โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

เกาหลีเหนือเปิดภัตตาคารแห่งแรกในย่างกุ้ง

Posted: 02 Sep 2011 10:42 AM PDT

เกาหลีเหนือเปิดภัตตาคารชื่อ "เปียงยาง กอโย" ซึ่งเป็นภัตตาคารแห่งแรกในย่างกุ้งเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยเชื่อว่าเป็นสถานที่นัดหารือนอกรอบของนักการทูตเกาหลีเหนือ

เกาหลีเหนือเปิดภัตตาคารชื่อ "เปียงยาง กอโย" ซึ่งเป็นภัตตาคารแห่งแรกในย่างกุ้งเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมมา  โดยภัตตาคารดังกล่าวตั้งอยู่บนถนนส่ายะส่าน ในเมืองบะฮาน เขตย่างกุ้ง ทั้งนี้ นอกจากนักการทูตชาวเกาหลีเหนือแล้ว มีรายงานว่า นักธุรกิจชาวเกาหลีใต้เองก็เป็นลูกค้าของภัตตาคารแห่งนี้

มีรายงานว่า ภัตตาคารเปียงยาง กอโยนั้นได้รับการสนับสนุนจากสถานทูตเกาหลีเหนือ "หากไม่ได้รับการหนุนหลังจากสถานทูตเกาเหลีเหนือ ภัตตาคารลักษณะนี้็คงเปิดไม่ได้ และผมเชื่อว่า ภัตตาคารแห่งนี้ พวกเขา (นักการทูตเกาหลีเหนือ)ใช้เป็นสถานที่รวบรวมข่าวกรอง" ฮินแลต นักเขียนชาวพม่ากล่าว ทั้งนี้ ภัตตาคารเปียงยาง กอโย นอกจากจะขายอาหารเกาหลีแล้ว ยังมีการแสดงวัฒนธรรมแบบเกาหลีให้ลูกค้าได้ชมในช่วงเย็นด้วย ขณะที่ราคาอาหารที่ภัตตาคารแห่งนี้เริ่มต้นตั้งแต่ 10,000 - 35,000 จั๊ต (ราว 429 - 1,500 บาท)

"ในความคิดของผม ผมว่าภัตตาคารดังกล่าวเป็นสถานที่ที่ชาวเกาหลีใช้พบปะหารือกันเรื่องธุรกิจ ที่เกี่ยวกับเกาหลีเหนือ หรือใช้เป็นสถานที่หารือกันนอกรอบ เพราะทราบกันดีว่า ชาวเกาหลีเหนือเป็นโรคหวาดระแวง และระมัดระวังตัวในการเชิญแขกไปที่สถานทูต" แหล่งข่าวในย่างกุ้งกล่าว

ทั้งนี้ ช่างเทคนิคชาวเกาหลีเหนือเริ่มเข้ามาในพม่านับตั้งแต่ปี 2536 เพื่อเข้ามาช่วยพัฒนาระบบด้านอาวุธให้กับกองทัพพม่า โดยทั้งสองประเทศเริ่มกลับมาพัฒนาความสัมพันธ์อีกครั้งในช่วงเดือนเมษายน ปี 2550 และในช่วงเวลาเดียวกัน เกาหลีเหนือกลับมาเปิดทำการสถานทูตในกรุงย่างกุ้งอีกครั้ง  หลังจากที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลพม่าตัดความสัมพันธ์กับรัฐบาลเกาหลีเหนือภาย หลังเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่จากเกา่หลีใต้ถูกเจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือลอบ สังหารระหว่างเยือนพม่าในปี 2526

ด้านอดีตเจ้าหน้าที่พม่าคนหนึ่งเปิดเผยว่า  ในอดีตนั้น นายพลขิ่นยุ้นไม่อนุญาตให้เกาหลีเหนือเปิดร้านอาหารในพม่า เพราะกังวลจะถูกนานาชาติโจมตี แต่ทุกวันนี้ กลับพบมีชาวเกาหลีเหนือในพม่าเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่มีรายงานที่ถูกเผยแพร่ออกมากล่าวหาว่า ทั้งสองประเทศนั้นร่วมมือกันในการพัฒนาขีปนาวุธนิวเคลียร์และเทคโนโลยีทางทหาร / ที่มา: อิระวดี 2 ก.ย. 54


แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน"อ่านข่าวและบท ความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.org เฟซบุ๊คhttp://www.facebook.com/Salweenpost ทวิตเตอร์ http://twitter.com/salweenpost

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

TCIJ: ชาวบ้านสุดทนราชการนิ่งเฉย รุกจี้ผู้ว่าฯ ปลด “ผู้ใหญ่บ้านฉาว” จับลูกบ้านเรียกค่าไถ่

Posted: 02 Sep 2011 10:09 AM PDT

ชาวบ้านแม่ส้านบุกศาลากลางฯ ร้องปลดผู้ใหญ่บ้าน หลังถูกฟ้องลักพาตัวลูกบ้านเรียกค่าไถ่ เผยปัญหาค้างคามากว่า 4 เดือน ทำการบริหารงานราชการหยุดชะงัก ด้าน จ.ลำปาง ยอมเปิดทางทำประชาคมลงมติให้อยู่หรือไป 7 ก.ย.นี้ 

 
 
 
เมื่อวันที่ 2 ก.ย.54 เวลา 10.00 น.ชาวบ้านแม่ส้าน หมู่ 6 ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง จำนวน 200 คน ได้รวมตัวกันที่ศาลากลางจังหวัดลำปาง เพื่อเรียกร้องให้นายอธิคม สุพรรณพงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ถอดถอนนายสมชัย วรนาม ผู้ใหญ่บ้านแม่ส้านออกจากตำแหน่ง หลังก่อเหตุลักพาตัวลูกบ้านไปเรียกค่าไถ่ 
 
สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 25 เม.ย.54 นายสมชัย วรนาม ผู้ใหญ่บ้านแม่ส้านและพวกรวม 6 คน ได้ก่อเหตุจับตัวนายอาตี๋ แซ่จาง และ น.ส.กลายมีน แซ่ลี้ เรียกค่าไถ่ โดยใช้กลอุบายทำทีว่า นายอาตี๋และ น.ส.กลายมีน มีคดีดำติดตัวในข้อหาค้ายาเสพติด จากนั้นให้นาย อาตี๋และ น.ส.กลายมีนติดต่อมาทางบ้านให้นำเงินสดจำนวน 4 แสนบาท สำหรับการจัดการคดี แต่นายอาตี๋ขอต่อรองค่าไถ่ตัวเหลือ 1 แสนบาท ซึ่งคนร้ายตกลงรับเงินตามนั้น ต่อมาทางญาติผู้เสียหายได้ติดต่อทางเจ้าหน้าที่เพื่อทำการซ้อนแผนจับ นายสมชัย และพวก พร้อมฟ้องร้องดำเนินคดีในข้อหาลักพาตัวเพื่อเรียกค่าไถ่
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลาผ่านมากว่า 4 เดือน ขณะนี้คดีดังกล่าวอัยการจังหวัดลำปางส่งฟ้องศาลแล้ว เป็นคดีดำที่ 1059/2554 และนายอำเภอแม่เมาะมีหนังสือให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านรักษาการณ์แทนจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติ นายสมชัยยังคงยู่ในตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านแต่ไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ ทำให้การบริหารงานราชการของผู้ใหญ่บ้านหยุดชะงัก ชาวบ้านไม่สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารและงบประมาณต่างๆ จากทางอำเภอ จึงเป็นเหตุให้ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องในครั้งนี้
 
ด้านนายสมบัติ สิทธิสถาพร จ่าจังหวัดลำปางผู้รับเรื่องร้องเรียน กล่าวว่า ในขณะนี้ทางราชการได้รับเรื่องดังกล่าวแล้ว และได้ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงทางวินัยของผู้ใหญ่บ้านรายนี้เกี่ยวกับความผิดทางอาญา ซึ่งขณะนี้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม แต่หากชาวบ้านต้องการความชัดเจน สามารถจัดให้มีการทำประชาคมเพื่อยืนยันเจตนาในการปลดผู้ใหญ่บ้านคนดังกล่าวได้ โดยจะมอบหมายให้ นายพลเดช รัชทินพันธ์ ปลัดอำเภอ เข้าไปจัดทำประชาคมในวันที่ 7 ก.ย.นี้ ซึ่งหากผลเป็นไปในลักษณะใด ทางอำเภอก็สามารถจะออกคำสั่งได้ทันที
 
ส่วน นายพิเชษฐ พึงวา แกนนำชาวบ้าน กล่าวว่า ในวันนี้ที่ชาวบ้านได้มารวมตัวกันเพราะมีความรู้สึกไม่ใว้วางใจกับการทำงานของหน่วงงานราชการ ทั้งๆ ที่มีข้อกฎเกณฑ์ว่า หากผู้ใหญ่บ้านไม่สามารถเข้าประชุมหมู่บ้านและไม่อยู่ในหมู่บ้านเกินกว่า 3 เดือน ทางหน่วยงานราชการสามารถที่จะปลดออกจากตำแหน่งได้ ซึ่งมาวันนี้เหตุการณ์กลับเงียบเฉย ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับชาวบ้านเป็นอย่างมาก และหากการทำประชาคมในวันที่ 7 กันยาที่จะถึงนี้สามารถสร้างความเป็นธรรมให้กับชาวบ้านได้ ชาวบ้านก็พอใจกับข้อเสนอ การแก้ปัญหานี้ และพร้อมจะทำการตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ต่อไป
 
หลังการเจรจาได้ข้อสรุป ชาวบ้านจึงได้ยุติการชุมนุมและการแยกย้ายกันไปในเวลาประมาณ 12.00 น. โดยไม่มีเหตุความรุนแรงแต่อย่างใด 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เรื่องเล่าจาก “ไชยันต์ รัชชกูล” และของฝากอำมาตย์

Posted: 02 Sep 2011 09:45 AM PDT

ไชยันต์ รัชชกูล สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ

 

เมื่อวันที่ 1 ก.ย. ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมอาคารปฏิบัติการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการอภิปรายหัวข้อ เวที “ประสบการณ์ประชาธิปไตยของชาวบ้านเชียงใหม่” โดยมีการนำเสนอบทความจากงานวิจัย “พัฒนาการจิตสำนึกและขบวนการทางการเมืองของชาวเสื้อแดงในจังหวัดเชียงใหม่” โดยคณะผู้วิจัยซึ่งเป็นอาจารย์และนักศึกษาจากภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบด้วย ผศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี, ดร.อรัญญา ศิริผล, นพพล อาชามาส และสืบสกุล กิจนุกร

และผู้วิจารณ์ ประกอบด้วย ศ.ทามาดะ โยชิฟูมิ มหาวิทยาลัยเกียวโต, รศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ รศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ

โดยในตอนหนึ่งของการวิจารณ์ อาจารย์ไชยันต์ รัชชกูล ได้เสนอว่าการศึกษาทางสังคมศาสตร์ต้องศึกษาในระดับ “Bedrock” หรือ ข้อเท็จจริง นอกจากนี้ไชยันต์ยังมี “เรื่องเล่า” จากร้านอาหารที่เจ้าของเป็น “แม่ค้าเสื้อแดง” ระหว่างเส้นทางเชียงใหม่ – เชียงราย และเรื่องที่นักศึกษาเข้าไปกินอาหารในร้านอาหารแห่งหนึ่ง และสนทนากันเรื่องประเภท “Defined ไม่ได้” จนแม่ค้าต้องแถมข้าว

ในตอนท้ายไชยันต์เสนอว่า “สังคมไทยเปลี่ยนไปจริงๆ” คงไม่กลับไปเหมือนเดิมอีกแล้ว และว่าในช่วงที่ผ่านมา จนกระทั่งปัจจุบันนี้ เสื้อแดงจะชนะหรือเปล่าเรื่องนี้เราต้องดูกันต่อไป เราไม่สามารถที่จะทำนายได้ “แต่สิ่งหนึ่งที่เราควรจะฝากไปด้วย ฝากพวกอำมาตย์ และฝากพวกเราทุกคนด้วยคือ อย่าดูถูกสติปัญญาของมวลราษฎร์”

สำหรับรายละเอียด ในการอภิปรายของไชยันต์ ช่วงหนึ่งมีรายละเอียดต่อไปนี้ ส่วนเนื้อหาจากการประชุมทั้งหมด “ประชาไท” จะทยอยนำเสนอต่อไป

(หมายเหตุ: เฉพาะข้อความในวงเล็บ เป็นการอธิบายเพิ่มเติมโดยประชาไท)

000

วิดีโอคลิป “ไชยันต์ รัชชกูล” อภิปรายที่ มช. เมื่อ 1 ก.ย. 54 ที่ผ่านมา เรื่องการศึกษาทางสังคมศาสตร์ระดับ “Bedrock” เรื่องเล่าจากร้านอาหารเสื้อแดง เส้นทางเชียงใหม่-เชียงราย สังคมที่ความขัดแย้ง “Pervasive” (แพร่ขยายไปทั่ว) และของฝากไปถึงอำมาตย์

 

ไชยันต์ รัชชกูล

"เสื้อแดงจะชนะหรือเปล่าเรื่องนี้เราต้องดูกันต่อไป เราไม่สามารถที่จะทำนายได้ แต่สิ่งหนึ่งที่เราควรจะฝากไปด้วย ฝากพวกอำมาตย์ และฝากพวกเราทุกคนด้วยคือ อย่าดูถูกสติปัญญาของมวลราษฎร์"

 

000

เวลาเราศึกษาในทางสังคมศาสตร์ ถามว่าเราศึกษาอะไรในสังคมศาสตร์ จะต้องไปดูที่ Bedrock (ชั้นหินที่ถัดจากชั้นดิน - เป็นสำนวนหมายถึง ข้อเท็จจริง) ที่ใต้ที่สุดเลยของสังคมศาสตร์ สังคมศาสตร์ศึกษา “ความสัมพันธ์ทางสังคม” คือ “Social Relation”

 
อันนี้อยู่บทที่ 1 เวลาอาจารย์อธิบายเรื่อง Social Relation ก็เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา ไม่รู้หมายความว่าไง ก็เป็นคำธรรมดาเหมือนเป็น Common Sense แต่มันไม่ใช่อย่างนั้น มันมีทฤษฎีมากมายที่เอียงไปในทางนี้ เช่น ทั้ง Max Weber ที่เขาพูดบทสำคัญเลย เขียนไว้เป็นปึกเลย
 
Social Relation, Karl Marx ไม่ได้พูดตรงๆ เขาใช้คำว่า Class Relation หมายความว่าสิ่งที่เราเป็นมันอิงกับ Entity หนึ่งอยู่ตลอดเวลา คุณจะเป็นพ่อเฉยๆ ไม่ได้ถ้าไม่มีแม่ คุณจะเป็นพ่อไม่ได้ถ้าไม่มีลูก คุณจะเป็นอย่างนี้ไม่ได้ ถ้าไม่มีอย่างนั้น จะเป็นอาจารย์ไม่ได้ถ้าไม่มีนักศึกษา
 
ในทำนองเดียวกัน ในการอธิบายว่าเสื้อแดงเป็นอย่างนี้อย่างนี้ มันเป็นไปไม่ได้ ถ้าไม่มี Entity หนึ่งครับ เหลือง สลิ่ม อะไรก็ว่าไป ต้องดูว่ามันเป็น Interaction กันแบบนี้ เป็น Process ของ Interaction งานวิจัยนี้ ก็หมายความว่าเสื้อแดงเป็นอย่างไร เสื้อแดงคิดอย่างนี้ๆ 1, 2, 3, 4, 5 ... อ้าว แล้วไอ้นี่หายไปไหนล่ะ Bedrock ของสังคมศาสตร์หายไปไหน เราพูดเหมือนกับว่า ถ้าเปรียบเทียบก็เหมือนกับว่า เราพูดถึงชนชั้นคนงาน อ้าว เมื่อพูดถึงชนชั้นคนงานแบบนี้ แล้วนายทุนว่าอย่างไรล่ะที่ทำให้ชนชั้นคนงานเป็นเช่นนั้น อันนี้ก็สำคัญมาก
 
แถมประเด็น มีสองตัวอย่างนะครับ ตัวอย่างหนึ่งคือ เหตุเกิดที่ทางไปเชียงราย เวลาไปเชียงราย คนที่เขาไปเชียงรายเขาจะแวะกิน เขาจะรู้ว่าร้านไหนเป็นเสื้อแดง ตลอดทางตั้งกะเชียงใหม่ถึงเชียงราย ร้านนี้ใช่ ร้านนี้ใช่ ร้านนี้ใช่ ก็ไปเรื่อย พอไปนั่งที่ร้านก็คุยกัน บางคนที่อยู่ในร้านก็ผัดก๋วยเตี๋ยวไปก็ใส่เสื้อแดง
 
แล้วเขาก็เล่าให้ฟัง เรื่องมันเป็นอย่างนี้ ที่ร้านนี้เขาเล่า เขาเปิดวิทยุเสื้อแดง บังเอิญเสื้อเหลืองเข้ามากิน เขามาจากกรุงเทพฯ กลุ่มใหญ่ เขาบอกว่าเปลี่ยนได้ไหมไอ้โทรทัศน์นี้เขาไมอยากดูฮะ รำคาญ ร้านเขาบอกก็เปิดไว้อยากดูก็ดู ไม่อยากดูก็ไปกินร้านอื่น ไอ้นี่ลุกไปกินร้านอื่น ทั้งกลุ่มเลยนะ ก็ไม่ได้รายได้ส่วนนี้ไป อันนี้กรณีหนึ่ง
 
อีกกรณีหนึ่ง นี่เป็นระดับนักศึกษา ก็ไปกินที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง ก็ไม่ได้รู้จักกับร้านอาหารแห่งนั้นหรอกครับ ก็คุยกันเอง ก็คุยกันก็มีคำผรุสวาทหลายคำ นะฮะ ถึงที่ชาวบ้านเขาบอกว่า Defined ไม่ได้ นะฮะ ยาวเลย ปรากฏว่าเวลาแม่ค้าเอาข้าวมาให้มันมากกว่าปกติเลย โอ เห็นด้วยมากที่พูด เลยแถมข้าว กับข้าวให้
 
ประเด็น 2 กรณีที่ผมยกขึ้นมา เพื่อจะบอกว่า เพื่อจะสนับสนุนประเด็นว่า ไอ้ความขัดแย้งนี้มัน Pervasive หมายความว่า มันเป็นอยู่ทั่วไป เราจะเจอที่ไหนๆ ก็ได้ คนกรุงเทพฯ มาเชียงราย เอ้า ไปเจออีกข้าง เอ้าไปกินข้าว อ้าว เจอข้างเดียวกัน คือมัน “Pervasive” คือมันแทรกไปทั่ว จนกระทั่งเราสามารถสรุปมาเป็นประเด็นทางวิชาการได้ว่าได้ ยังไม่มี Social Unit หน่วยทางสังคมหน่วยไหน ที่ไม่มีลักษณะของความขัดแย้งอยู่ในสังคมไทย ไม่ว่าจะระดับทั้งมหัพภาค ระดับจุลภาค ในโรงเรียน ในห้องขนาดเด็กๆ มัธยม ก็ยังมีคนละสี หนังสือพิมพ์ที่ว่าเป็นฝ่ายหนึ่งกับอีกฝ่ายหนึ่งก็เป็นอย่างที่เราทราบ ทีนี้ Every Social Unit มันแทรกซึมไปได้ในลักษณะนี้
 
ทีนี้ผมก็ประทับใจอาจารย์ทามาดะ (ทามาดะ โยชิฟูมิ) ที่อวยพรอวยชัยให้เสื้อแดงชนะ แต่ผมไม่รู้ว่า พออาจารย์ทามาดะอวยชัยแบบนั้นมันจะเป็นเช่นนั้นหรือเปล่า แต่ขอให้ความปรารถนานี้เป็นจริง
 
สิ่งที่อยากจะเป็นประเด็นสรุปก็คือ นี่ผมยืมคำของผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ที่ผมเคารพ เอามาพูด ก็คือว่า เมื่อก่อนนี้ แต่ไหนแต่ไร บรรดานักวิชาการ นักอะไรต่อมิอะไร นักสื่อสาร นักอะไรทั้งหลายแหล่ บอกว่าชาวบ้านไม่เข้าใจ อย่างนั้นอย่างนี้ เมื่อก่อนยังต้องพยายามอธิบายว่า "พรรคเลือกคน ประชาชนเลือกพรรค" แล้วก็บอกว่า จะตั้งพรรคการเมือง คนไม่เข้าใจระบบพรรคนะ มีอยู่สมัยหนึ่งพูดอย่างนั้น เดี๋ยวนี้จะมีใครกล้าพูดอย่างนี้บ้าง
 
แล้วก็เวลามีข้อมูล เสริมไปด้วยเรื่องประเด็นสื่อที่สำคัญมาก ที่ อ.อรัญญา (อรัญญา ศิริผล ผู้นำเสนอผลการวิจัย) ยกขึ้นมา เป็นสื่อแนวระนาบ คือทุกคนออกความเห็นได้ในที่สาธารณะ เช่น Comment ได้ในเว็บไซต์ และสามารถที่จะเอาซีดีมาอัด แล้วก็แลกกัน ทั้งแจกฟรี ทั้งขาย ทั้งใช้ ทั้งอะไรแบบนี้ มันเป็น Social Media เป็นทั้ง Device (อุปกรณ์) ที่จะ Mobilize (ขับเคลื่อน) คนเสื้อแดง ข้อมูลอะไรต่างๆ ก็รับกันเพิ่มขึ้นๆ
 
ประเด็นสุดท้ายที่ผมอยากสรุปก็คือว่า สังคมไทยเปลี่ยนไปจริงๆ อย่างที่สืบสกุล (สืบสกุล กิจนุกร ผู้นำเสนอผลการวิจัย)ว่า คงไม่กลับไปเหมือนเดิมอีกแล้ว และก็อยากจะฝากไปให้คนที่เหมือนกบที่อยู่ในน้ำร้อนมันร้อนขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ไม่รู้ตัว อยากฝากว่า ในช่วงที่ผ่านมา จนกระทั่งปัจจุบันนี้ เสื้อแดงจะชนะหรือเปล่าเรื่องนี้เราต้องดูกันต่อไป เราไม่สามารถที่จะทำนายได้
 
แต่สิ่งหนึ่งที่เราควรจะฝากไปด้วย ฝากพวกอำมาตย์ และฝากพวกเราทุกคนด้วยคือ อย่าดูถูกสติปัญญาของมวลราษฎร์ ขอบคุณครับ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เอเชีย: มหาอำนาจแห่งศตวรรษที่ 21?

Posted: 02 Sep 2011 08:16 AM PDT

นักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ร่วมถกในวงสัมมนาวิชาการ “ศตวรรษที่ 21: ศตวรรษแห่งเอเชีย?” ว่าด้วยเรื่องความเป็นมหาอำนาจของภูมิภาคเอเชียในเศรษฐกิจการเมืองโลก พร้อมวิเคราะห์สถานการณ์ ‘บูรพาศึกษา’ ในปัจจุบัน

เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 54 ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานสัมมนาวิชาการประจำปีในหัวข้อ “รัฐ เอเชีย และโลกาภิวัฒน์” โดยมีคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องจีน อินเดีย และญี่ปุ่น ร่วมอภิปรายถึงแนวโน้มการเป็นมหาอำนาจของภูมิภาคเอเชีย ทางเศรษฐกิจการเมืองโลกในศตวรรษที่ 21

ทิศทางบูรพาศึกษาในศตวรรษที่ 21

ศ. ดร. ไชยวัฒน์ ค้ำชู อาจารย์ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงทิศทางของบูรพาศึกษาในปัจจุบันว่า เนื่องจากนักวิชาการ ผู้สังเกตการณ์ และผู้นำประเทศมหาอำนาจ ต่างตระหนักถึงความสำคัญของเอเชียในฐานะภูมิภาคที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจและการทหารสูง ทำให้เราจำเป็นต้องหันมาศึกษา และผลิตผู้เชี่ยวชาญของเราเกี่ยวกับภูมิภาคนี้มากขึ้น

ไชยวัฒน์อธิบายว่า ในขณะนี้ศูนย์กลางโลก กำลังจะเปลี่ยนมาทางตะวันออก เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา ชาติตะวันตกได้ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนัก และยังคงหาทางออกไม่ได้ ในขณะที่ประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจสูงสุดห้าประเทศในโลก มีสามประเทศตั้งอยู่ในเอเชีย คือ จีน อินเดีย และญี่ปุ่น

นอกจากนี้ ยังคาดแนวโน้มในอนาคตว่า เอเชียน่าจะขยายตัวเศรษฐกิจสูงและรวดเร็วมาก ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางประชากรและคุณภาพชีวิตอย่างเห็นได้ชัด มีการทำนายว่า หากอัตราเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียคงที่เท่าปัจจุบัน ภายในปี 2050 เอเชียจะมีสัดส่วนปริมาตรการค้าและการลงทุนมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลกรวมกัน และจำนวนชนชั้นกลางในเอเชีย จะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล

เขามองว่า หากพูดว่าเป็นศตวรรษของเอเชีย อาจะไม่ถูกต้องมากนัก อาจกล่าวได้ว่าเป็นศตวรรษของโลกมากกว่า เนื่องจากในปัจจุบัน การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะสามารถคงความเป็นมหาอำนาจได้ ก็ต้องพึ่งพาอาศัยประเทศอื่นๆ เช่นในกรณีของจีน อินเดีย ที่สามารถมีอำนาจทางเศรษฐกิจได้ ก็เนื่องจากมีตลาดจากตะวันตกมารองรับ

อย่างไรก็ตาม ด้วยวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในฝั่งตะวันตก ทำให้เอเชียต้องหันมาสร้างตลาดและส่งออกในเอเชียด้วยกันเอง และเพิ่มการบริโภคในประเทศให้มากขึ้น เขาเสริมว่า ในขณะนี้ ตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของไทย คืออาเซียน แต่เรายังมีความรู้เกี่ยวกับเพื่อนบ้านน้อยมาก

ทั้งนี้ ไชยวัฒน์ ชี้ว่า เอเชียได้กลายเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์ และมีพลวัตรทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดในโลก ด้วยเหตุนี้ เราจึงจำเป็นจะต้องผลิตบุคลากรที่มีความรู้อย่างถ่องแท้เกี่ยวกับภูมิภาคเอเชีย และเรียนรู้ภาษาซึ่งจะทำให้เราเข้าถึงความรู้เกี่ยวกับภูมิภาคได้อย่าง “ไม่กินน้ำใต้ศอกใคร”

จีน: มหาอำนาจที่แท้จริง?

วรศักดิ์ มหัทธโนบล ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อภิปรายเหตุผลที่จีนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจในโลกปัจจุบันได้ เนื่องจากจีนมีบทเรียนในอดีตตั้งแต่สมัยอาณานิคมว่า ความเย่อหยิ่ง และการไม่ปรับตัวกับโลกภายนอก ทำให้จีนถูกคุกคาม จีนจึงมีนโยบาย “China can say no” คือยึดมั่นในมาตรฐานของตนเอง และไม่ยอมให้ใครมาเอาเปรียบ

นอกจากนี้ การที่จีนถือนโยบายไม่เข้าแทรกแซงกิจการภายในประเทศอื่น และไม่ยอมให้ประเทศอื่นเข้าแทรกแซงเรื่องภายใน ยังทำให้จีนสามารถรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจการค้าไว้ได้ เช่น ในกรณีของพม่า ที่เป็นพันธมิตรกับจีนอย่างเหนียวแน่น ซึ่งต่างจากสหรัฐฯ และยุโรปที่มีแนวโน้มเข้าแทรกแซงประเทศอื่นมากกว่าโดยเฉพาะในการทำสงคราม

นอกจากนี้ เมื่อเวลาจีนถูกวิจารณ์ว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน และไม่เป็นประชาธิปไตย จีนก็มีคำอธิบายเป็นของตัวเอง โดยจะอธิบายว่า ก่อนที่จะพูดเรื่องสิทธิมนุษยชน ปัญหาอิสรภาพหรือเอกราชต้องมาก่อน ถ้ายังไม่มีอธิปไตย สิทธิมนุษยชนก็ยังมาไม่ถึง และจีนมองว่า การขาดเอกราช ก็เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วยในแง่หนึ่ง

อย่างไรก็ตาม วรศักดิ์มองว่า จีนก็ยังมีข้อจำกัดในบางประการต่อการเป็นมหาอำนาจ เนื่องจากในทางเศรษฐกิจแล้ว จีนเป็นตลาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็จริง แต่อยู่บนพื้นฐานที่ว่า จีนไม่มีต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม เขาชี้ว่า ถ้าจีนยังไม่ปรับปรุงเรื่องสิ่งแวดล้อม ในอนาคต สินค้าที่ส่งออกจากจีนจะต้องแบกรับต้นทุนที่เพิ่มมากขึ้น แต่หากจีนสามารถพัฒนาคุณภาพของประชากรให้ดีขึ้นพร้อมๆ กับปริมาณได้ จีนจะเป็นมหาอำนาจที่น่ากลัวมากทีเดียว

เขายังเสริมว่า อีกสาเหตุที่หนึ่งทำให้จีนเป็นมหาอำนาจ เป็นเพราะจีนสามารถปรับตัวเข้ากับกระแสโลกาภิวัฒน์ได้ โดยปรกติแล้ว กระแสโลกาภิวัฒน์มักมาคู่กับการเมืองแบบเสรีนิยม ซึ่งมาพร้อมกับคุณค่าเรื่องประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และการค้าเสรี หากแต่จีนเลือกที่จะรับเอาแต่เรื่องการค้าเสรี และยังคงรักษาการปกครองแบบเผด็จการคอมมิวนิสต์ไว้ เขาตั้งข้อสังเกตว่า ถ้ามีการคอร์รัปชั่นเกิดขึ้น จะเป็นปัญหาใหญ่แน่นอน และในขณะนี้ กระแสประชาธิปไตยในจีนก็มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

มหาอำนาจของเอเชีย: สันติภาพหรือความสั่นคลอน

ทางด้านดร. ธีวินทร์ สุพุทธิกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านญี่ปุ่นศึกษา ตั้งคำถามว่า ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จีนจะกลายเป็นประเทศที่มีส่วนสร้างสันติภาพ หรือจะเป็นภัยคุกคามในระเบียบโลก

ทั้งนี้ เขาเสริมว่า การเปลี่ยนผ่านดังกล่าว หมายถึงการที่มีมหาอำนาจในเอเชียที่มาแรง เช่น จีน และอินเดีย และหลักการ “Regionalism” หรือการสร้างสถาบันความร่วมมือในทางระหว่างประเทศ เช่น อาเซียน ที่เริ่มเข้ามาแทนที่อำนาจอธิปไตยของรัฐ ที่อยู่อย่างปัจเจก

ธีวินทร์อธิบายว่า การขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของจีน ขึ้นอยู่กับทฤษฎีว่า จีนต้องการมีส่วนกำหนดในระเบียบโลกหรือไม่ และมากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มเป็นไปได้มากกว่า จีนน่าจะอยากเข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับระเบียบโลก และทำให้ตนได้รับประโยชน์จากระบบอำนาจดังกล่าวได้มากกว่า

ทั้งนี้ การที่จะสามารถทำให้จีนเป็นสมาชิกที่รับผิดชอบในระเบียบโลก เป็นเรื่องของประเทศอื่นๆ รอบข้างด้วยว่า จะมีท่าทีต่อการขึ้นมาของจีนอย่างไร

อินเดีย มหาอำนาจทางอารยธรรม

โสรัตน์ โหราชัยกุล ผู้อำนวยการสถาบันอินเดียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ให้เห็นถึงความเป็นมหาอำนาจของอินเดียที่มีมาตั้งแต่ยุคโบราณ โดยเปรียบพระพุทธเจ้า ในฐานะทูตที่เก่าแก่และยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อชี้ให้เห็นถึงรากฐานของอินเดีย ในการเป็นมหาอำนาจของโลกที่ยังคงมีอิทธิพลมาถึงปัจจุบัน

เขาอธิบายว่า ในการเป็นมหาอำนาจ ต้องมีองค์ประกอบสี่ด้านที่ครบครัน ได้แก่ เทคโนโลยี ทหาร วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ในปัจจุบัน อาจมองอินเดียได้ว่าเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจ อย่างไรก็ตาม โสรัตน์ชี้ให้เห็นว่า อินเดียก็ยังมีปัญหาภายในอยู่เยอะมาก โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพชีวิตของประชาชน

โสรัตน์ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า มหาอำนาจในสมัยนี้ เน้นแต่การเหยียบคันเร่งด้านเศรษฐกิจและการทหาร เพื่อเน้นจีดีพีให้สูง จึงทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนถูกละเลย พร้อมทั้งตั้งคำถามว่า สุดท้ายแล้ว มหาอำนาจควรจะเป็นอย่างไร

“ประเทศต่างๆ ต้องคิดมากกว่าแค่เรื่องความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการทหาร และหันมามองเรื่องในแง่อื่นด้วย เช่น เรื่องความมั่นคงของมนุษย์” โสรัตน์กล่าวทิ้งท้าย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "การคุกคามสื่อ เพิ่งจะมี"

Posted: 02 Sep 2011 08:12 AM PDT

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "การคุกคามสื่อ เพิ่งจะมี"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น