โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

TCIJ: ‘เครือข่ายผู้บริโภคลำปาง’ เร่งรัฐบาล เดินหน้า ‘กม.องค์การอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค’

Posted: 19 Sep 2011 01:54 PM PDT

เดินขบวนยื่นหนังสือ ส.ส.-ผู้ว่าฯ เรียกร้อง นายกฯ และสภาฯ เร่งรับรองร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคให้บังคับใช้ ก่อนร่างกฎหมายหมดอายุ 28 ก.ย.นี้
 
 
วานนี้ (19 ก.ย.54) เวลา 10.00 น.กลุ่มเครือข่ายชีวิตดีและสมาคมเส้นทางชีวิตใหม่ จ.ลำปาง จำนวน 80 คน รวมตัวกันที่บริเวณลานข่วงเมือง หน้าเทศบาลนครลำปาง จ.ลำปาง เพื่อร่วมรณรงค์เร่งรัดให้รัฐบาลที่นำโดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นำร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เข้าสู่สภาเพื่อพิจารณาประกาศใช้บังคับ เนื่องจากร่างกฎหมายดังกล่าวจะหมดอายุลงในวันที่ 28 ก.ย.นี้
 
ต่อมาตัวแทนนายอินธิรัตน์ จันทร์สุรินทร์ ส.ส.จังหวัดลำปาง ได้เดินทางมารับหนังสือที่ส่งถึงนายกรัฐมนตรี พร้อมรับปากว่าจะรีบประสานให้ ส.ส.เร่งนำร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรต่อไป
 
 
นางมยุเรศ แลวงค์นิล เลขาธิการเครือข่ายสุขภาพดี จ.ลำปาง และผู้ประสานงานเครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดลำปางได้อ่านแถลงการณ์ภาคประชาชนเครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดลำปางว่า รัฐบาล ส.ส. และ ส.ว.ควรเห็นความสำคัญของร่างกฎหมายองค์การอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคที่ประชาชนร่วมลงลายชื่อเสนอเป็นกฎหมาย เพื่อให้มาบังคับใช้และคุ้มครองประชาชนอย่างแท้จริง อันจะทำให้เกิดผลประโยชน์กับประชาชนทุกคนโดยตรงตั้งแต่เกิดยันตาย พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลรีบนำสู่สภาภายในสัปดาห์นี้
 
จากนั้น นางมยุเรศได้นำตัวแทนเครือข่ายผู้บริโภคเดินขบวนรณรงค์ เพื่อแจ้งให้ประชาชนในเขตเทศบาลนครลำปางได้รับทราบถึงความเคลื่อนไหวของร่างกฎหมายดังกล่าว โดยผ่านห้าแยกหอนาฬิกไปยังศาลากลางจังหวัดลำปาง เพื่อขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางส่งหนังสือเร่งรัดถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อให้นำร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคเข้าสู่สภา โดยมีนายสุวรรณ กล่าวสุนทร รองผู้ว่าฯ เป็นตัวแทนรับหนังสือ
 
ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ... ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาแล้ว เหลือเพียงการนำร่างดังกล่าวขอรับความเห็นชอบจากสภาและคณะรัฐมนตรีให้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป ตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 61 บัญญัติให้มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานรัฐ ประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภคทำหน้าที่ให้ความเห็นประกอบการพิจารณาของหน่วยงานรัฐในการตราและบังคับใช้กฎหมายตลอดจนการกำหนดมาตรการต่างๆ ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการคุ้มครองผู้บริโภค โดยรัฐให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน และต้องดำเนินการให้เสร็จใน 1 ปีภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550
 
 
 
สาระสำคัญของ (ร่าง) พ.ร.บ.องค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระ พ.ศ. ......
 
(ร่าง) พ.ร.บ.องค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระ พ.ศ. ...... ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๖๑ ได้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรทั้ง ๓ วาระในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๔ โดยมีมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา แต่เนื่องจากรัฐบาลได้ประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔ จึงทำให้การพิจารณากฎหมายของวุฒิสภาต้องหยุดชะงักไป และเมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ร่างกฎหมายฉบับนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลอีกครั้งหนึ่งภายใน ๖๐ วันหลังการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาของรัฐบาล วุฒิสภาจึงจะสามารถพิจารณาร่างกฎหมายนี้ต่อไปได้
 
ทั้งนี้ องค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระตามร่างกฎหมายฉบับนี้ มีบทบาทสำคัญ ดังนี้
 
๑. ทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานรัฐในการตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
 
๒. ตรวจสอบการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและรายงานไปยังหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ และอาจรายงานเรื่องดังกล่าวไปยังคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา รวมทั้งเผยแพร่เรื่องดังกล่าวต่อสาธารณชน ทั้งนี้ ให้หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบดังกล่าวรายงานผลการพิจารณาและการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการภายในระยะเวลาอันสมควร
 
๓. ดำเนินการและสนับสนุนการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นจริง หรือแจ้งหรือโฆษณาข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือเสื่อมเสียแก่สิทธิของผู้บริโภค ในการนี้จะระบุชื่อสินค้าหรือบริการ หรือชื่อของผู้ประกอบการด้วยก็ได้
 
๔. สนับสนุนการใช้สิทธิร้องเรียนของผู้บริโภคและองค์กรผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ประกอบการ และดำเนินการให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้บริโภคและผู้ประกอบการ
 
๕. ดำเนินคดีต่อศาลยุติธรรมหรือศาลปกครองเพื่อพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าการดำเนินคดีนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวม โดยคณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งเลขาธิการหรือพนักงานขององค์การเพื่อให้มีหน้าที่ดำเนินคดี รวมทั้งมีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์สินหรือค่าเสียหายให้แก่ผู้บริโภคที่ร้องขอได้ด้วย ทั้งนี้ การฟ้องและดำเนินคดีดังกล่าว ให้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง แต่ไม่รวมถึงความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นที่สุด
 
๖. สนับสนุนและให้การช่วยเหลือแก่องค์กรผู้บริโภคในด้านต่างๆ เพื่อการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรผู้บริโภคดังกล่าว ตลอดจนประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
 
๗. ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัย รวมทั้งจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากองค์กรผู้บริโภคหรือประชาชนเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
 
๘. จัดให้มีการประชุมสมัชชาองค์กรผู้บริโภคอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งเพื่อประเมินการดำเนินงานขององค์การ และติดตามตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค เพื่อเสนอแนะแนวทางในการดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภค
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จำเลยเสื้้อแดงร้องประชา พรหมนอก แก้ปัญหารัฐกลั่นแกล้งดำเนินคดีเรียกร้องสิทธิประกันตัวผู้ต้องขังทุกคดีการเมือง

Posted: 19 Sep 2011 11:59 AM PDT

จำเลยและญาติ คดีเสื้อแดงมุกดาหารและเชียงใหม่บุกพบประชา พรหมนอก ร้องไม่ได้สิทธิประกันตัว อัยการยื่นอุทธรรณ์ซ้ำ กระบวนการยุติธรรมมีปัญหา /อัยการสูงสุดชี้รอฟังข้อเสนอ คอป. เครือข่ายประชาธิปไตยยื่นหนังสือยกเลิก 112 ให้ประกันตัวนักโทษการเมืองทุกคน

19 กันยายน 2554 เวลา 11.30 น. จำเลยคดีเผาศาลากลางมุกดาหาร 25 คน ยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมกับอัยการสูงสุดเพื่อให้ดำเนินการถอนฟ้องจำเลยทั้ง 29 คน ที่พนักงานอัยการจังหวัดมุกดาหารเป็นโจทก์ฟ้องในข้อหา วางเพลิง ทำให้เสียทรัพย์ และบุกรุกสถานที่ราชการ และศาลนัดอ่านคำพิพากษาในวันที่ 27 ตุลาคมที่จะถึงนี้  นายธรัมพ์ ชาลีจันทร์ เลขานุการอัยการสูงสุดเป็นผู้ออกมารับหนังสือพร้อมทั้งรับปากว่าจะนำไปหาทางดำเนินการภายใต้กรอบของกฎหมาย แต่ไม่สามารถบอกได้ว่ากระบวนการดังกล่าวจะใช้ระยะเวลาเท่าใด เพราะคดีอยู่ที่จังหวัด อย่างไรก็ตาม นายธรัมพ์เปิดเผยว่า นี่เป็นคดีคนเสื้อแดงกรณีแรกที่มายื่นขอความเป็นธรรมกับอัยการสูงสุด ซึ่งทางสำนักงานอัยการสูงสุดก็จะพิจารณาดำเนินการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมที่สุด รวมทั้ง หาก คอป.มีแนวทางหรือข้อเสนอแนะเพื่อให้เกิดความปรองดองอย่างไร สำนักงานอัยการสูงสุดก็พร้อมดำเนินการ
 
15.00 น. จำเลยจากมุกดาหารทั้ง 25 คน พร้อมทั้งกลุ่มญาติผู้ต้องขังจาก จ,เชียงใหม่ เข้าพบ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม เพื่อยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมในคดีเผาศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร และคดีที่เกิดการปะทะกันของคนเสื้อเหลืองและเสื้อแดงที่ จ.เชียงใหม่ในปี 2551 จนเป็นเหตุให้มีคนตาย 1 คน ซึ่งจำเลยไม่เคยได้รับสิทธิประกันตัว รวมทั้ง คดีที่เกี่ยวกับการชุมนุมในปี 2553 ซึ่งศาลชั้นต้นตัดสินรอลงอาญาแล้ว แต่อัยการยังยื่นอุทธรณ์ ทำให้จำเลยได้รับความลำบาก   ทั้งนี้ พล.ต.อ.ประชา ได้รับเรื่องไว้ และมอบหมายให้กรมคุ้มครองสิทธิ และนายขวัญชัย ไพรพนา แกนนำคนเสื้อแดงรับไปพิจารณาหาแนวทางช่วยเหลือต่อไป
 
พร้อมกันนี้ มีตัวแทนจากสหภาพประชาธิปไตยเพื่อประชาชน ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของคนไทยที่รักประชาธิปไตยในยุโรป 9 ประเทศ   เพื่อรณรงค์ให้ยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 112 ,รณรงค์ให้มีการปล่อยตัวนักโทษคดีหมิ่นและนักโทษการเมืองทุกคนในประเทศไทย และให้นำตัวผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามประชาชนในปี 2553 เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เข้าพบ รมว.ยุติธรรมเพื่อยื่นเอกสารของสหภาพให้กับรัฐบาลเนื่องในวันครบรอบ 5 ปี รัฐประหาร

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เครือข่ายประชาธิปไตย จัดรำลึก 5 ปีรัฐประหาร บรรยากาศคึกคัก

Posted: 19 Sep 2011 10:41 AM PDT

วันที่ 19 ก.ย.54 เวลา 17.30 น. มีการจัดกิจกรรมรำลึก 5 ปี รัฐประหาร 19 ก.ย.ขึ้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีคนเสื้อแดง ศิลปิน นักวิชาการ และนักกิจกรรมทางการเมืองเดินทางมาร่วมราว 100 คน

กิจกรรมดังกล่าวจัดโดยเครือข่ายประชาธิปไตย (คปต.) โดยใช้ชื่อว่า “19 กันยา ประชาร่วมใจต้านภัยรัฐประหาร” บรรยากาศของงานเป็นไปอย่างคึกคัก มีการงานการแสดงดนตรี สลับกับการขึ้นปราศรัยของแกนนำที่เคยเคลื่อนไหวต่อต้านการรัฐประหาร
 

นายสมบัติ บุญงามอนงค์ อดีตแกนนำกลุ่ม 19 กันยา ต้านรัฐประหาร กล่าวว่า วันนี้ควรเป็นวันที่รำลึกถึงนายนวมทอง ไพรวัลย์ ปัญญาชนสามัญชนที่ต่อต้านรัฐประหาร ด้วยการขับรถแท็กซี่พ่นข้อความต่อต้านรัฐประหาร พุ่งเข้าชนรถถังจนได้รับบาดเจ็บสาหัส และสละชีพด้วยการผูกคอตายเพื่อลบคำสบประมาทของรองโฆษก คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ที่กล่าวว่า ไม่มีใครมีอุดมการณ์มากพอจะสละชีวิตเพื่อประชาธิปไตย

“เขาตัดสินใจที่จะส่งสัญญาณ ส่งข้อความนี้เพื่อไปถึงคณะรัฐประหารและประชาชนทั้งประเทศ เขาใช้สิ่งทีเขามี คือชีวิตของเขาเอง เพื่อที่จะยืนยันว่า ข้อความนี้เป็นข้อความที่มาจากหัวใจและแลกด้วยชีวิต คิดว่าจะทำยังไงให้คนในชาติ คนในสังคมนี้ เข้าใจสิ่งที่ตนเองคิด” นายสมบัติกล่าว

นอกจากนี้ นายสมบัติยังเสนอให้มีการสร้างอนุสาวรีย์ให้กับนายนวมทอง และกล่าวติดตลกว่าหากนำอนุสาวรีย์นายนวมทอง มาตั้งแทนที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อาจทำให้การรัฐประหารหมดสิ้นไปจากประเทศไทยก็เป็นได้

ต่อมา นายเยี่ยมยอด ศรีมันตะ รักษาการประธานเครือข่ายประชาธิปไตย ขึ้นปราศรัยโดยกล่าวถึงชัยชนะในการเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทยว่า แม้จะเป็นชัยชนะของคนเสื้อแดง แต่ก็เป็นเพียงการชนะศึก ยังไม่ใช่การชนะสงคราม ประชาชนจึงยังต้องสู้ต่อไป และกล่าวว่า ได้กำหนดเป้าหมายของประเทศไทยจะต้องเป็นประชาธิปไตยที่เป็นของประชาชนอย่างแท้จริงใน พ.ศ.2560

นายเยี่ยมยอดเผยด้วยว่า จะมีการจัดตั้งสภาประชาชนในวันที่ 28 ก.ย. นี้เพื่อเป็นสภาคู่ขนานไปกับรัฐสภาเพื่อผลักดันให้มีการแก้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 โดยจะเริ่มเปิดให้ประชาชนร่วมลงชื่อเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ

“เราจะทำให้ 24 มิ.ย. 2560 เป็นวันประชาธิปไตยของประชาชนอย่างแท้จริง” นายเยี่ยมยอดกล่าว

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"รัฐประหาร19กันยายน2549ถึง6ตุลาคม2519"

Posted: 19 Sep 2011 10:27 AM PDT

1..........
 
ภาพนี้อยู่ในความทรงจำผมเสมอมา
ภาพที่คนไทยฆ่ากันเองด้วยความเกลียดชัง
 
......................................................
 
บ่ายวัน 7 ตุลาคม 2519
เสียงเรียกของพ่อผมเรียกผมให้เอาหนังสือพิมพ์ในเช้าวันนั้นหลายๆฉบับ
มาเผาทิ้งที่หลังบ้านตามคำสั่งของคณะปฎิวัติในขณะนั้น
ที่ให้ทำลายสิ่งพิมพ์ทุกชนิดทิ้งที่มีข้อความหรือรูปอันใด
ที่เกียวกับสถาบันและขบวนการนักศึกษาในช่วงที่ผ่านมา
มิเช่นนั้นจะถูกข้อหาการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคง
หรือพูดง่ายว่าเป็นพวกแดง พวกคอมมิวนิสต์
เราเผาจนหมดเพื่อแน่ใจว่าครอบครัวของเราจะปลอดภัยพอ
 
.....................................................
 
ช่วงนั้นมีเพื่อนของพ่อหลายคนแวะเวียนมาพูดคุย
ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องของลูกๆของเขาที่เป็นนักศึกษาต้องหนีเข้าป่า
ผมรับรู้สึกถึงแรงกดดันของทหารที่กระทำต่อประชาชนอย่างลึกๆ
แม้จะยังอายุน้อยแต่ก็โตพอจะทราบความบางอย่าง
ว่าพ่อแม่และลุงป้าอีกหลายคนเป็นทุกข์อย่างมาก
ทุกคนพยายามสืบหาความเป็นตายร้ายดีของพวกเขา
ผมได้แต่สงสัยอยู่ในใจและมีความรู้สึกที่สะเทือนใจกับเหตุการณ์นั้นอย่างไม่เคยลืม
และไม่เคยติดที่จะให้อภัยต่อผู้อยู่เบื้องหลังกระทำการครั้งนั้น
 
................................................................
 
4-5 ปีต่อมา
ที่ท่ารถในจังหวัดจันทบุรี
" อย่าไปยุ่งกับการเมืองนะลูก "
" อย่าไปประท้วงกับเขานะลูก"
" ตั้งใจเรียนหนังสือ "
แม่กับพ่อพูดด้วยเสียงกังวลและเป็นห่วงในวันที่
ผมต้องออกจากบ้านมาไกลเพื่อเรียนหนังสือต่อในกรุงเทพเป็นครั้งแรก
ที่วิทยาลัยช่างศิลป์ ที่ข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
 
2..................
 
จริงๆชีวิตที่วิทยาลัยช่างศิลป์ หรือโรงเรียนเตรียมศิลปากร ในสมัยก่อน
ก็ไม่ได้สอนอะไรกับเรามากนักเกี่ยวกับเรื่องการเมืองว่าเกี่ยวข้องกับศิลปะอย่างไร?
ส่วนใหญ่ก็สอนให้เราStudyธรรมชาติและก็เรียนรู้พื้นฐานทางศิลปะอย่างเข้มข้น
.........................................................................................
 
เย็นวันหนึ่งในที่ 6 ตุลาคม 5523
ผมกำลังจะไปดูงานที่หอศิลป์ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร
ผมเดินผ่านต้นโพธิ์ใหญ่ที่กำลังจะทะลุออกไปท่าพระจันทน์และท่าช้าง
ผมเห็นรุ่นพี่ธรรมศาสตร์กลุ่มเล็กๆกำลังอ่านบทกวีและรำลึกผู้ที่จากไปในเหตุการณ์ครั้งนั้น
ไอ้ภาพเก่าๆที่มันหลบซ่อนอยู่ในห้วจาการทหารสั่งทำลาย ก็กลับมาเยือนอีกครั้ง
 
" พี่ครับผมอยากรู้ความจริง ว่าใครทำให้ประชาชนฆ่ากัน"
 
................................................................................................
 
เย็นวันเลยไม่ได้ไปดูงานศิลปะเลยเพราะได้หนังสือหลายเล่มจากพี่ๆกลับไปอ่านที่บ้านแทน
ปลายปีนั้นเริ่มจะมีข่าวดีว่าจะมีการนิรโทษกรรมให้แก่ผู้หลบหนีเข้าป่า
ผมก็ดีใจนะ เพราะว่าเราจะเจอพี่ๆกันเสียที หลังจากกันไปเป็นปี
 
.............................................................................................
 
จากนโยบาย66/23 ของเปรม ติณสูลานนท์
หลายคนได้กลับบ้านและเรียนหนังสือต่อ
จนพัฒนามาเป็นตัวละครในสังคมอีกหลายตัว
ที่มีส่วนที่ทำให้สังคมไทยไปเป็น 6 ตุลารอบสอง
 
....................................................................................
 
หล้งจากนั้นบ้านเมืองก็ยังมีการปฎิวัติและรัฐประหารก็ยังมีอยู่อีกหลายครั้ง
แต่ส่วนความขัดแย้งมักเกิดขึ้นกับทหารกัดกันหรือแย่งอำนาจเอง
และมักจะจบลงที่การกล่าวหาว่าใครจงรักภักดีและใครไม่จงรักภักดีกว่าใครเสมอ
แต่มันไม่ได้กระทบสู่ชีวิตประชาชนโดยส่วนใหญ่ของประเทศ
เพราะเรามีแต่รัฐบาลที่มันง่อยและอยู่ภายใต้การกำกับของทหาร
การแย่งชิงอำนาจจึงมักเป็นเรื่องของคนกลุ่มบนเสียส่วนใหญ่
เป็นเรื่องของทหารล้วนๆ
 
............................................................................
 
หลายปีมานี้ผมเกือบจะหมดความสงสัยแล้ว จนกระทั่ง ...........................
 

 
3...................
 
" ผมพอแล้ว "
คำกล่าวของเปรม ติณสูลานนท์ ในวันที่ลงจากอำนาจ
หลังจากอยุู่บนบัลล้งค์อำนาจมา 8 ปี ที่ต้องต่อสู้รบราฆ่าฟันกับน้องๆในกองทัพเสมอ
 
....................................................................................
 
ในที่สุดเราก็ได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่ชื่อ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
ขณะนั้นผมกำลังจะจบการศึกษาที่คณะจิตรกรรม ม.ศิลปากร
ผมรู้สึกเหมือนกับนักศึกษาทั่วๆไปที่ไม่ค่อยไว้ใจในนักการเมืองมากนัก
 
....................................................................................
 
แต่พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ก็ทำให้ผมรู้สึกว่า
นายกคนนี้มีวิสัยทัศน์ และดูเหมือนประชาชนในต่างจังหวัด
ก็รักใคร่ท่านมากมายคล้ายๆกับทักษิณในสมัยนี้
กล่าวง่ายเป็นคนที่มีไอเดียและทำงานรวดเร็วแต่ก็มีข้อเสียหลายอย่างเหมือนกัน
แต่โดยรวมก็ได้นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่การเมืองไทยในะดับหนึ่งทีเดียว
 
....................................................................................
 
หลังจากบริหารประเทศไปสักสองปีกว่าก็มีการร้ฐประหารเกิดขึ้นอีก
ด้วยข้อหาเดิมๆ โกงกินคอร์รัปชั่นและไม่จงรักภ้กดี
และยังมีการทะเลาะระหว่าง จปร.ด้วยกันแย่งกันเป็นใหญ่
 
....................................................................................
 
ผมสงสัยว่าอำนาจประเทศนี้
มันเป็นของพวกมึงไม่ใช่ของกูที่เป็นประชาชน
 
....................................................................................
 
ผมจึงออกไปเดินถนนเรียกร้องประชาธิปไตยในเดือนพฤษภาคม 2535
 
....................................................................................
 
เสียงกระสุนลอยช้ามหัว ภาพคนตาย 
ภาพทหารของส6รยุทธ์ จุลานนท์กระทืบคน
ทำให้ผมรู้สึกเจ็บปวดและเจ็บใจเสมอเป็นการต่อสู้ที่ว่างเปล่ามากๆ
ในที่สุด เราก็ได้รัฐบาลจับเสือมือเปล่า ที่กล่าวหาจำลองศรีเมืองพาคนไปตาย
คือพรรคประชาธิปัตย์มาเป็นรัฐบาล
 
....................................................................................
 
ผมขอสารภาพด้วยความที่ยังไม่โตมากในขณะนั้น รู้สึกผิดหวัง
เราไม่เข้าใจและตกเป็นเครื่องของคนที่ต้องการอำนาจฉวยโอกาสในทางการเมือง
 
....................................................................................
 
ทำให้ผมสัญญากับตัวเองว่าผมจะไม่เดินบนถนนเรียกร้องประชาธิปไตยให้ใครอีก.
 

4.......................
 
" พี่แมวเป็นเสื้อแดงหรือ ? "
" พี่แมวรักทักษิณเหรอ ? "
 
หลายปีที่ผ่านมาหลังพฤษภาทมิฬ
คลื่นลมในประเทศนี้ก็ดูสงบเงียบดี
ไม่ว่าเราจะได้รัฐบาลเต่าดีแบบชวนเชื่องช้าแต่โกงแบบเทพเทือก
หรือรัฐบาลแบบบรรหารหรือแบบชวลิตเราก็อยู่กันมาได้ 
ทั้งที่นักการเมืองเหล่านี้เล่นการเมืองตั้งแต่ครั้งที่ผมยังเป็นเด็ก
ไม่เคยทำให้ประเทศชาติไปถึงไหนเสียที โคตรโกงทั้งนั้น
แต่ผมก็ไม่เคยคิดจะไปขับไล่พวกเขาลงจากเก้าอี้แต่อย่างใด
เพราะถือคติว่า คนส่วนใหญ่เลือกกันมามันย่อมสะท้อนความคิดคนเลือก
ผมจึงทำงานหาเลี้ยงชีพไปโดยไม่ได้คิดมากเรื่องการเมืองแต่อย่างไร
 
....................................................................................
 
หลังที่ประชาชนในประเทศนี้ได้ตัดสินให้พรรคไทยรักไทยได้จัดตั้งรัฐบาล
เราก็ได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่ชื่อ ทักษิณ ชินวัตร
ผมก็เหมือนคนอื่นๆที่ขาดแรงจูงใจเกี่ยวกับการเมือง
เลือกตั้งไปก็เท่านั้น ก็ได้นักการเมืองแบบเดิม ผมจึงไม่เลือกใคร
 
....................................................................................
 
แต่หลังจากที่ทักษิณบริหารไปสักสองปี
ผมพูดกับเพื่อนว่า ทักษิณมันได้สร้างมาตราฐานใหม่ในการบริหารประเทศ
คือทำตามนโยบายที่สัญญากับประชาชน ที่สำคัญดันทำสำเร็จ
แต่เรายังไม่วางใจในเรื่องผลประโยชน์ทางการเมือได้มากนัก
ผมคิดแบบฝันหวานว่า การตรวจสอบที่เข้มข้นของภาคประชาชนนี่แหละ
ที่จะทำให้เราได้นายกที่มาตราฐานในการทำงานแบบทักษิณ
แต่มีความโปร่งใสในการบริหารบ้านเมืองกว่าในอนาคต
 
....................................................................................
 
เวลาเดินไปอย่างรวดเร็ว เมื่อถึงเลือกตั้งครั้งต่อมา
เมื่อเขาบริหารประเทศได้ครบสี่ปีเป็นคนแรก
คะแนนที่ผมมี จึงเป็นของเขาเป็นครั้งแรก
 
....................................................................................
 
เสียงของประชาชนค่อนประเทศที่มอบให้เขานั่นแหละ
ที่นำภัยร้ายแรงมาสู่ชีวิตของเขา
ความเก่งกับความรักที่ประชาชนมีให้เขา
เริ่มไม่เข้าตาใครบางคนในประเทศที่ละครอิจฉาริษยาล้นเมือง
การก่อตัวของกลุ่มอำนาจและพรรคการเมืองจัญไรแบบประชาธิปัตย์
ที่เคยเกาะกุมผลประโยชน์อย่างเงียบๆ
บรรยากาศมันช่างเหมือนกับ 6 ตุลาคม 2519 จริงๆ
มีการปลุกระดมทั้งเรื่องโกงกินและความไม่จงรักภักกดี
ทั้งก่อนหน้าไม่กี่วันคนไทยยังใส่เสื้อเหลืองเต็มพระบรมรูปทรงม้ากันอยู่เลย
 
....................................................................................
 
ผมชักสงสัยว่าอำนาจในประเทศนี้
ที่บอกว่าเป็นประชาชนหลังพฤษภาทมิฬน่าจะโดนแหกตา
เพราะกลุ่มอำนาจที่เผยโฉมมามันคือกลุ่มอำนาจโบราณเดิมๆ
แต่ในใจก็คิดยุคนี้ใครแม่งจะปฎิวัติวะ
 
....................................................................................
 
และแล้ววันที่ 19 กันยายน 2549 ก็เดินมาถึง................
 
5........................
 
" ปฎิวัติเสียทีก็ดีประเทศแม่งจะได้สงบ"
" ตลกดีวะ ลุงแม่งเอาแท๊กซี่ไปชนรถถัง "
" ไอ้พวกเหี้ยทาสเงินทักษิณ "
 
คืนวันที่ 19 กันยายน 2549
ไม่มีใครมีจิตใจทำงานหรอก
ทุกคนต่างจับจ้องไปที่โทรทัศน์อันดำมืด
และรอคอยว่าจะเกิดอะไรขึ้น
 
..................................................
 
ระหว่างที่ผมขับรถกลับบ้าน
ละครที่ผู้มีอำนาจสบคบกับสื่อและปัญญาชนอีกหลายคนเพื่อไล่ทักษิณตบตาผมไม่ได้หรอก
ผมสงสัยประเทศห่านี้เกิดอะไรขึ้น?  แล้วกูจะต้องทำอย่างไร?
อยู่เฉยๆก้มหน้าก้มตาทำมาหากินและยอมรับมันไป
หรือจะออกไปประท้วงเพื่อบอกมันว่ากูเกลียดการรัฐประหารเหลือเกิน
 
..................................................
 
วันรุ่งขึ้นอีกวันขณะที่ผมกำลังขับรถกลับบ้านผ่านสยามสแควร์
ผมเห็นกลุ่มคนเล็กๆยืนแจกใบปลิวและพูดโทรโข่งโจมตีการปฎิวัติรัฐประหารอยู่ 
เขาคือ ใจ อึ้งภากรณ์ กับนักศึกษาของเขาจำนวนหนึ่ง
 
.....................................................................
 
วินาทีนั้นผมก็ตัดสินใจได้แล้ว 
คือหันหน้าต่อสู้กับเผด็จการกับความจอมปลอมในประเทศอีกครั้ง
ไม่ใช่เพื่อทักษิณ หรือเพื่อผม แต่เพื่ออนาคตของลูกๆเรา
เราไม่ควรยอมให้พวกเขาย่ำยีประเทศอย่างนี้อีกต่อไป 
 
..................................................................................
 
วันเสาร์แรกหลังจากการปฎิวัติผมได้ไปที่สนามหลวง
โดยหวังว่าจะเจอใครสักคนที่ไม่เห็นด้วยการรัฐประหารคล้ายๆกับเรา
เมื่อมองไกลผมเห็นความว่างเปล่าของสนามหลวง 
แต่เมื่อเดินไปใกล้ๆจึงเห็นมีคนจับกลุ่มๆกันเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย
ด้านเหนือของสนามหลวงมีกลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ 
ของสุชาติ นาคบางไทรและมีดา ตอร์ปิโด กำลังยืนปราศรัยอย่างเอางานเอาการ 
และก็ได้เจอกับ คุณ บก.ลายจุด เป็นครั้งแรกซึ่งก็มีกลุ่มของตัวเอง
ที่ต่อมากลายเป็นกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง
และกลายเป็นสีสัญลักษณ์ของการต่อสู้กับเผด็จการต่อมา
ด้านทิศตะวันออกมี คุณวรัญชัย โชควัฒนะ 
และยังได้เจอนักร้องเพื่อชีวิตที่เป็นแรงบันดาลใจ
และซื่อสัตย์ต่อวิญญานต้วเองเสมอๆในการต่อต้านเผด็จการอย่าง
พี่ จิ้น กรรมาชน ที่ทั้งแต่งเพลงและร้องเพลงให้กำลังใจกับผู้ชุมนุม
และที่สำคัญผมได้เจอน้องรักคนหนึงโดยไม่คาดฝัน
เขาได้เคียงบ่าเคียงไหล่ในการต่อสู้เผด็จการทุกอาทิตย์ 
แต่ปัจจุบันนี้เขากลับไม่มีโอกาสอยู่บนแผ่นดินแม่ที่เขารัก
..................................................
จากกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยในวันนั้น
จนถึงวันนี้ที่จะครบรอบ 5 ปีแห่งการรัฐประหาร 
ขบวนของประชาชนที่คุณตราหน้าว่าเขาโง่ 
และเป็นทาสทักษิณ นั้นเติบโตไม่หยุด
เพราะคุณผลักคนอย่างผมและใครอีกหลายคน
ที่ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร
ให้ไปอยู่ในฝั่งที่คุณเรียกว่าพวกไม่รักชาติ
....................................................................
ปลายเดือนกันยายนปีนั้นมีข่าว มีคุณลุง เอารถแท๊กซี่ไปชนรถถัง
และเจ้าของแท๊กซี่คนนั้นได้ผูกคอตายพร้อม
ข้อความไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร
ที่ใต้สะพานหน้า สนพ.ไทยรัฐในเดือนถัดมา
..................................................
 
หลายคนอาจมองว่ามันตลกและเป็นการกระทำที่ดูโง่ สุดโต่ง
แต่ผมอยากบอกคุณลุงนวมทอง ไพรวัลย์ 
ว่าผมเข้าใจในความรู้สึกนั้น
และรู้ว่าคุณลุงต่อสู้เพื่ออะไร?
ขอคาราวะจากใจของคนที่มีความรู้มาก
แต่กล้าหาญน้อยกว่า.
..................................................
 
6......................
 
" พวกรักทักษิณกับพวกไม่รักทักษิณ "
" พวกรักในหลวงกับพวกที่ไม่รักในหลวง "
" พวกรักชาติกับพวกไม่รักชาติ "
" พวกกูคนไทยกับพวกมึงไม่ใช่คนไทย "
 
ก่อนหน้าการปฏิวัติ 19 กันยยายน 2549
ผู้คนส่วนใหญ่ในประทศนี้ก็พร้อมใจกันใส่เสื้อเหลือง
และยิ้มแย้มที่จะได้ออกไปเฉลิมพระเกียรติให้แก่ในหลวงกันอย่างพร้อมหน้า
โดยไม่มีการแบ่งแยกสีมาก่อน 
 
........................................................................................
 
แต่หลังจากนั้นก็เริ่มมีการก่อตัวของฝ่ายตรงข้ามกับทักษิณ
โดยมุ่งโจมตีในประะเด็นว่าไม่จงรักภักดีและ
ใช้สีเหลืองมาเป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้
นับว่าเป็นกลยุทธที่ฉลาดในการผลักดันให้ทักษิณไปเป็นศัตรูกับสถาบัน
นี่ข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงสำหรับทุกคนในประเทศนี้
 
.......................................................................................
 
ทำให้ผมย้อนความคิดกลับในยุคของการปราบปราม
นักศึกษาในสมัย6ตุลาคม2519
เหตุหนึ่งในนั้นคือการหมิ่นสถาบัน
มีการปลุกะดมอย่างบ้าคลั่งให้ออกมาทำร้ายฝ้ายตรงข้าม
จากหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งเพื่อสร้างความชอบธรรม
ให้กับการสังหารหมู่ในครั้งนั้น
 
.......................................................................................
 
คำถามคือ
คุณจะให้ประชาชนที่รักทักษิณและรักในหลวงทำอย่างไร?
ในเมื่อคุณบีบบังคับให้เขาต้องเลือกข้างเสียแล้ว
ใครกันแน่ที่ทำลายสถาบัน?
 
.......................................................................................
 
ดาวสยามเมื่อ2519กับASTVเมื่อ2549
ทำหน้าที่ไม่ตางกันแม้จะต่างยุคสมัยกัน
ยังคงทำหน้าที่แบ่งฟักฝ่ายอย่างแข็งขัน
แต่เป็นที่น่าเสียใจคือASTVในยุคนี้เต็มไปด้วย
อดีตนักศึกษาที่เคยผ่านเหตุการณ์เลวร้ายในปี2519มาแล้วทั้งสิ้น
 
.......................................................................................
 
ความจอมปลอมและความฉ้อฉลของปัญญาชนพวกนี้เอง
ที่เป็นสะพานทอดให้ทหารเดินเข้ามารัฐประหารฆ่าประชาธิปไตยอย่าง่ายดาย
 
.......................................................................................
 
ผมนึกถึงวันที่ผมต้องเผาหนังสือต่างๆ
ที่เป็นภัยของความั่นคงตามคำสั่งทหารกับพ่อเมื่อหลายสิบปีก่อน
ผมเดินไปหยิบหนังสือของหลายคนที่ผมคิดว่า
ครั้งหนึ่งพวกเขาเคยเป็นแรงบันดาลใจและฮีโร่ในวัยเด็กของผม
ในการต่อสู้กับเผด็จการมาเผาทิ้งอย่างไม่ใยดี
ผมว่าผมหมดศรัทธากับมันแล้วและครั้งน้ี้ไม่มีใครบังคับผม
 
.......................................................................................
 
เวลาอาจเปลี่ยนเราหลายเรื่องก็จริง
แต่จริงหรือที่คนเราสามรถทรยศต่อจิตวิญญานของตัวเอง
และวิญญานของผู้ที่ตายจากไมากมายในเหตุการณ์6ตุลาและพฤษภาทมิฬได้หรือ
 
.......................................................................................
 
ไม่ว่าจะกี่ปีความคิดที่จะไม่ชอบการปฏิวัติ
และรัฐประหารไม่เปลี่ยนจากใจผมเลยแม้แต่น้อย
 
.......................................................................................
 
ในที่สุดผู้คนหลายคนก็ผลักให้ผมมาอยู่ใน
ฝั่งที่รักทักษิณและเกลียดพ่อและไม่รักชาติ
จากการคิดเห็นต่างของผม
 
.......................................................................................
 
ผมสงสัยว่า
โลกนี้มันมีทั้งเรื่องรักและไม่รักเสมอ
และขัดแย้งกันเสมอ
ทำไมต้องให้ผมเลือกข้าง
ให้ผมอยู่กับความขัดแย้งด้วยเหตุด้วยผล
แบบอารยะชนไม่ได้หรือ.
 
.......................................................................................
 
5 ปีมานี้ไม่วันไหนที่ผมไม่เสียใจที่อยู่ในประเทศนี้.
 
7...........................
 
หลังประกาศว่ามีการปฎิวัติ19กันยายน2549
การสื่อสารประเทศนี้ก็ดับไปพร้อมกับชีพจรของประเทศ
 
.................................................................................
 
ผมอยากจะคุยกับใครสักคนเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้น
ด้วยความคิดโง่ที่ว่า ยุคนี้ไม่มีใครปิดกั้นการสื่อสารได้อีกต่อไป
ซึ่งมันก็ดูเหมือนจะจริง เพราะเวบที่เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์
ประเภท กิน แดก เที่ยว ก็ยังรับใช้ชีวิตผู้คนตามปกติ
 
.................................................................................
 
แต่เว็บบอร์ดที่แสดงความคิดเห็นทางการเมืองนี่สิ หายวับไปกับการปฎิวัติ
เว็บบอร์ดทางการเมืองเกือบทุกเวบต่างปิดตัวเอง
ที่น่าเสียใจที่สุดคือ พันทิพห้องราชดำเนิน
ผมคิดมาตลอดว่า ที่นี่น่าจะเป็นที่ๆชุมนุมของคนหัวใจประชาธิปไตยในประเทศนี้
และเป็นพลังเล็กๆที่จะต่อต้านการรัฐประหาร
และเจ้าของน่าจะเป็นคนที่มีหัวใจประชาธิปไตยและมีความกล้าหาญ
แต่เอาเข้าจริง เจ้าของนี่ขี้ขลาดกว่าใครเพื่อนเลย
เขาเลือกที่จะปิดและเซ็นเซอร์ตัวเอง
 
.................................................................................
 
ในขณะที่กำลังสับสนและต้องการข่าวสารอย่างมาก
แต่ดูเหมือนจะมีโชคนิดหน่อยก่อนที่เขาจะเซ็นเซอร์ตัวเอง
มีPostเล็กๆบอกว่าให้ไปแสดงความคิดเห็นที่เว็บประชาไทกัน
นับจากนั้นผมก็ไม่เคยไปเหยียบพันทิพอีกเลย
 
.................................................................................
 
แนวรบของคนที่รักประชาธิปไตยเกิดขึ้นที่จุดนี้
ทำให้ผมได้รู้ว่ายังมีนักวิชาการที่กล้าหาญและซื่อสัตย์ต่อตัวเองอีกหลายตน
เช่นอ.สมศักด์ เจียมฯ อ.วรเจตน์ อ.พิชิต และ อีกหลายท่าน
อีกทั้งทำให้ผมได้รู้จักกับเพื่อนพี่น้องอีกหลายคนที่เกลียดการรัฐประหารก็จากที่นี่
 
.................................................................................
 
นับตั้งแต่ทักษิณขึ้นครองอำนาจ
มันทำให้ผมเห็นเนื้อแทัที่มันจอมปลอมภายใต้หน้ากากของ
วีรบุรุษวีรสตรีเดือนตุลาหลายคนที่ ขี้ขลาดและสอพลอ
จนการปฎิวัติเกิดขึ้น วีรบุรุษเหล่าก็ตายไปจากใจผมตลอดกาล
 
.................................................................................
 
ห้าปีมานี้ มีหลายคนที่เป็นฮีโร่และกล้าหาญ
ที่ยืนหยัดอยู่บนความยุติธรรมหลายคน
แต่คนหนึ่งที่ผมอยากยกย่องเธอจากใจของผมก็คือ
คือผู้หญิงตัวเล็กๆคนหนึ่งที่ยืนหยัดที่จะเปิดพื้นที่ทางความคิดนี้
ให้พวกเราได้มีที่การแสดงออกความคิดเห็น 
ในยามที่บ้านเมืองถูกกฏหมายเผด็จการควบคุมอยู่
การกระทำอันกล้าหาญของเธอทำให้เธอถูกจับ
จากความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
 
...............................................................................
 
เธอคือคุณจีรนุช เปรมชัยพร แห่งประชาไท
 
...............................................................................
 
ผมไม่เคยรู้จักเธอมาก่อนแต่ก็รับรู้ได้ว่าเธอต่อสู้เพื่อพวกเราไม่น้อย
สิ่งที่เธอทำได้ขับเคลื่อนการเมืองภาคประชาชนให้เติบโตอย่างไม่เคยมีมาก่อน
นี่นับว่าเป็นคุณูปการณ์ต่อประชาธิปไตยในอนาคต
ผมคิดว่าเธอคือฮีโร่อีกคนหนึ่งในใจผมเสมอ
 
...............................................................................
 
ขอบคุณนะครับที่ช่วยเปิดแสงสว่างทางความคิด
ในวันที่มืดที่สุดของระบอบประชาธิปไตย.
 
     
8...................
 
" บก.ลายจุด"
" คนอะไรวะชื่อประหลาดดี "
" แล้วทำห่าอะไรมั่ง "
 
ผมได้ยินชื่อนี้เป็นครั้งแรกในเวบบอร์ดพันทิพห้องราชดำเนิน
ก่อนปฎิวัติสักเล็กน้อย รู้เพียงแต่ว่าเขาเป็นNGOทำงานเกี่ยวกับเด็ก
แต่ก็รู้สึกเฉยๆ ไม่ได้สนใจความคิดบนคอมเม้นต์ของเขามากนัก
เพราะเข้าพันทิพมั่งไม่ได้เข้ามั่ง เลยไม่ได้ตามความคิด
 
..............................................................................
 
จนวันเสาร์แรกหลังจากการปฎิวัตื19 กันยายน 2549 
ผมได้เจอเขาเป็นครั้งแรกเขายืนบนเวทีเตี้ยๆและกำลังปราศัยต่อต้านเผด็จการอยู่
ซึ่งต่อมากลายเป็นกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง
และสีแดงก็กลายเป็นสีสัญญาสักษณ์ในการต่อสู้
เขาเป็นคนแปลกจากนักปราศัยคนอื่นกล่าวคือ
เขาหน้าตาแบบดูดีมีอันจะกิน เป็นคนจีน
แต่สุภาพฉลาดมีอารมณ์ขันและวิธีพูดก็มีความเป็นวิชาการ
ต่างจากผู้ปราศัยท่านอื่นที่เต็มไปด้วยความรู้สึก
และต้องส่งเสียงปลุกเร้าผู้ฟังตลอด
 
.............................................................................
 
ในใจก็คิดสู้อย่างนี้กับทหารแล้วมันจะรอดเหลือวะอีกกี่ชาติถึงจะสำเร็จ
และก็ออกจะไม่ค่อยเห็นด้วยกับความคิดของบก.ลายจุดเท่าไรนัก
คือมันใช้เวลานานกว่าจะเป็นรูปเป็นร่าง
 
............................................................................
 
ความคิดที่ว่าของแกก็คือเขาอยากจะปลูกความคิดและสร้างโรงเรียน
ที่สอนประชาธิปไตยให้กับคนรากหญ้า เพื่อเป็นพล้งในการต่อต้านเผด็จการ
ความคิดนี้ดูท่าทางต้องใช้เวลายาวนานในการจะได้ประชาธิปไตยคืน
 
..............................................................................
 
แต่ผมว่าด้วยความหลักแหลมของบก.ลายจุดนี่แหละ
4-5ปีที่ผ่านมาในช่วงที่อำมาตย์หลงระเริงในอำนาจ
การก่อต้วของโรงเรียนประชาธิปไตยในความคิดของบก.ลายจุด
หรือที่รู้จักในนามโรงเรียนประชาธิปไตยแกนนอน
ทำให้พลังในการต่อสู้ของประชาชนเติบโตอย่างรวดเร็ว 
นี่ก็เป็นคุณูปการณ์และเป็นรากฐานต่อประชาธิปไตยในอนาคตไม่น้อยเลย
 
..............................................................................
 
ตั้งแต่วันที่มีคนไม่ถีง500คน
ที่ยืนฟังการปราศรัยที่ท้องสนามหลวงจนถึงวันนี้
ผมเชื่อโรงเรียนประชาธิปไตยที่บกลายจุดทำ
น่าจะเป็นโรงเรียนที่ดีกว่ามหาวิทยาลัยจุฬาหรือธรรมศาสตร์
ที่เราเคยคาดหวังว่าจะเป็นธงนำในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและผู้คนที่ยากไร้กว่า
เพราะมันได้ปลูกความรู้บนคนจริงๆและได้ออกดอกผลมาเป็น
คนที่รักประชาธิปไตยเกลียดเผด็จการรัฐประหารอย่างมากมาย
ทั้งเขาเหล่านั้นก็คือคนโง่ในสายตาของคนเมือง
 
..............................................................................
 
อยากจะบอกว่าดีใจที่ผมมีส่วนช่วยงานแม้จะเล็กน้อยก็ตามและร่วมต่อสู้มาด้วยกัน
ขอบคุณนะอาจารย์สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ของน้องๆ
 
9.........................(สุดท้าย.)

" พี่ๆอนาคตประเทศไทยจะเป็นอย่างไร "
" พี่ๆแล้วทหารจะปฏิวัติอีกมั้ย? "
" พี่ๆแล้วจะแบกประเทศกันอยู่มั้ย? "

ตอนเด็กๆผมโตมากับเพลงBlowin' in the wind.แต่งและร้องโดยBob Dylan
ในยุคสมัยที่มีการปราบปรามนักศึกษาเมื่อ 6 ตุลาคม 2519 
และสงครามเวียดนามเหนือ-ใต้ที่รบกันกำลังวิกฤต
โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นคู่สงคราม

........................................................................................

The answer, my friend, is blowin' in the wind,
The answer is blowin' in the wind.

........................................................................................

ผมอยากจะบอกว่าคำตอบมันอยู่ในสา
ยลมเพื่อนเอ๋ย
ไม่มีใครรู้ว่ามีคำตอบในอนาคตจะเป็นอย่างไร
จะเป็นแบบเวียดนามเหนือ-ใต้ หรือเปล่าไม่มีใครรู้


........................................................................................

วันนี้เป็นวันที่19 กันยายน 2554
ครบรอบ 5 ปีรัฐประหาร
ฟ้าที่เราเฝ้ามองว่าวันหนึ่งมันจะสดใส
ก็ยังคงมีเงาทมึนของการแก่งแย่งอำนาจมาบดบังอยู่

..............................
..........................................................

5 ปีมานี้ ตั้งแต่การรัฐประหารเกิดขึ้น
ผมคิดว่าประเทศของเราแตกไปเรียบร้อยแล้ว
ประเทศนี้ถูกแบ่งเป็นสองฝ่ายจากความเกลียดชัง
และคำดูหมิ่นเหยียดหยามต่างๆนาๆ
ด้วยน้ำมือของคนไทยเอง
การไม่ยอมรับความคิดที่ต่าง
การไม่ยอมรับในเสียงส่วนใหญ่
การคิดว่าตัวเองฉลาดและรู้เท่าทันกว่า
สิ่งเหล่านี้ทำให้ประเทศไทยถูกแบ่งออก
เป็นประเทศที่รักทักษิณและประเทศที่ไม่รักทักษิณ
เป็นประเทศที่พวกรักชาติอยู่กับและประเทศที่ไม่พวกรักชาติอยู่

........................................................................................

เราเอาทุกอย่างเข้าแลกจริงๆ
เราสูญเสียชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปมากมายไม่ว่าจะสีอะไรก็ตาม
........................................................................................

ผมสูญเสียเพื่อนพี่น้องและคนที่
รู้จักไปมากมายหลายคน
บ้่างก็เสียชีวิตจากเหตุการณ์รุนแรง
บ้างก็จากแผ่นดินบ้านเกิดเมืองนอน
บ้างก็จากกันเพราะทัศนคติทางการเมืองไม่ตรงกัน
ทั้งจากเหลืองหรือพวกหลากสี
แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ยังรักและเป็นห่วงเสมอๆ

........................................................................................

แต่ในขณะเดียวกัน
ผมก็ได้พบเพื่อนพี่น้องใหม่อีกหลายคน
บ้างเป็น ดารา กวี นักเขียน เป็นศิลปิน
บ้างเป็นสื่อมวลชน เป็นครู เป็นอาจารย์
บ้างเป็น NGO เป็นผู้กำกับ นักทำหนัง 
บ้างเป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพแห่งการเป็นมนุษย์
บ้างเป็นนักศึกษาหัวก้าวหน้า บ้างเป็นหมอ...ฯลฯ
รวมไปถึงชาวบ้านและผู้นำความคิดอีกหลายท่าน
ที่มีห้วใจที่รักในประชาธิปไตยเหมือนกัน

........................................................................................

สุดท้ายอยากบอกพ่อกับแม่ว่า
สิ่งที่แม่กับพ่อปลูกฝังผมมาหลายปี
ว่าต้องเป็นคนมีใจเป็นธรรม
และช่วยเหลือคนยากไร้กว่า
ผมขอบคุณนะครับ
เพราะมันทำให้ผมเป็นมนุษย์ที่มีเกียรติ

........................................................................................

สุดท้ายสุดๆขอบคุณทุกคนที่อ่านมั
นและหวังว่ามันจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย


 
 
ปล. อาชีพดั้งเดิมผมเป็นคนที่เขียนรูปและคิดงานครีเอทีฟ
ไม่ค่อยชำนาญในการเขียนหนังสือยาวๆนัก แต่ดัดจริตอยากเขียน
การเขียนครั้งนี้เขียนจากใจอยากจะบันทึกให้คนรุ่นใหม่ได้รู้
และอุทิศให้กับผู้ที่เสียชีวิตต่อการเรียกร้องประชาธิปไตยทุกคนในทุกยุคสมัย 
บทความทั้ง 9 ตอน.ใช้เวลาเขียน 2 วัน คือวันที่18-19 กันยายน 2554 
ดังนั้นคำต่างๆจะผิดและตกหล่นจำนวนมาก ขออภัยและขอบคุณมา ณ ที่นี้
........................................................................................

 

ที่มา:Prakit Kobkijwattana

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พระสงฆ์กับกัลยาณมิตรและการท้าทายทางวิชาการ

Posted: 19 Sep 2011 08:30 AM PDT

สืบเนื่องจากบทความที่แล้ว ชื่อ “พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) กับวัฒนธรรมการวิจารณ์ในพุทธศาสนาเถรวาท” ผมมีบางประเด็นที่อยากเขียนต่อคือ ประเด็น “กัลยาณมิตรทางวิชาการ” กับ “การท้าทายทางวิชาการ” ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของสังคมสงฆ์มานาน 

ผมกลับไปเปิดอ่านหนังสือ “นักวิชาการเทศ-ไทย หาความรู้ให้แน่ใช่แค่คิดเอา[i]

ของท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์อีกรอบ ทำให้ผมนึกถึงเรื่องที่ อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เล่าให้ฟังเมื่อเร็วๆ นี้ว่า “คนที่มีอำนาจสูง (เอ่ยชื่อไม่ได้) ที่จริงท่านเป็นคนดี แต่ไม่ใช่เก่งทุกอย่าง น่าเสียดายที่ท่านไม่มีกัลยาณมิตร คนรอบๆ ข้างส่วนมากเป็นพวกประจบสอพลอ และตัวท่านเองก็ไม่เป็นมิตรกับปัญญาชนที่วิพากษ์วิจารณ์ท่านเอาเสียเลย”
 
คำว่า “กัลยาณมิตร” ในความหมายของ อ.สุลักษณ์คือ คนที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์ติติงอย่างตรงไปตรงมาด้วยเจตนาดีต่อตัวบุคคลนั้นและส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ผมคิดว่าอาจเป็นไปได้ที่ลูกศิษย์ลูกหาหรือคนรอบๆ ข้างท่านเจ้าคุณ จะไม่ค่อยได้ทำหน้าที่กัลยาณมิตรในความหมายดังกล่าวมากนัก แต่กลับไปทำหน้าที่ “ชงประเด็น” ชงเรื่องให้ท่านมีท่าที่ไม่ค่อยเป็นมิตรกับ “กัลยาณมิตรทางวิชาการ” ที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์ท่าน (ซึ่งในบ้านเรามีน้อยอยู่แล้ว)
 
เช่น ผมขอคัดบทสนทนาในหนังสือเล่มดังกล่าวของท่านเจ้าคุณมาให้อ่านข้างล่างนี้ (เข้าใจว่าเป็นบทสนทนาระหว่างท่านเจ้าคุณกับลูกศิษย์ ท่านใช้ชื่อแทนลูกศิษย์ว่า “นักแทรก” และเรียกอีกฝ่ายว่า “ท่าน บก.”)
 
นักแทรก : ท่าน บก.นี้ตามล่าท่านอาจารย์มานานแล้ว
 
พระพรหมคุณาภรณ์ : อะไร ใช้คำนั้นไม่หนักไปหรือ?
 
นักแทรก : เปล่า สงสัยมีเบื้องหลังเบื้องลึกไหม มันชอบกลนะในวารสารพุทธศาสน์ศึกษานั่นน่ะ ท่าน บก.นี่แทบทุกฉบับหรือเปล่า ทำท่าหาทางตีท่านอาจารย์เรื่อย เป็น 10 ปี แล้วนี่ ท่านอาจารย์ (น.250)
.........................
 
นักแทรก : เข้ากับเรื่องที่กำลังพูดนะนี่ ขออ่านเลยนะครับ ท่าน บก.เขียนอย่างนี้ครับ
 
“...เมื่อไม่นานมานี้ผมมีโอกาสได้อ่านหนังสือเล่มเล็กๆ เล่มหนึ่ง จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ เนื้อหาของหนังสือเป็นบทสนทนาระหว่างท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) กับคณะแพทย์จำนวนหนึ่ง ในการสนทนา บรรดาแพทย์ทั้งหลายได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับทัศนะของพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับปัญหาทางจริยธรรมที่เกิดจากความก้าวหน้าทางการแพทย์และชีววิทยา เช่น ปัญหาเรื่องการโคลนมนุษย์ ปัญหาการใช้เซลล์ต้นแบบจากตัวอ่อนมนุษย์ เป็นต้น ท่านเจ้าคุณนั้นเวลาที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธศาสนาในเรื่องต่างๆ ท่านมักองอาจดังพญาราชสีห์ แต่ความองอาจที่เคยเห็นนั้นหายไปมากในหนังสือเล่มนี้ สิ่งที่ผมพยายามคิดหลังจากที่อ่านหนังสือเล่มนี้จบคือ “เกิดอะไรขึ้นกับท่านเจ้าคุณ” เท่าที่ผมอธิบายให้กับตัวเองได้ในเวลานี้คือ นี่อาจเป็นสัญญาณแรกๆ ของการที่พระพุทธศาสนาแบบเดิมที่เราคุ้นเคย ไม่สามารถตอบสนองความต้องการใหม่ๆ ในสังคมสมัยใหม่ได้แล้ว ท่านเจ้าคุณนั้นเป็นปราชญ์ทางพุทธศาสนาในความหมายของผู้ที่ “แม่นทางปริยัติ” แต่ปัญหาทางจริยธรรมในโลกสมัยใหม่ ไม่ต้องการเพียงความแม่นยำในปริยัติเท่านั้น หากแต่ต้องการความเป็นผู้มีสติปัญญาอันกว้างขวางที่จะให้ทางออกอันประกอบด้วยความลึกซึ้ง กินใจ ชวนคิด มีเมตตาแก่ทุกฝ่ายเป็นต้นด้วย การศึกษาพระปริยัติธรรมแบบดั้งเดิมที่คณะสงฆ์ดำเนินการอยู่นั้น ดูท่าจะไม่พอเสียแล้วสำหรับการตอบสนองความต้องการเช่นนี้ หากสิ่งที่ผมคิดถูกต้อง ก็แปลว่าเกิดลางในทางไม่ดีต่ออนาคตของพระพุทธศาสนาอย่างที่อยู่ภายใต้การนำของคณะสงฆ์ไทยในบางด้านเสียแล้ว”
 
พออ่านจบ “นักแทรก” ก็ชงต่อทันทีว่า “นี่เขาด่าคณะสงฆ์ แต่ว่าไม่ใช่ เขาด่ามหาจุฬาฯ ท่านอาจารย์อยู่ในมหาจุฬาฯ ตลอดเลย”
 
พระพรหมคุณาภรณ์: ท่าน บก.จะด่าคณะสงฆ์ หรือด่ามหาจุฬาฯ ก็คงต้องไปถามตัวท่านเอง แต่ก็ถือว่าด่าพระสงฆ์ไทย เป้าอยู่ที่อาตมานี่แหละ (น.255-256) (ข้อความต่อจากนี้เป็นคำอธิบายของท่านเจ้าคุณเกี่ยวกับเรื่องที่ท่านสนทนาถามตอบกับแพทย์เพื่อแก้ข้อวิจารณ์ของท่าน บก.ซึ่งก็มีเหตุผลน่ารับฟัง)
 
ผมไม่แปลกใจที่ลูกศิษย์ท่านเจ้าคุณอ่านข้อความดังกล่าวแล้วสรุปว่านั่นคือการ “ด่า” เพราะดูเหมือนเขาจะต้องการ “ชงประเด็นขัดแย้ง” อยู่แล้ว (โปรดสังเกตในข้อความที่เขาอ่านไม่มีคำว่า “มหาจุฬาฯ” เลยแต่ “นักแทรก” ก็ชงว่าท่าน บก.ด่ามหาจุฬาฯ) แต่ผมแปลกใจมากที่ท่านเจ้าคุณเออออไปกับการชงนั้นด้วย ถึงขนาดบอกว่า “…ก็ถือว่าด่าพระสงฆ์ไทย เป้าอยู่ที่อาตมานี่แหละ”
 
คนที่อ่านข้อความดังกล่าวของท่าน บก.อย่างไม่มีอคติ ย่อมเข้าใจอย่างตรงไปตรงมาว่า “เนื้อหาหลัก” ของข้อความดังกล่าวเป็นการตั้ง “คำถามทางวิชาการ” ต่อความเชี่ยวชาญด้านปริยัติของท่านเจ้าคุณ (หมายถึงท่านเจ้าคุณในฐานะบุคคลสาธารณะผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนา ไม่ใช่ท่านเจ้าคุณในฐานะ “คู่ขัดแย้ง”) และการศึกษาปริยัติแบบที่มีอยู่ในคณะสงฆ์ว่า ไม่น่าจะเพียงพอที่จะสนองตอบต่อปัญหาทางจริยธรรมอันเกิดจากความก้าวหน้าทางวิทยาการใหม่ๆ เช่น ทางการแพทย์และชีววิทยา เป็นต้น มันไม่ใช่ “การด่า” ใดๆ ทั้งสิ้น (แม้แต่สำนวนเปรียบเทียบ “องอาจดุจพญาราชสีห์” ที่เป็นการชมเชยในบางเรื่องที่ท่านเจ้าคุณเก่ง ติหรือตั้งคำถามในบางเรื่องที่ท่านเจ้าคุณอาจไม่เก่ง ก็ไม่น่าถือว่าเป็นคำด่าเลย)
 
ผมคิดว่าคำถามทางวิชาการดังกล่าวของท่าน บก. ชวนให้เราคิดในประเด็นสำคัญอย่างน้อย 3 ประการคือ
 
1) สะท้อนให้เห็นข้อเท็จจริงของปัญหาทางภูมิปัญญาอันเป็นผลผลิตของระบบการศึกษาสงฆ์ว่า อาจไม่สามารถตอบสนองปัญหาทางจริยธรรมที่ซับซ้อนในโลกสมัยใหม่ได้ (ซึ่งปัญหาการศึกษาของสงฆ์ ท่านเจ้าคุณก็เคยวิจารณ์เอาไว้มากว่า จำเป็นต้องปฏิรูปทั้งระบบ)
 
2) สะท้อนให้เห็นความห่วงใยของท่าน บก.ต่ออนาคตของพุทธศาสนาในสังคมไทย
 
3) เป็นคำถามที่ท้าทายต่อท่านเจ้าคุณ และระบบการจัดการศึกษาของสงฆ์เองว่า ควรจะปรับตัวให้สนองตอบต่อปัญหาทางจริยธรรมในโลกสมัยใหม่อย่างไร
 
ฉะนั้น โดยสาระแล้ว คำถามทางวิชาการดังกล่าวควรจะเป็นคำถามที่เป็นประโยชน์ต่อท่านเจ้าคุณ และการปรับปรุงระบบการศึกษาสงฆ์โดยรวมมากกว่าที่จะถูกแปลความว่าเป็น “การด่า”
 
จะว่าไปแล้วคำถามทางวิชาการดังกล่าว เป็นคำถามที่นักวิชาการทางพุทธศาสนาฝ่ายก้าวหน้า (แม้แต่นักวิชาการด้านอื่นๆ) มองเห็นมานานแล้ว (เข้าใจว่าท่านเจ้าคุณก็น่าจะมองเห็นอยู่ด้วย) และเห็นว่าหากพุทธศาสนาจะดำรงอยู่อย่างมีความหมายต่อสังคมยุคใหม่ พุทธศาสนาต้องสามารถตอบสนอง (ในเชิงการถกเถียงแลกเปลี่ยน ให้คำตอบ/ทางออก) ต่อปัญหาทางจริยธรรมใหม่ๆ ได้ เช่น ปัญหาด้านชีวจริยธรรม การทำแท้งถูกกฎหมาย การุณยฆาต ความเป็นธรรมทางสังคมการเมือง สิทธิมนุษยชน เสรีภาพ ความเสมอภาค ภราดรภาพ เป็นต้น
 
สังเกตไหมครับว่า ปัจจุบันคณะสงฆ์และชาวพุทธอนุรักษ์นิยมยังตั้งโจทย์ความมั่นคงของพุทธศาสนาแบบ “ย้อนยุค” มากเลย เช่น เอาความมั่นคงของพุทธศาสนาไปผูกติดกับความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ หรือผูกติดกับภัยจากศาสนาอื่นๆ เป็นต้น แทบจะไม่ตั้งโจทย์ว่าพุทธศาสนาควรจะตอบสนองต่อปัญหาทางจริยธรรมในโลกสมัยใหม่อย่างไร นี่คือสัญญาณอันตรายต่ออนาคตของพุทธศาสนาที่คนห่วงใยพุทธศาสนาต่างมองเห็น หากไม่แกล้งหลับหูหลับตา
 
ที่พึงสังเกตอย่างยิ่งคือ คำถามท้าทายทางวิชาการดังกล่าว เป็นคำถามของนักวิชาการที่ทำงานวิชาการด้านพุทธศาสนามาตลอดชีวิตของท่าน มีผลงานทางวิชาการพุทธศาสนาปรากฏมากมายทั้งภาษาไทยภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะงานวิชาการเหล่านั้นมุ่งไปที่การประยุกต์หลักการพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์และปรัชญาตะวันตกอธิบายปัญหาทางจริยธรรมใหม่ๆ เช่น ปัญหาชีวจริยธรรม ความยุติธรรม นิติปรัชญา การุณยฆาต ฯลฯ และคำถามดังกล่าวก็ดูเหมือนจะถามด้วยเจตนาห่วงใยพุทธศาสนาและสถาบันสงฆ์ แต่กระนั้นก็ยังถูกแปลเป็น “คำด่า”
 
ปัญหาที่ผมเห็นว่า “ซีเรียส” มากคือ คำถามทางวิชาการดังกล่าวเป็นคำถามจากนักวิชาการด้านพุทธศาสนา และเป็นคำถามที่ท้าทายทั้งปราชญ์ทางพุทธศาสนาและสังคมสงฆ์ แต่ท่าทีตอบรับคำถามนั้นโดยปราชญ์ทางพุทธศาสนากลับบอกว่า “...แต่ก็ถือว่าด่าพระสงฆ์ไทย เป้าอยู่ที่อาตมานี่แหละ” ขนาดปราชญ์ทางพุทธศาสนายังมองเช่นนี้ แล้วพระสงฆ์ทั่วไปจะมองอย่างไร
 
ผมจึงเกิดคำถามต่อเนื่องจากคำถามท้าทายทางวิชาการดังกล่าวว่า พระสงฆ์ยังไม่มีความพร้อมที่จะเปิดใจรับ “กัลยาณมิตรทางวิชาการ” หรืออย่างไร?
 
คำถามนี้มีความสำคัญไม่น้อยกว่าคำถามท้าทายทางวิชาการของท่าน บก. เพราะพระสงฆ์จะเผชิญกับการท้าทายทางวิชาการอย่างสร้างสรรค์ได้ จำเป็นต้องเปิดใจรับกัลยาณมิตรทางวิชาการในโลกยุคใหม่ได้ นั่นคือกัลยาณมิตรที่วิพากษ์วิจารณ์พระสงฆ์ และพุทธศาสนาอย่างตรงไปตรงมา
 
แต่หากท่าน บก.ที่เป็นนักวิชาการด้านพุทธศาสนาพระสงฆ์ยังรับไม่ได้แล้ว พระสงฆ์จะเผชิญกับการท้าทายทางความคิดจากนักวิชาการ นักคิด นักเขียน หรือปัญญาชนรุ่นใหม่ๆ ที่ยึดมั่นเสรีภาพทางวิชาการและความเสมอภาคในความเป็นคนอย่าง คำ ผกา ภัควดี ไม่มีนามสกุล มุกหอม วงษ์เทศ เป็นต้นได้อย่างไร แล้วยังมีนักวิชาการต่างชาติ ต่างศาสนาอีกมากที่พระสงฆ์ต้องเผชิญอย่างมีใจเปิดกว้างและมีขันติธรรม
 
โลกเปลี่ยนไปแล้ว คนยุคใหม่อยู่ในโลกของข้อมูลความรู้ที่เปิดกว้างหลากหลาย เขารู้เท่าทัน “อำนาจเก่า” ต่างๆ ที่มีอยู่ในสังคมกันแล้ว ไม่ว่าอำนาจนั้นจะเป็นอำนาจนอกระบบในทางการเมือง อำนาจทางปัญญา ทางศีลธรรม ทางจิตวิญญาณ หรือทางจารีตประเพณีก็ตาม
 
ถ้าเราดูในโลกออนไลน์พระประเภทที่ทำตัวเป็นนักประดิษฐ์วาทกรรมกล่อมประสาทพวกสลิ่ม พระที่ทำตัวเป็น “โหรการเมือง” หรือพระประเภททะลึ่งอ้างพระไตรปิฎกว่า “ผู้หญิงไม่ควรเป็นผู้นำประเทศ” ล้วนเป็นพระที่กลายเป็น “ตัวตลก” ที่ถูกคนรุ่นใหม่เย้ยเยาะอย่างขบขัน
 
แม้แต่พระที่ถูกยกย่องว่าเป็นปราชญ์ ก็ไม่พ้นที่จะถูกตั้งคำถาม หรือวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ต้องพูดถึงความรู้อื่นๆ ที่พระสงฆ์บรรยายแก่ชาวบ้าน (เช่น เทคนิคการมีชีวิตคู่ให้เป็นสุข เทคนิคการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ ฯลฯ ซึ่งเขาไม่ค่อยเชื่อพระในเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว) แม้แต่ธรรมะที่ออกมาจากปากพระเขาก็กล้าตั้งคำถามมากขึ้น กระทั่งกล้านำเนื้อหาเรื่องราวในพระไตรปิฎกมาวิพากษ์วิจารณ์และอ้างเหตุผลโต้แย้งอย่างน่ารับฟัง (เชื่อไหมครับในเฟซบุ๊คของ “กลุ่มคนไม่มีศาสนา” เขาหยิบประเด็นซีเรียสๆ ทางศาสนามาอภิปรายกันอย่างลึกซึ้งมีเหตุมีผล) พระสงฆ์จะยังคิดว่าชาวบ้านไม่รู้เรื่องพุทธศาสนาเท่าทันตนไม่ได้อีกแล้ว  
 
ในโลกเช่นนี้ พระสงฆ์หรือคณะสงฆ์จะปฏิเสธกัลยาณมิตรทางวิชาการไม่ได้เลย ผมจึงรู้สึกเศร้าใจที่เห็นลูกศิษย์ลูกหาชงท่าทีที่ไม่เป็นมิตรกับนักวิชาการแก่ท่านเจ้าคุณ เช่น “นักแทรก” ถามนำว่า “เยอะแยะเลยนี่ ปัญหามากมาย เป็นเรื่องนักวิชาการทั้งนั้น อย่างนี้แล้วจะมองนักวิชาการอย่างไร” (น.265)
 
เพราะถ้าพระสงฆ์มองกัลยาณมิตรทางวิชาการเป็นตัวปัญหา มองคำถามท้าทายทางวิชาการเป็นคำด่า ก็เกรงว่าวิธีคิดและทัศนคติที่สร้างขึ้นผ่านระบบการศึกษา และวัฒนธรรมของสังคมสงฆ์มีปัญหาอย่างน่าเป็นห่วง!
 


................................................
 
[i]

หนังสือนี้ตีพิมพ์แจกฟรีแล้ว 2 ครั้ง (พิมพ์ครั้งแรก สงกรานต์ 2554 จำนวน 8,000 เล่ม ครั้งที่ 2 เข้าพรรษา 2554 จำนวน 10,000 เล่ม)
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เยเมนปะทุ ประชาชนถูกซุ่มยิงเจ็บตายหลายสิบ

Posted: 19 Sep 2011 08:08 AM PDT

19 ก.ย. 2011 - ที่กรุงซานา เมืองหลวงของเยเมนมีเหตุการณ์นองเลือดเกิดขึ้นในการประท้วงบนท้องถนน โดยประชาชนอย่างน้อย 21 ราย ถูกสังหาร และ 50 รายได้รับบาดเจ็บ

มีรายงานว่า การนองเลือดเกิดขึ้นจากการที่สไนเปอร์ซุ่มยิงผู้ชุมนุมประท้วงอย่างสงบ รวมถึงประชาชนที่ผ่านทางไปมาที่จัตุรัสเชนจ์ โดยการปะทะกันเริ่มขึ้นเมื่อผู้ประท้วงพยายามฝ่าเข้าไปในเขตที่รัฐบาลกั้นไว้

มีบิดาของเด็กชายที่ถูกยิงเสียชีวิตเล่าว่า พวกเขาขับรถมาที่ถนนฮาเยลใกล้กับจุดที่มีการปะทะ ฝ่ายบิดาออกจากรถเพื่อไปซื้ออาหารโดยทิ้งลูกชายที่ง 2 คนเอาไว้ จนกระทั่งได้ยินเสียงคนที่โตกว่าหวีดร้องจึงพบว่าลูกชายคนเล็กถูกยิงเข้าที่ศรีษะ

โดยก่อนหน้านี้ในวันอาทิตย์ (18) ก็มีการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมประท้วงกับฝ่ายรัฐบาล โดยผู้ชุมนุม 26 รายถูกยิงเสียชีวิต และอีกหลายร้อยรายได้รับบาดเจ็บจากการกระทำของกองทัพและมือปืนฝ่ายรัฐบาล ซึ่งทางผู้ประท้วงก็ประกาศว่าจะยังชุมนุมต่อไปแม้จะถูกปราบปราม

ขณะเดียวกัน อับดู อัล-จานาดี รักษาการรัฐมนตรีกระทรวงสารสนเทศของเยเมนปฏิเสธข้อกล่าวหาเรื่องที่รัฐบาลวางแผนโจมตีผู้ชุมนุม และหันไปโทษว่ามี "มือมืด" เป็นผู้กระทำการดังกล่าว

นอกจากในกรุงซานาแล้ว ยังมีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาลยิงโจมตีใส่ผู้ชุมนุมประท้วงในเมืองทาอิซจนมีผู้เสียชีวิต 2 รายและได้รับบาดเจ็บ 10 ราย

ผู้สื่อข่าวเยเมนรายงานว่าสไนเปอร์ของรัฐบาลซุ่มยิงผู้ชุมนุมจากดาดฟ้าของอาคาร มีผู้ชุมนุมรายหนึ่งบอกว่ามีการเล็งยิงที่หน้าอก ขา และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ผู้เห็นเหตุการณ์ส่วนหนึ่งระบุว่าเจ้าหน้าที่และกลุ่มคนติดอาวุธยิงใส่ผู้ชุมนุมที่เดินทางออกจากจัตุรัสเชนจ์

"ผมได้คุยกับหมอเมื่อวานนี้ เขาบอกว่าบาดแผลที่หลังของเหยื่อรายหนึ่งดูใหญ่เกินกว่าจะเป็นแผลจากอาวุธปืนไรเฟิล" ผู้สื่อข่าวอิสระกล่าว "มันเป็นแผลวงใหญ่บนหลังของเขา ซึ่งน่าจะมาจากอาวุธจำพวกปืนต่อต้านอากาศยาน หรือไม่ก็จรวดอาร์พีจี"

ผู้สื่อข่าวอิสระรายงานอีกว่าพบศพอย่างน้อย 16 รายในมัสยิด ส่วนใหญ่ถูกยิงที่ศรีษะ เหยื่อส่วนมากอายุไม่เกิน 22 ปี หนึ่งในนั้นมีเยาวชนอายุ 16 อยู่ด้วย

"มีโรงพยาบาล 3 แห่งในกรุงซานา เต็มไปด้วยผู้บาดเจ็บ หมอรายหนึ่งระบุว่ายอดผู้เสียชีวิตอาจเพิ่มสูงขึ้นถึง 50 รายในเข้าวันพรุ่งนี้" ผู้สื่อข่าวกล่าว

มูเนีย อัล มาวรี นักวิเคราะหืชาวเยเมน กล่าวว่าสหรัฐฯ สร้างความผิดพลาดครั้งใหญ่ในการแสดงท่าทีเป็นกลางและทำทีว่าการปราบปรามผู้ชุมนุมนั้นเป็นวิกฤติทางการเมืองที่ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายต่อต้านจะสามารถแก้ปัญหากันเองได้

กลุ่มผู้ประท้วงนับหมื่นคนออกมาชุมนุมเรียกร้องให้ประธานาธิบดีซาเลห์ซึ่งปกครองเยเมนมาเป็นเวลา 33 ปี ลงจากตำแหน่ง 

โดยรองประธานาธิบดีของเยเมน อับดราบูห์ แมนเซอ ฮาดิ ตกลงว่าภายในสัปดาห์นี้จะมีการลงนามสัญญากับเจ้าหน้าที่คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council) ให้มีการเปลี่ยนแปลงทางอำนาจของเยเมน ซึ่งทางคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับได้ส่งเจ้าหน้าที่เพื่อวางแนวทางการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากซาเลห์ ซึ่งเจ้าหน้าที่จากซาอุดิอารเบียให้ข้อมูลว่าซาเลห์มีความต้องการให้ลูกชายของเขาเป็นผู้สืบทอดอำนาจรัฐบาลต่อไป

ตัวซาเลห์เองได้หนีออกนอกประเทศไปยังซาอุดิอารเบียเมื่อ 3 เดือนก่อนหน้านี้ เพื่อรักษาอาการหลังจากที่ทำเนียบประธานาธิบดีถูกจู่โจมในวันที่ 3 มิ.ย.


....................................
ที่มา
Street clashes resume in Yemeni capital, Aljazeera, 19-09-2011 
http://english.aljazeera.net/news/middleeast/2011/09/201191965948381882.html

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“ทีนิวส์” ร้องศาลปกครองคุ้มครอง หลังถูกดองเทปออกอากาศ 5 ครั้ง

Posted: 19 Sep 2011 07:57 AM PDT

ASTVผู้จัดการออนไลน์ เว็บไซต์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 กันยายน 2554 รายงานการให้สัมภาษณ์ของนายฉัตรชัย ภู่โคกหวาย กรรมการผู้ช่วยผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ทีนิวส์ว่า ได้รับมอบอำนาจจากบริษัท กรีน อินเทลลิเจ้นท์ จำกัด ซึ่งผลิตรายการ “เจาะข่าวร้อน ล้วงข่าวลึก” โดยสถานีโทรทัศน์ ที-นิวส์ ออกอากาศทางช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ทุกวันจันทร์ เวลา 21.00-22.00 น.ยื่นฟ้องกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นคู่สัญญาการเช่าเวลาออกอากาศ ต่อศาลปกครองกลาง กรณีที่กระทำการโดยไม่ชอบฝ่าฝืนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ โดยการสั่งตรวจสอบสคริปต์ และเทปบันทึกรายการก่อนออกอากาศ รวมทั้งมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงการออกอากาศ ด้วยการแจ้งจะนำรายการอื่นมาออกอากาศแทน “เจาะข่าวร้อน ล้วงข่าวลึก” ในช่วงเวลาดังกล่าว โดยอ้างเหตุว่ารายการที่บริษัทผลิต มีเนื้อหาไม่ส่งเสริมการปรองดองสมานฉันท์ ทั้งที่ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มาตรา 45 บัญญัติให้บุคคล รวมทั้งสื่อ มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ขณะที่การจะห้ามแสดงความคิดเห็นกระทำไม่ได้ รวมทั้งการนำข่าวไปให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจก่อนก็ทำไม่ได้    

นายฉัตรชัย ยังเปิดเผยด้วยว่า การละเมิดสิทธิการออกอากาศ บริษัทถูกกระทำมาตั้งแต่วันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน โดยรายการถูกระงับการออกอากาศถึง 5 ครั้ง ครั้งล่าสุด กรมประชาสัมพันธ์ ได้มีหนังสือมาถึงบริษัทวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา แจ้งว่า จะนำเทปบันทึกการแข่งขันวงโยธวาทิต มาออกอากาศแทน ดังนั้น เราจึงต้องมายื่นฟ้องขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉิน เพื่อมีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ให้บริษัทสามารถนำรายการที่ผลิตออกอากาศได้ ตามวัน-เวลา ที่ระบุในสัญญาที่ทำไว้กับกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งได้ทำร่วมกันไว้มีกำหนด 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค.-30 ก.ย.54 โดยขณะนี้บริษัทเหลือเวลาออกอากาศอีกเพียงครั้งเดียว คือ วันจันทร์ที่ 26 ก.ย.สัปดาห์สุดท้ายของเดือน ซึ่งตุลาการศาลปกครองกลาง ได้รับคำขอไว้พิจารณา โดยมีหมายแจ้งถึงผู้บริหารกรมประชาสัมพันธ์แล้วเพื่อให้มาไต่สวนฉุกเฉินภายในวันที่ 20 ก.ย. เวลา 18.30 น.

ทั้งนี้นอกจากคำขอไต่สวนฉุกเฉินเพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวแล้ว นายฉัตรชัยยังระบุด้วยว่า ยังมีคำขอท้ายฟ้องอีก 2 ข้อ คือ 1.ขอให้ศาลปกครอง มีคำสั่งให้กรมประชาสัมพันธ์ ผู้ถูกฟ้อง อนุญาตให้บริษัท ผู้ฟ้อง สามารถออกอากาศรายการได้ตามวัน-เวลา ในสัญญา และ 2.ขอให้กรมประชาสัมพันธ์ ชดใช้ค่าเสียหายที่บริษัทได้ผลิตรายการแล้ว แต่ถูกระงับการออกอากาศไปถึง 5 ครั้ง ซึ่งบริษัทมีภาระค่าใช้จ่ายในการผลิตรายการ รวมทั้งค่าขาดรายได้จากสปอนเซอร์สนับสนุนรายการที่บริษัทจะได้รับด้วย หากไม่ถูกระงับการออกอากาศ รวมทั้งสิ้น 564,200 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ส่วนเวลาการออกอากาศที่บริษัทต้องเสียไปถึง 5 ครั้งนั้น จะเรียกร้องเพิ่มหรือไม่ ต้องปรึกษาทนายความอีกครั้ง ซึ่งเป็นเรื่องข้อกฎหมายเกี่ยวข้องกับสัญญา
|     

แถลงการณ์สำนักข่าวทีนิวส์ 
ภายหลังรายการ เจาะข่าวร้อน  ล้วงข่าวลึก  โดยสำนักข่าวทีนิวส์ ถูก สทท.11 จำกัดการออกอากาศตามสิทธิ์ของการเช่าเวลาออกอากาศ และการดำเนินงานในฐานะสื่อมวลชน ในการนี้สำนักข่าวทีนิวส์ จึงเข้ายื่นฟ้อง สทท.11 ต่อศาลปกครอง เพื่อธำรงไว้ซึ่งสิทธิ์ และพิทักษ์เสรีภาพของสื่อมวลชนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ

1.สำนักข่าว ทีนิวส์ ผู้ผลิตรายการเจาะข่าวร้อนล้วงข่าวลึก ออกอากาศ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ทุกวันจันทร์ เวลา 21.00-21.50 น.ที่ผ่านมา สำนักข่าวทีนิวส์ ได้นำเสนอข่าวสาร สาระ ที่มีคุณภาพ ด้วยความรับผิดต่อสังคมโดยส่วนรวม ประเทศชาติ และประชาชน มาโดยตลอด

2.ซึ่งในการนำเสนอ ข่าวสาร ดังกล่าว ตามข้อ 1 นั้น สำนักข่าวทีนิวส์ ได้มุ่งเน้นในการนำเสนอความจริงข้อมูลเชิงลึก ที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคล และ/หรือกลุ่มบุคคล ที่มีความมุ่งร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และต่อต้านการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งเป็นการนำเสนอบนพื้นฐานของพยานหลักฐานที่มีอยู่จริง

3.เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ก็เริ่มปรากฏขบวนการ การจำกัดเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสาร ของสำนักข่าวทีนิวส์ ด้วยวิธีการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ระหว่างวันที่ ๒๒ สิงหาคม - ๑๙ กันยายน ๒๕๕๔ ร่วมทั้งสิ้น ๕ ครั้ง ซึ่งสามารถจำแนกได้ ดังนี้ คือ ครั้งที่ ๑, ๒, ๔ และ๕ ด้วยเหตุผล ที่ต้องนำเทปบันทึกภาพกิจกรรมต่างๆ เช่น การประกวดธิดาส้มโอ, การประกวดวงโยธวาทิต มาออกอากาศในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว จะเห็นว่า เป็นความจำเป็นเร่งด่วน หรือไม่ก็ตาม ทางสำนักข่าวทีนิวส์ ก็ให้ความร่วมมือมาด้วยดีตลอด

4.แต่ปรากฏว่า ในการระงับการออกอากาศ ครั้งที่ 3 ในวันที่ 5 กันยายน 2554 นั้น ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย มิได้มีการแจ้งล่วงหน้าว่า มีภารกิจต้องใช้เวลาในช่วงดังกล่าวไปเพื่อการใด แต่ให้เหตุผลถึงการระงับการออกอากาศ ในวันดังกล่าว ด้วยเหตุผล ว่า “สถานีได้ตรวจสอบและวิเคราะห์ รายการอย่างระเอียดแล้ว ให้เปลี่ยนแปลงเนื้อหา ของรายการที่พาดพิงถึง นปช. เสื้อแดงล้มเจ้า การนำเสนอพาดพิงถึงบุคคลอื่น อันอาจทำให้เกิดความแตกแยกขัดต่อนโยบายของรัฐบาลที่มีเป้าหมายมุ่งสู่ความปรองดองสมานฉันท์

5.จากพฤติการณ์ของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ตามข้อ 4 นั้น แสดงให้เห็นว่า มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการจำกัดเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชน ทั้งในเรื่องของการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายด้วยวิธีอื่น ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ 2540 ส่วนที่ 7 มาตรา 45 วรรค 1 และ ในส่วนที่ แจ้งว่า ได้ดำเนินการตรวจสอบ และวิเคราะห์ แล้วนั้น ก็ถือว่า เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 วรรค 5 อีกเช่นกัน

6.ดังนั้น เพื่อเป็นการแสดงออกถึงการพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งเสรีภาพในการแสดงความเห็นของบุคคล และสื่อมวลชน ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ สำนักข่าวทีนิวส์ จึงได้นำเรื่อง การถูกจำกัดเสรีภาพดังกล่าวยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อเมื่อศาลได้วินิจฉัยแล้วบุคคลผู้ที่มีส่วนเกี่ยวจะได้ถือเป็นบรรทัดฐานและแนวทางปฏิบัติต่อไป

                                                                          สำนักข่าวทีนิวส์
                                                                          19 กันยายน 2554

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ความหวังใหม่ของจำเลยในคดีความมั่นคง

Posted: 19 Sep 2011 07:40 AM PDT

พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 เป็นกฎหมายที่บัญญัติภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ซึ่งวางหลักการให้บุคคลที่เป็นผู้เสียหายหรือจำเลยในคดีอาญาได้รับการคุ้มครอง โดยมีเจตนารมณ์ที่จะชดเชยหรือเยียวยาความเสียหายให้แก่ประชาชนที่เป็นเหยื่อหรือได้รับความเสียหายอันเกิดจากการกระทำความผิดอาญาโดยที่ตนเองไม่ได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด และความเสียหายของผู้ที่ถูกคุมขังและดำเนินคดีระหว่างพิจารณา เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้นั้นไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด ซึ่งกฎหมายดังกล่าวใช้บังคับมาแล้วเป็นเวลาเกือบสิบปีสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 มีเหตุการณ์ที่ทำให้ประชาชนได้รับความเสียหายต่อชีวิตและร่างกาย รวมทั้งทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก

จากข้อมูลสถิติของศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 (หลังเหตุการณ์ปล้นปืน) ถึงวันที่ 22 สิงหาคม 2554 มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นทั้งสิ้น 12,167 เหตุการณ์ โดยมีเหตุการณ์ความรุนแรงมากที่สุดในปี พ.ศ.2550 มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 4,771 ราย แบ่งเป็นตำรวจ 274 นาย ทหาร 331 นาย ประชาชน 4,166 ราย บาดเจ็บรวม 8,512 ราย บุคคลเหล่านั้น ถือว่าเป็นผู้เสียหายอันเกิดจากการกระทำความผิดอาญา ที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

สำหรับผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรือแม้แต่ทรัพย์สิน หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว รัฐจะจัดสรรงบประมาณในการให้ความช่วยเหลือเยียวยา หากปรากฏว่าผู้นั้นได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐทั้งสามฝ่าย คือ ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง ได้ให้ความเห็นว่า เหตุดังกล่าวเนื่องจากการก่อความไม่สงบ บุคคลเหล่านั้นก็จะได้รับเงินเยียวยาจากรัฐ ซึ่งนอกเหนือค่าตอบแทนความเสียหายตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544

ด้วยเหตุที่ว่า หน้าที่ในการที่จะต้องให้การปกป้องและคุ้มครองชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน ก็คือรัฐ เพราะการที่คนอยู่รวมกันเป็นสังคม จะต้องมอบอำนาจให้ผู้ปกครองในการที่ทำหน้าที่ในการปกป้อง คุ้มครองให้ได้รับความปลอดภัย และเกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม แต่จากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในสามจังหวัด จะเห็นได้ว่านอกจากเจ้าหน้าที่ไม่สามารถที่จะปกป้องและคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้แล้ว แม้แต่เจ้าหน้าที่เองยังต้องระมัดระวังกับการลอบทำร้าย เพื่อปกป้องชีวิตของตนเอง การที่รัฐจัดสรรเงินเยียวยาให้แก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ความไม่สงบ จึงเป็นการแสดงความรับผิดชอบอย่างหนึ่งที่มีต่อประชาชน

อย่างไรก็ตาม นอกจากหน้าที่ของรัฐในการปกป้องคุ้มครองประชาชนแล้ว รัฐไม่ควรละเลยหน้าที่ในการอำนวยความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม เมื่อผู้เสียหายจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐจัดสรรงบประมาณและเยียวยาให้ในลักษณะพิเศษ ผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมและได้รับผลกระทบจากการดำเนินคดีโดยตนเองไม่ได้กระทำความผิดก็เช่นเดียวกัน บุคคลเหล่าก็คือผู้เสียหายในเหรียญอีกด้านหนึ่ง ที่สมควรได้รับการเยียวยาหรือช่วยเหลือด้วยเช่นกัน เว้นแต่ว่ารัฐจะมองว่าบุคคลเหล่านี้คือศัตรู

จากข้อมูลของศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2554 มีคดีความมั่นคงที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดี 1,338 คดี เป็นคดีที่ได้มีคำพิพากษาแล้ว 262 คดี จำนวนของจำเลยที่ถูกดำเนินคดี 484 คน ศาลมีคำพิพากษาลงโทษ 143 คดี จำนวนจำเลยที่ถูกลงโทษ 243 คน และศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง (ปล่อยจำเลย) 119 คดี จำนวนจำเลยที่ศาลพิพากษายกฟ้อง 241 คน ข้อมูลเหล่านี้นับว่าเป็นข้อมูลที่น่าสนใจ นอกจากข้อมูลของความเสียหายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรายวัน

จะเห็นได้ว่าบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง หรือที่อยู่ระหว่างการพิจารณา หากต้องถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดี บุคคลเหล่านี้ก็คือผู้เสียหาย และได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบเช่นเดียวกัน มีจำเลยในคดีความมั่นคงหลายคดีที่ต้องถูกคุมขังเป็นเวลาหลายปีระหว่างการพิจารณา สุดท้ายศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด ทำให้เกิดผลกระทบทั้งต่อตนเองและครอบครัวอย่างมหาศาล ความรับผิดชอบของรัฐต่อบุคคลเหล่านี้ไม่ต่างอะไรกับผู้เสียหายที่ได้รับเงินเยียวยาจากรัฐในเหตุการณ์ความไม่สงบ ถ้ามองจากหลักการดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

ภายหลังที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว จำเลยหลายรายได้มาร้องเรียนมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม เพื่อร้องขอเงินค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายในระหว่างที่ถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดี เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายหรือผลกระทบที่ได้รับกับตัวเองหรือครอบครัวในระหว่างที่ต้องถูกคุมขังในเรือนจำ ทางมูลนิธิก็ได้ให้ความช่วยเหลือในการดำเนินการเรื่องเอกสาร และประสานงานไปยังสำนักงานยุติธรรมจังหวัดที่เป็นหน่วยงานต้นเรื่องเพื่อส่งต่อให้คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา เพื่อช่วยเหลือบุคคลเหล่านั้น

แต่เมื่อยื่นเรื่องเสนอไปยังคณะกรรมการแล้ว ปรากฏว่าคณะกรรมการจะพิจารณาในทำนองว่า ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทน เนื่องจากเหตุผลแห่งคำพิพากษาของศาลที่ยกฟ้อง เพราะศาลมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 วรรคสอง จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ในการได้รับเงินค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายตามพระราชบัญญัติดังกล่าว อย่างไรก็ตามผู้ร้องก็สามารถอุทธรณ์คำวินิจฉัย แม้มติคณะกรรมการดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยของฝ่ายบริหาร แต่อย่างน้อยก็ส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจในการใช้ชีวิตใหม่ สำหรับจำเลยในคดีความมั่นคงที่เพิ่งก้าวเท้าออกมาจากเรือนจำ ภายหลังที่ถูกขังเป็นแรมปี

เมื่อเร็วๆ นี้ นับว่าเป็นข่าวดีที่คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาได้พิจารณาจ่ายเงินทดแทนให้แก่จำเลยในคดีความมั่นคง 2 ราย โดยพิจารณาตามความเสียหายที่ได้รับ คำวินิจฉัยดังกล่าวนับว่าเป็นมิติใหม่ของกระทรวงยุติธรรม ในบทบาทด้านการอำนวยความเป็นธรรมให้กับประชาชน และเป็นการจุดประกายความหวังของจำเลยที่ได้รับผลกระทบจากการถูกดำเนินคดี โดยเฉพาะคดีความมั่นคงที่มองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ และอาจกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ของสังคมปลายด้ามขวาน ที่เป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบอย่างหนึ่งของรัฐที่มีต่อประชาชน

พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 เป็นกฎหมายที่บัญญัติภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2544 ซึ่งวางหลักการให้บุคคลที่เป็นผู้เสียหายหรือจำเลยในคดีอาญาได้รับการคุ้มครอง โดยมีเจตนารมณ์ที่จะชดเชยหรือเยียวยาความเสียหายให้แก่ประชาชนที่เป็นเหยื่อหรือได้รับความเสียหายอันเกิดจากการกระทำความผิดอาญาโดยที่ตนเองไม่ได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด และความเสียหายของผู้ที่ถูกคุมขังและดำเนินคดีระหว่างพิจารณา เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้นั้นไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด ซึ่งกฎหมายดังกล่าวใช้บังคับมาแล้วเป็นเวลาเกือบ 10 ปี

สถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 มีเหตุการณ์ที่ทำให้ประชาชนได้รับความเสียหายต่อชีวิตและร่างกาย รวมทั้งทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก จากข้อมูลสถิติของศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 (หลังเหตุการณ์ปล้นปืน) ถึงวันที่ 22 สิงหาคม 2554 มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นทั้งสิ้น 12,167 เหตุการณ์ โดยมีเหตุการณ์ความรุนแรงมากที่สุดในปี พ.ศ. 2550 มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 4,771 ราย แบ่งเป็นตำรวจ 274 นาย ทหาร 331 นาย ประชาชน 4,166 ราย บาดเจ็บรวม 8,512 ราย บุคคลเหล่านั้น ถือว่าเป็นผู้เสียหายอันเกิดจากการกระทำความผิดอาญา ที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

สำหรับผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรือแม้แต่ทรัพย์สิน หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว รัฐจะจัดสรรงบประมาณในการให้ความช่วยเหลือเยียวยา หากปรากฏว่าผู้นั้นได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐทั้ง 3 ฝ่าย คือ ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง ได้ให้ความเห็นว่า เหตุดังกล่าวเนื่องจากการก่อความไม่สงบ บุคคลเหล่านั้นก็จะได้รับเงินเยียวยาจากรัฐ ซึ่งนอกเหนือค่าตอบแทนความเสียหายตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544

ด้วยเหตุที่ว่า หน้าที่ในการที่จะต้องให้การปกป้องและคุ้มครองชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน ก็คือรัฐ เพราะการที่คนอยู่รวมกันเป็นสังคม จะต้องมอบอำนาจให้ผู้ปกครองในการที่ทำหน้าที่ในการปกป้อง คุ้มครอง ให้ได้รับความปลอดภัย และเกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม แต่จากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในสามจังหวัด จะเห็นได้ว่านอกจากเจ้าหน้าที่ไม่สามารถที่จะปกป้องและคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้แล้ว แม้แต่เจ้าหน้าที่เองยังต้องระมัดระวังกับการลอบทำร้าย เพื่อปกป้องชีวิตของตนเอง การที่รัฐจัดสรรเงินเยียวยาให้แก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ความไม่สงบ จึงเป็นการแสดงความรับผิดชอบอย่างหนึ่งที่มีต่อประชาชน

อย่างไรก็ตาม นอกจากหน้าที่ของรัฐในการปกป้องคุ้มครองประชาชนแล้ว รัฐไม่ควรละเลยหน้าที่ในการอำนวยความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม เมื่อผู้เสียหายจากเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐจัดสรรงบประมาณและเยียวยาให้ในลักษณะพิเศษ ผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมและได้รับผลกระทบจากการดำเนินคดีโดยตนเองไม่ได้กระทำความผิดก็เช่นเดียวกัน บุคคลเหล่าก็คือผู้เสียหายในเหรียญอีกด้านหนึ่ง ที่สมควรได้รับการเยียวยาหรือช่วยเหลือด้วยเช่นกัน เว้นแต่ว่ารัฐจะมองว่าบุคคลเหล่านี้คือศัตรู

นอกจากความเสียหายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรายวันจะเห็นได้ว่าบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง หรือที่อยู่ระหว่างการพิจารณา หากต้องถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดี บุคคลเหล่านี้ก็คือผู้เสียหาย และได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบเช่นเดียวกัน มีจำเลยในคดีความมั่นคงหลายคดีที่ต้องถูกคุมขังเป็นเวลาหลายปีระหว่างการพิจารณา สุดท้ายศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด ทำให้เกิดผลกระทบทั้งต่อตนเองและครอบครัวอย่างมหาศาล ความรับผิดชอบของรัฐต่อบุคคลเหล่านี้ไม่ต่างอะไรกับผู้เสียหายที่ได้รับเงินเยียวยาจากรัฐในเหตุการณ์ความไม่สงบ ถ้ามองจากหลักการดังที่ได้กล่าวมาแล้วภายหลังที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว จำเลยหลายรายได้มาร้องเรียนมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม เพื่อร้องขอเงินค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายในระหว่างที่ถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดี เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายหรือผลกระทบที่ได้รับกับตัวเองหรือครอบครัวในระหว่างที่ต้องถูกคุมขังในเรือนจำ

ทางมูลนิธิจึงได้ให้ความช่วยเหลือในการดำเนินการเรื่องเอกสาร และประสานงานไปยังสำนักงานยุติธรรมจังหวัดที่เป็นหน่วยงานต้นเรื่องเพื่อส่งต่อให้คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา เพื่อช่วยเหลือบุคคลเหล่านั้น แต่เมื่อยื่นเรื่องเสนอไปยังคณะกรรมการแล้ว ปรากฏว่าคณะกรรมการจะพิจารณาในทำนองว่า ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทน เนื่องจากเหตุผลแห่งคำพิพากษาของศาลที่ยกฟ้อง เพราะศาลมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 วรรคสอง จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ในการได้รับเงินค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ผู้ร้องก็สามารถอุทธรณ์คำวินิจฉัย แม้มติคณะกรรมการดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยของฝ่ายบริหาร แต่อย่างน้อยก็ส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจในการใช้ชีวิตใหม่ สำหรับจำเลยในคดีความมั่นคงที่เพิ่งก้าวเท้าออกมาจากเรือนจำ ภายหลังที่ถูกขังเป็นแรมปี เมื่อเร็ว ๆ นี้ นับว่าเป็นข่าวดีที่คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาได้พิจารณาจ่ายเงินทดแทนให้แก่จำเลยในคดีความมั่นคง 2 ราย โดยพิจารณาตามความเสียหายที่ได้รับ

คำวินิจฉัยดังกล่าวนับว่าเป็นมิติใหม่ของกระทรวงยุติธรรม ในบทบาทด้านการอำนวยความเป็นธรรมให้กับประชาชน และเป็นการจุดประกายความหวังของจำเลยที่ได้รับผลกระทบจากการถูกดำเนินคดี โดยเฉพาะคดีความมั่นคงที่มองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ และอาจกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ของสังคมปลายด้ามขวานที่เป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบอย่างหนึ่งของรัฐที่มีต่อประชาชน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คนทำงาน เดือนสิงหาคม 2554

Posted: 19 Sep 2011 07:29 AM PDT


Published under a Creative Commons License By attribution, non-commercial

ม.อ.ปัตตานีเตรียมเปิดพรีคลินิก รองรับคณะใหม่พยาบาลศาสตร์

Posted: 19 Sep 2011 07:21 AM PDT

 

นายซุกรี หะยีสาแม รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและกิจการพิเศษ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะพยาบาลศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ยังคงอยู่ในระหว่างการจัดตั้ง เนื่องจากหลักสูตรยังไม่พร้อม กำลังรอการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จึงไม่สามารถเปิดรับนักศึกษาได้ ถึงแม้จะมีผู้รักษาการคณบดีแล้วก็ตาม

นายซุกรี เปิดเผยต่อไปว่า ถึงแม้การจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์จะยังไม่เรียบร้อย แต่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ก็เตรียมการจัดตั้งโครงการพรีคลีนิก ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับคณะพยาบาลศาสตร์ ไว้รองรับนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ ที่คาดว่าจะสามารถเปิดการเรียนการอสนได้ในเร็วๆ นี้

นายซุกรี เปิดเผยอีกว่า ก่อนหน้านี้ เมื่อประมาณ 5 ปีที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การให้บริการคณะพยาบาลศาสตร์ และคณะวิชาทางการแพทย์ เมื่อมหาวิทยาลัยจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นักศึกษาชั้นปีที่ 1–2 ของคณะดังกล่าว และคณะที่เกี่ยวข้อง จะต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเปิดสอนในกลุ่มวิชาเรียนบังคับ ประกอบด้วย รายวิชากายวิภาค สรีระวิทยา เภสัชวิทยา เวชศาสตร์ชุมชน จุลชีววิทยา รายวิชาทางการแพทย์ และพรีคลีนิค โดยผู้ที่จัดการเรียนการสอนในภาควิชาพรีคลีนิค จะเป็นอาจารย์ในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยพรีคลินิกที่เป็นอีกหนึ่งภาควิชาที่เพิ่มขึ้นมา เพื่อยกระดับมาตรฐานการเรียนการสอนด้านสุขภาพ

“สำหรับทิศทางของคณะพยาบาลศาสตร์ ในปีแรกที่เปิดสอนจะเน้นการเรียนการสอนเป็นสำคัญ ทั้งนี้อาจารย์แต่ละคนต้องทำวิจัยในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความถนัดของแต่ละบุคคล ในอนาคตจะเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนในระดัลปริญญาโทและปริญญาเอกตามลำดับ” นายซุกรี กล่าว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คนงานล่าชื่อดันนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ปริญญาตรี 15,000 บาท

Posted: 19 Sep 2011 06:43 AM PDT

เมื่อวันที่ 16 ก.ย. ที่ผ่านมาเครือข่ายองค์กรแรงงานเพื่อการปฏิรูประบบค่าจ้างเพื่อความเป็นธรรมออกจดหมายเชิญชวน พี่น้องผู้ใช้แรงงาน ผู้นำแรงงาน สหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน สมาพันธ์แรงงาน สภาองค์การแรงงาน เครือข่ายแรงงานนอกระบบ เครือข่ายแรงงานข้ามชาติ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของรัฐและรัฐวิสาหกิจ องค์กรประชาชน ลงชื่อเพื่อผลักดันให้รัฐบาลดำเนินนโยบายตามที่หาเสียงกับประชาชน (นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ปริญญาตรี 15,000 บาท) โดยมีรายละเอียดดังนี้


 

เรียน พี่น้องผู้ใช้แรงงาน ผู้นำแรงงาน สหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน สมาพันธ์แรงงาน สภาองค์การแรงงาน เครือข่ายแรงงานนอกระบบ เครือข่ายแรงงานข้ามชาติ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของรัฐและรัฐวิสาหกิจ องค์กรประชาชน 
 
 
ตามที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยได้ประกาศนโยบายในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ที่เกี่ยวกับพี่น้องผู้ใช้แรง คือ การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรายวัน 300 บาท ทันที ทั่วประเทศ และการปรับขึ้นเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาทนั้น
 
นโยบายดังกล่าวถือเป็นความคาดหวังในการที่จะนำมาปฏิบัติ แต่วันนี้ผู้ใช้แรงงานเริ่มเกิดความไม่เชื่อมั่น ในความไม่ชัดเจนที่จะปฏิบัติได้จริงของรัฐบาล เกิดความคลุมเครือ เนื่องจากเสียงคัดค้านของนายจ้าง ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้า โดยอ้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ และภาวะเงินเฟ้อมากขึ้น ซึ่งสร้างความสับสนให้กับสังคมเป็นอย่างยิ่ง
 
เครือข่ายองค์กรแรงงานเพื่อการปฏิรูประบบค่าจ้างเพื่อความเป็นธรรม ประกอบด้วย สภาองค์การลูกจ้าง สหพันธ์แรงงาน กลุ่มสหภาพแรงงานในย่านอุตสาหกรรมต่างๆ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เครือข่ายแรงงานนอกระบบ และเครือข่ายแรงงานข้ามชาติ มีความเห็นว่า นโยบายดังกล่าวนั้นเป็นประโยชน์กับผู้ใช้แรงงานโดยเฉพาะผู้ใช้แรงงานที่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำไม่ถึง 300 บาท ที่มีอยู่ทั่วประเทศ
 
จากการสำรวจข้อมูลค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตรายวันของผู้ใช้แรงงานเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2554 พบว่าผู้ใช้แรงงาน 1 คนมีค่าใช้จ่ายรายวันประมาณ 348 บาท และค่าใช้จ่ายรายวันของผู้ใช้แรงงานและครอบครัวรวม 3 คน ประมาณ 562 บาท ซึ่งตามหลักการอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศนั้น ค่าจ้างขั้นต่ำจะต้องเป็นค่าจ้างที่เพียงพอสำหรับการดำรงชีพอย่างมีศักดิ์ศรีของแรงงานและสมาชิกในครอบครัวอีกสองคน ฉะนั้นค่าจ้างขั้นต่ำที่แท้จริงจะต้องสูงกว่านี้
 
เครือข่ายองค์กรแรงงานเพื่อการปฏิรูประบบค่าจ้างเพื่อความเป็นธรรมเห็นว่า นโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ทั่วประเทศ และเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท ถือเป็นก้าวที่สำคัญในการเพิ่มคุณภาพชีวิตแรงงานให้ดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี อยู่ได้ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคมีราคาสูง และจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนนโยบายการพัฒนาประเทศ ที่มุ่งเน้นการเจริญเติบโตด้วยการส่งเสริม การปกป้องอุตสาหกรรมส่งออก ที่อาศัยการใช้แรงงานเข้มข้นราคาถูก มองข้ามความทุกข์ยากของผู้ใช้แรงงาน ที่มีชีวิตอยู่อย่างยากลำบากในสังคมมานานหลายสิบปี กับการใช้นโยบายกดค่าจ้างขั้นต่ำ ทำให้ผู้ใช้แรงงานต้องอยู่ในภาวะคุณภาพชีวิตที่ต่ำ มาสู่นโยบายการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยใช้ค่าจ้างที่เป็นธรรมเป็นเครื่องมือ อันจะทำให้เราสามารถสร้างอำนาจซื้อสร้างตลาดภายในให้เข้มแข็ง ซึ่งจะทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น พร้อมกับจะทำให้เกิดการกระจายรายได้และความเป็นธรรมทางสังคม
 
เครือข่ายองค์กรแรงงานเพื่อการปฏิรูประบบค่าจ้างเพื่อความเป็นธรรม จึงขอเชิญชวนพี่น้องผู้ใช้แรงงาน รวมลงชื่อเพื่อผลักดันให้รัฐบาลดำเนินนโยบายตามที่หาเสียงกับประชาชน ตามแบบฟอร์มลงชื่อนี้ โดยส่งรายชื่อกลับมายัง คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เลขที่ 503/20 ถนนนิคมรถไฟมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรสาร 02-2513170 และอีเมล์ tlsc.labour@gmail.com หรือที่สภาพแรงงาน/สหพันธ์แรงงาน/สมาพันธ์แรงงาน/กลุ่มสหภาพแรงงาน/สภาองค์การลูกจ้าง/กลุ่มองค์กรแรงงาน/กลุ่มองค์กรประชาชน ที่ท่านสังกัด ภายในวันที่ 2 ตุลาคม 2554 ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะนำเสนอต่อรัฐบาลในการรณรงค์วัน Decent Work วันที่ 7 ตุลาคม 2554 นี้    
 
         
 
เครือข่ายองค์กรแรงงานเพื่อการปฏิรูประบบค่าจ้างเพื่อความเป็นธรรม
 
16 กันยายน 2554


 

 

AttachmentSize
แบบฟอร์มลงชื่อ540.5 KB
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "11+8 = 19 Sep"

Posted: 18 Sep 2011 10:18 PM PDT

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "11+8 = 19 Sep"

สิทธิธรรมเหนือสิทธิเสรีภาพ, แหล่งอำนาจและรากเหง้าของปัญหาสังคมการเมืองไทย

Posted: 18 Sep 2011 06:48 PM PDT

สิทธิธรรมคือ การใช้อำนาจเหนือชีวิตและความตายของผู้คนโดยอ้างแหล่งที่มาของอำนาจมาจากที่ใด ๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น สายเลือดศักดิ์สิทธิ์ สมมติเทพ ทศพิธราชธรรม เทวราชา ศาสนจักร วิมุติภาวะ หรือความดีงามความชอบธรรมอื่นใด

สังคมการเมืองของมนุษย์ในยุคก่อนสมัยใหม่คือสังคมที่ปกครองด้วยสิทธิธรรม

รัฐที่ปกครองโดยศาสนา ก็คือ รัฐที่ปกครองด้วยสิทธิธรรมโดยอ้างอิงแหล่งอำนาจตามความเชื่อทางศาสนา

รัฐที่ปกครองโดยกษัตริย์ ก็คือ รัฐที่ปกครองด้วยสิทธิธรรมโดยอ้างอิงแหล่งอำนาจจากที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโดยสายเลือดของบรรพบุรุษ โดยความเชื่อมโยงกับพระเจ้า โดยความเชื่อมโยงกับพระพุทธเจ้า โดยความเชื่อมโยงกับเทวดา หรืออำนาจเหนือมนุษย์ใด ๆ ก็ตามแต่จะรังสรรค์ขึ้นมา

กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนับแต่รัชกาลที่ ๑ ถึง รัชกาลที่ ๔ นั้นอ้างอิงแหล่งอำนาจตามจารีตของอยุธยาที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ ประกอบไปด้วยอำนาจพระพุทธเจ้า อำนาจเทวดา อำนาจผี และเพิ่มอำนาจจากทศพิธราชธรรม ประกอบกับอำนาจชนเผ่าก่อนอารยธรรม คืออำนาจของกำลังที่เหนือกว่าผู้ปราบยุคเข็ญของความไร้ระเบียบ (กรุงแตก) และกอบกู้ระเบียบใหม่รวบรวมบ้านเมืองกลับมาให้เป็นปึกแผ่นได้ เรื่องเล่าเกี่ยวกับสัญญาวิปลาสของพระเจ้าตากและจลาจลเมื่อครั้งกรุงธนบุรีมีหน้าที่ทำให้เห็นว่า ความไร้ระเบียบตั้งแต่ครั้งกรุงแตกยังไม่จบสิ้น แต่จบสิ้นก็ต่อเมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากระษัตรศึกเสด็จกลับมาปราบจลาจล และขึ้นเถลิงอำนาจสถาปนากรุงขึ้นใหม่ให้วัฒนาสถาวรสืบไปชั่วกัลปาวสาน

ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๔ เมื่อกรุงรัตนโกสินทร์ต้องเผชิญกับอำนาจของตะวันตกที่มาพร้อมกับแสนยานุภาพที่เหนือกว่า

ทำให้เวลาต่อมารัชการที่ ๕ ต้องปรับตัวในการอ้างอิงแหล่งอำนาจด้วยการอ้างแหล่งอำนาจใหม่สมทบเพิ่มเข้ามา และนั่นคือ “ความเป็นสมัยใหม่”

การเสด็จประพาสยุโรป การเลิกทาส การสถาปนาสถาบันการศึกษา และการสร้างถนน รางรถไฟ และความก้าวหน้าอื่น ๆ ทั้งมวลล้วนคือการสถาปนาสิทธิธรรมของผู้สามารถเข้าถึง “ความเป็นสมัยใหม่” ก่อนใครในสยาม

เป็นอุบัติการณ์ที่ย้อนกลับมาทิ่มแทงหลักการของคานท์ เมื่อตัว “ความเป็นสมัยใหม่” เองกลายเป็นแหล่งอ้างอิงของการใช้สิทธิธรรมที่เหนือกว่า ทั้งที่การกำเนิดขึ้นของสมัยใหม่คือการปฏิเสธสิทธิธรรมทั้งมวลที่มีมาก่อนหน้า

ความสว่างคือการปลดปล่อยคนออกจากตัวตนแห่งความเสื่อมซึ่งอยู่ในโอวาท การอยู่ในโอวาทของคนคือความไม่สามารถที่จะมีความเข้าใจโดยปราศจากการชี้นำจากผู้อื่น ตัวตนอันเสื่อมสภาพนี้คือสิ่งที่อยู่ในโอวาทและมันก่อให้เกิดความลวง ไม่ใช่เพราะไม่สามารถใช้เหตุผล แต่เพราะขาดไร้ซึ่งการตัดสินใจและความกล้าหาญที่จะใช้เหตุผลโดยปราศจากการชี้นำของผู้อื่น ซัปเออเร ออเด! “จงกล้าที่จะใช้เหตุผลของคุณเอง” – นั่นคือคำขวัญของความสว่างทางปัญญา [1]

หลักการของยุคแสงสว่างอันเป็นยุคซึ่งให้กำเนิดความเป็นสมัยใหม่ คือ จงกล้าที่จะรู้! จงกล้าที่จะใช้เหตุผลของตนเอง!! เพราะเหตุว่า มนุษย์เกิดมาเสรี แต่เขาถูกพันธนาการอยู่ทุกแห่งหน [2] สิ่งที่คนสมัยใหม่จะต้องตระหนักก่อนสิ่งอื่นใดก็คือ เขาเกิดมาพร้อมกับสิทธิเสรีภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องอยู่เหนือสิทธิธรรมทั้งหมดทั้งปวงไม่ว่าสิทธิธรรมนั้นจะอ้างอิงแหล่งอำนาจใดก็ตาม มนุษย์ต้องยอมตัดใจจากการพึ่งพิงสิทธิธรรมซึ่งอ้างแหล่งที่มาจากสิ่งเหนือมนุษย์ และต้องก้าวเดินต่อไปด้วยขาของตนเอง พร้อมกับเสรีภาพและหน้าที่ซึ่งวางอยู่บนบ่า

อำนาจเพียงหนึ่งเดียวที่สามารถบังคับสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ได้ก็คืออำนาจของรัฏฐาธิปัตย์ ซึ่งต้องมาจากเจตจำนงร่วมของคนทั้งสังคม อันบังเกิดและเป็นไปก็เพื่อรับรองและปกป้องสิทธิเสรีภาพแต่กำเนิดของมนุษย์มิให้ถูกละเมิดด้วยสิทธิธรรม หรืออำนาจโบราณก่อนอารยธรรมเช่นการใช้กำลังที่เหนือกว่า ผู้แข็งแรงที่สุดไม่เคยแข็งแรงพอที่จะเป็นนายได้ตลอดไป ถ้าเขาไม่แปลงกำลังของตนไปเป็นสิทธิ และทำให้การเชื่อฟังตนกลายเป็นหน้าที่ [3]

แม้แต่ผู้แข็งแรงก็ต้องสมัครใจยอมรับอำนาจของเจตจำนงร่วม ด้วยเหตุว่าเขาเองก็อาจถูกสังหารในยามหลับ รัฏฐาธิปัตย์คือเจตจำนงร่วม และเหตุที่มันมีอำนาจเหนือชีวิตและความตายของผู้คนก็เพราะว่ามันคือสิทธิเสรีภาพของคนทั้งสังคมซึ่งเป็นสิทธิเสรีภาพที่ใหญ่กว่าคนเพียงคนเดียว และคนแต่ละคนยอมเข้ามาอยู่ใต้อำนาจของรัฏฐาธิปัตย์ก็ด้วยเหตุของการยอมรับการปกป้องคุ้มครองจากสิทธิเสรีภาพที่มีพลังกว่าของตนเพียงลำพัง เพื่อว่าตนจะไม่ถูกล่วงละเมิดจากสิทธิธรรม หรืออำนาจก่อนอารยธรรม

บ่อเกิดของความเป็นสมัยใหม่จึงไม่ใช่การเลิกทาส ไม่ใช่ประชาธิปไตย ไม่ใช่รัฐสภา ไม่ใช่รัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เรือกลไฟ ไม่ใช่ไฟฟ้า ไม่ใช่ถนน ไม่ใช่รถไฟ ไม่ใช่สิ่งก่อสร้างใด ๆ ไม่ใช่อะไรทั้งสิ้นนอกจากการตระหนักว่า มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความเท่าเทียมกันในสิทธิเสรีภาพ ซึ่งจะต้องไม่ถูกล่วงละเมิด

อำนาจเดียวที่คนสมัยใหม่ยอมอยู่ในบังคับก็คืออำนาจของรัฏฐาธิปัตย์ซึ่งอ้างอิงแหล่งอำนาจจากสิทธิเสรีภาพของคนทุกคนในสังคมที่ยอมเข้ามาอยู่ในบังคับนั้นเอง ดังนั้นสิทธิเสรีภาพจึงเป็นแหล่งอำนาจโดยตัวของมันเอง และเป็นแหล่งอำนาจแหล่งเดียวเท่านั้นที่โลกสมัยใหม่ยอมรับ

แต่การณ์ที่บังเกิดในสังคมไทยกลับกลายเป็นว่า “ความเป็นสมัยใหม่” ได้กลายเป็นแหล่งอำนาจให้กับการใช้สิทธิธรรมเข้าบังคับชีวิตและความตายของผู้คน โดยที่สิทธิเสรีภาพความเท่าเทียมของมนุษย์ไม่เคยดำรงอยู่ หรือกล่าวอีกทางได้ว่า ผู้ปกครองได้แปลง “ความเป็นสมัยใหม่” ให้กลายเป็นนามธรรมเหนือมนุษย์เช่นเดียวกับ พระพุทธเจ้า, เทวดา, ผี เพื่อใช้เป็นแหล่งอ้างอิงอำนาจ และบังคับใช้สิทธิธรรมต่อไปในลักษณาการที่โดยแก่นแท้แล้วไม่ผิดไปจากเดิม เพียงแต่ปรุงแต่งโฉมหน้าของอำนาจขึ้นใหม่ให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมของสมัยใหม่

ความเป็นสมัยใหม่ในสังคมไทยจึงเป็นเพียงองค์จำแลงที่สามารถเป็นบ่อเกิดของอำนาจได้ในตัวของมันเอง โดยที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพความเท่าเทียมที่เป็นต้นกำเนิด เป็นหลักการ และสาระสำคัญที่สุดของความเป็นสมัยใหม่ที่แท้จริงแม้แต่น้อย

แต่แม้ว่าความเป็นสมัยใหม่จะกลายเป็นแหล่งอำนาจของสิทธิธรรมตามที่กล่าวมาแล้ว ก็ไม่อาจปกปิดและค้ำจุนความอ่อนแอที่เกิดจากการสืบทอดสิทธิธรรมได้ เมื่อเปลี่ยนรัชกาลจากรัชกาลที่ ๕ มาสู่ที่ ๖ และมาสู่ที่ ๗ ในที่สุดผู้คนจำนวนหนึ่งก็ได้เห็นแล้วว่า องค์จำแลงก็คือองค์จำแลง มันหาได้เป็นตัวตนที่แท้จริงของความเป็นสมัยใหม่ การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ จึงบังเกิดขึ้น

แต่ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุของเคราะห์กรรมอันใดก็ตาม คณะราษฎร์กลับหลงลืมประเด็นสำคัญที่สุดจนทำให้เกิดการยินยอมให้มีการแก้ไขข้อความเล็กน้อยในรัฐธรรมนูญ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ โดยเติมคำว่า “ชั่วคราว” ลงไป [4] จนกระทั่งนำไปสู่รัฐธรรมนูญ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕

สาระสำคัญที่สุดของเหตุการณ์นี้ไม่ใช่เนื้อหาของตัวรัฐธรรมนูญ แต่เป็นปัญหาของแหล่งกำเนิดของรัฐธรรมนูญ การเกิดขึ้นของรัฐธรรมนูญ ๑๐ ธันวาคม คือการเปิดพื้นที่เล็ก ๆ ให้กับสิทธิธรรมที่มีมาแต่เดิม จนกระทั่งก่อให้เกิดการบิดเบือนเหตุการณ์ทางสังคมการเมือง และนำไปสู่การบิดเบือนอำนาจทางการเมือง การเกิดขึ้นของรัฐธรรมนูญ หรือแหล่งที่มาของรัฐธรรมนูญกลายเป็น “การต่อรอง” ระหว่างกษัตริย์กับคณะราษฎร์ หรือกระทั่งเป็นการ “มอบให้” ของกษัตริย์ไปในที่สุด

การที่รัฐธรรมนูญซึ่งเปรียบเสมือนกายที่จับต้องได้ของเจตจำนงร่วมได้กลายเป็นสิ่งที่พระราชทานมาจากกษัตริย์นั้น มีความหมายเท่ากับ การยินยอมให้สิทธิธรรมที่มีมาแต่เดิมดำเนินสืบต่อไป แม้ว่ารัฐธรรมนูญนั้นจะผูกมัดไว้ซึ่งกษัตริย์ให้ต้องปฏิบัติตาม มันก็เป็นเพียงการล่ามโซ่สิทธิธรรมก่อนสมัยใหม่ไว้ชั่วคราว รอคอยวันที่โซ่ขึ้นสนิมและสิ่งที่ถูกล่ามไว้จะหลุดออกมาอีกครั้ง

“มนุษย์เกิดมาเสรี แต่เขาถูกพันธนาการอยู่ทุกแห่งหน” หมายความว่า ไม่มีใครสามารถมอบเสรีภาพหรือความเท่าเทียมให้กับมนุษย์ได้ แม้แต่สิทธิธรรมที่อ้างว่ามาจากพระเจ้า สิทธิเสรีภาพของมนุษย์มีอยู่แล้วในตัวของมนุษย์เอง ไม่ใช่สิ่งที่ได้รับมอบจากใครทั้งนั้น นี่คือสำนึกเบื้องลึกของความเป็นสมัยใหม่ที่แท้จริง แต่มนุษย์ถูกพันธนาการอยู่ทุกแห่งหน หมายความว่า เขาถูกผูกมัดไว้ด้วย “หน้าที่” ในอันที่จะต้องปกป้องสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมดังกล่าวไว้ในนามของเจตจำนงร่วม เพื่อมิให้ถูกละเมิดโดยสิทธิธรรมหรืออำนาจอนารยะใด

สิ่งที่ทำให้คณะราษฎร์ต้องพลาดหวัง คือการไม่ได้ “ยกเลิก” สิทธิธรรมอย่างถาวร และสร้างสังวรให้สังคมไทยมองเห็นอย่างแท้จริงว่า สิทธิธรรมไม่ใช่สิทธิธรรมอีกต่อไป มันไม่มีความชอบธรรมที่จะมาอ้างใช้อำนาจบังคับเหนือชีวิตและความตายของผู้คนอีกต่อไป อำนาจเดียวที่คนจะยอมรับคืออำนาจจากเจตจำนงร่วม และเหตุที่เจตจำนงร่วมมีอำนาจก็เพราะมนุษย์แต่ละคนล้วนเกิดมาพร้อมกับสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน หากไม่มีสิทธิดังกล่าวก็ไม่มีเจตจำนงร่วม เพราะนั่นหมายความว่า มนุษย์ยังไม่ได้เป็นมนุษย์ มนุษย์จะเป็นมนุษย์อย่างแท้จริงได้ต้องตระหนักใน “เจตจำนงเสรี” ของตน ซึ่งมาพร้อมกับ “ความรับผิดชอบ” การอ้างสิทธิธรรมคุณงามความดีต่าง ๆ มาบงการบังคับใช้อำนาจเหนือมนุษย์อื่น คือการทำให้มนุษย์กลายเป็นทาส เป็นเด็ก เป็นคนที่ไม่โต สิทธิธรรมเหล่านี้มีได้ตามวัฒนธรรม หรือจารีตประเพณี หากแต่ต้องอยู่ภายใต้การบังคับของสิทธิเสรีภาพแต่กำเนิด อันเป็นสิทธิเสรีภาพจริงแท้ นี่คือแหล่งอำนาจเดียวของรัฏฐาธิปัตย์ในโลกสมัยใหม่

ในเมื่ออำนาจบังคับเหนือชีวิตและความตายของสิทธิธรรมไม่ได้ถูกยกเลิกอย่างถาวร คนยังไม่ตระหนักอย่างแท้จริงว่าตนมีสิทธิเสรีภาพ และมีหน้าที่ในการปกป้องสิทธิเสรีภาพ ความเป็นสมัยใหม่ก็เป็นเพียงองค์จำแลงและแหล่งอ้างอิงให้กับการใช้อำนาจที่ไม่มีความชอบธรรมต่อไป โดยมิได้สังวรเลยว่า รัฐสภาก็ดี รัฐธรรมนูญก็ดี รัฐบาลก็ดี ศาลก็ดี กฎหมายก็ดี องค์กรอิสระก็ดี สถาบันทางสังคมการเมืองทั้งหมดเหล่านี้และอื่นใด หรือแม้แต่ประชาชนเองก็ดี มีหน้าที่เบื้องต้นคือต้องปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้คน ไม่ใช่เพราะว่ามันเป็นสิ่งดีงาม แต่เพราะว่ามันคือแหล่งอำนาจต้นกำเนิดเพียงแหล่งเดียวของตัวสถาบันนั้น ๆ และตัวคน ๆ นั้นเอง

 

เผด็จการมักกล่าวอ้างชาตินิยมเพื่อรักษาอำนาจ แต่แหล่งอำนาจของเผด็จการอยู่ในอนาคตเสมอ

เผด็จการคือรูปแบบการปกครองก่อนสมัยใหม่ที่อยู่ในโลกสมัยใหม่ได้ด้วยการอ้างแหล่งอำนาจจากอุดมคติ หรืออีกนัยหนึ่งคือสัญญาซึ่งสิทธิเสรีภาพความเท่าเทียมที่จะมาถึงในวันข้างหน้า หากแต่แท้แล้วเป็นอนาคตที่ไม่เคยมาถึง

นโปเลียนอ้างสิทธิเสรีภาพความเสมอภาคแห่งสาธารณรัฐในการคงอำนาจและทำสงครามทั่วยุโรป ฮิตเลอร์ใช้ชาตินิยมในการครองอำนาจและเป็นพลังในการทำสงครามขยายอำนาจ

เหตุใดการปฏิวัติคิวบาจึงไม่นำไปสู่ประชาธิปไตย ไม่ใช่เพราะสัญญาที่ไม่เคยมาถึงหรอกหรือ

เหตุการณ์ในพม่าคือการซื้อเวลาและต่อสัญญาไปไม่จบสิ้นใช่หรือไม่

เผด็จการไทยหลังจอมพล ป. เป็นต้นมาอาจจะเป็นกรณีที่ไม่พบบ่อยนัก เนื่องจากเป็นเผด็จการที่อ้างสิทธิธรรมแบบก่อนสมัยใหม่ผสมกลมกลืนไปกับองค์จำแลงของความเป็นสมัยใหม่

ทุกครั้งที่มีการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน จะต้องมีการอ้างนักการเมืองคอรัปชั่น และอ้างชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ความเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์ของรัฐบาลเผด็จการทหารนั้นอ้างใช้แหล่งอำนาจที่หลากหลาย ประการที่หนึ่ง คือ ความเป็นผู้ปราบคอร์รัปชั่น หรือผู้กวาดล้างความไม่ดี ซึ่งหมายความอีกนัยว่า สัญญาถึงอนาคตที่จะดีขึ้น การอ้างแหล่งอำนาจจาก “สัญญา” นี้คือการอ้างแหล่งอำนาจจากอนาคตอันเป็นลักษณะของเผด็จการโดยทั่วไป

ประการที่สอง พร้อมกันนั้นก็เป็นการบอกให้รู้ว่า คณะเผด็จการนี้จะอยู่เพียง “ชั่วคราว” เท่านั้น เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เพื่อชำระสะสางนักการเมืองเลว เพื่อซักฟอกระบบ เพื่ออะไรก็ตามแต่จะอ้าง โดยที่ความรู้สึก “ชั่วคราว” นี้ผูกพันกับ “สัญญา” ในประการที่หนึ่ง และก่อให้เกิดความชอบธรรมอีกลักษณะหนึ่ง

ประการที่สาม ทุกครั้งที่มีการรัฐประหารก็จะมีการอ้างสถาบันกษัตริย์ในการทำรัฐประหาร ไม่ว่าจะเป็นการอ้างความจงรักภักดี หรืออ้างว่าสถาบันถูกล่วงละเมิด โดยที่ไม่มีแม้แต่ครั้งเดียวที่สำนักพระราชวังออกมาท้วงติง ปฏิเสธ หรือไม่ยอมรับ แม้แต่การรัฐประหารล่าสุดเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 นอกจากไม่มีการปฏิเสธแล้ว ต่อมาภายหลังในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช เมื่อกรรมาธิการองค์การตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชน และกองทุนสภาผู้แทนราษฎร เรียกเลขาธิการ ป.ป.ช.เข้าชี้แจงในกรณีไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สำนักราชวังก็ได้มีหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ป.ป.ช.ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะยึดอำนาจ และถือเป็นรัฏฐาธิปัตย์ผู้มีอำนาจเด็ดขาดขณะนั้น

ดังนั้นสิทธิธรรมของกษัตริย์ซึ่งเป็นแหล่งอำนาจก่อนสมัยใหม่ จึงได้กลายเป็นแหล่งอ้างใช้อำนาจของระบอบเผด็จการในไทยมาโดยตลอด โดยอีกนัยหนึ่งคือการต่อสัญญาให้กับสิทธิธรรมก่อนสมัยใหม่ไปไม่สิ้นสุด

อ้างอิง:

  1. Immanuel Kant, Answering the question: What is Enlightenment?, 1784
  2. ฌอง ฌากส์ รุสโซ, สัญญาประชาคม หลักแห่งสิทธิทางการเมือง แปลโดย วิภาดา กิตติโกวิท. ทับหนังสือ: กรุงเทพฯ, 2550. น. 3
  3. ฌอง ฌากส์ รุสโซ, สัญญาประชาคม หลักแห่งสิทธิทางการเมือง แปลโดย วิภาดา กิตติโกวิท. ทับหนังสือ: กรุงเทพฯ, 2550. น. 8
  4. ดู ณัฐพล ใจจริง, “ราชธรรมนูญ” กับ “ราษฎร์ธรรมนูญ” : ปัญหากำเนิด “ระบอบรัฐธรรมนูญ และความขัดแย้งของขนาดพระราชอำนาจหลังการปฏิวัติ. (http://thaienews.blogspot.com/2010/12/blog-post_4154.html)
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น