ประชาไท | Prachatai3.info |
- TCIJ: จี้หน่วยงานรัฐแจงข้อมูล หลังพบ“บ.บัวสมหมายฯ”ลักไก่ทำประชามติ“โรงไฟฟ้าชีวมวล”ครั้งใหม่
- คอป.จัดหนัก! ทางออกภาพรวม จี้รัฐประกันผู้ชุมนุม-ผู้ต้องหาหมิ่นสถาบัน
- TCIJ: 3 เครือข่ายชาวบ้าน รวมพลต้าน 3 เหมืองในลำปาง เรียกร้องยุติสัมปทาน
- ค่ายผู้ชุมนุมในเยเมนถูกยิงจรวดใส่ ฝ่ายทหารย้ายข้างตอบโต้กลับ
- ใต้เท้าขอรับ: 5 ปีรัฐประหาร ได้ในสิ่งที่ไม่เคยได้ และเสียในสิ่งที่ไม่ควรเสีย
- คุยกันยาวๆ กับ ‘วรเจตน์ ภาคีรัตน์’: อ่านกันชัดๆ ว่าด้วยความพยายามเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันการฉีกรัฐธรรมนูญ
- ศิริราช: เสาหลักสุขภาพ ไฉนจึงเมาเบียร์ช้าง
- ‘ปัตตานีมหานคร’ เข้าสภาปีหน้า 40 จังหวัดผลักดันกระจายอำนาจ
- ปัญหาการของศาลรัฐธรรมนูญ
- สัมภาษณ์วัฒน์ วรรลยางกูร รัฐประหาร 5 ปี ยังมีศัตรูของระบอบประชาธิปไตย
- คำถามถึง 'ขุนนางเอ็นจีโอ' ต่อกฎหมาย 'ภาคประชาชน' :วุฒิสมาชิกต้องมาจากการเลือกตั้งหรือไม่?
- "ข่าวหุ้น" ลาออกจากสภา นสพ. ตามเครือมติชน ระบุไม่สังฆกรรมทำลายเพื่อนร่วมวิชาชีพ
- ขู่ฟ้องผู้แอบอ้าง "จ๊ะ เทอร์โบ" เข้าค่ายแกรมมี่
- หลายเมืองในรัฐฉานร่วมไว้อาลัย "จายแสงจื้น"
- พรรคคอมมิวนิสต์หวังคุมสหภาพแรงงานในบรรษัทข้ามชาติเพิ่มขึ้น
TCIJ: จี้หน่วยงานรัฐแจงข้อมูล หลังพบ“บ.บัวสมหมายฯ”ลักไก่ทำประชามติ“โรงไฟฟ้าชีวมวล”ครั้งใหม่ Posted: 20 Sep 2011 01:58 PM PDT ชาวบ้านอุบลฯ ยันคัดค้านโรงไฟฟ้าจนถึงที่สุด เดินสายขอข้อมูลจากหน่วยงานรัฐ หลังพบมีการจัดประชุมที่ที่ว่าการอำเภอ หวังทำมติใหม่หนุนสร้างโรงไฟฟ้า ด้านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำมึน ยันไม่มีเอี่ยวจัดประชุม วันที่ 19 ก.ย.54 ชาวบ้านที่อาจได้รับผลกระทบจากโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลของบริษัทบัวสมหมาย ไบโอแมส จำกัด บริเวณ หมู่ 17 บ้านคำสร้างไชย ต.ท่าช้าง อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี รวมจำนวนกว่า 10 คน ได้เดินทางไปยังสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 12 อุบลราชธานี สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด และที่ว่าการอำเภอสว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี เพื่อขอทราบข้อมูลการจัดประชุมเรื่องโรงไฟฟ้าชีวมวลของบริษัทบัวสมหมายฯ เมื่อวันที่ 15 ก.ย.54 นายทองคับ มาดาสิทธิ์ กล่าวว่า ได้รับทราบจากชาวบ้านในพื้นที่ว่าบริษัทบัวสมหมายฯ ได้จัดประชุมทำความเข้าใจเรื่องโรงไฟฟ้าชีวมวลในวันดังกล่าวขึ้น ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอสว่างวีระวงศ์ ซึ่งชาวบ้านที่เข้าร่วมต้องเซ็นชื่อและได้รับค่าเดินทางคนละ 200 บาท โดยในที่ประชุมดังกล่าวมีการให้ข้อมูลเพียงด้านเดียว และขอให้ชาวบ้านลงข้อมูลในแบบสอบถามว่าเห็นชอบให้บริษัทก่อสร้างโรงไฟฟ้าแกลบได้ แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่กล้าให้ความเห็นชอบ เนื่องจากแบบสอบถามขาดความชัดเจน อีกทั้งคนส่วนใหญ่ซึ่งไม่เห็นด้วยก็ไม่ได้เข้าร่วมการประชุม นายทองคับ กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมดังกล่าวทำให้ชาวบ้านเกิดความเข้าใจผิดว่าทางคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานได้อนุญาตให้บริษัทฯ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้แล้ว และเกิดความไม่สบายใจ เกรงว่าบริษัทจะใช้การประชุมดังกล่าวเป็นข้ออ้างว่าชาวบ้านเลิกคัดค้าน เพื่อขอใบอนุญาตจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ทั้งที่ความจริงแล้วชาวบ้านส่วนใหญ่ใน 6 ชุมชน ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลของบริษัทฯ ไม่ได้รับทราบข้อมูล ไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุมด้วยแต่อย่างใด เห็นได้ชัดว่าบริษัทฯ พยายามที่จะทำประชามติเพื่อให้ตัวเองได้สร้างโรงไฟฟ้า โดยไม่ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มชาวบ้านได้เดินทางไปยังหน่วยงานที่คาดว่าจะเกี่ยวข้องกับการประชุมดังกล่าว แต่เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบและยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดประชุมของบริษัทบัวสมหมายแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านก็ตัดสินใจยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน แม้จะไม่ทราบว่ามีหน่วยงานใดเกี่ยวข้องกับการประชุม เพื่อยืนยันว่าชาวบ้านไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการประชุมของบริษัทบัวสมหมายฯ และยังคงยืนยันว่าชาวบ้านยังคงคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลดังกล่าว เพื่อไม่ให้คณะกรรมการกิจการพลังงานได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและอาจจะออกใบอนุญาตขายไฟฟ้าให้แก่บริษัทบัวสมหมายฯ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
คอป.จัดหนัก! ทางออกภาพรวม จี้รัฐประกันผู้ชุมนุม-ผู้ต้องหาหมิ่นสถาบัน Posted: 20 Sep 2011 01:13 PM PDT
คอป.เสนอรัฐบาลยิ่งลักษณ์ครั้งแรก เน้น “กระบวนการยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่าน” เสนอเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทุกฝ่ายทั้งก่อน–หลังรัฐประหาร จี้ให้สิทธิพื้นฐานประกันตัวคดีการเมือง ผู้ชุมนุมเสื้อแดง พร้อมแนะแนวทางแก้ปัญหาคดีหมิ่นฯ เสนอพื้นที่พิเศษคุมนักโทษการเมือง‘ยิ่งลักษณ์’ รับลูกเร่งเยียวยา ตั้ง รมว.มหาดไทย ประธานประสาน คอป. 20 ก.ย.54 เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ รายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ว่า ที่ประชุมครม.รับทราบ และมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(คอป.)ที่มีนายคณิต ณ นคร เป็นประธาน โดยคอป.ได้เคยเสนอรายงานมาแล้วครึ่งหนึ่งในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในวันที่ 26 เม.ย.ที่ผ่านมา แต่ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ นายกฯ กล่าวว่า วันนี้เป็นครั้งแรกของรัฐบาลนี้ที่คอป.นำเสนอต่อรัฐบาลให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างบรรยากาศปรองดอง สิ่งที่ทางคอป.เสนอคือให้ยึดหลักยุติธรรม นิติธรรม เคารพกฎหมาย และยึดถือผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก และขอให้รัฐบาลเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงในการชี้แจงความชัดเจนเกี่ยวกับการแจ้งข้อกล่าวหาในการดำเนินคดีอาญา และคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง หมายความว่า เร่งให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อให้เกิดกระบวนการในการสืบสวนสอบสวนอย่างยุติธรรมเป็นไปตามหลักนิตธรรม เพื่อให้ได้ข้อมูลค้นหาความจริง ซึ่งไม่ให้จำกัดอยู่แค่เหตุการณ์เดือนเม.ย.-พ.ค.53 แต่ให้ดูภาพรวมทั้งหมดทั้งหลังและก่อนเกิดกการปฏิวัติ ส่วนคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้น จะเป็นไปในเรื่องการป้องกันเพื่อไม่ให้บุคคลต่างๆ เหล่านี้เกิดความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่จะต้องดำเนินการทุกวิถีทาง โดยที่เป้าหมายสุดท้ายเพื่อเป็นการปกป้องเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า คอป.ยังมีข้อเสนอในเรื่องการเร่งดำเนินการเยียวฟื้นฟูผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงของทุกฝ่ายอย่างรวดเร็ว และจริงจัง โดยที่ไม่ได้ยึดติดกับกรอบเดิมๆ แต่ขอให้มีการตั้งกรอบในการดูแลเยียวยาฟื้นฟูที่เป็นกรอบแนวกว้าง เพื่อให้การปฏิบัติต่อผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นไปตามหลักนิติธรรม และให้มีการปล่อยตัวชั่วคราวตามสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหาและจำเลย หมายความว่าในช่วงที่มีการพิจารณาคดีนั้น ขอให้มีการเร่งปล่อยตัวชั่วคราว หรือหากผู้ที่จะถูกคุมขังจองจำก็ขอให้เป็นไปตามสิทธินักโทษทางการเมือง ดังนั้นที่ประชุมครม.จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประสาน และติดตามผลการดำเนินงานข้อเสนอของ คอป.เพื่อแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลมีเจตนาและความจริงใจที่จะทำงานร่วมกันกับทาง คอป.เพื่อให้การดำเนินการสามัคคีปรองดองสมานฉันท์เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยแต่งตั้งให้นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย เป็นประธาน ซึ่งจะดำเนินการไปตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป สำหรับ คอป.นั้นได้มีหนังสือด่วนที่สุดถึงนายกรัฐมนตรี เรื่อง ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ต่อนโยบายสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย ลงวันที่ 15 ก.ย.54 นำเสนอรายละเอียดต่างๆ ดังนี้ 1. คอป. เห็นว่า ในระหว่างที่สังคมไทยยังมีความขัดแย้งอยู่นั้น รัฐบาลต้องมีเจตนารมณ์ ทางการเมือง (Political Will) ที่จะยึดถือหลักนิติธรรม (Rule of Law) ในการบริหารประเทศโดยเคารพกฎหมาย และยึดถือผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้ง รัฐบาลต้องดำเนินมาตรการเพื่อลดความขัดแย้ง โดยตรวจสอบว่าเจ้าพนักงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ให้ประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนและผู้ต้องหา ที่ต้องการความช่วยเหลือ 2. ในระหว่างที่ความขัดแย้งยังคงดำรงอยู่ และสังคมไทยเริ่มมีความหวังที่จะก้าวข้ามความขัดแย้งไปสู่ความปรองดอง คอป. ขอเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในความขัดแย้งทุกฝ่าย ทั้งรัฐบาล ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกากับและควบคุมการใช้อานาจรัฐ พรรคการเมือง กลุ่มการเมือง กลุ่มบุคคล และองค์กรต่างๆ ใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่งยวดในการกระทาการใดๆ ซึ่งอาจเป็นการกระทบกระเทือนถึงบรรยากาศในการปรองดอง 3. คอป. เห็นว่าสภาพความขัดแย้งในทางการเมืองในห้วงเวลาที่ผ่านมาเป็นสาเหตุสาคัญ ที่นามาสู่ความรุนแรงและการกระทาความผิดกฎหมายอาญาของผู้ที่เกี่ยวข้องในความขัดแย้งฝ่ายต่างๆ ความรุนแรงและการกระทาความผิดกฎหมายอาญาในลักษณะเช่นนี้มิใช่พฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคมในภาวะปกติทั่วไปที่ไม่มีความขัดแย้งในทางการเมืองเช่นนี้ เพราะการกระทาความผิดมีมูลฐานเริ่มต้นจากความคิดเห็นในทางการเมือง การดำเนินคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองยังมีปัญหาที่เกิดขึ้นจากข้อจากัดของกระบวนการในการสืบสวนสอบสวน การตั้งข้อหาการรวมรวมพยานหลักฐานที่ถูกมองว่าไม่เป็นกลางและโน้มเอียงไปในทางที่เป็นคุณต่อผู้กุมอานาจรัฐในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย คอป. จึงมีความเห็นว่าการดาเนินคดีอาญาในคดีความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และคดีที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งเป็นช่วงเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองทั้งหลายทั้งก่อนและหลังการรัฐประหาร 19 ก.ย. รวมทั้งคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ล้วนเป็นเรื่องที่มีลักษณะเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง รัฐบาลสมควรดาเนินการในส่วนที่เกี่ยวกับการดาเนินคดีในความผิดดังกล่าว ดังนี้ 3.1 เร่งรัดตรวจสอบให้ชัดเจนว่าการแจ้งข้อหาและการดาเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาและจาเลยสอดคล้องกับพฤติการณ์แห่งการกระทาหรือไม่ และทบทวนว่ามีการตั้งข้อหาที่รุนแรงเกินสมควร หรือการดาเนินคดีที่พยานหลักฐานอ่อนไม่เพียงพอต่อการพิสูจน์ความผิดหรือไม่ 3.2 ดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้มีการปล่อยชั่วคราวอันเป็นสิทธิพื้นฐานของผู้ต้องหาและจำเลย เพื่อให้ผู้ต้องหาและจาเลยสามารถต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ และลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตนเองและครอบครัวอันเกิดจากการถูกจากัดเสรีภาพ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ยื่นคาร้องต่อศาลเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ต้องหาและจาเลยว่ามีเหตุที่จะหลบหนี เหตุที่จะทาลายพยานหลักฐาน หรือเหตุที่จะเป็นอันตรายต่อสังคมหากได้รับการปล่อยชั่วคราวหรือไม่ หากไม่มีสาเหตุดังกล่าว ให้ยืนยันหลักกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิพื้นฐานว่าผู้ต้องหาหรือจาเลยมีสิทธิได้รับการปล่อยชั่วคราว 3.3 เนื่องจากผู้ต้องหาและจาเลยมิใช่เป็นผู้ร้ายหรืออาชญากรดังเช่นในคดีอาญาตามปกติ แต่เป็นผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทาความผิดอันมีมูลเหตุเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในทางการเมือง รัฐบาลสมควรจัดหาสถานที่ในการควบคุมที่เหมาะสมที่มิใช่เรือนจาปกติเป็นสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาและจาเลย ดังเช่นที่เคยใช้กับนักโทษทางการเมืองในอดีต 3.4 เนื่องจากคดีอาญาเหล่านี้เป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ดาเนินอยู่ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาโดยผู้กระทาผิดมีมูลเหตุจูงใจในทางการเมือง และปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น มีรากเหง้าที่สาคัญมาจากสภาพสังคมไทยอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่าน (Transition) การนาเอาหลัก ความยุติธรรมทางอาญา (Criminal Justice) ที่มีเพียงมาตรการการฟ้องคดีอาญาในเชิงลงโทษมาใช้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง จึงไม่เหมาะสมกับสภาพของปัญหา ดังนั้น จึงสมควรที่จะนาเอาหลักวิชาการเกี่ยวกับความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Justice) และความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) มาศึกษาและปรับใช้ เพื่อนาหลักการและแนวทางของหลักวิชาการดังกล่าว ตลอดจนประสบการณ์ของต่างประเทศที่เคยเผชิญความขัดแย้งอย่างรุนแรงมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศไทย 4. คอป. เห็นว่า รัฐบาลควรเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบทุกฝ่ายอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่อง โดยกลุ่มเป้าหมายในการเยียวยาไม่ควรจากัดเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในช่วงเดือนเมษายน -พฤษภาคม 2553 เท่านั้น แต่ควรครอบคลุมถึงบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรง ที่สืบเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงตั้งแต่ก่อนการรัฐประหารเป็นต้นมา โดยให้รวมถึงประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐ สื่อมวลชน และภาคเอกชน ตลอดจนครอบครัวของผู้ที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ ควรขยายขอบเขตการเยียวยาและฟื้นฟูผู้ที่ได้รับผลกระทบในระดับพื้นที่ ชุมชน และสังคมด้วย โดยเฉพาะแหล่งที่อยู่อาศัยและย่านการค้าที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมและเหตุการณ์ความรุนแรงและควรจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อทาหน้าที่ในการให้การเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบทุกฝ่ายอย่างจริงจัง โดยจัดให้มีองค์กรเฉพาะกิจที่มีประสิทธิภาพ
รายละเอียดข้อเสนอ คอป. ฉบับเต็ม อยู่ในไฟล์แนบด้านล่าง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now | ||||
TCIJ: 3 เครือข่ายชาวบ้าน รวมพลต้าน 3 เหมืองในลำปาง เรียกร้องยุติสัมปทาน Posted: 20 Sep 2011 01:00 PM PDT เครือข่ายชาวบ้าน 500 คนรวมตัวศาลากลาง บี้จังหวัดอย่าให้สัมปทาน 3 บริษัททำเหมือง ชี้นักการเมืองใหญ่หนุนหลัง ยันหากเจรจาไม่ได้ปักหลักยาว ปิดถนน สุดท้ายทำข้อตกร่วมกับจังหวัด พร้อมสลายการชุมนุม 20 ก.ย. 54 เวลา 11.30 น. ที่ศาลากลางจังหวัดลำปาง กลุ่มอนุรักษ์ท้องถิ่น 3 ชุมชนในจังหวัดลำปาง นำโดย น.ส. แววรินทร์ บัวเงิน แกนนำกลุ่มอนุรักษ์บ้านแหง อ.งาว นายเป๊ก คำภิรธรรม แกนนำกลุ่มอนุรักษ์แม่ถอด อ.เถิน และนายสุก มักแม่น แกนนำกลุ่มอนุรักษ์ทุ่งผึ้ง อ.แจ้ห่ม พร้อมกลุ่มผู้ชุมนุมราว 500 คน ได้เรียกร้องขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดยุติการเปิดสัมปทานการทำเหมืองแร่ หลังจากมีบริษัทที่มีนักการเมืองอยู่เบื้องหลัง 3 บริษัทขอสัมปทานทำเหมืองแร่ในจังหวัดลำปาง ทั้งนี้ 3 บริษัทใหญ่ที่ขอประทานบัตรการทำเหมืองทั้ง 3 แห่งในจังหวัดลำปาง ได้แก่ บ.ทวีทรัพย์ล้านนาจำกัด บ.กรีนซีเมนต์ และ บ.เขียวเหลือง ร่วมกันเสนอการขอประทานบัตรต่ออุสาหกรรมจังหวัดลำปาง รายงานจากพื้นที่แจ้งว่า บริษัทผู้ขอประทานบัตรเหมืองแร่ได้ให้ผู้รับช่วงต่อ เข้ากว้านซื้อที่ดินของชาวบ้านโดยระบุว่าจะซื้อที่ดินเพื่อการปลูกป่า บางส่วนก็ติดต่อประสานงานกับกรมป่าไม้เพื่อขอทำวณอุทยานจำนวนกว่า 2000 ไร่ โดยชาวบ้านในพื้นที่หวั่นเกรงว่า หากการกว้านซื้อที่ดินดังกล่าวไม่สำเร็จ อาจเกิดความรุนแรงเกิดขึ้น ด้านนายสุวรรณ กล่าวสุนทร รองผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งมารับเรื่องแทนผู้ว่าราชการจังหวัด กล่าวว่า ขั้นตอนในการขอประทานบัตรการทำเหมืองแร่ทั้งสามแห่ง ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการยื่นขอ ทางหน่วยงานราชการมีหน้าที่ในการรับเรื่อง เปรียบเสมือนเป็นไปรษณีเท่านั้น การกำหนดให้ใครได้หรือไม่ได้ ทางจังหวัดไม่สามารถทำได้ ขึ้นอยู่กับการทำประชาคมของชาวบ้านในพื้นที่ว่าเห็นสมควรหรือไม่ ซึ่งต้องรับฟังความเห็นจากประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหลัก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เหตุการณ์ชุมนุมที่ศาลากลางเริ่มมีความตรึงเครียด หลังจากหน่วยงานราชการชี้แจงและถูกกลุ่มชาวบ้านซักถาม ซึ่งต่างผ่ายหาขอยุติไม่ได้ จนในที่สุดต้องมีการขอกำลังเสริมจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อมาดูแลความสงบ ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมยื่นยันปักหลักค้างแรม พร้อมทั้งยืนยันว่าหากเจรจากันไม่เป็นผลก็พร้อมจะใช้วิธีการปักหลักปิดถนน อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดกลุ่มชาวบ้านได้ทำบันทึกความตกลงร่วมกันกับทางจังหวัดและหน่วยราชการ โดยข้อตกลงมีดังนี้ 1. ยุติขั้นตอนการทำประทานบัตรการทำเหมืองทั้งสามแห่ง 2. ยกเลิกการทำรังวัดปักหมุดของอุตสาหกรรมจังหวัดในการสำรวจการทำเหมืองทั้งสามแห่ง 3. การเข้ามาทำการทำรังวัดใหม่ต้องแจ้งชาวบ้านในพื้นที่ได้รับทราบ พร้อมยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษร 4. จังหวัดต้องส่งเสริมให้พื้นที่การทำเหมือง ซึ่งมีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติและป่าไม้ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แทน 5. จัดให้พื้นที่การทำเหมืองที่เป็นป่าโซน E ให้เป็นป่าชุมชน 6. การชุมนุมครั้งนี้เป็นการชุมนุมโดยปราศจากอาวุธ และเป็นการชุมนุมโดยสงบ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้เป็นที่พอใจ และชาวบ้านยุติการชุมนุมไปในเวลา 20.30 น.โดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรงใดๆ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
ค่ายผู้ชุมนุมในเยเมนถูกยิงจรวดใส่ ฝ่ายทหารย้ายข้างตอบโต้กลับ Posted: 20 Sep 2011 11:02 AM PDT
20 ก.ย. 2011 - ที่กรุงซานา เมืองหลวงของเยเมน มีผู้เห็นเหตุการณ์รายงานว่ามี ตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 20 ก.ย. ก็มีเสียงปืนดังขึ้นระหว่ ในการปะทะครั้งล่าสุดมีการยิ นักกิจกรรมในซานาเปิดเผยว่ายั จากที่เมื่อวานนี้ (19 ก.ย.) กองกำลังฝ่ายรัฐบาลและสไนเปอร์ หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว กลุ่มผู้ชุมนุมและอดีตทหารที่ย้ แหล่งข่าวต่างประเทศระบุว่ากลุ่ ผู้พบเห็นเหตุการณ์จากอีกแหล่ โรงพยาบาลในเยเมนระบุว่ามียอดผู้เสียชีวิตถึง 60 รายแล้วนับตั้งแต่เกิดเหตุ
.................... สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
ใต้เท้าขอรับ: 5 ปีรัฐประหาร ได้ในสิ่งที่ไม่เคยได้ และเสียในสิ่งที่ไม่ควรเสีย Posted: 20 Sep 2011 10:58 AM PDT เราจะทบทวนวาระครบรอบครึ่งทศวรรษการรัฐประหาร 19 กันยาอย่างไรดี สำหรับผม บทสรุปที่ดีที่สุดอยู่ในประโยคที่ว่า "ประเทศไทยไม่เหมือนเดิม" เพราะมันเป็นประโยคที่สะท้อนทั้งอดีต ปัจจุบัน ขณะเดียวกันก็สะท้อนถึงความวาดหวังในอนาคต แน่นอน เราควรจะเริ่มต้นวาระนี้ด้วยการรำลึก คารวะ และแสดงความอาลัยต่อผู้สูญเสียทุกผู้นาม ทุกสี ทุกชนชั้น ทุกความเชื่อ กระนั้นแม้เราจะกราบจรดดิน กู่ก้องยกย่องในจิตใจกล้าหาญและเสียสละให้ฟ้าได้อิจฉา จะอย่างไรมนุษย์ก็ไม่ควรต้องสูญเสียเพียงเพราะคิด เชื่อ ฝัน หรือวาดหวังต่างกัน และไม่มีอำนาจใดที่มีสิทธิพรากชีวิตและวิญญาณของผู้คนที่เป็นเจ้าของแผ่นดินที่แท้จริง ถัดจากนั้น นี่สมควรเป็นวาระที่เราจะได้ทบทวนว่า นอกจากความสูญเสียชีวิตของเพื่อนร่วมแผ่นดินแล้ว เรายังได้สูญเสียอะไร และได้อะไรมา ผมอยากจะใช้โอกาสนี้พูดถึงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง โดยมองย้อนกลับไปที่รัฐบาลไทยรักไทยในสมัยเริ่มต้น ก่อนจะจบฉากด้วยการรัฐประหาร เพื่อเริ่มฉากใหม่ เป็นรัฐบาลที่ไม่เหมือนเดิมในชื่อพรรคเพื่อไทย รัฐบาลไทยรักไทย เริ่มต้นหลังจากที่พรรคไทยรักไทยได้รับการเลือกตั้งครองเสียงอันดับหนึ่งในสภา จัดตั้งรัฐบาลผสม ก่อนจะควบรวมพรรค กลายเป็นพรรคการเมืองที่มีเสียงเกินกึ่งหนึ่ง นัยว่าเพื่อจัดการความมั่นคงทางการบริหาร และสร้างอำนาจต่อรองกับพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ ย่างก้าวของการบริหารราชการ รัฐบาลพรรคไทยรักไทยเริ่มด้วยการจัดการกับระบบงบประมาณ เปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณที่ใช้กระทรวงเป็นตัวตั้ง มาเป็นภารกิจตามนโยบายที่ได้หาเสียงเลือกตั้งไว้ และสร้างระบบการบริหารงบประมาณที่คล่องตัว พร้อมๆ ไปกับยกเครื่องระบบการจัดเก็บภาษี และทำให้กรมสรรพากรกลายเป็นหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพอย่างก้าวกระโดด ไม่กี่ปีของการเป็นรัฐบาล รัฐบาลไทยรักไทยทำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารราชการใหม่ จัดตั้งกระทรวง กรมใหม่ โยกย้ายสังกัดระดับกรม กอง ให้สอดคล้องกับภารกิจและยุทธศาสตร์ พร้อมๆ ไปกับสร้างกระแสการเปลี่ยนแปลง แล้วเรียกมันว่า "การปฏิรูประบบราชการ" มีความพยายามโปรโมทว่า นี่คือการเปลี่ยนแปลงระบบราชการขนานใหญ่ในรอบ 100 ปี มีการเตรียมการถ่ายทอดสดวันเริ่มต้นการปฏิรูปอย่างขนานใหญ่ ก่อนจะงดไปแบบไม่ทราบสาเหตุ แม้โดยเนื้อหาของสิ่งที่เรียกว่า ปฏิรูประบบราชการจะเป็นเพียงแค่การเปลี่ยนสังกัดกรม กอง และเปิดหน้างานใหม่ๆ ให้มีผู้รับผิดชอบโดยตรง แต่สาระสำคัญสำหรับผม กลับไปอยู่ที่การสร้างกระแส เพราะแม้การเปลี่ยนแปลงสับเปลี่ยนสังกัดกรมกองในกระทรวง ทบวง กรม จะไม่ได้มีผลต่ออำนาจแนวดิ่งในระบบราชการ แต่กระแสความเปลี่ยนแปลงนี้ที่หากพุ่งขึ้นสูงได้จริง ก็ไม่แน่ว่า โครงสร้างที่ถูกเปลี่ยนแปลงเพียงน้อยนิด จะได้ลากการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระดับวัฒนธรรมในระบบราชการ ที่มีภารกิจเป้าหมายเพื่อรับใช้และบริการประชาชน แทนการเป็นนายของประชาชน ไม่ว่าจะอย่างไร เราได้เห็น One Stop Service ผุดขึ้นในหน่วยงานราชการหลายหน่วยงาน เรารู้สึกได้ในความเป็นผู้ใช้บริการยามเมื่อเราเดินเข้าโรงพยาบาล และกลับออกมาด้วยความภาคภูมิใจที่เราเป็นคนไทยที่มีคนให้บริการที่ดี ผิดแผกไปจากเดิมที่ต้องรู้สึกขอบคุณและเป็นหนี้บุญคุณแพทย์และพยาบาลที่สู้อุตสาห์รักษาเรา หรือยอมให้เราเป็นคนไข้อนาถา เรารับรู้ได้ว่า ลานจอดรถด้านหน้าอาคารโรงพยาบาลทหาร สงวนไว้เพื่อบริการประชาชน ซึ่งช่างผิดแผกแตกต่างอย่างสิ้นเชิงในรัฐบาลชุดหลังการรัฐประหาร ที่ลานจอดรถกลายมาเป็นพื้นที่ว่างเปล่าที่ถูกกั้นด้วยเชือก โดยมีป้ายติดว่า "ที่จอดรถสำหรับนายทหาร" แม้กระทั่ง เรารู้สึกได้ว่า เราต้องจ่ายภาษีเงินได้ เพราะเมื่อปีที่แล้วเราได้คืนภาษีอย่างรวดเร็ว หรือยอมจ่ายภาษีด้วยความเต็มใจ หลังจากเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรเพียรอธิบายถึงปัญหาการกรอก ภงด.และเหตุผลในการไม่คืนภาษีด้วยจิตใจแห่งการบริการ ยังไม่ต้องพูดถึงผลจากนโยบายสารพัดที่ได้สร้างให้เกิดคนชั้นกลางเกือบเต็มประเทศไทย ความใฝ่ฝันที่จะมีชีวิตที่ดีกว่าเดิมกลายเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ โอกาสปรากฏที่ตรงหน้าอยู่ที่ใครจะปรารถนาฉกฉวยไว้หรือไม่ จะมากจะน้อย เศรษฐกิจดีขึ้นหรือไม่ ปัญหายาเสพติดจะดีขึ้นแค่ไหน เห็นความรุดหน้าของบ้านเมืองอย่างไร ก็ไม่สู้ความรู้สึกรวมๆ ที่ได้รับตลอดช่วงรัฐบาลไทยรักไทยเหล่านี้ เป็นความรู้สึกที่ขี้ครอกอย่างเรากล้าออกมาเดินถนนทัดเทียมกับทุกถ้วนคน ปล่อยให้ผู้ดีที่แอบรังเกียจเราต้องหลบไปเดินตรอก ความมั่นใจในการเลือกตั้งและระบอบประชาธิปไตยลงรากในระดับความมั่นใจแห่งชาติ ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นแค่สัญลักษณ์ ที่จะอย่างไรก็ต้องลงเลือกตั้งทุก 4 ปี จะอย่างไรก็ผ่านมาแล้วผ่านไป ครึ่งแรกของรัฐบาลไทยรักไทย ผมเคยพูดเปรยกับเพื่อนนักข่าวว่า หากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างได้ผล ชะตากรรมของ พ.ต.ท.ทักษิณ หนีไม่พ้นที่จะถูกลอบสังหารหรือไม่ก็รัฐประหาร และโชคร้ายของประเทศไทยที่ผมเดาถูก ความปรารถนาของเราที่จะเห็นประชาธิปไตยที่ดีกว่าเดิม เห็นพรรคการเมืองและการบริหารที่ดีขึ้น และแสดงออกด้วยการแห่แหนออกมาไล่ทักษิณหรือไม่ก็เมินเฉยไม่ปกป้อง ได้ถูกหยิบใช้กลายมาเป็นเครื่องมือล้มล้างประชาธิปไตย แน่นอน เราไม่อาจหลงลืมผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากมาตรการ นโยบาย และยุทธศาสตร์ที่ทรงประสิทธิภาพต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณีฆ่าตัดตอน การทุจริตคอรัปชั่น กระทั่งเราไม่อาจลืมนโยบายและมาตรการที่ผิดพลาดอย่างกรณีการจัดการปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่รุนแรงจนไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบ กระนั้นก็ไม่ใช่เหตุผลใดๆ ที่จะนำมาใช้อ้างเพื่อทำรัฐประหารได้ แต่ผลข้างเคียง ผลกระทบ การบริหารจัดการที่ผิดพลาด หรือแม้กระทั่งการรัฐประหาร การจัดตั้งรัฐบาลเสื้อคลุมประชาธิปไตย ก็ไม่อาจกลบหรือถูกขับเน้นให้บดบังการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยได้ ประเทศไทยเปลี่ยนไปแล้ว ไม่เหมือนเดิมแล้ว ประชาชนตื่นจากความคิดความเชื่อเรื่องกรรมเรื่องเวรแล้ว ขบวนการคนเสื้อแดง คือเครื่องพิสูจน์ว่า เขากำหนดอนาคตตัวเองได้ และผลการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 คือสิ่งยืนยันการเปลี่ยนแปลงนั้น แต่ผมสงสัยอยู่ว่า การเลือกตั้งที่พรรคเพื่อไทยได้คะแนนเสียงแบบถล่มทลาย รัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่เปลี่ยนนามมาจากพรรคไทยรักไทย จะยังคงรักษาจิตวิญญาณที่ได้เคยกระทำมาในนามเดิม และรักษาความงอกเงยที่ได้จากการต่อสู้ของมวลชนคนเสื้อแดงในทุกมิติหลังการรัฐประหารได้หรือไม่ เรารอพิสูจน์อยู่ว่า นโยบายที่ลดแลกแจกแถมอยู่ในเวลานี้ จะผลิดอกออกผลงดงามเหมือนที่เคยเป็นในอดีตหรือไม่ นโยบายที่เน้นการปรองดอง นโยบายที่จะคืนความเป็นธรรม จะมีส่วนในการยกระดับโครงสร้างในมิติต่างๆ หรือไม่ โดยเฉพาะมันยังคงขับเคลื่อนความฝัน ความหวังของผู้คน และสร้างความมั่นใจในความเป็นนายเหนือข้าราชการ และเจ้าขุนมูลนายเดิมหรือไม่ หรือมันทำหน้าที่เพียงแค่เลี้ยงตัวเองให้อยู่ได้ แต่สูญเสียความฝันที่จะเปลี่ยนแปลง ประเทศไทยอาจจะได้ "ทักษิณ" กลับมา แต่จะได้กลับมาแบบไหน "ทักษิณ" ที่มีความหมายในเชิงสัญลักษณ์ จะออกจากแผ่นดินนี้ไปด้วยความหนุ่ม แล้วกลับมาด้วยความแก่หรือไม่ 5 ปีที่ผ่านมา ความบอบช้ำ ราคาได้-ราคาจ่ายที่ต้องนำมาชั่งน้ำหนัก ทำให้เราอายุมากขึ้นด้วยกันทั้งนั้น โชคดีที่ว่า เมื่อเราหันไปดูรอบๆ ตัว คนหนุ่มและความหนุ่มกำลังดาหน้าเติบโต เหมือนน้ำที่ไหลเข้าสะสมในเขื่อนรอวันท่วมทะลาย เพียงแต่ว่าเมื่อไรเท่านั้นเอง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องยากเกินคาดเดา สำหรับนักการเมือง ปลายขบวนแถวแห่งการเปลี่ยนแปลงในวาระ 5 ปีรัฐประหาร ผมนึกถึง พันศักดิ์ วิญญรัตน์ ผู้เป็นประธานที่ปรึกษารัฐบาล 2 สมัย คือรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เราเคยถามเขาว่า จะขัดข้องไหมหากจะแนะนำประวัติในบทสัมภาษณ์ว่า "ประธานที่ปรึกษาสองรัฐบาลที่ถูกทำรัฐประหาร" อดีตที่ปรึกษาผู้นี้ยิ้มรับ ผมแอบนึกเสียด้วยซ้ำว่า นั่นคือความภูมิใจ นักการเมืองไม่ได้มีชีวิตเพื่อเป็นนักการเมือง แต่มีเพื่อการเปลี่ยนแปลง สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
Posted: 20 Sep 2011 10:20 AM PDT ก่อนจะถึงวันครบรอบ 5 ปี การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และครบรอบ 1 ปีการก่อตั้ง และก่อนที่คณะนิติราษฎร์จะออกแถลงการณ์ในวาระครบรอบซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุม 4 ประเด็นใหญ่ คือ หนึ่ง การลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 สอง การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 สาม กระบวนการยุติธรรมกับผู้ต้องหาหรือจำเลย และการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายภายหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และสี่ การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ประชาไท มีโอกาสคุยยาวๆ กับ รศ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในเรื่องที่เกี่ยวกับการรัฐประหาร การลบล้างผลของการรัฐประหาร และการป้องกันการรัฐประหารโดยรัฐธรรมนูญ รวมถึงการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
0 0 0 เราจะอธิบายความจำเป็นของการแก้รัฐธรรมนูญอย่างไร หลักการอยู่ตรงไหน ทีนี้คำถามว่า มีความจำเป็นที่จะต้องแก้รัฐธรรมนูญปี 50 ไหม คำตอบคือ มีความจำเป็น และจำเป็นมากด้วย ยิ่งถ้าแก้เร็วเท่าไร หรือเลิกการใช้บังคับแล้วแทนที่ด้วยรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยเร็วเท่าไรก็จะเป็นประโยชน์กับประเทศชาติเร็วเท่านั้น ในแง่ของที่มา รัฐธรรมนูญปี 50 เป็นรัฐธรรมนูญที่สืบเนื่องมาจากรัฐประหาร แม้จะไม่ใช่ผลพวงโดยตรงแต่ก็เป็นผลพวงทางอ้อม จริงอยู่ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ผ่านการออกเสียงประชามติ แต่ผมเคยให้ความเห็นไปแล้วว่า ประชามติที่ทำกัน ไม่ใช่เป็นประชามติแท้ เพราะประชาชนที่ออกเสียงประชามติไม่มีทางเลือก คนเขียนรัฐธรรมนูญปี 49 เขาล็อคเอาไว้ว่า ถ้าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญปี 50 คณะรัฐมนตรี และ คมช. จะสามารถหยิบรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งมาใช้ได้เลย ประชาชนจำนวนหนึ่งที่ออกเสียงไปเพราะเกรงว่า ไม่รู้จะมีรัฐธรรมนูญที่เลวร้ายกว่า 50 หรือไม่จึงไม่มีทางเลือก นอกจากนี้ ประชาชนยังต้องการกลับไปสู่การเลือกตั้งโดยเร็ว เพราะฉะนั้นในแง่ของที่มาจึงมีปัญหา ไม่มีความชอบธรรมในระดับที่ควรจะเป็น การออกเสียงประชามตินั้นจึงไม่ใช่ประชามติแท้ ทีนี้เมื่อพิจารณาเนื้อหาของรัฐธรรมนูญปี 50 ยิ่งแย่เข้าไปอีก รัฐธรรมนูญปี 50 ไม่ได้มีปัญหาแค่ในแง่ของโครงสร้างองค์กร แต่ยังมีปัญหาในแง่ของหลักการ เพราะบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญหลายบทบัญญัติขัดกันเอง ขัดกับหลักพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ ในเชิงของโครงสร้างรัฐธรรมนูญ ปัญหาเดิมๆ เช่น ที่มาของวุฒิสภา ครึ่งหนึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ไม่ได้ผ่านการเห็นชอบของประชาชน จึงไม่สอดคล้องกับประชาธิปไตย ทั้ง ส.ว. ยังมีอำนาจมากถึงขนาดถอดถอนบุคคลที่มีตำแหน่งในองค์กรสำคัญ รวมทั้งที่มาจากการเลือกตั้งได้ด้วย ปัญหานี้จึงไม่แก้ไม่ได้ ส่วนเรื่องระบบเลือกตั้งได้แก้ไขไปแล้วในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งได้ทำให้ปัญหาบรรเทาลงไปได้ระดับหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่ององค์กรอิสระ รัฐธรรมนูญปี 50 ได้ตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาเป็นจำนวนมาก การที่มีองค์กรอิสระจำนวนมาก ในด้านหนึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพในการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ แต่องค์กรอิสระหลายองค์กรไม่สามารถอธิบายได้ว่า ทำไมถึงต้องเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่น อัยการ ไม่มีเหตุผลในทางหลักวิชาการหรือตามหลักทฤษฎีเลยว่า ควรมีฐานะเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือบรรดาองค์กรอิสระอื่นๆ ที่ไม่ควรต้องเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ อันนี้ต้องเอาออก ในเรื่องอำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระ เช่น อำนาจของคณะกรรมการเลือกตั้งก็มีมากมายมหาศาล ผมเคยวิจารณ์คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้วว่า มันเป็นไปไม่ได้ที่จะตีความกฎหมายการเลือกตั้งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจที่จะยับยั้งหรือหน่วงเจตจำนงของปวงชนในนามของการไปตรวจสอบความสุจริต ความเที่ยงธรรมของการเลือกตั้ง โดยไม่ประกาศผลการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะด้วยการรอเอาไว้ หรือแขวนเอาไว้ก็ตาม การมีอำนาจให้ใบแดงในช่วงเวลา 30 วันหลังเลือกตั้ง อันนี้ตอบคำถามในแง่ของหลักประชาธิปไตยไม่ได้ เพราะคนแค่ห้าคน ทำไมถึงมีสิทธิในการระงับเจตจำนงของประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจ ผมพูดมานานแล้วว่า หน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ต้องมีหลักที่การยืนยันผลของคะแนน หากมีการทุจริตการเลือกตั้งจริงๆ มีการกล่าวหาร้องเรียนกันจริงๆ ก็ต้องไปดู แล้วไปดำเนินการกับคนนั้นภายหลังที่มีการประกาศผลการเลือกตั้งไปแล้ว จะให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจก่อนการเลือกตั้งอย่างนี้ไม่ได้ นอกจากนี้คณะกรรมการเลือกตั้ง ยังมีสิทธิถึงขนาดเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของบุคคลก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง ซึ่งเท่ากับให้คณะกรรมการการเลือกตั้งใช้ทั้งอำนาจตุลาการและอำนาจบริหารในองค์กรเดียว ซึ่งขัดหลักการแบ่งแยกอำนาจแน่ๆ ในกรณีนี้ รัฐธรรมนูญต้องปรับ กกต.อาจจะมีอยู่ต่อไป เพราะเป็นองค์กรจัดการการเลือกตั้ง แต่ในแง่ของอำนาจต้องไม่มีอย่างนี้ กกต.ควรมีอำนาจเฉพาะการบริการ การจัดการเลือกตั้งเท่านั้น รัฐธรรมนูญ 50 ยังมีปัญหาในแง่ของนิติรัฐ หรือหลักความเป็นสูงสุดของกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะปัญหาในมาตรา 309 เพราะมาตรานี้ไประงับการตรวจสอบของรัฐธรรมนูญในบรรดาการกระทำทั้งปวงที่เกิดขึ้นหลังการรัฐประหารปี 49 ซึ่งต้องไปอ่านเชื่อมกับมาตรา 36 ในรัฐธรรมนูญปี 49 นอกจากนี้ ยังต้องทบทวนองค์กรอื่นๆ อีกที่ไม่ได้เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ แต่รัฐธรรมนูญเขียนถึง เช่น คณะกรรมการปฎิรูปกฎหมาย และคณะกรรมการปฎิรูปกระบวนการยุติธรรม เหล่านี้ควรจะต้องบัญญัติหรือเขียนถึงในรัฐธรรมนูญอย่างไร และจะไปซ้ำซ้อนกับงานขององค์กรอื่นๆ ที่มีอยู่แล้วหรือไม่ ยังมีปัญหาใหญ่อีกหลักหนึ่งของประชาธิปไตย ก็คือการยุบพรรคการเมืองโดยง่าย ด้วยมาตรา 237 ต้องทบทวนการให้ ส.ส. สังกัดพรรคการเมืองว่าถูกต้องไหม เพราะในแง่ของสิทธิของบุคคล ควรจะจูงใจให้คนสังกัดพรรคการเมือง มากกว่าการใช้มาตรการบังคับหรือไม่ นี่ยังไม่ต้องพูดถึงอำนาจตุลาการ ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ ตลอดจนบทบัญญัติบางเรื่องในหมวดพระมหากษัตริย์ เข้าใจว่า องค์กรอิสระที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้มี เพราะต้องใช้อำนาจตุลาการบางส่วน ออกกฎเองด้วยบางส่วน และทำหน้าที่บริหารด้วย คือมีทั้งสามอำนาจรวมกัน ดังนั้นจึงต้องบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้น เวลาเรามององค์กรอิสระ ต้องมองให้เหมือนฝ่ายบริหารเฉพาะประเด็น เหมือนกระทรวงหนึ่ง ทีนี้ก็จะเกิดคำถามตามมาว่า แล้วองค์กรอิสระรับผิดชอบกับใคร ครม. เขารับผิดชอบต่อสภาในทางการเมือง และในทางกฎหมายเขาอาจถูกตรวจสอบได้โดยองค์กรตุลาการ แล้วองค์กรอิสระจำนวนหนึ่ง เขาอาจจะทำเรื่องที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมในทางการเมือง เขาจะต้องรับผิดชอบกับใคร หรือในแง่ของบุคคลที่มีตำแหน่งในองค์กรที่ประพฤติปฏิบัติมิชอบ เขาต้องรับผิดชอบไหม ต้องมีการรับผิดชอบเท่ารัฐมนตรีไหม เราต้องคิดประเด็นความรับผิดชอบแบบนี้ด้วย ไม่ใช่ไม่ได้รับการตรวจสอบจากใครเลย ถ้าจะมีรัฐธรรมนูญใหม่ จะยกเอารัฐธรรมนูญ 40 มาเลยได้ไหม แล้วแก้ไขบทสำคัญๆ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ โดยวางระเบียบวิธีพิจารณาคดีให้รัดกุมให้ทำหน้าที่ให้ได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พูดเหมือนกับว่า หากคนมีความรู้เรื่องกฎหมายมหาชนแล้วจะไม่ขัดแย้งกัน ผมก็เห็นนักกฎหมายมหาชนหลายคนเห็นต่างกันและตีความต่างกัน จนกระทั่งบางรายสนับสนุนการรัฐประหารด้วยซ้ำ กลับมาที่เรื่องที่มาของ ส.ว. เป็นไปได้ไหมที่เราพอจะยอมให้ ส.ว. มาจากการแต่งตั้ง คิดเสียว่า เป็นการประนีประนอมกับอำนาจดั้งเดิมกับกลุ่มอำนาจของข้าราชการ ทีนี้หลายคนชอบยกตัวอย่างอังกฤษว่า ทีอังกฤษยังมีสภาขุนนางที่มาจากการแต่งตั้งเลย ผมก็บอกว่า การจะพูดถึงสภาอังกฤษ ต้องดูอย่างน้อยสองประเด็น และต้องพูดให้หมด ประเด็นที่หนึ่ง คือ สภาขุนนางของอังกฤษไม่ได้มีอำนาจเหมือน ส.ว. บ้านเรา สภาขุนนางอังกฤษไม่มีอำนาจถอดถอนนายกรัฐมนตรีได้เหมือนบ้านเรา อันที่สองก็คือ ในปัจจุบันนี้ สมาชิกสภาขุนนางอังกฤษที่มาจากการสืบสายโลหิตลดน้อยลงไปมากแล้ว และก็มีความพยายามปฏิรูปและความพยายามจะยกเลิกมาตลอด คือประเทศใดก็ตามที่มีสภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง จะมีเสียงเรียกร้องให้มีการปฏิรูป เราต้องถามด้วยว่าการมี ส.ว. ตั้งแต่แรก มีเอาไว้ทำอะไร และมีแล้วจะมาจากไหน เราไม่เคยมีการถกเถียงประเด็นนี้อย่างจริงจัง การที่เราบอกว่า ประนีประนอม ในด้านหนึ่งก็คือ เรายอมให้อำนาจที่ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยเข้ามาในตัวระบบ ทีนี้พวกนี้ก็ต้องอ้างอำนาจจารีต คุณธรรม ซึ่งผมคิดว่า เรามีสถาบันกษัตริย์ ซึ่งก็คือการคงอยู่ของจารีตโดยตัวเองอยู่แล้ว ซึ่งก็เพียงพอแล้ว ไม่อย่างนั้นเราก็จะเอาเหตุผลนี้ไปอ้างให้มีอำนาจในส่วนอื่นไปได้เรื่อยๆ เข้าใจว่า ผู้ร่างรัฐธรรมนูญต้องการคนที่ไม่อิงการเมือง แต่บทเรียนจากรัฐธรรมนูญ 40 ที่กำหนดให้ ส.ว.จากการเลือกตั้ง ไม่ให้สังกัดพรรคการเมือง ไม่ให้หาเสียงก็แล้ว แต่ก็ไม่จริงอีก คือเวลาเราพูดถึงความเป็นกลางทางการเมืองแบบนี้ ผมว่าอย่าพูดเลย เหมือนเป็นการหลอกเด็ก เราอยู่กับการเมืองมาตลอด ทำไมเราไม่ยอมรับมันล่ะ แล้วมาดูกันว่า เราจะอยู่กับมันอย่างไร เป็นกลางทางการเมืองในเซนส์ที่บอกว่าไม่เกี่ยวอะไรกับใครนั้นไม่มีหรอก แล้วไม่ควรด้วย คือผมเข้าใจว่าในทางการเมืองนั้น ไม่มีเรื่องเป็นกลาง เพราะการเมืองนั้นคุณต้องมี Ideology อย่างใดอย่างหนึ่ง คุณอาจจะเสรีนิยม หรืออนุรักษ์นิยม ทุกคนมีความโน้มเอียงหมด และผมถามว่าอะไรคือเป็นกลางของคุณ ทีนี้เวลาที่ผมพูดเรื่องความเป็นกลาง เวลาที่พูดถึงตุลาการหรือคนตัดสิน ผมไม่ได้หมายความว่า เขาเป็นกลางในทางอุดมการณ์ทางการเมือง ในทางอุดมการณ์เขาต้องเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะเขาเป็นตุลาการในระบอบนี้ แต่เป็นกลางหมายถึง ไม่ได้เกี่ยวพันกับคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือเป็นปรปักษ์หรือเป็นมิตรกับคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่มีอคติต่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถ้าเช่นนั้น เราก็จะมีคณะรัฐมนตรีที่พรรคการเมืองเลือก จะมีองค์กรอิสระที่พรรคการเมืองเลือก มี กกต. ที่พรรคการเมืองเลือก แล้ว กกต.ก็จะโน้มเอียงมาเข้าข้างรัฐบาลในการเลือกตั้งทุกครั้ง พัฒนาการของการเมืองไทยในอนาคตข้างหน้า จะแยกความคิดทางการเมืองอย่างชัดเจนขึ้น ตอนนี้ก็เริ่มปรากฏแล้ว ในสังคมมหาวิทยาลัยก็เริ่มแล้ว มันจะเริ่มแยกคนนี้ว่า คอนเซอร์เวทีฟหน่อย คนนี้ก้าวหน้าหน่อย ซึ่งเป็นธรรมดา และที่สุดก็จะแยกคนเข้าไปด้วย ในต่างประเทศก็จะเป็นแบบนี้ พรรคการเมืองที่ก้าวหน้าก็จะเลือกศาลเลือกคนที่ก้าวหน้า หรือในทางกลับกัน ซึ่งมันต้องเป็นแบบนี้ แล้วบางทีมันก็ไปเปลี่ยนองค์ประกอบที่มีข้างใน ซึ่งเราไม่มีวิธีที่ดีกว่านี้ เราต้องทำลายมายาคติก่อน เรื่องคุณธรรม จริยธรรม เรื่องเป็นกลางทางการเมืองที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชอบหยิบยกขึ้นอ้างหรือสร้างภาพให้ดูดี ซึ่งถ้าทำลายได้ เราก็จะไม่รู้สึกอะไร และนี่คือความยากของการทำรัฐธรรมนูญ เพราะมันฝังรากในสังคมไทยยาวนาน ในหมู่ชนชั้นนำ ถ้าเราสามารถเปิดหน้ากากชนชั้นนำได้ว่า พวกคุณก็มีผลประโยชน์ร่วมกันเหมือนกันหมด เราก็จะไม่บอกว่า คนนี้ดีกว่าคนนี้ สังคมไทยควรเลือกคนที่มีผลงาน เอาวิสัยทัศน์ที่เคยมีอยู่ก่อนในตัวคนมาวัด ไม่ใช่ไปเอามาจากผู้หลักผู้ใหญ่ ที่บอกว่าคนนี้เป็นคนดี แล้วเราก็จะเชื่อตาม อีกอย่างการเลือกคนจะต้องออกแบบให้ได้คนที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ ให้เป็นไปได้มากที่สุด เช่น กำหนดคะแนนเสียงในการได้มาซึ่งบุคคลไว้สูงมากพอเพียงให้เกิดการต่อรองกันระหว่างพรรคการเมืองต่างๆในสภา ส่วนการเอียงหรือไม่ วินิจฉัยอยู่ในกรอบของกฎหมายหรือไม่ เหล่านี้ก็มีระบบกฎหมายควบคุมอยู่ ก็ต้องวางระบบควบคุมไว้ให้ดี ศาลมาจากการเลือกตั้งได้ไหม ถ้าไม่ได้ เพราะอะไร หรือเราออกแบบให้ศาลเชื่อมโยงกับประชาชน เช่น พรรคการเมืองต้องคัดเลือกผู้พิพากษาศาลฎีกา ให้มาลงปาร์ตี้ลิสต์อันดับ 2 อะไรอย่างนี้ได้ไหม ทีนี้จะเป็นไปได้ไหมที่ให้การขึ้นสู่ศาลในระดับสูงต้องผ่านการรับรอง ผมคิดว่าเป็นไปได้ และต้องทำด้วย ประเด็นที่ผมอยากนำเสนอที่จะให้ศาลเชื่อมโยงกับประชาชน อาจจะต้องคิดแบบศาลสูง-ศาลล่าง ระดับศาลสูง อาจจะต้องให้คณะรัฐมนตรีเป็นคนเสนอชื่อ และให้ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นคนรับรอง แต่การเสนอชื่อไม่ใช่ว่าจะเสนอใครก็ได้นะ แต่คือคนในศาลนั้นเองที่จะขึ้นไปสู่ศาลสูง แน่นอนการเสนอชื่อก็ต้องถูกอภิปรายได้ ซึ่งเป็นการสร้างความชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตยที่หลายประเทศในเอเชียใช้กัน แต่ข้อเสนอแบบนี้ ศาลก็จะรับไม่ได้ จะหาว่าไปอะไรกับการเมือง แต่ถ้าเราคิดว่า อาณัติความชอบธรรมในการปกครองมาจากประชาชน ก็ต้องทำให้ศาลรู้สึกว่าศาลมีความเชื่อมโยงกับประชาชนเหมือนกัน กรณีของศาลล่าง ก็มีการเสนอระบบลูกขุน ซึ่งอันนี้จะต้องใช้รายละเอียดมากกว่านี้ แต่ที่เราพอทำได้ คือการใช้ระบบผู้พิพากษาสมทบ หมายความว่า ในคดีที่อยู่ในศาลล่าง ในคดีทั่วๆไป อาจจะเปิดให้คนทั่วๆ ไปซึ่งอาจจะไม่ได้เรียนกฎหมายเข้าไปนั่งเป็นผู้พิพากษาสมทบ ประเด็นว่า ผู้พิพากษาสมทบจะมีอำนาจแค่ไหน อาจจะต้องมาพูดกัน แต่อย่างน้อย การที่มีคนข้างนอกเข้ามานั่ง ก็จะทำให้ศาลระมัดระวังในการใช้อำนาจ เพื่อสร้างความโปร่งใสมากขึ้น นอกจากนี้ ยังต้องพูดถึงระบบบริหารงานบุคคลของศาล โครงสร้างขององค์กรที่มาบริหารงานบุคคลของศาลก็ต้องคิดกันใหม่ อย่างน้อยที่สุด คณะกรรมการตุลาการก็ต้องมาจากประชาชน องค์กรที่จะคัดเลือกผู้พิพากษาต้นทางในการคัดคนเข้าไป ต้องมีจุดเชื่อมโยงกับประชาชน หรือมีสัดส่วนของคณะกรรมการมากกว่าครึ่งหนึ่ง ไม่ใช่แค่คนสองคนอย่างที่เป็นอยู่ เราจะออกแบบรัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันการรัฐประหารให้ได้มากที่สุดได้ไหม เท่ากับเรายอมเสี่ยง ที่ผ่านมาเราฉีกรัฐธรรมนูญได้อย่างสงบ ไม่มีทหารขัดขวาง เพราะเรากลัวสงครามกลางเมือง อีกเรื่องหนึ่งที่เราควรจะต้องทำ ก็คือ การลบล้างคำสั่ง คำวินิจฉัย คำพิพากษาที่เกิดขึ้นจากการรัฐประหาร ซึ่งการลบล้างบรรดาคำพิพากษาที่ผมพูดถึงนี่ ไม่ใช่การนิรโทษกรรม นิรโทษกรรมนี่เบาไป เพราะเท่ากับว่า การกระทำอันนั้น การตัดสินอะไรของศาลหรือกระบวนการที่เกิดขึ้นมานั้นโอเคแล้ว ถูกต้องแล้ว แล้วไปยกเว้นความผิดให้ หรือถ้าอภัยโทษ ก็คือระงับโทษไป ไม่เอาโทษ ซึ่งไม่พอ เราน่าจะได้เวลาที่จะมาคิดกันจริงๆ ว่า เราจะยอมรับผลพวงที่เกิดขึ้นจากรัฐประหารแค่ไหน ซึ่งแน่นอน บางเรื่องก็จบไปแล้ว และในทางความเป็นจริง ถ้าไม่ใช่ในทางกฎหมายบางทีก็ไปรื้อไม่ได้ ถ้ามันจบก็ต้องจบ ถ้าเราไม่ยอมรับผล ก็จะพังกันหมด มันเป็นไปไม่ได้ ซึ่งผมก็ไม่ได้สุดโต่งขนาดนั้น แต่ผมกำลังจะบอกว่า อะไรที่มันก่อให้เกิดผลในทางกฎหมาย แล้วอะไรที่มันลบล้างได้ก็ควรลบล้างให้หมดเท่าที่จะทำได้ เราไม่ควรถูกขังอยู่ในกรอบความคิดว่ารัฐประหารเกิดขึ้นแล้ว แล้วก็ถูกบังคับให้รับผลของรัฐประหารต่อไปเรื่อยๆ อย่างเซื่องๆ ทีนี้จะลบล้างอะไรบ้าง ก็มานั่งดูกัน เช่น คำวินิจฉัยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเรื่องยุบพรรค ที่เอากฎหมายย้อนหลังมาตัดสิทธิบุคคล อย่างนี้ลบล้างเสีย ถูกไหมครับ คำตัดสินที่เกิดจากการดำเนินการชั้นต้นของ คตส. ลบล้างมันเสีย เมื่อลบล้างแล้ว ถ้ายังเป็นความผิดอยู่ ความผิดนั้นก็ยังไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่ต้องเริ่มกระบวนการกันใหม่ ซึ่งต่างจากการนิรโทษกรรมที่ทำให้ความผิดที่เกิดขึ้นพ้นไปเลย เว้นผิดไปเลย รูปธรรมกรณีคดีของคุณทักษิณนี่ ผลของการลบล้าง คือลบล้างทั้งหมดที่เกิดจาก คตศ. แล้วให้คดีทั้งหมดเริ่มต้นใหม่ที่เป็นธรรม นี่คือเรื่องใหม่เลย ต้องเขียนเป็นมาตราใหม่ อย่างนี้เราล้างไปถึง 2475 ได้ไหมครับ กฎหมายมันไม่ใช้ย้อนหลังไม่ใช่หรือ ในไอเดียของผม คือต้องทำให้การรัฐประหารและสิ่งที่ทำกันมาต่อจากนั้นมัน ‘เสียเปล่า’ รัฐธรรมนูญจะประกาศความเสียเปล่านั้น หมายความว่า อะไรๆ ที่ตัดสินกันจากผลของการรัฐประหาร จะไม่เคยเกิดมีขึ้นในทางกฎหมาย ซึ่งนี่อาจจะเป็นเรื่องที่นักกฎหมายไทยอาจจะยังไปไม่ถึง ไม่รู้จัก และอาจจะสงสัยว่า เฮ้ย! มันจะเป็นอย่างไร ประกาศความเสียเปล่าของคำสั่ง ของคำวินิจฉัยของศาล แต่มันทำได้ในทางกฎหมาย เอาล่ะ เราเข้าใจว่าคดียุบพรรคไทยรักไทย 111 คนนั้นจบไปแล้ว ถ้าเราลบล้างหรือทำให้การรัฐประหารมันเสียเปล่า ด้วยการประกาศความเสียเปล่า แล้วต่อมาเราก็บัญญัติในรัฐธรรมนูญประกาศความเสียเปล่าของคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ผลก็จะเหมือนกับว่าบุคคลเหล่านั้นไม่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเลย ซึ่งกว่าจะมีประกาศการเสียเปล่าด้วยรัฐธรรมนูญ ผลการตัดสิทธิคงจะหมดไปแล้ว การประกาศความเสียเปล่านั้น จะไม่มีผลในทางความเป็นจริง แต่มีผลในทางกฎหมาย แต่มันทำให้เขาบริสุทธิ์ แต่การเสียสิทธิ โอกาส และเวลาไป 5 ปี จะไปเรียกร้องอะไรคืนไม่ได้ใช่ไหม แต่กรณีข้อสงสัยในความผิด หรือข้อกล่าวหา เช่น กรณีคุณทักษิณ ก็อาจจะยังถูกดำเนินคดีตามกระบวนการได้ มาถึงกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เราจะเริ่มอย่างไร คนเสื้อแดงเขาเสนอให้นำรัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาใช้ เพราะข้อบกพร่อง 2540 ก็ยังมีอีกเยอะ การทำประชามติมีไม่ชอบธรรมด้วยหรือ เมื่อเสียงส่วนใหญ่ลงไปแล้ว ไม่ว่าจะถูกหลอกไม่หลอก เราก็ต้องเชื่อ ไม่เช่นนั้นถ้าเราอธิบายว่าถูกหลอก ก็เหมือนกับที่พรรคเพื่อไทยโดนกล่าวหาว่าซื้อเสียง คำถามคือ ประชามติที่ทำขึ้นมานั้นมีความชอบธรรมไหม เราจะบอกปฏิเสธความชอบธรรมโดยสิ้นเชิงเลยนั้นก็ไม่ได้ ถูกไหม เราปฏิเสธไม่ได้ทั้งหมด เพราะอย่างน้อยมันก็ผ่านการออกเสียงประชามติ แม้ว่าในบริบทของการออกเสียงประชามติจะไม่ถูกต้องตามหลักประชามติก็ตาม แต่ว่าความชอบธรรมที่มีอยู่มันไม่บริบูรณ์ ความไม่บริบูรณ์หมายความว่า การออกเสียงประชามติที่ออกเสียงไปเมือปี 2550 มันไม่เป็นไปตามหลักการการออกเสียงประชามติที่แท้จริง คือเป็นปัญหาที่ตัวกฎเกณฑ์ เพราะการออกเสียงประชามติโดยแท้จริง ประชาชนเขาต้องมีทางเลือกที่ชัดเจน แต่ในวันที่เขาไปออกเสียงประชามติ เขาไม่ได้มีทางเลือกที่ชัดเลย เพราะเขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาไม่เอารัฐธรรมนูญที่เป็นร่างปี 50 เขาจะได้รัฐธรรมนูญอะไร ไม่เห็นตัวเลือกที่ชัดเจน คือถ้ายังมีรัฐธรรมนูญฉบับเก่าอยู่ มีปี 50 มาเทียบ แล้วให้ประชาชนออกเสียงประชามติว่า จะรับฉบับใหม่ไหม ถ้าไม่รับก็ใช้ฉบับเก่า อันนี้ก็เคลียร์ในแง่ของการออกเสียงประชามติจริงๆ มีความชอบธรรมจริงๆ ประชามตินี้ก็มีที่มาจากการรัฐประหารเหมือนกัน แล้วต้องยอมรับไหม โดยกระบวนการของการแก้ไขรัฐธรรมนูญหากจะมีขึ้น ต้องเริ่มที่การลบล้างประชามติเดิมก่อน ถ้าจะทำประชามติก่อนว่าจะแก้หรือไม่แก้ ขั้นตอนคือ แก้ไขมาตรา 291 ว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เสร็จแล้วจึงให้ประชาชนลงประชามติรับรอง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง พูดในสภาว่า จะให้มี ส.ส.ร. 99 คน มาจากจังหวัดละคน 77 และบวกผู้ทรงคุณวุฒิอีก 22 เหมือนตอนยกร่างปี 40 อาจารย์เห็นอย่างไร อย่างไรก็ตามการเลือกจังหวัดละคนนั้น ไม่ค่อยสอดรับกับหลักคิดเท่าไร ที่มาของ 77 คนนี่ไม่ถูกในเชิงหลักการ เพราะบ้านเราไม่มีระบบแบบมลรัฐที่แต่ละรัฐจะใหญ่เท่าๆ กัน เพราะจังหวัดของเราเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคเท่านั้นเอง เรื่องนี้จึงต้องคิดต่อว่าจะทำอย่างไร เดิมทีผมคิดว่า ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยจัดกลุ่มจังหวัด แล้วให้ประชากรแต่ละกลุ่มมีจำนวนใกล้เคียงกัน กรุงเทพอาจจะมีมากกว่า 1 คน เพราะประชากรเยอะกว่า เป็นไปตามสัดส่วนประชากร ตอนนั้นการเมืองยังไม่แบ่งขั้ว แต่ตอนนี้ถ้าให้เลือกกันเอง สมัครกันเอง น่าจะเกิดการบล็อกโหวต กลายเป็นการช่วงชิงกันแบบไม่มีกติกา แล้วถ้าจะเป็นการเลือกตั้งโดยตรงเหมือน ส.ว. 2 ใน 3 ก็คือต้องใช้ 400 กว่าเสียง เพื่อให้เกิดการประนีประนอมกันระหว่างรัฐบาล ฝ่ายค้าน และ ส.ว. ไม่ให้ใครผูกขาดได้ ตอนยกร่างฉบับปี 40 นี่ มีนักกฎหมายมหาชนครึ่งหนึ่ง นักรัฐศาสตร์ครึ่งหนึ่งใช่ไหม ทำไมจึงมีแค่ 3 อาชีพนี้ หมายความว่า คุณสมบัติของคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ต้องระบุในรัฐธรรมนูญที่จะแก้ไขไว้เลย ในส่วนเนื้อหาที่จะแก้ไข ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะได้อย่างที่หลายๆ ฝ่ายเสนอไหม เราจะยอมรับได้แค่ไหน หรือเราจะผลักดันได้แค่ไหน คืออย่างน้อยก็ขอให้มีรูปเป็นร่าง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
ศิริราช: เสาหลักสุขภาพ ไฉนจึงเมาเบียร์ช้าง Posted: 20 Sep 2011 09:38 AM PDT
ศิริราชพยาบาลเป็นสถาบันการแพทย์แห่งแรกที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสถาปนาขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2431 และต่อมาได้โปรดเกล้าให้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งแรกของไทย ตั้งแต่ปี 2433 และจากโรงเรียนแพทย์ก็ได้พัฒนาขึ้นเป็นคณะแพทยศาสตร์ จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีแห่งแรกในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2485 จนถึงปัจจุบันเรียกได้ว่า ศิริราชพยาบาล เป็นเสาหลักต้นใหญ่ของวงการสุขภาพไทย “วันมหิดล” เป็นวันสำคัญของบุคลากรสายสุขภาพ ด้วยตรงกับวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 24 กันยายน ของทุกปี เพื่อร่วมกันน้อมสำนึกพระเมตตาคุณพระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย ผู้ทรงอุทิศพระองค์ “ทรงให้” ด้วยน้ำพระทัยอันบริสุทธิ์ในการช่วยผู้ป่วย แต่ในปีนี้ เช่นเดียวกับปีที่แล้ว ป้ายประชาสัมพันธ์งานวันมหิดลนั้น มีสิ่งหนึ่งที่สะดุดตา ซึ่งขัดแย้งอย่างยิ่งกับอุดมการณ์ทางสุขภาพของทุกสถาบันการแพทย์การสาธารณสุขนั่นคือ การมีโลโก้ “ไทยเบฟ” หรือเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า นี่คือสัญลักษณ์ของบริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หรือ บริษัทผู้ผลิต “เบียร์ช้าง” ปรากฏอยู่ในโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ด้วย “ไทยเบฟ” ไม่ได้ผลิตแต่เบียร์ช้างเท่านั้น ยังเป็นเจ้าของสิ่งมึนเมาที่มอมเมาประชาชนมายาวนานหลายยี่ห้อ เช่น เหล้าแม่โขง เหล้าแสงโสม เหล้าขาว เหล้าหงส์ทอง เหล้าคราวน์99 เหล้าเบรน285 เบียร์อาชา และเหล้าเบียร์อีกหลายยี่ห้อ มินับน้ำดื่มตราช้างที่เจตนาผลิตขึ้นมาเพื่อการโฆษณาแฝง ซึ่งเป็นเทคนิคในการหลีกเลี่ยงกฎหมายห้ามการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ปัจจุบันห้ามโฆษณาก่อนเวลา 4 ทุ่ม "ไทยเบฟ” เป็นข่าวใหญ่เมื่อหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากต้องการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของไทย แต่จากแรงต้านทางสังคม จึงต้องหนีไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์แทน ด้วยความเป็นอุตสาหกรรมที่มอมเมาประชาชน การสร้างภาพลักษณ์จึงเป็นหัวใจสำคัญของบริษัทน้ำเมา ไทยเบฟซึ่งเป็นหนึ่งในผู้บริจาครายใหญ่ให้กับศิริราชพยาบาล จึงทำให้ คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ( ภรรยาของคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของบริษัทไทยเบฟฯ ) ได้เป็นคณะกรรมการบริหารศิริราชมูลนิธิด้วย กรณีการมีโลโก้ของไทยเบฟในโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์งานวันมหิดลประจำปี 2554 ก็คงเพราะความเคยชินกับการรับเงินบริจาคโดยไม่ได้แยกแยะใส่ใจอย่างลึกซึ้งต่อผลกระทบในระยะยาว จนวันนี้อาจเรียกได้ว่า ศิริราชพยาบาล สถาบันการแพทย์ชั้นหนึ่งของประเทศไทย ได้ตกเป็นเครื่องมือของการโฆษณาสร้างภาพลักษณ์ของบริษัทน้ำเมาอันดับหนึ่งของประเทศไทยไปแล้ว ไม่ว่าจะโดยรู้ตัวหรือลืมตัวก็ตาม ทุกคนล้วนทราบดีว่า การดื่มและการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ล้วนไม่สอดคล้องกับทั้งศีลธรรมและสุขภาพ ทั้งในมิติทางศาสนาและมิติทางสังคม วงการแพทย์เองก็เผชิญกับความทุกข์ของผู้ป่วยที่ป่วยเพราะเหล้า เช่นเป็นโรคตับแข็งหรือประสบอุบัติเหตุจราจรเพราะความมึนเมา การชกต่อย การสร้างความรุนแรงในครอบครัว และการสูญเสียทั้งชีวิต จิตใจและทรัพย์สิน สร้างปัญหาเพิ่มความแออัดแก่ห้องฉุกเฉินทุกค่ำคืนโดยไม่จำเป็น สร้างภาระและความเอือมระอาให้กับโรงพยาบาลทุกแห่ง ไม่เว้นแม้แต่ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลคือมหาวิทยาลัยด้านสุขภาพอันดับหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งประกาศพันธกิจ ว่า “สร้างความเป็นเลิศทางด้านสุขภาพ ... บนพื้นฐานของคุณธรรม เพื่อสังคมไทย และประโยชน์สุขแก่มวลมนุษยชาติ” ในขณะที่ มหาวิทยาลัยมหิดล ประกาศวัฒนธรรมมหิดล ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นคือ “มั่นคงยิ่งในคุณธรรม” และ “ความรับผิดชอบต่อสังคม” ซึ่งอธิบายไว้ว่าคือการรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และสังคม ในขณะที่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระบุในพันธกิจว่าหนึ่งในนั้นคือ “ชี้นำสังคมไทยในด้านสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิต” แต่น่าเสียดายที่ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงเจตนารมณ์และคำขวัญที่สวยงามเท่านั้น การยอมรับให้ใส่สัญลักษณ์ของบริษัทไทยเบฟในป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรม โดยอ้างว่าเป็นเงื่อนไขที่ระบุไว้สัญญาการรับเงินบริจาคช่วยกิจกรรมนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่สะท้อนได้อย่างชัดเจนว่า “เงินนั้นสามารถง้างวัฒนธรรมมหิดลได้” สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก นั้นสูงส่งและมุ่งมั่นในยกระดับมาตรฐานทางวิชาการแพทย์ และต่อสู้เพื่อการสร้างสุขภาพของประชาชน ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะมีโลโก้ของไทยเบฟในป้ายประชาสัมพันธ์วันมหิดล เพียงใช้สามัญสำนึกก็รับรู้ได้ว่า “ไม่สมควร” มหาวิทยาลัยมหิดลและคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลไม่เพียงแต่ควรปลดโลโก้ของไทยเบฟออกจากโปสเตอร์เท่านั้น แต่ควรทบทวนแนวทางการรับบริจาคจากธุรกิจที่มีส่วนในทำลายสุขภาพของประชาชนเช่นบริษัทน้ำเมาด้วย เพื่อเป็นแบบอย่างต่อนักศึกษาทุกสาขาวิชา ที่ควรเรียนรู้ถึงความเข้มแข็งในการปฏิเสธเงินจากธุรกิจที่มอมเมาและทำลายสุขภาพของประชาชน ความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นได้ เป็นธรรมดาที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยอาจการไม่เท่าทันเล่ห์กลการโฆษณาแฝงทางธุรกิจ บทเรียนในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านสุขภาพ ยิ่งควรที่จะนำบทเรียนนี้ เข้าหารือเพื่อการมีมติในที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ในการการสร้างบรรทัดฐานและสร้างสำนึกทางจริยธรรมของทุกสถาบันการศึกษา เพื่อเป็นการสร้างวัฒนธรรมใหม่ต่อเยาวชนไทย ให้ยึดมั่นในพระราชดำรัสของสมเด็จพระราชชนกที่ว่า “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศจะตกแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์” สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
‘ปัตตานีมหานคร’ เข้าสภาปีหน้า 40 จังหวัดผลักดันกระจายอำนาจ Posted: 20 Sep 2011 09:28 AM PDT
มันโซร์ สาและ เครือข่ายประชาสังคม 23 องค์กร ร่วมกับเครือข่ายการเมืองภาคพลเมืองเพื่อท้องถิ่น คณะกรรมการภาคประชาสังคม สภาพัฒนาการเมือง และสภาประชาสังคมชายแดนใต้ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเวทีการแลกเปลี่ยนเชิงวิชาการ (Academic Core Group) และการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น มีสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า พร้อมด้วยศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ร่วมสนับสนุนด้านวิชาการ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2554 ที่ห้องมะปราง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นายมันโซร์ สาและ รองประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ แจ้งต่อที่ประชุมว่า ขณะนี้การผลักดันการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษปัตตานีมหานคร ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งครอบคลุม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา ยังอยู่ในระหว่างการร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการปัตตานีมหานคร คาดว่าจะแล้วเสร็จปลายเดือนกันยายน 2554 จากนั้นจะมีการลงลายมือชื่อยื่นต่อรัฐสภา พร้อมกับร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานคร ภายในปี 2555 เนื่องจากเกรงว่าถ้าเสนอเฉพาะร่างฯ ปัตตานีมหานครฉบับเดียว อาจจะมีการเข้าใจผิดว่า เป็นเขตปกครองตนเอง นายมันโซร์ ชี้แจงต่อไปว่า การเคลื่อนไหวเรื่องปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษปัตตานีมหานคร เป็นการเคลื่อนไหวภายใต้แนวคิดท้องถิ่นจัดการตนเองร่วมกับพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ 40 จังหวัด แยกเป็น ภาคเหนือ 10 จังหวัด มีจังหวัดเชียงใหม่รวมอยู่ด้วย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15 จังหวัด ภาคตะวันออก 5 จังหวัด และภาคใต้อีก 6 จังหวัด มีจังหวัดปัตตานี จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น นายมันโซร์ ชี้แจงอีกว่า สำหรับรูปแบบการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นแนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี จัดโครงสร้างการบริหารออกเป็น 2 ส่วนคือ ฝ่ายบริหารและสภานิติบัญญัติ มีผู้ว่าราชการปัตตานีมหานคร มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี มีอำนาจหน้าที่ในการบริหาร กำหนดนโยบาย คือ เขตพื้นที่การปกครอง ปัตตานีมหานคร หมายถึง พื้นที่ครอบคลุมจังหวัดปัตตานี มีรองผู้ว่าราชการฯ เป็นชาวไทยพุทธ ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 “ในฝ่ายบริหารจะมีข้าราชการท้องถิ่น ที่มาจาการการแต่งตั้งของผู้ว่าราชการปัตตานีมหานคร ประกอบด้วย ปลัดปัตตานีมหานคร ทำหน้าที่บริหารราชการประจำ ผู้อำนวยการเขต ทำหน้าที่ประสานงานกับสภาเขต มีจำนวน 37 คน มาจากการแต่งตั้งของผู้ว่าราชการปัตตานีมหานคร หัวหน้าแขวง ทำหน้าที่ประสานงานกับสภาเขต กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีจำนวน 290 คน” นายมันโซร์ กล่าว นายมันโซร์ ชี้แจงรายละเอียดฝ่ายนิติบัญญัติว่า จะประกอบด้วย สมาชิกสภาปัตตานีมหานคร วาระการดำรงตำแหย่ง 4 ปี ทำหน้าที่เสนอและพิจารณาข้อบัญญัติท้องถิ่น ตั้งกระทู้ถาม ตั้งคณะกรรมการท้องถิ่นด้านต่างๆ มีจำนวน 31 คน มาจากการเลือกตั้งตามเขตพื้นที่ 25 เขต และกลุ่มผู้นับถือศาสนาพุทธ 3 คน ศาสนาอื่น 1 คน สตรี 1 คน และผู้พิการ 1 คน นอกจากนี้ยังมีสมาชิกสภาเขต มีหน้าที่จัดทำแผนพัฒนาเขตพื้นที่ จัดสรรงบประมาณพัฒนาเขต มีจำนวนอย่างน้อยเขตละ 7 คน มาจากการเลือกตั้งจากเขตพื้นที่ นายมันโซร์ ชี้แจงด้วยว่า กลไกที่แตกต่างไปจากการปกครองท้องถิ่นอื่นๆ คือ สมาชิกสภาประชาชน ทำหน้าที่เสนอแนะ ตรวจสอบ ประเมินผลการดำเนินงานของผู้ว่าราชการปัตตานีมหานคร และสภาปัตตานีมหานคร พร้อมจัดทำรายงานประจำปี เสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิต่อสภาปัตตานีมหานคร เพื่อเป็นกรรมาธิการด้านต่างๆ แนะนำรายชื่อผู้ที่สภาปัตตานีมหานครเห็นว่า มีความเหมาะสมจะลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการปัตตานีมหานคร ด้วยกระบวนการปรึกษาหารือ มีสมาชิกจำนวน 51 คน มาจากการเลือกตั้งของกลุ่มอาชีพ กลุ่มวัฒนธรรม องค์กรประชาสังคมที่จดแจ้งกับปลัดปัตตานีมหานคร “ภายใต้โครงสร้างนี้ ข้าราชการส่วนภูมิภาคจะยังคงอยู่ แต่อาจจะต้องปรับเปลี่ยนบทบาทตามความเหมาะสม บทบาทของกองทัพ การคลัง และการต่างประเทศ ยังคงเหมือนเดิม ปัตตานีมหานครยังคงขึ้นกับรัฐไทย ซึ่งเป็นรัฐเดี่ยวแบ่งแยกไม่ได้เหมือนเดิม” นายมันโซร์ กล่าว
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
Posted: 20 Sep 2011 09:18 AM PDT เมื่อนายชัช ชลวร ลาออกจากการเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ นายชัชต้องพ้นจากความเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้วหรือไม่ และการที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 8 คนที่เหลือ ร่วมกับนายชัชประชุมและเลือกกันเองให้นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ โดยนายชัชยังคงดำรงตำแหน่งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นการกระทำที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็นปัญหาสำคัญในการการใช้รัฐธรรมนูญในยุคนี้ ปัญหาข้อแรก นายชัช ชลวร พ้นจากความเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้วหรือไม่ เมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญ 2550 แล้ว จะเห็นได้ว่า (1) มาตรา 209 (3) บัญญัติถึงการลาออกของทั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อประธานศาลรัฐธรรมนูญลาออก มาตรา 209 วรรคสอง บัญญัติว่า ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ในการพิจารณาและวินิจฉัยคดีต่อไปได้หากมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเหลืออยู่ไม่น้อยกว่า 5 คน ตามมาตรา 216 ไม่มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญตรงส่วนใดที่บัญญัติว่าประธานศาลรัฐธรรมนูญจะต้องลาออกจากความเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย จึงจะพ้นจากตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญ นายชัชจึงพ้นจากตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญไปแล้ว (2) เมื่อประธานศาลรัฐธรรมนูญลาออก มาตรา 210 วรรคสอง บัญญัติให้มีการดำเนินการเลือกบุคคลมาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญภายใน 30 วัน หลังจากนั้นมาตรา 210 วรรคสี่ บัญญัติให้ผู้ได้รับเลือกดังกล่าวประชุมร่วมกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เหลือ 8 คนและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแจ้งให้ประธานวุฒิสภาทราบเพื่อทูลเกล้าฯต่อไปตามมาตรา 204 วรรคสามและวรรคสี่ (3) กรณีที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญต้องพ้นจากตำแหน่งนอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 209 ทั้ง 7 กรณี เช่น ตาย, มีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ , ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ล้วนแล้วแต่เป็นการพ้นจากตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น กรณีประธานศาลรัฐธรรมนูญลาออกก็เป็นกรณีหนึ่งในการที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญต้องพ้นจากตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญเหมือนกรณีอื่น ๆ ในมาตรา 209 และรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติว่า ประธานศาลรัฐธรรมนูญต้องลาออกจากความเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วยจึงจะพ้นจากตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญ ดังนั้นเมื่อประธานศาลรัฐธรรมนูญซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้บริหารงานและตุลาการในการพิจารณาและวินิจฉัยคดีในศาลรัฐธรรมนูญลาออก ประธานศาลรัฐธรรมนูญจึงต้องพ้นจากตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญที่จะเป็นเหตุให้ทำหน้าที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต่อไปได้ (4) หากนายชัชยังคงทำหน้าที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต่อไป จะมีปัญหาต่อไปว่าจะต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะมาตรา 204 วรรคหนึ่งและวรรคสี่บัญญัติให้ต้องโปรดเกล้าฯแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจากผู้ได้รับเลือกให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แต่นายชัชไม่ใช่บุคคลผู้ได้รับเลือกให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญครั้งใหม่ ส่วนที่นายชัชได้รับเลือกครั้งก่อน ก็ได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งไปแล้ว หากไม่ต้องโปรดเกล้าฯ ก็ขัดต่อมาตรา 204 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ (5) หากรัฐธรรมนูญยอมให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญแสดงเจตนาลาออกจากตำแหน่งเฉพาะประธานศาลโดยยังคงให้ดำรงตำแหน่งตุลาการต่อไปได้ ย่อมเป็นเหตุให้ตุลาการศาลสามารถฮั้วกันเป็นประธานศาลคนละปีครึ่งปีจนครบทั้งหมด 9 คน ย่อมทำให้งานของศาลรัฐธรรมนูญไม่พัฒนา (6) กรณีประธานศาลรัฐธรรมนูญลาออกแล้วจะมีผลอย่างไร รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ชัดเจนแล้วว่าต้องพ้นจากศาลรัฐธรรมนูญไป แตกต่างจากกรณีสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา สมาชิกภาพของ ส.ส. เริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้ง ส่วนสมาชิกภาพของ ส.ว. เริ่มแต่วันเลือกตั้งในกรณี ส.ว. เลือกตั้ง หรือวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการสรรหาในกรณี ส.ว. สรรหา โดยไม่ต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เพียงแต่ก่อนเข้ารับหน้าที่ ส.ส. หรือ ส.ว. ต้องปฏิญาณตนในที่ประชุมที่ตนเป็นสมาชิกอยู่เท่านั้น การลาออกจาก ส.ส. หรือ ส.ว. ทำให้สมาชิกภาพของ ส.ส. หรือ ส.ว. สิ้นสุดลง (มาตรา 106 (3) และมาตรา 119 (3)) ส่วนประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาต้องมีโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง (มาตรา 124 วรรคหนึ่ง) นอกจากประธานสภาทั้งสองจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระแล้ว การลาออกจากตำแหน่งประธานสภายังทำให้ประธานสภาทั้งสองต้องพ้นจากตำแหน่งประธานสภาไปด้วย(มาตรา 124 วรรคสี่ (2)) รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติให้สมาชิกภาพของ ส.ส.หรือ ส.ว. ของประธานสภาผู้ลาออกจากตำแหน่งประธานสภาต้องสิ้นสุดลงตามไปด้วย กล่าวคือ สมาชิกภาพ ส.ส. หรือ ส.ว. ของประธานสภาทั้งสองผู้ลาออกจากตำแหน่งประธานสภาจะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อประธานสภาผู้นั้นได้ลาออกจาก ส.ส. หรือ ส.ว. ไปด้วย ซึ่งแตกต่างจากกรณีประธานศาลรัฐธรรมนูญลาออกดังกล่าว ส่วนกรณีอื่นๆ ต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป เช่น หัวหน้าห้องเรียนลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าห้องเรียน ย่อมไม่ขาดจากความเป็นนักเรียนไปด้วยในตัว เพราะโดยลักษณะของการเป็นนักเรียน จะพ้นจากความเป็นนักเรียนก็ต่อเมื่อได้ลาออกหรือถูกไล่ออกจากความเป็นนักเรียน การลาออกจากหัวหน้าห้องเรียนจึงไม่มีผลให้ผู้ลาออกต้องพ้นจากการเป็นนักเรียนไปด้วย นายชัช ชลวร ซึ่งลาออกจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญจึงพ้นจากความเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไปแล้วตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ แตกต่างจากกรณีอื่น ๆ นายชัชจึงไม่สามารถทำหน้าที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต่อไปได้ ปัญหาข้อหลัง การที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เหลือ 8 คน ร่วมประชุมกับนายชัช ชลวร ซึ่งพ้นจากตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญไปแล้ว และเลือกกันเองให้นายวสันต์ สร้อย-พิสุทธิ์ เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ เมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 210 วรรคสอง และวรรคสี่ ประกอบมาตรา 204 วรรคสามแล้ว นายชัช ชลวร พ้นจากตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญไปแล้ว ไม่มีอำนาจเข้าร่วมประชุมและเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ ทั้งการเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ก็ไม่มีผู้ได้รับเลือกเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่เข้าร่วมประชุมกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เหลือ 8 คน และเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ การประชุมและเลือกนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ไม่มีผลทำให้นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ได้ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
สัมภาษณ์วัฒน์ วรรลยางกูร รัฐประหาร 5 ปี ยังมีศัตรูของระบอบประชาธิปไตย Posted: 20 Sep 2011 09:15 AM PDT ประชาไทสัมภาษณ์ วัฒน์ วรรลยางกูร นักเขียนผู้ร่วมขบวนการคนเสื้อแดงตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา เขาเห็นว่า ภารกิจของคนเสื้อแดงยังไม่ลุล่วง กลุ่มอำนาจที่เป็นศัตรูต่อระบอบประชาธิปไตยยังคงอยู่ และไม่เห็นทิศทางการปรับตัวของอำนาจเหล่านี้
ครบรอบ 5 ปีรัฐประหาร ขณะนี้มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนส่วนใหญ่แล้ว ยังมีสิ่งใดที่ประชาชนยังไม่บรรลุอีกหรือ “ความรู้สึกในเวลานี้ อย่างเมื่อวานนี้ (18 ก.ย.54) คนเสื้อแดงก็มากันเยอะมาก มันก็สะท้อนว่า พวกเขายังไม่มั่นใจว่าการใช้สิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของเขาจะเป็นที่ยอมรับของกลุ่มอำนาจต่างๆ มันยังมีการฮึ่มๆ ฮั่มๆ ว่าจะมีการรัฐประหาร บอกว่ารัฐบาลที่คนเลือกมาแล้วด้วยเสียงส่วนใหญ่ จะมีอายุแค่ไม่กี่เดือน ซึ่งเป็นความรู้สึกที่มีพื้นฐานเหตุผลชัดเจน ไม่ใช่การวิตกไปเอง คนถึงต้องออกมา เพราะว่า กลุ่มที่ตั้งตัวเป็นศัตรูกับระบอบประชาธิปไตย เขาก็ยังมีอำนาจ มีกำลังอยู่ ยังสามารถคุมกำลังในกองทัพได้อยู่ ยังสามารถโน้มนำหรือชี้นำในกลุ่มพนักงานตุลาการได้อยู่ เป็นเรื่องที่คนเขารู้กันทั่วไปแล้ว เพราะฉะนั้นคนมีความไม่เชื่อมั่นว่าผลการเลือกตั้งของเขาจะเป็นที่เคารพหรือยอมรับของกลุ่มอำนาจที่อยู่นอกระบบระบอบประชาธิปไตย ก็เห็นกันว่า อำนาจนอกระบบประชาธิปไตยก็ยังอยู่ และพร้อมที่จะเข้ามาทุบทำลายด้วยการรัฐประหารได้อีก ถ้าหากว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั้นมีการทำงานที่พลาดพลั้งไป พูดง่ายๆ ว่าภารกิจของคนเสื้อแดงที่ออกมาต้านรัฐประหารเมื่อ 5 ปีที่แล้วยังไม่ลุล่วง หมายถึงกลุ่มอำนาจเดิมๆ ที่มีผลต่อการโค่นอำนาจของประชาชน ยังมีอิทธิพลอยู่ในการเมืองไทย “ใช่ครับ มันเหมือนนิยายที่ผู้ร้ายยังไม่ตาย ผู้ร้ายยังมีฤทธิ์มีเดช ยังสามารถสำแดงเดชเมื่อใดก็ได้ อันนี้คือความจริงในขณะนี้ ถึงแม้ผู้ร้ายจะเป็นกลุ่มชนชั้นที่มีอายุมากแล้วก็ตาม” ภายใน 5 ปีมานี้ คุณมองเห็นไหมว่า ประชาชนได้แสดงให้เห็นว่าตัวเองเป็นกลุ่มอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มีพลังกลุ่มและเข้ามามีพื้นที่ทางการเมืองมากขึ้นแล้ว ประชาชนมีความเหมาะสมที่จะมีพื้นที่ในทางการเมืองตรงนี้ เพราะก่อนหน้านั้นประชาชนเองไม่ค่อยเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างชัดเจนเท่าไหร่ แต่รอบนี้ ในรอบ 5 ปีมานี้ มันชัดเจนว่าประชาชนเขามีความตื่นตัวขึ้นมา แสดงความเป็นเจ้าของอำนาจ แสดงความเป็นตัวตนของปวงชนชาวไทย ซึ่งตรงนี้ชัดเจน ถึงจะชัดเจนอย่างไร ถ้าเราศึกษาประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ชนชั้นผู้มีอำนาจ ชนชั้นอภิสิทธิ์ชน ชั้นชั้นที่เขาเคยได้ผลประโยชน์จากความไม่เป็นประชาธิปไตย จากระบอบอภิสิทธิ์ จากระบอบศักดินา จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช เขาจะไม่ยอมปล่อยมือไปง่ายๆ เขาก็จะหาวิธีซิกแซกลดเลี้ยวอย่างนั้นอย่างนี้ ทั้งในทางกฎหมายบ้าง ในทางด้านการเลือกตั้งบ้าง มันก็เป็นเรื่องที่แบบว่า ยังต้องต่อสู้ต่อไป คือนิยายเรื่องนี้ยังไม่จบ ผู้ร้ายก็ยังอยู่แต่พระเอกก็เข้มแข้งขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น coming soon โปรแกรมหน้าสนุกแน่
มองในแง่พัฒนาการการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยเฉพาะจากกลุ่มคนเสื้อแดง คุณเห็นอะไรที่ยังไปไม่ถึงจุดที่ควรจะเป็นหรือควรต้องปรับปรุงอะไรอีกไหม ก็มีความไม่อิ่มอกอิ่มใจบ้างในเรื่องของแนวทางการต่อสู้ กลุ่มหนึ่งต้องการเรียกร้องการปฏิวัติประชาธิปไตย แต่กลุ่มหนึ่งก็อยู่ในกลุ่มของปฏิรูปประชาธิปไตย อยากที่จะประนีประนอม อยากที่จะใช้เพียงการต่อสู้ในเชิงของระบอบรัฐสภาเท่านั้น แต่ถ้าเราไปดูประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงของระบอบสังคมของโลก การเปลี่ยนแปลงต้องมาในทุกพื้นที่ ทั้งในสภาผู้แทนฯ ในระบอบรัฐสภาและนอกระบบรัฐสภา คือข้างถนนริมถนน มันต้องประสานกันไป แล้วไม่ใช่ว่าพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งจะสำคัญกว่ากัน มันอยู่ที่ความเหมาะสม บางปีบางเดือน พื้นที่ในสภาสำคัญกว่า บางปีบางเดือน พื้นที่ริมถนนมีความสำคัญมากกว่า เพราะฉะนั้นจะต้องปรับให้มันลื่นไหลไปตามความเป็นจริง ไม่ใช่ตายตัว ตายตัวก็คือว่า พอตัวเองได้เป็น สส.ได้เป็นผู้แทนฯ เป็นรัฐมนตรีแล้วก็อยากจะบังคับให้สู้อยู่แต่ระบอบรัฐสภาเท่านั้น ซึ่งมันไม่ใช่ หากเราดูจากบทเรียนของประวัติศาสตร์สากลมาแล้ว
สิงที่ท้าทายคนเสื้อแดงมากกว่าอำนาจนอกระบอบ อาจจะเป็นเรื่องความรู้สึกว่าตัวเองได้เป็นเสียงส่วนใหญ่แล้ว ได้มีอำนาจในสภาแล้ว อย่างนั้นหรือเปล่า ก็คือว่า คนเราพอได้รู้สึกว่าตัวเองได้เป็นเจ้าของออำนาจอธิปไตยแล้ว แล้วก็ลุกขึ้นมาแสดงตัวตนของตัวเองแล้ว ตอนนี้พูดตรงๆ ว่าผมเองก็เบาใจลงไปเยอะ เพราะว่ามันไม่มีการต่อสู้ครั้งไหนที่จะมีคนเข้าร่วมมากเท่าครั้งนี้ การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2553 ก็เป็นการเลือกตั้งที่พรรคการเมืองใช้ทุนรอนน้อยมาก เพราะว่าคนเสื้อแดงช่วยกันลงเรี่ยวลงแรง ลงเงินด้วยลงแรงด้วย ลงความคิด ลงหัวใจ นี่มันเป็นปรากฏการณ์ที่ดีมาก เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลัง 14 ตุลา สมัยที่พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยชนะเลือกตั้ง หรือสมัยก่อน 2500 ที่พรรคสหชีพ พรรคที่อยู่ฝ่ายของปรีดี พนมยงค์ได้รับการเลือกตั้ง การเมืองที่ดีมันเกิดขึ้นแล้ว เพียงแต่ว่าฝ่ายที่เป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม เป็นฝ่ายไดโนเสาร์ ไม่อยากให้ปรากฏการณ์นี้คงอยู่หรือขยายตัวขึ้น แล้วก็พยายามทำลาย ใส่ร้ายป้ายสี แล้วในที่สุดก็ทุบทิ้งด้วยการใช้รัฐประหาร เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่คนเห็นกันมากแล้วล่ะ ผมเลยไม่รู้สึกหนักใจ และมีความหวังว่าในชั่วชีวิตของผม จะได้เห็นประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงเสียที ผมเบื่อมากเลยตลอดชีวิตที่เห็นการรัฐประหาร การเป็นประชาธิปไตยแบบอีแอบ คือมีมือที่มองไม่เห็น ความจริงก็มองเห็นแต่พูดไม่ได้ มาบงการ มาบิดผันผลการเลือกตั้ง มาบิดเบือนอำนาจ มาล้วงลูก จนกระทั่งมาทุบทำลายด้วยการรัฐประหาร ถ้าทำอย่างนั้นอีก ความรุนแรงจะเกิดขึ้น ผมช่วยไม่ได้นะครับ และฝ่ายที่ทำตัวเป็นศัตรูประชาธิปไตยจะไม่มีที่อยู่ที่ยืนในประเทศนี้ ผมขอเตือนเอาไว้ เพราะว่าพลังประชาชนตื่นตัว เติบโต ขยายตัวมากขึ้นแล้ว และมีบทเรียนแล้ว ถ้าหากท่านอยากจะอยู่กับสังคมไทยต่อไป ท่านก็ต้องรู้จักปรับตัวเองบ้าง นี่ผมพูดอย่างไม่มีความหวังอะไรเลยครับ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
คำถามถึง 'ขุนนางเอ็นจีโอ' ต่อกฎหมาย 'ภาคประชาชน' :วุฒิสมาชิกต้องมาจากการเลือกตั้งหรือไม่? Posted: 20 Sep 2011 09:06 AM PDT
รัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับอำมาตยาธิปไตย กำหนดให้ประชาชนพร้อมรายชื่อ 10,000 ชื่อ ในการเสนอกฎหมายต่อรัฐสภา ซึ่งต่างจากรัฐธรรมนูญ2540 กำหนดให้ 50,000 ชื่อ เมื่อหักลบตัวเลขแล้วน้อยกว่าถึง 40,000 รายชื่อ ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ “ขุนนางเอ็นจีโอ” บางคน ใช้เป็นข้ออ้างให้กับ ”ภาคประชาชน” ส่วนหนึ่ง ให้พวกเขายอมรับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ช่วงมีการรณรงค์รับร่างรัฐธรรมนูญ2550 กัน และอ้างว่ามีความก้าวหน้ากว่ารัฐธรรมนูญ 2540 ขณะนี้ “ภาคประชาชน” ส่วนหนึ่ง ได้เสนอกฎหมาย และก็มีกฎหมายหลายฉบับซึ่งเป็นกฎหมายที่ควรมี ผ่านกระบวนการระดมความคิดเห็นมาอย่างรอบด้าน และผู้เขียนก็เห็นด้วยในการผลักดันกฎหมายเหล่านั้น ซึ่งเป็นทางเลือกให้เกิดการถกเถียงในสังคมขึ้น เช่น พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น ซึ่งกฎหมายนั้นจะมีความมั่นคง และมีภาคปฏิบัติที่มีกฎหมายรองรับ ไม่เหมือนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่มีอุปสรรคในภาคปฏิบัติจริง เนื่องเพราะข้าราชการเจ้าหน้าที่มักยึดอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเป็นหลัก อย่างเช่น กรณีโฉนดที่ดินชุมชน ที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ชนนำมาสร้างภาพใหญ่โต แต่ทางปฏิบัติทำได้น้อยมาก อย่างไรก็ตาม กระบวนการผลักดันกฎหมายนั้น ต้องผ่านทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ตลอดทั้งวุฒิสมชิก ด้วย เพียงแต่กระบวนการ ขั้นตอน จะทำอย่างไร ? ให้กฎหมายเหล่านั้นปรากฏเป็นจริงตามเจตนารมณ์ ไม่ถูกบิดเบือน รวบรัด และประชาชนไม่มีส่วนร่วม เหมือนเช่น พ.ร.บ.ป่าชุมชน ที่ “ภาคประชาชน” ร่วมต่อสู้ผลักดันร่วม 20 กว่าปี โดยถูกกระทำให้บิดเบี้ยวไปในเนื้อหาสาระสำคัญ เช่น อำนาจยังคงรวมศูนย์อยู่ที่กรมป่าไม้ สมัยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ที่ได้รับการแต่งตั้งจากอำนาจของคณะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 หรือ อำมาย์คมช. นั่นเอง เนื่องเพราะ สนช. ที่แต่งตั้งโดยอำมาตย์คมช. ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการที่ถูกฝังความคิดแบบรวมศูนย์อำนาจของระบบราชการ นิยมลำดับชั้นทางสังคม ข้าราชการชั้นผู้น้อยรับคำสั่งอย่างเดียว ประชาชนนอกระบบราชการไม่มีส่วนร่วม ประชาชนต่อรองไม่ได้เพราะไม่มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ได้เป็นผู้เลือกตั้ง จึงไม่เห็นความสำคัญของประชาชน ไม่ยอมรับปรัชญาที่ว่า “คนเท่ากัน” การเคลื่อนไหว พ.ร.บ.ป่าชุมชนที่ผ่านมาหลายยุคหลายสมัย แม้สมัยที่นักการเมืองเป็นรัฐมนตรี ก็มักจะชั่งน้ำหนัก คำนึงถึงข้อเรียกร้องของประชาชน แต่ก็ไม่กล้าปฏิรูประบบราชการที่ครองอำนาจนำในสังคมไทยมาตั้งแต่สมัยก่อกำเหนิดรัฐชาติ ในเงื่อนไขที่สังคมไทยยังไม่เป็นประชาธิปไตย หรือ “เลือกผู้แทนได้ แต่ข้าราชการยังเป็นใหญ่อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน” นักการเมืองมักมีการประนีประนอมปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับกรมป่าไม้ในการแก้ไขปัญหามากกว่า การขับเคลื่อนเรื่อง พ.ร.บ. ป่าชุมชนที่ผ่านมาจึงเป็นเกมส์ที่ฝ่ายชาวบ้านและกรมป่าไม้ช่วงชิงนักการเมืองมาเป็นพวก ด้วยกลวิธีต่างๆ อย่างไรก็ตาม นักการเมืองก็ยังสนใจใยดีฝ่ายชาวบ้านมากกว่าสมัยสนช.ที่ได้อำนาจมาจากการลากตั้ง และมักมีกระบวนการโปร่งใส เปิดเผย ตรวจสอบ ถ่วงดุลย์ ได้มากกว่าสมัย สนช. .ในเชิงเปรียบเทียบ ตลอดทั้งมีการตั้งกรรมาธิการพิจารณากฎหมาย มักมีตัวแทนผู้เสนอกฎหมายเข้าร่วมจำนวนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม กระบวนการออกกฎหมายต้องผ่านกระบวนการรัฐสภา ที่มิเพียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น ยังมี วุฒิสภา ทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมายด้วย และเช่นเดียวกัน วุฒิสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งก็สนใจปัญหาของประชาชนมากกว่าวุฒิสมาชิกที่มาจากการลากตั้ง เพราะพวกเขามาจากการเลือกตั้งด้วยเช่นเดียวกับสส. จึงต้องคำนึงถึงความคิดเห็นและฐานคะแนนเสียงของประชาชน ด้วย ปัญหาจึงอยูที่ รัฐธรรมนูญ 2550 ของอำมาตยาธิปไตย ได้กำหนดให้วุฒิสมาชิกมาจากการเลือกตั้งจำนวนถึง 76 คน โดย “ อำนาจตุลาการ” ไม่กี่คน ซึ่งไม่เชื่อมโยงกับประชาชนแต่อย่างใด และวุฒิสมาชิกที่ถูกลากตั้งมักเป็น ข้าราชการ ที่มีรากเหง้าวิธีคิดแบบรวมศูนย์อำนาจ ที่มองว่า “ชาวบ้านโง่” อยู่วันยันค่ำ ไม่ต่างกับ สนช. แต่อย่างใดเลย ที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น ผู้เขียนมิได้ปฏิเสธการรณรงค์กฎหมายต่างๆที่กระทำกันอยู่ และสนับสนุนเต็มที่ เพียงแต่อยากชวนคิดให้รอบครอบ ต้องมองอย่างเป็นองค์รวมรอบด้านไม่แยกส่วน ต้องมองทั้งกระบวนการออกกฎหมายทั้งหมด และปฏิเสธไม่ได้ว่าบทเรียนที่ผ่านมาบอกให้รู้ว่า ปัญหาอุปสรรคสำคัญและอนาคตในการผลักดันกฎหมาย อยู่ที่วุฒิสมาชิกสภาซึ่งไม่ต่างจากสนช.ลากตั้ง ด้วย ดังนั้น นอกจากรณงค์ให้รัฐบาลรับร่างผลักดันกฎหมายแล้ว ต้องผลักดันสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้านด้วย รวมถึงต้องพร้อมเคลื่อนไหวให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ที่วุฒิสมาชิกสภาต้องมาจากการเลือกตั้ง เพื่อผลักดันให้กฎหมายต่างๆ ที่ปรารถนาให้ปรากฎเป็นจริง ไม่ถูกบิดเบือน และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 มิได้แก้กระทำเพื่อ “คนๆเดียว” อย่างที่ฝ่ายอำมาตยาธิปไตยกล่าวหา แต่แก้เพื่อ “ทุกคน” ที่รักประชาธิปไตย เหมือนเช่นข้อเสนอของนิติราษฎร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงต้องสนับสนุนแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 นอกเสียว่า พวกเขา”ขุนนางเอ็นจีโอ” มีวาระซ่อนเร้นหรือ ธงเคลื่อนไหว เพื่อ ล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มากกว่าผลักดันกฎหมายต่างๆให้ปรากฎเป็นจริง ตราบเท่าที่ยังมีจุดยืนปกป้องรัฐธรรมนูญ 2550 กันอยู่ ??? และกระทำการเพื่อ “กลุ่มตน” เท่านั้นเอง ? สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
"ข่าวหุ้น" ลาออกจากสภา นสพ. ตามเครือมติชน ระบุไม่สังฆกรรมทำลายเพื่อนร่วมวิชาชีพ Posted: 20 Sep 2011 08:53 AM PDT 20 ก.ย. นายชาญชัย สงวนวงศ์ ผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ ข่าวหุ้นธุรกิจ ทำจดหมายถึงประธานคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ แจ้งลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ โดยระบุเหตุผลว่า คณะอนุกรรมการฯสอบสวนกรณีอีเมลฉาวซึ่งเป็นคนนอก ได้แสดงพฤติกรรมน่าเคลือบแคลงด้วยการขยายผลการสอบสวนดังกล่าวเพื่อประโยชน์ทางการเมืองของคนบางกลุ่ม ดำเนินการเบี่ยงเบนหัวข้อสอบสวนตามชอบใจ จึงไม่ขอร่วมสมคบคิดทำลายล้างเพื่อนร่วมวิชาชีพ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ "ในฐานะภาคีสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และให้ความร่วมมือกับการทำหน้าที่และกิจกรรมของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติด้วยดีตลอดมา กระผมในฐานะตัวแทนของภาคีสมาชิกประกอบด้วยหนังสือพิมพ์ ข่าวหุ้นธุรกิจ ขอแจ้งต่อคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ว่า ขอลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2554 เป็นต้นไป เหตุผลหลักในการลาออก เกิดจากเป็นที่ประจักษ์ในข้อเท็จจริงว่า มีพฤติกรรมบางประการที่ได้ส่อให้เห็นถึงการละเมิดต่อเจตนารมณ์ของการจัดตั้งเพื่อเป็นองค์กรควบคุมกันเอง และส่งเสริมเสรีภาพและความรับผิดชอบยกระดับผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์และกิจการหนังสือพิมพ์ให้ดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีล่าสุดที่ปล่อยให้บุคคลภายนอกซึ่งคณะกรรมการการหนังสือพิมพ์แห่งชาติมีมติเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2554 แต่งตั้งเป็นคณะอนุกรรมการเฉพาะเรื่องสอบสวนข้อเท็จจริง กรณีข่าวอีเมลซึ่งปราศจากที่มาชัดเจน ซึ่งมีผู้อ้างว่าเป็นของบุคคลในพรรคเพื่อไทยระบุว่า มีการจ่ายสินบนให้กับสื่อมวลชนบางคน ซึ่งปรากฏว่าได้เกิดพฤติกรรมที่ประหนึ่งสมคบคิดเพื่อทำลายล้างเพื่อนร่วมวิชาชีพกันอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน คณะอนุกรรมการเฉพาะเรื่องสอบสวนข้อเท็จจริงฯไม่เพียงแต่ไม่ดำเนินการให้บรรลุภารกิจหลักเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงอย่างถึงที่สุดว่า มีการรับหรือจ่ายสินบนให้กับบุคคลที่ปรากฏในอีเมลดังกล่าวหรือไม่ แต่กลับดำเนินการเบี่ยงเบนหัวข้อสอบสวนตามชอบใจ เมื่อบุคคลไม่ปรากฏหลักฐานความผิด ก็ขยายไปกล่าวหาองค์กรบางแห่งที่ตกเป็นเป้าหมายไว้ก่อนแล้วแทน ดำเนินการสอบสวนลับหลังโดยไม่เปิดโอกาสให้องค์กรที่ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงข้อเท็จจริง รวมทั้งใช้วิธีการสอบสวนและสรุปผลอย่างขาดตรรกะและความรู้ความเข้าใจในการประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ตามหลักอาชีวปฏิญาณที่ยึดถือกันมายาวนานว่า "ข้อเท็จจริงในข่าวสารเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ความเห็นเป็นอิสระ" ไม่เพียงเท่านั้น บุคคลบางคนในคณะอนุกรรมการฯ ยังได้แสดงพฤติกรรมน่าเคลือบแคลงด้วยการขยายผลการสอบสวนดังกล่าวเพื่อประโยชน์ทางการเมืองของคนบางกลุ่ม ซึ่งแทนที่ผู้มีบทบาทในสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติบางคน แทนที่จะจะท้วงติง กลับแสดงการสนับสนุนอย่างออกนอกหน้า โดยไม่คำนึงถึงระเบียบข้อบังคับ และพยายามรวบรัดตัดความว่า คณะกรรมการของสภาฯ ได้รับรองความชอบธรรมของผลการสอบสวนโดยปริยาย ผ่านการประชุมลับเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2554 ไปแล้ว พฤติกรรมดังกล่าว ยืนยันชัดเจนว่าหลักการและเจตนารมณ์ของการจัดตั้งเพื่อเป็นองค์กรควบคุมกันเอง และส่งเสริมเสรีภาพและความรับผิดชอบยกระดับผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์และกิจการหนังสือพิมพ์ได้ถูกทำลายลงไปอย่างมีเจตนาสมยอมให้อิทธิพลการเมืองภายนอกเข้าแทรกแซงให้เกิดการทำลายล้างเพื่อนร่วมวิชาชีพด้วยกันเองอย่างเปิดเผยมิได้แสดงความกระตือรือล้นจะจัดการแก้ไขรวมไปถึงดำเนินการระงับความเสียหายของผู้ได้รับผลกระทบจากข้อกล่าวหาที่ปนเปื้อนอคติของบุคคลภายนอก โดยหลักอาชีวปฏิญาณ ความขัดแย้งหรือจุดยืนทางความเห็นที่ไม่ตรงกันในวงการสื่อ ไม่เคยถูกถือเป็นเรื่องผิดปกติ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของเสรีภาพทางวิชาชีพ เป็นสิ่งที่ได้รับการเคารพในเกียรติยศของกันและกันมาเสมอมา ความพยายามใดๆ ที่จะขยายผลไปสู่การใส่ร้ายป้ายสีเพื่อทำลายล้าง เป็นพฤติกรรมเกินเลยที่ไม่อาจยอมรับได้ ที่ผ่านมา ตัวแทนของหนังสือพิมพ์ ข่าวหุ้นธุรกิจ ซึ่งร่วมปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ได้รับรู้และพยายามอย่างถึงที่สุดเพื่อธำรงมาตรฐานและเจตนารมณ์เมื่อครั้งก่อตั้งต่อไปอย่างสมเกียรติ แต่เมื่อยังคงมีพฤติกรรมดื้อรั้นและแฝงเร้นอันส่อไปในทางละเมิดต่อปฏิญญาของจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพที่ยึดถือปฏิบัติมาก็ไม่มีความจำเป็นต้องร่วมอยู่ในขบวนการสมคบคิดอีกต่อไป แม้ว่าหนังสือพิมพ์ ข่าวหุ้นธุรกิจ จะมิได้เป็นภาคีสมาชิกของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติอีกต่อไป แต่ก็ยังขอตั้งปณิธานว่า จะยังคงธำรงรักษาเจตนารมณ์และอาชีวะปฏิญาณอย่างเต็มกำลัง จะทำหน้าที่สื่อมวลชนที่สุจริต และพร้อมให้สังคมตรวจสอบความโปร่งใสในการปฏิบัติงานได้ทุกเวลา และให้ความร่วมมือกระทำการในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประชาชนส่วนใหญ่" ทั้งนี้ เว็บไซต์ขข่าวสด ยังได้รายงานความคืบหน้ากรณีเครือมติชนได้ลาออกจากสภาการหนังสือพิมพ์ก่อนหน้านี้ว่า ในการประชุมคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ที่ประชุมได้รับทราบการลาออกขององค์กรสมาชิกหนังสือพิมพ์เครือมติชน จากกรณีผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของนักการเมืองระบุการให้เงินและผลประโยชน์แก่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน จึงมีมติให้ยุติการตรวจสอบ ตามธรรมนูญสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ข้อ 5 และข้อ 10 ประกอบกัน ด้วยเหตุผลที่ว่า เมื่อสมาชิกหรือผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์พ้นจากสมาชิกภาพไปแล้ว สภาการหนังสือพิมพ์ฯ จึงไม่มีอำนาจและหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกและผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ที่ไม่ได้สังกัดสมาชิกให้เป็นไปตามข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพและข้อบังคับหรือระเบียบปฏิบัติอื่นได้
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
ขู่ฟ้องผู้แอบอ้าง "จ๊ะ เทอร์โบ" เข้าค่ายแกรมมี่ Posted: 20 Sep 2011 07:54 AM PDT ผู้บริหาร "แกรมมี่" แจงข่าว จ๊ะ วงเทอร์โบเข้าค่ายแกรมมี่ พร้อมออกงานเพลงชุดใหม่นั้นไม่เป็นความจริง ยันแกรมมี่ไม่มีแผนทำเพลงแนวนี้ออกตลาด เล็งฟ้องผู้แอบอ้าง ตามกระแสข่าวที่ว่า น.ส.นงผณี มหาดไทย หรือ "จ๊ะ คันหู" แห่งวงเทอร์โบ จะเข้าไปเป็นนักร้องค่ายจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และกำลังจะมีผลงานชุดใหม่นั้น มติชนออนไลน์ รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า นายกริช ทอมมัส รองกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส สายงานธุรกิจเพลง บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กล่าวว่าดังกล่าวไม่เป็นความจริง โดยนอกจากจะไม่มีการเซ็นสัญญาใดๆ แล้ว แกรมมี่ยังไม่มีแผนจะทำเพลงแนวนี้ออกมาสู่ตลาดอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า ผู้ที่แอบอ้างถึงเรื่องดังกล่าวมีเจตนาทำให้ประชาชนสับสน และส่งผลให้บริษัทได้รับความเสียหาย ทางบริษัทจึงกำลังพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่แอบอ้างข่าวดังกล่าว ต่อไป สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
หลายเมืองในรัฐฉานร่วมไว้อาลัย "จายแสงจื้น" Posted: 20 Sep 2011 05:19 AM PDT มีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลเพื่อไว้อาลัย "จายแสงจื้น" หรือ "ซะคะฮะ" ผู้สื่อข่าวและศิลปินสำคัญรัฐฉานในหลายเมืองในรัฐฉานรวมทั้งย่างกุ้ง ขณะที่สถานีวิทยุซึ่งกระจายเสียงเป็นภาษาไทใหญ่ได้เปิดเพลงซึ่งเป็นผลงานของเขา เพื่อเป็นการรำลึกถึงผู้จากไป บรรยากาศในงานสวดอภิธรรม "จายแสงจื้น" ผู้สื่อข่าวและศิลปินคนสำคัญของรัฐฉาน เมื่อคืนวันที่ 18 ก.ย. ที่วัดป่าเป้า จ.เชียงใหม่
นิทรรศการแสดงประวัติและผลงานของ "จายแสงจื้น" จัดแสดงที่วัดป่าเป้า จ.เชียงใหม่
จายแสงจื้น (คนยืนซ้ายสุด) ถ่ายภาพร่วมกับผู้ก่อตั้งวงดนตรี "เจิงแลว" (Freedom Way) วงดนตรีซึ่งสมาชิกวงประกอบไปด้วยนักต่อสู้เพื่ออิสรภาพในรัฐฉาน ภาพนี้ถ่ายในปี 2529 ในภาพประกอบด้วย (แถวยืนจากซ้ายไปขวา) จายแสงจื้นหรือ "ซะคะฮะ", จายเสือ, จายต่าอู, จายเล็ก, จายมู (แถวนั่งจากซ้ายไปขวา) จายสันหลอย, จายอี๊ด สำหรับภาพนี้ถูกนำมาจัดแสดงในนิทรรศการผลงานและประวัติของ "จายแสงจื้น" ที่วัดป่าเป้า จ.เชียงใหม่ (ที่มาของภาพ: สำนักข่าวฉาน (S.H.A.N.) ลูกศิษย์ของจายแสงจื้น แสดงดนตรีเพื่อแสดงความรำลึกถึงเขา หลังงานสวดอภิธรรมที่วัดป่าเป้า จ.เชียงใหม่ เมื่อคืนวันที่ 18 ก.ย. โดยดนตรีที่นำมาร้องมีหลายเพลงซึ่งแต่งโดย "ซะคะฮะ" และได้ร้องเพลง "ลุย" ซึ่งเป็นผลงานของ "ซะคะฮะ" ด้วย
ญาติมิตรและลูกศิษย์ของจายแสงจื้น กำลังประกอบรถยนต์จำลองสำหรับอุทิศส่วนกุศลให้กับจายแสงจื้น ศิลปินเพลงไทใหญ่และชาวไทใหญ่ร่วมกันพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลถึงจายแสงจื้น หรือซะคะฮะ ผู้สื่อข่าวและศิลปินคนสำคัญของรัฐฉาน เมื่อ 18 ก.ย. ที่วัดเก้าหลัก นครย่างกุ้ง (ที่มา: Mongloi/S.H.A.N.) ตามที่สำนักข่าวฉาน (S.H.A.N.) รายงานข่าวการจากไปของจายแสงจื้น (Sai Hseng Zeun) รองบรรณาธิการสำนักข่าวฉาน และศิลปินรัฐฉานคนสำคัญในนาม "ซะคะฮะ" หนึ่งในผู้ก่อตั้งวงเจิงแลว "Freedom Way" ซึ่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 ก.ย. ขณะรักษาตัวที่โรงพยาบาลสวนดอก อ.เมือง จ.เชียงใหม่นั้น โดยนอกจากการสวดอภิธรรมศพที่วัดป่าเป้า อ.เมือง จ.เชียงใหม่แล้ว สำนักข่าวฉานรายงานว่า มีการจัดพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับจายแสงจื้นที่เมืองน้ำคำ หมู่เจ้ และรุ่ยลี รัฐฉาน เมื่อ 17 ก.ย. ที่ผ่านมา และเมื่อวันที่ 18 ก.ย. ที่ผ่านมา ศิลปินเพลงไทใหญ่และขาวไทใหญ่กว่าเจ็ดสิบคนได้ร่วมกันจัดพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับจายแสงจื้นที่วัดเก้าหลัก วัดไทใหญ่ในนครย่างกุ้งด้วย ขณะที่พิธีสวดอภิธรรมจายแสงจื้น หรือ "ซะคะฮะ" เมื่อคืนวานนี้ (19 ก.ย.) มีคณะสงฆ์และนักศึกษาชาวไทใหญ่ในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ และคณะสงฆ์ไทใหญ่ในกรุงเทพฯ ร่วมเป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรม และได้นิมนต์พระอธิการสุวรรณ บัณฑิโต เจ้าอาวาสวัดป่าก่อ จ.เชียงราย มาสวดพระอภิธรรมด้วย นอกจากนี้ในบริเวณสถานที่จัดงานสวดอภิธรรม มีการจัดนิทรรศการแสดงประวัติและผลงานของจายแสงจื้น ตัวอย่างผลงานตีพิมพ์ของจายแสงจื้น สาส์นแสดงความไว้อาลัยจากบุคคล คณะบุคคลต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ และหลังการสวดพระอภิธรรมมีการแสดงดนตรีของลูกศิษย์จายแสงจื้น เพื่อแสดงความรำลึกถึงผู้ล่วงลับด้วย ขณะที่ในคืนวันนี้ (20 ก.ย.) องค์กร BRC องค์กรสภาวะ และเครือข่ายสตรีไทใหญ่ (SWAN) จะเป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรม โดยมีรายงานว่าจะมีการประกอบพิธีฌาปนกิจในวันที่ 22 ก.ย. ที่สุสานสันกู่เหล็ก ถ.รัตนโกสินทร์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดยจะมีการเคลื่อนศพออกจากวัดป่าเป้าหลังเวลาเที่ยง นอกจากนี้มีรายงานว่า สถานีวิทยุที่ออกอากาศเป็นภาษาไทใหญ่ใน จ.เชียงใหม่ และใกล้เคียงต่างเปิดเพลงซึ่งเป็นผลงานของจายแสงจื้น หรือ "ซะคะฮะ" เพื่อไว้อาลัยและแสดงความรำลึกถึงเขา นอกจากนี้สถานีวิทยุ Radio Free Asia หรือ RFA ภาคภาษาไทใหญ่ เมื่อวันที่ 16 ก.ย. ยังรายงานข่าวการจากไปของเขาด้วย สำหรับจายแสงจื้น หรือชื่อในวงการเพลงคือ "ซะคะฮะ" เป็นสื่อมวลชนและศิลปินของสำคัญของรัฐฉาน เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งวงดนตรี "เจิงแลว" (Freedom Way) วงดนตรีซึ่งสมาชิกวงประกอบไปด้วยนักต่อสู้เพื่ออิสรภาพในรัฐฉานด้วย จากข้อมูลในเว็บไซต์สำนักข่าวฉานภาคภาษาอังกฤษ จายแสงจื้น ได้แต่งเพลงขึ้นมากกว่า 300 เพลง ในจำนวนนี้มี 120 เพลงที่ร้องโดยเขาเอง ในชีวิตการทำงานด้านสื่อมวลชน หลังจากทำงานร่วมกับจายสายมาว นักร้องชื่อดังของรัฐฉาน เพื่อออกอัลบัมเพลงชื่อ “สัญญาป๋างโหลง" ในปี 2516 และถูกจับกุมหลังประท้วงที่สถานทูตพม่าในกรุงเทพฯ ในปี 2517 ได้เข้าร่วมกับกองทัพรัฐฉาน (Shan State Army) ทำงานที่แผนกข้อมูลข่าวสารภายใต้การดูแลของเจ้าช้าง ณ หยองห้วย และในปี 2518 ได้ตีพิมพ์นิตยสารไทใหญ่ชื่อ "เลือดหาญนองคง" (เลือดของผู้กล้าท่วมนองแม่น้ำสาละวิน) และในปี 2525 ตีพิมพ์หนังสือภาษาไทใหญ่ชื่อ “ปืดป่าง” (ตื่นรู้) ในปี 2526 ได้เข้าร่วมกับกองทัพสหปฏิวัติรัฐฉาน (Shan United Revolutionary Army - SURA) ได้ตีพิมพ์นิตยสารกึ่งหนังสือพิมพ์ "เจิงแลว" (Freedom Way) และ“กอนขอ” (Independence) ในปี 2527 หลังการก่อตั้งสภาฟื้นฟูรัฐฉาน (Shan State Restoration Council – SSRC) องค์กรการเมืองของกองทัพเมืองไตย MTA นายแสงจื้นได้เป็นหัวหน้าแผนกข้อมูลข่าวสาร และเริ่มพิมพ์ “Freedom Way” และ “Independence” อย่างต่อเนื่อง ภายใต้การอำนวยการของอาจารย์คืนใส ใจเย็น ในปี 2534 ได้ก่อตั้งสำนักข่าวฉาน (Shan Herald Agency for News - S.H.A.N.) และในปี พ.ศ. 2536 ได้ย้ายสำนักงานเข้ามาอยู่ในประเทศไทย โดยตำแหน่งสุดท้ายของเขาคือรองบรรณาธิการสำนักข่าวฉาน สำนักข่าวฉานภาคภาษาอังกฤษ รายงานด้วยว่าระหว่างปี 2527 ถึงปี 2553 เขาได้ออกจดหมายข่าวและนิตยสารซึ่งตีพิมพ์ถึง 271 ฉบับ นอกจากนี้งานเขียนที่ขายดีที่สุดซึ่งบรรณาธิการโดยเขายังรวมถึงหนังสือเรื่อง “Wither Shanland” โดย "ทุน มินต์ ตองจี" และ "The Village of the Generals" โดย "TNT" สำหรับชีวิตครอบครัวนั้น จายแสงจื้นแต่งงานกับนางล่อนยืน (หรือ ล่าเหย่น) มีบุตรและธิดาด้วยกันรวม 3 คน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
พรรคคอมมิวนิสต์หวังคุมสหภาพแรงงานในบรรษัทข้ามชาติเพิ่มขึ้น Posted: 20 Sep 2011 02:53 AM PDT การหยุดงานประท้วงที่โรงงานฮอนด้าในจีนเมื่อปี 2010 (ที่มาภาพ: talkingunion.wordpress.com) 19 ก.ย. 54 - สหพันธ์แรงงานจีน (ACFTU) เปิดเผยว่ามีแผนการจะจัดตั้งสหภาพแรงงานในสถานประกอบการณ์บรรษัทข้ามชาติที่มาลงทุนในจีนให้ได้ 65% ภายในปีนี้ และเพิ่มขึ้นเป็น 78% และ 90% ในปี ค.ศ. 2012 และ 2013 ตามลำดับ ด้านนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนกลับมองว่าการเคลื่อนไหวครั้งนี้ของ ACFTU (ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐบาลจีน) เกิดจากความหวั่นเกรงที่จะมีสหภาพแรงและขบวนการเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระจากพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อเสถียรภาพด้านการเมืองในอนาคต ทั้งนี้สหภาพแรงงานที่เป็นอิสระและนักเคลื่อนไหวด้านแรงงานมีบทบทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในอียิปต์ ตูนีเซีย และในปีที่แล้วเช่นกันที่คนงานจีนได้ทำการ “หยุดงาน-ผละงาน” ประท้วงในอุตสาหกรรมยานยนต์ของบรรษัทต่างชาติบ่อยครั้งขึ้นด้วย เมื่อปีที่แล้ว ACFTU ยังเปิดเผยรายงานจากการรวบรวมข้อมูลตาม 10 หัวเมืองใหญ่ตั้งแต่เดือน มี.ค. ถึงเดือน พ.ค. ปี 2010 พบว่าแรงงานหนุ่มสาวที่อพยพเข้ามาหางานทำในเมืองใหญ่รวมตัวกันมากขึ้น เรียกร้องความชอบธรรมทันทีเมื่อถูกละเมิดสิทธิต่างจากแรงงานยุคก่อน หลังเกิดเหตุประท้วงครั้งใหญ่ที่โรงงานผลิตรถยนต์ โตโยต้าและโรงงานฮอนด้า ในรายงานระบุว่า แรงงานอพยพรุ่นใหม่นี้อายุระหว่าง 16-30 ปี มีราว 100 ล้านคน เฉลี่ยอายุ 23 ปี ความรู้ระดับมัธยมศึกษา 80% ยังคงเป็นโสด เทียบสัดส่วนเกือบ 2 ใน 3 ของแรงงานย้ายถิ่นในประเทศ 150 ล้านคน และเกือบครึ่งของแรงงานทั่วประเทศ 230 ล้านคน เป็นแรงงานรุ่นใหม่ที่รู้จักกันดีว่า "รุ่นหลัง 80’s" คนงานหนุ่มสาวเหล่านี้เป็นหัวหอกสำคัญในการร้องเรียนเรื่องสวัสดิภาพ สิทธิผลประโยชน์มากขึ้น มีเทคนิคการต่อรองมากกว่าคนรุ่นเก่า เพราะสนใจศึกษาหาความรู้เรื่องสิทธิและความเท่าเทียม คาดหวังสูงขึ้นกับการได้รับความเท่าเทียมการได้งานทำ สวัสดิการสังคม การศึกษา และการบริการขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ค่าแรงที่สูงขึ้นของจีนนั้นนอกเหนือจากกฎหมายแรงงานฉบับใหม่และการประท้วงของแรงงานหนุ่มสาวเหล่านี้แล้ว ก็ยังเกิดจากการปรับให้เหมาะสมกับฝีมือแรงงานและประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาค่าแรงในจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเริ่มสูงกว่าค่าแรงโดยเฉลี่ยของประเทศผู้ผลิตใหม่ในเอเชีย จากการสำรวจของ JETRO พบว่าในปี ค.ศ. 2009 ค่าแรงเฉลี่ยของคนงานในโรงงานญี่ปุ่นในจีน อยู่ที่ 4,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อคนต่อปี ในขณะที่ โรงงานในเวียดนาม และบังคลาเทศ อยู่ที่ 2,000 เหรียญสหรัฐฯ และ 1,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปีต่อคน ตามลำดับ ที่มาข่าวบางส่วน: China boosting state-run labor unions to dampen militancy? (Democracy Digest, September 19, 2011)
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น