่เขาคือผู้ก่อตั้งกองทัพพม่า (ทัดมาดอว์) ประสบความสำเรจในการขับไล่กองทัพญี่ปุ่น ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับเนวินและทหารระดับสูง แต่สิ่งสำคัญคือ เมื่ออองซานซูจีกลับมาเยี่ยมมารดาที่เจ็บป่วย ก็เกิดอุบัติเหตุทางประวัติศาสตร์ทำให้เธอไปโลดแล่นในการเมืองพม่า แต่สิ่งเธอใช้คือการใช้ภาพของนายพลอองซาน และบุคลิกการพูดจาก็จับใจชาวพม่ามาก และบอกว่าเธอเหมือนพ่อไม่มีผิด และสิ่งที่ทหารมองเห็นคืออองซานกำลังจะแยกนายพลอองซานออกจากอ้อมกอดของกองทัพพม่า เพราะว่าบทบาทของทหารจะพบว่ามีการสร้างอนึสาวรีย์ให้กับนายพลอองซานพอสมควร แต่เมื่อดอว์อองซานเข้ามาคือการแยกนายพลอองซานออกไปจากกองทัพพม่า จึงต้องแย่งชิงกลับมา แต่เมื่อแยกไม่ได้ ก็กักบริเวณ และลบภาพของนายพลอองซานออกจากความทรงจำของพม่าเสีย และปัจจุบันไม่เห็นแล้ว ยอนกลับไปหายุคราชวงศ์พม่า

ประเด็นต่อมา การที่จะเข้าใจอองซานคือเขตอิทธิพลของพม่า ที่ผ่านมาสังคมพม่านับถือนัต หรือผี เทวดาชั้นสูง และมีผีผู้หญิงด้วย แสดงว่าผู้หญิงก็ได้รับความนับถือ แต่พื้นที่ให้ซูจีไดหยัดยืนกลับไม่มีในสังคมพม่า เพราะฐานการเคลื่อนไหวอยู่ที่นอกสังคมพม่าทั้งหมด และปัจจุบันแม่แต่ในสังคมไทยก็ไม่มีบทบาทเพราะนโยบายรัฐไทยต่อพม่าเปลี่ยน ความเปลี่ยนแปลงนี้รวมถึงท่าทีจากประเทศอินเดียด้วย

อนาคตของอองซานจะเป็นเช่นไร

ปัจจุบันนายพลเตงเส่งเป็นนายกรัฐมนตรีและดูเหมือนว่าจะสานสัมพันธ์กับซูจี หากแต่คลื่นใต้น้ำไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะตอนนี้มีการประลองกำลังแล้วโดยทหารอีกกลุ่มที่เป็นอนุรักษ์นิยมเห็นตรงกันข้าม ถ้ามีกำลังยึดอำนาจคืนอีก ภาพอองซานซูจีในอนาคตจะลดน้อยลงอย่างน่าใจหาย

สุดท้าย การเมืองมีสามเส้า คือกองทัพ ซูจี และกลุ่มชาติพันธุ์ สิ่งที่ซูจีจะทำได้ก็คือการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มชาติพันธืเพื่อให้ฐานทางการเมืองของเธอเข้มแข็งขึ้น แต่ปัญหาคือเมื่อถามความเห็นจากกลุ่มชาติพันธุ์แน่นอนว่าคำตอบก็คือ “พม่าก็คือพม่า”( Burmese is Burmese )

 

เพศสภาวะ โดย พิเชฐ สายพันธ์

เส้นทางการเมือง ประเด็นที่สำคัญประการหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้คือวิกฤตที่เกิดขึ้นก่อนทำให้เกิดสถานภาพผู้นำสตรี สิ่งที่สำคัญคือผู้นำสตรีเหล่านี้ผ่านการเลือกตั้งด้วยกระบวนการประชาธิปไตย ผู้นำสตรีกลุ่มนี้เป้นภาพสะท้อนที่สำคัญของกระบวนการประชาธิปไตยในเอเชีย และเกิดขึ้นเพราะความผูกพันทางครอบครัว นี่เป็นพื้นฐานที่สำคัญ เราไม่พบว่าผู้นำสตรีเหล่านี้ไม่ได้มาจากความผูกพันทางครอบครัวกับอดีตผู้นำทางการเมืองที่เป็นผู้ชาย ความผูกพันเกิดขึ้นในฐานะที่ผู้นำสตรีเหบล่านี้เป็นเมีย แม่ น้องสาว เป็นระบบวงศ์วานว่านเครือ

ประด็นต่อมาคือพื้นฐานทางสังคม ทั้งหมดล้วนแล้วแต่มาจากกลุ่มคนที่มีสถานภาพที่มีสถานภาพเป็นชนชั้นสูงทั้งนั้นไม่มีลูกสาวชาวนา ไม่มีเมียพ่อค้าตามตลาด ล้วนมาจากตระกูลผู้นำทางสังคมทั้งนั้น

ประเด็นที่อยากชี้ให้เห็นคือ เราพูดถึงสิ่งที่บอกว่าลักษณะทางสังคมที่ค่อนข้างหลากหลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือศาสนา ขอให้สังเกตว่าทุกบริบทสังคมไม่ได้อยู่ในบริบทศาสนาแบบเดียวกัน ศาสนาอิสลามกลับเป็นแรงกดดันหรือเป็นแรงต้านต่อการขึ้นมาสู่ความเป็นผู้นำของสตรี ในพม่า พุทธศาสนาเป็นองค์กรสำคัญในการสนับสนุนบทบาทของอองซานซูจี ส่วนประเทศไทยนั้น พุทธศาสนาไม่มีพลัง นี่เป็นแง่มุมที่เห็นว่าหลายอย่างเราต่างกัน

พื้นฐานทางสังคม โครงสร้างทางสถาบันหลายอย่างของเราต่างกัน ประเด็นที่เหมืนกัน คือ ระบบครอบครัว เครือญาติ วงศ์วาน

ในท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่นล้วนปกครองด้วยผู้นำสตรี และผู้นำสตรีท้องถิ่นมีมากก่อนการสถาปนาเป็นบ้านเมืองหรือาอณาจักร

กรณีปัตตานี ในศตวรรษที่ 17 สะท้อนถึงวัฒนธรรมมลาโยโพลินีเชียน ที่ให้ความสำคัญกับสายตระกูลของมารดา

เรารับวัฒนธรรมศาสนาจากอินเดียและวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่จากจีน อทธิพลการสืบตระหูลจากมารดา คงทิ้งรองรอยให้เห็นเพียงบทบาทของการตั้งถิ่นฐานอยู่ในกลุ่มที่อยู่อาศัยของฝ่ายมารดา

ผู้หญิงที่เข้ามาในสถานการณ์วิกฤต สามารถดึงควาเมป็นหญิงมาแก้ไขสถานการณ์นี้ได้ เหมือนการดูแลปกป้องครอบครัวของตัวเอง ที่สำคัญอีกประการคือ ความบริสุทธิ์ เราจะพบว่าความตั้งใจจริงของการที่ผู้นำสตรีเหล่นี้ขึ้นมาจะเกิดจากเหตุการณ์วิกฤตก่อน สะท้อนความสกปรก อธรรม ไม่ชอบธรรมทางสังคม ผู้หญิงจึงเปนตัวแทนของคามบริสุทธิ์ที่เข้ามาเพื่อชำระล้างความสกปรกจากกระบวนการทางการเมืองที่เกิดจากบทบาทชายเป็นใหญ่ ซึ่งถูกควบคุมโดยกองกำลังทหารในหลายๆ ประเทศ

เราพบว่าผู้นำสตรีเหล่นี้ขึ้นมาเพื่อประนีประนอมต่อรองสนทนากับอำนาจฝ่ายทหาร

“ในอนาคตในกรณีของประเทศไทย ผมคิดว่าเธอมาเหมาะกับสถานการณ์แล้วและเป็นเวลาของเธอ และอย่าลืมว่าเธอเหล่านี้เมื่อก้าวขึ้นมาแล้วมีบทบาทในการทรานฟอร์มสังคม มีบทบาทในการปรับเปลี่ยนฟิ้นฟูประชาธปิไตย สร้างความชอบธรรมทางการเมือง”

 

ถาม-ตอบ

ยิ่งลักษณ์จะอยูรอดหรือไม่ ถ้ารอด เธอจะอยูได้กี่เดือนหรือกี่ปี

คริส เบเกอร์ : ผู้นำหญิงเกือบทุกคนเมื่อขึ้นสู่อำนาจมาใหม่ คนทั่วๆ ไปจะบอกว่าจะอยู่ไม่นาน ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือที่อินเดีย ผู้ใหญ่ในพรรคการเมือง ตกลงไม่ได้ว่าใครน่าจะขึ้นมาเป็นผู้ผนำก็เสนอชื่อนางอินทิรา คานธี แต่ต่อจากนั้นเขาอยู่ 15 ปี และเป็นผู้หญิงที่มีอำนาจมาก

ผมคิดว่าน่าจะมีหลายปัจจัยที่เรามองไม่เห็น แต่ถ้าถามผมผมคิดว่าจะอยู่นาน นานเท่าไหร่ผมไม่ทราบแต่น่าจะนานหลายปี

พิเชฐ สายพันธ์ : ถ้าดูจากโมเดลผู้นำสตรีในภูมิภาคเอเชีย ก็จะพบว่าอยู่นาน กรณียิ่งลักษณ์ ตอนนี้ไม่มีความเสuยหาย โอกาสที่จะอยู่ได้นานก็มีมาก และถ้าสามารถรักษาตัวได้ระยะหนึ่ง ภาวะการเป็นนักการเมืองมืออาชีพของยิ่งลบักษณ์จะยาวนานมากกว่านี้อีก

อรอนงค์ ทิพย์พิมล : อินโดนีเซียไม่มีสถาบันบางสถาบันที่ให้ทหารใช้อ้างในการยึดอำนาจ แต่กรณีของไทยมีทหารที่พร้อมจะยึดอำนาจ

สุภัตรา ภูมิประภาส : กรณีของยิ่งลักษณ์ จากประวัติศาสตร์การเมืองสมัยใหม่ในภูมิภาคนี้ ทุกคนอยู่ครบเทอม และไม่มีใครถูกรัฐประหารออกเลย แม้จะอยู่ท่ามกลางเสือสิงห์กระทิงแรด และถ้าดูจากยิ่งลักษณ์ตอนนี้ ก็ยังรักษาตัวได้ดี และถ้ายังรักษาได้แบบนี้ก็น่าจะอยู่ไปอีกนาน

ปัจจัยอะไรที่จะทำให้ยิ่งลักษณ์ออกจากการเมืองก่อนกำหนด

ดุลยภาค : ต้องเข้าใจเส้นบางๆ ระหว่างกองทัพกับพลเรือน ที่ผ่านมาให้ความสำคัญกับอิศรวินขี่ม้าขาว มาวันนี้เป็นนารีขี่ม้าขาว แต่ก็ต้องดูเรื่องโผทหาร สองคือนโยบายต่อเพื่อนบ้าน คือเขาพระวิหาร

อัครพงษ์ : ในฟิลิปปินส์สถาบันที่มีผลอย่างยิ่งคือศาสนา แต่ในกรณีของไทยท่านก็คงทราบดีว่าสถาบันอะไรที่มีผลส่งเสริมสนับสนุน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กลุ่ม "รักพ่อภาคปฏิบัติ" เผยแพร่คลิปทำความสะอาดลบสัญลักษณ์ "No 112"

Posted: 24 Sep 2011 09:00 AM PDT

24 ก.ย. 54 - กลุ่มเฟซบุ๊ค "รักพ่อภาคปฏิบัติ" เผยแพร่คลิปทำความสะอาดลบสัญลักษณ์ "No 112" ตามสถานที่ต่างๆ

ทั้งนี้ในวันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน สมาชิกกลุ่มรักพ่อภาคปฏิบัติ ได้นัดหมายกันร่วมทำกิจกรรมเพื่อแสดงออกซึ่งความจงรักภักดี โดยมีกิจกรรมอาทิ การร่วมรับเสื้อเพื่อใส่ในกิจกรรมปฏิญาณตน และกิจกรรม สวดมนต์ถวายพระพร และปฏิญาณตน เป็นต้น โดยเริ่มกิจกรรมตั้งแต่เวลา 09.00 น. ณ ลานพระราชบิดา โรงพบาบาลศิริราช

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 17 - 23 ก.ย. 2554

Posted: 24 Sep 2011 07:17 AM PDT

 

แรงงานล็อบบี้คลังของบหนุน จูงใจนายจ้างจ่าย 300 ทั่ว ปท.

นโยบายประชานิยมปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท กำลังประสบปัญหา และมีแนวโน้มสูงว่าอาจจะไม่สามารถผลักดันสู่การปฏิบัติได้จริง ตามที่ให้คำมั่นไว้ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งได้เต็ม 100%

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานได้หารือร่วมกับกระทรวงการคลังและกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อหามาตรการสนับสนุนหรือลดภาระให้กับนายจ้างหลังขึ้นค่าแรงเป็นวันละ 300 บาทต้นปีหน้า

"ส่วนกรณีที่ตัวแทนจากนายจ้างไม่เห็นด้วยกับนโยบายรัฐบาลที่จะให้มีการ ปรับขึ้นค่าแรงนั้น ผมยังไม่ได้มีการหารือกับตัวแทนฝ่ายนายจ้างเลย แต่ยืนยันว่าการดำเนินการจะต้องเป็นไปตามระบบไตรภาคี ซึ่งตอนนี้มีแต่ one ภาคีเท่านั้น สำหรับมาตรการด้านการเงินการคลังที่จะมาสนับสนุนจะมีอะไรบ้างต้องไปถาม กระทรวงการคลัง"

ด้านนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า วัตถุประสงค์ของการหารือรัฐบาลต้องการให้ทางกระทรวงการคลังหามาตรการทางด้าน การเงินการคลังมา สนับสนุนผู้ประกอบการที่ปรับขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาทต่อวัน นอกจากการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% เพื่อดูแลต้นทุนแล้ว รัฐบาลจะมีมาตรการทางด้านการคลังมาบรรเทาภาระต้นทุนให้กับนายจ้างด้วย ส่วนกระทรวงอุตสาหกรรมจะคิดแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ทักษะฝีมือแรงงานให้กับลูกจ้างเป็นแพ็กเกจเสริม

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า มาตรการทางด้านการคลังที่มีการหารือกันเป็นเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพการ ผลิตให้กับนายจ้าง และเพิ่มทักษะให้กับลูกจ้าง โดยกระทรวงการคลังจะต้องจัดโครงการ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำหรือ "ซอฟต์โลน" มาปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการที่ปรับขึ้นค่าแรงตามนโยบายรัฐบาล เพื่อนำเงินไปปรับเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่หรือจัดการฝึกอบรมฝีมือให้กับแรง งาน ในส่วนของการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร คงใช้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอีแบงก์) เป็นกลไกหลักในการปล่อยกู้ ส่วนสินเชื่อที่จะนำไปใช้ในการฝึกอบรมจะเป็นหน้าที่ของธนาคารออมสิน โดยรัฐบาลอาจต้องจัดงบประมาณชดเชยดอกเบี้ยให้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของ รัฐที่เข้าร่วมโครงการด้วย

สำหรับการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกจะปรับฐานค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศเพิ่มขึ้น 40% เพราะต้องการขยับฐานค่าจ้างให้ใกล้กับเพดานอัตราค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน 7 จังหวัดนำร่อง คือ กรุงเทพ มหานคร (กทม.) นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม และภูเก็ตนั้น จะได้รับอานิสสงส์จากการปรับฐานค่าจ้าง เพิ่มขึ้น 40% ทำให้ได้รับค่าจ้าง 300 บาทต่อวันไปโดยปริยาย เนื่องจากทั้ง 7 จังหวัดมีอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำสูงสุดใกล้เคียงกับอัตราค่าจ้าง 300 บาทต่อวันอยู่แล้ว

ส่วนระยะสองจะมีการผลักดันให้อีก 70 จังหวัดที่ค่าจ้างขั้นต่ำยังไม่ถึง 300 บาทต่อวัน ขยับขึ้นเป็น 300 บาทต่อวันเท่ากันทุกจังหวัด ซึ่งการดำเนินการทั้ง 2 ระยะจะทำให้ได้ภายในปี 2555 ทั้งนี้ เมื่อมีการปรับค่าจ้างเป็น 300 บาทต่อวันครบทุกจังหวัดแล้ว จะไม่มีการปรับเพิ่มค่าจ้างเป็นเวลา 3 ปี ทำให้การปรับค่าจ้างเป็น 300 บาทต่อวัน มีระยะเวลาสั้นลงกว่าที่ผู้ประกอบการเสนอไว้เป็นขั้นบันได 4 ปี

นายอรรถยุทธ ลียะวณิช กรรมการค่าจ้างกลางฝ่ายนายจ้าง เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ดค่าจ้างกลาง หรือไตรภาคี เมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา ที่ประชุมมีมติให้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับขึ้น ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท อย่างไรก็ตาม ฝ่ายนายจ้างเห็นว่าควรปรับขึ้นค่าจ้างให้เป็นไปตามกรอบการพิจารณา ของคณะกรรมการไตรภาคี โดยเป็นอิสระจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมือง หลักเกณฑ์ในการพิจารณา ได้แก่ความจำเป็นของลูกจ้าง เช่น ค่าครองชีพ คิดเป็น 40% และความสามารถในการจ่ายของนายจ้างอีก 40% อีก 20% พิจารณาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และภาวะเศรษฐกิจของประเทศและของโลก

การปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน ฝ่ายนายจ้างอยากให้ทยอยปรับแบบ ขั้นบันไดภายใน 4 ปี ทั้งนี้ หากจะมีการปรับขึ้นทันที รัฐบาลจะต้องจัดหางบประมาณมาชดเชยในส่วนต่างที่ปรับเพิ่มขึ้นมาให้แก่ ลูกจ้าง โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ธุรกิจสิ่งทอ ท่องเที่ยว ภาคบริการ พนักงานรักษาความปลอดภัย แม่บ้าน ที่มีต้นทุนด้านค่าแรงถึง 80%

ขณะที่นายสุรเดช ชูมณี กรรมการค่าจ้างกลางฝ่ายลูกจ้าง กล่าวว่า ในที่ประชุม นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง ได้ให้แต่ละฝ่ายไปหาแนวทางในการนำร่องปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาทต่อวันใน 7 จังหวัด และนำอัตราที่เพิ่มขึ้น 40% ไปบวกเพิ่มให้กับจังหวัดอื่น ๆ เพื่อปรับฐานค่าจ้างให้สูงขึ้นก่อนดำเนินการให้มีค่าจ้าง ขั้นต่ำ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ทั้งนี้ หากการประชุมครั้งหน้า ที่ประชุมไม่เห็นด้วยกับการนำร่องปรับค่าจ้าง 7 จังหวัด ทางฝ่ายลูกจ้างก็จะเสนอให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างเพิ่มจากฐานเดิม 40% ในทุกจังหวัด

ส่วนนางอำมร เชาวลิต ที่ปรึกษาวิชาการแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ที่ประชุมได้มอบให้ฝ่ายรัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้าง ไปรวบรวมมาตรการเพื่อรองรับการปรับขึ้นค่าจ้างเป็น 300 บาทต่อวัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องมาตรการรองรับของแต่ละฝ่าย โดยให้นำมาเสนอในการประชุม ซึ่งจะมีขึ้นในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า ช่วงต้นเดือนตุลาคมนี้

แหล่งข่าวจากกระทรวงแรงงานเปิดเผยเพิ่มเติมว่า แม้ผลประชุมบอร์ด ค่าจ้างกลางวันที่ 14 ก.ย.ที่ผ่านมาจะยัง ข้อสรุปไม่ได้ จนมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้น่าจะส่อแววล้ม เพราะคณะกรรมการค่าจ้างกลางไม่เห็นด้วย แต่มั่นใจว่าไม่น่าล้ม และจะประสบความสำเร็จในที่สุด

 

(มติชน, 17-9-2554)

 

โพลชี้พนักงานบริการถูกละเมิดสิทธิ

จากการเสวนา ใส่ร้าย-ป้ายสี รัฐไทย...กฎหมาย ...การค้าประเวณี...ในงานเพศวิถีศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 3 นางสุรางค์ จันทร์แย้ม จากมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ เปิดเผยว่า อาสาสมัครพิทักษ์สิทธิได้สำรวจการ ละเมิดสิทธิพนักงานบริการในพื้นที่พัทยาช่วงวันที่ 18-25 พ.ค. ในกลุ่มตัวอย่าง 435 คน พบว่า ร้อยละ 41.8 เคยถูกคนด่าว่า ดูถูกถากถางว่าเป็นคนขายบริการ รองลงมาร้อยละ 34.3 เคยถูกโกงค่าตัว ค่าแรง ร้อยละ 34 ถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์โดยไม่จ่ายค่าตัว นอกจากนี้ ยังมีการทำร้ายร่างกาย บังคับให้มีเพศสัมพันธ์ในแบบ ที่ไม่อยากทำ ยัดเยียดข้อหาที่ไม่ได้ทำ ถูกรีดไถเงิน หลอกไปเซ็กซ์หมู่ ไปแจ้งความแล้วเจ้าหน้าที่รัฐไม่รับแจ้ง ทั้งที่พนักงานบริการส่วนใหญ่ต่างมีเป้าหมายหารายได้เลี้ยงครอบครัว  หากแตกต่างที่อาชีพบริการไม่ได้รับการยอมรับ ประกอบกับกลไกด้านกฎหมายไม่เปิดโอกาสและเอื้ออำนวยให้สิทธิขั้นพื้นฐานของ พนักงานได้รับการคุ้มครองอย่างสมบูรณ์

ตัวแทนอาสาสมัครพิทักษ์สิทธิกล่าวว่า จากการลงพื้นที่พูดคุยกับพนักงานบริการ พบปัญหาที่เกิดกับสาวประเภทสองค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจที่พยายามยัดเยียดข้อหาเพื่อเรียกค่าปรับโดยไม่มี ใบเสร็จ แม้แต่การพกถุงยางก็ถูกจับปรับ หรือหญิง บางคนถูกจับยัดข้อหาเตร็ดเตร่ ค้าประเวณี แต่ยื่นข้อเสนอให้นอนด้วยแลกจับติดคุก คนเหล่านี้ต้องตกอยู่ ในสภาวะจำยอม

รศ.สมชาย ปรีชาศิลปะกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า สถานะของพนักงานบริการถูกสังคมกดให้ต่ำ และยิ่งต่ำลงไปอีกหากเป็นเพศที่สาม และบางครั้งเจ้าหน้าที่รัฐก็ตีความกฎหมายโดยอิงความเชื่อของสังคมมากกว่า ความเข้าใจ.

(ไทยรัฐ, 17-9-2554)

 

ครม.เห็นชอบปรับรายได้ ขรก.ปริญญาตรี 15,000 บาท

ทำเนียบรัฐบาล 20 ก.ย. - ครม.เห็นชอบปรับเพิ่มรายได้ข้าราชการระดับปริญญาตรีเป็นไม่ต่ำกว่า 15,000 บาท/เดือน มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค.55

น.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง ในการแก้ไขระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่ว คราวของข้าราชการ โดยคำนวณบนพื้นฐานการปรับเพิ่มเงินเดือนร้อยละ 5 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2554 เพื่อต้องการให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว พนักงานข้าราชการ และทหารกองประจำการ ได้รับประโยชน์ จำนวน 649,323 อัตรา โดยผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 9,000 บาท ให้ได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง รวมค่าครองชีพ 9,000 บาท/เดือน สอดคล้องกับการให้แรงงานมีรายได้ไม่น้อยกว่า 300 บาท/วัน นอกจากนี้ ให้ปรับเงินเดือน ค่าจ้าง รวมค่าครองชีพสำหรับผู้จบปริญญาตรี มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาท/เดือน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ส่วนรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นให้ไปพิจารณาผลตอบแทนให้สอดคล้องกับการปรับ เพิ่มรายได้ของข้าราชการ

นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม.มอบหมายให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาเพิ่มเติมใน การปรับโครงสร้างเงินเดือนข้าราชการทั้งระบบ เพื่อแก้ไข พ.ร.บ.เงินเดือน และให้ข้าราชการทุกส่วนได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม ยืนยันว่าจะต้องทำให้เสร็จภายใน 4 ปี เพราะการแก้ไขเงินเดือนต้องผ่านสภาฯ โดยพิจารณาเงินเดือนทั้งปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก เงินค่าวิชาชีพ สาขาต่างๆ เนื่องจากที่ประชุมได้ถกเถียงกันว่า ผู้จบการศึกษาระดับ ปวช. ปวส. ทำงานมา 4-5 ปี ได้รับเงินเดือนกว่า 10,000 บาท ขณะที่นักศึกษาจบใหม่ปริญญาตรีเพิ่งเข้ามาทำงานมีรายได้ถึง 15,000 บาท รวมถึงผู้จบปริญญาตรีทำงานมาระยะหนึ่ง มีรายได้ประมาณ 16,000 บาท จะดูแลกลุ่มดังกล่าวอย่างไร จึงหาทางออกด้วยการศึกษาการปรับโครงสร้างเงินเดือนดังกล่าว

(สำนักข่าวไทย, 20-9-2554)

รง.สิ่งทอจ่อย้ายฐานผลิตไปเพื่อนบ้าน

วันนี้ ( 20 ก.ย.) นายวิรัตน์ ตันเดชานุรัตน์ ผอ.สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ  เปิดเผยในงานสัมมนาเรื่องความอยู่รอดของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยในทศวรรษแห่งเอเชียว่า สถาบันฯได้จัดทำแผนส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มตั้งฐาน การผลิตในประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น เพื่อป้องกันรายใหม่เข้ามาแย่งชิงแรงงานของผู้ประกอบการายเดิมที่อยู่กว่า 4,200 แห่ง มีการจ้างงานในไทยประมาณ 1 ล้านคน รวมถึงการลดต้นทุนการผลิตเพราะค่าจ้างยังต่ำกว่าไทย เช่น ลาว, กัมพูชา เฉลี่ยที่กว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน หรือเวียดนามค่าจ่างเฉลี่ยที่ 120-150 ดอลลาร์ฯต่อเดือน เป็นต้น
              
ขณะเดียวกันการเร่งย้ายฐานการผลิตจะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถสร้าง วัฒนธรรมใหม่ๆและหาตลาดในประเทศเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญการลงทุนในเพื่อนบ้านจะช่วยให้ผู้ประกอบการใช้สิทธิประโยชน์ในการ ส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศยุโรป และประเทศที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี(เอฟทีเอ)ด้วย เพราะเพื่อนบ้านไทยหลายประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ประเทศยากจนซึ่งจะได้รับความ ช่วยเหลือจากประเทศที่พัฒนาแล้ว
             
 “ภายใน 5 ปีข้างหน้าโรงงานย้ายฐานไปเพื่อนบ้านมากขึ้น ซึ่งตอนนี้ผู้ประกอบการสิ่งทอฯ ไทยที่อยู่ในต่างประเทศส่วนใหญ่จะไปตั้งฐานการผลิตในลาวมากสุด เพราะพื้นที่ใกล้กับไทยและมีค่าแรงที่ต่ำ ที่สำคัญอุตสาหกรรมประเภทอื่นยังย้ายฐานการผลิตไปอยู่ในลาวไม่มากนัก ทำให้ไม่มีการแย่งชิงแรงงานเหมือนกับในประเทศไทยที่อุตสาหกรรมประเภทอื่น แย่งแรงงานจำนวนมาก โดยการให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า

(เดลินิวส์, 20-9-2554)

 

เตรียมเฮ! รมว.พาณิชย์เผยเอกชนพร้อมขึ้นค่าแรง 300 บาท ดีเดย์ 1 ม.ค.55

วันที่ 21 ก.ย. จากงานสัมมนาเรื่อง"จับทิศท่องเที่ยวไทย 2 ล้านล้านบาท ความท้าทายรัฐบาลใหม่" โดยหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ  นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยภายใต้รัฐบาลยิ่งลักษณ์" ว่า ในส่วนของค่าแรง 300 บาทนั้น เชื่อว่าในวันที่1ม.ค.55 นี้ เอกชนจะพร้อมใจกันสนองนโยบายดังกล่าว เนื่องจากรัฐบาลได้ปรับลดอัตราภาษีนิติบุคคล เหลือร้อยละ 23 เพื่อเป็นมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ พร้อมขอให้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ยังฝากไปยังกระทรวงการคลังในการขยายฐานภาษี เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยรัฐบาลจะเปลี่ยนประเทศไทยเข้าสู่สมดุลใหม่ในการทยอยปรับลดอัตราภาษีเงิน ได้ที่ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 30

(มติชน, 21-9-2554)

 

สปส. ขยายเวลาโครงการเงินกู้ช่วยเหลือผู้ประกันตนและนายจ้างที่ประสบภัยน้ำท่วม  เม.ย.ปีหน้า

นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์  ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) เปิดเผยว่า ในที่ประชุมบอร์ด สปส.เมื่อวานนี้ (20 ก.ย.54) สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้เสนอกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 จำนวน 3 พันล้านบาท นำมาใช้ในการดำเนินงานต่างๆ ของ สปส.เช่น ปรับปรุงระบบการให้บริการระบบไอที อย่างไรก็ตาม  ที่ประชุมได้ให้ สปส.เสนอกรอบวงเงินงบประมาณดังกล่าวเข้ามาอีกครั้งในการประชุมช่วงเดือน ตุลาคมนี้ เพื่อให้เลขาธิการ สปส.คนใหม่ ได้เข้ามาร่วมพิจารณาด้วย เนื่องจาก นายปั้น  วรรณพินิจ เลขาธิการ สปส.คนปัจจุบันจะเกษียณอายุราชการในปลายเดือนกันยายนนี้ อีกทั้งในที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการขยายโครงการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือผู้ ประกันตนและนายจ้างที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในจังหวัดต่างๆ ซึ่งได้เตรียมวงเงินไว้ 1 หมื่นล้านบาทจากเดิมโครงการนี้จะสิ้นสุดในวันที่ 31 ตุลาคมนี้ ให้ขยายไปสิ้นสุดในวันที่ 30 เมายน 2555 เนื่องจากขณะนี้จังหวัดต่างๆยังประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่

ปลัดกระทรวงแรงงาน  กล่าวอีกว่า โครงการดังกล่าวมีเงื่อนไขให้ผู้ประกันตนกู้ได้รายละไม่เกิน 5 หมื่นบาทโดยคิดดอกเบี้ยร้อยละ 2.5 ต่อปีคงที่ 2 ปี และนายจ้างรายละไม่เกิน 1 ล้านบาทโดยคิดดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 3 ต่อปีคงที่ 3 ปี  รวมไปถึงอนุมัติให้โรงพยาบาลในระบบประกันสังคมจัดหน่วยบริการรักษาพยาบาลให้ แก่ผู้กระกันตนที่ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่รอบโรงพยาบาล โดยอนุมัติงบรองรับ 5.9 ล้านบาท ให้เริ่มดำเนินการทันทีในเดือนกันยายนนี้

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 21-9-2554)

 

ร้อง ILO ชี้ไทยละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติอย่างเป็นระบบ

วันนี้ (21 กันยายน 2554) นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อแสดงถึงการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศของรัฐบาลไทย ดังปรากฏหลักฐานจากการที่รัฐบาลไทยกำหนดนโยบายที่ปฏิเสธมิให้แรงงานข้ามชาติ เข้าถึงกองทุนเงินทดแทน การยื่นหนังสือครั้งนี้เป็นการยื่นเอกสารเพิ่มเติมจากการยื่นหนังสือครั้ง ล่าสุดของ สรส. ณ ที่ประชุมแรงงานระหว่างประเทศ ที่ นครเจนีวา เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2554 ทั้งนี้ ประเทศไทยได้อนุวัติอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ อ. ที่ 19 เรื่องการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน (การทดแทนกรณีอุบัติเหตุ) เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2511 เป็นต้นมา

การยื่นหนังสือครั้งนี้ สรส. ต้องการนำเสนอข้อมูลการเลือกปฏิบัติอย่างเป็นระบบล่าสุดแก่คณะกรรมการผู้ เชี่ยวชาญขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ โดยเน้นนโยบายโครงการประกันอุบัติเหตุเอกชนสำหรับแรงงานข้ามชาติอันเป็นนโยบายที่เพิ่งประกาศ นโยบายนี้ปฏิเสธมิให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงกองทุนเงินทดแทน ที่สำนักงานประกันสังคมเป็นผู้กำกับดูแล แม้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ออกกฎกระทรวงเป็นการ แจ้งให้นายจ้างซื้อประกันของเอกชนให้แรงงานข้ามชาติ ในราคา 500 บาท จากบริษัทประกันภัยเอกชน เพื่อให้ความคุ้มครองกรณีที่ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน ทดแทนการรับสิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทนของรัฐ แต่ประกาศดังกล่าวไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย และรัฐบาลไม่มีอำนาจที่จะบังคับให้นายจ้างปฏิบัติตามหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งแตกต่างจากระบบกองทุนเงินทดแทน ที่มีกฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานให้บังคับใช้กฎหมายและลงโทษนายจ้างที่ไม่ จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนทดแทน ระบบประกันภัยเอกชนจึงเป็นระบบที่ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ และไม่สามารถประกันการเข้าถึงการได้รับการชดเชยเมื่อประสบอุบัติเหตุ

นโยบายใหม่นี้ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติใน ประเทศ และยังส่งผลกระทบเชิงลบต่อแรงงานข้ามชาติประมาณ 2 ล้านคน ซึ่งส่วนมากเป็นแรงงานจากประเทศพม่าที่ทำงานในประเทศไทย แรงงานเหล่านี้เผชิญความเสี่ยงสูงที่จะเจ็บป่วยและได้รับอุบัติเหตุจากการทำ งาน เพราะไม่ได้รับการคุ้มครองเพียงพอ แม้องค์การแรงงานระหว่างประเทศและองค์การสหประชาชาติจะทักท้วงนโยบายของ รัฐบาลไทยมาโดยตลอด แต่ปัจจุบัน นโยบายของรัฐบาลไทยก็ยังคงเลือกปฏิบัติต่อแรงงานพม่าอย่างเป็นระบบและปล่อย ให้การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงต่อแรงงานข้ามชาติกลุ่มนี้ยังดำเนิน ต่อไป

ในการยื่นหนังสือต่อรัฐบาลไทยครั้งที่แล้ว คณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญองค์การแรงงานระหว่างประเทศและผู้รายงานพิเศษของ องค์การสหประชาชาติด้านการย้ายถิ่นเรียกร้องให้รัฐบาลไทยทบทวนนโยบายตาม หนังสือเวียนที่ รส 0711/ 751 ซึ่งปฏิเสธมิให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงกองทุนเงินทดแทน หลังจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานจึงได้ ขอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ตั้งกองทุนประกันภัยเอกชนแยกต่างหากสำหรับแรงงาน ข้ามชาติ เพื่อให้ความคุ้มครองแรงงานข้ามชาติเหยื่ออุบัติเหตุและการเจ็บป่วยจากการทำ งาน โดยแยกต่างหากจากกองทุนเงินทดแทน ภายใต้นโยบายปัจจุบัน แรงงานข้ามชาติยังไม่ได้รับความคุ้มครองและยังเป็นกลุ่มเปราะบางต่อแนว ปฏิบัติที่ละเมิดสิทธิและการเลือกปฏิบัติกับแรงงานข้ามชาติ สรส. ได้รับรายงานมาว่าในหลายกรณี ไม่อาจเชื่อมั่นว่านายจ้างจะสมัครใจให้ความคุ้มครองแรงงานข้ามชาติด้วยตนเอง นายจ้างยังหลบเลี่ยงความรับผิด หรือแจ้งตำรวจให้มาจับลูกจ้าง โดยเฉพาะกรณีลูกจ้างประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน ระบบการประกันภัยภาคเอกชนที่แยกการคุ้มครองและให้สิทธิประโยชน์กับแรงงาน ข้ามชาติน้อยกว่าแรงงานไทยเป็นระบบที่ไม่สามารถยอมรับได้และเป็นระบบที่ เลือกปฏิบัติโดยธรรมชาติ แรงงานในประเทศไทยทุกคน ไม่ว่าจะมาจากแห่งหนหรือสัญชาติใดต้องได้รับการคุ้มครองภายใต้สิทธิแรงงาน และการคุ้มครองแรงงานภายใต้กองทุนเงินทดแทนเดียวกัน

ด้วยเหตุนี้ สรส. ได้เรียกร้องให้องค์การแรงงานระหว่างประเทศและประชาคมนานาชาติ สนับสนุนข้อเรียกร้องนี้และดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่แรงงานทุกคนสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย ได้รับสิทธิและการคุ้มครองอย่างเสมอหน้าและเท่าเทียมกัน

(ประชาไท, 21-9-2554)

 

เตือนขายแรงงานในยุโรปตะวันออก ถูกหลอกลวง โดนชักค่านายหน้า ปัญหาอื้อซ่า

รายงานข่าวแจ้งว่า  กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะยุโรปตะวันออกว่า ได้มีแรงงานไทยมาร้องเรียนต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ เกี่ยวกับการถูกหลอกลวงให้มาทำงาน โดยได้รับเงินเดือนล่าช้า ได้รับผลตอบแทนไม่ตรงตามที่นายจ้างให้สัญญาไว้ นอกจากนี้ ยังมีค่านายหน้าก่อนเดินทางมาทำงานอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ตรวจสอบสัญญาจ้างงานระหว่างฝ่ายลูกจ้างและนายจ้าง พบว่า ในสัญญาจ้างงานฯ ระบุว่า เงินเดือนในปีแรกจะต้องไม่ต่ำกว่าที่กำหนด แต่เป็นจำนวนที่ต่ำกว่าที่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันไว้ โดยแรงงานไทยยอมรับว่า เหตุที่ยอมเซ็นสัญญาดังกล่าว เนื่องจากทั้งสองฝ่ายต้องการเสียภาษีต่ำ แต่ได้ตกลงกันไว้ด้วยวาจาว่า เงินเดือนจริงจะได้สูงกว่าที่กำหนดในสัญญาจ้างงานฯ

กระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงว่า ผู้สนใจเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ ควรศึกษาหาข้อมูลโดยละเอียด เนื่องจากการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศจะมีค่านายหน้าฯ ด้วย นอกจากนั้น แรงงานไทยที่ทำงานในต่างประเทศมักประสบปัญหาเรื่องการได้รับค่าตอบแทนต่ำ กว่าที่นายหน้าแจ้งไว้ และมีปัญหาด้านภาษา รวมถึงผิดหวังกับสภาพแวดล้อมอื่นๆ อาทิ สภาพอากาศ สภาพที่อยู่อาศัย และอัธยาศัยไมตรีของผู้คน ทั้งนี้ จากปัญหาต่างๆ ดังกล่าว จึงมีแรงงานไทยบางส่วนขอความช่วยเหลือจากสถานเอกอัครราชทูตฯ ในการเดินทางกลับประเทศไทย หรือหนีกลับประเทศไทยก่อนหมดสัญญาจ้าง ดังนั้น ผู้สนใจเดินทางไปทำงานจึงไม่ควรหลงเชื่อและยินยอมจ่ายค่านายหน้าฯ ที่มีมูลค่าสูงโดยไม่มีการทำสัญญา

ทั้งนี้ ผู้สนใจเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ที่โทร. ๐ ๒๕๗๕ ๑๐๔๗ ๕๑ โทรสาร ๐ ๒๕๗๕ ๑๐๕๒

(มติชนออนไลน์, 21-9-2554)

 

70 แรงงานไทยที่ถูกกักตัวในไต้หวันได้รับการช่วยเหลือกลับประเทศแล้ว

พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา เป็นประธานในพิธีต้อนรับและส่งตัวแรงงานไทยกลับภูมิลำเนา ในโครงการไถ่อิสรภาพแรงงานไทยในไต้หวันกลับมาตุภูมิ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 โดยแรงงานไทยที่เดินทางกลับมาครั้งนี้มีจำนวน 70 คน เป็นแรงงานที่ถูกทางการไต้หวันกักตัว เนื่องจากกระทำความผิดเล็กน้อย มีโทษปรับสถานเดียว แต่ไม่มีเงินเสียค่าปรับ และ 3 คนในจำนวนดังกล่าวป่วยทางสมอง ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา จึงได้ร่วมกับสมาคมการค้าไทย-ไต้หวัน ให้ความช่วยเหลือในการจ่ายค่าปรับและค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับประเทศไทย

พล.อ.ธีรเดช กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีและต้อนรับแรงงานไทยทุกคนที่เดินทางกลับประเทศได้อย่าง ปลอดภัย ทั้งนี้ ขอให้แรงงานทุกคนที่เดินทางกลับมาปฏิบัติตัวเป็นคนดี สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว

ด้านนายโยธิน ดีบุดชา ตัวแทนแรงงานไทยในไต้หวัน กล่าวว่า แรงงานไทยทุกคนสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงห่วงใยคนไทย ส่วนตัวไม่เคยคิดว่าจะได้กลับประเทศ จึงต้องขอบคุณทุกฝ่ายที่ให้การช่วยเหลือ

ทั้งนี้ นอกจากจัดพิธีต้อนรับแรงงานไทยแล้ว กระทรวงแรงงานยังได้ตั้งโต๊ะรับสมัครงาน และผู้ให้การสนับสนุนยังได้มอบเงินค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับภูมิลำเนา เพื่อช่วยเหลือแรงงานที่เดินทางกลับมาด้วย

(สำนักข่าวไทย, 22-9-2554)

 

"เผดิมชัย" กำชับสถานประกอบห้ามเลิกจ้างแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วม

(22 ก.ย.) ที่กระทรวงแรงงาน นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) ปล่อยคาราวานให้บริการทางการแพทย์นอกสถานพยาบาลในสภาวะการณ์ประสบภัยพิบัติ ทางธรรมชาติ จำนวน 15 ทีม ประกอบด้วยรถโรงพยาบาล 15 คัน รถสำนักงานประกันสังคม 17 คัน เพื่อกระจายไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยจำนวน 18 พื้นที่ ใน 11 จังหวัดที่ประสบอุทกภัย ได้แก่ จ.พระนครศรีอยุธยา นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง อุทัยธานี นครสวรรค์ ชัยนาทและลพบุรี

นายเผดิมชัย กล่าวว่า ได้กำชับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงานทั่วประเทศเตรียมมาตรการช่วยเหลือ โดยการสำรวจความเสียหาย เพื่อให้ความช่วยเหลือตามโครงการจ้างงานเร่งด่วนและพัฒนาทักษะฝีมือเพื่อ บรรเทาความเดือดร้อนด้านอาชีพ รวมทั้งให้บริการซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ และเครื่องยนต์ทางการเกษตร และสำรวจความต้องการในการฝึกอาชีพ ขณะเดียวกันยังให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดขอความร่วมมือ ผู้ประกอบการ ลูกจ้างและผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ทั้งในเรื่องความปลอดภัยและเรื่องแรงงานสัมพันธ์ไม่ให้มีการเลิกจ้างคนงาน ที่บ้านเรือนถูกน้ำท่วมจนไม่สามารถไปทำงานได้
      
นอกจากนี้ ยังมีโครงการประกันสังคมเคียงข้างผู้ประกันตนต้านอุทกภัย ในการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ ร้อยละ 2.5 ต่อปี คงที่ 2 ปี ในการซ่อมแซมบ้านเรือน ผู้ประกันตนสามารถกู้ได้รายละไม่เกิน 50,000 บาท ส่วนสถานประกอบการสามารถกู้ซ่อมแซมสถานประกอบการได้รายละ ไม่เกิน 1,000,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 3 คงที่ 3 ปี ทั้งนี้ สนใจติดต่อได้ที่ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารนครหลวงไทยและธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 22-9-2554)

 

ปลัดฯ แรงงานเผยโมเดลช่วยเอสเอ็มอีรับผลกระทบค่าจ้าง 300 บาท

23 ก.ย. 54 - นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงความคืบหน้าในการขับเคลื่อนนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทที่เตรียมนำร่องใน 7 จังหวัด ขณะที่จังหวัดอื่นเตรียมขึ้นค่าจ้างอีกประมาณร้อยละ 40 ภายในวันที่ 1 มกราคมปีหน้าว่า ได้เตรียมมาตรการที่จะช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือเอสเอ็มอี ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากนโยบายดังกล่าว โดยภายใน 2 สัปดาห์นี้จะมีการเปิดให้ลงทะเบียนทั่วประเทศ และคาดว่าจะมีผู้ได้รับผลกระทบประมาณร้อยละ 20 หรือ 60,000 แห่งจากจำนวนเอสเอ็มอีทั้งหมด กว่า 300,000 แห่ง
 
นพ.สมเกียรติ กล่าวอีกว่า นอกจากมาตรการด้านภาษีที่จะลดภาษีนิติบุคคลเหลือเพียงร้อยละ 23 รวมถึงลดภาษีเครื่องจักร จะมีโครงการปล่อยสินเชื่อ โดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ประมาณปีละ 20,000 ล้านบาท รวมถึงมีโครงการการลงทุนเพื่อสังคม จากกองทุนประกันสังคมประมาณ 10,000 ล้านบาท  มาให้ธนาคารพาณิชย์ ปล่อยกู้ให้เอสเอ็มอี คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 3 โดย สปส.ได้ผลตอบแทนร้อยละ 1 ซึ่งได้เสนอในการประชุมบอร์ด สปส.ครั้งที่แล้ว และมีการตั้งคณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์มาศึกษารายละเอียด ขณะเดียวกันจะเข้าไปดูหลักเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ให้ ยืดหยุ่นมากขึ้น
 
นพ.สมเกียรติ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังเตรียมมาตรการลดการเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในส่วนของ อัตราค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเป็นการชั่วคราวภายในระยะเวลา 1-2 ปี ซึ่งเมื่อคำนวณเงินสมทบที่นายจ้างจะต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มหากขึ้นค่าจ้างอีก ประมาณร้อยละ 40 จะเท่ากับร้อยละ2 ของอัตราเดิม เช่น เดิมนายจ้างเคยจ่ายเงินสมทบร้อยละ5 ต้องจ่ายเพิ่มเป็นร้อยละ 7 แต่อาจติดขัดในข้อกฎหมายที่หากจะลดเงินสมทบต้องลดทั้ง 3 ส่วนทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง และภาครัฐ ซึ่งลูกจ้างอาจไม่พอใจ และสุดท้ายอาจต้องขอเงินสนับสนุนจากภาครัฐ คิดเป็นเงินประมาณ 15,000 ล้านบาทมาอุดช่องว่างดังกล่าว โดยจะนำเรื่องเข้าหารือกับบอร์ด สปส.ในวันที่ 11 ตุลาคม ภายหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติแต่งตั้งเลขาฯ สปส.คนใหม่

(สำนักข่าวไทย, 23-9-2554) 

 

เผยอนุฯ ครส.อนุมัติขึ้นค่าจ้างพนักงานรายวันรัฐวิสาหกิจ รับค่าจ้าง 300 บาท

23 ก.ย. 54 - นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ล่าสุดคณะอนุกรรมการพิจารณาสภาพการจ้างในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  (ครส.) มีมติให้ปรับขึ้นค่าจ้างพนักงานที่รับค่าจ้างรายวันที่ยังได้รับค่าจ้างใน อัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามพื้นที่ ซึ่งมีประมาณ 20,000 คน ให้ได้รับค่าจ้างใหม่เป็นวันละไม่เกิน 300 บาท หลังจากที่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ครส.ฝ่ายลูกจ้างได้มายื่นคำร้องในที่ประชุม ครส. ขอให้ปรับขึ้นค่าจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจให้สอดรับกับนโยบายค่าจ้าง 300 บาทของรัฐบาล โดยมติของอนุกรรมการฯ จะนำไปเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ด ครส.ในวันที่ 29 กันยายนนี้ หากที่ประชุมฯ เห็นชอบก็จะเสนอเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 4 ตุลาคมนี้ เพื่อให้มีผลบังคับใช้ย้อนหลังในวันที่ 1 ตุลาคมนี้

(สำนักข่าวไทย, 23-9-2554) 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

‘ส.ว.-อดีตผู้ว่าฯ’ หนุน ‘อุโมงค์สตูล-เปอร์ลิศ’ ชาวบ้านหวั่นผงาญงบ-แนะศึกษาร่วมมาเลย์

Posted: 24 Sep 2011 06:34 AM PDT

ส.ว.หนุน “อุโมงค์สตูล-เปอร์ลิศ” อดีตผู้ว่าฯออกหน้าหนุนสร้าง เผย“มหาเธร์-สุลต่าน” สนใจโครงการ ชาวบ้านหวั่นละลายงบประมาณ-ผู้นำศาสนากลัววิถีอิสลามเพี้ยน เครือข่ายภาคประชาชนแนะศึกษาร่วมมาเลย์

 

นายสุริยา ปันจอร์ สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสตูล พูดแสดงความเห็นสนับสนุนโครงการอุโมงค์ –เปอร์ลิศ

 

เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2554 ที่ห้องประชุมตะรุเตา โรงแรมพินนาเคิลวังใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสตูล จังหวัดสตูล ร่วมกับกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม บริษัท เอ็มเอเอ คอนซัลแคนท์ จำกัด บริษัท ไทย เอ็มเอ็ม จำกัด และบริษัท พรีดีเวลลอปเมนท์ คอนซัลแคนท์ จำกัด จัดการประชุมปฐมนิเทศโครงการการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างอุโมงเชื่อมทางหลวงระหว่างจังหวัดสตูล – รัฐเปอร์ลิศ ประเทศมาเลเซีย โดยมีส่วนราชการ ผู้นำส่วนท้องถิ่น นักธุรกิจภากเอกชน และประชาชน ร่วมประมาณ 100 คน ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และสมาชิกอาสาสมัครรักษาดินแดน (อ.ส.) ประมาณ 50 นาย

นายสุเมธ ตันติชัยเลิศวนิชกุล อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล กล่าวก่อนกรมทางหลวง และบริษัทที่ปรึกษาชี้แจงว่า หลังจากที่ตนเกษียรอายุราชการจากผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลเมื่อปี 2553 ตนได้ทำหนังสือไปยังสภาพัฒน์ กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อให้ความสำคัญของโครงการอุโมงค์สตูล – เปอร์ลิศ ตอนที่ตนเคยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลได้เข้าไปคุยกับสุลต่านรัฐเปอร์ลิศ นายมหาเธร์ มูฮำหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศมาเลเซีย ซึ่งทั้ง 2 ท่านให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง

นายสุเมธ กล่าวอีกว่า นายมหาเธร์ แนะนำตนว่าให้ไปคุยกับประเทศจีนให้เข้ามาลงทุน เนื่องจากจีนทั้งสนใจและเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเทคโนโลยีในการเจาะอุโมงค์ และให้ทางรัฐบาลไทยและมาเลเซียออกค่าใช้จ่ายฝ่ายละครึ่ง แล้วให้ทางจีนมารับสัมปทานโครงการ 30 ปี

“นายสมเกียรติ เลียงประสิทธ์ ถามผมว่าทำไมผมถึงสนใจโครงการนี้นัก ผมแค่ต้องการทำเพื่อจังหวัดสตูล ทำเพื่อแผ่นดินเท่านั้น ดังนั้นหากโครงการนี้สำเร็จเมื่อไหร่ ขอให้ขึ้นป้ายว่าผู้ริเริ่มโครงการนี้คือ ผู้ว่าสุเมธ ตอนที่ผมตายไปแล้วด้วย” นายสุมเมธ กล่าว

นายประสิทธิ์ เสวนาพฤกษ์ ผู้จัดการโครงการฯชี้แจงว่า โครงการก่อสร้างอุโมงเชื่อมทางหลวงระหว่างจังหวัดสตูล – รัฐเปอร์ลิศ ประเทศมาเลเซีย เป็นโครงการทางหลวงหรือถนน ที่ตัดผ่านพื้นที่ป่าชายเลน พื้นที่อุทยานแห่งชาติ พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ และพื้นที่คุณภาพลุ่มน้ำชั้น 1 A ตามมติคณะรัฐมนตรีจึงต้องจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายประสิทธิ์ ชี้แจงอีกว่า กรมทางหลวงจึงว่าจ้างบริษัท เอ็มเอเอ คอนซัลแคนท์ จำกัด บริษัท ไทย เอ็มเอ็ม จำกัด และบริษัท พรีดีเวลลอปเมนท์ คอนซัลแคนท์ จำกัด เพื่อดำเนินการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทั้งศึกษาแนวทางความเป็นไปได้ และตำแหน่งที่เหมาะสมในการก่อสร้าง

นายนิรัตน์ ตันสวัสดิ์ วิศวกรโครงสร้าง ชี้แจงว่า ใช้ระยะเวลาดำเนินการศึกษาโครงการ 12 เดือน โดยเริ่มจากวันที่ 28 เมษายน 2554 ถึงเมษายน 2555 โดยมีการจัดสัมมนา 3 ครั้ง คือในวันที่ 22 กันยายน 2554 ครั้งที่ 2 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2554 และมีการประชุมสรุปผลการศึกษาโครงการในช่วงเดือน เมษายน 2555 มีการประชุมกลุ่มย่อย 2 ครั้ง ในช่วงเดือนมิถุนายน 2554 และเดือนมกราคม 2555 มีการประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจกับประชาชนตลอดระยะเวลาในการศึกษา zผ่านโฆษณาในหนังสือพิมพ์ และเว็บไซต์ www.satun-perlisfunnul.com อีกด้วย

นายมนูญ แสงเพลิง ผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม ชี้แจงว่า โครงการก่อสร้างอุโมงเชื่อมทางหลวงระหว่างจังหวัดสตูล – รัฐเปอร์ลิศ ประเทศมาเลเซีย มีแนวศึกษา 3 เส้นทาง คือ 1.ถนนวังประจัน – วังเกลียน ประเทศมาเลเซีย 2.ถนนเชื่อทางหลวงอุโมงค์สตูล –เปอร์ลิศ บริเวณบ้านนาแค ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล 3.ถนนสะพานเชื่อมทางหลวงตำมะลัง – ปูยู –เปอร์ลิศ ซึ่งทั้ง 3 เส้นทางต้องผ่านอุทยานแห่งชาติทะเลบันทั้งสิ้น ซึ่งจะต้องขอเพิกถอนพื้นที่หากมีการก่อสร้างโครงการ

นายสุริยา ปันจอร์ สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดสตูล แสดงความเห็นว่า ถ้าหากว่าไม่ส่งผลกระทบถึงขนาดชาวบ้านจังหวัดสตูลลุกขึ้นมารบราฆ่าฟันกัน ตนสนับสนุนและเห็นด้วยกับโครงการนี้เป็นอย่างยิ่ง สำหรับทฤษฎีการพัฒนาต้องมีผลกระทบแน่ๆ โครงการนี้ต้องเกิดเพื่อผลประโยชน์ทางด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ ไม่ใช่เฉพาะจังหวัดสตูล แต่ทั้งประเทศไทย

“มีเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สมาชิกวุฒิสภาบอกกับผมว่าสตูลสงบ ทั้งๆที่เป็นจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่นเดียวกับปัตตานี ยะลา และนราธิวาส แต่ผมมองว่าจังหวัดสตูล สงบจนเงียบหายไปเลย ภาครัฐมองเป็นแค่จังหวัดไส้ติ่งไร้ประโยชน์ สตุลเป็นจังหวัดที่อาภัพมากๆ” นายสุริยา กล่าว

นายหมาดโหด ละใบแด ตัวแทนชมรมโต๊ะอีหม่ามจังหวัดสตูล แสดงความเห็นว่า หากโครงการนี้เกิดขึ้นตนกังวลเกี่ยวกับปัญหาความมั่นคง และสังคมจากการเปิดประตูเมือง ธรรมดาแล้วเมื่อความเจริญหลั่งไหลเข้ามาอบายมุขก็เข้ามาด้วย ตนมองว่าสตูลต้องสงบและสะอาดทั้งสิ่งแวดล้อม คุณธรรมและจริยธรรมของศาสนาอิสลาม

“ผมบังเอิญเดินทางผ่านที่ด่านสะเดา ผมเห็นผู้หญิงตามสถานบันเทิง นักเที่ยวผู้ชายที่เมามาย มีสถานบันเทิง ลามกอนาจาร อบายมุขเต็มไปหมด ผมอายถึงขนาดต้องถอดหมวกกะปิเยาะ ทั้งที่ผมแต่งชุดดะวะฮ์ ผมนึกแล้วน้ำตาไหล ผมไม่อยากให้จังหวัดสตูลเป็นแบบนั้นเลย” นายหมาดโหด กล่าว

นายสมบูรณ์ คำแหง คณะทำงานเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล แสดงความเห็นว่า ตนเห็นด้วย และไม่ปฏิเสธการพัฒนาเส้นทางระหว่างสตูล – เปอร์ลิศ แต่ไม่ควรตั้งธงล่วงหน้าว่าต้องสร้างออกมาในรูปแบบอุโมงค์ ต้องพิจารณาว่าเส้นทางวังประจันสามารถพัฒนาต่อได้หรือไม่ เนื่องจากปัจจจุบันตลาดนัดด่านวังประจันก็มีนักท่องเที่ยวคึกคักอยู่แล้ว ถ้าสร้างด่านใหม่ด่านวังประจันจะซบเซาหรือไม่ ต้องปิดหรือไม่อย่างไรและมีการนำชาวบ้านที่วังประจันมาร่วมเวทีด้วยหรือเปล่า

“คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเคยตั้งข้อสังเกตุในวันที่มารับฟังคำชี้แจงว่าเป็นฝ่ายไทยวิ่งเต้นฝ่ายเดียวหรือเปล่า ตนมองว่าควรมีการศึกษาร่วมกันระหว่างประเทศไทยและมาเลเซียพร้อมๆกัน ตนยังกังวลถึงงบประมาณ 35 ล้านบาทที่ใช้ในการศึกษาว่าจะไม่ไปถึงไหนอีก ที่ผ่านมาได้ศึกษามาหลายครั้งแล้วเปลืองงบประมาณไปโดยใช่เหตุ” นายสมบูรณ์ กล่าว

นายอะหมาด หลงจิ กำนันตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล แสดงความเห็นว่า 15 ปีที่ผ่านมาได้มีการศึกษาโครงการนี้ไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง ไม่รู้เสียงบประมาณในการศึกษาไปมากเท่าไหร่แล้ว ทั้งเมื่อปี 2553 ตนได้รับคำสั่งจากนายสุเมธ ตันติชัยเลิศวนิชกุล อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ให้นำกล่องเพื่อรับบริจากเกี่ยวกับการเจาะอุโมงค์สตูล – เปอร์ลิศ แต่ตนก็ไม่นำกล่องดังกล่าวไปรับบริจาค

“การรับบริจาคดังกล่าว เคยเป้นข่าวออกทีวี แต่ผมไม่รู้ว่าจำนวนเงินจากกล่องรับบริจาคตรงนั้นไปอยู่ที่ไหน แล้วถ้าหากผมรับไปวางไว้ที่มัสยิดให้ชาวบ้านบริจาค แล้วตอนนี้ผมจะตอบชาวบ้านว่าอย่างไร” นายอะหมาด กล่าว

 



 

ข้อสังเกตต่อการศึกษาเส้นทางหลวงสตูล-เปอร์ลิสผ่านเวทีการศึกษาโครงการเจาะอุโมงค์

ต้องยอมรับว่าการเดินทางระหว่างประเทศไทย และมาเลเซีย ผ่านเส้นทางชายแดนด่านวังประจัน เป็นความจำเป็นระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศการพัฒนาเส้นทางเพื่อให้มีการสัญจรที่สะดวก และมีระบบการจัดการผ่านแดนที่มีศักยภาพจึงเป็นสิ่งที่คนสตูล และคนมาเลเซียเรียกร้องตลอดเรื่อยมา ทั้งนี้หากจะมีการสร้างเส้นทางใหม่ หรือจุดผ่านแดนใหม่ หรือจะเพิ่มจุดผ่านแดนอย่างไรก็แล้วแต่ จะต้องมีการศึกษาถึงผลได้ ผลเสียในมิติต่างๆอย่างรอบด้าน ซึ่งจะเป็นการป้องกันความเสียหายที่ไม่อาจเรียกกลับได้ หรือเพื่อมิให้มีการใช้งบประมาณสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น จึงขอเสนอข้อสังเกตที่คนสตูลจะต้องหาคำตอบดังนี้ คือ

๑. เส้นทางหลวงที่จะเชื่อมต่อกับประเทศมาเลเซียเดิม(ด่านวังประจัน) มีปัญหา หรือข้อจัดกัดอย่างไรจึงต้องสร้างเส้นทางใหม่ด้วยว่า

- ด่านวังประจัน เป็นด่านแห่งการค้าของคนสตูล และมาเลเซีย เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นทุกปีจากทั่วประเทศซึ่งสร้างรายได้ให้กับจังหวัดสตูลจะมีการศึกษาความเสียหายตรงจุดนี้หรือไม่ และใครจะเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายเหล่านี้พ่อค้า แม่ค้าที่ด่านชายแดนได้มีส่วนรับรู้กับการเปลี่ยนแปลงนี้หรือไม่

- ตลอดเส้นทางไปสู่ด่าน (จากสามแยกควนโดน) เป็นย่านชุมชนเกษตร ที่มีการปลูกผลไม้ท้องถิ่นของจังหวัดสตูล ทั้งทุเรียน ลองกอง เงาะ จำปาดา และยังมีแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงระดับประเทศ เมื่อถึงฤดูกาลจะมีการนำผลผลิตทางการเกษตรเหล่านี้มาจำหน่ายให้นักท่องเที่ยวโดยตรงตลอดทาง ซึ่งสร้างความคึกคัก และสร้างเศรษฐกิจให้กับคนในพื้นที่เป็นอย่างมากสิ่งเหล่านี้จะสูญหายไปหรือไม่ อย่างไร

- เส้นทางเดิม (ด่านวังประจัน) ที่มีอยู่แล้ว หากจะพัฒนาให้มีศํกยภาพมากขึ้น จะประหยัดต้นทุน หรืองบประมาณของทางประเทศมากกว่าหรือไม่ อย่างไร `

๒. การสร้างเส้นทางใหม่ หรือการจะพัฒนาเส้นทางให้มีศักยภาพยิ่งขึ้น ขณะนี้ได้มีการศึกษาเส้นทางเลือกที่เหมาะสมไว้กี่เส้นทาง เพราะมีเส้นทางที่คนสตูลยังถกเถียงกันอย่างไม่ลงตัวอย่างน้อย ๓ เส้นทางคือ ๑ เส้นเดิม ด่านวังประจัน ๒ เส้นเลียบชายฝั่งผ่านตำบลปูยู ๓ เส้นที่จะเจาะอุโมงค์ (ซึ่งไม่ชัดว่ามีการเลือกจุดที่จะเจาะไว้แล้วหรือไม่อย่างไร) ด้วยว่า

- รัฐบาลชุดที่ผ่านมาได้มีการอนุมัติงบสำหรับศึกษา ออกแบบ หรือศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมาแล้วจำนวน ๓๕ ล้านบาท เสมือนเป็นบทสรุปสุดท้ายแล้วว่าจะต้องต้องเจาะอุโมงค์เท่านั้น หรืออย่างไรแล้วเส้นทางอื่นมีข้อจำกัดอย่างไร

- หากจะเจาะภูเขา ฝั่งประเทศมาเลเซียได้การตอบรับ หรือมีข้อตกลงระหว่างประเทศที่เป็นทางการระหว่างรัฐต่อรัฐแล้วหรือไม่ อย่างไร ตลอดถึงการศึกษาเบื้องต้นของโครงการก็ควรจะเสนอให้มีการทำร่วมกัน เพื่อให้ได้บทสรุปการศึกษาร่วมเพื่อเสนอต่อรัฐบาลทั้งสองฝ่ายให้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไปอย่างราบรื่นมากขึ้น ใช่ต่างคนต่างทำ หรือทำเพียงฝ่ายเดียว

การตั้งข้อสังเกตดังกล่าวนี้ ยังมีประเด็นรายละเอียด ซึ่งอาจจะคาดการณ์ได้ในอนาคตอีกหลายประเด็น เช่น

- มีด่านใหม่ แล้วด่านเก่าจะยกเลิก หรือจะคงไว้หรือไม่อย่างไร

- ความคับคั่งที่เคยมีที่ด่านวังประจันจะต้องลดน้อย และหายไปอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ นั่นคือความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

- ด่านใหม่ หรือเส้นทางอุโมงค์ จะมีการพัฒนาเป็นแหล่งการค้าใหม่หรือไม่ ถ้ามีใครจะได้ประโยชน์ พ่อค้า แม่ค้าที่มีการค้าขายอยู่ที่ด่านเดิมจะได้รับสิทธิ์เหล่านั้นหรือไม่

ซึ่งการตั้งข้อสังเกตเหล่านี้ก็มิได้หมายความว่าจะคัดค้านการพัฒนาเส้นทางระหว่างประเทศไทย – มาเลเซียไม่ หากแต่ต้องการความชัดเจนต่อข้อสงสัยเหล่านี้ และเชื่อว่าหากมีการพิเคราะห์อย่างรอบด้านแล้ว จะทำให้สิ่งที่จะเกิดขึ้นเป็นไปอย่างมีศักยภาพมากที่สุด หรือไม่ก็จะยังผลประโยชน์โดยรวมให้กับคนในจังหวัดสตูลอย่างแท้จริง

จึงขอให้พวกเรา ชาวสตูลได้ร่วมกันหาคำตอบ และร่วมติดตามสิ่งเหล่านี้อย่างสร้างสรรค์ และ คำนึงถึงผลได้ ผลเสีย อย่างมีเหตุผล และเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง

                                                                                  เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เผย "มาร์ค" ไม่ร่วมวงถกนิติราษฎร์ ท้าแน่จริงเลิกเป็นนักวิชาการ "ผบ.ทบ." ชี้ข้อเสนอ "นิติราษฎร์" ทำชาติแตกแยก

Posted: 24 Sep 2011 05:21 AM PDT

โฆษก ปชป เผย "มาร์ค" ไม่ร่วมวงถกนิติราษฎร์ หากอยากแลกเปลี่ยนแจ้งมาที่ตนจะประสานสถานที่เหมาะสมให้ ไม่เห็นด้วยใช้พื้นที่มหาวิทยาลัย แน่จริงให้เลิกเป็นนักวิชาการแล้วออกมาเคลื่อนไหว “ถาวร” พร้อมดีเบต “วรเจตน์” ผ่านเวทีสาธารณะ ส่วน"ผบ.ทบ." ชี้ข้อเสนอ "นิติราษฎร์" ทำชาติแตกแยก

24 ก.ย. 54 - ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ไปร่วมงานแถลงข่าวและแลกเปลี่ยนความเห็นกับกลุ่มคณะนิติราษฎร์ ว่า ถือเป็นเรื่องปกติที่นายอภิสิทธิ์จะไม่เดินทางไป เนื่องจากหากกลุ่มคนดังกล่าวต้องการแลกเปลี่ยนความเห็นก็สามารถเดินทางมาพบได้ที่พรรคประชาธิปัตย์ หรือโทรศัพท์นัดมายังตน ซึ่งจะประสานงานหาสถานที่ที่เหมาะสม เนื่องจากเห็นว่ากลุ่มคณะนิติราษฎร์ยังคงใช้เวทีของมหาวิทยาลัย ถือเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นจึงอยากให้เลิกใช้มหาวิทยาลัยในการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวหรือส่วนกลุ่ม เพราะยังมีบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยจำนวนมากที่ไม่ได้เห็นด้วยกับการออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มนิติราษฎร์ ถ้าแน่จริงเลิกใช้หมวกมหาวิทยาลัยและหมวกนักวิชาการในการออกมาเคลื่อนไหว

“ถาวร” พร้อมดีเบต “วรเจตน์” ผ่านเวทีสาธารณะ

นายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเงา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ อาจารย์ หรือกลุ่มนิติราษฎร์ ที่ออกมาท้าให้พรรคประชาธิปัตย์ หรือตนไปแสดงวิสัยทัศน์ต่อเวทีสาธารณะ ว่า คนอย่างนายวรเจตน์ไม่มีค่าพอ เพราะจากคำพูดและพฤติกรรมที่แสดงออกก็ชัดเจนว่าเป็นการทำเพื่อใคร และคิดหวังถึงประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างไร

“ทำไมต้องเสนอให้ล้างมลทินแค่ปี 49 ทำไมไม่ย้อนกลับไปทั้งหมดที่มีการปฏิวัติรัฐประหาร มีเจตนาที่จะช่วยคดีความของใครเป็นการเฉพาะหรือไม่ ถ้าอยากแสดงวิสัยทัศน์กับผมหรือพรรคประชาธิปัตย์จริง ก็ขอให้ไปบอกรัฐบาลให้จัดการแสดงวิสัยทัศน์ผ่านฟรีทีวี ผมพร้อมที่จะไป ขณะนี้สังคมต่างเคลือบแคลงว่า ข้อเสนอที่กลุ่มนิติราษฎร์เสนอมา โดยอ้างความเป็นนักวิชาการว่ามีความสุจริต ถูกต้องในความเป็นนักวิชาการหรือไม่อย่างไร” นายถาวร กล่าว

นายถาวร กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่กระทรวงยุติธรรมได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อเยียวยาคนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เมื่อปี 53 โดยให้ส่งเรื่องย้อนกลับไปที่กรมราชทัณฑ์ ทั้งที่ก่อนหน้านี้นายชาติชาย สุทธิกลม อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เคยระบุแล้วว่ากระบวนการขั้นตอนในการตรวจสอบการถวายฎีกาขออภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ผ่านพ้นขั้นตอนของกรมราชทัณฑ์ไปแล้ว เรื่องนี้เป็นอีกความพยายามที่จะช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะถ้าเป็นคดีความของชาวบ้านธรรมดา เรื่องการขอความช่วยเหลือคงลงถังขยะไปแล้ว และเรื่องดังกล่าวก็ผ่านขั้นตอนฝ่ายผู้ปฏิบัติไปนานแล้ว
      
“ดังนั้นการเสนอเรื่องกลับมาใหม่ก็สอดรับกับกรณีการแต่งตั้งให้ พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ให้กลับมาทำหน้าที่อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เพื่อที่จะทำทุกวิถีทางช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ให้พ้นจากการถูกจำคุก จึงขอเตือนให้ระวังว่า ใครที่จะทำอะไรในเรื่องดังกล่าว และผิดหลักกฎหมายของบ้านเมือง ก็อาจจะติดคุกแทน เพราะทำผิดกฎหมายเสียเอง นอกจากนี้ ผมจะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดต่อไป” นายถาวร กล่าว

"ผบ.ทบ." ชี้ข้อเสนอ "นิติราษฎร์" ทำแตกแยก

เมื่อวันที่ 23 ก.ย. ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ททบ.5) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. กล่าวถึงข้อเสนอของนักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ ที่ให้ผลพวงกฎหมายจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เสียเปล่า พร้อมทั้งให้แก้ไขม.112 ของประมวลกฎหมายอาญา ว่า เป็นแนวคิดของบรรดานักวิชาการ เพราะท่านมีเสรีในการคิด แต่เวลาจะพูดหรือทำอะไรก็ตาม ต้องระวังว่า จะทำให้เกิดความแตกแยกขึ้นมาหรือไม่ ซึ่งวันนี้บ้านเมืองกำลังเดินทางไปสู่การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม ดังนั้นเรื่องอื่นๆ ขอให้หยุดไว้ก่อนได้หรือไม่ แล้วค่อยมาหารือกัน เพราะทุกอย่างต้องเป็นเรื่องกระบวนการยุติธรรม ต้องใช้กระบวนการยุติธรรมแก้ไขปัญหา การพูดโต้ตอบไปมาไม่เกิดประโยชน์ ตนก็ไม่โต้ตอบดีกว่า             

เมื่อถามว่า การแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ต้องระดมความคิดหลายส่วนแทนที่จะมาจากส่วนเดียว พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า คงเป็นเรื่องของประชาชน ประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ 65 ล้านคน ซึ่งต่างคนก็มีความคิดต่างๆ แต่คิดว่าคนไทยทุกคนอยากให้ประเทศชาติบ้านเมืองเป็นสุข และผ่านพ้นภัยภิบัติต่างๆ ไปด้วยดี และที่สำคัญมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสถาบันเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาติอยู่แล้วในปัจจุบัน มุ่งไปสู่จุดนั้นดีกว่า ส่วนจะเป็นฟื้นฝอยหาตะเข็บหรือไม่นั้น ก็ให้สังคมไปวิเคราะห์กันเอง ตนไม่บังอาจ

เมื่อถามว่า แกนนำเสื้อแดงวิจารณ์กองทัพเข้มแข็งมากเกินไปเป็นอันตรายต่อประชาธิปไตย พร้อมท้าทายผบ.ทบ.ว่าไม่กลัว พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า “ก็ไม่เห็นมีใครต้องมากลัวผม เพราะผมเป็นทหาร และผบ.ทบ. คนที่ต้องกลัวคือผู้ใต้บังคับบัญชามากกว่า คนอื่นก็ไม่ควรกลัว ผมไม่ใช่คนใจไม้ไส้ระกำ กลัวหรือไม่กลัวก็ไม่เป็นไร ผมไม่ใช่มาเฟีย”

ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก: มติชนออนไลน์, สำนักข่าวไทย, ข่าวสดออนไลน์

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“กษิต” จี้ คอป.ให้ข้อมูลทีมที่ปรึกษา ต้องแจงประชาชน

Posted: 24 Sep 2011 05:03 AM PDT

“กษิต ภิรมย์” จี้ คอป.ให้ข้อมูลทีมที่ปรึกษาต่างประเทศ พร้อมต้องแจงประชาชนแคลงใจ “สุรเกียรติ์” เหตุเคยร่วมงาน “พ.ต.ท.ทักษิณ”

24 ก.ย. 54 - สำนักข่าวไทยรายงานว่านายกษิต ภิรมย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์กรณีที่คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาที่เป็นนักวิชาการจากต่างประเทศ  รวมถึงจะประสานให้นายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ เข้าร่วมให้ความคิดเห็นด้วยว่า ไม่มีปัญหาอะไร คิดว่าอยู่ที่นายคณิต ณ นคร ประธาน คอป.จะกำหนดกรอบเวลาในการศึกษาเรื่องความปรองดองอย่างไร และอยู่ที่ว่าจะให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอะไร
      
อย่างไรก็ตาม นายกษิต กล่าวว่า เมื่อนำที่ปรึกษามา ต้องมีคนอธิบายให้เขาฟังความเป็นไปเกี่ยวกับการเมืองไทยว่าเป็นมาอย่างไร และ คอป.จะต้องมาอธิบายให้ประชาชนทราบว่าได้ให้ข้อมูลการพัฒนาการทางการเมืองของไทยกับคณะที่ปรึกษาอย่างไร เพราะเราต้องการตรวจสอบว่าคำอธิบายดังกล่าวจะเป็นอย่างไร ข้อมูลต้องปรากฏออกมาทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ทุกคนจะได้รู้ว่า คอป.พูดอะไรให้ชาวต่างประเทศฟัง โดยเฉพาะนายอันนัน
      
“ผมค่อนข้างสงสัยและหวาดหวั่นการตั้งนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย เป็นทีมที่ปรึกษา เพราะนายสุรเกียรติ์อยู่ในคณะรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และมาแตกคอกันในตอนหลัง ผมไม่ค่อยสบายใจ ซึ่งผมต้องการให้มีการทบทวน เนื่องจากนายสุรเกียรติ์ถือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในความเป็นไปของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ” นายกษิต กล่าว
      
นายกษิต กล่าวอีกว่า สำหรับคณะที่ปรึกษาคนอื่น ขอเวลาดูอีกครั้งหนึ่ง ขณะที่นายคณิตกำลังดำเนินการให้เกิดความปรองดอง ขบวนการทางการเมืองที่ส่งเสริมให้มีการแบ่งแยกในสังคมต้องยุติ อีกทั้งรัฐบาลต้องดำเนินการเรื่องเว็บไซต์ที่หมิ่นสถาบัน และว่าในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้มีแนวคิดที่จะดึงบุคคลเหล่านี้มาเป็นที่ปรึกษา เพราะต้องการให้ คอป.ทำงานอย่างเป็นอิสระ หากรัฐบาลชี้นำเท่ากับว่าเข้าไปแทรกแซง ซึ่งไม่เป็นการสมควร

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทหารพม่า-ไทใหญ่"เหนือ" ปะทะกันในเมืองสี่ป้อ-ล่าเสี้ยว ของรัฐฉาน

Posted: 24 Sep 2011 03:39 AM PDT

แหล่งข่าวในรัฐฉานแจ้งว่าเมื่อวันที่ 22 ก.ย. ทหารกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" SSA/SSPP กองพันที่ 726สังกัดกองพลน้อยที่ 36 ได้ปะทะกับทหารพม่าสังกัดกองพันทหารราบที่ 506 ภายใต้การนำของพ.ต.จ่อวินหน่าย บริเวณบ้านป้าก ใกล้กับบ้านนานาย ตำบลเมืองตุ๋ง เขตเมืองเกซี ในรัฐฉานภาคกลางการปะทะเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 11.00 – 11.45 น. ผลฝ่ายทหารพม่าเสียชีวิต1 นาย บาดเจ็บ 7 นาย

นอกจากนี้เมื่อวันที่ 20 ก.ย. ที่ผ่านมา ได้เกิดการปะทะกันอย่างดุเดือดระหว่างทหารพม่าสังกัดกองพันทหารราบที่ 291 กับทหารกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" SSA/SSPP ตรงบริเวณตะวันตกแม่น้ำป้องเขตเมืองล่าเสี้ยว รัฐฉานภาคเหนือ การปะทะเกิดขึ้นหลังหน่วยอารักขาเขตพื้นที่ที่ 9กองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" ซุ่มโจมตีทหารพม่าส่งผลให้ฝ่ายทหารพม่าเสียชีวิต 6 นาย บาดเจ็บอีกจำนวนมาก ส่วนฝ่ายกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ"ไม่มีรายงานการสูญเสีย

ทั้งนี้กองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" SSA/SSPP สามารถยึดอาวุธของทหารพม่าได้อีกหลายรายการประกอบด้วย ปืน MA1 3 กระบอก ปืน MA4 ติดเครื่องยิงลูกระเบิดM79  1 กระบอกกับระเบิด 4 ลูก กระสุนปืน 458 นัด ซองบรรจุกระสุนปืน 16 ซอง วิทยุสื่อสาร 1 เครื่องและเงินสดสกุลพม่าอีก 20,000 จ๊าต

การสู้รบระหว่างทหารกองทัพพม่ากับกองทัพรัฐฉาน"เหนือ" SSA/SSPP (Shan State Army / State Progressive Party) ซึ่งเป็นอดีตกลุ่มหยุดยิงกับรัฐบาลทหารพม่ามาตั้งแต่ปี 2532 ได้ดำเนินมาตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม หลังกองทัพพม่าส่งกำลังบุกเข้าโจมตีเหตุเนื่องจากกองทัพรัฐฉาน "เหนือ" ปฏิเสธรับข้อเสนอในการเปลี่ยนสถานะกองกำลังเป็นหน่วยพิทักษ์ชายแดนBGF (Border Guard Force) ภายใต้การกำกับของรัฐบาลทหารพม่า

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/

"คนเครือไท"เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน(SHAN– Shan Herald Agency for News)มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.orgและภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปธน. เยเมนกลับประเทศ ร้องทั้งสองฝ่ายหยุดยิง

Posted: 24 Sep 2011 03:04 AM PDT

ประธานาธิบดีอาลี อับดุลลาห์ ซาเลห์ ของเยเมนเดินทางกลับประเทศแล้วหลังจากไปพักรักษาตัวที่ซาอุฯ เมื่อราว 3 เดือนก่อน พร้อมเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายหยุดยิงและหันหน้ามาเจรจากัน องค์กรสิทธิพลเมืองโลกรายงานว่ามีเยาวชนกว่า 4 ล้านในเยเมนออกมาชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยทั่วประเทศ

23 ก.ย. 2011 - ประธานาธิบดีอาลี อับดุลลาห์ ซาเลห์ ของเยเมนได้เดินทางกลับประเทศพร้อมเรียกร้องให้เปิดการเจรจารอบใหม่ ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายต่อต้านยังคงเปิดฉากปะทะกันทางตอนเหนือของเมืองหลวง

เจ้าหน้าที่ทำเนียบประธานาธิบดีเปิดเผยว่า ปธน. ซาเลห์เรียกร้องให้กลุ่มทหารและกลุ่มทางการเมืองหยุดใช้กำลังในการแก้ปัญหา และเชื่อว่าทางออกเดียวที่จะแก้ไขวิกฤติได้คือการเปิดเจรจาหารือ

โดยก่อนหน้านี้ซาเลห์ได้เดินทางไปพักฟื้นที่ซาอุดิอาร์เบียหลังจากเกิดเหตุระเบิดที่ทำเนียบประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 3 มิ.ย. ที่ผ่านมา

มาห์จูบ ซเวรี ศาตราจารย์มหาวิทยาลัยกาตาร์ให้ความเห็นกับว่าซาเลห์กลับมาเพื่อทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงตามที่สัญญาไว้ เป็นไปได้ยากที่ซาเลห์จะกลับมาโดยไม่มีการหารือกับซาอุดิอาร์เบีย และสหรัฐฯ มาก่อน การที่ซาเลห์กลับมาน่าจะทำให้คนอยากเห็นทางออกของวิกฤติ

เว็บไซต์ Al-Sahwa.net ของกลุ่มต่อต้านรัฐบาลรายงานว่าการปะทะที่เกิดขึ้นในเขต อัล-ฮาซาบา ทางตอนเหนือของกรุงซานาเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 18 ราย และได้รับบาดเจ็บ 56 ราย

Avaaz กลุ่มสิทธิพลเมืองโลกระบุว่ามีกลุ่มเยาวชนเรียกร้องประชาธิปไตยมากกว่า 4 ล้านคน ออกมาชุมนุมที่จัตุรัสเชนจ์และใน 17 เมือง ทั่วประเทศ

ผู้อยู่ในเหตุการณ์เล่าว่าเมื่อประชาชนที่ชุมนุมอยู่ที่จัตุรัสเชนจ์ได้ยิน ข่าวเรื่องการกลับมาของซาเลห์แล้ว พวกเขาก็พยายามฝ่าแผงกั้นของทหาร แต่ก็ถูกทหารยิงตอบโต้จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 ราย

ขณะเดียวกันก็ยังคงมีการปะทะกันด้วยอาวุธระหว่างฝ่ายริพับริกันการ์ดนำโดย ลูกชายของซาเลห์กับฝ่ายชนเผ่าที่ต่อต้านซาเลห์มาตั้งแต่วันที่ 22 ก.ย. มีเสียงยิงปืนครกตลอดทั้งคืนมาจนถึงตอนเช้าในเมืองซานาและทาอิซ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 ราย

สำนักข่าวอัลจาซีร่ารายงานว่านับตั้งแต่วันอาทิตย์ (18) ที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตรวม 100 รายแล้ว

ที่มา:

Yemen's Saleh calls for ceasefire on return, Aljazeera, 23-09-2011
http://english.aljazeera.net/news/middleeast/2011/09/201192344820432439.html

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

มาบตาพุดกับการยืนยัน (ร่าง) กฎหมายองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม

Posted: 24 Sep 2011 02:29 AM PDT

"ศรีสุวรรณ จรรยา" นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ประกาศเจตนาท้ารบกับรัฐบาล เมื่อรัฐบาลไม่ยอมยืนยันร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมฯ เข้าสภาฯ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ 2550 ประกาศบังคับใช้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 อาจถือได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ให้ความสำคัญกับ “สิทธิชุมชน” และ “สิทธิสิ่งแวดล้อม” ไว้เด่นชัดเป็นรูปธรรมที่สุด โดยเฉพาะในบทบัญญัติมาตรา 66 และ 67 ที่เจตนารมณ์ของกฎหมายในมาตราดังกล่าวสามารถบังคับใช้ได้ทันทีที่รัฐธรรมนูญประกาศบังคับใช้ในราชกิจจานุเบกษา

สิทธิดังกล่าวแม้จะไม่ใช่เรื่องใหม่เพราะในรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2540 ก็ได้เคยบัญญัติไว้บางส่วนแล้วในมาตรา 46 และมาตรา 56 แต่ทว่าในฉบับปี 2540 มิได้สามารถนำมาบังคับใช้ได้ทันที ต้องรอให้มีการออกกฎหมายลูกขึ้นมารองรับเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวเสียก่อน เพราะในตอนท้ายของกฎหมายกลับเขียนไว้ว่า “ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ” เพราะในภาษากฎหมายเป็นที่รู้กันว่า ถ้ายังไม่มีกฎหมายลูกเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าวก็ไม่สามารถนำมาบังคับใช้ได้

เรื่องดังกล่าวจึงเข้าล็อคของเหล่านักการเมือง ผู้ประกอบการนายทุนและข้าราชการบางส่วนที่ไม่ต้องการให้รัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ดังนั้นเราจึงเห็นเป็นรูปธรรมเด่นชัดว่าตลอดระยะเวลาเกือบ 9 ปี ตั้งแต่วันที่รัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ประกาศใช้ 11 ตุลาคม 2540 จนถึงวันที่รัฐธรรมนูญถูกยกเลิก 19 กันยายน 2549 การผลักดันให้มีกฎหมายลูกเพื่ออนุวัตรให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของมาตรา 46 และ 56 จึงไม่สามารถบังเกิดขึ้นได้

แต่หลังจากที่เรามีรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ขึ้นมาและประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 ความพยายามที่จะขัดขวาง หรือต่อต้าน หรือไม่เห็นชอบให้มีการอนุวัตรกฎหมายลูกให้ออกมาบังคับใช้ ยังคงถูกต่อต้านตลอดเวลาจากพวกนักการเมือง ผู้ประกอบการนายทุน และข้าราชการบางส่วนที่เกี่ยวข้อง แม้จะได้มีการเสนอ กระตุ้น ร้องเรียน ต่าง ๆ นานาจากภาคประชาสังคมมากมายเพียงใดก็ตาม จนในที่สุดระยะเวลาผ่านไปเกือบ 2 ปีความกระตือรือร้นที่จะผลักดันกฎหมายดังกล่าวให้นำเข้าสภาให้เห็นชอบแล้วนำออกมาประกาศบังคับใช้ก็ไม่เป็นผล ในที่สุดสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนและชาวบ้านมาบตาพุด เริ่มจับเล่ห์ฉลของเหล่านักการเมือง นายทุน และข้าราชการที่เกี่ยวข้องได้ จึงได้ใช้มาตรการทางกฎหมาย ขึ้นมาใช้ทันทีโดยฟ้องหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง 8 หน่วยงานต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2552 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 67 วรรคสอง

ต่อมาไม่นานวันที่ 29 กันยายน 2552 ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งให้การคุ้มครองชั่วคราวสิทธิชุมชนของชาวบ้านในพื้นที่มาบตาพุดและบ้านฉาง ตามคำฟ้องโดยสั่งให้หน่วยงานรัฐผู้ถูกฟ้อง 8 หน่วยงานได้สั่งให้ผู้ประกอบการนายทุนเจ้าของโครงการหรือกิจกรรมประเภทรุนแรงจำนวน 76 โครงการระงับการดำเนินโครงการไว้เป็นการชั่วคราวก่อน

คำสั่งของศาลปกครองกลางดังกล่าว เปรียบเสมือนฟ้าผ่าลงมากลางหัวใจของรัฐบาลและนักธุรกิจทุนอุตสาหกรรมทั้งหลาย เพราะไม่มีใครคาดคิดว่า พลังของสิทธิชุมชนจากชาวบ้านตัวเล็ก ๆ จะสามารถทำให้เหล่าพวกยักษ์อุตสาหกรรมและหน่วยงานรัฐร้องโอดโอยไปได้ เพราะคงไม่มีใครคาดคิดอีกเช่นกันว่าผู้กุมอำนาจรัฐทั้งหลาย จะพ่ายแพ้มรรควิธีตามกระบวนการของกฎหมายโดยภาคประชาสังคม

นักการเมือง นายทุน และข้าราชการที่เกี่ยวข้องต่างออกมาเสนอหน้าเพื่อขอความเห็นใจและเร่งรีบผลักดันให้มีกฎหรือระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 67 วรรคสอง แทบจะโดยทันที ไม่ว่าภาคประชาสังคม ประชาชนจะเสนอแนะอะไรเป็นตอบรับเห็นดีเห็นงามไปหมด จนในที่สุดเราก็ได้ระเบียบหรือแนวทางเกี่ยวกับการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพหรือ EHIA ได้ประเภทกิจการรุนแรง และเราก็ได้ร่างกฎหมายองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ พ.ศ. ที่ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียแล้วจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ

แต่เนื่องจากเกรงว่าภาคธุรกิจผู้ประกอบการจะเสียหายไปมากกว่านี้จึงได้ช่วยกันผ่อนปรนหรือยอมอ่อนข้อให้มีการจัดตั้งองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพขึ้นมาเป็นการชั่วคราวก่อน ในรูปแบบของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี และคาดหวังว่าเมื่อร่างกฎหมายดังกล่าวผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ผ่านกฤษฎีกา ผ่านสภาผู้แทนราษฎร ผ่านวุฒิสภาแล้วจะมี “องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ” ที่ถาวรอยู่ในรูปพระราชบัญญัติโดยเร็วต่อไปทันที แต่เผอิญมีการยุบสภาไปเสียก่อน ร่างกฎหมายดังกล่าวจึงต้องค้างพิจารณาไว้ที่รัฐสภา จนกว่าจะมีสภาผู้แทนชุดใหม่ และมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ามาทำงานแล้ว

เพราะตามหลักรัฐธรรมนูญ มาตรา 153 เมื่อมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่หลังจากการเลือกตั้ง หากมีกฎหมายใดที่ค้างการพิจารณาอยู่ในรัฐสภาจะต้องตกไป เว้นแต่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะได้ร้องขอกลับไปยังรัฐสภาภายใน 60 วันหลังจากมีการเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรก (1 สิงหา 54) กฎหมายต่าง ๆ ที่ค้างรัฐสภาอยู่ก็จะสามารถเดินหน้าการพิจารณาต่อไปได้

เรื่องนี้สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน และผองเพื่อนได้ยื่นจดหมายถึงท่านายกรัฐมนตรีและท่านรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรฯแล้ว 2 ครั้ง เพื่อขอให้ท่านได้ยืนยันร่างกฎหมายดังกล่าวให้สภาฯได้พิจารณาดำเนินการต่อไป เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 54 ที่ระบุไว้ในนโยบาย ข้อที่ 5.3 เกี่ยวกับนโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่าจะดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและเร่งรัดการควบคุมมลพิษ โดยการปรับปรุงกฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการ การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ปรับปรุงกองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เอื้อต่อการเข้าถึงขององค์กรภาคประชาชน และผลักดันกฎหมายว่าด้วยองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันเท่าที่ทราบข่าวมาว่าฝ่ายการเมือง โดยเฉพาะกลุ่มสายอดีตรัฐมนตรียิงตู้เย็นพรุน ไม่ต้องการให้มีกฎหมายฉบับดังกล่าวเกิดขึ้น ในขณะเดียวกันฝ่ายราชการประจำในกระทรวงที่เกี่ยวข้องก็เห็นพ้องด้วย เพราะหากปล่อยให้มีองค์การอิสระฯถาวรขึ้นมา อาจจะเป็นการสร้างองค์กรใหม่มาบดบังรัศมีหน่วยงานของตนนั่นเอง เรื่องนี้ต้องติดตามดูกันต่อไป ถ้ารัฐบาลปฏิเสธไม่ยอมยืนยันกฎหมายดังกล่าวให้รัฐสภาพิจารณาต่อไป ก็จะเป็นหลักฐานที่สำคัญที่สมาคมฯจักต้องนำเสนอต่อศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญในคดีที่สมาคมฟ้องร้องเกี่ยวพันอยู่กับประเด็นดังกล่าวในหลาย ๆ คดีต่อไป ซึ่งจะชี้ให้ศาลเห็นว่ารัฐบาลหลอกลวงประชาชนมาโดยตลอด โดยเฉพาะคดีมาบตาพุดที่ยังรอการพิสูจน์ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในชั้นศาลปกครองสูงสุดอยู่ รวมทั้งการก้าวย่างสู่ศาลรัฐธรรมนูญ และจะพิสูจน์เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 66 และ 67 ในอีกหลายคดี ซึ่งหากรัฐบาลเบี้ยวไม่ยืนยันร่างกฎหมายดังกล่าว สมาคมฯจำต้องร่วมมือกับชาวบ้านทั่วประเทศ จะช่วยกันฟ้องร้องรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแบบไม่ไว้หน้ากัน หรือไม่ต้องเกรงใจกันอีกต่อไป อาทิ

คดีการก่อตั้งนิคมอุตสาหกรรมบ้านค่ายในจังหวัดระยอง คดีการไม่ยอมประกาศผังเมืองรวมในพื้นที่มาบตาพุด และจังหวัดระยอง คดีเรียกค่าเสียหายจากผลกระทบจากการแพร่กระจายมลพิษจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและใกล้เคียง คดีล้มโรงไฟฟ้า IPP-SPP ทั่วประเทศ คดีล้มโครงการย้ายโรงงานยาสูบไปที่อยุธยา คดีล้มโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 10 สายใน กทม. คดีล้มมอเตอร์เวย์ทั่วประเทศ คดีล้มแลนด์บริดจ์ท่าเรือปากบารา คดีล้มกองทุนน้ำมัน คดีล้มโครงการใช้ไฟฟ้าฟรี 90 หน่วย และอีกหลาย ๆ คดี

เรื่องนี้ไม่ใช่ขู่แต่เอาจริง ตราบใดที่รัฐบาลปฏิเสธไม่ยืนยันร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระฯเข้าสภาภายใน 29 ก.ย.นี้...ไม่เชื่อลองดูกัน...
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักข่าวพลเมือง: นักศึกษามุสลิม มรส.โดนข่มขืนนานกว่า 1 เดือน ยังหาข้อสรุปไม่ได้

Posted: 24 Sep 2011 02:04 AM PDT

เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2554 ที่อาคารสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี  พ.ต.ท.ปิยะพงษ์ บุญแก้ว สวป. สภ.ขุนทะเล ร่วมกับร้อยเวณ สภ.ขุนทะเลกว่า 5 นาย ประชุมร่วมกับ นายอายัพ ซาดัตคาน นายกนักศึกษา นายวราวุธ มะ รองนายกนักศึกษา นายอัฟฟารร์ ยูโซ๊ะมายู ประธานชมรมมุสลิมสัมพันธ์ สำหรับการประชุมในวันดังกล่าว เป็นการหาแนวทางแก้ไขปัญหากรณีนักศึกษามุสลิมมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ที่โดนข่มขืน ตั้งแต่หลังถือศีลอด ช่วงวันฮารีรายอ ซึ่งเป็นวันสำคัญของชาวมุสลิม ทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี นักศึกษามุสลิมกลับบ้านเนื่องในวันฮารีรายอ 98 % ทำให้คนร้ายฉกฉวยโอกาสเวลาช่วงดังกล่าว ในการข่มขืนกระทำชำเรา นักศึกษามุสลิม เบื้องต้น พ.ต.ท.ปิยะพงษ์ บุญแก้ว สวป. กล่าวว่าสามารถเก็บรอยคราบอสุจิของคนร้ายได้แล้ว และอยู่ในขั้นพิสูจน์หลักฐานอีกครั้งหนึง

ทางด้านนายอายัพ ซาดัตคาน นายกนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี กล่าวว่าขอให้ทางตำรวจที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ หาตัวผู้ร้ายให้ได้และอย่าจับแพะเด็ดขาด เพราะมหาวิทยาลัยแห่งนี้มีนักศึกษามุสลิมจำนวนมาก เกินครึ่งก็ว่าได้ และนักศึกษามุสลิมเหล่านี้สร้างผลประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัยก็มาก และถ้ามีเหตุการอย่างนี้เกิดขึ้นก็จะส่งผลในระยะยาว คืออนาคต นักศึกษามุสลิม 3 จังหวัดจะไม่มาศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี เพราะหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินไม่ได้ ทำให้เกินผลกระทบกับหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

นายซอแหล๊ะ โต๊ะบาย  คณะกรรมการอิสลามฝ่ายประชาสัมพันธ์ ซึ่งเข้าประชุมแทนประธานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดสุราษฎร์ธานี  กล่าวในที่ประชุมว่า คณะนี้ นายเขตรัฐ เทพรัตน์ ประธานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ทราบเรื่องแล้ว และหารือกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี และร่วมหารือ กับคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเพื่อทำให้นักศึกษาที่เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยรู้สึกว่าปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักวิทยาศาสตร์อิตาลี ทดลองพบอนุภาคไวกว่าแสง

Posted: 24 Sep 2011 01:50 AM PDT

นักวิทยาศาสตร์โครงการ Opera ในอิตาลีทำการทดลองอนุภาคที่ชื่อ 'นิวทรีโน' เปิดเผยว่าอานุภาคชนิดนี้เดินทางได้ไวกว่าแสง ค้านทฤษฎีของไอน์สไตน์ แต่ทางทีมยังไม่ยอมรับผล หมายให้มีการพิสูจน์ซ้ำ

22 ก.ย. 2011 - พื้นฐานแนวคิดเรื่องจักรวาลวิทยาและความเข้าใจเรื่องเวลาระบุไว้ว่าไม่มีอะไรที่เดินทางไวกว่าแสง แต่บัดนี้ดูเหมือนว่านักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานวิจัยในห้องแล็บฟิสิกส์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในแถบเทือกเขาของอิตาลี ได้ออกมาเปิดเผยว่าพวกเขาค้นพบอนุภาคที่เดินทางเร็วกว่าแสง ซึ่งคัดค้านกับทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์

สำนักข่าวการ์เดียนของอังกฤษรายงานว่า มีนักวิจัยจากสถาบันวิจัยแกรนซัสโซ (Laboratori Nazionali del Gran Sasso หรือ LNGS) ประเทศอิตาลีได้เปิดเผยหลักฐานที่อาจนำเราไปสู่ความเป็นไปได้เรื่องการส่งผ่านข้อมูลย้อนเวลา บดเบลอเส้นแบ่งระหว่างอดีตกับปัจจุบัน และอาจถึงขั้นทลายหลักการพื้นฐานเรื่องมูลเหตุและผลที่ตามมา

นักวิทยาศาสตร์บอกว่าพวกเขาจะรายงานผลลัพธ์ที่ได้ในการสัมมนาพิเศษที่เซิร์น (Cern) สถาบันค้นคว้าวิจัยฟิสิกส์เชิงอนุภาคของยุโรป และขณะเดียวกันก็จะตีพิมพ์รายงานวิจัยถึงการทดลองชิ้นนี้

นักวิจัยเหล่านี้มาจากโครงการชื่อ Opera (Oscillation Project with Emulsion-tRacking Apparatus) ทำการทดลองโดยการบันทึกเวลามาถึงของอนุภาคเล็กกว่าอะตอมที่ชื่อ 'นิวทรีโน' ซึ่งถูกส่งมาจากเซิร์นโดยเดินทางเป็นระยะทาง 730 กม. ผ่านพื้นโลกจนถึงห้องแล็บที่แกรนซัสโซ

การที่แสงเดินทางผ่านระยะทางเช่นนี้จะต้องใช้เวลา 2.4 มิลลิวินาที แต่หลังจากดำเนินการทดลองเป็นเวลา 3 ปี และจดบันทึกการเดินทางมาถึงของนิวทรีโน 15,000 อนุภาค นักวิทยาศาสตร์ก็ค้นพบว่าอนุภาคชนิดนี้ใช้เวลาเดินทางถึงแกรนซัสโซเร็วกว่าแสง 60,000 ล้านวินาที โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนมากหรือน้อยกว่า 10,000 ล้านวินาที

การวัดผลเทียบได้ค่าออกมาว่า ถ้าหากแสงเดินทางด้วยความเร็ว 299,792,458 เมตรต่อวินาที นิวทรีโนก็จะเดินทางด้วยความเร็ว 299,798,454 เมตรต่อวินาที

แต่อย่างไรก็ตามทีมวิจัยกลับรู้สึกว่าผลที่เกิดขึ้นไม่น่าจะเป็นไปได้และจะต้องระวังในการตีความผลการวิจัย โดยนักฟิสิกส์ระบุว่าพวกเขายังคงตั้งคำถามกับผลลัพธ์ที่ได้จนกว่าสถาบันวิจัยอื่นๆ จะช่วยพิสูจน์

อันโตนิโอ อิเรดิเตโต ผู้ประสานงานของโครงการ Opera กล่าวกับสำนักข่างเดอะ การ์เดียนว่า "พวกเรารู้สึกประหลาดใจกับผลลัพธ์ที่ได้มาก แต่ผลการทดลองจะยังไม่ถือเป็น 'การค้นพบ' จนกว่าจะมีการพิสูจน์โดยบุคคลอื่น"

"เมื่อคุณได้ผลลัพธ์มาแล้ว คุณก็ต้องการจะแน่ใจว่าคุณไม่ได้ทำผิดพลาด และไม่มีปัจจัยอันตรายที่คุณไม่ทันนึกถึง พวกเราใช้เวลาทดลองหลายๆ เดือน พยายามตรวจเช็กแล้วก็ไม่พบว่ามีข้อผิดพลาดใดๆ" อันโตนิโอกล่าว เขายังได้บอกอีกว่าหากจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นในการทดลองจริง มันต้องเป็นความผิดพลาดชนิดร้ายแรง เนื่องจากพวกเขาฉลาดพอจะควบคุมไม่ให้เกิดปัจจัยผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ไว้ได้

ทางกลุ่ม Opera บอกว่าพวกเขาอยากให้ชุมชนนักฟิสิกส์ช่วยตรวจสอบผลการทดลองและช่วยค้นหาข้อผิดพลาดในการประเมินผล หรือพิสูจน์ผลซ้ำด้วยการทดลองของตนเอง

ซูเบียร์ ซาร์คาร์ ประธานกลุ่มทฤษฎีอนุภาคที่มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ดกล่าวว่า "หากข้อพิสูจน์นี้เป็นจริง มันจะเป็นเหตุการณ์ที่ใหญ่โตมาก มันเป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน"

"ความเร็วแสงที่คงตัวได้ปักหมุดความเข้าใจเรื่องพื้นที่ เวลา และปัจจัยภาพของพวกเราว่าจะต้องมีเหตุก่อนถึงเกิดผล" ซูเบียร์กล่าว "เหตุไม่ควรเกิดขึ้นหลังผลและนี้ก็เป็นรากฐานตายตัวในการสร้างจักรวาลเชิงกายภาพของพวกเรา ถ้าพวกเราไม่มีหลักเหตุผลเช่นนี้แล้ว พวกเราก็เหลวแน่"

วิธีการทดลองของ Opera ในการตรวจหานิวทรีโนคือการตรวจจับจากเครื่องที่มีน้ำหนักรวมถึง 1,300 ตัน ทำจากฟิล์มอิมัลชั่น 150,000 'ก้อน' ซ้อนทุก 'ก้อน' ด้วยจานตะกั่ว แม้ทีม Opera จะค้นพบว่าการเดินทางของนิวทรีโนเร็วกว่าความไวแสงเพียงเล็กน้อย แต่ผลลัพธ์ที่ได้ก็ถือว่าน่าทึ่งหากพิจารณานัยสำคัญในเชิงสถิติ ซึ่งส่งผลสะเทือนมากในการค้นคว้าเชิงฟิสิกส์อนุภาค

นักฟิสิกส์สามารถอ้างการค้นพบได้หากผลการทดลองถูกวัดค่าความคลาดเคลื่อนในทางสถิติมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมากกว่า 5 หรือต่ำกว่า 1 ในล้าน ซึ่งการทดลองโดยทีมในแกรนซัสโซได้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็น 6

แต่อันโตนิโอบอกว่าทางทีมไม่ยอมรับการค้นพบเนื่องจากผลลัพธ์มันถอนรากถอนโคนมากเกินไป "เมื่อใดก็ตามที่คุณแตกต้องอะไรที่เป็นรากฐาน คุณควรจะรอบคอบมากเป็นพิเศษ"

อลัน คอสเทลเล็กกี ผู้เชี่ยวชาญด้านความเป็นไปได้ในกระบวนการเดินทางเร็วกว่าแสงแห่งมหาวิทยาลัยอินเดียน่าบอกว่า ขณะที่นักฟิสิกส์ยังคงรอการพิสูจน์ซ้ำ แต่เรื่องนี้ก็น่าสนใจ

"มันเป็นผลลัพธ์ที่อัศจรรย์มากจนยากจะยอมรับเองได้โดยไม่มีใครพิสูจน์ซ้ำ แต่ต้องมีคนให้ความสนใจจำนวนมากแน่" อลันกล่าว

โดยก่อนหน้านี้ในปี 1985 อลันและเพื่อนร่วมงานของเขาตั้งสมมุติฐานว่าอนุภาคนิวทรีโนสามารถเดินทางเร็วกว่าแสงโดยการทำปฏิกิริยากับพื้นที่ซึ่งไม่อาจวัดได้ในสูญญากาศ

"ด้วยพื้นฐานเช่นนี้ ก็ไม่จำเป็นว่าความเร็วสูงสุดที่เป็นไปได้ในธรรมชาติจะเป็นความเร็วแสง" อลันกล่าว "แต่(ความเร็วสุงสุดที่เป็นไปได้) กลับกลายเป็นความเร็วของนิวทรีโนและแสงก็แค่เดินทางช้ากว่า"

นิวทรีโนเป็นอนุภาคพิศวง พวกมันมีมวลที่เล็กมาก ไม่มีประจุไฟฟ้า และสามารถทะลุผ่านวัตถุได้แทบทุกชนิดราวกับว่ามันไม่ได้มีอยู่

อลันบอกอีกว่า หากผลลัพธ์ได้รับการพิสูจน์ซ้ำ มันอาจแพ่วถางหนทางไปสู่ทฤษฎีใหญ่ที่มีหลอมรวมระหว่างเรื่องแรงโน้มถ่วงกับกลศาสตร์ควอนตัม ซึ่งเป็นปริศนาคาใจนักฟิสิกส์มานานกว่าศตวรรษแล้ว

ไฮน์ริช แพส นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยดอร์ทมุนด์ได้พัฒนาทฤษฎีที่น่าจะอธิบายผลการทดลองได้ คือการที่นิวทรีโนน่าจะสามารถข้ามผ่านห้วงกาลเทศะได้ โดยการเดินทางจากเซิร์นมาถึงแกรนซัสโซผ่านห้วงมิติพิเศษ "ซึ่งทำให้ดูเหมือนว่าอนุภาคนี้เดินทางไวกว่าแสง แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่"

แต่ซูซาน คาร์ทไรท์ อาจารย์อาวุโสด้านดาราศาสตร์ฟิสิกส์เชิงอนุภาคที่มหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์กล่าวว่า "ผลการทดลองนิวทรีโนไม่ได้ส่งผลในทางประวัติศาสตร์ได้มากมาย จนขนาดทำให้คำว่า 'อย่าตะลึงจนหยุดหายใจ' ผุดขึ้นมาในหัวเวลาที่ได้ยินผลลัพธ์ที่ค้านกับสัญชาติญาณการรับรู้ทั่วไปขนาดนี้"

สำนักข่าวการ์เดียนรายงานอีกว่า มีทีมทดลองอีก 2 ทีมคือ T2K ในญี่ปุ่น และ MINOS ในสหรัฐฯ จะทำการทดลองซ้ำในเรื่องนี้ โดยทีม MINOS ได้เห็นเคยมองเห็นแนวโน้มในการที่นิวทรีโนจะเดินทางเร็วกว่าแสงมาก่อนในปี 2007 แต่ไม่ได้ทำการพิสูจน์

ที่มา:

Faster than light particles found, claim scientists, The Guardian, 22-09-2011
http://www.guardian.co.uk/science/2011/sep/22/faster-than-light-particles-neutrinos

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คนเหนือรำลึก 5 ปีรัฐประหาร 19 ก.ย.

Posted: 24 Sep 2011 01:10 AM PDT

คนเหนือร่วมสัปดาห์รำลึก 5 ปี รัฐประหาร 19 ก.ย. เสื้อแดง “เชียงใหม่-ลำพูน” แรลลี่รณรงค์ประชาธิปไตย ด้านภาควิชาการจัดเสวนา "5 ปีรัฐประหาร และการปฏิรูปการเมืองรอบใหม่" ชี้จะปฎิรูปกองทัพสำเร็จ ต้องสร้างความเข้มแข็งให้ผู้มีบทบาททางการเมือง เช่น พรรคการเมือง ฝ่าย บริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ ภาคประชาชน
 
 
เสื้อแดงเชียงใหม่แรลลี่รณรงค์ประชาธิปไตย
ด้านภาควิชาการจัดเสวนา "5 ปีรัฐประหาร และการปฏิรูปการเมืองรอบใหม่"
 
เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 54 กลุ่ม นปช.นครหริภุญไชยและกลุ่มสมาพันธ์ประชาธิปไตยเขตเหนือ(แดงลำพูน) ประมาณ 50 คน ร่วมกิจกรรมทำบุญตักบาตรที่วัดสันป่ายางหลวง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำพูน จากนั้นได้ จัดการแรลลีรถจักรยานยนต์และรถยนต์กว่า 20 คันเป็นริ้วขบวนจาก ต.เหมืองง่า ไปตามถนนสายลำพูน-เชียงใหม่ สิ้นสุดที่ ต.อุโมงค์ แล้ววกกลับมาที่อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี ต.ในเมือง อ.เมือง เพื่อร่วมแถลงการณ์ นปช.แดงนครหริภุญชัย
 
ทั้งนี้แกนนำกลุ่มแดงลำพูนเปิดเผยว่าการออกมาเคลื่อนไหวในกิจกรรมวันครอบรอบ 5 ปีรัฐประหารในวันนี้ นับเป็นการเคลื่อนไหวในเชิงสัญลักษณ์เพื่อให้เห็นว่า ถึงแม้พรรคเพื่อไทยจะได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา แต่คนเสื้อแดงลำพูนจะยังเดินทางต่อสู้กับการปฏิวัติรัฐประหารและชัยชนะที่แท้จริง ซึ่งกิจกรรมต่อไปคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ(รธน.)ปี 2550 ที่ได้มาจากการปฏิวัติเพื่อคืนความเป็นธรรมให้กับสังคมได้ในที่สุด
 
นอกจากนี้ยังมีการประกาศแถลงการณ์จากกลุ่มคนเสื้อแดงลำพูน ประณามการยึดอำนาจที่ผ่านมาซึ่งทำให้เมืองไทยถอยหลัง หยุดการพัฒนาประเทศ ส่งผลกระทบถึงเพื่อนบ้านต่างประเทศ ทำให้ประชาชนและบ้านเมืองที่ผ่านมาเสียโอกาส รวมทั้งการถูกทหารยึดอำนาจด้วยรถถังทำให้ปี 2553 ต้องสูญเสียคนตายไปแล้ว 91 ศพ เจ็บกว่า 200 คน สูญหายอีกจำนวนหนึ่งไปกับเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองเมื่อวันที่ 10 เม.ย. และ 19 พ.ค.
 
วันเดียวกันที่ จ. เชียงใหม่ ที่โรงแรมวโรรสแกรนด์พาเลซ ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ กลุ่มรักเชียงใหม่ 51 จำนวนมากรวมตัวกันบริเวณหน้าโรงแรมเพื่อร่วมกิจกรรมเพื่อรำลึกและต่อต้าน รัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 โดยมีการรับประทานอาหารร่วมกัน จากนั้นเวลาประมาณ 13.00 น. กลุ่มรักเชียงใหม่ 51 พร้อมด้วยกลุ่มคนเสื้อแดงจากจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือได้จัดขบวนแห่ โดยมีรถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถเครื่องขยายเสียงและรถสองแถวแดงความยาวร่วม 500 เมตร เคลื่อนตัวออกจากหน้าโรงแรมวโรรสแกรนด์พาเลซไปยังหน้าอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ผ่านประตูช้างเผือก มุ่งหน้าไปยังตลาดวโรรส และไปทำกิจกรรมที่ลานอเนกประสงค์ข่วงประตูท่าแพ ก่อนเคลื่อนขบวนไปตามจุดต่างๆ ของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งตลอดเส้นทางมีประชาชนถือธงสีแดงออกมาโบกต้อนรับอย่างคึกคัก แล้วขบวนจึงกลับไปรวมตัวกันที่หน้าโรงแรม โดยในช่วงค่ำมีการปราศรัยบนเวทีหัวข้อ “ปิดฉากเผด็จการ 19 กันยา” โดยมีแกนนำกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 ขึ้นปราศรัย และนายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก ผู้ช่วยเลขานุการัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ขึ้นปราศรัยด้วย
 
 
เสวนา " 5 ปีรัฐประหาร และการปฏิรูปการเมืองรอบใหม่"
 
สำนักข่าวประชาธรรมรายงานว่าเมื่อวันที่ 21 ก.ย. 54 คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ  และสำนักข่าวประชาธรรม จัดเสวนา "5 ปีรัฐประหาร และการปฏิรูปการเมืองรอบใหม่" ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารปฏิบัติการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
มีวิทยากรในการเสวนาได้แก่ อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ศรีวรรณ จันทร์ผง แกนนำนปช.เชียงใหม่, ภัควดี ไม่มีนามสกุล นักเขียน นักแปลอิสระ, ธเนศวร์ เจริญเมือง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สมชาย ปรีชาศิลปะกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ณัฐกร วิทตานนท์ สำนักนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยมี ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นพิธีกรดำเนินการเสวนา
 
.............................
 
อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ กล่าวว่า ผลสรุปของ 5 ปีรัฐประหาร  อยากชวนมองให้เป็นกระบวนการ  เกิดอะไรขึ้นในบ้านเรา  ในวันนี้สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการต่อสู้เพื่อเคลื่อนเข้าสู่สังคมประชาธิปไตย  ในการต่อสู้ที่ผ่านๆมามันมีปัญหาอยู่ตรงไหนที่ทำให้เกิดโศกนาฏกรรม  คนส่วนมากจะมองไปที่มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์  แต่ในฐานะนักประวัติศาสตร์นั้น  ถ้ามองอะไรที่ยาวไกลมากไปอาจจะทำให้ไม่เข้าใจปัจจุบัน  ฉะนั้นการมองไปที่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นไกลไป แน่นอนว่านักประวัติศาสตร์ไม่สามารถมองข้ามประเด็นนี้ได้ แต่คิดว่ามรดกที่ตกทอดที่ใกล้กว่านั้นและทำให้เป็นปัญหาจนถึงทุกวันนี้ คือ การจัดความสัมพันธ์ใหม่ในสมัยพล.เอกเปรม  สภาวะหลังปี 2516  ระบบอำนาจเด็ดขาดมันอยู่ไม่ได้  จึงเกิดประชาธิปไตยแบบครึ่งใบขึ้นมา มีระบบการเลือกตั้งขึ้นมา แต่อำนาจสูงสุดยังอยู่ในมือของพล.เอกเปรม  (ภาคราชการ)   อำนาจในสมัยเปรมเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามาแบบครึ่งๆ
 
การเมืองประชาธิปไตยครึ่งใบของเปรมถือว่ายังมีความชอบธรรมไม่มากนัก  จึงใช้วิธีการเดียวกับสฤษดิ์ คือ เข้าไปแอบอิงกับสถาบันกษัตริย์  ดังนั้นกระบวนนี้น่าสนใจคือ เกิดการสถาปนาอำนาจแบบใหม่ขึ้นมา  มีการรักษาระบบราชการกึ่งเลือกตั้ง  โดยใช้อำนาจนอกระบบเป็นครั้งคราว  สิ่งนี้เป็นผลตกทอดสมัยพล.เอกเปรมจนถึงปัจจุบัน  ซึ่งเกิดประมาณปี 2520   
 
การเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยในสมัยพลเอกเปรม เป็นผลมาจากการปรับตัวของชนชั้นนำระหว่างปี 2516-2519  เป็นการปรับตัวที่ชนชั้นนำรู้ว่าทำแบบเดิมนั้นไปไม่รอด  เป็นการปรับตัวที่ใช้ระบบราชการแช่แข็งนโยบายของนักการเมืองอีกปีกหนึ่ง เพื่อรักษาสถานภาพเดิมทางเศรษฐกิจของกลุ่มทุน  และเริ่มมีการเริ่มต้นประชานิยม  เมื่อบุญชู โรจนเสถียร สร้างนโยบายประชานิยม  พลเอกเปรมก็ดึงกลับไปเป็นของรัฐเพื่อไม่ปล่อยให้นักการเมืองใช้ประชานิยมได้อย่างเสรี  กลุ่มทุนเก่าก็ร่ำรวยขึ้น  ซึ่งระบบ 8 ปีนี้น่าสนใจและยังไม่มีใครศึกษาการสร้างเครือข่าย ทุกคนโดดไปด่าสถาบันอื่นโดยลืมดูโครงสร้างอันนี้
 
หลังสมัยพลเอกเปรม สมัยรัฐบาลชาติชายมีความพยายามในการรุกคืบเข้าไปในอำนาจของระบบราชการ  ทำให้เกิดการโต้กลับของอำนาจ  เกิด รสช.(คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ) ขึ้นมา  อย่างไรก็ตามหลังยุครสช.มีความพยายามในการรักษาประชาธิปไตยครึ่งใบอยู่ตลอดมา  พรรคประชาธิปัตย์ที่ได้อำนาจในช่วงหลังก็ไต่เส้นลวด ประชาธิปไตยแบบครึ่งใบมาตลอด  ซึ่งพยายามให้อำนาจราชการครึ่งหนึ่งไว้  ไม่ก้าวไปล่วงล้ำ เพื่อให้อำนาจตัวเองอยู่  ประชาธิปัตย์พยายามรักษาดุลอำนาจนี้ไว้
 
ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือการร่างรัฐธรรมนูญปี 40  เป็นการปลดล๊อคอำนาจประชาธิปไตยครึ่งใบ เป็นจุดเริ่มต้นในการดึงประชาชนเข้าร่วมทางการเมือง
 
การเมืองในสมัยทักษิณ ด้วยหลักการของรัฐธรรมนูญปี 40 ซึ่งปลดล๊อคอำนาจระบบราชการ   เกิดการจัดความสัมพันธ์อำนาจในระบบประชาธิปไตยใหม่  โดยลดทอนอำนาจระบบราชการในทุกส่วน  ปรับเปลี่ยนระบบราชการทุกระดับ ทั้งการศึกษา โรงพยาบาล ฯลฯ  รวมทั้งทำให้ความชอบธรรมทั้งหมดมาจากการเลือกตั้ง  จึงทำให้อำนาจประชาธิปไตยสั่นคลอน ทั้งหมดจึงนำไปสู่การรัฐประหาร 49  
 
รัฐประหารที่เกิดขึ้นและการเมืองหลังจากนั้น รวมถึงรัฐธรรมนูญปี 50 ถือเป็นการสืบทอดอำนาจในสมัยพล.เอกเปรมอย่างชัดเจน  ซึ่งเป็นการพยายามรักษาประชาธิปไตยครึ่งใบไว้  พยายามเข้าไปแอบอิงสถาบันเดิม พยายามสร้างกฎเกณฑ์ที่ทำให้ราชการมีอำนาจ เช่น การตั้งกฎโยกย้ายทหารต้องผ่านกรรมการทั้ง 7 คน เป็นต้น  ทำให้เกิดความขัดแย้งสูงมาก
 
กระบวนการที่เกิดขึ้นใน 5 ปีหลัง เป็นการยื้ออำนาจของระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบและอำนาจที่อ้างความชอบธรรมจากการเลือกตั้ง(ระบบราชการ กับภาคการเมือง)   ความรุนแรงปี 2552  และ  2553  จึงเป็นผลผลิตของการจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจคู่นี้ที่ยังไม่ลงตัว
 
นอกจากนี้การยื้อแย่งทางการเมืองดังกล่าวยังสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอีกด้วย ซึ่งความเปลี่ยนแปลงอันนี้ทำให้ชนบทไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป คนในชนบทในงานวิจัยของหลายท่านล้วนสะท้อนให้เห็นว่าคนชนบทไม่ใช่ชาวนา ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกับชนบทได้เปลี่ยนไปแล้ว อาจจะไม่มีชนบทเหลืออยู่ในความหมายเดิมอีกต่อไป
 
ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจมันนำมาสู่ "การเมืองเรื่องความหวัง"  (Politic of Hope) ซึ่งเมื่อเข้ามาสู่ระบบเศรษฐกิจนี้ แล้วคุณต้องมีความหวังว่าจะเดินไปข้างหน้าอย่างไร จากบทสัมภาษณ์ของงานวิจัยเรื่องเสื้อแดง สิ่งที่ปรากฏชัด คือ ประชาชนมีสำนึกทางพลเมือง  ความเปลี่ยนแปลง 2 ด้านนี้  จึงนำเข้ามาสู่การต่อสู้ทางการเมืองด้วย
 
ผลสรุป คือ การยื้อทางอำนาจไม่ก่อผลดีต่อสังคมไทยโดยรวม  ตนคิดว่าทางออกคือ  หนึ่ง ปลดล๊อคทางอำนาจ ด้วยการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อให้มีการจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจให้ลงตัวมากขึ้น (ถ้ายื้อแบบนี้โดยไม่ร่างกติกาก็จะทำให้เกิดโศกนาฏกรรมขึ้นอีก) การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ด้วยกลไกของปี 2540 จะทำให้สังคมไทยเคลื่อนไปสู่การตกลงกันได้ง่ายมากขึ้น
 
ซึ่งหลังจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ลงประชามติเสร็จแล้ว ควรยุบสภาเลือกตั้งใหม่  นี่คือสิ่งที่สำคัญเพราะจะทำให้เราเปิดหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ เพื่อแก้ไขความขัดแย้งอันนี้ แต่มีข้อกังวลคือ ถ้ารัฐบาลปัจจุบันมีความสุขกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ การร่างรัฐธรรมนูญใหม่อาจจะไม่เกิด  เพราะเป็นการให้อำนาจกับระบบราชการอยู่ ถ้ารัฐบาลยังคงอยู่ได้ โดยสามารถเปลี่ยนอำนาจระบบราชการมาอยู่ในมือ ประชาชนก็อาจต้องผลักดันมากขึ้น
 
สอง เราจะสร้างแนวทางการแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นเฉพาะเรื่องมากขึ้น ทั้งในรัฐสภาและในที่อื่นๆ โดยให้สังคมเป็นคนตัดสินได้อย่างไร เพื่อไม่ให้มีการรัฐประหารอีก เช่นการโยกย้ายทหาร ถ้ารัฐบาลต้องการโยกย้ายทหาร โดยผ่านคณะกรรมการทั้ง 7 คน แล้วมีเสียงครหา สังคมเป็นคนตัดสิน อาจจะด้วยการโหวตหรืออะไรก็แล้วแต่ ทหารก็จะไม่กล้ารัฐประหาร
 
กลุ่มที่สนับสนุนทางการเมืองต้องใจเย็นๆและมองการไกล ไม่ว่ากลุ่มใดก็ตาม ถ้าเกิดรัฐประหารครั้งต่อไปต้องมีจุดยืนให้ชัด เพราะคิดว่ารัฐปะหารครั้งต่อไปโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากทหารทั้งสองฝั่ง ทั้งฝั่งเดิมที่พยายามรักษาประชาธิปไตยครึ่งใบ กับทหารอีกฝั่งหนึ่งที่เราเรียกกันว่า "ทหารแตงโม" เราต้องมีจุดยืนให้ชัดว่าเราต้านรัฐประหารจากทุกกลุ่ม เพราะการรัฐประหารเป็นการลากสังคมไทยไปสู่จุดดับ
 
.....................................
 
ศรีวรรณ จันทร์ผง กล่าวว่า  การเมืองในช่วงนี้ก็เป็นการต่อยอดจากการเคลื่อนไหวปี 16 - 19  และพฤษภาทมิฬ  รัฐประหารปี 34  ก็เป็นภาวะของประชาชนที่อยากได้รัฐธรรมนูญปี  40  ประชาชนตื่นตัวทางการเมือง  ต้องการให้อำนาจ 3  อำนาจคือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการแยกออกจากกัน  และตรวจสอบกันได้  รัฐธรรมนูญปี 2540  ทักษิณแทบไม่ได้มีส่วนร่วม  หลังรัฐธรรมนูญปี 40  มันเกิดสถานการณ์ที่คนยากจนไม่เคยได้รับ  นโยบายของพรรคการเมืองนั้นมีความโดดเด่นมาก  คือกองทุนหมู่บ้าน  นโยบายการศึกษา  กองทุนกู้ยืมการศึกษา  นโยบายหวยบนดิน  ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของคนเสื้อแดงนั้น  ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะนโยบายของทักษิณ  ซึ่งนโยบายเหล่านี้จะไปขัดกับผลประโยชน์ของอำนาจเก่าหรือไม่ ตนก็ไม่รู้  แต่รู้ว่าชาวบ้านได้ประโยชน์  อย่างเรื่องยาเสพติดในสมัยทักษิณ  ชาวบ้านก็ชอบมาก  เพราะทำให้ลูกหลานเขาไม่ติดยาเสพติด
 
แต่ทำไมต้องมีการทำรัฐประหาร  ก่อนทำรัฐประหารทักษิณได้อยู่ครบเทอม  พอสมัยที่สอง  พันธมิตรเริ่มออกมาเคลื่อนไหว  และใช้สื่อในการโจมตีทักษิณ ในเรื่องการคอรัปชั่น  เงื่อนไขเหล่านี้  กลุ่มอำนาจเก่าจัดการกับ รัฐธรรมนูญปี 40  ก็เพื่อจะจัดการกับทักษิณ  เป็นการผนึกกำลังของ 3 ฝ่าย  ทั้งพันธมิตร   ประชาธิปัตย์   ทหาร ระบบราชการกลุ่มอำมาตยาธิปไตย        
 
คนเสื้อแดงออกมาต่อสู้เพราะ ปัญหาสองมาตรฐาน  ความไม่เป็นกลางขององค์กรอิสระ  และรับไม่ได้กับรัฐธรรมนูญปี 50  ซึ่งไม่เป็นประชาธิปไตย  เพราะไม่ใช่อำนาจของประชาชนโดยแท้จริง  อำนาจตกอยู่ที่ศาล  สว.สรรหา  มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน  กระบวนการของอำนาจเก่าพยายามยื้ออำนาจอยู่เรื่อย  รัฐธรรมนูญปี 50  เป็นการยกร่างโดย คปค.(คณะปฏิรูปการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ก็ว่าได้
 
ปัญหาสองมาตรฐานที่ปลดรัฐบาลสมชาย  และสมัคร  ทำให้เกิดพี่น้องเสื้อแดง   ซึ่งต่อมาก็มีการยุบพรรคไทยรัก จากประสบการณ์การเคลื่อนไหวของประชาชน.ปี 52  สิ่งที่พี่น้องได้ คือ ลูกปืน
 
 ต่อมาปี 53  เราก็เรียกร้องความเป็นธรรมเช่นกัน  เราล้อมราบ 11  ตั้งแต่เดือนมีนาคม  จะเห็นว่าพลังการต่อสู้ของเสื้อแดงมีมากมายมหาศาล  สิ่งที่พี่น้องเสื้อแดงออกมาเรียกร้อง คือ ความเป็นธรรม  และนโยบายที่พี่น้องประชาชนต้องการ
 
ภายใต้การต่อสู้ในสมัยอภิสิทธ์  มีการประกาศพรก.ฉุกเฉินฯ  สารพัดเพื่อจำกัดสิทธิประชาชน  ความสูญเสียที่เกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม  สร้างความเจ็บปวดให้กับพี่น้องเสื้อแดงอย่างมาก
 
................................
 
ภัควดี ไม่มีนามสกุล กล่าวว่า มีคนเสนอภาพในเชิงกว้างแล้ว  สำหรับตนอยากจะมองให้แคบลงมาในเรื่องของ กองทัพ เพราะสถาบันกองทัพถือเป็นสถาบันที่ไม่ค่อยเปลี่ยนบทบาท ในสังคมไทยถือเป็นสังคมของรัฐทหาร  แม้ในระบบเศรษฐกิจทหารก็เข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น กรณี กสทช.ที่มีทหารเข้าไปเป็นกรรมการจำนวนมาก  ก็แสดงถึงความไร้เหตุผลของสังคมไทยอย่างมาก
 
หลังปี 2535  เราพูดกันมากว่า ต้องการให้กองทัพไทยกลับสู่กรมกอง  แม้มีการผลักดันเข้ากรมกองจริง  แต่ยังไม่มีการปฏิรูปกองทัพอย่างจริงจัง  ดังนั้นจึงอยากยกตัวอย่างการปฏิรูปกองทัพในสองประเทศ  ประเทศแรกคืออาร์เจนตินา  ซึ่งเคยเป็นเผด็จการ  มีการกวาดล้างพลเมืองไปเป็นจำนวนมาก  แต่ก็สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย  และสามารถเอาผิดผู้นำประเทศที่เป็นทหารได้  หลังจากเปลี่ยนมาเป็นระบอบประชาธิปไตยรัฐบาลพลเรือนพยายามปฏิรูปกองทัพ  คือจำกัดความรับผิดชอบของทหารเฉพาะการป้องกันประเทศ  การรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นหน้าที่ของตำรวจ    ตำรวจจะขึ้นอยู่กับแต่ละเมือง  หรือขึ้นอยู่กับผู้ว่าฯ  ไม่ได้ขึ้นอยู่กับส่วนกลางเหมือนประเทศไทย
 
ในบางประเทศ ฐานทัพทหารจะอยู่ในเขตชายแดน ไม่เหมือนประเทศเราที่ค่ายทหารที่ใหญ่ๆกลับอยู่ใกล้กรุงเทพฯ แล้วตอนี้พยายามมาสร้างกองพันทหารม้าที่เชียงใหม่ ซึ่งสะท้อนวิธีคิดของประเทศไทย  ที่เอาระบอบอาณานิคมแบบตะวันตกมาใช้ในระบอบการปกครอง ซึ่งไม่ต่างจากสมัยรัชกาลที่ 5   โดยถือเอากรุงเทพฯเป็นศูนย์กลาง  และภูมิภาคเป็นอาณานิคม
 
เรื่องที่สองที่อาร์เจนตินาทำในการปฏิรูปกองทัพ คือ ย้ายหน่วยข่าวกรองและหน่วยปราบจารจลให้ออกจากความรับผิดชอบของกองทัพ 
 
เรื่องที่สาม คือ ปรับระบบการศึกษาของกองทัพ  ถ้ากรณีของไทยการศึกษาของทหารแยกออกจากระบบการศึกษาโดยทั่วไป ซึ่งวิธีการศึกษาแบบนี้มันทำให้ทหารถูกครอบงำทางอุดมการณ์ได้ง่าย แต่ถ้ามีการปรับระบบการศึกษาให้ทหารมาเรียนกับพลเรือนอย่างที่อาร์เจนตินาหรือเวเนซูเอล่าทำ  จะทำให้ทหารได้เรียนรู้กับประชาชนทั่วไป ผูกพันกับประชาชน รับรู้ข่าวสาร ไม่แปลกแยก  และทหารมีความคิดทางการเมืองที่ก้าวหน้าขึ้น
 
เรื่องที่สี่  กองทัพต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือน ประธานาธิบดีของเขาจะเป็นผู้นำเหล่าทัพ  เสนาธิการแต่ละเหล่าทัพก็เป็นพลเรือนด้วย และห้ามนายทหารรับตำแหน่งทางการเมือง  และแสดงความคิดเห็นทางการเมือง
 
เรื่องที่ห้า  ลดจำนวนตำแหน่งนายทหารระดับสูง  ส่วนใหญ่ประเทศที่ก้าวหน้ามากๆอย่างสหรัฐฯ ระดับพลเอก จะไม่เยอะเหมือนบ้านเรา การพิจารณาตำแหน่งก็พิจารณาที่ผลงาน ไม่ใช่เส้นสายหรือนามสกุล
 
เรื่องที่หก  ลดงบประมาณป้องกันประเทศ ลดการใช้จ่ายของกองทัพ  ยกเลิกการจัดซื้ออาวุธด้วยวิธีพิเศษ การซื้ออาวุธต้องตรวจสอบได้
 
เรื่องที่เจ็ด  ลดการเกณฑ์ทหารลงเหลือ 1 ใน 3   ขณะที่ประเทศไทยนั้นถ้ายกเลิกการเกณฑ์ทหารได้ก็จะดี รวมถึงยกเลิกระบบศักดินาในกองทัพที่ทหารเกณฑ์ยังต้องไปเป็นคนรับใช้นายพลด้วย
 
เรื่องต่อมา (เรื่องที่ 8)  ห้ามนายหารมีตำแหน่งในรัฐวิสาหกิจ กองทัพห้ามทำธุรกิจ  นายทหารที่เกษียณห้ามไปรับตำแหน่งทางองค์ธุรกิจด้วย
 
อันสุดท้าย(เก้า) เขาระบุไว้ในรัฐธรรมนูญเลยว่า การรัฐประหารทุกรูปแบบเป็นกบฏของแผ่นดิน และยกเลิกกฎหมายนิรโทษกรรมคนที่ทำรัฐประหารทั้งหมดไป
 
อันนี้คือการปฏิรูปกองทัพในประเทศอาเจนติน่าซึ่งผ่านระบอบเผด็จการทหารที่โหดร้าย
 
ต่อมาอยากจะยกตัวอย่างประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งอยู่ใกล้ๆเราและมีประสบการณ์คล้ายๆกับอาร์เจนตินา แล้วเขาก็เปลี่ยนผ่านมาเป็นระบอบประชาธิปไตย และก็มีการปฏิรูปกองทัพพอสมควร ซึ่งหลังผ่านยุคซูฮาร์โตที่เป็นเผด็จการทหารและกวาดล้างประชาชนไปมากมาแล้ว  ประชาธิปไตยของเขาค่อนข้างมีความมั่นคงกว่าประเทศไทย หลายเรื่องที่เคยล้าหลังกว่าเรา ตอนนี้เริ่มล้ำหน้าเรา ส่วนหนึ่งก็มีการปฏิรูปกองทัพมากพอสมควรแต่ทำสำเร็จน้อยกว่าอาร์เจนตินา
 
ในช่วงต้นๆหลังยุคซูฮาร์โต เขาสามารถปฏิรูปกองทัพได้ถึง 17 เรื่อง  ขอยกตัวอย่างบางเรื่อง เช่น ห้ามไม่ให้ทหารมาดำรงตำแหน่งของพลเรือน(อาทิ ตำแหน่งรัฐมนตรี) มีรัฐมนตรีกลาโหมเป็นพลเรือน มีการระบุภาระหน้าที่ของทหารอินโดนีเซียว่าจะต้องรักษาความมั่นคงระหว่างประเทศเท่านั้น ห้ามทหารไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับความมั่นคงภายในประเทศ  ให้ยกเลิกหน่วยงานด้านความมั่นคงภายในประเทศของกองทัพ(เปรียบได้อย่างยกเลิก กอรมน.ในไทย) มีการตั้งศาลสิทธิมนุษยชนขึ้น มีความพยายามทำให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นโดยให้เลือกประธานาธิบดีโดยตรงและให้เลือกตั้งส่วนท้องถิ่นมากขึ้น  สร้างระบบตรวจสอบงบประมาณกองทัพ สิ่งที่น่าสนใจที่เขาสำเร็จ คือ การให้ศาลทหารอยู่ภายใต้ศาลสูงสุด สร้างความโปร่งใสของศาลทหารให้มากขึ้น
 
มีบทความหนึ่งซึ่งพูดถึงปัจจัยที่จะทำให้ของการปฏิรูปกองทัพยากหรือง่าย มีอยู่   5 ข้อ
 
ข้อแรก ความผูกพันของกองทัพกับชนชั้นนำเดิมในประเทศมีมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีมากก็ปฎิรูปยาก ถ้ามีน้อยก็ปฏิรูปง่ายหน่อย
 
ข้อต่อมา(ข้อสอง)ในประเทศนั้น  ประชาชนมีความเห็นพ้องต้องกันต่อระบอบประชาธิปไตยมากน้อยแค่ไหน  ยิ่งมีมากแค่ไหน  การปฏิรูปก็ง่ายขึ้น
 
ข้อที่สาม คือปัจจัยระหว่างประเทศ เช่น ประเทศตุรกี เขาปฏิรูปกองทัพได้ง่ายเพราะอยากเข้าเป็นสมาชิกของอียู  เขาก็ต้องปฏิรูปกองทัพ เพื่อให้เข้าเงื่อนไขอียู แต่อาเซียนอยากให้แต่ละประเทศแก้ไขปัญหาภายในประเทศเอง ปัจจัยนี้จึงไม่เอื้อให้ประเทศเรา
 
ข้อที่สี่ การปฏิรูปกองทัพทำให้เกิดความขัดแย้งของชนชั้นนำมากน้อยแค่ไหน
 
ข้อที่ห้า คือ วัฒนธรรมของกองทัพ  เช่น  วัฒนธรรมของกองทัพในการทำธุรกิจข้างนอก  กองทัพไทยก็มีวัฒนธรรมในการทำธุรกิจข้างนอกด้วยเช่นกัน
 
บทความนี้มีข้อเสนอด้วยว่า เรื่องการปฏิรูปกองทัพในอนาคต  ซึ่งมีอยู่ 8 ข้อ คือ หนึ่ง กฎหมายสิทธิมนุษยชนควรมีความเข้มแข็งมากขึ้น ควรมีอำนาจในการบังคับใช้มากขึ้น
 
สอง ศาลควรได้รับการอบรมความรู้เกี่ยวกับเรื่องกฎหมายสิทธิมนุษยชนให้มากขึ้น
 
สาม กองทัพต้องอยู่ใต้อำนาจของกระทรวงกลาโหม
 
สี่ กองทัพควรมีวัฒนธรรมของพลเรือนมากขึ้น
 
ห้า ผู้ตรวจสอบการใช้งบประมาณของกองทัพ ควรมีอำนาจทำได้มากขึ้น
 
หก ผลประโยชน์ทางธุรกิจของกองทัพทั้งหมด ต้องโอนให้เป็นของรัฐ
 
เจ็ดสภาความมั่นคงแห่งชาติควรมีผู้นำพลเรือน  มีทหารเป็นส่วนประกอบ
 
อันสุดท้าย ต้องสร้างความเข้มแข็งให้ผู้มีบทบาททางการเมือง เช่น พรรคการเมือง ฝ่าย บริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ  ภาคประชาชนต้องเข้มแข็งในการผลักดันระบอบประชาธิปไตยด้วย  ทั้งหมดนี้จะทำให้ การปฏิรูปกองทัพประสบความสำเร็จ
 
......................................
 
ธเนศวร์ เจริญเมือง กล่าวว่า มีข้อสังเกต คือประการที่ 1 บรรยากาศการจัดงานรัฐประหารในช่วงนี้ก็ถือว่าหนาแน่น คึกคักไม่เหมือนกับหลายปีก่อนในช่วงที่รัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
 
ประการที่ 2  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในทางวิชาการไม่มีเอกสารที่มากพอจะสรุปว่า ในช่วงหลายปีมานี้ หรือตั้งแต่หลังปี 2549  เป็นอย่างไร  อันนี้ก็เป็นการบ้านของฝ่ายวิชาการ  ปัจจุบันประชาชนก็ไปไกล  ซึ่งเราก็ทราบกันดีอยู่แล้ว  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่รัฐประหาร จนถึงหลังรัฐประหาร 5  ปีที่แล้วนั้นเป็นการวางแผนกันอย่างระบบของฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตย ทั้งนักปฏิวัติที่มีประสบการณ์  ยังมีการแบ่งงานกันทำทั้งฝ่ายพลเรือน และทหาร 
 
คนที่ทำงานด้านการศึกษา  และสื่อก็ต้องทำงานมากขึ้นในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้น
 
ผลการเลือกตั้งที่ผ่านมา  กว่าที่ยิ่งลักษณ์จะได้เป็นนายกฯ จนมาถึงปัจจุบัน  ก็จะต้องมีการทำความเข้าใจระบบรัฐสภา  การทำงานของฝ่ายค้านควรจะทำให้ตรงกับบทบาทหน้าที่ของตัวเอง   แม้ฝ่ายประชาธิปไตยชนะในเรื่องของคะแนนเสียงเลือกตั้ง   แต่ถามว่าความเป็นประชาธิปไตย.ในส่วนอื่นๆ เป็นอย่างไร  ก็ต้องติดตามกันต่อ
 
บทเรียนของประชาธิปไตยของหลายๆ ประเทศ  เช่นอาร์เจนตินา  อินโดนีเซีย  ประชาชนก็ต้องมีการค้นคว้าเพิ่มเติมด้วย  และทำงานเผยแพร่มากขึ้น ประชาธิปไตยที่จะเกิดขึ้นตามโมเดลของประเทศต่างๆ ล้วนแล้วแต่เป็นพลพวงที่ประชาชนได้ขับเคลื่อน  ของเรายังเป็นแค่การชนะการเลือกตั้งเท่านั้นดังนั้นควรมีการศึกษาเพิ่มเติม  และขับเคลื่อนต่อ
 
ในช่วงที่ผ่านมา ฝ่ายต่อต้านประชาธิปไตยได้เปิดเผยตัวตน  ธาตุแท้ของตัวเอง  ด้านหนึ่งเราก็เสริมตัวเองในด้านสื่อของเราให้เข้มแข็ง  ซึ่งฝ่ายของเราควรจะทำการบ้าน  และโต้แย้งกับฝ่ายที่เห็นต่างให้เข้มแข็งด้วย  กรณีสื่อมวลชนไทย(ภาคภาษาอังกฤษ)  ดูถูกนายกฯ  ก็เป็นที่เราต้องมีการจัดวาระคุยกัน
 
คนเสื้อแดงต้องผลักดันเรื่อง กระบวนการยุติธรรม  ทำความเข้าใจระบอบรัฐสภาด้วย   ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้คนเห็นต่างๆ กันโต้แย้งกัน  ไม่ใช่การโต้วาที  ประเด็นคือ เราจะรักษาภาวะ บรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตยให้นานๆ ได้อย่างไร
 
กรณีการปฏิรูปกองทัพ  ก็อยากเห็นมากว่าจะทำอย่างไร  ลักษณะการเคลื่อนไหวทางการเมืองของเรา ไม่มีบทบาทขององค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็นองค์กรนำ  มีความหลากหลาย  ผ่านการแลกเปลี่ยน พูดคุยกัน  ขณะเดียวกันก็มีขบวนการอื่นๆ  ที่มีความอัดอั้นตันใจ เช่น คนที่อยู่ในต่างประเทศ  ก็เป็นลักษณะของต่างคนต่างทำ  เราจะประสานงานกันอย่างไร
 
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสำคัญคือเรื่อง ต่างประเทศ  เช่น กรณีสหรัฐฯ มีบาทอย่างไรในการควบคุมบทบาททหารในอินโดนีเซีย   และสหรัฐฯ มีบทบาทอย่างไรต่อประชาธิปไตยไทย  อะไรจะทำให้ประชาธิปไตยพัฒนาไปมากกว่านี้
 
ตัวบ่งชี้หลายประการ  ที่ยังเห็นว่าฝ่ายพัฒนาประชาธิปไตยกับฝ่ายต่อต้านยังมีอยู่สูง  เช่น  วิธีการทำงานของฝ่ายค้าน  ที่อยากเป็นรัฐบาล  ค้านแบบทำลายทุกอย่าง  เอาให้ได้    รื่องการโยกย้ายข้าราชการก็จะถูกเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่ค่อนข้างแรง  แตะต้องไม่ได้    วิธีคิดในสังคมไทยยังเป็นแบบเก่าคือราชการแตะไม่ได้
 
นอกจากนี้ยังมีการดึงเอาคำทำนาย  การโหมกระพือฝั่งของฝั่งปฏิปักษ์ประชาธิปไตย  นั่นคือรัฐบาลขาดความชอบธรรม  ด้วยการบ่อนเซาะทำลายรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอยู่ตลอดเวลา  แต่อย่างไรก็ตามการเกิดขึ้นของหมู่บ้านเสื้อแดง  เครือข่าย  สิ่งเหล่านี้คือตัวจักรสำคัญที่จะผลักดันประชาธิปไตยให้ก้าวหน้าเข้มแข็งขึ้น
 
กรณีเกาหลีใต้ ประชาชนต่อต้านเผด็จการอย่างรุนแรง  เป็นเวลาถึง 21  ปี  กว่าที่จะมีระบบเลือกตั้ง  ดังนั้นประเทศไทยก็ต้องใช้เวลา  ถือเป็นประเด็นที่ท้าทายสังคมไทยมาก  จากนี้ไปต้องมองในเชิงบวก  ในแง่ของกระบวนการประชาชน สร้างความเข้มแข็งสื่อ  การสร้างความสามัคคีให้แน่นแฟ้น  โดยการใช้เวทีเศรษฐกิจ  วัฒนธรรม และสื่อ  ทำให้การพัฒนา ประชาธิปไตยเราเข้มแข็งขึ้น  ในทาง ประวัติศาสตร์นั้นเราก็รู้ว่าไม่มีองค์กรติดอาวุธใดเลยที่จะสละอำนาจอย่างสันติวิธี
 
ในประเทศที่พัฒนาประชาธิปไตยล่าช้า  เราน่าจะรองบ๊วย  เราล่าช้ามากภายใต้ระบบสื่อมวลชนที่หลากหลาย  สร้างความสับสนให้ประชาชน  นอกจากนี้ปัจจัยภายในก็เหมือนจะไม่ให้เราเปลี่ยนผ่านไปง่ายๆ  ปัจจัยภายนอกอย่างอเมริกาก็เหมือนจะมุ่งไปที่จีนมากกว่าไทย
 
การปฏิวัติประชาธิปไตยไทย  ถือว่าคลาสสิคกว่าประเทศไหนๆ ในโลก  เราก็ควรจะมีความสุขในการสร้างสรรค์ประชิปไตยร่วมกัน
 
..................................
 
สมชาย ปรีชาศิลปะกุล กล่าวว่า หลังจาก 5  ปีผ่านไป  ผมถือว่ารัฐประหารนี้ประสบความล้มเหลวที่สุด  มีการรำลึกถึงรัฐประหารในเชิงต่อต้านกันมายาวนานมาก  จนบัดนี้ก็ยังระลึกถึงอยู่  ทุกฝ่ายที่พูดถึงรัฐประหารก็ไม่เห็นด้วย  แม้ในตอนเริ่มบางส่วนอาจจะเห็นด้วย แต่ตอนนี้ก็ไม่อยากเป็นส่วนหนึ่งของการรัฐประหารนี้เลย  เช่นกรณี พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ดังนั้นผมจึงคิดว่ารัฐประหาร 49  นั้นล้มเหลว
 
อยากให้มอง รัฐประหารเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ถ้าเทียบการเมืองหลัง 2520  กับการเมืองหลังปี 2550 นั้นจะเห็นว่าเหมือนกันคือการสร้างระบอบการเมืองกึ่งรัฐสภา  กึ่งอำมาตยาธิปไตย  คือยอมให้มีการเลือกตั้ง  แต่ก็มีการออกแบบรัฐธรรมนูญกำกับระบอบการเลือกตั้งอีกทีหนึ่ง
 
ปัจจุบันเราจะเห็นอารมณ์ของสังคมไทย  ปีนี้มีการจัดงานอย่างกว้างขวาง  เราเห็นอารมณ์ร่วมของสังคมได้ คือ รัฐธรรมนญ 50  เป็นปัญหา  มีคนเสนอแก้รัฐธรรมนูญ แต่ทั้งหมดนี้  เป็นเรื่องของการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยที่เป็นหลักการของสังคมไทย เท่าที่ผมจับประเด็นได้มีอยู่ 2 สองเรื่องเรื่องแรก การต่อต้านรัฐประหาร และการพยายามล้มล้างผลของการรัฐประหาร  สอง มีความพยายามจะพูดถึงรากฐานของระบอบการปกครอง  มีความพยายามจะเสนอหลักการ ประชาธิปไตยอันใหม่ให้เกิดขึ้น
 
ข้อเสนอของนิติราษฎร์นั้นน่าสนใจ  ในอดีตมีการเขียนกฎหมายเพื่อป้องกัน
 
ข้อเสนอของนิติราษฎร์นั้นน่าสนใจ  ในอดีตมีการเขียนกฎหมายเพื่อป้องกันการรัฐประหาร(เช่นรัฐธรรมนูญปี 2517)  แต่ก็ถูกฉีกตลอด  ข้อเสนอใหม่มีความพยายามในการแก้รัฐธรรมนูญให้เพิกถอนผลของการรัฐประหาร     อันนี้จะสำเร็จหรือไม่  ไม่รู้ แต่คิดว่านี่เป็นอุดมการณ์ของสังคมไทยโดยรวมว่า การรัฐประหารเป็นสิ่งที่แก้ไขอะไรไม่ได้ และรวมถึงการพยายามที่จะทำให้การรัฐประหาร ไม่มีผลผูกพันกับสังคมอย่างมั่นคงยาวนานอย่างเช่นที่เคยเป็นมา
 
ข้อเสนอเรื่องที่สอง  มีการพูดถึงความพยายามในการวางรากฐานการปกครองของระบอบประชาธิปไตย มีเรื่องสำคัญที่กำลังถูกผลักดันอยู่ 5 เรื่องใหญ่ คือ หนึ่ง อำนาจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งกับระบบราชการ (โดยเฉพาะทหาร)  โดยหลักการนั้นตามความคิดตนนั้น รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งควรจะมีอำนาจเหนือราชการ โยกย้ายได้  ข้าราชการเป็นกลไกของรัฐบาล  
 
สอง กระบวนการยุติธรรมและองค์กรอิสระ  เป็นปัญหาอันหนึ่งที่สำคัญ  ถ้าเราสังเกตการล้มของรัฐบาลสมชาย  และสมัคร  ล้มลงเพราะองค์กรอิสระ ไม่ได้ล้มลงเพราะการเคลื่อนไหวของมวลชน นี่ถือเป็นการกุมอำนาจของฝ่ายอำมาตยาธิปไตยผ่านองค์กรอิสระ  ทำให้เราตั้งคำถามกับองค์กรอิสระที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน จะมีการรับผิดอย่างไร เช่น กรณี กกต.กับการยื่นฟ้องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ล่าช้า  ซึ่งเป็นทำหน้าที่บกพร่องจะรับผิดชอบกับประชาชนอย่างไร นอกจากนี้เวลาเกิดความขัดแย้งทางการเมือง  องค์กรอิสระมีการชี้ถูกชี้ผิดที่ไร้มาตรฐาน แต่ไม่มีการผิดชอบการกระทำของตนเอง (ในการที่ตนเองทำให้สังคมเสียหาย หรือทำให้เกิดข้อกังขาในสังคม)
 
สาม เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น  โดยทั่วไปรัฐธรรมนูญมีการเขียนระบุไว้  แต่มักจะมีกฎหมายพิเศษ   กับกฎหมายยกเว้น เช่น พรบ.คอมฯ  มาตรา 112 ซึ่งกฎหมายยกเว้นนี้เป็นกฎหมายที่มีปัญหาที่สุด สิ่งที่เป็นข้อยกเว้นกลับถูกใช้เป็นอย่างมาก ในขณะที่หลักการรัฐธรรมนูญกลับไม่ค่อยใช้ ดังนั้นจึงเห็นว่า ควรทำให้เรื่องสิทธิเสรีภาพเป็นเรื่องหลัก ทำให้กฎหมายพิเศษ หรือ กฎหมายยกเว้นมันเล็กลงกว่ารัฐธรรมนูญ เพราะมีคนจำนวนมากที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นเพราะกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้เพราะสังคมไทยยังมีเรื่องที่ยังเบลอ และไม่มีใครกล้าพูด
 
สี่ ทำอย่างไรให้กระบวนการบังคับใช้ กฎหมายวางบนหลักการที่อยู่บนเหตุผลและความชอบธรรม ซึ่งที่ผ่านมาเราไม่มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม เช่น เรื่องข้อเรียกร้องเรื่องสองมาตรฐาน ดังนั้นจึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้ Rule of laws ได้รับการยอมรับ
 
ห้า เรื่องสถาบันกษัตริย์ และองคมนตรี  คงจะต้องมีการจัดวางสถานะให้พ้นจากการเมือง เช่นองคมนตรีไม่ควรให้กำลังใจนักการเมืองหรือข้าราชการประจำ เป็นต้น
 
สังคมไทยกำลังก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่ ไม่ใช่แค่การแก้รัฐธรรมนูญ  แต่จะเป็นการสถาปนารัฐธรรมนูญที่มีการวางหลักการพื้นฐานสำคัญ ในเรื่องต่างๆเหล่านี้ มันจะทำให้สังคมไทยหรือรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมีอนาคต กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นได้  สิ่งที่เราควรจะต้องทำ คือ เมื่อเราวิจารณ์เขาแล้ว  ถ้าเราจะจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่  เราไม่ควรทำเหมือนที่เขาทำมา  แต่เราควรทำให้รัฐธรรมนูญใหม่  เป็นของคนทุกคน  ไม่ใช่รัฐธรรมนูญของคนเสื้อแดง หรือรัฐธรรมนูญที่ปิดปากอีกฝ่าย ทุกฝ่ายสามารถขัดแย้ง โต้เถียงกันได้  คนเสื้อแดงต้องแสดงให้เห็นว่าเรากำลังผลักสังคมไทยไปข้างหน้าด้วยความเสมอภาคและเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง
 
................................................................
 
ณัฐกร วิทตานนท์ กล่าวว่า เวลานึกถึงปฏิรูปการเมืองหลังพฤษภาทมิฬ 35  สมัยที่ผมเรียน  จะแค่คิดตื้นๆ ว่า รัฐธรรมนูญปี 40  นั้นคงจะก้าวหน้ากว่าสมัย รสช.  สมัยนั้นการปฏิรูปการเมือง  หมอประเวศก็เป็นประธาน ฯ  และมาถึงปัจจุบัน หมอประเวศก็กลับมาเป็นอีกเช่นกัน
 
การแก้รัฐธรรมนูญ  40  อ.เอนก  เหล่าธรรมทัศน์  ระบุว่า เราอยู่ในวงจรนักการเมืองบ้าอำนาจ  และประชาชนโง่  รัฐธรมมนูญ 40  มันจึงถูกออกแบบ เช่น สส.ต้องจบปริญญาตรี
 
มาถึงประเด็นที่ว่า รัฐประหาร 49  เกิดขึ้นได้อย่างไร  สำหรับผมในภาษาชาวบ้านง่ายๆ  ก็คือการยึดอำนาจเท่านั้นเอง  ไม่ใช่การอธิบายให้มันสวยหรู  โจทย์ของการปฏิรูปการเมืองรอบใหม่นั้น  จึงต้องมีการมองถึงมือที่มองไม่เห็นนอกรัฐธรรมนูญด้วย  เราจะไม่มองแคบเหมือนปี  40  ไม่ใช่แค่ทหาร ไม่ใช่แค่มองประชาชนโง่   เพราะปัจจุบันประชาชนรู้มากกว่าที่หลายคนคิด
 
ดังนั้นโจทย์รอบใหม่  ใจกลางของปัญหาต้องมีการปฏิรูป  ทหาร ศาล ระบบราชการ สื่อสารมวลชน ต้องมีการปฏิรูปให้เข้ากับระบอบประชาธิปไตยที่คนส่วนใหญ่ต้องการ  กรณีศาล โครงสร้างอำนาจศาลมีการเปลี่ยนแปลงมาก หลังปี 2549 มีการ เปลี่ยนสัดส่วนโดยผู้พิพากษาศาลชั้นต้น  แต่เพิ่มผู้พิพากษาอาวุโส  ผู้พิพากษาอาวุโสสามารถตัดสินคดีได้  นอกจากนี้ศาลยังเข้าไปมีบทบาทในคณะกรรมการสรรหาต่างๆ   สะท้อนให้เห็นว่าคนแก่กลัวความเปลี่ยนแปลง
 
ประเด็น คือ ถ้าจะปฏิรูปการเมืองรอบใหม่ต้องปฏิรูปองค์กรเหล่านี้  นอกจากนี้ยังต้องมีการระบุคุณค่าพื้นฐานของ ประชาธิปไตยของคนในสังคมไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย
 
การทำให้ให้รัฐประหารหมดไป มีวิธีการไม่ซับซ้อน  คือ การเอาคนผิดมาลงโทษ  เหมือนการฆ่าคนตาย  ถ้าเรามาลงโทษ  ก็ไม่มีใครกล้าทำ  ในประเทศเราแปลกประหลาด การทำรัฐประหารกลับได้ตำแหน่ง  เราจึงต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
 
 
 
ที่มาข่าวบางส่วน: สำนักข่าวประชาธรรม
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สืบพยาน “นักข่าวสาว”–“เจ้าหน้าที่รัฐ” พยานโจทก์คดีโรงไฟฟ้าฟ้องหมิ่นเอ็นจีโอ

Posted: 23 Sep 2011 03:58 PM PDT

สืบพยานโจทก์คดี “โรงไฟฟ้าบางคล้า” ฟ้องหมิ่นประมาท “วัชรี เผ่าเหลืองทอง” นักข่าวสาวเบิกความกรณีโทรแจ้งบริษัทโรงไฟฟ้า เผยดูรายการโดยตลอด ด้านเจ้าหน้าที่รัฐแจงกระบวนการประกวดราคาโรงไฟฟ้า

 
23 ก.ย.54 เวลาประมาณ 9.00 น. ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาฯ ห้องพิจารณาคดี 912ศาลออกนั่งบัลลังก์สืบพยานโจทก์ คดีหมายเลขดำ 3151/2552 ที่บริษัท สยามเอ็นเนอร์จี จำกัด เจ้าของโครงการโรงไฟฟ้าบางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา โดยนายบุญชัย เจียมจิตจรุง ผู้รับมอบอำนาจ เป็นโจทก์ฟ้อง นางสาววัชรี เผ่าเหลืองทอง เอ็นจีโอด้านพลังงาน ฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา กรณีให้สัมภาษณ์ออกอากาศทางรายการคมชัดลึก ของสถานีโทรทัศน์เนชั่นชาแนล เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.52 เกี่ยวกับกรณีชาวบ้าน อ.บางคล้า ปิดถนนประท้วงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าบางคล้า ในพื้นที่ ม.5 ต.เสม็ดใต้ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา
 
นางสาวดลฤดี ไชยสมบัติ ผู้สื่อข่าวแพลทส์ ประเทศสิงคโปร์ พยานโจทก์ เบิกความเพิ่มเติมจากบันทึกคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเมื่อวันที่ 9 ส.ค.53 สรุปความได้ว่า พยานทำงานผู้สื่อข่าวมากว่า 10 ปี รู้จักนายบุญชัย เจียมจิตจรุง ผู้รับมอบอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องในคดีนี้ เนื่องจากเคยทำข่าวการเปิดประมูลรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) และได้รับชมรายการคมชัดลึกเมื่อวันที่ เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.52 โดยตลอด จึงโทรแจ้งโจทก์ เกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลของจำเลยเพื่อขอข้อมูล แต่ไม่ได้นำข้อมูลรวบรวมทำรายงานให้กับสำนักข่าวแพลทส์ และรู้จักจำเลยในฐานะเอ็นจีโอที่เคลื่อนไหวคัดค้านโรงไฟฟ้า แต่ไม่เคยทำข่าวสัมภาษณ์จำเลย หรือชาวบ้านที่คัดค้านโรงไฟฟ้า
 
นางสาวดลฤดี ให้ข้อมูลด้วยว่า เธอเป็นผู้ดำเนินรายการเอ็นเนอร์จีไทม์ ทางคลื่นวิทยุ 97.0 MHz ซึ่งนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องพลังงาน มีบริษัทพลังงานเป็นผู้สนับสนุนอาทิ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) อย่างไรก็ตามบริษัทโจทก์ ไม่เคยเป็นผู้อุปถัมภ์รายการของเธอ ส่วนผู้บริหารบริษัทของเธอจะเคยเป็นผู้บริหารบริษัทโจทก์หรือไม่นั้นไม่ทราบ
 
ต่อจากนั้น นางสาวรังสิมา พักเกาะ ผู้อำนวยการฝ่ายอำนวยการคณะกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ซึ่งขณะเกิดเหตุอยู่ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เบิกความว่า การประกวดราคาจัดหาผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ เริ่มจากนโยบายของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) กำหนดเงื่อนไขหลักเกณฑ์ จากนั้นจึงมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาคัดเลือก โดยให้ผู้ผลิตเอกชนส่งข้อมูลเบื้องต้น คือ ข้อมูลเทคนิค สถานที่ตั้งโรงไฟฟ้า และอัตราค่าไฟฟ้า หลังอนุกรรมการออกประกาศเรื่องการประกวดราคา มีบริษัทที่มาซื้อซองประมูล 50 ราย แต่มีผู้มายื่นซอง 20 ราย เมื่ออนุกรรมการพิจารณาด้านเทคนิคมีบริษัทที่ผ่านการพิจารณา 17 ราย และมีผู้ชนะผ่านการประมูล 4 ราย โดยบริษัทโจทก์เป็น 1 ใน 4 ทั้งนี้ตามเอกสารที่ตรวจสอบไม่มีการร้องเรียนว่ากระบวนการไม่ชอบ
 
เรื่องสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้า จำไม่ได้ว่าในการเตรียมเอกสารสถานที่ตั้งต้องได้รับความยินยอมจากประชาชนในพื้นที่หรือไม่ แต่ในส่วนเงื่อนไขด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมดูแลอยู่ นอกจากนั้นผู้ยื่นซองประมูลจะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ยื่นต่อสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (ผส.) และ อีไอเอของบริษัทที่ชนะการประมูลจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก สผ.ก่อนจึงจะมีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟ อย่างไรก็ตามในภายหลังมีการเปลี่ยนเงื่อนไขโดยความเห็นชอบของ กพช. ให้ กฟผ.รับไปลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ก่อนที่อีไอเอจะแล้วเสร็จ ซึ่งจำไม่ได้ว่าเหตุผลของการเปลี่ยนเงื่อนไขนั้นเป็นเพราะบริษัทโจทก์ยื่นข้อขัดข้องไม่สามารถทำอีไอเอได้ตามเวลากำหนดเวลาหรือไม่ และไม่ทราบว่าบริษัทโจทก์มีการผ่อนผันอีไอเอกี่ครั้ง
 
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.53 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้เห็นชอบให้โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ บางคล้า กำลังผลิต 1,600 เมกะวัตต์ ของบริษัท สยามเอ็นเนอร์จี จำกัด ย้ายพื้นที่การก่อสร้างจาก อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ไปยังนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
 
นอกจากคดีอาญา บริษัท สยามเอ็นเนอร์จี จำกัด ยังได้ฟ้องคดีแพ่ง คดีหมายเลขดำ 5508/2552 กับนางสาววัชรีจากเหตุการณ์เดียวกันนี้ เรียกร้องค่าเสียหายกว่า 300 ล้านบาท โดยขณะนี้คดีแพ่งศาลสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว รอจนกว่าการพิจารณาคดีอาญาแล้วเสร็จ
 
ด้านนางสาววัชรี กล่าวว่า ที่ผ่านมาเธอเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการให้กับชาวบ้านที่ต่อสู้กับโครงการพลังงานในส่วนข้อมูลด้านพลังงาน และสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งส่วนตัวไม่ใช่แกนนำในการคัดค้านโครงการต่างๆ เพราะกระบวนการของชาวบ้านเกิดขึ้นก่อนและมีการติดต่อประสานงานเพื่อขอข้อมูลและให้ความช่วยเหลือประสานงานกับสื่อมวลชน ซึ่งคำถามหลักๆ ที่ชาวบ้านมีคือเมื่อเขาไม่ต้องการให้โครงการเข้ามาก่อสร้างในพื้นที่และได้มีการรวมตัวกันคัดค้านแล้วจะมีหน่วยงานไหนที่จะรับเรื่องร้องเรียนของพวกชาวบ้านได้ และมีตัวอย่างพื้นที่ผลกระทบอื่นๆ บ้างหรือไม่
 
ทั้งนี้ นางสาววัชรี เป็นนักเคลื่อนไหวที่ทำงานช่วยเหลือชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ และเป็นที่ปรึกษาสมัชชาคนจน นอกจากนั้นยังเป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการให้ชาวบ้านที่คัดค้านโครงการด้านพลังงานทั้งกรณีเขื่อนปากมูล โรงไฟฟ้าบ้านกรูด-บ่อนอก จ.ประจวบคีรีขันธ์ โรงไฟฟ้าที่หนองแซงและโรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 จะทั้งล่าสุดเมื่อปี 2553 มูลนิธิโกมลคีมทองได้มอบรางวัลบุคคลเกียรติยศให้แก่นางสาววัชรี ในฐานะผู้อุทิศตนต่อสู้เรียกร้องสิทธิเพื่อคนชั้นล่าง และเพื่อธรรมชาติ 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น