โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

แผนพัฒนาภาคใต้ วันนี้มีแต่เสียงต้าน

Posted: 12 Sep 2011 08:36 AM PDT

 

โครงการพัฒนา – ภาพโปสเตอร์ ชื่อ ‘ระเบิดเวลาภาคใต้ จะเป็นแหล่งอาหารหรือฐานเมืองมลพิษ’
ของเครือข่ายขบวนการประชาชนภาคใต้
ที่แสดงให้เห็นถึงโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นทั่วทั้งพื้นที่ภาคใต้
(ภาพจาก http://www.ecosouthern.com/image/index/media/poster_ระเบิดเวลาภาคใต้.jpg)

หากพิจารณาจากแผนพัฒนาภาคใต้ที่มีอยู่ในขณะนี้ ภาพโรงงานอุตสาหกรรมน้อยใหญ่ไปจนถึงมหึมา จะทยอยผุดขึ้นทั่วทั้งภาคใต้ ไล่ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจนถึงนราธิวาส อันเป็นภาพที่ไม่แตกต่างไปจากภาคตะวันออกของประเทศไทยในปัจจุบัน

เริ่มจากประตูสู่ภาคใต้คือจังหวัดชุมพร ที่เป็นหนึ่งในพื้นที่เป้าหมายของโครงการขนาดใหญ่ เริ่มจากอุตสาหกรรมเหล็กในพื้นที่อ่าวช่องพระ ตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว ซึ่งผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็ก ของกระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระบุว่าเป็น 1 ใน 10 แห่ง ใน 8 จังหวัด ที่มีศักยภาพรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็ก

เป็น 1 ใน 2 พื้นที่เป้าหมายของบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) ซึ่งอีกแห่งอยู่ที่บ้านเขาแดง ตำบลกุยเหนือ อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยนิคมอุตสาหกรรมเหล็กต้องการใช้พื้นที่ประมาณ 5,000–10,000 ไร่ ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานรองรับ ได้แก่ ท่าเรือน้ำลึกระวางขนาด 200,000 ตัน ระบบน้ำใช้ในการผลิตประมาณ 30–50 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ระบบขนส่งและโลจิสติกส์ ระบบสาธารณูปโภค และระบบกำจัดของเสีย เป็นต้น

เมื่อมีอุตสาหกรรม ก็ต้องมีแหล่งพลังงาน ดังนั้นโครงการที่ตามมาคือ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีแผนจะตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่บ้านปากน้ำละแม ตำบลปากน้ำ อำเภอละแม กำลังการผลิตแห่งละ 1,000 เมกะวัตต์ เป็น 1 ใน 2 พื้นที่เป้าหมายในภาคใต้ จากพื้นที่เป้าหมายทั่วประเทศ 5 แห่ง

ที่ผ่านมาโครงการนี้ จะถูกต่อต้านอย่างหนักจากชาวบ้านในพื้นที่ จนนำมาสู่การเลื่อนแผนพัฒนาไฟฟ้านิวเคลียร์ออกไปอีก 3 ปี แต่ก็มีเหตุปัจจัยสำคัญมาจากเหตุระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมา ประเทศญี่ปุ่น ที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นสึนามิ เมื่อเดือนมีนาคม 2554

เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีเป้าหมายจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่บ้านบางจาก บริเวณอ่าวยายไอ๋ หมูที่ 5–6 ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนขนาดกำลังผลิตเครื่องละ 700–1,000 เมกะวัตต์ 4 เครื่อง รวมกำลังการผลิต 4,000 เมกะวัตต์

ขณะเดียวกันได้ส่งคนลงไปทำงานมวลชนสัมพันธ์ในพื้นที่อำเภอละแม ซึ่งเป็นพื้นที่ติดต่อกับอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จนถูกต่อต้านอย่างหนัก มาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2553

อีกโครงการที่จะสร้างขึ้นมารองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมคือ การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งในจังหวัดชุมพร มี 2 เขื่อนคือ เขื่อนรับร่อและเขื่อนท่าแซะ ตำบลรับร่อ อำเภอท่าแซะ

ทั้ง 2 โครงการ มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเมื่อปี 2536–2538 ขณะที่ชาวบ้านออกมาต่อต้านอย่างหนัก เนื่องจากมีผู้ได้รับผลกระทบถึง 7 หมู่บ้าน กระทั่งปลายปี 2550 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ยกเลิก แต่ปัจจุบัน ชาวบ้านยังหวาดผวา เพราะรัฐบาลจะฟื้นโครงการนี้ขึ้นมาอีกเมื่อไหร่ก็ได้

ถัดจากชุมพรลงมาคือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นจังหวัดหนึ่งที่เป็นเป้าหมายของโครงการขนาดใหญ่อย่างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่บ้านคันธุลี อำเภอท่าชนะ กำลังการผลิต 1,000 เมกะวัตต์

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง จังหวัดสุราษฎ์ธานี เป็นอีกหนึ่งโครงการใหญ่ มีมาตั้งแต่ปี 2510 ประกอบด้วย เขื่อนเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ 2 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) ซึ่งสร้างเสร็จไปแล้ว และเขื่อนแก่งกรุง (เขื่อนคลองยัน) ซึ่งถูกต่อต้านจนต้องระงับโครงการไว้ก่อน

ต่อมา กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องการใช้ประโยชน์เพิ่มพื้นที่ชลประทานฤดูฝน 73,980 ไร่ โดยใช้น้ำที่ปล่อยจากท้ายเขื่อนรัชชประภา จึงศึกษาทบทวนความเหมาะสม

ล่าสุด มีการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณท้องที่ตำบลท่าเคย ตำบลหนองไทร อำเภอท่าฉาง ตำบลลีเล็ด ตำบลศรีวิชัย ตำบลมะลวน ตำบลหัวเตย ตำบลท่าข้าม ตำบลพุนพิน ตำบลน้ำรอบ ตำบลหนองไทร ตำบลบางงอน อำเภอพุนพิน และตำบลท่ากระดาน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 27 เมษายน 2554 เพื่อดำเนินโครงการ

ปัจจุบันโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง ถูกคัดค้านจากประชาชนในเครือข่ายพิทักษ์ลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง ยืนยันว่าปัจจุบันชาวบ้านหันมาปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันแทนการทำนาข้าว จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำจำนวนมาก

จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นอีกจังหวัดที่ตกเป็นพื้นที่เป้าหมายของโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการ เนื่องจากถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่หลักของโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Seaboard–SSB) ซึ่งเป็นนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ที่สำคัญตลอดมา

โครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้มีเป้าหมายต้องการส่งเสริมอุตสาหกรรมในภาคใต้จังหวัดเป้าหมายคือ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา และภูเก็ต มีแนวคิดจะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเปิดประตูการค้าใหม่

กลยุทธ์สำคัญคือ การขยายพื้นที่อุตสาหกรรมและการขนถ่ายสินค้าข้ามคาบสมุทร ระหว่างทะเลอ่าวไทยกับอันดามัน หรือสะพานเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ทางด่วน ทางรถไฟ ท่อส่งน้ำมัน และท่าเรือน้ำลึกทั้งสองฝั่งทะเลที่ปลายทางสะพานเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ ตามแผนแม่บทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศไทยยังระบุว่า พื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่รองรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่ล้นมาจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง และพื้นที่ใกล้เคียง ในช่วงที่ 2 ระยะที่ 3 ของแผนแม่บทดังกล่าว ตั้งแต่ใน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป

พื้นที่เป้าหมายของนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีคือ อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยที่ผ่านมามีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้านในพื้นที่เพียงครั้งเดียว เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2552 ที่ศาลาประชาคมอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดโดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) มีชาวบ้านตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล และพื้นที่ใกล้เคียงกว่า 300 คน ออกมายืนยันว่า ไม่ต้องการนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่กระทรวงพลังงานเป็นผู้กำหนด พิจารณาว่าการสร้างท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี มูลค่าโครงการ 85,195 ล้านบาท ที่บ้านคอเขา ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล มีความเหมาะสมที่สุด

โครงการฯ นี้ใช้พื้นที่ทั้งหมด 19,000 ไร่ ประกอบด้วย โรงกลั่นน้ำมัน–ถังเก็บน้ำมัน 3,900 ไร่ โรงแยกก๊าซ–ปิโตรเคมี 6,000 ไร่ อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ 750 ไร่ พลังงานทดแทน 750 ไร่ ระบบสาธารณูปโภค 5,7000 ไร่ และพื้นที่สีเขียว–พื้นที่กันชน 1,900 ไร่

นอกจากนี้ยังจะมีนิคมอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตการเกษตรคือ นิคมอุตสาหกรรมนาบอน ตำบลแก้วแสน อำเภอนาบอน พื้นที่ 5,500 ไร่ ต่อมาการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้ลดขนาดพื้นที่ลงเหลือ 1,500 ไร่

นอกจากนี้ ผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็ก ของกระทรวงอุตสาหกรรม ยังระบุพื้นที่ที่มีศักยภาพในจังหวัดนครศรีธรรมราช 2 แห่งคือ ที่บ้านบางปอ ตำบลทุ่งใส อำเภอสิชล และอำเภอขนอม ใช้พื้นที่ไม่ต่ำกว่า 5,000–10,000 ไร่ และต้องสร้างท่าเรือน้ำลึกรองรับเรือขนาด 30,000–60,000 DWT ด้วย

ด้านพลังงาน จังหวัดนครศรีธรรมราชยังเป็นพื้นที่เป้าหมายในการก่อสร้างทั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่ 2 แห่ง จากทั้งหมด 13 แห่ง ทั่วประเทศ ได้แก่ พื้นที่ตำบลหน้าสตน ตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทร และพื้นที่ตำบลกลาย ตำบลท่าขึ้น ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา โดยเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดกำลังการผลิต 800 เมกกะวัตต์

ส่วนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นเพียงพื้นที่ศึกษา ซึ่งมีอยู่ 5 แห่ง ในอำเภอสิชลกับอำเภอขนอม จากพื้นที่ศึกษาทั้งหมด 17 แห่งทั่วประเทศ

โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นโครงการที่ถูกต่อต้านจากภาคประชาชนในพื้นที่มากที่สุด เนื่องจากเชื่อว่า เป็นโครงการหัวหอกที่จะนำโครงการอื่นๆ เข้ามาในพื้นที่ โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่ต้องการพลังงานรองรับมหาศาล

นอกจากนี้ ยังมีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอีกอย่างคือ โครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้–ทุ่งสง (Cargo Distribution Center : CDC – Thongsong) เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าเกษตร ที่อำเภอทุ่งสง รับผิดชอบโดยเทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช แม้มีพื้นที่โครงการเพียง 60 ไร่ แต่น่าจะเกิดขึ้นได้เร็วที่สุด

ขณะเดียวกัน ยังมีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำหลายแห่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีเป้าหมายรองรับนิคมอุตสาหกรรมและพลังงานในพื้นที่ นอกเหนือจากทางด้านการเกษตร ได้แก่ โครงการก่อสร้างเขื่อนคลองกลาย หมู่ที่ 6 บ้านปากลง ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองท่าทน หมู่ที่ 5 ตำบลสี่ขีด อำเภอสิชล เพื่อกักเก็บน้ำใช้ในท่าเรือและอุตสาหกรรม และโครงการเขื่อนลาไม ตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด ทั้ง 3 โครงการล้วนถูกต่อต้านจากชาวบ้าน

โครงการการตั้งฐานสนับสนุนและปฏิบัติการบนฝั่งการสร้างท่าเรือ บริษัท เชฟรอน ประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด ที่ปากน้ำคลองกลาย บ้านบางสาร ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา บนเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่ และโครงการก่อสร้างฐานบินเฮลิคอปเตอร์ของบริษัทเดียวกัน ภายใต้พื้นที่ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เป็นอีกโครงการที่ถูกคัดค้านด้วยเช่นกัน

ที่ผ่านมา บริษัท เชฟรอน ประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด ได้จัดเวทีรับฟังความเห็นครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2553 ขณะที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ) ได้เห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว

ขยับออกไปนอกชายฝั่งตั้งแต่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช มีแปลงสำรวจปิโตรเลียมหลายแปลง โดยเฉพาะแปลง G5/50 ของบริษัท นิวคอสตอล (ประเทศไทย) จำกัด แปลง G6/50 ของบริษัท เชฟรอน ปิโตรเลียม (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ปตท. สผ. โครงการไทย จำกัด แปลง G7/50 ของบริษัท เชฟรอน ปิโตรเลียม (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ปตท. สผ. โครงการไทย จำกัด และบริษัท เฮสส์ เอ็ซ์โพลเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด อยู่บริเวณโดยรอบเกาะสมุย เกาะพงัน เกาะเต่า และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ซึ่งเป้นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังในอ่าวไทย

ตัวอย่างเช่น แปลงสัมปทานของบริษัท เชฟรอน ปิโตรเลียม (ประเทศไทย)  จำกัด มีหลุมสำรวจที่ต้องการขุดเจาะน้ำมันอยู่ห่างจากเกาะพงันประมาณ 65 กิโลเมตร และห่างจากเกาะสมุยประมาณ 78 กิโลเมตร ขณะที่แปลงสัมปทานของบริษัท เพิร์ล ออย อยู่ห่างจากเกาะพงันประมาณ 113 กิโลเมตร และห่างจากเกาะสมุยประมาณ 110 กิโลเมตร

ด้วยเหตุดังกล่าว ชาวเกาะสมุย เกาะเต่า เกาะพะงัน จึงร่วมกันคัดค้านการขุดเจาะของบริษัทเหล่านั้น โดยมีการรวมตัวชุมนุมต่อต้านครั้งใหญ่กว่า 35,000 คน เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2553 เนื่องจากหวั่นว่าการขุดเจาะจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยว

ที่จังหวัดตรังมีชุดโครงการพัฒนาขนาดใหญ่เช่นกันคือ โครงการเขตอุตสาหกรรมจังหวัดตรัง และโครงการต่อเนื่องต่างๆ ในพื้นที่ลุ่มน้ำปะเหลียน เกิดจากแผนพัฒนายุทธศาสตร์จังหวัดตรัง ประกอบด้วย 3 โครงการหลักๆ ได้แก่ 1.โครงการเขตอุตสาหกรรมจังหวัดตรัง หรือเขตอุตสาหกรรมทุ่งค่าย พื้นที่ 1,648 ไร่เศษ 2.โครงการศูนย์บริการขนถ่ายสินค้าเพื่อการส่งออก บริเวณสถานีรถไฟกันตัง 3.โครงการสะพานข้ามแม่น้ำปะเหลียน อำเภอกันตัง 4.โครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกบ้านนาเกลือ อำเภอกันตัง

ที่ผ่านมา มีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และการดำเนินการในทุกขั้นตอนของหน่วยงานรัฐแล้ว แต่ไม่ได้แจ้งรายละเอียดให้ชาวบ้านทราบ และไม่มีการสำรวจข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบ จนปลายปี 2549 ชาวบ้านในพื้นที่ได้ยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ขอให้ชี้แจงข้อมูลโครงการ และยื่นหนังสือคัดค้านไปยังหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งร้องเรียนไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ลงไปที่ภาคใต้ตอนล่าง มีโครงการขนาดใหญ่ได้แก่ โครงการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือน้ำลึกฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน หรือแลนด์บริดจ์สงขลา–สตูล เกิดขึ้นจากแผนแม่บทการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย

เป็นแผนพัฒนาที่ประกอบไปด้วยสารพัดโครงการมูลรวมหลายแสนล้านบาท เริ่มจากท่าเรือน้ำลึกปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล ท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 ที่บ้านสวนกง ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ทางรถไฟขนส่งสินค้าเชื่อมระหว่าง 2 ท่าเรือดังกล่าว และนิคมอุตสาหกรรขนาดใหญ่

นอกจากนี้ ยังมีโครงการก่อสร้างท่อส่งน้ำมันดิบจากคลังน้ำมันปากบารา จังหวัดสตูล ลอดใต้ทะเลสาบสงขลาไปยังคลังน้ำมันที่อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา โดยคลังน้ำมันฝั่งอันดามัน ที่ปากบาราใช้พื้นที่ประมาณ 5,000 ไร่ คลังน้ำมันฝั่งอ่าวไทย ที่อำเภอสิงหนคร ใช้พื้นที่ประมาณ 10,000 ไร่

โครงการทั้งหมดของแลนด์บริดจ์สงขลา–สตูล ถูกคัดค้านทั้งจากภาคประชาชนในจังหวัดสงขลาและสตูล แต่ดูเหมือนว่าโครงการในฝั่งจังหวัดสตูล โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา มีความก้าวหน้ามากกว่า เนื่องจากอยู่ระหว่างการขอเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา เพื่อเปิดทางให้กับการสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราไปแล้ว

นอกจากนี้ในจังหวัดสงขลา ยังมีการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งระบุพื้นที่ที่มีศักยภาพในการรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา แต่สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย กลับศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้น ที่ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

ผลการศึกษาพบว่า ต้องใช้พื้นที่มากกว่า 5,000 ไร่ พื้นที่ติดถนนเลียบชายทะเล เริ่มตั้งแต่บ้านขี้นากถึงคลองท่าเข็น ในพื้นที่ 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 4 บ้านศาลาหลวงบน หมู่ที่ 5 บ้านหัวคุ้ง หมู่ที่ 7 บ้านขี้นาก และหมู่ที่ 9 บ้านมากบัว ตำบลท่าบอน พื้นที่ถมทะเลอีก 2 ตารางกิโลเมตร และทำสะพานเชื่อมท่าเรือห่างชายฝั่ง 10 กิโลเมตร เพื่อเป็นจุดรับวัตถุดิบ

ที่ผ่านมามีการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อโครงการนี้จากคนในพื้นที่รวม 3 ครั้ง ในเดือนตุลาคม 2553 แต่ได้รับการคัดค้านจากชาวบ้านอย่างหนัก นำโดยนายกาจบัณฑิต รามมาก ประธานชมรมเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดสงขลา โดยให้เหตุผลว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่รู้เรื่องและไม่เข้าใจ

ส่วนพื้นที่นอกฝั่งจังหวัดสงขลา แหล่งน้ำมันดิบสงขลาและแหล่งบัวบาน แปลงสำรวจ G5/43 ของบริษัท นิวคอสตอล (ประเทศไทย) จำกัด อยู่ห่างจากชายฝั่งจังหวัดสงขลา ประมาณ 30 และ 16 กิโลเมตร ที่ผ่านมาถูกต่อต้านจากชาวประมงอย่างหนักเช่นกัน ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ เกิดปรากฏการณ์คราบน้ำมันลอยติดชายหาดจำนวนมาก และการสูญเสียพื้นที่ทำประมงอันนำมาสู่การเรียกร้องค่าชดเชยในเวลาต่อมา

ขณะที่เหมืองถ่านหินลิกไนต์สะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา มีปริมาณมากเป็นอันดับ 2 รองจากแหล่งแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และเป็นถ่านหินที่มีคุณภาพดีกว่าแหล่งแม่เมาะ ส่งผลให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พยายามที่จะเปิดเหมืองให้ได้ ล่าสุดมีเมื่อปี 2552 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฝผ.) ได้ว่าจ้างนักวิชาการจากสถาบันสมุทรรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ดำเนินงานโครงการศึกษาการมีส่วนร่วมการพัฒนาแหล่งลิกไนต์สะบ้าย้อย มีนายจิระพันธ์ เดมะ เป็นหัวหน้าคณะ แต่ชาวบ้านยังคงคัดค้านการเปิดเหมืองถ่านหินจนถึงปัจจุบัน

ส่วนโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจะนะโรงที่ 2 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฝผ.) ต่อเนื่องจากโรงไฟฟ้าจะนะโรงแรก ที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา กำลังผลิต 860 เมกกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย จากแหล่งพัฒนาร่วมไทย–มาเลเซีย (แหล่ง JDA) เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าประมาณ 148 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ตามแผนจะเริ่มก่อสร้างปลายปี 2554 และเริ่มจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ในเดือนกรกฎาคม 2557

ที่ผ่านมาการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจะนะ ถูกคัดค้านจากชาวบ้านบางส่วนในพื้นที่มาตลอด ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ เป็นโครงการต่อเนื่องจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย–มาเลเซีย ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ ที่ถูกคัดค้านอย่างหนักมาตั้งแต่ปี 2540 แม้โรงไฟฟ้าแห่งนี้ไม่ได้ใช้ก๊าซที่ผ่านกระบวนการแยกก๊าซจากโรงแยกก๊าซดังกล่าวก็ตาม

ประการที่สองคือ โรงไฟฟ้าแห่งนี้มีระบบระบายความร้อนแบบหอหล่อเย็น ที่ใช้น้ำจากคลองโพมา ลำน้ำสาขาของคลองนาทับประมาณ 18,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน แล้วระบายน้ำที่ผ่านการหล่อเย็นลงสู่คลองนาทับ โดยเกรงว่าอุณหภูมิน้ำที่สูงกว่าปกติ จะส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำและการเพาะเลี้ยงชายฝั่งในคลองนาทับ

นอกจากนี้ ยังมีโครงการก่อสร้างทางด่วนพิเศษระหว่างเมือง หรือมอเตอร์เวย์หรือโทลเวย์หาดใหญ่–สะเดา จังหวัดสงขลา โทลเวย์เส้นนี้ มีความยาวเกือบร้อยกิโลเมตร โดยมีวงเงินที่ ADB พร้อมสนับสนุนสูงถึง 300 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา หรือประมาณ 9,000 ล้านบาท

น่าจะเป็นโทลเวย์ที่แพงที่สุดในประเทศไทย

สำหรับโครงการโทลเวย์หาดใหญ่–สะเดา เป็นฌโครงการเชื่อมโยงกับเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนสะเดา โดยก่อนหน้านี้ เมื่อปลายปี 2552 สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือสภาพัฒน์ ร่วมกับสำนักงานวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของมาเลเซีย จัดทำโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน บริเวณอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ประเทศไทย–เมืองบูกิตกายูฮิตัม รัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย ระยะที่ 2

โครงการศึกษาดังกล่าว สภาพัฒน์ ได้ว่าจ้างบริษัท โซซิโอ – เอคโคโนมิค คอนซัลแตนส์ จำกัดเป็นที่ปรึกษา ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า มีพื้นที่ที่มีศักยภาพในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 6 แห่ง โดยชี้ว่าพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดคือ ชายแดนไทย–มาเลเซีย บ้านทับโกบ ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา เนื้อที่ 990 ไร่

เขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งนี้ ประกอบด้วย พื้นที่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยางพารา อุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็งและแปรรูป อุตสาหกรรมต้นน้ำของอุตสาหกรรมยานยนต์ สถานศึกษา ศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน สถานีขนส่งสินค้า คลังสินค้า หรือ Inland Container Depot (ICD) ธุรกิจการให้บริการทางการเงิน และอุตสาหกรรมอาหารและบริการฮาลาล

ที่สำคัญพื้นที่ทับโกบ ตั้งอยู่ใกล้แนวมอเตอร์เวย์หาดใหญ่–สะเดา ตามที่กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ได้ศึกษาไว้ตั้งแต่ปี 2548

ส่วนเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนฝั่งเมืองบูกิตกายูฮิตัม ทางมาเลเซียกำหนดให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมหลักทางด้านยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 2 แสนล้านบาท ปัจจุบันพัฒนาไปไกลกว่าของไทยมากแล้ว

อีกโครงการที่น่าตื่นตาตื่นใจอย่างยิ่ง สำหรับชาวสงขลาคือ โครงการรถถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรน ที่คณะรัฐมนตรี ภายใต้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แห่งพรรคประชาธิปัตย์ มีมติเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2553 ให้ความเห็นชอบร่างกรอบการเจรจาความร่วมมือด้านการพัฒนากิจการรถไฟระหว่างประเทศไทยกับจีน โดยจะร่วมกันลงทุนสร้างรถไฟความเร็วสูง ในเส้นทางหลัก 3 เส้นทาง

นั่นคือ เส้นทางกรุงเทพมหานคร–หนองคาย, เส้นทางกรุงเทพมหานคร–ระยอง และเส้นทางกรุงเทพมหานคร–ปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

อันเป็นเส้นทางเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคมข้ามชาติ จากจีนเข้าลาวสู่ไทยไปมาเลเซีย สิ้นสุดจุดหมายปลายทางที่สิงคโปร์

นอกจากนี้ ยังมีโครงการรถไฟรางคู่ ซึ่งภาคใต้จะเริ่มตั้งแต่สถานีรถไฟนครปฐม ไปจนถึงใต้สุดสถานีรถไฟสุไหงโก–ลก จังหวัดนราธิวาส แยกจากสถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราชไปยังสถานีรถไฟกันตัง จังหวัดตรัง และแยกจากสถานีชุมทางหาดใหญ่ ไปยังสถานีปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลาด้วย

อีกโครงการที่ยังคงคาราคาซังมาจนถึงปัจจุบันคือ โครงการก่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ก่อสร้างมาตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2545 กำหนดให้แล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2554 แต่ปัจจุบันโครงการมีความล่าช้ามาก เนื่องจากติดปัญหาถูกคัดค้านจากชาวบ้านในพื้นที่

โครงการก่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองล่าปัง ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา บางส่วนเป็นที่ดินปฏิรูปเพื่อเกษตรกร หรือ ส.ป.ก.4–01 เนื้อที่รวมประมาณ 765 ไร่ ห่างจากด่านพรมแดนสะเดาปัจจุบัน 1.5 กิโลเมตร ซึ่งกรมป่าไม้อนุญาตให้กรมศุลกากรใช้ประโยชน์แล้ว

ขณะที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองก็จะย้ายไปตั้งในที่ตั้งด่านศุลกากรแห่งใหม่นี้ด้วย เนื่องจากที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองปัจจุบันมีพื้นที่เพียง 40 กว่าไร่เท่านั้น และไม่สามารถขยายพื้นที่ได้อีก เนื่องจากพื้นที่ชุมชนและย่านธุรกิจได้ขยายมาติดชายแดนแล้ว จึงทำให้มีความแออัดมาก

การก่อสร้างด่านศุลกากรแห่งใหม่ นี้มีบริษัท เอ.เอส.เอ การช่าง จำกัด เป็นผู้ชนะการประมูล และระยะเวลาก่อสร้าง 780 วัน วงเงินงบประมาณในการก่อสร้าง 1,000 ล้านบาท

ก่อนหน้านี้มีชาวบ้านเข้าไปบุกรุกแผ้วถางเพื่อทำสวนยางพารา ไม้ผลทั้งในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ และที่ดิน ส.ป.ก.4–01 โดยมีการจ่ายค่าชดเชยแล้ว 79 ไร่ อยู่ระหว่างการเจรจาอีก 43 ราย รวม 60 แปลง

ไล่ลงไปถึง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีโครงการขนาดใหญ่ที่เป็นที่รู้จักของคนในพื้นที่คือ นิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล จังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านท่าสูง ตำบลน้ำบ่อ อำเภอปานาเระ และบ้านบางเก่า อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เนื้อที่ 933 ไร่

นิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล จังหวัดปัตตานี เริ่มเปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อปลายปี 2546 แต่ถัดจากนั้นไม่กี่วัน ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ปะทุขึ้น ส่งผลกระทบต่อนิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้จนถึงปัจจุบัน ถึงแม้มีการก่อสร้างอาคารศูนย์บริการเบ็ดเสร็จครบวงจรในนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลแล้ว ด้วยงบประมาณ 84 ล้านบาท แต่ก็ยังไม่มีกลุ่มทุนใดเข้าไปลงทุน

ขณะที่นิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ไม่มีความคืบหน้ามากนัก กลับปรากฏมีบริษัทอุตสาหกรรมเหล็กขนาดใหญ่ของประเทศญี่ปุ่นคือ บริษัท JFE Steel Corporation สนใจที่จะมาลงทุนตั้งโรงงานอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ ในอำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี มูลค่าการลงทุนประมาณ 60,000–100,000 ล้านบาท แน่นอนว่าโครงการขนาดใหญ่เช่นนี้ ย่อมต้องการแหล่งน้ำจืดรองรับจำนวนมหาศาล

ส่งผลให้ทุกสายตาจับจ้องไปยังโครงการก่อสร้างเขื่อนสายบุรีที่มีชื่อเต็มว่า โครงการพัฒนาลุ่มน้ำสายบุรีตอนล่างและพรุบาเจาะ–ไม้แก่น ซึ่งเป็นอีกโครงการที่ถูกต่อต้านมาตั้งแต่ปี 2535 จนกระทั่งคณะรัฐมนตรี ในรัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ มีมติให้ยกเลิกการดำเนินการโครงการเขื่อนสายบุรีไว้ก่อน เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2540 แต่ต่อมา วันที่ 13 มกราคม 2547 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น สั่งให้รื้อฟื้นโครงการนี้ขึ้นมาใหม่

ตัวเขื่อนกั้นแม่น้ำสายบุรี ตั้งอยู่บ้านกะดูดง ตำบลอาซ่อง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา โดยกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก มีพื้นที่รองรับน้ำประมาณ 2,237 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดนราธิวาส 1 อำเภอของจังหวัดยะลา และ 4 อำเภอของจังหวัดปัตตานีคือ อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอกะพ้อ อำเภอไม้แก่น และอำเภอสายบุรี โดยจะมีการผันน้ำมาใช้ในนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล รวมทั้งนิคมอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำในจังหวัดปัตตานี ที่อาจจะมีขึ้นในอนาคตด้วย

ข้ามไปกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน แม้ไม่มีโครงการขนาดใหญ่ของรัฐจำนวนมากเหมือนทางภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและภาคใต้ตอนล่าง แต่ก็มีโครงการของเอกชนหลายโครงการก็ถูกต่อต้านจากชาวบ้านเช่นกัน ได้แก่ โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือสำราญและการกีฬา หรือท่าเรือมารีน่า ของบริษัท เดอะยามู จำกัด โดยจะมีการขุดลอกทรายบริเวณอ่าวปากคลอกบ้านยามู บ้านผักฉีด บ้านป่าคลอก ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

ท่าเรือมารีน่าของบริษัท เรือนดุสิต จำกัด บริเวณแหลมหลา แหลมไม้ไผ่ แหลมพับผ้า เกาะสิเหร่ ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ท่าเรือมารีน่า ของบริษัท นาราชา จำกัด บริเวณอ่าวคลองสน บ้านย่าหมี ตำบลเกาะยาวใหญ่ และบ้านโล๊ะโป ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา และท่าเรือมารีน่าของบริษัท อควาสตาร์ จำกัด บริเวณชายหาดท้ายเหมือง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา

โครงการพัฒนาต่างๆ เหล่านี้คือ ภาพอนาคตของพื้นที่ภาคใต้ที่จะทยอยผุดขึ้นตามจุดต่างๆ เหมือนดอกเห็ดในเร็ววัน หากไร้แรงต้านจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง

ปัจจุบัน แรงต้านทั้งหมดกำลังถูกขมวดให้กลายเป็นปมเดียวกัน ในนามของการคัดค้าน “แผนพัฒนาภาคใต้”

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

‘ผู้ไร้สิทธิชายแดนใต้’ โวย ถูกละเมิดสิทธิ โดนแย่งทรัพยากร

Posted: 12 Sep 2011 08:29 AM PDT

เปิดประชุมวิชาการระดับชาติ “ชุมคน ชุมชน คนใต้ ครั้งที่ 3 เสียงจากผู้ไร้สิทธิชายแดนใต้” เจอปัญหาอื้อ “อังคณา นีละไพจิตร” แฉเด็กชายแดนใต้ถูกฝึกให้จับอาวุธในชุด ชรบ. เพียบ เหยื่อตากใบเผย โดนเจ้าหน้าที่ค้นบ้านทุกปี

โวย – นางอังคณา นีละไพจิตร
ประธานมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
แฉคนชายแดนใต้โดนทั้งละเมิดสิทธิและถูกแย่งชิงทรัพยากร

เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2554 ที่หอประชุมอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โครงการจัดตั้งศูนย์อิสลามศึกษาเพื่อบูรณาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ร่วมกับภาคีเครือข่ายอีก 12 องค์กร ร่วมกันจัดโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ “ชุมคนชุมชนคนใต้ครั้งที่ 3 เสียงจากผู้ไร้สิทธิชายแดนใต้” (Voices of Voiceless: from the Southernmost People in Thailand) มีประชาชน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล คนไทยพลัดถิ่น เครือข่ายชุมชนในพื้นที่ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ นักพัฒนาเอกชน (NGOs) นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยทักษิณ และสื่อมวลชน ร่วมงานประมาณ 500 คน

เวลา 10.15 น. นางอังคณา นีละไพจิตร ประธานมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ (Justice for Peace Foudation) ได้บรรยายในหัวข้อ “สันติสุขและการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม” ว่า ปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรของรัฐจากชาวบ้าน ในจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส อาจเป็นอีกจุดหนึ่งของความขัดแย้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะที่อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ซึ่งชาวบ้านไม่มีที่ดินทำกิน อันเป็นผลกระทบจากการสร้างเขื่อนบางลาง เมื่อปี 2519 หมู่บ้านดั้งเดิมที่นมีทั้งมัสยิดและกุโบร์ต้องจมน้ำอยู่ใต้เขื่อน ในขณะที่รัฐไม่เคยให้อะไรตอบแทนตามที่เคยสัญญาเอาไว้ จนชาวบ้านมองว่า รัฐเป็นผู้รุกรานชาวบ้าน

นางอังคณา บรรยายต่อไปว่า ล่าสุดเกิดกรณีปัญหาหอยแครง ที่ชาวประมงชายฝั่งรอบอ่าวปัตตานีโดนจับกุมดำเนินคดี จากการต่อสู้กับกลุ่มทุนท้องถิ่น ที่เข้ามายึดอ่าวปัตตานี ซึ่งเป็นพื้นที่ทำประมงไปทำฟาร์มหอยแครง ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น รัฐควรสนใจปัญหาของชาวบ้าน มากกว่าที่จะสนใจผลักดันเมกะโปรเจ็กต์ หรือพูดถึงแต่การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

นางอังคนา บรรยายอีกว่า อีกหนึ่งตัวแปรสำคัญคือ อิทธิพลเถื่อน ยาเสพติด สิ่งผิดกฏหมาย การค้ามนุษย์ที่เติบโตในบริเวณชายแดนเร็วมาก ปัจจุบันจังหวัดปัตตานีมีบ่อนพนันเกลื่อนกลาด ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดระบุว่า มีคนติดยาเสพติด 50,000 คน มีผู้ต้องการบำบัด 20,000 คน แต่สถานบำบัดยาเพสติดกลับมีไม่เพียงพอที่จะรองรับ ชาวบ้านส่วนมากจึงใช้วิธีเลิกยาเสพติดด้วยการหักดิบ

“ดิฉันเคยศึกษาวิจัยพบว่า เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี จับอาวุธเป็นชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) สูงถึงร้อยละ 65 บางรายอายุไม่ถึง 13 ปี ก็ใช้อาวุธสงครามได้ เด็กกลุ่มนี้จะตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มก่อความไม่สงบ หรือไม่ก็ตกเป็นเครื่องมือของกลไกรัฐ” นางอังคนา กล่าว

ต่อมา เวลา 10.15 น. นางแยน๊ะ สะแลแม ตัวแทนเครือข่ายสตรีเหยื่อเหตุการณ์ตากใบจังหวัดนราธิวาส เจ้าของรางวัลนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ได้ปาฐกถาพิเศษเรื่องเสียงจากผู้ไร้สิทธิว่า ตนเข้ามาเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน เนื่องจากลูกชายถูกจับกุมในเหตุการณ์สลายชุมนุมที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จนกลายเป็นผู้ประสานงานระหว่างทนายความกับญาติของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ กระทั่งสามีของตนโดนยิงเสียชีวิตในเวลาต่อมา

“ฉันถูกเจ้าหน้าที่มองว่า เป็นแนวร่วมของขบวนการแบ่งแยกดินแดน ต้องโทรศัพท์ไปยังองค์กรสิทธิมนุษยชน และองค์กรพัฒนาภาคเอกชนต่างๆ จนเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องมาขอโทษ ในรอบ7 ปีที่ผ่านมา ฉันถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐตรวจค้นบ้านทุกปี” นางแยน๊ะ กล่าว

เวลา 10.30 น. มีการเสวนาเรื่องเสียงจากผู้ไร้สิทธิ: สิทธิประชาชนที่จะกำหนดอนาคตตนเอง” โดยนายอะบาร์ อุเส็น ตัวแทนเครือข่ายอิควะฮ์เปอร์ตาเนียนสโตย กล่าวเสวนาว่า เครือข่ายอิควะฮ์เปอร์ตาเนียนสโตย เป็นการรวมตัวกันของเครือข่ายเกษตรกรจังหวัดสตูลระปหว่างเกลอเขา เกลอนา และเกลอเล เพื่อเรียนรู้นโยบายและแผนพัฒนาของภาครัฐในจังหวัดสตูล เนื่องจากเกลอเลคือกลุ่มประมงชายฝั่ง ตอนนี้กำลังเผชิญหน้ากับโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา และเกลอเขาคือเครือข่ายป่าต้นน้ำ กำลังเผชิญหน้ากับโครงการเขื่อนทุ่งนุ้ย

“เราใช้หลักศาสนาอิสลามมาร่วมกันคิดร่วมกันแก้ปัญหา ให้สามารถแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ของนายทุน กับวิถีชีวิตที่ชุมชน เราต้องคิดให้ได้ว่า อะไรเหมาะสมกับพื้นที่ของตัวเอง ตอนนี้เครือข่ายของเรามีการจัดตั้งกองทุนแพะเพื่อมนุษยชาติ มีนัยสื่อถึงความมั่นคงทางอาหารของโลกที่กำลังวิกฤติ” นายอะบาร์ กล่าว

นายมาหาหมัด นาซือรี เมาตี ตัวแทนจากเครือข่ายชุมชนศรัทธา กล่าวต่อวงเสวนาว่า ตนมองไม่เห็นว่า รัฐบาลไหนจะแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ และยังมองไม่เห็นโอกาสใดๆ จากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอีก 4 ปีข้างหน้า มิหนำซ้ำอาจจะทำให้แย่กว่าเดิม ตราบใดที่คนไทยยังไร้สิทธิไร้เสียง โดยรัฐกำหนดนโยบายแล้ว นำมาบังคับใช้กดขี่ชาวบ้าน ซึ่งเป็นการทำลายอัตลักษณ์ของคนท้องถิ่น ทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อสังคม วิถีชีวิตชุมชน และแนวทางการศึกษาของศาสนาอิสลาม

นายซอฮิบ เจริญสุข ตัวแทนจากเครือข่ายคนไทยพลัดถิ่น กล่าวต่อวงเสวนาว่า รัฐมองแต่ความมั่นคงของชาติ ไม่ได้มองถึงความมั่นคงของอาณาประชาราษฎร์ เช่น เมื่อปี 2548 มีมติคณะรัฐมนตรีให้สำรวจและจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนที่มีรหัสเลข 0 ให้คนไทยพลัดถิ่น แต่กลับมีปัญหาการคอร์รัปชั่นใการสำรวจและจัดทำบัตร ต่อมาก็มีมติให้ยกเลิกการทำบัตรดังกล่าว ทำให้คนไทยพลัดถิ่นไม่มีสิทธิแม้กระทั่งการแจ้งเกิด และการแจ้งตาย

นางสาวศุชาวรรณ ประโมงกิจ ตัวแทนจากกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล กล่าวต่อวงเสวนาว่า ปัญหาของกลุ่มชาวเลคือ ปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ทำกินในพื้นที่ที่ทางภาครัฐประกาศเป็นอุทยาน และพื้นที่ที่นายทุนเข้าไปทำรีสอร์ท บ้านพักตากอากาศ แล้วออกเอกสารสิทธิ์ทับที่ดินที่ชาวเลอาศัยอยู่เดิม แม้กระทั่งสุสานฝังศพยังออกเอกสารสิทธิ์ได้ จนตอนนี้ชาวเลที่เกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล ต้องฝังศพใต้ถุนบ้าน

นายประยงค์ กงไกรจักร ตัวแทนจากเครือข่ายป่าเขาและสิทธิชุมชน แสดงความเห็นว่า ผลจากเหตุการณ์ภัยพิบัติที่ผ่านมาในภาคใต้ ทำให้เกิดปัญหาการโยกย้ายที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน บ้างก็ถูกไล่ออกจากที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน โดยรัฐอ้างว่าเป็นที่ดินของรัฐ หรือมีคนอ้างเอกสารสิทธิ์ว่า ที่ดินตรงนั้นตรงนี้เป็นของตน

นายมัครอบี บือราเฮง ตัวแทนจากเครือข่ายชุมชนศรัทธา กล่าวในวงเสวนาว่า ขณะนี้สิทธิในการศึกษาพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประวัติศาสตร์ปัตตานีโดนปิดตาย ไม่สามารถแสดงออกได้ ใครที่อยากเรียนรู้ประวัติศาสตร์ปัตตานี ต้องไปเรียนที่ประเทศมาเลเซีย แม้แต่การนำเสนอรายงานทางวิชาการสักชิ้นก็กลัวจะถูกมองว่า เป็นแนวร่วมของขบวนการก่อความไม่สงบ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สลดโซมาเลียตายนาทีละ 6 คน มุสลิมชายแดนใต้ระดมเงินช่วย

Posted: 12 Sep 2011 08:23 AM PDT

เผยชาวโซมาเลีย เผชิญความอดอยากอย่างหนัก สมาคมยุวมุสลิมระดมเงินช่วย ส่งผ่านองค์กรเอกชนมาเลเซีย

นายมูรซีดี กาลอ ประธานสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย (ยมท.) สาขายะลา เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2554 สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย ได้ระดมเงินบริจาคเพื่อที่จะไปช่วยเหลือชาวโซมาเลียที่มีความอดอยาก เนื่องจากเกิดภัยพิบัติแห้งแล้งมาตลอดทั้งปี อีกทั้งมีสงครามภายในประเทศมาตลอด และเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในทวีปแอฟริกา โดยประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม

นายมูรซีดี เปิดเผยอีกว่า ในช่วงเทศกาลฮารีรายออี้ดิ้ลฟิตรี ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนที่ผ่านมา สมาคมยุวะมุสลิมแห่งประเทศได้ขอให้มัสยิดต่างๆ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อ่านคุตบะฮ์ (เทศนธรรมในช่วงการละหมาด)ฮารีรายออี้ดิ้ลฟิตรี มีเนื้อหาที่ส่งเสริมให้คนร่วมบริจาคเงินช่วยเหลือชาวโซมาเลีย ซึ่งได้ผลดีเป็นอย่างมาก

นายมูรซีดี กาลอ เปิดเผยด้วยว่า เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 11 กันยายน 2554 มีการประชุมสรุปงาน โครงการรับบริจาคช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่พี่น้องประเทศโซมาเลีย ที่ห้องประชุมสมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข จังหวัดยะลา มีผู้เข้าร่วมประมาณ 10 คน ที่ประชุมได้สรุปยอดเงินบริจาคล่าสุดได้ประมาณ 1,100,000 กว่าบาท และมีมติว่า จะมอบเงินบริจาคทั้งหมดผ่านองค์กร Malaysian Relief Agency ของมาเลเซียนำไปให้ชาวโซมาเลีย โดยจะเดินทางไปมอบในวันที่ 17 กันยายน 2554

นายมูรซีดี เปิดเผยอีกว่า สำหรับองค์กร Malaysian Relief Agency เป็นองค์กรบรรเทาทุกข์ระหว่างประเทศที่เคยให้ความช่วยเหลือประเทศต่างๆ โดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนา เช่นการฟื้นฟูภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น เอติ ปากีสถาน เป็นต้น

นายมูรซีดี เปิดเผยด้วยว่า สำหรับช่องทางการบริจาค สามารถบริจาคได้ที่สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทยสาขายะลา หรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาสิโรรส จังหวัดยะลา ชื่อบัญชีสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย บัญชีเลขที่ 932-121-000 -8 และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย สาขายะลา ชื่อบัญชีกองทุนซะกาตและสังคมสังเคราะห์อุมมะฮ์ เลขที่บัญชี 584-1-18682-5

นายมูรซีดี เปิดเผยอีกว่า การรณรงค์ให้คน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้บริจาคเงินช่วยเหลือชาวโซมาเลีย ได้ดำเนินการร่วมกับองค์กรต่างๆ เช่น สมาคมจันทร์เสี้ยว มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคมุสลิม วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ยะลา กลุ่มมุสลิมเพื่อสันติ และสถาบันอัสลาม มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

นายแพทย์อนันต์ชัย ไทยประทาน ที่ปรึกษาสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ความอดอยากที่เกิดขึ้นในประเทศโซมาเลียขณะนี้มีความรุนแรงมาก โดยเฉพาะทางตอนใต้ของประเทศ ถึงขนาดมีการทำสถิติว่า มีชาวโซมาเลีย เสียชีวิตจากความอดอยากถึงนาทีละ 6 คน ซึ่งเป็นปัญหาที่รุนแรงมากนัก

“การณรงค์ช่วยเหลือชาวโซมาเลียครั้งนี้ ทำให้คน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความตื่นตัวมาก เนื่องเป็นการเริ่มรณรงค์ในช่วง 10 วันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นช่วงที่ชาวมุสลิมจะให้ความสำคัญกับการประกอบศาสนกิจที่มัสยิดในช่วงเวลากลางคืนจำนวนมาก จึงเป็นโอกาสดี รวมไปถึงในช่วงวันฮารีรายอด้วย” นายแพทย์อนันต์ชัย กล่าว

นายแพทย์อนันต์ชัย เปิดเผยว่า ส่วนการรณรงค์ครั้งต่อไป จะทำไปจนถึงวันฮารีรายอฮัจย์ หรือวันตรุษอี้ดิ้ลอัฏฮา ซึ่งตรงกับช่วงประกอบพิธีฮัจย์อีกประมาณ 1 เดือนเศษ

นายแพทย์อนันต์ชัย เปิดเผยด้วยว่า นอกจากนี้ในกรุงเทพมหานครมีการรณรงค์ช่วยเหลือชาวโซมาเลียเช่นกัน โดยกลุ่มมุสลิมเพื่อสันติ โดยเริ่มมาตั้งแต่ก่อนเดือนรอมฏอนที่ผ่านมา สามารถระดมเงินบริจาคได้ประมาณ 2 ล้านบาท ส่วนการช่วยเหลือในรูปสิ่งของนั้น ไม่สะดวกเท่าการช่วยเหลือในรูปเงิน ยกเว้นในระดับรัฐบาลที่สามารถช่วยเหลือในรูปสิ่งของบรรเทาทุกข์ได้

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เครือข่ายผู้ติดเชื้อฯลั่นต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไข พรบ.สิทธิบัตร

Posted: 12 Sep 2011 08:11 AM PDT

จี้กรมทรัพย์สินทางปัญญาใช้คู่มือตรวจสอบสิทธิบัตรสกัด evergreening หรือสิทธิบัตรที่ไม่มีที่สิ้นสุด

(12 ก.ย.54/กรุงเทพฯ) ตัวแทนเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ ประเทศไทยจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศกว่า 50 คนได้มาร่วมประชุมเพื่อกำหนดท่าที “พ.ร.บ.สิทธิบัตร...การแก้ไข...ใคร (ควร) ได้ประโยชน์?” (ปล่อยผีสิทธิบัตร ผูกขาดไม่สิ้นสุด ใคร...ตายก่อน) จากนั้นได้ร่วมกันแถลงข่าว

นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ กล่าวว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพัฒนากฎหมายสิทธิบัตร แต่ไม่มีตัวแทนของผู้ป่วยหรือผู้บริโภคเลย ขณะที่มีตัวแทนของผู้ทรงสิทธิเป็นส่วนใหญ่ และยังมีนักกฎหมายที่ปรึกษาบริษัทยาข้ามชาติอยู่ถึง 3 บริษัท

“จากการเจรจาภายใน กรมทรัพย์สินทางปัญญารับปากที่จะแต่งตั้งตัวแทนเครือข่ายผู้ป่วยเข้าไปเพิ่มเติม ซึ่งทางเราได้เสนอชื่อ นายอนันต์ เมืองมูลไชย กรรมการมูลนิธิเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ อย่างไรก็ตาม เราต้องการให้คณะอนุกรรมการฯนำเนื้อหาร่าง พ.ร.บ.สิทธิบัตร ฉบับภาคประชาชนเป็นตัวตั้งในการพิจารณาแก้ไขด้วย เพราะเนื้อหาที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาเคยหยิบยกขึ้นมานั้น ส่วนใหญ่เป็นการแก้ไขกฎหมายที่เกินไปกว่าความตกลงทริปส์ซึ่งจะสร้างภาระกับประเทศและส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงยาของประชาชน โดยเฉพาะการตัดสิทธิการคัดค้านก่อนการออกสิทธิบัตร (Pre-grant Opposition) ที่จะยิ่งทำให้สิทธิบัตรด้อยคุณภาพได้ผูกขาดทำกำไรเกินควร”

นายเฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า วันนี้ ทางเครือข่ายคนทำงานด้านเอดส์และเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯได้เชิญนักวิจัยมานำเสนอเรื่องสิทธิบัตรที่ไม่มีที่สิ้นสุด (Evergreening Patent) แล้ว ค่อนข้างตกใจกับข้อค้นพบที่ว่า มีคำขอรับสิทธิบัตรในรอบ 10 ที่ผ่านเข้าข่ายสิทธิบัตรไม่มีที่สิ้นสุดถึง 96% ยิ่งรวมกับความพยายามของกรมทรัพย์สินทางปัญญาที่จะตัดกลไกคัดค้านก่อนการออกสิทธิบัตรออกไป นั่นเท่ากับว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการผูกขาดของอุตสาหกรรมยาข้ามชาติที่หนักหน่วงที่สุด ดังนั้น ในการหารือกับอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาในวันพรุ่งนี้ (13) เราจะขอให้ทางกรมฯ รับคู่มือที่นักวิจัยพัฒนาขึ้นไปปฏิบัติเพื่อป้องกันสิทธิบัตรที่ไม่มีที่สิ้นสุด, ในการแก้ พ.ร.บ.จะต้องขยายเวลาการคัดค้านไปเป็น 1 ปีจาก 90 วันแทนกฎหมายเดิม, ต้องมีตัวแทน อย. หรือ สปสช.เข้าไปอยู่ในคณะอนุกรรมการเคมี ในคณะกรรมการสิทธิบัตรเพื่อช่วยพิจารณาการให้สิทธิบัตร และที่สำคัญคือ การพัฒนาฐานข้อมูลสิทธิบัตรเพื่อให้สามารถสืบค้นได้ง่าย

“ขณะนี้มีงานวิชาการยืนยันชัดเจนถึงปัญหาของสิทธิบัตรที่ไม่มีที่สิ้นสุด กรมทรัพย์สินฯต้องตอบให้ได้ว่า คู่มือที่กำลังจะประกาศใช้จะแก้ปัญหา evergreening เช่นนี้อย่างไร มีประสิทธิภาพแค่ไหนโดยเฉพาะคำขอเรื่องการใช้และข้อบ่งใช้ที่ 2, สูตรตำรับและส่วนประกอบ, ตำรับยาสูตรผสม และขนาด/ปริมาณการใช้ หากทางกรมฯให้คำตอบที่ชัดเจนไม่ได้ หรือยังยืนยันจะปล่อยให้เป็นวินิจฉัยของผู้ตรวจสอบเช่นที่ผ่านมา เราคงต้องขอหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์”

ทั้งนี้ ข้อมูลจากงานวิจัยสิทธิบัตรยาที่จัดเป็นสิทธิบัตรไม่มีที่สิ้นสุด ในประเทศไทยและการคาดประมาณผลกระทบที่เกิดขึ้น คณะผู้วิจัยได้ทำการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ทางยา ในระหว่าง ปี พ.ศ. 2543-2553 จำนวน 2,034 ฉบับ พบว่า มีคำขอรับสิทธิบัตร ร้อยละ96 ที่มีลักษณะอยู่ในเงื่อนไขที่เป็น evergreening patent โดยพบว่าปัญหาส่วนใหญ่คือ คำขอรับสิทธิบัตร "ข้อบ่งใช้/การใช้" ร้อยละ 73.7 สูตรตำรับและส่วนประกอบ ร้อยละ 36.4 และ Markush Claim ร้อยละ 34.7 ซึ่งทางสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขได้ทำหนังสือถึงกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อนำเสนอผลการวิจัยในฐานะที่เป้นองค์กรร่วมสนับสนุนการวิจัย และมีข้อเสนอแนะให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาควรจะพิจารณาคู่มือที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนำไปใช้ในการปรับปรุงระบบการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรซึ่งกรมฯกำลังดำเนินการพัฒนาระบบอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งการพัฒนาแก้ไข พรบ.สิทธิบัตรให้มีความเป็นธรรมมากขึ้นตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เครือข่าย ปชช.รวมตัว ร้องรัฐบาลใหม่อย่าทิ้งกฎหมายประชาชน

Posted: 12 Sep 2011 08:03 AM PDT

วันอังคารที่ 13 กันยายน 2554 เครือข่ายภาคประชาชนหลากหลายกลุ่มกว่า 300 คน นัดรวมตัวบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล เวลา 9.00 น. เพื่อยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้นำกฎหมายที่เสนอโดยประชาชนเข้าชื่อกัน 10,000 คน ทั้งหมด 9 ฉบับ ที่ค้างพิจารณาจากสภาที่แล้วมาพิจารณาต่อในสภาสมัยนี้ด้วย 

กฎหมายภาคประชาชนทั้ง 9 ฉบับได้แก่ 1. ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. .... , 

2. ร่าง พ.ร.บ. องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคพ.ศ. .... , 3. ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการ สาธารณสุข พ.ศ. .... , 4. ร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. .... (ฉบับผู้ใช้แรงงาน) , 5. ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยวิชาชีพการสาธารณสุข, 6. ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.....,7. ร่าง พ.ร.บ. บำนาญประชาชน พ.ศ. .... , 8. ร่างพ.ร.บ. กองทุนผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. …. และ 9. ร่าง พ.ร.บ. การจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ พ.ศ... 

ทั้งนี้ เนื่องจากตามรัฐธรรมนูญมาตรา 153 วรรคสอง กำหนดว่า หากมีการยุบสภาและมีการเลือกตั้งใหม่ รัฐบาลใหม่ต้องร้องขอต่อรัฐสภาภายในหกสิบวัน นับแต่วันประชุมสภาครั้งแรก เพื่อให้นำกฎหมายที่ค้างพิจารณาจากสภาที่แล้วมาพิจารณาต่อหากรัฐบาลไม่ร้องขอให้นำกฎหมายฉบับใดขึ้นมาพิจารณาต่อ กฎหมายฉบับนั้นก็จะเป็นอันตกไป 

และระยะเวลาหกสิบวันจะครบกำหนดในสิ้นเดือนนี้ ทำให้เครือข่ายภาคประชาชนจากหลากหลายเครือข่ายที่เคยเสนอกฎหมายต้องมาเรียกร้องให้รัฐบาลนำกฎหมายภาคประชาชนกลับเข้าสู่กระบวนการพิจารณาด้วย

 

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

'จังหวัดจัดการตนเอง' ความเพ้อฝันหรือซ่อนเร้นของเหล่า 'ขุนนางเอ็นจีโอ' ?

Posted: 12 Sep 2011 07:58 AM PDT

คำว่า “จังหวัดจัดการตนเอง”  ผู้เขียนได้ยินกระแสนี้ดังขึ้น  ในช่วงภายหลังจากรัฐอภิสิทธิ์ชนปราบปรามสังหารประชาชนคนเสื้อแดง เมื่อเดือนเมษา-พฤษภาอำมหิต 53  ผู้เขียนในฐานะที่เคยมีบทบาทในการผลักดันองค์การบริหารส่วนตำบลหลังหตุการณ์พฤษภา' 35 ให้มีบทบาทในท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น  รู้สึกสนใจประเด็นนี้ พร้อมๆ มึนงง กับ “จังหวัดจัดการตนเอง” ที่มีนายประเวศ วะสี สนับสนุน มีนายสวิง ตันอุด และนายชัชวาล์ ทองดีเลิศ เป็นกำลังสำคัญ ว่ามีความหมายเช่นใด จึงพยายามที่จะถอดรหัส  “จังหวัดจัดการตนเอง” ซึ่งกำลังขับเคลื่อนและคงใช้งบประมาณจำนวนไม่น้อยเช่นกัน และผู้อ่านควรดูเวปไซค์นี้ www.จังหวัดจัดการตนเอง.net  ประกอบ 

ผู้เขียนขออนุญาตชวนร่วมกันวิวาทะ และมีข้อวิจารณ์  ตั้งข้อสังเกตบางประการกับ “จังหวัดจัดการตนเอง”  ในบริบทการเมืองไทยปัจจุบัน 

ประการที่หนึ่ง  ผู้มีบทบาทนำการขับเคลื่อน “จังหวัดจัดการตนเอง”  ล้วนเป็น "ขุนนางเอ็นจีโอ” ที่นิยมการรัฐประหาร  สนับสนุนรัฐธรรมนูญ 50 ฉบับอำมาตย์ ส่งเสริมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่แต่งตั้งโดย คมช. เป็นไปได้หรือไม่? ว่าพวกเขามีเจตนาแฝง ต้องการเบี่ยงเบนประเด็นทางสังคมที่สำคัญๆ ว่า ต้องลงโทษคนสั่งฆ่าประชาชน ต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม  ต้องแก้ไขมาตรา 112 ต้องปฏิรูปกองทัพ  เป็นต้น

ประการที่สอง บทวิเคราะห์ของพวกเขามองว่า ความขัดแย้งทางการเมือง ความเป็นเหลือง-แดง รากเหง้ามาจากการรวมศูนย์อำนาจ จึงต้องมี “จังหวัดจัดการตนเอง” เป็นทางออกต่อปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองทั้งปวง 

ผู้เขียนกลับเห็นว่า ความขัดแย้งที่ผ่านมา เกิดจากการรัฐประหาร 49 เป็นการต่อสู้ระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยกับฝ่ายอำมาตยาธิปไตย เป็นการต่อสู้ระหว่างความคิดที่ว่าจะเอา “คนดีมีศีลธรรม” หรือ “นักการเมืองที่ประชาชนเลือกเอง” หรือความคิดที่ว่า “คนเราเท่ากัน” “หนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียง” มิใช่ “ชาติกำเนิด” “ฐานะทางชนชั้น” ต่างหาก 

เป็นความขัดแย้งระหว่างอุดมการอนุรักษ์นิยม-อำมาตย์-คลั่งชาติ กับอุดมการเสรีนิยม-ประชาธิปไตย-รักชาติ

และบทวิเคราะห์ของพวกเขาทำตัวเสมือน “เป็นกลางทางการเมือง” ไม่แดง ไม่เหลือง แต่แท้จริงแล้วพวกเขา “เหลือง” “เหลืองอ่อน” “เหลืองเข้ม” “เหลืองเนียน” “เหลืองซ่อนรูป” และก็คือ ”เหลือง” นั่นเอง ที่ไม่ยอมรับกติกาประชาธิปไตยดั่งอารยชนที่พึงมี 

ประการที่สาม การขับเคลื่อนเรื่อง การรวมศูนย์อำนาจจากส่วนกลาง เป็นปัญหาสำคัญ และต้องยกเลิกส่วนภูมิภาค ต้องให้ประชาชนในจังหวัดเลือกตั้งผู้บริหารเอง เป็นมาตั้งแต่ช่วงหลังพฤษภา 35 ซึ่งต่างกับข้อเสนอของพวกเขาที่ผ่านมา เช่น ต้องมีสภาประชาชน สภาปราชญ์ที่ไม่ต้องมีการเลือกตั้ง หรือสภาองค์กรชุมชนที่เลือกกันเองภายในกลุ่มคนแวดวงขุนนางเอ็นจีโอ ซ้อนกับองค์กรปกครองท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งของคนท้องถิ่นผู้มีสิทธิ์เสียงเองทั้งหมด

ผู้เขียนรู้สึกมึนงง จึงมีคำถามว่า พวกเขาต้องการมีการเลือกตั้ง หรือต้องการเลือกกันเอง อย่างไรกันแน่? 

และทำไมปัจจุบันพวกเขาจึงเสนอ “จังหวัดจัดการตนเอง” หรือพวกเขาเพิ่งจะตกผลึก หรือพวกเขาสามารถเปลี่ยนประด็น เขียนโครงการ ได้เรื่อยๆ ตามแต่เงื่อนไขงบประมาณ และแหล่งทุน ?

ประการที่สี่ บทวิเคราะบทความหลายชิ้นในเวปไซค์ของพวกเขา ยังยึดติดโน้มเอียงกับความเป็นโรแมนติคของคนชั้นกลางในการมองชนบทแบบหยุดนิ่ง ไม่เคลื่อนไหว ไม่มีความขัดแย้ง ทั้งๆ ที่มีงานวิจัยจำนวนมากบอกว่า “ชนบทไม่เหมือนเดิม” อีกแล้ว แต่พวกเขายังจมปลักกับการมองปัญหาดิน น้ำ ป่า เกษตรอินทรีย์ เศรษฐกิจชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น แบบหยุดนิ่งตายตัวเช่นเดิม ทั้งๆ ที่พวกเขาล้วนมีชิวตอยู่ “ในเมือง” ที่ทันสมัย

ประการที่ห้า ข้อเสนอให้มีการระดมหนึ่งหมื่นรายชื่อเพื่อออก พ.ร.บ. เชียงใหม่จัดการตนเอง เข้าสู่กระบวนการรัฐสภา นับว่า พวกเขายังไม่สรุปบทเรียนความผิดพลาดใหญ่หลวง จากกรณีพระราชบัญญัติป่าชุมชนที่ขับเคลื่อนมาร่วม 20 กว่าปี และได้ออก พ.ร.บ.ป่าชุมชนอย่างรวดเร็วฉับไวสมัย สนช.ที่มีนางเตือนใจ ดีเทศน์ ได้รับการแต่งตั้งเป็น สนช.ด้วย และสนช.ได้บิดเบือดสาระสำคัญ เช่น แทนที่จะให้อำนาจชุมชนท้องถิ่น กลับให้อำนาจรวมศูนย์ที่กรมป่าไม้เช่นเดิม 

หรือแม้แต่กรณีการเลือกคณะกรรมการ กสทช.ล่าสุด ผู้ได้รับการเลือก มีทหารจำนวนถึง 5 คน

เนื่องเพราะวุฒิสมาชิกมาจากการแต่งตั้งจำนวนมาก จึงไม่ต่างจาก สนช.ที่มาจาก คมช. ซึ่งพวกเขาก็น่ารู้ดีว่า ข้าราชการวิธีคิดแบบรวมศูนย์อำนาจ ชอบสั่งการสูง ไม่ชอบการตรวจสอบ ไม่โปร่งใส และที่สำคัญไม่นิยมประชาธิปไตย 

ฉะนั้นจึงควรแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 ก่อน เพื่อมิให้อำนาจวุฒิสมาชิกลากตั้งครอบงำ 

แต่พวกเขาอาจเหมือนเดิม “อุดมการอำตยาธิปไตยไม่เปลี่ยนแปลง” จักเข้าร่วมมือกับพันธมิตร พรรคประชาธิปัตย์ และอำมาตย์ ทำนอง “รัฐธรรมนูญข้าใครอย่าแตะ” เนื่องเพราะที่ผ่านมา พวกเขาเป็นจักรกลสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญ 50 และผลักดันให้รับร่างรัฐธรรมนูญ 50 

เพราะพวกเขาจำนวนหนึ่งเป็น “ขุนนางเอ็นจีโอ”

ประการที่หก งบประมาณจำนวนเท่าไร กี่ล้านบาทในการขับเคลื่อน “จังหวัดจัดการตนเอง” ล้วนเป็นภาษีของประชาชน มาจากองค์กรไหน? พอช. สสส. สภม.? พวกเขาควรทำให้โปร่งใส เปิดเผย และตรวจสอบได้ด้วย เนื่องเพราะ พวกเขา ล้วนเป็น ”คนดีมีศีลธรรม” และเป็นแบบอย่างตาม ”หลักการธรรมาภิบาล” ให้แก่สังคมไทย .ใช่หรือไม่?

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ก.ต่างประเทศ-กรรมการสิทธิฯ รับ กม.หมิ่นมีปัญหา

Posted: 12 Sep 2011 05:21 AM PDT

ตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศ และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ยอมรับ ประเทศไทยประสบปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนหลายด้าน รวมถึงเสรีภาพในการแสดงออก ชี้กฎหมายหมิ่นฯ ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ด้านสหประชาชาติเผย จะจัดหาคู่มือเรื่องมาตรฐานสากลของเสรีภาพในการแสดงออกให้หน่วยงานราชการไทยเพื่อให้เข้าใจความหมายตรงกัน

12 ก.ย. 54 เมื่อเวลา 9.00 น. ณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิศักยภาพชุมชน ร่วมกับศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย จัดงานเสวนาว่าด้วยรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน: กระบวนการ ความร่วมมือและการนำไปใช้ (Universal Periodic Review Reports: Process, Cooperation and Implementation) โดยมีตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสำนักข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) เข้าร่วมแลกเปลี่ยนในประเด็นสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
 

กสม. แจง ต้องรายงานสถานการณ์สิทธิยูเอ็นตามความเร่งด่วน
อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เปิดเผยถึงกระบวนการการจัดทำรายงานเพื่อประกอบการรายงานสถานการณ์สิทธิประเทศไทยว่า ได้ใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลคำร้องที่ประชาชนมาร้องเรียนด้านการละเมิดสิทธิ ประกอบกับการจัดเวทีรับฟังข้อมูลจากกลุ่มประชาสังคมต่างๆ ให้ครบถ้วนมากที่สุดเท่าที่จะมากได้

อย่างไรก็ตาม เธอกล่าวว่า เนื่องจากเนื้อที่ของรายงานที่ต้องจัดส่งมีเนื้อที่จำกัดเพียงห้าหน้า จึงจำเป็นต้องจัดทำรายงานโดยเรียงลำดับตามความสำคัญ ทำให้รายงานส่วนของคณะกรรมการสิทธิฯ ประกอบด้วย ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง สิทธิชุมชน การค้ามนุษย์ และสิทธิของผู้ลี้ภัย

“เนื่องจากที่ของรายงานมีจำกัด เราจึงพิจารณาตามเกณฑ์ความเหมาะสม กล่าวคือต้องเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ส่วนใหญ่ของสาธารณชน เป็นเรื่องที่มีความร้ายแรงและเร่งด่วน และเป็นข้อกังวลของประชาคมนานาชาติ” อมรา อธิบาย

ทั้งนี้ รายงานสถานการณ์สิทธิฯ ที่ส่งเพื่อไปตรวจสอบในที่ประชุมในสหประชาชาติ จะประกอบไปด้วยรายงานสามส่วน คือ รายงานของรัฐบาล ซึ่งจัดทำโดยกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงยุติธรรม รายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษชนแห่งชาติ ร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคม และรายงานที่รวบรวมโดยข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติ
 

กระทรวงการต่างประเทศรับ กฎหมายหมิ่นฯ ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง
ศิริลักษณ์ นิยม ตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศ อธิบายถึงกระบวนการ UPR หรือการจัดทำรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนว่า เป็นขั้นตอนตรวจสอบสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของทุกประเทศที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติโดยไม่มีข้อยกเว้น และมีลักษณะเป็นแบบ “Peer review” หรือตรวจสอบระหว่างรัฐด้วยกันเอง ในขณะเดียวกัน เธอกล่าวว่า กระบวนการดังกล่าว ยังเป็นวิธีที่ทางการสามารถนำไปพิจารณาเพื่อสะท้อนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายในประเทศ อันจะนำไปสู่การพูดคุยกับหน่วยงานต่างๆ ต่อไป

เมื่อผู้สื่อข่าวถามตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศ และ กสม. ว่าคิดอย่างไรกับข้อกังวลของสหประชาชาติที่มองว่ากฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จำกัดเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทย ตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า เห็นด้วยว่า กฎหมายหมิ่นฯ มีความจำเป็นต้องปรับปรุงไม่ให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง แต่กฎหมายดังกล่าวจะมีการปฏิรูปหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเพื่อดูแลการใช้กฎหมายดังกล่าวภายใต้กระทรวงยุติธรรม

ขณะที่อมรา พงศาพิชญ์ ตัวแทนจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า กสม. กำลังทำงานแก้ปัญหาดังกล่าวอยู่ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจาก กสม.ไม่สามารถสั่งให้รัฐบาลทำอะไรได้ เพียงแต่ยื่นข้อเสนอแนะต่างๆ ให้แก่รัฐบาลได้รับฟังเท่านั้น ส่วนรัฐบาลจะรับหรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่ต้องรอดู

“เราไม่สามารถควบคุมได้ทุกอย่าง แต่เราจะพยายามทำให้ดีที่สุด ในขณะเดียวกัน ต้องรอดูว่ารัฐบาลนี้จะรับข้อเสนอเพื่อนำไปปฏิบัติต่ออย่างไร ถ้าหากว่ารัฐบาลนี้รับ ก็ถือว่าเป็นข้อดี แต่ถ้าหากว่าไม่ กสม.ก็จำเป็นต้องผลักดันต่อไป” ประธาน กสม. กล่าว
 

ทางการไทย เตรียมถูกนานาชาติตรวจสอบสถานการณ์สิทธิเดือนหน้า
จง-กิล วู ผู้แทนจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ กล่าวแสดงความยินดีต่อกระทรวงการต่างประเทศของไทยที่เห็นว่า กฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์มีปัญหาต่อสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก นอกจากนี้ ยังกล่าวด้วยว่า ในอนาคต ทางสหประชาชาติจะจัดหาคู่มือและแนวทางว่าด้วยมาตรฐานเสรีภาพในการแสดงออก เพื่อให้ทางการมีความเข้าใจเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกที่ตรงกับมาตรฐานสากลมากขึ้น

ด้านศรีประภา เพชรมีศรี นักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชน ให้ความเห็นว่า กระบวนการ UPR เป็นกระบวนการที่ใหม่ และเป็นประโยชน์ในกลไกด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ผ่านการตรวจสอบกันเองของประเทศต่างๆ ในเวทีสหประชาชาติ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยดังกล่าว ยังแล้วแต่ด้วยว่า ประเทศที่ถูกกำหนดให้ตรวจสอบประเทศอื่นเป็นอย่างไร

ทั้งนี้ ทางการไทย จะถูกตรวจสอบด้านสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศ ในวันที่ 5 ตุลาคมที่จะถึงนี้ ณ ที่ประชุมแห่งสหประชาชาติ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศของไทย จะถูกตั้งคำถามจากตัวแทนจากสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ในประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งตัวแทนไทยมีหน้าที่ชี้แจง และสามารถนำข้อเสนอแนะจากประเทศต่างๆ ไปปฏิบัติต่อได้ โดยผู้สนใจสามารถรับชมการถ่ายทอดสดได้ที่เว็บไซต์ http://www.un.org/webcast/unhrc/

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"เฉลิม" ลั่น 90 วันเว็บหมิ่นต้องหมดไป

Posted: 12 Sep 2011 03:18 AM PDT

"เฉลิม" เรียกถกนายตำรวจจบดอกเตอร์ตั้งกรรมการขีดเส้น 90 วัน เว็บหมิ่นเบื้องสูงต้องไม่มี หากเกิดแล้วต้องปิดกั้นจับกุมทุกรูปแบบ ด้านกองทัพบกจัดสัมมนาโครงการ “รวมพลังคนไทยรักแผ่นดิน” 13 ก.ย. นี้

12 ก.ย. 54 - ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่าที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 11.45 น. ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ ว่า เมื่อค่ำวันที่ 11 ก.ย.ที่ผ่านมา มีข่าวดีคือเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาลสามารถจับกุมแหล่งผลิตยาบ้าเคลื่อนที่ขนาดเล็ก ที่จะผลิตตามบ้านที่อยู่อาศัยครั้งละ 3 วัน 5 วัน ตนจึงได้ตั้งหน่วยจรยุทธ์ติดตามต่อ เพราะขณะนี้วิธีการผลิตเปลี่ยนแปลงไปมาก อย่างช่วงหน้าฝนไม่มีแดดตากยาบ้าก็จะใช้แสงสปอตไลต์ส่อง ยืนยันว่าตนจะดำเนินการปราบยาเสพติดให้ได้เร็วที่สุด เหลือน้อยที่สุด บนหลักนิติธรรมและหลักนิติรัฐ

โดยในวันศุกร์ที่ 16 ก.ย.นี้ ตนจะไปประชุมที่ ป.ป.ส. หลังจากนั้นในวันที่ 23-25 ก.ย. จะเดินทางไป จ.เชียงราย เพื่อเรียกประชุมเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 3 จังหวัดได้แก่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และกองทัพ มาประชุมเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง รวมทั้งตนจะลงพื้นที่ตามเส้นทางลำเลียงยาเสพติดด้วย หากบล็อกพื้นที่ดังกล่าวได้ ปัญหาก็จบ เพราะมันเป็นต้นทาง โดยที่ จ.เชียงราย มันเป็นสัญลักษณ์ และคงต้องมีการประสานกับประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นต้นทางด้วย ซึ่งเร็ว ๆ นี้จะมีข่าวดี

เมื่อถามว่า กลุ่มที่ผลิตในเขตพื้นที่เมืองเป็นเครือข่ายเดียวกับตามแนวชาวแดนหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ในเขตพื้นที่เองไม่ใช่เครือข่ายเหล่านั้นแต่เป็นพวกครูพักลักจำ และมีไม่มากนัก แต่ยาเสพติด 87% มาจาก 8 จังหวัดภาคเหนือ

ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่รัฐบาลดำเนินนโยบายปราบยาเสพติดอย่างเข้มข้นจะเกิดครหา การฆ่าตัดตอนเหมือนอย่างรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า ไม่มีเรื่องฆ่าตัดตอน ในสมัยที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกฯก็ได้ตั้งคณะกรรมการที่มี นายคณิต ณ นคร เป็นประธาน ขึ้นมาตรวจสอบ และตั้งพล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ อดีตรอง ผบ.ตร. มาตรวจสอบซึ่งทั้งสองชุดรายงานว่าไม่มีการฆ่าตัดตอน ดังนั้นเรื่องนี้ควรจะจบได้แล้ว

“พรรคประชาธิปัตย์เก่งเรื่องนี้ ถนัดนัก แต่ผมอธิบายได้ แต่ไม่ถึงกับขนาดเอาผ้าขาวไปปูและคุกเข่ากราบ ตำรวจก็มีขั้นตอนการทำงาน ถ้ายิงตำรวจแล้วตำรวจคุกเข่ายกมือไหว้มันก็ไม่ใช่ และความจริงโทษประหารชีวิตก็มีอยู่แล้ว จะต้องไปเพิ่มโทษอะไรอีก เพราะโทษประหารชีวิตอยู่ในดุลพินิจของศาล” ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว

รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในเวลา 14.00 น. วันเดียวกัน ตนได้เรียกประชุมข้าราชการตำรวจที่เป็นนักเรียนทุนระดับดอกเตอร์ของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ซึ่งจะเน้นเรื่องการสืบสวน สอบสวน การปราบปราม งานระดับสถานีตำรวจ และการถวายความจงรักภักดีที่จะต้องดูแลไม่ให้เว็บไซต์หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จะต้องไม่มี หากเกิดแล้วต้องปิดกั้นจับกุมทุกรูปแบบ ความจริงใน สตช. มีนายตำรวจที่เรียนจบระดับปริญญาเอกจำนวนมาก แต่ไม่มีใครใช้ ตนจึงจะหารือว่าจะมีแนวทางอย่างไรให้ สตช.ทำงานรับใช้ประชาชนได้ โดยให้ตั้งเป็นคณะกรรมการ และให้ระยะเวลาทำงาน 90 วัน หากต้องการการสนับสนุนอย่างไรให้แจ้งผ่านทาง พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รองผบ.ตร. รรท.ผบ.ตร.

กองทัพบกจัดสัมมนาโครงการ “รวมพลังคนไทยรักแผ่นดิน” 13 ก.ย. นี้

เมื่อวันที่ 11 ก.ย. 54 ที่ผ่านมา เว็บไซต์เดลินิวส์รายงานว่าพล.ท.อุดมเดช สีตบุตร แม่ทัพภาคที่1 ( มทภ.1) เปิดเผยว่า จากปัญหาภัยคุกคามที่เกิดขึ้นไม่เฉพาะแต่ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติดเท่านั้น แต่ขณะนี้ยังเกิดปัญหาในเรื่องของการก้าวล่วงและโจมตีสถาบันเบื้องสูง จากกลุ่มผู้ไม่หวังดีในรูปแบบต่าง ๆซึ่งปัญหาเหล่านี้กระทบต่อความมั่นคงของชาติเป็นอย่างมาก ดังนั้นในฐานะที่กองทัพบกมีหน้าที่ดูแลปกป้องสถาบันและมีภารกิจการบูรณาการด้านมวลชนและการขับเคลื่อนสร้างเครือข่ายภาคประชาชน โดยได้จัดโครงการภายใต้ชื่อ “คนไทยรักษ์แผ่นดิน” มาแล้ว 14 รุ่น จำนวน 4,000 คน
  
พล.ท.อุดมเดช กล่าวต่อว่า ทางกองทัพบก โดยกองทัพภาคที่1 ได้มอบหมายให้มณฑลทหารบกที่ 11 ดำเนินการ โครงการสร้างเครือข่ายภาคประชาชนขึ้น เพื่อเป็นการสร้างพลังให้ประชาชนได้ตระหนักในหน้าที่ที่จะต้องพิทักษ์รักษาไว้ ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และปลูกจิตสำนึกการสร้างความรัก ความสามัคคีของคนในชาติรวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกป้องและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่กระทบต่อความมั่นคงภายในประเทศและความสงบเรียบร้อยของสังคม โดยในวันที่ 13 ก.ย. ทาง มทบ.11 จึงได้จัดสัมมนาโครงการ “รวมพลังคนไทยรักแผ่นดิน” ที่สโมสรกองทัพบก ตั้งแต่เวลา 08.30 น. เพื่อเป็นการพบปะมวลชนที่ได้ผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว และเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน โดยกิจกรรมการจัดงาน อาทิ การแสดงดนตรี การบรรยายเกี่ยวกับงานด้านความมั่นคงและการปลูกฝังอุดมการณ์ความรักชาติ เป็นต้น”

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พื้นที่อันเลือนราง และเรื่องราวที่เลือนหายในเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติในสังคมไทย

Posted: 12 Sep 2011 02:20 AM PDT

 

ภาพการย้ายถิ่นข้ามชาติของแรงงานข้ามชาติ และคนข้ามชาติในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับประเทศไทย ได้แก่ พม่า ลาว และกัมพูชา เริ่มกลายเป็นประเด็นที่ถูกกล่าวถึงมากขึ้น นับตั้งแต่ประเทศไทยเริ่มมีนโยบายที่อนุญาตให้มีการจ้างแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อทดแทนการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต ควบคู่ไปกับการจัดการคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการพยายามจะสร้างประชากรที่มีคุณภาพของไทยโดยผ่านระบบการศึกษา การเติบโตของภาคอุตสาหกรรม และการบริการ ปัจจัยเหล่านี้ มีส่วนไม่น้อยในการทำให้กระแสของการย้ายถิ่นข้ามชาติในประเทศไทย ไหลบ่าด้วยอัตราเร่งที่มีมากขึ้นกว่าอดีต

ตลอดเกือบสองทศวรรษที่ผ่าน นโยบายการจัดการแรงงานข้ามชาติแม้ส่วนใหญ่จะอยู่ในวังวนของการจัดการระยะสั้นที่วางบนฐานของความต้องการจัดการกับการขาดแคลนแรงงาน และปัญหาความมั่นคงแล้ว แต่ก็อาจจะมองได้ว่า มีจุดเปลี่ยนที่สำคัญในทางนโยบายอย่างน้อยสี่ครั้ง เช่น การทำเปิดพื้นที่การจ้างงานแรงงานข้ามชาติในพื้นที่ชั้นใน เมื่อ พ.ศ. 2539 การเกิดระบบประกันสุขภาพให้แก่แรงงานข้ามชาติ เมื่อ พ.ศ. 2544 การเปลี่ยนระบบการจัดการแบบก้าวกระโดด ทั้งในเชิงการจัดการประชากร และการปรับจากแรงงานข้ามชาติเข้าเมืองผิดกฎหมายไปเป็นแรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองถูกกฎหมายโดยผ่านกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ และการนำเข้าแรงงานตามข้อตกลงระหว่างประเทศไทยและเพื่อนบ้าน เมื่อปี 2547 และการเกิดขึ้นของพรบ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น พรบ.การทะเบียนราษฎรฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

ในอีกด้านหนึ่งบทบาทของงานวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการย้ายถิ่นข้ามชาติ แรงงานข้ามชาติ และคนข้ามชาติในประเทศไทยก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตามอัตราเร่งของการย้ายถิ่นข้ามชาติเช่นกัน และในหลายครั้งที่เราจะพบเห็นงานวิจัย งานวิชาการ กลายเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจในระดับนโยบาย และอธิบายปรากฎการณ์การย้ายถิ่นข้ามชาติที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความต้องการแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย ผลกระทบของแรงงานข้ามชาติด้านต่างๆ การจัดการแรงงานข้ามชาติทั้งในระดับนโยบาย และในระดับปฏิบัติ การบังคับใช้กฎหมาย การปรับตัวของแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย เป็นต้น แต่กระนั้นก็ตาม จากมุมมองที่มองผ่านการทำงานเรื่องแรงงานข้ามชาติในระยะหนึ่ง และความพยายามจะมองไปยังหนทางที่ต้องก้าวไปข้างหน้า ผู้นำเสนอก็มีข้อสังเกตุบางประการต่อพื้นที่ เรื่องราว และผู้คนที่เลือนลางในงานศึกษาวิจัย หรือเพียงผ่านเข้ามาเป็นตัวประกอบชั่วครู่ชั่วยาม ซึ่งผู้นำเสนอ ขอตั้งเป็นข้อสังเกตุใน 4 พื้นที่ใหญ่ ๆ ดังหนึ่ง เพื่อเปิดพื้นที่ของการถกเถียงพูดคุยกันต่อไป

พื้นที่แรก รอยต่อและและจุดเปลี่ยนของนโยบายการจัดการแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจุดเปลี่ยนสองครั้งหลังที่ค่อนข้างใกล้กัน คือ ปี 2547 และปี 2551 ซึ่งถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนทั้งในเชิงรูปแบบ พื้นที่ และวิธีคิด ต่อแรงงานข้ามชาติ เราจะพบว่าจุดเปลี่ยนที่สำคัญในปี 2547 คือการทำให้ความเป็นพลเมือง (ในความหมายที่กว้าง) หรือผู้คนภายใต้การจัดการของรัฐต่อแรงงานข้ามชาติชัดเจนขึ้นโดยผ่านระบบทะเบียนราษฎร รวมทั้งการปรับฐานะจากแรงงานเข้าเมืองผิดกฎหมายไปเป็นแรงงานเข้าเมืองถูกกฎหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการปรับเปลี่ยนวิธีคิดวิธีการจัดการในเชิงนโยบายต่อแรงงานข้ามชาติ แต่กลับพบว่ามีงานวิจัยหรืองานวิชาการจำนวนไม่มากนักที่จะสามารถอธิบาย หรือชี้ให้เห็นนัยยะสำคัญของการเปลี่ยนแปลงนี้ รวมทั้งยังไม่สามารถชี้ให้เห็นถึงข้อจำกัด และแนวโน้มที่ควรจะต้องดำเนินการได้มากนัก สิ่งทีป่รากฎขึ้นในระดับปฏิบัติจึงเป็นความอิหลักอิเหลื่อของแนวคิดที่มองแรงงานข้ามชาติแบบคนผู้เข้าเมืองผิดกฎหมาย เป็นปัญหา กับตัวตนในเชิงกฎหมายที่เปลี่ยนไปของแรงงานข้ามชาติ ซึ่งส่งผลกระทบทั้งต่อตัวแรงงานข้ามชาติ และการจัดการเชิงนโยบายไม่น้อย หรือการปรับเปลี่ยนสถานะของแรงงานข้ามชาติกับการเข้าถึงบริการทางสังคม เช่น การบริการทางสุขภาพ กลับถูกปล่อยให้เป็นไปตามยะถากรรมและความเข้าใจเอาเองของผู้ปฏิบัติ ขาดการจัดการที่สอดคล้อง ขณะเดียวกันบทบาทของงานวิจัยและวิชาการก็ไม่สามารถเข้ามาชี้นำทิศทางที่ควรจะเป็น หรืออธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นให้สังคมเข้าใจ

พื้นที่ที่สอง ครอบครัวข้ามชาติ การแต่งงานข้ามชาติ (ข้ามวัฒนธรรม) เป็นที่ปรากฎชัดว่า การย้ายถิ่นข้ามชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้น ไม่ได้มีเพียงการย้ายถิ่นของแรงงานข้ามชาติเท่านั้น แต่กลับพบเห็นผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ เช่น ลูกของแรงงานข้ามชาติ รวมถึงสมาชิกในครอบครัวคนอื่น ๆ เข้ามาอยู่ด้วย รวมทั้งการเข้ามาแต่งงานตั้งครอบครัวในประเทศไทย ซึ่งเริ่มมีการแต่งงานในลักษณะข้ามวัฒนธรรม เช่นคนไทยแต่งงานกับคนพม่า คนพม่าแต่งงานกับคนลาว เป็นต้น ซึ่งปรากฎการณ์ในลักษณะเช่นนี้จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น มีรายละเอียดต่อมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและสังคมไทยเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันการจัดการในเชิงนโยบาย และคำอธิบายปรากฎการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในเชิงวิชาการ หรืองานวิจัยกับพบไม่มากนัก ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการจัดการประชากรต่อไปในอนาคตได้

พื้นที่ที่สาม การแลกเปลี่ยน การปะทะทางวัฒนธรรม และการเข้าสู่สังคมแห่งความหลากหลายของวัฒนธรรม การย้ายถิ่นข้ามชาติ ย่อมส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมทั้งของผู้ที่อยู่เดิม และผู้ที่เข้ามาใหม่ในพื้นที่ การย้ายถิ่นข้ามชาติที่ปรากฎในสังคมไทยก็เช่นกัน การปะทะ และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมย่อมมีให้เห็น และมีผลต่อวิถีชีวิตทั่วไปของประชากรในพื้นที่เป็นเรื่องปรกติ ขณะเดียวกัน แม้จะเป็นการย้ายถิ่นข้ามชาติ แต่เนื่องด้วยความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน หรือมีความใกล้เคียงกัน ก็ยังทำให้เกิดการรื้อฟื้น หรือการหวนกลับคืนของวัฒนธรรมท้องถิ่นเดิมที่ถูกทำให้กลืนกลายหายไปอันเนื่องมาจากกระแสวัฒนธรรมหลักของรัฐไทยในอดีตได้กลับมาใหม่อีกครั้ง ภายใต้การเรียนรู้การอยู่ร่วมระหว่างผู้อยู่แต่เดิม และผู้มาใหม่ นอกจากนั้นแล้ว สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และปรากฎตัวค่อนข้างชัดเจนมากขึ้นต่อเนื่องจากการย้ายถิ่นคือ การเป็นสังคมที่มีความหลากหลายของผู้คน หรืออาจจะเรียกว่าการก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่ปรากฎชัดมากขึ้น ซึ่งท้าท้ายต่อการจัดการ และการสร้างความเข้าใจของผู้คนที่อยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่าง อีกครั้งยังต้องเผชิญกับกรอบคิดแบบเดิมเจือไปด้วยความคิดเชิงชาตินิยม หรือมองคนที่ต่างอย่างไม่ไว้วางใจของผู้คนในสังคม ปรากฎการณ์เหล่านี้มีผลกระทบต่อผู้คน และทิศทางการพัฒนาของท้องถิ่นไม่มากก็น้อย แต่กลับไม่อยู่ในสารระบบการจัดการ หลายครั้งการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นก็ถูกเข้าใจผิดจากการจัดการของรัฐ ขณะเดียวกันองค์ความรู้ในเชิงวิชาการ คำอธิบายที่มีพลังก็แผ่วเบาไปด้วยเช่นกัน

พื้นที่ที่สี่ ชายแดน และการก้าวเข้าสู่ความเป็นภูมิภาคต่อการย้ายถิ่น ความพยายามจะก่อให้เกิดประชาคมอาเซียน และการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอนาคตอันใกล้ ได้รับการพูดถึงอย่างจริงจังมากขึ้น เรื่องแรงงานข้ามชาติก็เป็นวาระสำคัญที่อาเซียนได้หยิบยกเข้ามาเป็นวาระหนึ่งในอาเซียน อย่างไรก็ตามแม้จะพยายามสร้างจิตวิญญาณของความเป็นภูมิภาคอาเซียน การพยายามทำความเข้าใจต่อผู้คนที่ต้องเคลื่อนย้ายอย่างเสรี ก็คงค้างกลิ่นอายของความหวาดระแวง โลกทัศน์แบบชาตินิยม ความเข้มขลังของความมั่นคงแห่งชาติที่ยังอบอวลในความเป็นอาเซียน อาเซียนยังมองการย้ายถิ่นข้ามชาติ เพียงกลุ่มคนที่เป็นแรงงานฝีมือ กึ่งฝีมือที่เข้าเมืองถูกกฎหมาย ยังปล่อยให้ภาวะการย้ายถิ่นปรกติ (ที่ถูกมองจากรัฐว่าไม่ปรกติ) ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่คือ คนจน คนที่ด้อยโอกาสในเชิงเศรษฐกิจ และอำนาจ ที่เดินข้ามแดนไปมาโดยไม่มีเอกสาร หรือเป็นไปตามกรอบกฎหมายในเรื่องการเข้าเมืองของรัฐ ให้เป็นเพียงเรื่องที่ถูกปิดกั้นเอาไว้ หรือให้อยู่ภายใต้กรอบความมั่นคงของรัฐ จนไม่สามารถถูกนับเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นอาเซียนได้ ซึ่งในประเทศไทยเองการทำงานในเชิงวิชาการในเรื่องนี้ก็ยังเป็นช่องว่างที่รอได้รับการเติมเต็ม และมีคำอธิบายที่มีพลังในการจะขับเคลื่อนอาเซียนในอีกด้าน ออกจากมุมมืดไปปรากฎต่อสายตาประชาคมอาเซียน ขณะเดียวกัน พื้นที่ชายแดนก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงและเผชิญกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ถาโถมเข้ามาอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงของชายแดนก็มีผลต่อการย้ายถิ่นข้ามชาติไม่น้อย แนวคิดการสร้างพื้นที่ทางเศรษฐกิจชายแดน การจ้างงานชายแดน และความขัดแย้งที่ยังดำรงอยู่ส่งผลต่อการพัฒนาในประเทศไทย และภูมิภาคนี้ ไม่ต่างจากที่มีผลกระทบต่อผู้คนในบริเวณชายแดน ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของชายแดนที่รวดเร็ว ความคึกคัก และบทบาทของงานวิชาการงานวิจัยก็ค่อย ๆ ขยับเคลื่อนตัวตามไป และอีกหลายประเด็นในชายแดนก็ยังไม่ปรากฎตัวในงานศึกษา คำอธิบาย หรือนโยบายรัฐเท่าที่ควร เช่น การจ้างงานตามแนวชายแดนทั้งแบบไปกลับ และตามฤดูกาล ชีวิตของแรงงานในการจ้างงานเหล่านี้ การเข้าถึงสวัสดิการและบริการทางสังคมที่พวกเขาจะได้รับ ประเด็นเหล่านี้ยังเป็นช่องว่าง และต้องการคำตอบ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "น้ำท่วมกับน้ำลาย"

Posted: 12 Sep 2011 12:45 AM PDT

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "น้ำท่วมกับน้ำลาย"

แรงงานข้ามชาติในประเทศไทย: สถานการณ์ที่กำลังเปลี่ยนแปลง

Posted: 11 Sep 2011 09:20 PM PDT

ในปี 2552 ทางการไทยได้กำหนดให้แรงงานข้ามชาติที่จดทะเบียนแล้วจำนวน 1.3 ล้านคนจากประเทศพม่า กัมพูชา และลาว ที่เดิมเป็นคนเข้าเมือง “ผิดกฎหมาย” ต้องดำเนินเรื่องพิสูจน์สัญชาติเพื่อมีสถานะที่ “ถูกกฎหมาย” โดยสมบูรณ์ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 แรงงานข้ามชาติจดทะเบียนที่ไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนดจะถูกลงโทษด้วยการถูกเนรเทศ

แต่หนึ่งเดือนก่อนครบกำหนดเส้นตาย มีแรงงานข้ามชาติที่ผ่านกระบวนการพิสูจน์สัญชาติเรียบร้อยแล้วเป็นจำนวนน้อยมาก ด้วยสาเหตุหลายประการคือ เพราะมีความกลัว ไม่ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร ไม่สามารถจ่ายค่าบริการให้นายหน้าที่ดูเสมือนว่าไม่มีใครจะควบคุมได้ และเพราะยังมีความเข้าใจที่สับสน คณะรัฐมนตรีจึงเปลี่ยนแปลงข้อบังคับกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแต่ยังคงยืนตามเส้ยตายเดิม แรงงานข้ามชาติต้องเข้ายื่นเรื่องเข้าสู่กระบวนการดังกล่าวภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 แต่กำหนดเวลาที่กระบวนการต้องแล้วเสร็จให้ขยายออกไปจนถึงสิ้นปี 2555

แรงงานข้ามชาติมากกว่า 930,000 คน ได้ยื่นเรื่องเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติภายในกำหนดเส้นตาย แต่อีก 300,000 คนไม่สามารถยื่นเรื่องได้ทัน จากประมาณการที่ว่ามีแรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้จดทะเบียนจำนวนหนึ่งล้านคนอยู่ในประเทศไทยในขณะนั้น โดยที่ไม่มีสิทธิเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ จึงกล่าวได้ว่าเมื่อประมาณ 17 เดือนที่แล้วแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้จดทะเบียน

เมื่อผ่านพ้นเส้นตายของการเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ ก็เกิดการกวาดจับแรงงานข้ามชาติอย่างกว้างขวางรุนแรงและไม่โปร่งใส ทำให้แรงงงานข้ามชาติต้องปั่นป่วนไปกับการถูกจับกุมและถูกกรรโชก ไม่นับการเนรเทศที่มีการกระทำทารุณ ในจังหวัดระนองและอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เหตุกาณ์เหล่านี้ทำให้ประชาคมโลกหันมาสนใจปัญหาความทุกข์ยากของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยกันมากขึ้นภายในเวลาอันรวดเร็ว

การบริหารจัดการการย้ายถิ่นของทางการไทย ไม่สามารถทำให้แรงงานข้ามชาติมีสถานะถูกกฎหมายได้ตามแผนงานที่ใช้เวลานานกว่า 10 ปี ในการคิดค้นและพัฒนา การคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติก็ยังคงอยู่ห่างไกลมากจากมาตรฐานระหว่างประเทศและบทบัญญัติของกฎหมายไทยเอง

สถานการณ์การย้ายถิ่นของประเทศไทยดูเหมือนจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ตั้งแต่ปี 2553 การกลับลำนโยบายที่ยินยอมให้มีการจดทะเบียนแรงงานอีกครั้งตั้งแต่ 15 มิถุนายน ถึง 14 กรกฎาคม 2554 ทำให้มีแรงงานข้ามชาติประมาณหนึ่งล้านคนมาขอจดทะเบียนในการรณรงค์เพื่อทำให้แรงงานข้ามชาติมีสถานะถูกฎหมาย ซึ่งถือได้ว่าค่อนข้างประสบความสำเร็จ แม้การดำเนินการในเรื่องนี้จะมีฝ่ายนายจ้างเป็นตัวหลัก และข้อมูลข่าวสารที่แรงงานข้ามชาติรับรู้ยังคงน้อยมากเช่นเดิม แต่ประมาณการได้ว่าในปัจจุบันแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ (2 ล้านคน) น่าจะได้จดทะเบียนกับทางการแล้ว

สำหรับแรงงานข้ามชาติชาวพม่า แม้ว่าในระยะแรกจะไม่อยากมาดำเนินเรื่องขอพิสูจน์สัญชาติแต่ปัจจุบันแรงงานข้ามชาติชาวพม่ามากกว่า 5 แสนคนมีหนังสือเดินทางชั่วคราวซึ่งใช้ได้ถึง 6 ปี นับจากวันที่ 1 กรกฎาคม 2554 แรงงานข้ามชาติที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้วมีความมั่นใจมากขึ้นที่จะเดินทางไปที่ใดก็ตามในประเทศไทยโดยไม่มีอุปสรรค (มีข้อยกเว้นที่สำคัญบางประการ) สำหรับผู้ที่พูดภาษาไทยได้ (การสอบใบขับขี่ยังคงดำเนินการเป็น ภาษาไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น และจีนเท่านั้น) สามารถขอใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ได้ ส่วนสิทธิที่จะเข้าถึงระบบการคุ้มครองทางสังคมที่ครอบคลุมกว้างขวางนั้นได้รับการรับประกันตามกฎหมาย

การเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารจัดการการย้ายถิ่น อาจจะอธิบายได้ด้วยการที่ฝ่ายนายจ้างยืนยันกับรัฐบาลว่า แรงงานมีฝีมือระดับต่ำกำลังขาดแคลนและรัฐบาลต้องแก้ไขปัญหานี้ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจึงได้ผ่อนคลายกฎระเบียบในการจ้างแรงงานข้ามชาติมีฝีมือระดับต่ำสำหรับบริษัทที่ได้จดทะเบียนกับคณะกรรมการฯ ในปี 2552

การเสนอข่าวของสื่อมวลชนในประเทศและระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของแรงงานข้ามชาติอย่างเป็นระบบ การรณรงค์ของกลุ่มนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนที่มีประสิทธิผล รวมทั้งแรงกดดันทางการทูตและแรงกดดันจากองค์การสหประชาชาติ ล้วนส่งผลต่อการทำให้สถานการณ์ก้าวหน้าขึ้นเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ข่าวที่น่าตกใจเกี่ยวกับชะตากรรมของคนงานในภาคการประมง ทำให้สถานการณ์การใช้แรงงานในภาคเศรษฐกิจนี้ยังต้องมีการติดตามตรวจสอบอย่างใกล้ชิดต่อไป

ดูเหมือนว่า บทบาทของประเทศพม่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญเช่นกัน เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของไทยระบุว่า รัฐบาลพม่าได้ให้ความร่วมมือเพิ่มขึ้นในการอำนวยความสะดวกแก่แรงงานข้ามชาติชาวพม่าในกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ ประการแรกคือ มีการย้ายศูนย์พิสูจน์สัญชาติจากเกาะสองในพม่ามาอยู่ที่จังหวัดระนองของไทย ด้วยเหตุผลที่เป็นทางการว่าเพื่อให้เกิด “ความปลอดภัย” ในช่วงฤดูมรสุม แต่ศูนย์นี้ยังคงดำเนินการจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ทางการพม่ายังได้แจกใบปลิวอธิบายขั้นตอนการพิสูจน์สัญชาติให้แก่พลเมืองของตนที่กลัวการเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ

หนังสือพิมพ์ The New Light of Myanmar อันเป็นกระบอกเสียงของทางการพม่าได้รายงานเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของพม่าวิ่งเต้นให้ทางการของไทยเปิดโอกาสให้แรงงานข้ามชาติชาวพม่าในไทยได้จดทะเบียนอีกครั้งหนึ่ง สถานทูตพม่าในไทยยื่นมือให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนและเป็นผู้ไกล่เกลี่ยในกรณีพิพาทด้านแรงงานในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายยังคงมองการกระทำดังกล่าวด้วยความเคลือบแคลงอย่างมาก โดยตั้งคำถามว่าอะไรเป็นเหตุจูงใจให้ทางการพม่ามีการกระทำที่พอจะเรียกได้ว่ามีน้ำใจต่อพลเมืองของตนเช่นนี้

กล่าวได้ว่า ตาชั่งเกือบจะเอนเอียงมาทางการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติที่ทำงานในประเทศไทยเพิ่มขึ้น แต่ยังคงไม่ชัดเจนว่าในอนาคตอันใกล้ ความก้าวหน้าจะมีเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนหรือไม่ หรือจะมีการคิดกลับไปสู่การแสงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่รวมศูนย์อยู่ที่การรักษาความมั่นคงแห่งชาติ ดังที่ผู้ย้ายถิ่นยังคงประสบอยู่ในปัจจุบัน

แม้นโยบายที่เป็นทางการของรัฐบาลไทยยังคงมีความชัดเจนเช่นเดิม คือ แรงงานข้ามชาติที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้วมีสิทธิด้านแรงงานเท่าเทียมกับคนงานไทย และกฎหมายของไทยส่วนใหญ่มีการคุ้มครองไปถึงแรงงานข้ามชาติด้วย แต่จะต้องมีความพยายามเพิ่มขึ้นอีกที่จะทำให้บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวเป็นจริง สิ่งที่ยังคงไม่ได้รับการใส่ใจตราบจนปัจจุบัน ก็คือองค์ประกอบหลากหลายประการด้านสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจที่จะทำให้สังคมไทยเห็นและเข้าใจว่า แรงงานข้ามชาติเป็นหนึ่งในบรรดากลุ่มชนที่ไร้พลังอำนาจมากที่สุดในประเทศไทย

ในทางสังคม
แรงงานข้ามชาติยังคงเป็น “คนอื่น” ในประเทศไทย โดยมีข้อยกเว้นที่น่าสังเกตบางประการ แรงงานข้ามชาติจำนวนมากยอมรับว่าไม่เคยมีเพื่อนคนไทยแม้สักคน หรือมีก็เพียงไม่กี่คนเท่านั้น และความสามารถในการใช้ภาษาไทยก็มีน้อยมาก ทั้งนี้เพราะชุมชนของพวกเขากับชุมชนของคนไทยยังคงต่างคนต่างอยู่อย่างเห็นได้ชัด มีผู้วางนโยบายเพียงไม่กี่คนที่หยิบยกประเด็นการประสานกลุ่มแรงงานข้ามชาติเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสังคมโดยรวม แม้จะเพียงในระยะเวลาสั้นๆ ก็ตาม ทางการยังคงจำกัดการสมรสในหมู่แรงงานข้ามชาติด้วยกัน และการถกเถียงเรื่องการตั้งครรภ์และการคลอดบุตรยังคงเป็นประเด็นร้อนเหมือนเดิม การจัดสรรงบประมาณเฉพาะเพื่อปรับปรุงสภาพชีวิตของชุมชนแรงงานข้ามชาติก็ยังเต็มไปด้วยข้อพิจารณาอันละเอียดอ่อนมากมาย

การถกเถียงในสังคมเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติก้าวไปไม่ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปแล้ว แรงงานข้ามชาติที่ปัจจุบันมี “สถานะถูกกฎหมายโดยสมบูรณ์” จากการมีหนังสือเดินทางยังคงถูกสังคมหรือแม้แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐมองว่า ไม่ต่างอะไรจากแรงงานข้ามชาติ “ผิดกฏหมาย” ที่ไม่มีเอกสารใดๆ รับรองสถานภาพ แรงงานข้ามชาติยังคงถูกลิดรอนสิทธิพื้นฐานในการรวมตัวกันและสิทธิในการร่วมเจรจาต่อรองกับนายจ้าง

ในทางวัฒนธรรม แรงงานข้ามชาติจากพม่า กัมพูชา และลาว ยังคงเป็นยิ่งกว่าประชาชนชั้นสอง ความเชื่อในเรื่องกรรมของคนไทยและแรงงานข้ามชาติเอง ได้บั่นทอนสำนึกทางศีลธรรมที่รังเกียจการแสวงหาประโยชน์จากคนอื่นให้อ่อนแรงลง ทั้งยังผลักความรับผิดชอบให้ตกอยู่กับปัจเจกบุคคลที่ “เข้าประเทศมาโดยผิดกฎหมาย” หรือ “ไม่รู้จักคุ้มครองตัวเอง”

ในทางเศรษฐกิจ แรงงานข้ามชาติที่ตกอยู่ในสถานะที่คลุมเครือในมิติของกฎหมายและมิติของพื้นที่ในสังคม ยังคงเป็นแหล่งแรงงานราคาถูกให้แก่นายจ้างที่ต้องการรักษากำไรให้สูง กดค่าแรงงานให้ต่ำเข้าไว้ และเลือกที่จะไม่จ้างคนไทยหรือไม่ยอมเพิ่มความสามารถในการผลิต มาเป็นเวลานานถึง 2 ทศวรรษแล้ว แรงงานข้ามชาติจำนวนมากยังคงได้รับค่าจ้างสุทธิวันละไม่ถึง 3 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดชายแดน แม้แต่ในสถานประกอบการเพื่อการส่งออกที่ทางการรับรอง จำนวนเงินที่หักจากค่าจ้างโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และเครือข่ายของนายหน้าที่ตามทวงหนี้ด้วยวิธีการรุนแรงแบบแก๊งมาเฟีย ทำให้ค่าจ้างรายวัยเฉลี่ยที่คนงานเหลือกลับบ้านยังคงน้อยเช่นเดียวกับคนงานกลุ่มอื่น

ปัญหาการลักลอบนำคนงานเข้าประเทศยังคงมีอยู่ต่อไป แผนการนำเข้าคนงานอย่างเป็นทางการยังไม่ก้าวไปถึงไหน เพราะถูกรุมเร้าด้วยปัญหาหลากหลาย ได้แก่ ค่านายหน้าที่สูงเกินไป ไม่มีกฎระเบียบในเรื่องนี้ การขาดความสามารถหรือการไม่ยอมอะลุ่มอล่วยของประเทศผู้ส่งออกแรงงาน ปัญหาประการหลังสุดนี้เองที่ยังคงเป็นสาเหตุหลักที่บ่อนทำลายแผนงานที่จะทำให้แรงงานข้ามชาติมีสถานะถูกกฎหมาย ปัญหาการค้ามนุษย์ยังคงเป็นรอยด่างชัดเจนของสังคมไทย ดังที่ผู้รายงานพิเศษเรื่องการค้ามนุษย์ของสหประชาชาติได้พบเห็นระหว่างการปฏิบัติภารกิจในประเทศไทยในวันที่ 8 – 19 สิงหาคม 2554

ระบบประกันสังคมที่ครอบคลุมแรงงานข้ามชาติ “ถูกกฎหมาย” ดูเหมือนจะเป็นบริการของรัฐที่แรงงานข้ามชาติไม่สามารถเข้าถึงกันมากจนน่าเป็นห่วง เมื่อไม่กี่วันมานี้เองคนงานชาวพม่าคนหนึ่งที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้วเสียชีวิตลงอย่างน่าอนาถ เพราะครอบครัวไม่มีเงินสำหรับค่ารักษาพยาบาลและนายจ้างปฏิเสธที่จะช่วยเหลือด้านค่ารักษาพยาบาล หรือแม้แต่อนุญาตให้เขาไปจดทะเบียนเพื่อให้มีสิทธิด้านการประกันสังคม

ความมั่นคงของชาติและความมั่นคงของมนุษย์ ยังคงถูกบั่นทอนให้ง่อนแง่นในภาคส่วนของสังคมที่อยู่นอกเหนือความเป็นทางการและกฎหมายเอื้อมมือไปไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็นการจับกุม กรรโชกทรัพย์ และเนรเทศแรงงานข้ามชาติ ขณะที่การทุจริตในตำแหน่งหน้าที่ การค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน และการล่วงละเมิดทางเพศต่อแรงงานข้ามชาติคงปรากฎอย่างแพร่หลาย การขายบัตรคุ้มครองรายเดือนในราคาเดือนละ 500-600 บาท ยังคงพบเห็นดาษดื่นตามชุมชนแรงงานข้ามชาติหลายแห่ง กฎระเบียบที่จะควบคุมนายหน้าที่หากินกับแรงงานข้ามชาติได้อย่างเป็นรูปธรรมก็เรียกได้ว่ายังไม่มีแม้จนปัจจุบัน

การสำรวจโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศภายใต้องค์การสหประชาชาติเมื่อเร็วๆ นี้ เสนอภาพด้านลบเกี่ยวกับประเทศเจ้าบ้านทั่วทวีปเอเชียรวมทั้งประเทศไทย โดยชี้ว่าการรับรู้ของชุมชนเจ้าบ้านต่อแรงงานข้ามชาติจากประเทศอื่นยังคงไม่ตรงกับความจริง และขาดข้อมูลที่ถูกต้องอยู่เหมือนเดิม วิธีแก้ปัญหานี้ก็คือการใช้กลยุทธ์การตลาดที่มีค่าใช้จ่ายสูง และดำเนินการโดยภาคเอกชนเพื่อปรับปรุงภาพลักษณ์ของผู้ย้ายถิ่นและเปลี่ยนทัศนคติของสังคมที่มักจะตราหน้าแรงงานข้ามชาติอย่างไม่เป็นธรรม

แม้จะเป็นการสำรวจที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเน้นให้เยาวชนเป็นผู้รับรู้ผลของการสำรวจ การสำรวจในอีกแง่มุมหนึ่งซึ่งคงไม่มีหน่วยงานใดขององค์การสหประชาชาติสนใจจะดำเนินการ ก็คือการศึกษาการรับรู้ของบรรดาผู้นำของประเทศเหล่านี้ที่มีต่อแรงงานข้ามชาติจากประเทศอื่น นอกจากนี้ก็มีความจำเป็นที่จะต้องมีการสำรวจตรวจสอบผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายต่างๆ ที่เสี่ยงต่อการสูญเสีย และเป็นอุปสรรคขัดขวางการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง สำหรับประเทศไทย ปรากฎการณ์ที่ชุมชนหลายแห่งถูกแรงงานข้ามชาติ “ยึดครอง” ไปแล้วจริงๆ โดยไม่มีการบอกกล่าว ก็เรียกร้องให้มีการตอบสนองและการทำความเข้าใจอย่างจริงจังต่อปรากฎการณ์นี้เช่นกัน

ขณะที่รัฐบาลใหม่ของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แถลงนโยบายด้านต่างๆ ต่อสาธารณชน นโยบายด้านหนึ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย ก็คือนโยบายระยะยาวเรื่องการย้ายถิ่นที่ผ่านการพิจารณาใคร่ครวญอย่างรอบคอบ โดยมุ่งส่งเสริมประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ ด้านความมั่นคงแห่งชาติและความมั่นคงของมนุษย์สำหรับชาวไทยและแรงงานข้ามชาติอย่างเสมอภาคกัน รวมไปถึงนโยบายที่กำหนดให้มีการจัดตั้งองค์กรบริหารจัดการเรื่องการย้ายถิ่นแบบองค์รวมที่เป็นอิสระและทำงานอย่างมีประสิทธิผล ส่วนกระบวนการต่างๆ ที่จะทำให้แรงงานข้ามชาติมีสถานะถูกกฎหมายนั้นจะต้องจัดการให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิผล คุ้มทุน และมีการเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้มีการเอาเปรียบแรงงานข้ามชาติ

ภาคประชาสังคม หน่วยงานต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติ และนักการทูตจะต้องกดดันทางการไทยให้ส่งเสริมสิทธิของผู้ย้ายถิ่นและส่งเสริมการบริหารจัดการเรื่องการย้ายถิ่นอย่างโปร่งใส สื่อมวลชนในประเทศไทยจำเป็นต้องทำความเข้าใจในข้อถกเถียงเกี่ยวกับปัญหาการย้ายถิ่นให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นอย่างปราศจากอคติและความคิดเห็นส่วนตัว ขณะเดียวกันสื่อมวลชนก็ต้องหลีกเลี่ยงการทำข่าวเกี่ยวกับการย้ายถิ่นที่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางการเมืองเท่านั้น

ประเทศบ้านเกิดของแรงงานข้ามชาติ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งพม่า) ต้องเพิ่มความพยายามที่จะคุ้มครองคนงานของตนที่มาทำงานในประเทศไทย และเพื่อการนี้ก็ต้องทำงานร่วมกับรัฐบาลไทยให้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น ส่วนประเทศไทยนั้น ถึงที่สุดแล้วก็ต้องเป็นผู้นำในการผลักดันให้เกิดกรอบของอาเซียน (ASEAN) ว่าด้วยการย้ายถิ่นที่รอคอยกันมานาน โดยทำงานร่วมกับภาคีในภูมิภาคนี้เพื่อคิดค้นวิธีแก้ปัญหาระดับภูมิภาคแบบองค์รวมเพื่อตอบสนองสิ่งท้าทายที่เกิดจากการย้ายถิ่นภายในภูมิภาคนี้

ความหวังมีอยู่ว่า ในภายภาคหน้าแสงสว่างที่เจิดจ้ายิ่งขึ้นจะสอดส่องสู่ชีวิตของแรงงานข้ามชาตินับล้านๆ คนที่อยู่ในประเทศไทย เหมือนกับแสงสว่างที่ดูเหมือนจะเริ่มสาดส่องแล้วในรอบปีที่ผ่านมา แต่เมฆที่อาจจะพลิกผันให้คนงานเหล่านี้กลับไปอยู่ในความมืดมนเหมือนที่เคยเผชิญมาตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ยังคงทะมึนอย่างน่าหลาดหวั่นอยู่ไม่ไกลนักเหมือนเดิม

 

 

 

* อานดี้โฮลล์ เป็นผู้เชี่ยวชาญชาวต่างชาติประจำศูนย์การศึกษาการย้ายถิ่นมหาวิทยาลัยมหิดล และเป็นที่ปรึกษา มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น