โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

โรงเหล็กต้นน้ำในยุคอุตสาหกรรมหนักมุ่งลงใต้

Posted: 03 Sep 2011 10:07 AM PDT

4 ยักษ์ใหญ่อุตสาหกรรมเหล็กต่างชาติ สนใจลงทุนในภาคใต้ บริษัทยักษ์ญี่ปุ่นเตรียมเข้าปัตตานี ผุดโรงถลุงเหล็กต้นน้ำ ตรวจ 4 พื้นที่ศึกษาเหมาะสมตั้งนิคมอุตสาหกรรมหนัก

โมเดลโรงงานอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำของต่างประเทศ

อุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ เป็นหนึ่งอุตสาหกรรมหนักที่มีเป้าหมายที่จะลงปักหลักในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ที่ผ่านมามีกลุ่มทุนด้านอุตสาหกรรมเหล็กจากต่างประเทศ 4 กลุ่ม ที่แสดงความสนใจจะมาลงทุน

นั่นคือ บริษัท นิปปอน สตีล คอร์ปอเรชั่นฯ และบริษัท เจเอฟอี สตีล คอร์ปอเรชั่น จากประเทศญี่ปุ่น บริษัท บาวสตีล จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และบริษัทอาร์เซลอร์ มิตตาล สัญชาติอินเดีย

การพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ จะต้องก่อสร้างโรงถลุงเหล็ก ใช้พื้นที่ประมาณ 5,000–10,000 ไร่ และต้องมีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับ ได้แก่ ท่าเรือน้ำลึกไม่ต่ำกว่า 200 เมตร รองรับเรือขนาด 20,000–200,000 DWT ที่จะนำเข้าและขนถ่ายสินแร่เหล็ก และวัตถุดิบอื่นๆ ที่ใช้ในการถลุงเหล็ก เช่น ถ่านหิน เพื่อนำมาผลิตถ่านโค้กใช้ในกระบวนการถลุงเหล็ก

โรงถลุงเหล็กต้นน้ำ ต้องการน้ำใช้ในอุตสาหกรรมมากถึง 100,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน หรือประมาณ 30–50 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ทั้งยังต้องการระบบขนส่งและโลจิสติกส์ ระบบสาธารณูปโภค และระบบกำจัดของเสียอีกสารพัด

จึงไม่แปลกที่มูลค่าการลงทุนทั้งหมดจึงสูงถึง 60,000–100,000 ล้านบาททีเดียว

ปัจจุบันความต้องการใช้เหล็กในประเทศไทยประมาณ 12.5 ล้านตันต่อปี ต้องนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศโดยเฉพาะเหล็กคุณภาพสูงประมาณ 4.5 ล้านตันต่อปี

เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีอุตสาหกรรมผลิตเหล็กแบบครบวงจร ขาดการผลิตเหล็กต้นน้ำ เพื่อป้อนให้กับอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต่อไป จึงเป็นข้ออ้างให้กับนักลงทุนและผู้ต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำครบวงจร หยิบยกขึ้นมาเป็นเหตุผลในการผลักดันโครงการ

ความเคลื่อนไหวล่าสุดเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ ปรากฏบนเวทีระดมความคิดเห็นประชาชน ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ขณะประชุมกลุ่มย่อยจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2554 ที่โรงแรมซากุระแกรนด์วิว อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

เมื่อนายศักดิ์ชัย ประโยชน์วนิช ผู้เชี่ยวชาญการวางผังเมือง บริษัทคอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด ระบุว่า บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอุตสาหกรรมเหล็กของญี่ปุ่นอย่าง บริษัท JFE Steel Corporationแสดงความจำนงจะมาลงทุนตั้งโรงงานเหล็กต้นน้ำ ที่อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

“JFE Steel Corporation ไม่ได้ระบุโดยตรงว่าจะลงทุนที่ปัตตานี แต่เนื่องจากผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กของกระทรวงอุตสาหกรรม ระบุว่าพื้นที่ที่มีการศึกษาในภาคใต้ทั้งหมด 8 แห่ง มีความเหมาะสมทั้งหมด จะลงทุนตรงไหนก็ได้ ต่างชาติจึงสนใจจะเข้ามาลงทุนที่ปะนาเระ” นายศักดิ์ชัย ประโยชน์วนิช ยืนยัน

ที่ผ่านมา จังหวัดปัตตานีโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี ได้จัดทำข้อเสนอรับการลงทุนอุตสาหกรรมเหล็กในจังหวัดปัตตานี ผ่านสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย มีนายประยูรเดช คณานุรักษ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี เป็นตัวตั้งตัวตีสำคัญ พร้อมกับเสียงสนับสนุนจากนายเจริญ จันทอิสสระ ประธานสหกรณ์ประมงปัตตานี จำกัด

นั่นคือที่มาของที่ทำให้บริษัท JFE Steel Corporation สนใจที่จะเข้ามาลงทุน

ขณะที่นายสะมะแอ เจะมูดอ เลขาธิการสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ ชาวอำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี แสดงความกังวลว่า โรงงานเหล็กต้นน้ำจะสร้างความเสียหายอย่างหนักกับชาวประมงพื้นบ้าน

เป็นการแสดงความกังวลผ่าน เวทีระดมความเห็นจากประชาชนจังหวัดปัตตานี จัดทำแผนยุทธศาสตร์จังหวัดปัตตานี เสนอต่อรัฐบาลชุดใหม่ ในเดือนตุลาคม 2554 ที่จัดโดยคณะกรรมการการเมืองภาคพลเมืองภาคใต้จังหวัดปัตตานี สถาบันพัฒนาการเมือง เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2554 ที่ห้องประชุมอิบนู คอนดูน วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ครั้งนั้น นายสะมะแอ เจะมูดอ กล่าวต่อที่ประชุมว่า ไม่ต้องการให้รัฐสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหรรมอาหารฮาลาลมากจนเกินไป เพราะเกรงจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ โดยเฉพาะผลกระทบกับชายฝั่งทะเล

“ประเด็นที่ผมเป็นห่วงคือ โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล จะเป็นโครงการปะหน้า หลังจากนั้นจะมีโครงการขนาดใหญ่อีกหลายโครงการตามมา โดยเฉพาะโรงเหล็กต้นน้ำที่มีแผนจะมาสร้างโรงงานที่ชายฝั่งทะเลอำเภอปะนาเราะ จังหวัดปัตตานี ถ้าหากเกิดโรงเหล็กขึ้นมาจริงๆ จะสร้างความเสียหายอย่างหนักกับชาวประมงพื้นบ้าน ทุกฝ่ายควรสนับสนุนเฉพาะโครงการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น”

 

พื้นที่เหมาะสมตั้งโรงงานถลุงเหล็ก

จากรายงานการศึกษาโครงการการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กของกระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่า มีการศึกษาพื้นที่ที่มีศักยภาพในการรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กแล้ว 10 แห่ง ใน 8 จังหวัด ประกอบด้วย

1. อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

3. อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

4. อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

5. อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

6. อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

7. อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

8. อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร

9. อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี

10. อำเภอปานาเระ จังหวัดปัตตานี

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2552 คณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ มีมติตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอให้กระทรวงอุตสาหกรรมศึกษาความเป็นไปได้ในการส่งเสริมการลงทุนกิจการผลิตเหล็กขั้นต้นเพื่อผลิตเหล็กคุณภาพสูง

สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ภายใต้การการกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้ว่าจ้างบริษัท อิมเมจพลัส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ให้ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้นเพื่อผลิตเหล็กคุณภาพสูง ใน 2 พื้นที่คือ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลาและอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี

วันที่ 21–26 กุมภาพันธ์ 2554 สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ได้นำชาวบ้านและคณะผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจากพื้นที่ที่มีศักยภาพในการรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็ก ไปศึกษาดูงาน “บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาอุตสาหกรรม” ที่โรงงานผลิตเหล็ก Nippon Steel และ JFE Steel ที่ประเทศญี่ปุ่น

ขณะนี้นิปปอน สตีล ได้ยื่นแผนต้นแบบการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน สำหรับโครงการเหล็กต้นน้ำคุณภาพสูงในไทยให้กับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอแล้ว เมื่อปี 2552 ซึ่งเป็นช่วงที่ยังอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมและที่ตั้งของโครงการผลิตเหล็กต้นน้ำคุณภาพสูง

 

อุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำนครศรีธรรมราช

ตามแผนแม่บทอุตสาหกรรมและการท่าเรือภาคใต้ ในจังหวัดนครศรีธรรมราชถูกกำหนดให้มีการพัฒนาเขตนิคมอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรครบวงจร อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ท่าเรือน้ำลึกแล้ว ยังเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กด้วย นั่นคือ นิคมอุตสาหกรรมเหล็ก บ้านบางปอ ตำบลทุ่งใส อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ต้องใช้พื้นที่ไม่ต่ำกว่า 5,000–10,000 ไร่

สำหรับการสร้างท่าเรืออุตสาหกรรม ที่ตำบลทุ่งใส มี 2 รูปแบบ ประกอบด้วย ท่าเรืออเนกประสงค์หน้าท่ายาว 200 เมตร 2 ท่า ท่าเรือน้ำมันรองรับเรือขนาด 30,000–60,000 DWT 2 ท่า ขนาด 6,000 DWT 1 ท่า รูปแบบที่ 2 การพัฒนาท่าเรือรองรับเฉพาะสินค้าเหลว โดยมีท่าเรือรองรับเรือขนาด 30,000 – 60,000 DWT 2 ท่า ขนาด 6,000 DWT 1 ท่า วงเงินลงทุน 13,890 ล้านบาท

 

อุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำประจวบคีรีขันธ์ชุมพร

นิคมอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ (ครบวงจร) ประจวบคีรีขันธ์–ชุมพร ของบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) มีพื้นที่เป้าหมาย 2 แห่งคือ บ้านเขาแดง ตำบลกุยเหนือ อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และอ่าวช่องพระ ตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร

ใช้พื้นที่ก่อสร้างโรงงานประมาณ 5,000–10,000 ไร่ สร้างโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ ท่าเรือน้ำลึกระวางขนาด 200,000 ตัน รวมถึงการพัฒนาระบบน้ำสำหรับใช้ในการผลิตประมาณ 30–50 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ระบบขนส่งและโลจิสติกส์ ระบบสาธารณูปโภค และระบบกำจัดของเสีย เป็นต้น โดยบริเวณอ่าวช่องพระ เป็นพื้นที่โรงงาน และลานเก็บวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงเนื้อที่ประมาณ 1,573 ไร่

 

อุตสาหกรรมเหล็กปัตตานี

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปัตตานี แสดงความสนใจและเห็นชอบในหลักการเบื้องต้นให้เกิดอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำในพื้นที่อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะมีความพร้อม มีแหล่งน้ำจืดเพียงพอที่จะรองรับโครงการขนาดใหญ่ได้

ผลการศึกษาพบว่า โครงการเหล็กต้นน้ำมีความต้องการพื้นที่ใกล้ทะเลขนาด 5,000–6,000 ไร่ มีท่าเรือขนส่งระวางน้ำลึกไม่ต่ำกว่า 20 เมตร และต้องการน้ำที่ใช้ในอุตสาหกรรมถึง 100,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน

จากความพร้อมในเชิงกายภาพของจังหวัดปัตตานี ทำให้รัฐบาลสามารถลดเงินลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคต่างๆ ลงได้ จากที่เคยประเมินว่ากรอบการลงทุนโครงการเหล็กต้นน้ำในประเทศราว 60,000–100,000 ล้านบาท

ที่ผ่านมามีความพยายามในการดึงอุตสาหกรรมเหล็กมาลงในจังหวัดปัตตานีตลอด ทั้งจากจังหวัดปัตตานี ที่จัดทำข้อเสนอผ่านสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย หอการค้า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้คือ ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส ที่ผลักดันผ่านคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ หอการค้าไทย รวมทั้งผลักดันผ่านองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี

พื้นที่จังหวัดปัตตานี เป็นพื้นที่ที่ บริษัท JFE Steel Corporation ของญี่ปุ่น สนใจที่จะมาลงทุน

 

อุตสาหกรรมเหล็กจังหวัดสงขลา

แม้รายงานการศึกษาโครงการการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็ก ระบุพื้นที่ที่มีศักยภาพในการรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา แต่สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย กลับศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้น ที่ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

ผลการศึกษาพบว่า ต้องใช้เนื้อที่กว่า 5,000 ไร่ เป็นพื้นที่ติดถนนเลียบชายทะเล เริ่มตั้งแต่บ้านขี้นากถึงคลองท่าเข็น ใน 4 หมู่บ้านคือ หมู่ที่ 4 บ้านศาลาหลวงบน หมู่ที่ 5 บ้านหัวคุ้ง หมู่ที่ 7 บ้านขี้นาก และหมู่ที่ 9 บ้านมากบัว ตำบลท่าบอน โดยจะถมทะเลอีก 2 ตารางกิโลเมตร ทำสะพานเชื่อมท่าเรือห่างชายฝั่ง 10 กิโลเมตร เป็นจุดรับวัตถุดิบ

ที่ผ่านมา มีการประชุมรับฟังความคิดเห็น 3 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2553 ที่โรงเรียนมาบบัว ตำบลท่าบอน ผู้เข้าร่วม 229 ราย ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2553 ที่โรงเรียนตะเครียะวิทยา ตำบลท่าบอน มีผู้เข้าร่วม 209 ราย และครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2553 ที่โรงแรมสงขลาพาเลซ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีผู้เข้าร่วมเพียง 21 คน ส่วนใหญ่เป็นสื่อมวลชนท้องถิ่น

โครงการนี้ได้รับการคัดค้านจากชาวบ้านในพื้นที่ นำโดยนายกาจบัณฑิต รามมาก ประธานชมรมเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดสงขลา ในฐานะชาวบ้านตำบลท่าบอน โดยให้เหตุผลว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่รู้เรื่องและไม่เข้าใจ

ล่าสุด เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2554 ที่หอประชุมอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวังสงขลา จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นเรื่องการจัดทำผังเมืองรวมชุมชนระโนด ปรากฏพื้นที่สีม่วงในร่างผังเมืองรวมดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ตำบลท่าบอน

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

มหากาพย์การต่อสู้เครือข่ายตาปี - พุมดวง สกัดผีดิบแก่งกรุง – Southern Sea Board

Posted: 03 Sep 2011 09:49 AM PDT

วิถีชีวิตอันอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตร ท่ามกลางการต่อสู้ของเครือข่ายพิทักษ์ลุ่มน้ำตาปี-พุมดวง สกัดกั้นการฟื้นคืนของโครงการเขื่อนแก่งกรุง สนองอุตสาหกรรมในนาม Southern Sea Boad


นำสำรวจ – นายประภาส สมลักษณ์ (ขวา) กับนางจรรยา สดวิลัย 2 ชาวบ้านเครือข่ายพิทักษ์ลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง นำผู้สื่อข่าวสำรวจพื้นที่หัวงานโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง ที่บ้านมิด หมู่ที่ 6 ตำบลท่ากระดาน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี นอกจาก 2 ข้างคลองพุมดวงจะอุดมสมบูรณ์แล้ว ในลำคลองยังมีชาวบ้านเลี้ยงปลากระชังจำนวนมาก


แผนที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง

 

 

ทางลูกรังแคบๆ แยกจากถนนใหญ่ มุ่งสู่บ้านปากมิด หมู่ที่ 7 ตำบลท่ากระดาน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี สองข้างทางเรียงรายด้วยสวนยางพาราลำต้นขนาดเล็กอายุไม่น่าจะเกิน 4 ปี แต่หลายๆ สวนก็ถูกเปิดกรีดก่อนวัยอันควร บางสวนเต็มไปด้วยพืชพรรณนานาชนิด ในลักษณาการสวนผสม ทั้งสะตอ ทุเรียน ลองกอง ลางสาด มังคุด เงาะ กล้วย มะพร้าวฯลฯ มีบ้านเรือนหลายหลังปลูกอยู่ริมแม่น้ำพุมดวง

นางจรรยา สดวิลัย หรือจีน ปล่อยวัวให้กินหญ้าอยู่ริมแม่น้ำพุมดวง ตัวเองหันไปหมกมุ่นอยู่กับแปลงผักนานาชนิด แม่น้ำทั้งสองฟากเต็มไปด้วยกระชังปลา

สาเหตุที่ชาวบ้านที่นี่กรีดยางวัยอ่อน นางจรรยา สดวิลัย บอกว่าสาเหตุมาจากกลัวจะโดนเวนคืนที่ดิน นำไปทำโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง

เดิมทีกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดบ้านปากมิดให้เป็นพื้นที่หัวงาน สถานีสูบน้ำโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง เนื้อที่ 93 ไร่ ต่อมากรมชลประทานชี้แจงว่า จะปรับลดลงเหลือ 40 ไร่ แยกเป็นขุดสระ 35 ไร่ แบ่งไปสร้างอาคารทำการอีก 5 ไร่

ข้อมูลจากนายประภาส สมลักษณ์ แกนนำเครือข่ายพิทักษ์ลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง ระบุว่า โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง เป็นสถานีสูบและส่งน้ำขนาดใหญ่ มีเครื่องสูบน้ำขนาดท่อเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.8–2 เมตร 16 เครื่อง สูบน้ำได้ 34 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวินาที มีสระพักน้ำ 2 แห่ง ปล่อยน้ำตามแรงโน้มถ่วงลงเสู่คลองส่งน้ำสายหลักสองสาย ความจุกว่า 582,000 ลูกบาศก์เมตร

ระบบส่งน้ำเป็นคลองดาดคอนกรีต 30 สาย ความยาวรวมกัน 38.74 กิโลเมตร มีคลองย่อยแยกจากคลองสายหลักอีก 28 สาย ความยาวรวม 100 กิโลเมตร มีคลองระบายน้ำธรรมชาติ 18 สาย ความยาวรวม 83 กิโลเมตร ขนาดที่ตั้งโครงการเกือบ 3 พันไร่ ความกว้างของคลองรวมคันดินและถนนคลองสายหลัก 55 เมตร สาขาย่อย 45 เมตร และคลองระบายน้ำ 25 เมตร

เอกสารของกรมชลประทานระบุว่า สายที่ 1 (MC1) มีความยาวประมาณ 21.34 กิโลเมตร ประกอบด้วย คลองส่งน้ำสายซอย 8 สาย รวมความยาว 17.4 กิโลเมตร อาคารตามแนวคลองส่งน้ำ 279 แห่ง ผ่าน 9 ตำบล ในอำเภอพุนพิน และอำเภอท่าฉาง ตั้งแต่ตำบลบางงอน ตำบลน้ำรอบ ตำบลท่าข้าม ตำบลพุนพิน ตำบลศรีวิชัย ตำบลท่าฉาง ตำบลท่าเคย ตำบลหนองไทร และตำบลลีเล็ต

สายที่ 2 (MC2) มีความยาวประมาณ 17.40 กิโลเมตร ประกอบด้วย คลองย่อย 20 สายรวมความยาว 74.85 กิโลเมตร อาคารตามแนวคลอง 466 แห่ง ผ่านพื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลบางงอน อำเภอคีรีรัฐนิคม

คลองทั้งสองสายใช้พื้นที่ประมาณ 2,718 ไร่ กระทบต่อที่ดินทำกินของชาวบ้าน 73,980 ไร่

พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวงทั้งหมด 3 อำเภอ 11 ตำบล แยกเป็น อำเภอคีรีรัฐนิคม มีตำบลท่ากระดาน 1 หมู่บ้าน อำเภอพุนพิน มีตำบลบางงอน 8 หมู่บ้าน ตำบลน้ำรอบ 7 หมู่บ้าน ตำบลหนองไทร 5 หมู่บ้าน ตำบลหัวเตย 7 หมู่บ้าน ตำบลมะลวน 7 หมู่บ้าน ตำบลพุนพิน 3 หมู่บ้าน ตำบลศรีวิชัย 3 หมู่บ้าน ตำบลลีเล็ต 2 หมู่บ้าน และอำเภอท่าฉาง มีตำบลหนองไทร 2 หมู่บ้าน ตำบลท่าเคย 2 หมู่บ้าน รวมทั้งสิ้น 47 หมู่บ้าน 5,000 ครัวเรือน

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง มีวัตถุประสงค์เพื่อการชลประทาน ให้คนทำนา และเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้าน แต่ความจริงแล้วพื้นที่อำเภอพุนพิน อำเภอคีรีรัฐนิคม และอำเภอท่าฉาง ขณะนี้เปลี่ยนจากการทำนามาปลูกปาล์มน้ำมันและยางพาราเป็นส่วนใหญ่ เหลือเพียงชาวบ้านไม่กี่รายทำนาปลูกข้าว และพืชผักอื่นๆ ไม่ควรสร้างคลองชลประทานขนาดใหญ่เพื่อทำนา

“เมื่อสภาพการใช้พื้นที่เปลี่ยนไปแล้ว ก็ไม่ควรสร้างคลองชลประทานขนาดใหญ่ขึ้นมาอีก เพราะปกติฤดูแล้งน้ำในแม่น้ำพุมดวงแห้งแล้งอยู่แล้ว ถ้าสูบออกไปคลอกก็จะแห้งขอดลงไปอีก ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังสองพันราย ในแม่น้ำพุมดวงได้รับผลกระทบ เมื่อน้ำถูกสูบออกไปจะทำให้น้ำเค็มจากทะเลอ่าวบ้านดอนทะลักเข้ามา ในแม่น้ำตาปีและแม่น้ำพุมดวง ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ และพันธุ์สัตว์น้ำ”

เป็นคำกล่าวของนายเฉลียว ภิญญานิล แกนนำเครือข่ายพิทักษ์ลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง

ขณะที่นายวิโรจน์ ทองเกษม อีกหนึ่งแกนนำเครือข่ายพิทักษ์ลุ่มน้ำตาปี–พุมดวงระบุว่า มีเจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นโครงการในพระราชดำริ ทำให้ชาวบ้านหวาดผวา โครงการฯ นี้ไม่ใช่โครงการในพระราชดำริ แต่เป็นโครงการเก่านำมาปัดฝุ่นใหม่ อ้างว่านำน้ำไปทำนา ทั้งที่ชาวบ้านหันไปปลูกยาง ปลูกปาล์มน้ำมันกันหมดแล้ว

“จากรายงานการประชุมของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2553 ระบุชัดเจนว่า นายสี่พร มณีโชติ รองอธิบดีกรมชลประทานได้ชี้แจงว่า คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้เปิดโครงการเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 เป็นโครงการตามที่จังหวัดขอสนับสนุนไว้เพื่อรองรับโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ หรือ Southern Sea Board

เป็นข้อมูลเอกสารของทางราชการที่นายวิโรจน์ ทองเกษม นำออกมายืนยันว่า เป้าหมายการใช้น้ำจากโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวงคือ อุตสาหกรรมหาใช่เพื่อการทำนาตามที่กรมชลประทานกล่าวอ้าง

116,360 ไร่ เป็นตัวเลขที่นายวิโรจน์ ทองเกษม ระบุว่าเป็นขนาดของพื้นที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง ขณะที่เจ้าของโครงการฯ คือ กรมชลประทานบอกว่าโครงการฯ นี้ใช้พื้นที่เพียง 73,980 ไร่ นายวิโรจน์ ทองเกษม เชื่อว่าเป็นตัวเลขที่ถูกนำขึ้นมาใช้ เพื่อเลี่ยงการทำรายงานการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) เพราะใช้พื้นที่ไม่เกิน 80,000 ไร่

ถึงแม้ วันที่ 27 เมษายน 2554 มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลท่าเคย ตำบลหนองไทร อำเภอท่าฉาง ตำบลลีเล็ด ตำบลศรีวิชัย ตำบลมะลวน ตำบลหัวเตย ตำบลท่าข้าม ตำบลพุนพิน ตำบลน้ำรอบ ตำบลหนองไทร ตำบลบางงอน อำเภอพุนพิน และตำบลท่ากระดาน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2554 เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยไม่มีชาวบ้านคนใดรับทราบเรื่องการออกพระราชกฤษฎีเวนคืนที่ดินฉบับนี้มาก่อน

ทว่า กรมชลประทานส่งเจ้าหน้าที่ปักหลักหมุดเสาปูนเป็นแนวคลองส่งน้ำขนาดกว้าง 55 เมตร ในพื้นที่โดยผ่ากลางบ้าน ผ่ากลางวัดโดยพลการ บางจุดที่เป็นบ้านพื้นปูนก็ตอกตะปูและลงสีแดงขนาดเท่าหัวเสาปูนเป็นเครื่องหมายมาก่อนหน้านั้นแล้ว

ถึงแม้วันนี้จะประกาศพระราชกฤษฎีกาฯ เวนคืนแล้ว แต่ด้วยท่าทีคัดค้านอย่างแข็งขันของชาวบ้าน ทางกรมชลประทานจึงต้องขอกำลังตำรวจคุ้มกันเจ้าหน้าที่ ที่ลงไปสำรวจรังวัดที่ดินที่จะเวนคืนมาใช้ในโครงการฯ นี้

นายวิโรจน์ ทองเกษม ย้อนรอยถอยหลังความเป็นมาของการรวมตัวคัดค้านโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวงว่า วันที่ 7 พฤศจิกายน 2552 เป็นวันที่ชาวบ้านรวมตัวกันตั้งเครือข่ายพิทักษ์ลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง ที่ศาลาหมู่ที่ 1 ตำบลน้ำรอบ อำเภอพุนพิน เพื่อเตรียมข้อมูลและกำหนดแนวทางการต่อสู้

วันที่ 8 ธันวามคม 2552 ชาวบ้านประมาณ 200 คน ลงรายชื่อคัดค้านโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง ยืนต่อองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ

จากนั้น แกนนำและชาวบ้านในเครือข่ายพิทักษ์ลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง ก็ออกเดินสายยื่นหนังสือคัดค้านโครงการฯ ยังสำนักงานก่อสร้างที่ 10 กรมชลประทาน, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, อธิบดีกรมชลประทาน, นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี, นายดำริห์ บุญจริง ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี, ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ประธานกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา, ประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา และนายกเทศมนตรีเมืองท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ต่อมา วันที่ 29 มิถุนายน 2553 กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้เชิญตัวแทนกรมชลประทาน, นายอำเภอพุนพิน และแกนนำเข้าชี้แจงที่สำนักงานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

วันที่ 30 มิถุนายน 2553 ยื่นหนังสือคัดค้านถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านสภาองค์กรชุมชนระดับชาติ

กระทั่ง วันที่ 20–21 กรกฎาคม 2553 คณะกรรมธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ลงพื้นที่พบหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง สำรวจพื้นที่ และรับฟังปัญหาจากผู้ได้รับผลกระทบ

จนวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553 บันทึกเทปรายการเวทีสาธารณะ โดยทีวีไทย

วันที่ 1 กันยายน 2553–10 ตุลาคม 2553 ประชุมปรึกษาหารือการฟ้องร้องกับคณะสภาทนายความ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และทนายความองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี

จนวันที่ 20 ตุลาคม 2553 จึงยื่นหนังสือร้องทุกข์ ส่งเอกสาร และให้ข้อมูลต่อสภาทนายความ ที่กรุงเทพมหานคร

วันที่ 27 มกราคม 2554 ทำเอกสารประกอบการฟ้องร้อง ส่งมอบสภาทนายความ

ถึงกระนั้น วันที่ 27 เมษายน 2554 พระราชกฤษฎีการเวนคืนที่ดินฯ เพื่อใช้ในโครงการฯ นี้ ก็ออกมาจนได้

ถึงวันนี้ แกนนำเครือข่ายพิทักษ์ลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง ออกมาประกาศพร้อมร่วมมือกับเครือข่ายพี่น้องผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการของรัฐในภาคใต้ เดินหน้าคัดค้านแผนพัฒนาภาคใต้ และโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง

ด้วยเพราะพวกเขาเชื่อว่า โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง เกิดขึ้นมารองรับโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ หรือ Southern Sea Board

000

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง จังหวัดสุราษฎ์ธานี

1. ความเป็นมา

1.1  ปี พ.ศ. 2510 กรมชลประทานเริ่มดำเนินการวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำ ในลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง ประกอบด้วย เขื่อนเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ 2 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) และเขื่อนแก่งกรุง (เขื่อนคลองยัน) กรมชลประทานได้โอนงานก่อสร้างเขื่อนรัชชประภาและเขื่อนแก่งกรุง ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินการ การก่อสร้างเขื่อนรัชชประภาแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. 2530

1.2 ปี พ.ศ. 2533 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2533 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) รับไปดำเนินการศึกษา เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบชลประทานที่เป็นปัจจุบัน โดยเฉพาะพื้นที่ชลประทานที่จะได้จากการก่อสร้างเขื่อนแก่งกรุง และกรมชลประทานได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสม แล้วเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม 2537 ปรากฏว่าโครงการมีความเหมาะสมต่ำ เนื่องจากจำเป็นต้องอพยพราษฎร และต้องลงทุนค่าชดเชยทรัพย์สินสูง ทำให้ได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ประกอบกับเขื่อนแก่งกรุงถูกต่อต้าน จนถูกระงับการดำเนินงานเอาไว้ก่อน

1.3  กรมชลประทานได้พิจารณาการใช้ประโยชน์จากน้ำ ที่ปล่อยจากท้ายเขื่อนรัชชประภานำมาใช้ประโยชน์ จึงศึกษาทบทวนความเหมาะสม โดยพิจารณาการพัฒนาชลประทานสูบน้ำจากแม่น้ำพุมดวง เพื่อเพิ่มพื้นที่ชลประทานฤดูฝน 73,980 ไร่ว่า มีความเหมาะสม ทั้งด้านวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการบริหารจัดการน้ำนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร หลังจากใช้กระแสน้ำผลิตกระแสไฟฟ้าของเขื่อนรัชชประภาไปแล้ว

 

2. ความจำเป็นที่ต้องดำเนินการโครงการ

เขื่อนรัชชประภาปล่อยน้ำจากท้ายเขื่อน เนื่องจากใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าประมาณ 3,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี มีปริมาณน้ำจากคลองสาขาไหลมารวมในแม่น้ำพุมดวงอีกประมาณ 2,400 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านแม่น้ำพุมดวง ประมาณ 5,400 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ไหลลงสู่ทะเลโดยไม่มีการนำน้ำมาใช้ประโยชน์ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง  จังหวัดสุราษฎร์ธานี จะเป็นการบริหารจัดการน้ำ โดยการนำน้ำไปใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

 

3. วัตถุประสงค์โครงการ

1. เพื่อเพิ่มพื้นที่ชลประทานในฤดูฝน 73,980 ไร่ และในฤดูแล้ง 57,819 ไร่

2. เพื่อการอุปโภค–บริโภค

3. เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

4. รายละเอียดของโครงการ

4.1  ที่ตั้งโครงการ   ตำบลบางงอน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฏร์ธานี

4.2  ลักษณะทางวิศวกรรมของโครงการ

(1)  สถานีสูบน้ำ 1 แห่ง และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 16 เครื่อง อัตราการสูบน้ำรวม 33.16 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ประกอบด้วย

- เครื่องสูบน้ำขนาด 1.93 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที 4 เครื่อง

- เครื่องสูบน้ำขนาด 2.12 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที 12 เครื่อง

(2)  ระบบส่งน้ำ ความยาวประมาณ 139 กิโลเมตร

(3)  ระบบระบายน้ำ ความยาวประมาณ 83 กิโลเมตร

 

5. ระยะเวลาดำเนินการ

8 ปี (พ.ศ. 2552–2559)

 

 

6. งบประมาณ

วงเงินโครงการทั้งสิ้น 3,330.00 ล้านบาท 

งบบุคลากร 77.00 ล้านบาท

งบดำเนินงาน 41.00 ล้านบาท

งบลงทุน 3,107.24 ล้านบาท

เผื่อเหลือเผื่อขาด 104.76 ล้านบาท

โดยมีแผนการใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละปี ดังนี้

ปีงบประมาณ พ.ศ.        จำนวนเงิน (ล้านบาท)

2552                              262.81

2553                              296.69

2554                              525.99

2555                              637.77

2556                              732.57

2557                              346.32

2558                              251.99

2559                              175.86

รวม 3,330.00 ล้านบาท

 

 

7. การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์

ความเหมาะสมทางด้านเศรษฐศาสตร์ในปี 2552

   ที่อัตราคิดลดร้อยละ

8

10

12

 

อัตราส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุน (B/C)

1.70

1.50

1.19

 

มูลค่าผลประโยชน์ปัจจุบันสุทธิ (NPV)

1,842

1,262

440

ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนทางด้านเศรษฐศาสตร์(EIRR)

13.60

13.60

13.60

%

8. ผลประโยชน์ของโครงการ

1. เพิ่มพื้นที่ชลประทาน 73,980 ไร่ โดยสามารถส่งน้ำในฤดูฝน 73,980 ไร่ และในฤดูแล้ง 57,819 ไร่

2. มีน้ำสำหรับการอุปโภค–บริโภค

3. เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

 

9. ผลกระทบจากการอนุมัติโครงการ

เมื่อได้รับอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง จังหวัดสุราษฏร์ธานีแล้ว จะทำให้เกิดผลกระทบต่อที่ดินและทรัพย์สินของประชาชนประมาณ 3,000 ไร่ ซึ่งกรมชลประทานได้เตรียมมาตรการในการจ่ายทดแทนทรัพย์สินไว้ในแผนงานโครงการแล้ว 

10.  สถานภาพโครงการ

- ด้านแบบก่อสร้าง แบบ และรายละเอียดด้านวิศวกรรมแล้วเสร็จ 100% ในปี 2544

- ด้านการจัดหาที่ดิน การสำรวจปักหลักเขตแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างขอคำขอรังวัดจากเจ้าของที่ดิน (ประมาณ 2,000 ราย)

- รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการไม่เข้าข่ายที่จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการของส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ปี พ.ศ. 2535

- การมีส่วนรวมของประชาชน กรมชลประทานได้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้ที่มีส่วนได้เสีย ทั้งในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ รวมทั้งระดับหมู่บ้าน รวมแล้วประมาณ 40 ครั้ง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ความลึกลับของ "ศาลรัฐธรรมนูญ"

Posted: 03 Sep 2011 09:25 AM PDT

ศาลรัฐธรรมนูญดูจะเป็นองค์กรสำคัญของชาติที่มีความลึกลับอยู่ไม่น้อย

จากข่าวเรื่อง “คลิปลับ” ที่บันทึกการสนทนาระหว่างตุลาการและเจ้าหน้าที่ศาลบางคนเกี่ยวกับการนำ “ข้อสอบ” ให้คนรู้จักไปอ่าน สุดท้ายจริงเท็จอย่างไรก็ยังคงลึกและลับจนถึงบัดนี้

หรือกรณีการตีความไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ทั้งสองคดีเมื่อปลายปี ๒๕๕๓ (คดีเงิน ๒๙ ล้านบาท และคดีเงิน ๒๕๘ ล้านบาท) ซึ่งแม้ศาลเดียวกันจะตัดสินทั้งสองคดีในเวลาไล่เลี่ยกัน แต่ก็ยังลึกลับอยู่ว่าเหตุใดกลับตีความประเด็นเดียวกันขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง (ดู http://bit.ly/qLeK63)

ความลึกลับนั้นน่ากังวลอยู่ไม่น้อยน้อยเมื่อสวนดุสิตโพลแสดงผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างว่ามีประชาชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑลกว่าร้อยละ ๕๖ ที่ “ไม่ค่อยเชื่อมั่น” หรือ “ไม่เชื่อมั่น”ในศาลรัฐธรรมนูญ

ล่าสุดมีกรณีลึกลับอีกกรณี คือ หลังจากมีข่าวว่าคุณชัช ชลวรได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง “ประธานศาล” แล้วนั้น สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่เอกสารข่าวที่ ๗/๒๕๕๔ วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ มีใจความว่า ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติโดยเอกฉันท์เลือกคุณวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ

จากนั้นมีข่าวว่าสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภากำลังรอหนังสือจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเพื่อดำเนินการให้ประธานวุฒิสภานำชื่อคุณวสันต์ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญต่อไป

คุณชัช ชลวร


คุณวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์

 

อย่างไรก็ดี สื่อมวลชนได้เผยแพร่บทความโดย  “คุณสันติ รัศมีธรรม” และ “คุณวิปัสสนา ปัญญาญาณ” (ที่ http://bit.ly/oNEKDm และ http://bit.ly/r5YrFH)  ซึ่งทักท้วงว่าการเลือกคุณวสันต์ เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญนั้นไม่ถูกต้อง เพราะการที่คุณชัชลาออกจากเพียงตำแหน่ง “ประธานศาล” แต่ยังคงตำแหน่ง “ตุลาการศาล” ไว้นั้น เป็นการทำผิดขั้นตอนตามรัฐธรรมนูญ

เรื่องนี้ปัญหาสำคัญส่วนหนึ่งอยู่ที่ถ้อยคำในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๐ วรรคสี่ ซึ่งบัญญัติว่า

ในกรณีที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่ง ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๔ วรรคสามมาใช้บังคับ”

(มาตรา ๒๐๔ วรรคสาม ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ)

ผู้ที่ทักท้วงเห็นว่า ถ้าจะให้ถูกต้อง ต้องถือว่าคุณชัช ได้ลาออกและพ้นจากตำแหน่งโดยเด็ดขาดจากศาลรัฐธรรมนูญแล้ว จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่แทนคุณชัช (โดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ตามมาตรา ๒๑๐ วรรคสอง) และให้ตุลาการผู้ได้รับเลือกใหม่นั้นประชุมกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นเพื่อเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ (กล่าวคือ เมื่อคุณชัชลาออก คุณชัชจึงไม่มีตำแหน่งตุลาการ และจะมาร่วมลงคะแนนเลือกคุณวสันต์เป็นประธานไม่ได้)

จึงเกิดคำถามว่า คุณชัชยังคงเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอยู่หรือไม่ และการเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ที่กระทำไปนั้น ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญหรือไม่?

ผู้เขียนเห็นว่าบทความทั้งสองของผู้ทักท้วงนั้นมีเหตุผลที่รับฟังได้และน่าเห็นด้วยอยู่ไม่น้อย (มิอาจทวนได้ทั้งหมดในที่นี้) อีกทั้งยอมรับว่ารัฐธรรมนูญมีความไม่ชัดเจนและน่าเป็นห่วงว่าจะเกิดปัญหาวุ่นวายตามมาหรือไม่

หากมีเหตุให้เชื่อว่ากระบวนการไม่ถูกต้องจริง ประธานวุฒิสภาย่อมต้องใช้ความรอบคอบก่อนนำชื่อคุณวสันต์ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย แต่หากดำเนินการไปแล้ว จะเกิดผลอย่างไร? หรือจะถือว่าเป็นกรณีที่ได้มีพระบรมราชวินิจฉัยว่าถูกต้องแล้ว?

หรือหากวันหนึ่งจะมีผู้โต้แย้งอำนาจศาลรัฐธรรมนูญโดยอ้างว่าตุลาการมีที่มาไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญได้หรือไม่? และหากโต้แย้งแล้ววันนั้นผู้ใดจะเป็นผู้วินิจฉัย ? (รัฐธรรมนูญมิได้ระบุไว้ชัด ต่างจากเรื่องสถานะของสมาชิกรัฐสภาหรือรัฐมนตรี ซึ่งมาตรา ๙๑, ๙๒ และ ๑๘๒ ให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัย) อีกทั้งใครจะบอกได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญกลับเข้าใจรัฐธรรมนูญผิดไปเอง?

เพื่อช่วยร่วมคิดและคลี่คลายความลี้ลับ ผู้เขียนขอเสนอ “คำอธิบายทางเลือก” ว่า คุณชัช ยังคงเป็น “ตุลาการศาล” อยู่โดยถูกต้อง กระบวนการเลือกคุณวสันต์จึงไม่ได้มีการกระทำผิดรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ประธานวุฒิสภาจึงสามารถนำชื่อคุณวสันต์ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายได้  ดังนี้

การพิจารณาถ้อยคำว่า “พ้นจากตำแหน่ง” ในมาตรา ๒๑๐ วรรคสี่นั้น ไม่จำเป็นต้องหมายความว่า “พ้นจากตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญ” โดยเด็ดขาดเท่านั้น แต่สามารถหมายถึงการพ้นจากตำแหน่ง “ประธานศาล” ที่ไม่พ้นจากตำแหน่ง “ตุลาการศาล” ก็เป็นได้ เพราะกฎหมายมีเจตนารมณ์ให้พิจารณา ตำแหน่ง “ประธานศาล” ที่มีตำแหน่ง “ตุลาการศาล” ซ้อนอยู่อีกด้วยชั้น เจตนารมณ์ดังกล่าวพบได้จากตัวอย่างต่อไปนี้

ประการแรก มาตรา ๒๐๔ วรรคหนึ่ง ใช้ถ้อยคำว่า "ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญหนึ่งคนและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีกแปดคน"

ที่ว่ายังมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ "อื่น" อีกแปดคน จึงตีความอีกทางได้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแปดคน และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ "อื่น" อีกหนึ่งคน (คือ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ) กล่าวคือ กฎหมายไม่ได้มองว่า “ประธานศาล” นั้นมีสภาพพิเศษแยกเด็ดขาดจาก “ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่น” แต่แท้จริงแล้ว “ประธานศาล” ก็คือผู้เป็น “ตุลาการศาล” คนหนึ่ง เพียงแต่มีอำนาจหน้าที่เพิ่มในส่วนที่เป็น “ประธานศาล”

ประการที่สอง มาตรา ๒๐๙ วรรคสอง ใช้ถ้อยคำว่า ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป...”

ในกรณีที่มีประธานศาลหรือตุลาการคนใดการพ้นจากตำแหน่งบางกรณี เช่น ตาย หรือ ลาออก นั้น มาตรา ๒๐๙ วรรคสอง ใช้ถ้อยคำว่า “ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป...”

จะเห็นได้ว่า กฎหมายบัญญัติว่า “ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป...” โดยไม่ได้กล่าวถึง “ประธานศาล” แต่ย่อมต้องหมายความรวมถึงส่วนที่เป็น “ประธานศาล” ซ้อนอยู่ด้วย มิฉะนั้นก็จะตีความอย่างแปลกประหลาดว่าแม้หากประธานศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้พ้นจากตำแหน่ง แต่ก็ไม่ต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไป

ประการที่สาม มาตรา ๒๑๖ บัญญัติว่า "องค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ" นั้น "ประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ..."

เช่นเดียวกับ มาตรา ๒๐๙ ที่อธิบายมาในประการที่สอง มาตรา ๒๑๖ ไม่ได้เจาะจงว่า “องค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ”จะต้องมี “ประธานศาล” ประกอบอยู่ด้วย แต่ทั้งนี้ก็ย่อมต้องหมายความรวมถึงส่วนที่เป็น “ประธานศาล” ซ้อนอยู่ด้วย มิฉะนั้นก็จะตีความอย่างแปลกประหลาดว่าประธานศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ “องค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ”

ประการทั้งสามที่กล่าวมาเป็นตัวอย่างบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่ยืนยันว่า กฎหมายไม่ได้มีเจตนารมณ์แยกตำแหน่ง “ประธานศาล” เป็นพิเศษออกจาก “ตุลาการศาล” โดยเด็ดขาด แต่มีการกล่าวถึง “ตุลาการศาล” โดยรวม ซึ่งครอบคลุมถึง “ประธานศาล” ด้วย

ดังนั้น การพิจารณาถึงตำแหน่ง “ประธานศาล” จึงต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ว่ามีสองส่วนที่ซ้อนกัน คือส่วนที่เป็น “ตุลาการศาล” และ ส่วนที่เป็น “ประธานศาล” ที่มีอำนาจหน้าที่เพิ่มขึ้นมา มิใช่ว่าเป็น “ประธาน” อยู่อย่างเดียวและเข้าหรืออกจากตำแหน่งแต่แค่การเป็น “ประธาน” เพียงนั้น

คำถามที่ตามมาก็คือ เวลา “ประธานศาล” “ลาออก” หรือ “พ้นจากตำแหน่ง” นั้น จะหมายถึงตำแหน่ง “ประธานศาล” เท่านั้นหรือ ต้องรวมไปถึง “ตุลาการศาล” ที่ซ้อนกันอยู่ด้วย?

แน่นอนว่ามีบางกรณีที่ตอบได้ง่าย เช่น การพ้นจากตำแหน่งโดยการตาย ย่อมถือว่าต้องพ้นจากทั้งส่วนตำแหน่ง “ประธานศาล” และ “ตุลาการศาล” อย่างไม่ต้องสงสัย

แต่การ “ลาออก” นั้นย่อมต้องพิจารณาจากธรรมชาติของการ “ลาออก” ซึ่งเป็นเรื่องความประสงค์ของเจ้าตัวตุลาการเอง เช่น เมื่อคุณชัชลาออกจากการทำหน้าที่ “ประธานศาล” แต่ยืนยันว่าตนไม่เคยลาออกจากการเป็น “ตุลาการศาล” แล้วจะหาเหตุผลอื่นใดมาบังคับได้ว่า คุณชัชได้ลาออกจากการเป็น “ตุลาการศาล”?

การตีความเช่นนี้นอกจากจะสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของบทบัญญัติที่ต้องการให้มีการซ้อนกันระหว่างตำแหน่ง “ประธานศาล” และ “ตุลาการ” แล้วยังไม่ได้สร้างปัญหาความชอบธรรม หรือความไม่เป็นธรรมในทางสาระสำคัญหรือกระบวนการของกฎหมายแต่ประการใด เพราะท้ายที่สุดผู้ที่เลือกคุณวสันต์เป็นประธานศาลก็คือตุลาการผู้มีมติเป็นเอกฉันท์ ไม่ได้ต่างอะไรในสาระสำคัญกับการต้องให้คุณชัชออกจากตำแหน่งตุลาการแล้วคัดเลือกตุลาการใหม่เข้ามาประชุมเลือกประธานศาล (เว้นเสียจะมีผู้เถียงว่าตุลาการที่ได้รับเลือกเข้ามาใหม่จะเป็นตัวเลือกประธานศาลที่ดีกว่า)

ยิ่งไปกว่านั้น การตีความดังกล่าวยังสอดคล้องกับเป้าประสงค์อันเป็นประโยชน์สำหรับกระบวนการยุติธรรม คือ ศาลสามารถมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงานระหว่างตุลาการด้วยกัน กล่าวคือ เมื่อผู้ดำรงตำแหน่ง “ประธานศาล” เห็นว่าตนไม่เหมาะสมที่จะเป็น “ประธานศาล” หรือ เห็นว่ามีผู้อื่นที่เหมาะสมกว่าตน ไม่ว่าจะเพราะเหตุใด แต่เหตุนั้นไม่ได้กระทบต่อการทำหน้าที่ “ตุลาการศาล” ของตน “ประธานศาล” ผู้นั้นก็เพียงแต่สละตำแหน่ง “ประธานศาล” ให้ผู้อื่นที่ได้รับเลือก โดยที่งานคดีของศาลก็ยังดำเนินต่อเนื่องได้ เพียงแต่ “ประธานศาล” คนเดิมได้ลดบทบาทตนเหลือเพียง “ตุลาการศาล” อีกทั้งไม่ต้องสร้างภาระให้กับผู้อื่นมาคัดเลือก ซึ่งอาจต้องใช้เวลาและสร้างภาระในการโยกย้ายบุคคลากร เช่น จากศาลฎีกา เป็นต้น

ในทางตรงกันข้าม หากตีความตำแหน่ง “ประธานศาล” ให้มีสภาพพิเศษแยกเด็ดขาดจาก “ตุลาการศาล” คือเป็นตำแหน่งโดดๆ ที่ไม่มีส่วนซ้อนกับ “ตุลาการศาล” ก็ย่อมทำให้เกิดอุปสรรคในการบริหารงาน เพราะหากมีกรณีใดที่ผู้ดำรงตำแหน่ง “ประธานศาล” เห็นว่าตนไม่เหมาะสมที่จะเป็น “ประธานศาล” หรือเห็นว่ามีผู้อื่นที่เหมาะสมกว่าตน แต่ผู้นั้นก็จะไม่สละตำแหน่ง “ประธานศาล” (แม้ตนจะอยากให้คนอื่นที่เหมาะสมกว่าทำหน้าที่แทน) เพราะไม่ต้องการเสียตำแหน่ง “ตุลาการศาล” นั่นเอง ซ้ำร้าย หากผู้นั้นอยากใช้ความรู้ความสามารถเป็น “ตุลาการศาล” ต่อไป แต่กลับเบื่อหน่ายกับหน้าที่เฉพาะของ “ประธานศาล” ก็อาจต้องตัดใจลาออกจากศาล ทั้งที่ตนเองก็ยังเหมาะกับการทำหน้าที่ “ตุลาการศาล” ต่อไป การตีความเช่นนี้เท่ากับกึ่งสนับสนุนให้ตุลาการยึดประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม อีกทั้งเป็นความเคร่งครัดที่ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร

 

สรุป

เมื่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและเป้าประสงค์แห่งกระบวนการยุติธรรมมุ่งหมายให้ ตำแหน่ง “ประธานศาล” และ “ตุลาการศาล” เป็นสองส่วนที่ซ้อนกัน และคุณชัชไม่เคย “ลาออก” จากส่วนของการเป็น “ตุลาการศาล”  คุณชัชจึงยังคงเป็น “ตุลาการศาล” และการประชุมเลือกคุณวสันต์เป็นประธานศาลที่ดำเนินการมาจึงถูกต้องแล้ว

 

ข้อสังเกตเพิ่มเติม

๑. ผู้เขียนเองไม่ได้พอใจกับ “คำอธิบายทางเลือก” มากไปกว่าเหตุผลของผู้ทักท้วง เพียงแต่เสนอเป็นทางเลือกร่วมคิด ในสิ่งที่น้อยคนอาจคิดได้ถึง หากยังไม่เห็นด้วยกับทั้งสองทาง วิธีตีความอีกวิธี คือ การตีความว่ารัฐธรรมนูญไม่เปิดช่องให้คุณชัชลาออกเฉพาะความเป็น “ประธาน” ศาล ดังนั้น การลาออกของคุณชัชจึงยังไม่มีผล การเลือกคุณวสันต์ก็เป็นการข้ามขั้นตอน ทุกอย่างจึงย้อนกลับสู่สภาพเดิม และคุณชัชยังคงเป็นประธานศาลต่อไป

๒. ต้นตอของปัญหาที่แท้จริงคือการร่างกฎหมายที่ไม่ชัดเจนและใช้ถ้อยคำไม่เสมอกัน บางครั้งกล่าวถึงประธานศาลและตุลาการแยกกัน แต่บางครากลับกล่าวรวมกัน จึงเป็นเรื่องที่สมควรการแก้ไขรัฐธรรมนูญส่วนนี้ให้ชัดเจน

๓. การตีความกฎหมายไม่ใช่เรื่องง่าย บางครั้งการตีความอย่างสุจริตและเคร่งครัดกลับสร้างปัญหาวุ่นวาย แต่บางครั้งการตีความที่ยึดเป้าประสงค์ที่เป็นประโยชน์ก็กลับเป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจที่อธิบายไม่ได้ แม้การตีความแบบแรกแม้จะไม่ดีเลิศ แต่แบบที่สองนั้นน่ากลัวกว่ายิ่งนัก นักกฎหมายที่ดีจึงต้องตีความกฎหมายให้ตรงกับเป้าประสงค์ที่เป็นประโยชน์ พร้อมสามารถยกบทบัญญัติขึ้นอธิบายผลการตีความได้อย่างลึกซึ้ง เฉียบแหลมและแยบยล จึงเป็นที่น่าสนใจว่าการที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ยอมรับการลาออกของคุณชัชและดำเนินการเลือกคุณวสันต์เป็นประธานนั้น แท้จริงแล้วได้กระทำไปโดยอาศัยการตีความแบบใด

๔. ผู้ทักท้วงได้เสนอว่าการคานอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีเช่นนี้อยู่ที่ขั้นตอนประธานวุฒิสภานำความขึ้นกราบบังคมทูลและคณะองคมนตรีถวายความเห็น ผู้เขียนเห็นด้วยว่าประธานวุฒิสภาไม่อาจนำเรื่องขึ้นกราบบังคมทูลอย่างไม่รอบคอบ และตั้งข้อสังเกตเพิ่มว่า มาตรา ๒๗๐ แห่งรัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจวุฒิสภาสามารถตรวจสอบว่า ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ “ใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย” หรือไม่ หากผู้เป็นสมาชิกวุฒิสภาระลึกในหน้าที่ของตนในฐานะผู้แทนของปวงชนอย่างแท้จริงไซร้ ก่อนที่จะนำความอันเป็น “ปัญหา” ขึ้นกราบบังคมทูลก็สมควรดำเนินการตรวจสอบตามมาตรา ๒๗๐ แห่งรัฐธรรมนูญเสียก่อน อันจะเป็นการเหมาะควรและสอดคล้องกับหลักนิติรัฐ-ประชาธิปไตยมากกว่าการปล่อยให้เกิดการระคายเบื้องพระยุคลบาทโดยแท้

๕. สุดท้ายแม้มีการนำความขึ้นกราบบังคมทูลไปแล้ว ก็มิได้มีบทบัญญัติที่ห้ามมิให้วุฒิสภาทำหน้าที่ตรวจสอบศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๒๗๐ แต่ประการใด แม้แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือประชาชนไม่น้อยกว่าสองหมื่นคน ก็มีสิทธิเข้าชื่อขอให้วุฒิสภาดำเนินการตรวจสอบศาลได้ตามมาตรา ๒๗๑ แห่งรัฐธรรมนูญ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พม่าเสนอกองกำลังว้า – เมืองลา เจรจาสันติภาพ

Posted: 03 Sep 2011 08:42 AM PDT

ทางการพม่าส่งจดหมายเชิญกองกำลังว้า UWSA - กองกำลังเมืองลา NDAA ซึ่งมีกองบัญชาการอยู่ติดชายแดนจีน ร่วมเจรจาสันติภาพตามกระบวนการปรองดองรัฐบาลใหม่ ขณะที่สองกลุ่มยังไม่ตอบรับ

แหล่งข่าวชายแดนจีน-พม่า รายงานว่า เมื่อวันที่ 29 ส.ค. ที่ผ่านมา ทางการพม่าได้มีจดหมายส่งถึงกองกำลังสัมพันธมิตรชาติประชาธิปไตย (National Democratic Alliance Army-NDAA) หรือ กองกำลังเมืองลา มีกองบัญชาการใหญ่อยู่ที่เมืองลา รัฐฉานภาคตะวันออก ติดชายแดนจีน โดยเสนอเรียกร้องให้ร่วมเจรจาเพื่อสันติภาพ

ทั้งนี้ จดหมายฉบับดังกล่าวถูกส่งจากหน่วยบัญชาการกองทัพพม่าในพื้นที่เมืองยาง (อยู่ทางเหนือเมืองเชียงตุง) และส่งไปยังฝ่ายปกครองกองกำลังเมืองลา NDAA ในเขตรับผิดชอบที่ 369 เมืองสือลือ อยู่ทางทิศเหนือของเมืองลา โดยฝ่ายปกครองเมืองสือลือได้ส่งต่อกองบัญชาการใหญ่เมืองลา ในวันเดียวกัน

เจ้าหน้าที่ระดับสูงกองกำลังเมืองลา NDAA นายหนึ่งเปิดเผยกับแหล่งข่าวว่า หน้าซองจดหมายที่ทางการพม่าส่งให้ระบุว่า “ยื่นมือเพื่อสันติภาพ” เนื้อหาใจความในจดหมายระบุขอเชิญร่วมเจรจาสันติภาพ ตามกระบวนการปรองดองของรัฐบาลภายใต้การนำของพล.อ.เต็ง เส่ง และว่า หากมีข้อเสนอหรือเรื่องอื่นใดขอให้ติดต่อหน่วยบัญชาการกองทัพที่รับผิดชอบพื้นที่เมืองยาง

เจ้าหน้าที่ NDAA คนเดิมเผยด้วยว่า ทางการพม่าได้มีจดหมายลักษณะเดียวกันส่งถึงกองทัพสหรัฐว้า (United Wa State Army-UWSA) เช่นเดียวกัน โดยส่งไปยังฝ่ายปกครองเขตรับผิดชอบที่ 468 ประจำเมืองป๊อก เมื่อวันที่ 30 ส.ค. เนื้อหาใจความจดหมายมีลักษณะเดียวกันกับที่ให้กับกองกำลังเมืองลา NDAA อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทั้งกองกำลังเมืองลา NDAA และกองกำลังว้า UWSA ยังไม่ได้ให้คำตอบใดๆ 

ด้านนักวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองในพม่ารายหนึ่งซึ่งพำนักอยู่ชายแดนไทย-พม่า แสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ทางการพม่ามีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งแยกภายในกองกำลังว้า UWSA และกองกำลังเมืองลา NDAA มากกว่ามีเจตนาสร้างสันติภาพอย่างแท้จริง เนื่องจากแสดงให้เห็นว่าการส่งจดหมายถึงทั้งสองกลุ่มเป็นการส่งเฉพาะพื้นที่ ซึ่งไม่ได้ส่งถึงกองบัญชาการใหญ่โดยตรง ในส่วนพื้นที่เมืองป๊อกของว้า และเมืองสือลือของกองกำลังเมืองลา มีรอยต่อติดกับเขตพื้นที่เมืองยาง ซึ่งครอบครองโดยทหารพม่า และทางการพม่าอ้างเสมอว่าเป็นเขตพื้นที่เมืองยาง

หากทางการพม่าสามารถโน้มน้าวให้ทหารว้า UWSA พื้นที่เมืองป๊อก และทหารกองกำลังเมืองลา NDAA พื้นที่เมืองสือลือเข้าร่วมฝ่ายตน จะทำให้พื้นที่ครอบครองระหว่างกองกำลังว้า UWSA และกองกำลังเมืองลา NDAA ขาดจากกัน ซึ่งจะทำให้กำลังสองฝ่ายอ่อนแอลง” นักวิเคราะห์ระบุ

ขณะเดียวกัน มีรายงานด้วยว่า เมื่อวันที่ 20 ส.ค. นายขุนทุนหลู่ หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยแห่งชาติว้า (Wa Democratic Party – WDP) และประธานเขตปกครองพิเศษว้า ซึ่งแต่งตั้งโดยทางการพม่า ได้โทรศัพท์ติดต่อไปยังไปฝ่ายกิจการต่างประเทศของว้า UWSA ว่า รัฐบาลพม่าภายใต้การนำของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ได้แต่งตั้งคณะเจรจาสันติภาพไว้แล้ว หาก UWSA ประสงค์ร่วมเจรจาหรือมีข้อเสนอเรียกร้องสามารถติดต่อได้ทันที แต่อย่างไรก็ตาม ทางการว้ายังไม่ได้ให้คำตอบเรื่องนี้ โดยอ้างเป็นเพียงการโทรศัพท์บอกกล่าวซึ่งไม่มีจดหมายเชิญอย่างเป็นทางการ

สำหรับกองกำลังว้า UWSA และกองกำลังเมืองลา NDAA ถือเป็นกองกำลังที่มีความสำคัญและมีอุปสรรคต่อรัฐบาลทหารพม่า เนื่องจากเป็นกลุ่มติดอาวุธมีกำลังพลมากและมีพื้นที่เคลื่อนไหวติดชายแดนจีน ขณะที่ทั้งสองกลุ่มเป็นสมาชิกกลุ่มสัมพันธมิตรกองกำลังเอกราชคะฉิ่น KIA และกองกำลังไทใหญ่ “เหนือ” SSA/SSPP ทั้งหมดซึ่งเป็นอดีตกลุ่มหยุดยิงกับรัฐบาลทหารพม่าได้ปฏิเสธข้อเสนอเปลี่ยน สถานะเป็นกองกำลังพิทักษ์ชายแดน (Border Guard Force) ภายใต้กำกับของทางการพม่า และถูกกองทัพพม่ากดดันมาอย่างเนื่อง ขณะที่กองกำลังคะฉิ่น KIA และกองกำลังไทใหญ่ “เหนือ” SSA/SSPP กำลังถูกกองทัพพม่าใช้กำลังเข้าโจมตีอย่างหนัก

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เครือข่ายญาติ ‘คนหาย’ ร้องรบ.ใหม่ ลงนามในอนุสัญญาป้องกัน ‘การอุ้มหาย’

Posted: 03 Sep 2011 08:38 AM PDT

เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 54 ณ โรงแรมอโนมา กรุงเทพฯ มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ จัดงานเสวนาเนื่องในวันคนสูญหายสากล (Enforced Disappearance) รำลึกทนายสมชาย นีละไพจิตร จับมือกลุ่มญาติคนหายจากทุกภาคของประเทศไทย เรียกร้องรัฐบาลใหม่ค้นหาความจริง และลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อคุ้มครองการบังคับบุคคลให้สูญหาย ให้เป็นอาชญากรรม

 

การอุ้มหาย ความรุนแรงที่รัฐไทยยอมรับได้?

ประทับจิตร นีละไพจิตร กล่าวว่า จากการทำวิจัยของมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ พบว่า ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา สามารถรวบรวบกรณีการบังคับคนให้สูญหายในประเทศไทยกว่า 90 กรณี จากจำนวนดังล่าว มี 18 คดีที่ทางคณะทำงานด้านการบังคับบุคคลให้สูญหายแห่งสหประชาชาติ สหประชาชาติได้รับไว้ เพื่อตรวจสอบและค้นหาความจริงต่อไป

เธอตั้งข้อสังเกตว่า กรณีส่วนใหญ่เป็นการกระทำจากเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ว่าจะเป็นจากนโยบายการปราบปรามยาเสพติด การปราบปรามการก่อการร้ายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือการสลายการชุมนุม เป็นต้น

สุนัย ผาสุก นักวิจัยองค์กรฮิวแมนไรท์ วอทช์ มองว่า วัฒนธรรมการงดเว้นโทษของเจ้าหน้าที่รัฐ กลายเป็นเรื่องปรกติของสังคมไทย รวมถึงการบังคับให้คนหาย ก็ถูกยอมรับวโดยกลายๆ ว่า เป็นวิธีการหนึ่งในการบังคับใช้กฎหมายของไทย

เขากล่าวว่า เจ้าหน้าที่รัฐ ต่างยอมรับว่า การบังคับคนให้สูญหาย เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ หากเป็นเรื่องที่ตอบสนองนโยบายที่กำหนดไว้ เช่นต่อนโยบายการปราบปรามยาเสพติด ก็มีการจุดกระแสในสังคมว่า คนค้ายาเป็นขยะสังคม เมื่อหายไปแล้วก็ไม่เป็นอะไร หากแต่สังคมยังรู้สึกสะใจด้วย

สุนัยมองว่า ที่เหตุการณ์เช่นนี้ยังเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นเพราะไม่มีการเอาผิดแก่เจ้าหน้าที่รัฐ จะเห็นว่าจาก 90 กว่ากรณี มีการเอาผิดได้ไม่กี่กรณีเท่านั้น การอุ้มหายจึงถูกนำมาปฏิบัติซ้ำแล้วซ้ำอีก

“ยังมีปัญหาเรื่องการขัดขวางและการปกปิดกระบวนการยุติธรรม ซึ่งทางฮิวแมนไรท์ วอทช์ใช้คำว่าเป็นการสืบสวนของตำรวจที่ ‘ชุ่ย’ และไม่สามารถเอาผิดได้ด้วย และกระบวนการคุ้มครองพยานของไทย ก็ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ครอบครัวของเหยื่อหลายคนยังถูกคุกคามทุกวัน ต้องหลบซ่อน” สุนัยกล่าว

 

ครอบครัวเหยื่อเผย ทุกวันนี้ยังถูกคุกคาม

ทัศนีย์ โมง ครูอายุ 36 ปี จากจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นครอบครัวของผู้ที่สูญหาย เปิดเผยว่า บิดาของตนเอง ถูกบังคับให้หายไปหลังเหตุการณ์ปล้นปืนในเดือนมกราคม ปี 2547 เพียงไม่กี่วัน มีพยานเห็นว่า พ่อของเธอถูกเอาตัวไปโดยชายนอกเครื่องแบบ ในขณะที่คุยกับเพื่อนบริเวณหน้าบ้าน

เธอเล่าว่า หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้น ก็ไม่กล้ามีใครมาเป็นพยานให้ปากคำว่าพ่อของเธอถูกอุ้มหายไป และเมื่อเธอไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ ก็กลับถูกคุกคามหลายต่อหลายครั้ง โดยมีทหารไปสอบสวนเธอที่โรงเรียน และบ้านก็ถูกบุกค้นหลายรอบ

“หลังจากที่พ่อถูกอุ้มหายไป ชีวิตของครอบครัวก็เปลี่ยนไปเยอะมาก พี่น้องต้องออกไปทำมาหากินที่มาเลเซียเพราะกลัว ไม่กล้าอยู่บ้าน” ทัศนีย์เล่า

เธอยังกล่าวว่า ที่ผ่านมา ไม่มีความช่วยเหลือหรือความใส่ใจใดๆ จากภาครัฐ จึงอยากให้รัฐเข้ามาช่วยดูแลกรณีเช่นนี้ด้วย

“อยากให้รัฐบาลใหม่มาช่วยคุ้มครองคนธรรมดาๆ แบบเราด้วย อย่าให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับพวกเราอีก เพราะมันทรมานมากที่คนที่เรารักต้องสูญหายไป” ทัศนีย์กล่าว

 

เหยื่อร้องรัฐคุ้มครอง ต้องไม่เลือกปฏิบัติ

ทางด้านอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 กล่าวว่า เนื่องจากปีหน้า จะครบรอบ 20 ปีเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และหลักฐานต่างๆ ก็ปรากฏขึ้นมาใหม่เรื่อยๆ จึงอยากเรียกร้องต่อรัฐบาลใหม่ว่า ต้องทำการพิสูจน์และค้นหาความจริงในกรณีดังกล่าวให้ได้

อดุลย์กล่าวว่า รัฐบาลต้องให้มีการเยียวยาแก่ครอบครัวของเหยื่อโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข และให้มีการชดเชยที่เพียงพอ ทั้งนี้ ไม่ใช่เพียงแต่กรณีพฤษภาทมิฬเท่านั้น แต่รวมถึงกรณีความรุนแรงอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์การสลายการชุมนุมนปช. ในเดือนพ.ค. 2553 การสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ เมื่อ 7 ต.ค. 2550 รวมถึงกรณีกรือเซะและตากใบ

“หากท่าน [รัฐบาลใหม่] ให้ความเป็นธรรมแก่ขบวนการเสื้อแดง ท่านต้องให้ความเป็นธรรมกับขบวนการอื่นๆ ที่เรียกร้องความเป็นธรรมด้วย” อดุลย์กล่าว

เช่นเดียวกับสีละ จะแฮ นายกสมาคมลาหู่เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายแก่ประชาชนชนเผ่าลาหู่ ในจังหวัดเชียงใหม่ เล่าว่า มีกรณีที่ชาวบ้านถูกจับตัวไปขังในหลุมดิน และซ้อมทรมาน เมื่อไปตามหาก็ไม่พบตัวอีกเลย

ทั้งนี้ เขาเชื่อว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่กระทำตามนโยบายปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่ และเรียกร้องว่า รัฐบาลต้องให้ความเป็นธรรมแก่คนทุกฝาย

“เราอยากให้รัฐบาลเป็นที่พึ่งของกลุ่มชนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะชนเผ่าหรือกลุ่มไหน เพราะที่ผ่านมารู้สึกว่า กระบวนการยุติธรรมมันไม่เท่าเทียม เราถูกศาลเตี้ยกระทำ ไม่มีกระบวนการยุติธรรมมาดูแล” สีละกล่าว

 

รณรงค์รบ. ลงนามอนุสัญญาฯ ป้องกันคนหาย

คมกฤช หาญพิชาญชัย นักวิจัยเรื่องอนุสัญญาป้องกันบุคคลจากการบังคับสูญหาย กล่าวถึงความจำเป็นที่รัฐบาลต้องลงนามใน ‘อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลจากการบังคับให้สูญหาย’ ว่า จะเป็นการทำให้การทำบุคคลให้สูญหายโดยเจ้าหน้าที่รัฐเป็นอาชญากรรม ซึ่งจะต้องมีกระบวนการยุติธรรมที่เหมาะสมมารองรับ ไม่ว่าจะเป็นในแง่การสืบสวนสอบสวน หรือบทลงโทษ

เอเมอร์ลิน จิลล์ นักวิจัยจากคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ไอซีเจ) ชี้ว่ากฎหมายภายในประเทศ ยังมีไม่เพียงพอสำหรับโทษของการบังคับบุคลให้สูญหาย และเรียกร้องให้รัฐบาลไทย ร่วมลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการบังคับบุคคลให้สูญหาย เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่เหยื่อ

“รัฐบาลไทยไม่ควรละเลยการสืบสวนสอบสวน เพื่อค้นหาความจริงและนำมาซึ่งความเป็นธรรม ในนามของความสามัคคีของชาติและการปรองดอง

ทางไอซีเจ อยากจะเตือนความจำต่อ รบ.ไทยว่า การปรองดองจะไม่สามารถทำได้ หากไม่มีการเปิดเผยความจริงให้แก่ครอบครัว ญาติ และสังคมในวงกว้างได้รับรู้” จิลล์กล่าว

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พุทธที่แปลกแยกจากเสรีภาพในโลกสมัยใหม่

Posted: 03 Sep 2011 08:24 AM PDT

เท่าที่ผมเห็นมา ชาวพุทธมีทัศนะที่แปลกแยกจากเสรีภาพในโลกสมัยใหม่สองแบบ คือ

ทัศนะแรก มองว่า พุทธศาสนาไม่ได้พูดถึงเสรีภาพ พุทธสอนให้คนปฏิบัติตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา หรือมรรคมีองค์แปดเพื่อความพ้นทุกข์เท่านั้น ไม่เกี่ยวใดๆ กับเรื่องเสรีภาพในสังคมประชาธิปไตย จึงไม่ควรตีความพุทธศาสนาเพื่อสนับสนุนเสรีภาพในสังคมประชาธิปไตย

ทัศนะที่สอง มองว่า พุทธศาสนาก็พูดถึงเรื่องเสรีภาพอยู่เหมือนกัน แต่เสรีภาพที่พุทธศาสนาพูดถึงนั้น หมายถึงเสรีภาพจากกิเลส ซึ่งเป็นเสรีภาพที่สูงส่งกว่าเสรีภาพในสังคมประชาธิปไตย เป็นเรื่อง “เสรีภาพในทางธรรม” ไม่เกี่ยวกับ “เสรีภาพทางโลก” การดึงเสรีภาพทางธรรมมาเกี่ยวข้องกับเสรีภาพทางโลกเท่ากับเป็นการดึงพุทธศาสนาให้ต่ำลง

จะเห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นทัศนะที่มองว่า พุทธศาสนาพูดถึงหรือไม่พูดถึงเสรีภาพก็ตาม ต่างมีจุดร่วมตรงกันอย่างหนึ่งคือการมองว่า พุทธศาสนาเป็นของสูงเหนือเรื่องทางโลก เหนือความเป็นประชาธิปไตย และเห็นว่าไม่ควรตีความพุทธศาสนาเพื่อสนับสนุนประชาธิปไตย เพราะเป็นคนละเรื่องกัน

ทัศนะดังกล่าวนี้เป็นทัศนะที่ผิดจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์พุทธศาสนาอย่างสิ้นเชิง เพราะตามข้อเท็จจริงทางประวัติ “พุทธศาสนาที่ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับเรื่องทางโลกไม่มีอยู่จริง” พูดอีกอย่างว่า ศาสนาพุทธที่บริสุทธิ์ผุดผ่องจากการประยุกต์ใช้ หรือการตีความเพื่อตอบสนองต่อปัญหาของชีวิตและสังคมในบริบทของยุคสมัยต่างๆ นั้นไม่มีอยู่จริง

แม้ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าก็เข้ามาเกี่ยวข้องกับทางโลก โดยการสอนศีลธรรมทางโลก ตั้งแต่ศีลธรรมทางสังคมการเมือง เช่น คุณธรรมของผู้ปกครอง คือทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร ศีลธรรมเพื่อความมั่นคงของรัฐคือวัชชีธรรม ศีลธรรมในสัมพันธภาพระหว่างบุคคล เช่น การเว้นจากอบายมุข คบเพื่อนที่ดี ความกตัญญูต่อบิดามารดา การขวนขวายในการศึกษา การมีสัมมาชีพ ไปจนถึงการพัฒนาจิตเพื่อความหลุดพ้น ดังปรากฏในมงคลชีวิต 38 ประการ เป็นต้น

ในสมัยพุทธกาล แม้ว่าจะมีพระอรหันต์มาก แต่จำนวนมากที่ว่านั้นก็เป็นเพียงส่วนน้อยเมื่อเทียบกับชาวพุทธส่วนใหญ่ที่ยังเป็นปุถุชน หากพุทธศาสนาไม่สอนศีลธรรมทางโลก หรือไม่เกี่ยวข้องกับทางโลกในแง่ที่เกิดประโยชน์แก่สังคมในยุคนั้นๆ พุทธศาสนาก็คงอยู่มาไม่ได้เป็นเวลากว่าสองพันปี มันเป็นไปไม่ได้เลยที่รัฐใดก็ตามจะเห็นคุณค่าของพุทธศาสนาและอุปถัมภ์พุทธสาสนาโดยที่ไม่ได้รับคำตอบในด้านศีลธรรมทางสังคมการเมืองใดๆ หรือไม่ได้รับคำตอบเรื่องศีลธรรมทางโลกที่เกี่ยวกับสัมพันธภาพระหว่างบุคคลใดๆ จากพุทธศาสนา

ฉะนั้น ทัศนะที่มองว่า พุทธศาสนาเป็นเรื่องของการปฏิบัติธรรมเพื่อหลุดพ้นเท่านั้น เป็นเรื่อง “เหนือโลก” ไม่เกี่ยวข้องการการเมือง ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องทางโลก จึงเป็นทัศนะที่ผิดจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์อย่างสิ้นเชิง

และดูเหมือนทัศนะที่แยกโลกกับธรรมออกจากกัน หรือแยก “ทางโลก” กับ “ทางธรรม” เป็นคนละทางกัน ไม่เกี่ยวข้องกันอย่างเด็ดขาดซึ่งเป็นทัศนะที่เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่สมัย ร.4 จะมีอิทธิพลอย่างมากต่อชาวพุทธปัจจุบัน ตัวอย่างทัศนะที่แยกเรื่องเสรีภาพพุทธออกจากเสรีภาพทางโลกตามที่ยกมาข้างต้น ก็คือทัศนะที่ได้รับอิทธิพลการแยกโลกกับธรรมออกจากกัน ตั้งแต่สมัย ร. 4 เป็นต้นมานั่นเอง

ประเด็นคือ ถ้าเป็นความจริงว่า พุทธศาสนาที่ลอยอยู่เหนือชีวิตจริง อยู่เหนือความเป็นจริงของเรื่องทางโลกไม่มีอยู่จริง (ถึงพุทธศาสนาแบบนั้นจะมีอยู่จริงก็ไม่มีประโยชน์อะไร) มีแต่พุทธศาสนาที่ถูกปรับใช้กับชีวิตและโลกแห่งความเป็นจริงภายใต้บริบทของยุคสมัยนั้นๆ และเป็นความจริงว่า พุทธศาสนาก็เคยถูกตีความ ถูกปรับใช้ให้สนองตอบต่อสังคมการเมืองแบบราชาธิปไตยมาแล้ว ฉะนั้น ก็ย่อมเป็นไปได้ที่พุทธศาสนาจะถูกตีความ หรือถูกปรับใช้ตอบสนอง หรือสนับสนุนเสรีภาพในสังคมประชาธิปไตย การคิดว่าไม่ควรดึงพุทธศาสนามาเกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยต่างหากที่เป็นเรื่องไร้เหตุผลรองรับ

เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้ว สิ่งที่เราต้องถามต่อคือ เสรีภาพตามความคิด (Concept) ของพุทธศาสนาคืออะไร? ผมคิดว่า พุทธศาสนาพูดถึงเสรีภาพในสามลักษณะที่มีความสัมพันธ์กับอย่างแยกจากกันไม่ได้ คือ

1.เสรีภาพในฐานะเป็นเงื่อนไขที่ขาดไม่ได้ของการกระทำทางศีลธรรม (กรรม) ที่ทางปรัชญาเรียกว่า “เจตจำนงอิสระ” (free will) ในทัศนะพุทธศาสนา การกระทำกรรม หรือการกระทำที่มีความหมายดี-ชั่วทางศีลธรรม จะเป็นไปไม่ได้เลย ถ้ามนุษย์ไม่มีเจตนาหรือความจงใจอิสระในการเลือกกระทำดี หรือชั่วด้วยตัวของเขาเอง

พูดอีกอย่างว่า การที่มนุษย์เลือกกระทำสิ่งต่างๆ ได้ แสดงว่า มนุษย์มีเจตจำนองอิสระ และเจตจำนงอิสระนั่นเองคือ “เนื้อแท้” หรือ essence ของมนุษย์ ดังที่รุสโซ ก็มองคล้ายกันว่า “ปราศจากเสรีภาพมนุษย์ก็ไม่ใช่มนุษย์ หากไม่มีเสรีภาพการกระทำทางศีลธรรมก็มีไม่ได้”  

2.เสรีภาพจากพันธนาการของกิเลส หรือความโลภ โกรธ หลง หมายถึงวิมุติ (freedom) หรือ  ความหลุดพ้นทางจิตใจของปัจเจกบุคคล เสรีภาพดังกล่าวนี้สะท้อนคุณค่าภายในตัวของมนุษย์ที่พุทธมหายานเรียกว่า “พุทธภาวะ” เถรวาทเรียกว่า “โพธิปัญญา” ซึ่งเป็นศักยภาพสูงสุดของความเป็นมนุษย์ที่แฝงอยู่ในตัวเราทุกคน

เสรีภาพดังกล่าวนี้ อาจเรียกในภาษาทางจริยศาสตร์ได้ว่า “ตัวตนทางศีลธรรม” หรือ moral self ที่มีอยู่ในทุกคน ทำให้ทุกคนมีสถานะความเป็นมนุษย์ที่มีคุณค่าในตนเองและเท่าเทียมกัน

3.เสรีภาพในการแสวงหาความจริงและการตัดสินทางศีลธรรม เป็นเสรีภาพตามหลักกาลามสูตร ซึ่งให้อิสระอย่างเต็มที่แก่ปัจเจกบุคคลในการวินิจฉัยความจริง และการตัดสินถูกผิดทางศีลธรรม ด้วยวิจารณญาณหรือปัญญาของตนเอง ดังบทสรุปของกาลามสูตรที่ว่า “ต่อเมื่อรู้ด้วยตนเองว่า สิ่งนี้เป็นอกุศล กุศล มีโทษ ไม่มีโทษ ฯลฯ พึงเลือกปฏิบัติในสิ่งที่เป็นกุศล ไม่มีโทษด้วยตนเอง”

จะเห็นได้ว่า เสรีภาพในความหมายที่ 1 และ 2 คือเสรีภาพที่เป็น เนื้อแท้” เป็น essence หรือเป็น “ตัวตนที่แท้จริง” (real self) ของมนุษย์ที่ไม่อาจถูกลบออกไปจากความเป็นมนุษย์ได้ ฉะนั้น แม้ในสังคมที่อยู่ภายใต้ระบบเผด็จการ มนุษย์ก็ยังคมมีเสรีภาพในความหมายที่ 1 และ 2 ได้

ส่วนเสรีภาพในความหมายที่ 3 เกี่ยวโยงใกล้ชิดกับเสรีภาพในทางสังคมการเมืองในความหมายว่า เป็นฐานของเสรีภาพในการพูดความจริง การแสดงความคิดเห็น การมีส่วนร่วมในการกำหนดบรรทัดฐานศีลธรรมทางสังคม การเลือกวิถีชีวิต การนับถือศาสนา การเลือกอุดมการณ์ การมีส่วนร่วมทางการเมือง เป็นต้น เพราะการที่เรายอมรับว่าเสรีภาพในเรื่องต่างๆ ดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดี ก็เพราะเรามีสมมติฐานอยู่ก่อนว่า เสรีภาพในการแสวงหาความจริงและเสรีภาพในการตัดสินทางศีลธรรมเป็นสิ่งที่ดี หรือเป็นสิ่งที่มีค่าในตัวของมันเอง เพราะมนุษย์จะค้นพบความจริงและความดีไม่ได้เลย หากเขาไม่มีเสรีภาพในตัวเองที่จะวินิจฉัยตัดสิน

ฉะนั้น ไม่ว่าเราจะมองเสรีภาพตามทัศนะของพุทธศาสนาในความหมายใดๆ ก็จะเห็นชัดเจนว่า เสรีภาพกับความเป็นมนุษย์ไม่อาจแยกขาดจากกันได้ และความงอกงามใดๆ ในความเป็นมนุษย์ก็ไม่อาจมีอยู่ได้ หรือเป็นไปได้โดยปราศจากเสรีภาพ จึงไม่มีเหตุผลว่า ทำไมพุทธศาสนาจะไม่สนับสนับสนุนความเป็นประชาธิปไตย หรือทำไมชาวพุทธปัจจุบันจึงต้องแปลกแยกจากการต่อสู้เพื่อเสรีภาพ และความเป็นประชาธิปไตย

และเป็นเรื่องไร้เหตุผลอย่างยิ่ง หากชาวพุทธปัจจุบันยังคงเห็นดีเห็นงามกับการใช้พุทธศาสนาเป็นเครื่องมือสนับสนุน อำนาจนอกระบบ” ให้กดทับเสรีภาพและความเป็นประชาธิปไตย เพราะนั่นเท่ากับเป็นการเห็นดีเห็นงามกับการกดทับ ลดทอน หรือทำลายความเป็นมนุษย์อย่างถึงราก!

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

มุกหอม วงษ์เทศ: “ความเป็นไทย”: อัตลักษณ์แห่งความดักดาน

Posted: 03 Sep 2011 07:47 AM PDT

 

ถ้าลองใช้โวหารชาตินิยมไทยดูบ้าง ข้าพเจ้าคิดว่าความเป็นไทยมากมายหลายอย่างเป็นตัวถ่วงความเจริญของชาติไทยและคนไทย หรือกล่าวอย่างกำปั้นทุบดินได้ว่า ความล้าหลังและลักษณะอนุรักษนิยมจัดของสังคมไทยมีสาเหตุหลักๆ มาจากความเป็นไทยนั่นเอง

และถ้าจะลองเลียนสำนวนชนชั้นสูงไทยเพื่อความเป็นศิริมงคล ความคิดและการงานสิ่งใดของฝรั่งหรือญี่ปุ่นที่คิดประดิษฐ์ขึ้นดีๆ ข้าพเจ้าเห็นว่าเราควรเลื่อมใสนับถือให้มาก เราไม่ควรตามโลกตะวันตกเฉพาะด้านความเจริญทางวัตถุ แต่ควรตามความเจริญในโลกสากลทางด้านความคิดจิตใจและความสัมพันธ์ทางสังคมด้วย

แล้วถ้าจะลองเสนอนโยบายให้กระทรวง(ไม่มี)วัฒนธรรมพิจารณา ในเมืองไทยสิ่งที่ควรจะรักษา(แต่ไม่ใช่ตะบันขึ้นทะเบียน)คือมรดกวัฒนธรรมทางศิลปะ/วัตถุ(บางอย่าง เพราะไม่มีที่ไหนทำได้ทุกอย่าง) ไม่ใช่มรดกวัฒนธรรมทางความคิดจิตใจ และสิ่งที่ควรจะปรับเปลี่ยนรื้อถอนคือมรดกวัฒนธรรมทางความคิดจิตใจ ไม่ใช่มรดกวัฒนธรรมทางศิลปะ/วัตถุ (ซึ่งไม่ได้หมายถึงการ “แช่แข็ง” ห้ามดัดแปลง) โดยพึงระวังว่าวิธีคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมและรสนิยมในการจัดการวัฒนธรรมจะเป็นตัวกำหนดแนวทางในการอนุรักษ์ ทว่าปัญหาใหญ่หลวงในเรื่องการจัดการวัฒนธรรมของรัฐไทยกลับคือการไร้ความคิด(ที่ถูก) และไร้รสนิยม(ที่ดี) แน่นอนว่าความคิดที่ถูกและรสนิยมที่ดีเป็นประเด็นถกเถียงได้ไม่รู้จบ แต่พึงระลึกด้วยว่าขณะนี้เรากำลังอยู่กับรัฐราชการที่มีความคิดที่ผิดและรสนิยมที่เลวอย่างไม่อาจปกป้องและแก้ต่างได้

พูดอีกแบบก็คือ เราควรอนุรักษ์โขนและดนตรีมโหรีปี่พาทย์ แต่ลดละเลิกขนบศักดิ์สิทธิ์ของโขน-ดนตรีและโลกทัศน์แบบรามเกียรติ์ เราควรทำนุบำรุงโบราณสถาน วัดๆ วังๆ แต่ลดละเลิกโลกทัศน์แบบศักดินาและพุทธเถรวาทคับแคบ เราควรส่งเสริมการศึกษาภาษาไทย วรรณคดีไทย วัฒนธรรมไทย และศิลปะไทยทางวิชาการให้เข้มข้น จริงจัง และมีจิตวิพากษ์แบบตะวันตก แต่ลดละเลิกคติเชิดชูซาบซึ้งฟูมฟายในความเป็นไทยที่ไม่เป็นวิชาการ และบ่อยครั้งก็ไม่เป็นผู้เป็นคน

มรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ควรได้รับการบริหารจัดการและวิเคราะห์วิจารณ์ในฐานะ “ศิลปะ” และ “ประวัติศาสตร์” ที่ดำรงอยู่ในประเทศนี้อันเกิดจากการหยืบยืมผสมผสานกับหลายวัฒนธรรมจนมีทัั้งลักษณะร่วมและลักษณะเฉพาะ แต่ไม่ใช่ในฐานะที่มันเป็นภาพแทนของ “ความเป็นไทย” ที่เสกสรรค์ปั้นแต่งเพื่อหลอกลวงตัวเอง และสถาปนาเป็นมาตรฐาน(ที่ไร้มาตรฐาน)เพื่อกีดกันและกดเหยียดความเป็นไทยแบบอื่นๆ ที่ไม่ถูกยอมรับและผนวกรวมให้เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นไทยอันถูกต้องดีงามฉบับราชการ 

สิ่งที่รัฐราชการไทยมักกระทำมาโดยตลอดคือการสืบสานมรดกวัฒนธรรมทางความคิดจิตใจแบบศักดินาหรือความเป็นไทยแห่งชาติ แต่ปล่อยปละละเลยและไม่เห็นคุณค่าความสำคัญของมรดกวัฒนธรรมทางศิลปะ/วัตถุ อันเป็นสิ่งที่ประเทศพัฒนาแล้วเห็นคุณค่าความสำคัญ พยายามดูแลเอาใจใส่ และค้นคว้าวิจัย (ไม่นับที่ไปแย่งชิงของคนอื่นมาในสมัยอาณานิคม แม้ว่าเอามาแล้วอาจจะจัดเก็บรักษาได้ดีกว่า)

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยเฉพาะในส่วนของพระที่นั่งศิวโมกขพิมานที่จัดแสดงประวัติศาสตร์ชาติไทย เป็นตัวอย่างชั้นเอกอุของความน่าอับอายขายหน้าระดับชาติที่สะท้อนความเป็นไทยแบบราชการในศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ดได้บรรเจิดที่สุด

ความดักดานอย่างไม่ประนีประนอมปรากฏแก่สายตาผู้ชมอย่างไม่ลดราวาศอก ทั้งเนื้อหาการจัดแสดงประวัติศาสตร์ชาติไทยที่เป็นโฆษณาชวนเชื่อว่าด้วยชาติ ศาสน์ กษัตริย์ระดับประถมล้วนๆ ซึ่งอุดมไปด้วยเรื่องเล่าว่าด้วยวีรกรรมของบูรพกษัตริย์ที่ปกบ้านป้องเมืองคุ้มเหย้าและกอบกู้ชาติ ทั้งวิธีการนำเสนออันอ่อนด้อย งานช่างศิลปกรรมชั้นเลว และดีไซน์สุดอนาถ ทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่ขาดการซ่อมบำรุงจนชำรุดใช้การไม่ได้ ทั้งสภาพห้องจัดแสดงอันทรุดโทรมทุเรศทุรังราวกับโกดังเก็บสมบัติผุๆ กับของทำปลอมห่วยๆ ที่ถูกทิ้งร้างตามยถากรรมกลางพงไพรเมื่อศตวรรษที่แล้ว

ผู้ที่หงุดหงิดโมโหง่าย ดูแล้วอาจถึงขั้นอยากสั่งรื้อให้ราพณาสูรแล้วบูรณะจัดแสดงใหม่ ส่วนผู้ที่โศกเศร้าสะเทือนใจง่าย ดูแล้วอาจอยากดิ่งไปโดดสะพานพระปิ่นเกล้าดับความระทมให้รู้แล้วรู้รอด และผู้ที่อ่อนไหวเอียงอายง่าย ดูแล้วน่าจะอยากถลาไปยืนขวางประตูทางเข้าสกัดกั้นไม่ให้ชาวต่างชาติเข้าชม จะให้คุกเข่าวิงวอนหรือจ่ายค่าห้ามดูก็ยอม แต่หากเป็นผู้ที่ปลงกับโลกและชีวิตง่าย ดูแล้วก็คงเดินออกไปเงียบๆ ทอดถอนใจ แผ่เมตตา อโหสิ แล้วก็ไปหาที่นั่งจิบเบียร์ดูเหล่าแบ็คแพ็คเกอร์แถวถนนข้าวสารเพื่อกระตุ้นความอยากมีชีวิตในประเทศนี้ต่อ

อนึ่ง ประสบการณ์เพื่อการทำลายล้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทยนี้สามารถสัมผัสได้ด้วยตัวท่านเองด้วยสนนราคาค่าเข้าชมเพียงสามสิบบาท(ดูแล้วอยากตายทุกโรค)สำหรับคนไทย สำหรับท่านที่เป็นชาวต่างชาติ หรือเป็นคนไทยแต่อยากแปลงกายเป็นคนต่างชาติเพื่อสะกดจิตตัวเองไม่ให้เกิดความอับอายระหว่างเดินชม โปรดเตรียมเงิน 200 บาท (เป็นค่าออกจากความเป็นคนไทยชั่วคราว)

ถ้าข่มใจไปซักถามว่าไฉน National Museum of Thailand มันถึงอเนจอนาถบัดซบได้เยี่ยงนี้ เผลอๆ จะแย่กว่านิทรรศการตามโรงเรียน เคยมาดูเมื่อสิบปีก่อนก็แบบนี้ แถมยังดีกว่าด้วยซ้ำเนื่องจากตอนนั้นกระเบื้องปูพื้นยังไม่(เฟื่องฟูลอย)แตกเป็นหลุมเป็นบ่อทุกซอกทุกมุม ปุ่มต่างๆ ก็ยังไม่เจ๊งไม่พังไปเสียทุกปุ่ม เจ้าหน้าที่มักจะตอบแบบเหนียมๆ ว่า “ไม่มีงบ” ซึ่งก็จริงและน่าเห็นใจอย่างยิ่งยวด เพราะงบประมาณปีละเป็นหมื่นเป็นแสนล้านของประเทศไม่ประสงค์จะพัฒนานี้จะทุ่มอุทิศไปที่ฝ่ายความมั่นคง-กองทัพเพื่อจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์สนองตัณหา ปูนบำเหน็จตามฤดูกาล และสังหารราษฎรตามออร์เดอร์ หรือไม่ก็ประเคนไปที่การจัดงานอภิมหาอลังการแบบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำเพื่อประโคมความภูมิใจในความเป็นไทยแบบหลอกลวงอวดนานาอารยประเทศสืบไป

งบประมาณเป็นปัจจัยสำคัญแน่นอน แต่ขาดเงินอย่างเดียวย่อมไม่ทำให้พิพิธภัณฑ์อุจาดได้ขนาดนี้ ต้องขาดอย่างอื่นอีกหลายอย่าง เช่น มันสมอง มโนสำนึก วิสัยทัศน์ หิริโอตัปปะ อิทธิบาท 4 ฯลฯ นอกจากนี้ขึ้นชื่อว่าราชการแล้ว ปัญหาการบริหารจัดการ ความขัดแย้งขัดแข้งขัดขา เรื่องทุจริตคอรัปชั่น และการเมืองภายในย่อมมีส่วนด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย      

เช่นเดียวกับคำที่แบกความซับซ้อนยอกย้อนไว้มหาศาลอย่าง “สังคม” “วัฒนธรรม” “พุทธศาสนา” “ฝรั่ง” “แขก” “โลกตะวันตก” “ชนชั้นกลาง” “ชนชั้นนำ” “ชาวบ้าน” “ประชาธิปไตย” “อนุรักษนิยม” “เสรีนิยม” “ซ้าย” “ขวา” และอื่นๆ อีกมากมายที่แม้จะระแวดระวังและตระหนักถึงข้อจำกัดของการใช้มโนทัศน์เหล่านี้ แต่ก็จำต้องใช้โดยไม่อาจเลี่ยงมิติของการเหมารวมและลดทอนความซับซ้อนยอกย้อนในแง่มุมต่างๆได้ (เว้นแต่จงใจใช้ในเชิงประชด เสียดสี เหน็บแนม) เพราะมิฉะนั้นทุกครั้งที่ใช้คำแต่ละคำก็จะต้องมีอรรถาธิบายกำกับอีกหลายย่อหน้าจนน่าหัวร่อและชวนสังเวชใจ และจริงๆ แล้วมันเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้ “concept” เหล่านี้โดยต้องคอยแยกแยะนัยทางการเมืองของความหมายอย่างละเอียดลออตลอดเวลา อีกทั้งถึงจะมีมานะอุตสาหะเพียงใด ก็จะไม่มีวันทำได้สำเร็จสมบูรณ์โดยปราศจากช่องโหว่ คำอย่าง “ความเป็นไทย” ก็เช่นกัน

การจะพูดถึงความเป็นไทยซึ่งทั้งแข็งทื่อ กำกวม และลื่นไหลในบริบททางประวัติศาสตร์การเมืองและวัฒนธรรมต่างๆ เราก็ต้องพยายามจับให้ได้คาหนังคาเขาในระดับหนึ่งก่อนว่า ในช่วงเวลาหนึ่งๆ อะไรและอย่างไรคือความเป็นไทย โดยละไว้ในฐานที่เข้าใจว่า ในครรลองเดียวกันกับแทบทุกอย่างในสังคมที่พูดไปแล้วก็ซ้ำซาก “ความเป็นไทย” ไม่ใช่สิ่งติดตัวมาตามธรรมชาติที่ฝังอยู่ในหน่วยพันธุกรรมของชนชาติไทตั้งแต่ครั้งอพยพจากภูเขาอัลไตมาตั้งถิ่นฐานที่แหลมทองอย่างที่ฝ่ายขวาอนุรักษนิยมไทยจำนวนหนึ่งยังไม่เลิกหัวปักหัวปำ แต่ถูกสร้างขึ้นเมื่อร้อยกว่าปีมานี้ รวมทั้งถูกให้ความหมายปรับเปลี่ยนบิดผันไปตามการเมืองของแต่ละยุคสมัย โดยยังไม่ต้องว่าไปถึงความเป็นไทยนอกคอกที่เกิดขึ้นมาคัดง้างกับความเป็นไทยกระแสหลักที่ครอบงำสังคมไทย

ว่ากันเฉพาะในปัจจุบันนี้ ความเป็นไทยน่าจะมีอยู่อย่างน้อยสามนัยยะใหญ่ๆ อย่างแรกคือความเป็นไทยในฐานะโลกทัศน์ทางวัฒนธรรมที่เป็นขนบทั่วไปของสังคมที่คอยกำกับพฤติกรรมและความรู้สึกนึกคิดทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัวของปัจเจกบุคคล โดยขนบนั้นอาจมีร่องรอยสืบเนื่องมาจากอดีต เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม หรือเป็นธรรมเนียมที่เพิ่งเกิดใหม่ก็ได้ แต่ถึงจะมีขนบความเชื่อร่วมกัน ปัจจัยเงื่อนไขที่สร้างความต่างระหว่างกลุ่มคนในชาติเดียวกันที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ “ชนชั้น” ด้วย (คนไทยทุกคนจึงมีความเป็น “ไทยๆ” ในตัวมากน้อยแตกต่างกันไป เช่น การมีสัมมาคารวะกับผู้อาวุโส การเรียกบุคคลแบบนับญาติ การมีมโนทัศน์เรื่องกรรม การถือเรื่องหัวกับเท้า ฯลฯ)

อย่างที่สองคือ “ความเป็นไทย” ที่เป็นอุดมการณ์ที่ชนชั้นนำและฝ่ายจารีตนิยมไทยพยายามนิยาม หว่านล้อม และบังคับให้คนในสังคมเชื่อและปฏิบัติตาม รวมทั้งทำให้คนในสังคมคอยเฝ้าระวังเป็นผู้ปกป้องความเป็นไทยนั้นๆ ด้วย (อุดมการณ์ความเป็นไทยแบบนี้ ได้แก่ การจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ ความรักชาติ ความสามัคคี ความศรัทธาในพุทธศาสนา การใช้ภาษาไทยมาตรฐาน การรักนวลสงวนตัว เป็นต้น)

ส่วนวัฒนธรรมที่ปรากฏในทางรูปธรรมต่างๆ จะถูกผนวกหรือติดตราให้เป็นสิ่งแสดงความเป็นไทยหรือไม่แค่ไหนอย่างไร ย่อมขึ้นอยู่กับมโนทัศน์และการเมืองว่าด้วยความเป็นไทยแต่ละแบบแต่ละช่วงเวลาที่จะเป็นตัวไปกำหนด “วัตถุ-สถานที่-เหตุการณ์” อีกทีหนึ่งว่า ผ้าขาวม้า ข้าวแช่ ระนาด เจดีย์ รถตุ๊กตุ๊ก ย่านพัฒน์พงษ์ งานฉลองวันเฉลิมฯ การยืนเคารพธงชาติ การล้อมปราบ-สังหารหมู่ที่ราชประสงค์ คือ “ความเป็นไทย” หรือไม่

และหากจะลองตั้งสมมติฐานว่าวัฒนธรรมการเมืองที่ปฏิบัติซ้ำแล้วซ้ำอีกในลีลาและรูปแบบที่อาจจะทั้งซ้ำและไม่ซ้ำเป็นการแสดงออกของ “จิตวิญญาณ” หรือ “จิตใต้สำนึก” ของสังคมนั้นๆ ทั้งงานฉลองวันเฉลิมฯ การยืนเคารพธงชาติ และการฆ่าประชาชนกลางเมือง รวมทั้งการไม่รู้สึกผิดบาปในใจหรือไม่ยอมรับผิดต่อสาธารณะของชนชั้นนำและผู้มีส่วนในการสนับสนุนหรือเพิกเฉยต่อปฏิบัติการอันไร้มนุษยธรรม ก็ต้องถือเป็นการเผยร่างอันตระการตาของ “ความเป็นไทย” ด้วยเหมือนกัน

นอกจากนี้หากจะมองในแง่ “popular culture” เกือบทุกอย่างที่ปรากฏและดำเนินไปในชีวิตประจำวันในสังคมไทยก็คือ “ความเป็นไทย” เช่นกัน เพียงแต่เป็นความเป็นไทยที่ค่อนข้างจะ “เป็นไปเอง” โดยไม่ได้ถูกควบคุมกำหนดจากชนชั้นนำ และแม้จะมี “เชื้อ” ของความเป็นไทยแบบที่ถูกอบรมปลูกฝัง แต่ก็มี “อิสระ” ในการปรับแปลง สร้างสรรค์ หรือต่อรองกับสถานการณ์ใหม่ๆ ในระดับหนึ่ง ความเป็นไทยแบบ “ชีวิตประจำวันธรรมดา” นี้อาจจะและมักจะไม่ใช่ “ความเป็นไทย” ที่พึงปรารถนาน่าเชิดชูในสายตาของฝ่ายอนุรักษนิยมไทยซึ่งสมาทานและพยายามปรับวัฒนธรรมชนชั้นสูงและวัฒนธรรมเทิดทูนชนชั้นสูงให้เป็นวัฒนธรรมแห่งชาติ (ต้องไม่ลืมด้วยว่า วัฒนธรรมชั้นสูงของไทยมีส่วนผสมของวัฒนธรรมศักดินาและวัฒนธรรมตะวันตก โดยส่วนที่เป็นวัฒนธรรมตะวันตกจะถูกเก็บงำ ไม่ให้ใครรู้ใครเห็น แล้วทำไม่รู้ไม่ชี้ เพื่อจะสร้างวัฒนธรรมตะวันตกเป็นแพะรับบาปให้กับสิ่งที่ถูกถือเป็นความเลวร้ายทั้งมวลที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ทั้งที่ความเลวร้ายเหล่านี้ด้านหนึ่งไม่ใช่ความเลวร้าย และอีกด้านหนึ่งเป็นความเลวร้ายที่เป็นผลพวงจากความเป็นไทยกระแสหลักเอง) เพราะความเป็นไทยแบบชีวิตประจำวันมักจะเป็นความเป็นไทยที่ปะปนกับวัฒนธรรมต่างชาติโลกาภิวัตน์ วัฒนธรรมของสามัญชน และอะไรก็ตามที่ไม่อยู่ในกรอบของวัฒนธรรมแห่งชาติ

เช่น ความนิยมเอาเสากรีก-โรมันไปประดับประดาตามตึกรามบ้านช่องเพื่อแสดงความหรูหรามีระดับหรือสวยงามแบบอินเตอร์นั้นเป็นวิธีคิดแบบ “ไทยๆ” มาก แต่สำหรับนักอนุรักษนิยมไทย เสากรีก-โรมันคือภาพแทนความเป็นตะวันตกที่ตรงข้ามกับความเป็นไทย ตึกรามที่มีเสาต่างด้าวเหล่านี้แปะอยู่จึงแสดงถึงการไม่รักความเป็นไทยที่น่าติเตียน

การชอบติดตั้งและเปิดโทรทัศน์ช่องข่าว-ละคร-เกมโชว์เพื่อแก้เบื่อ ขจัดความเงียบ หรือเพื่อความบันเทิงรวมหมู่ของผู้ปฏิบัติงานและผู้มารับการบริการตามหน่วยราชการ สำนักงานเอกชน ร้านค้า ธนาคาร โรงพยาบาล ฯลฯ ก็เป็นอะไรที่ “ไทยๆ” มากเช่นกัน แม้แต่การใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยในสื่อทันสมัยก็เป็นอะไรที่ “ไทยๆ” อีก เพราะต้องเขียนแบบ “Thank you kha” “See you tomorrow krub” “No problem na ja” “Don’t worry ja” “Wait for me duai la kan” etc. ภาษาอังกฤษแบบฝรั่งเป็นอะไรที่ “ห้วนไป” สำหรับการสื่อสารแบบไทยๆ ด้วยภาษาอังกฤษ

ความเป็นไทยๆ แบบ “เป็นไปเอง” ทำนองนี้เป็นความปกติธรรมดาของการไม่อยู่นิ่งของวัฒนธรรมในวิถีชีวิต ไม่ค่อยมีพิษมีภัยใหญ่หลวง แต่ถ้าจะน่ารำคาญ สร้างมลพิษทางภาพและเสียง หรือลดทอนประสิทธิภาพในการทำงาน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ความเป็นไทยทั้งสามนัยยะนี้จึงมีทั้งความเหลื่อมซ้อนและขัดแย้งเป็นปฏิปักษ์กันอยู่

ความเป็นไทยชนิดที่ก่อปัญหาฉกาจฉกรรจ์ให้กับความเป็นสังคมสมัยใหม่ที่พึงมีอารยะคือความเป็นไทยลักษณะที่กระจุกอยู่ในสองแบบแรก เพราะความเป็นไทย (“อย่างไทยๆ” “แบบไทย” “วัฒนธรรมไทย”) หลายอย่างเหล่านั้นเป็นต้นตอและตัวหล่อเลี้ยงความเบาปัญญา การกดขี่เหยียดหยาม ความเหลวไหลเพ้อเจ้อ ความภาคภูมิใจแบบไร้สติ ความหน้าไหว้หลังหลอก-ปากว่าตาขยิบ ความคับแคบแบบกบในกะลา ความไร้เหตุผล ไปจนถึงความไร้เดียงสาปัญญาอ่อน

เมื่อถึงจุดที่ไม่อาจไปต่อได้อีก สิ่งที่แสดง “ความเป็นไทยที่แท้จริง” ทุกวันนี้ก็คือ “ความรักในความเป็นไทย” และเมื่อสืบสาวไล่เลาะทีละเปลาะไปจนถึงสุดปลายโซ่ เราก็จะพบว่า เมืองไทยเป็นประเทศที่ไม่ได้มีหลักการอันน่าเคารพอะไรทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปอย่างพิกลพิการ อย่างสิ้นคิด อย่างตลบแตลง หรืออย่างโหดเหี้ยมอำมหิต ภายใต้กระโจมแห่ง “ความเป็นไทย-วัฒนธรรมไทย-แบบไทยๆ”

ความเป็นไทยมีเนื้อหาอันเป็นสดมภ์อยู่จำนวนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ (ส่วนที่เป็นหัวใจและถูกเน้นย้ำสูงสุด-เพียงแต่เปลี่ยนจุดเน้นตามบริบททางการเมือง-มาตลอดคือ “พระมหากษัตริย์” รองลงมาคือ “พุทธศาสนา” และโดยรวมๆ ก็คือ “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์”) ซึ่งถูกสถาปนาเป็น “ความจริงสูงสุด” (หรือ “ระบอบแห่งสัจจะ” ตามที่อ.สายชล สัตยานุรักษ์ บัญญัติและวิเคราะห์แจกแจง) แต่เปิดพื้นที่อันคลุมเครือให้กับการเสกสรรปั้นแต่งและความไม่มีเหตุผลอย่างไม่จำกัดเพื่อใช้ยืนยันค้ำจุนโครงความคิดหลักยืนพื้นเหล่านั้น

โดยทั่วไปแล้ว การจะ “ปั้นแต่ง” อะไรขึ้นมาเพื่อชักจูง ครอบงำ กำหนดทิศทาง และเล็งประโยชน์เฉพาะกาล มักหนีไม่พ้นองค์ประกอบของการ “ยกเมฆ” ประวัติศาสตร์ของการเมืองการสร้าง “ความเป็นไทย” จึงเป็นประวัติศาสตร์แห่งการสร้าง “มายาคติ” เกี่ยวกับชาติไทย คนไทย สังคมไทย วัฒนธรรมไทย ศีลธรรมไทย ไม่ว่าจะการนิยาม “อุปนิสัยใจคอ” ของคนไทยโดยสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพที่เป็นที่รับรู้แพร่หลายว่าประกอบไปด้วย “ความจงรักในอิสรภาพของชาติ ความปราศจากวิหิงสา และความฉลาดในการประสานประโยชน์” หรือการปรับเปลี่ยนอุปนิสัยประจำชาติของคนไทยอันมี “เชื้อแถว” มาตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยหลวงวิจิตรวาทการว่า คนไทยรักความก้าวหน้า มุ่งมั่น มานะอุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร หรือการวาดภาพอันงดงามแบบนิทานกล่อมเด็กก่อนนอนให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มีพุทธศาสนาค้ำจุน คนไทยมีความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบเอื้ออารี ช่วยเหลือเกื้อกูล สามัคคีปรองดอง

การโยงใยยกเมฆอย่างมีจินตนาการแฟนตาซีของชนชั้นนำอนุรักษนิยมไทยที่ยึดครองอำนาจในการนิยามความเป็นไทยยังทำให้จารึกพ่อขุนรามคำแหงกลายเป็น “รัฐธรรมนูญไทย” ฉบับแรก, ระบอบกษัตริย์แบบไทยๆ มีการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยอยู่แล้วตามหลัก “อเนกนิกรสโมสรสมมติ”, ผู้นำไทยและการปกครองแบบไทยแต่โบราณซึ่งเน้นความเด็ดขาดมีคุณความดีและความชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตยมาแต่ไหนแต่ไร ประเทศไทยจึงไม่จำเป็นต้องมีประชาธิปไตยแบบฝรั่ง และพุทธศาสนาเป็นแหล่งที่มาทางศีลธรรมที่ทำให้เราไม่ต้องมีระบบควบคุมตรวจสอบเอาผิดพระเถระชั้นผู้ใหญ่และผู้เป็นศูนย์กลางในการอุปถัมภ์พุทธศาสนา

ระบอบความคิดแบบเผด็จการอ้างตนเป็นความจริงแท้เหนือทุกสิ่งเสมอ แต่ความจริงในความเป็นจริงกลับเป็นเรื่องตลกย้อนแย้งเสมอเช่นกันเนื่องจากว่า ตัว “ความเป็นไทย” เองคือความไม่มีสำนึกต่อ “ความจริง” “ข้อเท็จจริง” และ “วิธีคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล” เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดในความเป็นไทย (ที่ผูกกับอุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์อย่างแนบแน่น) คือ “ลำดับชั้นทางอำนาจบารมีและการรู้ที่ต่ำที่สูง” ซึ่งหากความจริงใด ข้อเท็จจริงใด หรือความเป็นเหตุเป็นผลใด มีศักยภาพจะมาบ่อนเซาะลำดับชั้นทางอำนาจนั้น ความจริง ข้อเท็จจริง และความเป็นเหตุเป็นผลนั้นจะต้องถูกฝังกลบหรือบิดเบือนให้หมดเขี้ยวเล็บเสีย

การอำพรางและกดเหยียด “ความจริง” “ข้อเท็จจริง” และ “ความเป็นเหตุเป็นผล” ให้อยู่ใต้คุณค่าอื่นที่สำคัญกว่าในนามของ “ความเป็นไทย” (เช่น การเทิดทูนสถาบันกษัตริย์, ความสามัคคี, ความสงบเรียบร้อย, การเชื่อฟังรัฐ, ระบบอุปถัมภ์, ผู้ใหญ่-ผู้น้อย, ฯลฯ) นี้เองที่เป็นต้นรากของความไร้ซึ่งหลักการ ไร้จรรยาบรรณ และไร้จริยธรรมในสถาบันสมัยใหม่ที่เลียนแบบตะวันตกทุกชนิด ไม่ว่าจะสถาบันตุลาการ, การศึกษา, ระบบราชการ, กองทัพ, สื่อสารมวลชน และอาจจะแม้แต่วิทยาศาสตร์ แม้การรับความเป็นตะวันตกของประเทศที่ไม่ใช่ตะวันตกย่อมผ่านการเลือกสรร-ดัดแปลง-ปรับใช้เป็นเรื่องปกติ แต่ความเป็นไทยเช่นนี้แหละที่ถูกใช้เป็น “ข้อแก้ต่าง-แก้ตัว-ปัดสวะ” ให้กับความไม่สามารถเฉียดใกล้ความถูกต้องทางหลักการและการปฏิบัติ ซึ่งเรียกง่ายๆ ได้ว่า ความเสื่อมทรามและสามานย์

ในประเทศนี้ ถ้าระบบกฎเกณฑ์ การบริหารจัดการ หรือกิจกรรมที่ลอกฝรั่งมาชนิดใดทำแล้วด้อยประสิทธิภาพ เละเทะมั่วซั่ว หรืออีเดียตสุดขีด ก็จะอ้างว่าเพราะเราเป็นแบบไทยๆ ไม่ตามฝรั่ง

ถ้ากระบวนการหรือหลักการที่เลียนแบบตะวันตกใดไร้มาตรฐานและเต็มไปด้วยลักษณะสับปลับ ก็จะอ้างว่าเพราะเราเป็นแบบไทยๆ ไม่ตามฝรั่ง

ถ้าอุดมการณ์ใดที่เอาอย่างโลกสากลถูกใช้อย่างฉ้อฉล บิดเบี้ยว และบิดเบือนสาระสำคัญ ก็จะอ้างว่าเพราะเราเป็นแบบไทยๆ ไม่ตามฝรั่ง

ถ้าการกระทำใดละเมิดเสรีภาพ ไร้มนุษยธรรม ขาดมโนธรรมสำนึก เลี่ยงความรับผิดชอบ กดขี่ข่มเหง ปรักปรำ บังคับขืนใจ และเลือกปฏิบัติในนามของความถูกต้องชอบธรรมตามธรรมเนียมประเพณี ก็จะอ้างว่าเพราะเราเป็นแบบไทยๆ ไม่ตามฝรั่ง

ความเป็นไทยๆ เยี่ยงนี้จึงมิใช่อะไรอื่น แต่คือความปลิ้นปล้อน มือถือสากปากถือศีล และไร้ซึ่งความละอาย

รู้อยู่แก่ใจกันดีว่า สถาบัน องค์กร หน่วยงาน แทบทุกประเภทในเมืองไทยทั้งจำเป็นและติดนิสัยประจบสอพลอ หรือสามารถถูกแทรกแซงจากอำนาจที่ไม่มีใครกล้าปฏิเสธได้แทบทุกเมื่อ หลักการอันสูงส่งของสถาบันองค์กรหน่วยงานต่างๆ ล้วนกลายเป็นสโลแกนเก๊ๆ เมื่อต้องเผชิญกับ “อำนาจบาตรใหญ่” บนยอดปีระมิดวัฒนธรรมไทย

ถ้าในที่สุดแล้วไม่มีข้อแก้ตัวใดที่ฟังขึ้น ก็จะอ้าง “ความจงรักภักดี” ซึ่งเป็นคุณสมบัติและตัวนิยาม “ไม้ตาย” ของความเป็นไทยในปัจจุบัน ในเมืองไทย ทุกอย่างต้อง “รับใช้” ความเป็นไทย และความเป็นไทยอยู่ “เหนือ” ทุกอย่าง

ดังที่เห็นและเป็นอยู่ ความเป็นไทยฉบับราชการ/อนุรักษนิยมเป็นปฏิปักษ์ต่อหลักการและคุณค่าสากลทุกชนิดที่มนุษย์และสังคมสมัยใหม่ควรยึดถือ

ความเป็นไทยคือการยอมรับโดยศิโรราบในโครงสร้างระเบียบแบบแผนและความสัมพันธ์ทางสังคมแนวดิ่ง, ความเป็นไทยรังเกียจสิทธิเสรีภาพ, ความเป็นไทยเกลียดชังความเสมอภาค, ความเป็นไทยดูถูกสิทธิมนุษยชน, ความเป็นไทยดูหมิ่นประชาธิปไตย, ความเป็นไทยไม่อนุญาตและไม่มีความอดทนให้กับการโต้แย้ง การเรียกร้อง และการแสดงความรู้ดีกว่าจากคนชั้นต่ำและคนต่างชาติ, ความเป็นไทยไม่แยแสความเป็นธรรม, ความเป็นไทยไม่สามารถทนทานการตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ได้, ความเป็นไทยเกลียดกลัวความรู้และความจริงนอกระบอบโฆษณาชวนเชื่อความเป็นไทย, ความเป็นไทยไม่ถูกชะตากับความเป็นเหตุเป็นผล, ความเป็นไทยไม่ยี่หระกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพราะในเมื่อมนุษย์เกิดมาไม่เท่ากัน จะมีศักดิ์ศรีเท่ากันได้ไง

ความเป็นไทยเชื่อมั่นในคนดีที่ความเป็นไทยออกใบรับรอง แต่ไม่เชื่อมั่นในการตรวจสอบคนดี เพราะความเป็นไทยเองซึ่งดีวิเศษมหัศจรรย์ที่สุดก็ห้ามตรวจสอบ, ความเป็นไทยหวาดระแวงและต่อต้านความเป็นตะวันตก, ความเป็นไทยไปกันไม่ได้กับอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตยหรือสังคมนิยม แต่เข้ากันได้ดีเป็นปี่เป็นขลุ่ยกับระบอบเผด็จการ, ความเป็นไทยขยะแขยงการเมืองแห่งการจัดสรรอำนาจและผลประโยชน์ เพราะความเป็นไทยต้องการกำหนดเองว่าใครควรได้หรือไม่ได้อำนาจและผลประโยชน์, ความเป็นไทยให้สิทธิธรรมอันเปี่ยมล้นกับชนชั้นนำตามจารีตและสมุนบริวารเป็นผู้กำหนดทิศทางและความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย แต่ห้ามไม่ให้ประชาชนสะเออะเป็นผู้กำหนดเอง, ความเป็นไทยอนุโมทนาในทุนนิยมและบริโภคนิยมของชนชั้นสูง แต่สาปแช่งทุนนิยมและบริโภคนิยมของชนชั้นล่าง, ความเป็นไทยยินดีเพิ่ม บำเรอ ถวายอภิสิทธิ์ให้กับอภิสิทธิ์ชน และยินดีลด ริบ ละเมิดสิทธิพื้นฐานของสามัญชน

ความเป็นไทยเป็นเรื่องธรรมชาติอยู่ในสายโลหิตก็จริงอยู่แต่ไม่ได้เปิดกว้างต่อคนไทยทุกกลุ่มทุกคน ดังนั้นคนไทยทุกกลุ่มทุกคนต้องรู้จักสวามิภักดิ์ ปรับตัว หรือกลับตัวกลับใจให้เข้ากับความเป็นไทยเอง, ความเป็นไทยกระสันต์ให้โลกสากลยอมรับความเป็นไทย แต่ความเป็นไทยไม่ยอมรับโลกสากลที่ขัดกับความเป็นไทย, ความเป็นไทยอยากไม่เหมือนใครและเหนือกว่าใครในโลกหล้า, ความเป็นไทยมุ่งมั่นประณามและกวาดล้างความไม่เป็นไทยของคนไทย ในขณะที่เอื้ออาทร พร้อมรับ และชมเชยการ “เข้ารีต” ความเป็นไทยของคนต่างชาติจากประเทศโลกที่หนึ่ง, ความเป็นไทยไม่เคยรู้สึกผิดบาปกับความชั่วร้ายที่กระทำในนามของความเป็นไทย, ความเป็นไทยให้อภัยกับสิ่งที่มิอาจให้อภัยได้, ความเป็นไทยรักความสงบเรียบร้อยแต่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและขจัดความกระด้างกระเดื่องต่อความเป็นไทย ความเป็นไทยมีความชอบธรรมที่จะออกใบอนุญาตฆ่าได้ทุกเมื่อ, ความเป็นไทยไม่มีปัญหาเลยกับความรุนแรงเชิงกายภาพและเชิงโครงสร้างจากบนลงล่าง แต่จะมีปัญหามากหากเกิดจากล่างขึ้นบน และจะมีปัญหามากที่สุดหากมีการกล่าวหาว่าความเป็นไทยคือความรุนแรง

สุดท้ายนี้โปรดเข้าใจและเห็นใจกันหน่อยว่า ความเป็นไทยจำเป็นต้องก่อกรรมทำเข็ญและโหดเหี้ยมอำมหิตในบางครั้งเพื่อพิทักษ์รักษาความเป็นไทย

ด้วยเหตุที่ความเป็นไทยเป็นศัตรูกับความมีอารยะและความเจริญก้าวหน้า ความเป็นไทยจึงเป็นมิตรได้แต่กับความดักดานเท่านั้น

ขออัญเชิญไปลงนรกเสียเถิด “ความเป็นไทย”

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"อภิสิทธิ์" ลงพื้นที่แจกของช่วยน้ำท่วมสุโขทัย

Posted: 02 Sep 2011 10:55 PM PDT

เผย "แม้ว่าจะไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีแล้วก็ยินดีให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่" ชี้หากรัฐบาลชุดนี้ไม่ตั้งงบประมาณช่วยเหลือก็จะให้ "กรณ์" กลับมาช่วย

 

เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ รายงานว่า เมื่อเวลา 08.30 น. วานนี้ (2 ก.ย.) นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมคณะอาทินายอภิรักษ์ โกษะโยธิน นายกรณ์ จาติกวณิช นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู นายชำนิ ศักดิ์เศรษฐ์นายถาวร เสนเนียม รองหัวหน้าพรรค นายนิพนธ์ บุญญามณี รองเลขาธิการพรรค นาย นายสัมพันธ์ ตั้งเบญจผล ส.ส.สุโขทัย นายแพทย์ วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก นายไพทูรย์ แก้วทอง นายนราพัฒน์ แก้วทอง ส.ส.พิจิตร และคณะของพรรค ก็ได้เดินทางไปยัง วัดดอนแค ต.ไกรนอก อ.กงไกรลาศ , วัดคงคามาลัย ต.ปากพระ อ.เมือง และวัดกงไกรลาศ อ.กงไกรลาศ

เพื่อพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดอุทกภัย น้ำท่วมพื้นที่เกษตรกรรม และประมงริมน้ำ โดยก่อนแจกสิ่งของช่วยเหลือ นายอภิสิทธิ์ กล่าวกับชาวบ้านว่า การมาของตนและคณะ ในครั้งนี้เป็นการมาให้กำลังใจ แม้ว่าจะไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีแล้วก็ยินดีให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ โดยทางพรรคได้เปิดศูนย์ อาสาช่วยคนไทย รับบริจาคสิ่งของ และเป็นตัวแทนรับบริจาคสิ่งของ

นายอภิสิทธ์ กล่าวต่อว่า จากนี้ทางพรรคประชาธิปัตย์จะช่วยติดตามเร่งรัดให้รัฐบาลจ่ายเงินชดเชย 2,222 บาท ความเสียของพื้นที่เสียหายของผลผลิตทางการเกษตรต่อไร่ นอกจากนี้จะเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณาให้ความช่วยเหลือกรณีบ้านเรือนที่เสีย หายจากน้ำท่วมหลังละ 5,000 บาท ที่ขระนี้รัฐบาลออกมาระบุว่าไม่มีงบประมาณเหลือ ทั้งที่ความเป็นจริงยังมีงบกลางเหลืออยู่กว่าพันล้านบาท จึงอยากให้รัฐบาลนำเงินส่วนมาช่วยผู้ประสบภัยหากรัฐบาลนี้ทำไม่ได้ให้บอกมา “พี่น้องอยากให้คุณกรณ์ จาติกวณิช กลับมาไหม จะได้กลับไปทำให้ดู”

นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ในเรื่องส่วนต่างจากโครงการประกันรายได้เป็นเรื่องที่ต้องดูท่าทีของรัฐบาล ที่หันไปตัดสินใจใช้ระบบการจำนำพืชผลทางการเกษตรแทนการประกันราคาสินค้า เกษตร ซึ่งที่สุดแล้วเมื่อเกิดน้ำท่วมมีความเสียหายไม่มีผลผลิตทางการเกษตรไปเข่า โครงการรับจำนำ รัฐบาลก็ไม่ชดเชยให้ นี่คือความแตกต่างระหว่างโครงการับจำนำกับโครงการประกันราคา “พี่น้องที่ไร่นาเสียหายล่มจม จะเอาอะไรไปจำนำเขา ถ้ามีสร้อย มีนาฬิกาก็ยังจำนำได้”

เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ รายงานด้วยว่าก่อนออกเดินทางจากจุดสุดท้ายที่บริเวณวัดกงไกร ลาศ นายอภิสิทธิ และคณะได้นั่งเรือท้องแบน ของตำรวจตระเวนชายแดน และเรืองตรวจการณ์ ของกรมประมง (น้ำจืด)นำสิ่งของไปแจกให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการเกิดน้ำ ท่วมที่อยู่ฝั่งตรงข้ามวัด อาทิ นางทัย พูลสวัสดิ์ นางทองอยู่ หนูอินทร์ หญิงวัยกลางคนพิการแขนข้างเดียว และ นายสำรวม สาคร โดยที่ระหว่างแจกของนั้น นายอภิสิทธิ์ ก็ได้มีการสอบถามด้วยว่า ท่วมกันมากี่วันแล้ว อย่างไรก็ขอเอาใจช่วยทุกคนนะ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แห่ต่อคิวที่พารากอน-หวังซื้อสมาร์ทโฟนลดราคา

Posted: 02 Sep 2011 08:53 PM PDT

คนต่อคิวแน่นที่สยามพารากอนหวังซื้อสมาร์ทโฟนลดราคา โดย 100 คนแรกจะได้สิทธิซื้อสมาร์ทโฟนลด 50% ขณะที่มีเหตุกระทบกระทั่งเป็นระยะอันเนื่องมาจากการแซงคิว ขณะที่ผู้ใช้เน็ตเผย 100 คิวแรกมารอตั้งแต่เช้าวันศุกร์แล้ว

เว็บไซต์วอยซ์ทีวี รายงานว่า วันนี้ (3 ก.ย.) ซึ่งเป็นวันแรกของการจัดงาน "Dtac3G EXPO" ที่พารากอน ฮอลล์ สยามพารากอน มีลูกค้ามาต่อคิวกันอย่างหนาแน่นตั้งแต่กลางดึกที่ผ่านมา ขณะที่ห้างสยามพารากอนได้มี รปภ.เข้าประจำจุด เพื่อดูแลรักษาความปลอดภัย ขณะที่ดีแทค ได้อำนวยความสะดวกรถสุขาเคลื่อนที่ มาให้สำหรับผู้ที่มาต่อคิว

ทั้งนี้ ดีแทคจะมีการให้บัตรคิวแรกกับคนแรกที่มาต่อคิว ในเวลา 10 โมงเช้า โดยทั้ง 100 คนแรก จะมีการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ดีแทคด้วย

อย่างไรก็ตาม สำหรับโปรโมชั่นลด 50%ได้กำหนดไว้ที่วันละ 100 เครื่องอยู่ โดย 100 คนแรกได้สิทธิซื้อสมาร์ทโฟนลด 50% และหากซื้อผ่านบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ จะได้รับ Cash back สูงสุด 15 % ทั้งนี้ตามเงื่อนไขของธนาคาร รวมเป็นได้ส่วนลด 65% ส่วนคนที่ 101 เป็นต้นไปจะได้ส่วนลดสมาร์ทโฟน 10% และหากซื้อผ่านบัตรเครดิตจะได้รับ Cash back สูงสุด15% ตามเงื่อนไขของธนาคารรวมเป็น 25%

ทั้งนี้ตามรายงานของเว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ ระบุว่า มีผู้มาต่อคิวตั้งแต่กลางดึกของวันที่ 2 ก.ย. ถึงรุ่งเช้าของวันนี้ และการต่อคิวได้เกิดเหตุกระทบกระทั่งตลอดในเรื่องการแซงคิว ทำให้ผู้ที่มารอก่อนเกิดความไม่พอใจ กระทั่งถึงรุ่งเช้า โดยดีแทคจะมีการให้บัตรคิวแรกกับคนแรกที่มาต่อคิว ในเวลา 10 โมงเช้า โดยทั้ง 100 คนแรก จะมีการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ดีแทค

ขณะที่ในกระดานข่าวพันทิพด็อทคอม ห้องมาบุญครอง มีการตั้งกระทู้ตั้งแต่เช้าวันที่ 2 ก.ย. ว่ามีการต่อแถวครบแล้วตั้งแต่เวลา 10.00 น. ของวันที่ 2 ก.ย.

ทั้งนายปกรณ์ พรรณเชษฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายผลิตภัณฑ์ของดีแทค กล่าวกับกรุงเทพธุรกิจว่า ดีแทคได้ขยายสิทธิ ให้ลูกค้าที่มาต่อคิวซื้อสมาร์ทโฟนจาก 100 เครื่องเป็น 1,100 เครื่อง

อย่างไรก็ตามเมื่อเวลา 11.00 น. นายสรยุทธ์ สุทัศนะจินดา ผู้ประกาศข่าวรายการเรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ ทางช่อง 3 กล่าวว่า คิวซื้อสมาร์ทโฟนทั้ง 1,100 เครื่องเต็มแล้ว

 

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.dtac.co.th/3g/dtacexpo/
ภาพบรรยากาศการต่อคิว
http://www.pantip.com/cafe/mbk/topic/T11015057/T11015057.html

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศ.ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู

Posted: 02 Sep 2011 05:40 PM PDT

ในขณะนี้ ตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของไทย คืออาเซียน แต่เรายังมีความรู้เกี่ยวกับเพื่อนบ้านน้อยมาก

ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น