โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ทำไมผู้หญิงที่ซีแอตเทิล-ยิ่งเรียนสูง ยิ่งได้รับค่าจ้างน้อยกว่าผู้ชาย?

Posted: 11 Aug 2017 12:39 PM PDT

ไม่เพียงแค่กรณีอื้อฉาวของกูเกิลเท่านั้น-ประเด็นเรื่องความไม่เท่าเทียมกันในที่ทำงานยังเป็นที่ถกเถียงกันในสหรัฐฯ หนึ่งในนั้นคืออคติทางเพศที่ทำให้ผู้หญิงได้รับค่าจ้างไม่เท่าเทียมกับผู้ชายแม้กระทั่งในเมืองที่ดูก้าวหน้าอย่างซีแอตเทิล ที่ผู้หญิงยังคงได้รับเงินค่าจ้างน้อยกว่าชาย โดยที่เฉลี่ยแล้วหากผู้ชายได้รับเงิน 1 ดอลลาร์ ผู้หญิงจะได้รับเพียง 78.6 เซ็นต์ Yes! แม็กกาซีนกับ LiveStories พยายามสำรวจว่าเป็นเพราะเหตุใด 

ภาพถ่ายในปี ค.ศ. 1942 เมื่อผู้หญิงสหรัฐอเมริกาออกมาทำงานมากขึ้นในช่วงสงครามโลก ในภาพเป็นผู้หญิงที่ทำงานอยู่ที่ Vega Aircraft Corporation อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านมากว่า 70 ปีสหรัฐอเมริกายังคงประสบปัญหาช่องว่างของรายได้ระหว่างเพศ (ที่มาของภาพประกอบ: Bransby, David/Library of Congress/Wikipedia/Public Domain)

ข้อมูลดังกล่าวนี้มาจากแบบสำรวจชุมชนอเมริกันโดยสำนักงานสำมะโนประชากรของสหรัฐฯ โดยที่บริษัท LiveStories ที่ซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน นำข้อมูลเหล่านี้มาศึกษาวิเคราะห์ต่อเพื่อหาแบบแผนจากสถิตินี้ ทำให้พวกเขาพบข้อมูลที่น่าสนใจว่าสำหรับในซีแอตเทิลแล้ว ช่องว่างรายได้ระหว่างหญิงกับชายยิ่งห่างจากกันมากขึ้นยิ่งถ้าผู้หญิงมีการศึกษาในระดับสูงขึ้น เมื่อเทียบกับชายที่มีการศึกษาในระดับเดียวกัน

เริ่มจากข้อมูลที่ระบุว่าในระดับวุฒิการศึกษาไฮสคูลหรือเทียบเท่ามัธยมผู้หญิงจะได้เงินค่าจ้าง 84 เซ็นต์ ต่อทุกๆ 1 ดอลลาร์ที่ชายได้รับจากระดับการศึกษาเดียวกัน คนที่จบระดับอุดมศึกษาจะได้ค่าจ้าง 72 เซ็นต์ต่อทุกๆ 1 ดอลลาร์ที่ผู้ชายได้ ส่วนหญิงที่จบในระดับบัณฑิตศึกษาหรือวิชาชีพที่ต้องการใบอนุญาตจะได้รับเพียง 68 เซ็นต์ต่อทุกๆ 1 ดอลลาร์ที่ผู้ชายได้รับ

เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นมากเท่าในเมืองอื่นๆ ที่มีขนาดใหญ่เท่ากันอย่างบอลติมอร์, บอสตัน, เดนเวอร์ และแนชวิลล์ Yes! แม็กกาซีนระบุว่าปัจจัยหนึ่งที่น่าจะทำให้ซีแอ็ตเทิลมีความไม่เท่าเทียมด้านค่าแรงระหว่างเพศน่าจะเป็นเพราะอุตสาหกรรมไอทีของซีแอ็ตเทิลอยู่ในมือผู้ชายเป็นส่วนใหญ่ แต่ในเรื่องนี้ก็มีข้อมูลที่ขัดกันคือในบอสตันก็มีอุตสาหกรรมไอทีเจริญเช่นกันแต่ระดับความต่างด้านค่าแรงระหว่างเพศมีไม่มากเท่า

ศูนย์วิจัยพิวประเมินจากข้อมูลปี 2558 ว่าผู้หญิงโดยเฉลี่ยได้รับค่าแรงน้อยกว่าชายร้อยละ 83 แม้ว่าความต่างระหว่างค่าแรงในสหรัฐฯ จะดีขึ้นเมื่อเทียบกับเมื่อราวเกือบ 30 ปีที่แล้วที่ผู้หญิงได้ค่าแรงเพียงร้อยละ 64 ของผู้ชาย อย่างไรก็ตาม Yes! ระบุว่าเรื่องนี้อาจจะเป็นเพราะมีการหาข้ออ้างทำให้เกิดช่องว่างค่าจ้างระหว่างหญิงกับชายมากมายอยู่แต่เดิมแล้ว

สองข้ออ้างหลักๆ คือเรื่องภาระการเลี้ยงดูและความรับผิดชอบต่อหน้าที่อื่นๆ ในครอบครัวซึ่งทางวัฒนธรรมมักจะกำหนดให้เป็นภาระของผู้หญิง ข้ออ้างปัจจัยที่สองคือเรื่องการศึกษาและทางเลือกของงาน

ในข้ออ้างแรกวิธีการ "ลงโทษผู้หญิงที่ลาทำหน้าที่แม่" กลายเป็นสิ่งที่ทำลายหน้าที่การงาน ถูกลดชั่วโมงงาน และทำให้รายได้ในอนาคตหายไปด้วย นอกจากนี้ทางเลือกของงานผู้หญิงก็ถูกจำกัดให้อยู่แต่กับงานแบบที่ถูกมองว่าเป็น "งานของผู้หญิง" อย่างครูหรือสังคมสงเคราะห์ ขณะที่ผู้ชายมีโอกาสกับงานจำพวกวิศวกรรมมากกว่า กระนั้นก็ตามแม้แต่ในงานที่ถูกมองว่าเป็นงานของผู้หญิงเองเช่นงานบริการผู้หญิงก็ยังได้รับค่าแรงโดยเฉลี่ยเพียงร้อยละ 77.8 ของที่ผู้ชายได้รับในสหรัฐฯ

มีการศึกษาของสมาคมสตรีมหาวิทยาลัยอเมริกัน (AAUW) พบว่าแม้จะมีการแยกแยะตัวแปรต่างๆ ทั้งระดับการศึกษา สถานะการแต่งงาน อายุ เวลาทำงาน ภูมิภาค ภาคส่วนทางเศรษฐกิจ และปัจจัยอื่นๆ แล้วยังพบว่าผู้หญิงยังได้รับค่าจ้างน้อยกว่าชายโดยเฉลี่ยรวมร้อยละ 7 ทำให้ Yes! ประเมินว่าเรื่องนี้น่าจะมาจากอคติและการเหมารวมกีดกันทางเพศ

อีกข้อมูลหนึ่งคือการพิจารณาร่วมกับเชื้อชาติพบว่าผู้หญิงอเมริกันไม่ว่าจะมีเชื้อชาติใดก็ตามก็จะได้ค่าจ้างน้อยกว่าชาย แต่จากการเปรียบเทียบแล้วผู้หญิงท่เป็นคนขาวกับผู้ชายคนขาวมีช่องว่างค่าจ้างมากที่สุดคือ จะได้รับร้อยละ 79.6 ของผู้ชายคนขาว รองลงมาคือผู้หญิงเอเชีย 81.5 เซนต์ต่อหนึ่งดอลลาร์ ผู้หญิงคนดำและฮิสแปนิค/ละติน จะมีช่องว่างตรงนี้น้อยกว่าคือ 90 เซนต์ต่อหนึ่งดอลลาร์และ 92.2 เซนต์ต่อหนึ่งดอลลาร์ตามลำดับ อย่างไรก็ตามเชื้อชาติสีผิวโดยรวมๆ เองก็มีช่องว่างค่าจ้างในตัวมัน เมื่อเทียบแล้วชายคนดำได้รับค่าจ้างเฉลี่ยร้อยละ 74.4 ที่ชายคนขาวได้รับ

นอกจากนี้ AAUW ยังชี้ให้เห็นว่าปัจจัยความไม่เท่าเทียมนี้อาจจะมีความแตกต่างกันในแต่ละรัฐ หนึ่งในปัจจัยนี้คือการที่ใน 14 รัฐรวมถึงวอชิงตันมีกฎหมายการคุ้มครองค่าแรงที่เท่าเทียมระหว่างเพศที่ไม่เข้มแข็ง มีอยู่ 28 รัฐที่คุ้มครองเรื่องนี้ "ในระดับปานกลาง" และมี 6 รัฐที่คุ้มครองเรื่องนี้อย่างเข้มแข็ง มีสองรัฐคืออลาบามาและมิสซิสซิปปีที่ไม่มีกฎหมายคุ้มครองเรื่องนี้เลย

Yes! ระบุว่าปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้กฎหมายดังกล่าวนี้เข้มแข็งได้แก่การออกกฎห้ามนายจ้างถามถึงประวัติเงินเดือน (แมสซาชูเซตต์) จำกัดข้ออ้างที่จะไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้ชายและหญิงเท่ากัน (แคลิฟอร์เนีย) ห้ามไม่ให้มีการอ้างเรื่องที่ผู้หญิงเป็นแม่ในการลดเงินเดือนหรือจำกัดเส้นทางอาชีพ (แมรีแลนด์) รวมถึงการสั่งปรับหรือชดใช้ค่าเสียหายสูงๆ สำหรับผู้ที่ละเมิดกฎการจ่ายค่าจ้างเท่าเทียม (เทนเนสซี) ในรัฐที่มีกฎหมายเรื่องนี้อ่อนแอกว่าดูจากการที่พวกเขาบังคับใช้กฎหมายค่าจ้างเท่าเทียมกับในภาครัฐเท่านั้นอย่างในหลุยส์เซียนา หรือรัฐแอริโซนาที่ไม่ได้ห้ามไม่ให้ลูกจ้างปฏิบัติการเรียกร้อง

อย่างไรก็ตาม แอดนัน มาห์มุด ผู้ก่อตั้งและประธานบริหารของ LiveStories ก็ระบุว่าพวกเขายังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนอยู่ดีว่าอะไรที่ทำให้ซีแอ็ตเทิลต่างจากที่อื่นตรงที่ยิ่งผู้หญิงมีการศึกษาสูงอัตราค่าแรงก็ยิ่งน้อยกว่าชายเทียบกับระดับการศึกษาเดียวกัน

 

เรียบเรียงจาก

The More Education, the Wider the Gender Pay Gap—Wait, What?, Yes! Magazine, 07-08-2017

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แคนาดารับมือผู้ลี้ภัยชาวเฮติ-หลังเดินทางข้ามพรมแดนจากฝั่งสหรัฐฯ หลายร้อย

Posted: 11 Aug 2017 12:12 PM PDT

ชาวเฮติหลายร้อยคนเดินทางเข้าที่แถบพรมแดนประเทศแคนาดาเพื่อขอลี้ภัยเพราะกลัวว่าจะถูกส่งตัวออกนอกประเทศสหรัฐฯ ภายใต้คำสั่งของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ นอกจากนี้ในช่วง 6 เดือนแรกของปียังมีผู้ลี้ภัยจากสหรัฐฯ เข้าแคนาดามากถึงหลายพันคน

ที่มาของภาพประกอบ: communityfoundations.ca

สื่อคอมมอนดรีมส์รายงานว่า ทางการแคนาดาจัดตั้งเต็นท์ให้ความอบอุ่นแก่กลุ่มผู้ขอลี้ภัยที่ข้ามประเทศมาจากรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เพื่อขอลี้ภัยในรัฐควิเบกของแคนาดา ซึ่งที่พักพิงชั่วคราวนี้รองรับผู้ลี้ภัยได้ราว 500 คน อย่างไรก็ตามจำนวนของผู้ลี้ภัยก้มีมากกว่านั้น ขณะที่สื่อรอยเตอร์รายงานเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (9 ส.ค.) ว่ามีผู้ขอลี้ภัยราว 250 คนเดินทางสู่มอนทรีออลในรัฐควิเบกได้แล้ว แต่โฆษกของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของแคนาดาก็เปิดเผยต่อวิทยุว่ายังคงมีผู้ลี้ภัยอีก 700 รายที่ต้องรอการอนุญาตลี้ภัยอีก 2-3 วัน แต่พวกเขาก็ไม่มีที่นอน

ทางการแคนาดาสั่งให้เจ้าหน้าที่ทหารราว 100 นาย จากเทศบาลเมืองแซงแบร์นาร์เดอลาโคลล์ติดกับพรมแดนรัฐนิวยอร์ก ข้ามพรมแดนมาที่เมืองแชมเพลนรัฐนิวยอร์กเพื่อติดตั้งเต็นท์และสิ่งอำนวยความสะดวกชั่วคราวให้กับผู้เดินทางมายื่นขอลี้ภัย

คอมมอนดรีมส์ระบุอีกว่าหน่วยงานตำรวจของแคนาดาต้องทำการรองรับผู้ขอลี้ภัยราว 3,350 รายแล้วตลอดช่วง 6 เดือนแรกของปี 2560 พวกเขาเดินทางข้ามพรมแดนเข้าควีเบกผ่านเส้นทางกันดาร ซึ่งถูกมองว่าน่าจะต้องการหลีกเลี่ยงข้อบัญญัติของข้อตกลงประเทศปลอดภัยประเทศที่สามระหว่างสหรัฐฯ กับแคนาดา ที่ระบุให้ผู้ขอลี้ภัยต้องขอการคุ้มครองความเป็นผู้ลี้ภัยจากประเทศปลอดภัยแรกสุดที่พวกเขาเข้าไป

ทางการแคนาดายังพยายามแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยจากสหรัฐฯ จำนวนมากด้วยการเปิดใช้โรงพยาบาลเก่าที่ปิดตัวลง 2 ปีที่แล้วเป็นที่พักพิงชั่วคราวของผู้ลี้ภัยซึ่งจุได้ราว 320 คน เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมอนทรีออลก็จัดให้สนามกีฬาโอลิมปิคเก่าเป็นศูนย์ต้อนรับชั่วคราวสำหรับผู้ที่ต้องการขอลี้ภัย โดยที่คอมมอนดรีมส์ระบุว่าผู้ขอลี้ภัยร้อยละ 70 เป็นชาวเฮติที่กลัวว่าจะถูกส่งตัวออกนอกประเทศภายใต้รัฐบาลทรัมป์ที่มีนโยบายเชิงกีดกันคนที่ไม่ใช่คนขาวและกีดกันผู้อพยพ

เดิมชาวเฮติราว 59,000 รายต้องอพยพเข้าสู่สหรัฐฯ หลังจากได้รับผลกระทบจากพายุเฮอร์ริเคนที่สร้างความเสียหายอย่างมากในปี 2553 แต่ทว่าเมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา พล.อ. จอห์น เคลลี รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิประกาศจะขยายสถานะการคุ้มครองชาวเฮติในสหรัฐฯ เป็นเวลาเพียง 6 เดือนเท่านั้นจากเดิมที่เวลาขยายสถานะการคุ้มครองจะขยายทีละ 18 เดือน ทำให้พวกเขาเสี่ยงที่จะถูกส่งตัวออกนอกประเทศภายในปีหน้า เมื่อบวกกับการใช้โวหารเชิงต่อต้านผู้อพยพของทรัมป์แล้วทำให้พวกเขาข้ามแดนไปยังแคนาดา

ฟรองซิเนอ ดูปุยส์ จากโครงการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยปรับตัวใช้ชีวิตในแคนาดา PRAIDA ที่ได้รับทุนจากรัฐบาลแคนาดากล่าวว่าชาวเฮติที่ลี้ภัยมาแคนาดาเหล่านี้กลัวว่าทรัมป์จะส่งตัวพวกเขากลับเฮติและพวกเขาก็ไม่อยากจะเสี่ยงให้เกิดเรื่องแบบนั้น

อย่างไรก็ตามสื่อบีบีซีระบุว่าในแคนาดาไม่มีการคุ้มครองผู้ลี้ภัยในลักษณะที่ชาวเฮติต้องการมีแต่การพิจารณาประเมินเป็นรายเคสไปเท่านั้น

 

เรียบเรียงจาก

Canada Builds Border Camp for Asylum Seekers Fleeing US, Common Dreams, 09-08-2017

Canada military builds refugee camp for refugees from US, BBC, 09-08-2017

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Modern Syndrome โรค-คน-เมือง เรื่ืองเดียวกัน

Posted: 11 Aug 2017 09:48 AM PDT

มองความสัมพันธ์ระหว่างเมืองและโรค ผ่านประวัติศาสตร์และโครงสร้างเมือง - ทำไมกรุงเทพฯ ถึงทำให้ไม่มีแฟน อ้วนและจน ซ้ำยังจงใจ(?)ทำให้ความเป็นพลเมืองของเราหดหาย อ่านที่นี่...
 
 
Modern Syndrome โรคสมัยใหม่ที่คนเมืองต้องเผชิญ คำๆ นี้ไม่ได้มีในตำราแพทย์ แต่เป็นคำเรียกรวมๆ ของกลุ่มโรคหลายอย่างที่พบเยอะขึ้นในระยะหลังที่โลกเปลี่ยนแปลงไป พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล แพทย์วุฒิบัตรเวชศาสตร์ชะลอวัย หนึ่งในวิทยากรงานเสวนา 101 minutes at Starbucks ครั้งที่ 4 : Modern Syndrome ซึ่งจัดโดย 101.world บรรยายว่า โรคเหล่านี้ประกอบด้วย กลุ่มโรคใหญ่ๆ คือ อ้วนลงพุง หรือ Metabolic syndrome ไม่ใช่แค่ความอ้วน แต่มาเป็นแพคเกจทั้ง ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน  ซึ่งคนเป็นกันเยอะขึ้นในระยะหลัง และพบในเด็กอายุน้อยลงเรื่อยๆ สัมพันธ์กับไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป ทั้งอาหาร การออกกำลังกาย การนอน และการปฏิบัติตัว
 
กลุ่มโรคที่สองคือ โรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อ คอ เกิดจากการใช้สมาร์ตโฟน องศาในการก้มมองจอทำให้คอต้องแบกรับน้ำหนักมากขึ้น ส่งผลต่อกล้ามเนื้อ ส่วนด้านจิตใจ มีทั้งโรคซึมเศร้า วิตกกังวล หรือโรคกลัวว่าจะตกเทรนด์ ทำให้ใช้ชีวิตไม่เป็นปกติสุข ทั้งนี้ ยังไม่นับโรคยิบย่อยอย่าง ตาแห้ง เพราะจ้องโทรศัพท์ทั้งวัน ผิวแห้ง เพราะมลภาวะในเมือง หรือความเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายอย่างแบคทีเรียในตัวเราที่เปลี่ยนไป ไม่เหมือนสมัยปู่ย่าตายายที่มีแบคทีเรียที่ดีกว่า

เมืองกับโรค อะไรเกิดก่อนกัน

ขณะที่ นิรมล กุลศรีสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) มองอีกมุมว่า เมืองสมัยใหม่อาจไม่ได้นำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บ แต่โรคทำให้เกิดเมืองสมัยใหม่ก็ได้ โดยเมืองที่เป็นภาพแทนของความเจ็บป่วยนั้น เกิดมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 แล้ว ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม เทคโนโลยี ในเมือง ทำให้คนละชนบทเข้าสู่เมือง เกิดโรคในเมืองสองรูปแบบ คือ ทางกายและทางใจ 
 
โรคทางกาย เมื่อคนกระจุกตัวในเมือง ความหนาแน่นสูง ระยะห่างระหว่างคนต่อคนหดเล็กลง ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคที่รวดเร็วขึ้นมาก ลองนึกภาพในหนัง Les Miserables หรือ Oliver Twist ที่เมืองสกปรก ถนนแคบ คนทิ้งขยะไม่เป็นที่ แสงสว่างไม่พอ อับ ชื้น มืด รางระบายน้ำเปิด ลักษณะทางกายภาพแบบนี้ทำให้เชื้อโรคแพร่ได้เร็ว วัณโรค อหิวาตกโรค ไทฟอยด์ คร่าชีวิตคนจำนวนมาก จุดนี้เองที่ชนชั้นล่างที่เข้าไม่ถึงการแพทย์ลุกขึ้นมาปฏิวัติ ก่อให้เกิดการวางผังเมืองใหม่ ปฏิรูปสาธารณสุข  จัดหาน้ำประปา ฟื้นฟูทำให้เมืองถูกสุขลักษณะอนามัยขึ้นมาก 
 
ส่วนโรคแบบที่สอง คือโรคทางจิตใจ นิรมลชี้ว่าา เกิดจากสังคมที่เปลี่ยนไป จากสังคมชนบทที่มีคุณค่าร่วม มีความเหนียวแน่น มีสัมพันธ์ที่เชื่อมกัน มาเป็นสังคมเมืองที่มีความเป็นปัจเจก การวางเฉย ระยะห่าง เต็มไปด้วยสิ่งเร้า นำมาซึ่งความเครียด และทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมา 
 
"จริงๆ แล้ว ความเครียดทำให้มนุษย์อยู่รอด คือพอมีความเครียดแล้วเราจะตื่นตัว เช่น ไม่มีอะไรกินแล้วต้องออกไปทำมาหากิน แต่ปัญหาของเมืองปัจจุบันคือความเครียดไม่เคย switch off เราจะถูกกระตุ้นตลอดเวลา มีชีวิตด้วยความระแวงระวังตลอดเวลา ทำให้เกิด mental disorder"  

กรุงเทพฯ ทำให้ไม่มีแฟน อ้วน และจน

โฟกัสมาเฉพาะกรุงเทพฯ ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) พูดถึงข้อเสียของเมืองนี้แบบติดตลกว่าทำให้ "ไม่มีแฟน อ้วน และจน" 
 
"ไม่มีแฟน"- เวลาส่วนใหญ่ถูกใช้อยู่บนท้องถนน และอยู่ในพื้นที่ส่วนตัวตลอด ทั้งบ้าน รถ หรือออฟฟิศ ทั้งยังเป็นเมืองที่แห้งแล้ง ไม่มีอะไรเจริญหูเจริญตา ไม่มีพื้นที่สาธารณะดีๆ ให้จู๋จี๋กัน จะไปจู๋จี๋ก็ต้องไปร้านแพงๆ ขนส่งมวลชนก็แน่นเกินไป 
 
"อ้วน"-พอยิ่งต้องตื่นเช้าเพื่อออกจากบ้านไปทำงานให้ทัน ก็ไม่มีเวลาเตรียมอาหารดีๆ ต้องพึ่งอาหารเค็มจัด หวานจัด จากรถเข็นข้างทางหรือร้านสะดวกซื้อ หรือจะไปออกกำลังกายก็ไม่มีพื้นที่สาธารณะใกล้บ้าน โอกาสในการรีดพลังงานส่วนเกินน้อย
 
"จน"- กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่คนมีสัดส่วนการใช้จ่ายเรื่องการเดินทางสูงที่สุดในภูมิภาค ไม่มีพื้นที่สาธารณะให้ออกกำลังกายต้องเสียเงินกับฟิตเนส มลพิษแย่ทำให้เกิดสิว ต้องเข้าคลินิกรักษา อาหารคลีนก็แพง

โครงสร้างกดความเป็นพลเมืองหด?

จากปัจเจกขยับสู่โครงสร้าง นิรมลชี้ว่า ขณะที่ กรุงเทพฯ เป็นเมืองขนาด 1,500 ตารางกิโลเมตร เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่กว่าจังหวัด เพราะฉะนั้น การจัดการยากมาก ต้องการผู้ว่าฯ ที่ฉลาด โครงสร้างที่มีประสิทธิภาพสูงและมีอิสระ แต่ปรากฏว่ากลับมีผู้ว่าฯ ที่มาจากการเลือกตั้งแค่คนเดียว ส่วนผู้อำนวยการเขต 50 เขตแต่งตั้งโดยผู้ว่าฯ แปลว่าพวกเขาจะตอบสนองต่อคนที่แต่งตั้ง ขณะที่ปารีสเล็กกว่ากรุงเทพฯ 15 เท่า แต่มี 20 เขต แต่ละเขตเลือกนายกเทศมนตรีของตัวเอง โดยดูที่นโยบาย ให้เข้าไปเป็นตัวแทนของเขาและต่อสู้เอาทรัพยากรมา 
 
"นี่คือโครงสร้างทางการเมืองที่มันตอบสนองกับเมืองที่มีความสลับซับซ้อน" 
 
มองกลับมาที่กรุงเทพฯ "โครงสร้างของเขต เป็นความจงใจหรือเปล่าที่ทำให้คนกรุงเทพฯ อ่อนแอ ภาพฝนตกรถติดคนรอเป็นชาติ ทำอะไรไม่ได้ เล่นเฟซบุ๊ก เอาธรรมะเข้าข่ม กลับไปดูซีรีส์ ชดเชยไป เป็นความจงใจรึเปล่า ทำให้ความเป็นพลเมืองมันเหือดหาย ทำให้รู้สึกว่าทำอะไรก็เลยไม่ทำ" 
 
"ที่ทำได้คือส่งเสียงไป" เธอย้ำและว่า "อย่าหยุดหงุดหงิดกับเมือง เมืองที่ท่านเห็นว่ามันดีและอยากจะไป มันเริ่มต้นจากการประท้วงและไม่ยอม ไม่ยอมรับกับบริการสาธารณสุขคุณภาพต่ำ เราจ่ายภาษี เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราควรจะได้รับคือบริการสาธารณะที่มีคุณภาพ"
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อดีตรองเลขาฯ สนนท. ชี้ปมทหารยิงนักศึกษา ม.อ.ปัตตานี ถูกโยนความผิดเชิงปัจเจก

Posted: 11 Aug 2017 07:32 AM PDT

อดีตรองเลขาธิการ สนนท. ชี้ปมทหารยิงนักศึกษา ม.อ.ปัตตานี เห็นปัญหาโครงสร้างพ้นผิด แถมถูกกั้นด้วยเส้นบางๆ ผลิตวัฒนธรรมเกลียดฝ่ายตรงข้าม เเยกความรับผิดชอบเชิงสถาบัน เห็นความขัดแย้งที่หล่อเลี้ยงความมั่นคงของกองทัพ เห็นคุณค่านักศึกษากับสถานะอื่นที่ไม่เท่ากัน

ภาพผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี นำตัวทหารพรานคนดังกล่าวแถลงขอโทษสำนึกผิดผ่านสื่อมวลชนไปยังสังคม

11 ส.ค. 2560 หลังเกิดเหตุทหารพราน ยศสิบเอก สังกัดกองร้อยทหารพราน รับผิดชอบในเขตพื้นที่ อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี ใช้อาวุธปืนพกสั้น CZ ขนาด 9 มม.ยิงนักศึกษาหญิง ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี บริเวณหอพักหญิงในพื้นที่ อ.เมือง จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 8 ส.ค. ที่ผ่านมา วันต่อมา(9 ส.ค.60) ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี นำตัวทหารพรานคนดังกล่าวแถลงขอโทษสำนึกผิดผ่านสื่อมวลชนไปยังสังคม อ้างเพราะเครียดและเมาจนทำให้ปืนลั่น แต่ในพื้นที่กลับเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เนื่องจากผู้เสียหายทีย้ำต่อสื่อมวลชนและสังคมโซเชียลมีเดียว่าขณะเกิดเหตุทหารพรานดังกล่าว "ไม่ได้เมา ยืนยันไม่ได้เมา" (อ่านต่อ

ล่าสุด (10 ส.ค.60) ฮากิม พงติกอ อดีตรองเลขาธิการ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)และ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสตั้งคำถามบนเฟซบุ๊กส่วนตัวในลักษณะสาธารณะชื่อ Hakim Pongtigor ต่อกรณีดังกล่าว โดยพาดหัวเรื่องว่า "เห็นอะไรบ้างจากกระสุนเมา 3 นัดที่เกือบโดนเป้าที่เป็นนักกิจกรรมนักศึกษา" โดยระบุว่า เห็นปัญหาโครงสร้างที่เอื้อกับวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดให้ดำรงอยู่อย่างมั่นคง เห็นปัญหาโครงสร้างที่ยังคงผลิตซ้ำวัฒนธรรมเกลียดชังฝ่ายตรงข้าม ความเห็นต่าง จากการสร้างชาติของรัฐจักรวรรดิ เห็นปัญหาความอ่อนเเอเชิงโครงสร้างในการคุมขอบเขตปฏิบัติการทางอาวุธ ในขณะที่ความผิดพลาดและความตั้งใจถูกกั้นด้วยเส้นบางๆ

"เห็นวัฒนธรรมการโยนความผิดพลาดเชิงปัจเจกอย่างเดียวเพื่อเเยกความรับผิดชอบเชิงสถาบัน ไม่มีการขอโทษเอาผิดใดๆ เชิงสถาบัน ในภาวะสงครามความขัดแย้งที่ขัดกันด้วยอาวุธ ความพยายามเเก้ไขปัญหาทางการเมืองด้วยนโยบายการทหาร ไมมีใครสามารถได้รับการการันตีถึงความปลอดภัย เห็นปัญหาสังคมที่ให้ความชอบธรรมกองทัพปราบปรามความเห็นต่าง เห็นความขัดแย้งที่หล่อเลี้ยงความมั่นคงของกองทัพ เห็นสังคมที่พร้อมจะเข้าใจปฏิบัติการทางอาวุธใดๆเพื่อการปกป้องคุณค่าชาตินิยมรัฐจักรวรรดิ"

อดีตรองเลขาธิการ สนนท. โพสต์ด้วยว่า ความเป็นไปได้ที่จะเกิดวัฒนธรรมการตอบโต้ที่รุนเเรง การเหยียด ความเจ็บปวดเกลียดชังที่ให้พื้นที่ต่อการเเสดงออกที่ขาดมนุษยธรรม ของผู้ถูกกดขี่ รวมทั้งยังขาดกลไกกระบวนการยุติธรรมที่เหมาะสมในภาวะสงคราม เห็นคุณค่าของนักศึกษากับสถานะอื่นๆ ในพื้นที่สาธารณะที่ไม่เท่ากัน ความขัดเเย้งที่ยืดเยื้อ ซึมลึก จาก Collective Victim Vood ของชนชาติสังคมการเมืองร่วมของผู้ถูกกดขี่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

40 องค์กรสิทธิฯ ร้องประยุทธ์ตั้ง กก.สอบเหตุคุกตามสื่อ หลังนักข่าวอิศราถูกแจ้งข้อหาบุกรุก

Posted: 11 Aug 2017 06:34 AM PDT

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเครือข่าวองค์กรสิทธิ ร้องนายกฯ ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีการคุกคามการปฏิบัติหน้าที่ของผู้สื่อข่าวและปฏิรูปตำรวจโดยแยกการสอบสวนออกจาก สตช.

11 ส.ค.2560 จากกรณี ณัฐพร วีระนันท์ ผู้สื่อข่าว สำนักข่าวอิศราได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อมูลเรื่องหอพัก ที่ หจก.สมถวิล เรียลเอสเตรท ตั้งอยู่ในซอยพหลโยธิน 32 ถ.รัชดาภิเษก เขตจตุจักร กทม. ในช่วงบ่ายของวันที่ 9 ส.ค. ที่ผ่านมา เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับหอพัก ในการตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. และน้องชาย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม หลังถูก คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนการแจ้งบัญชีทรัพย์สิน ทั้งนี้เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อรายงานข้อเท็จจริงอย่างครบถ้วนและรอบด้านตามหลักวิชาชีพ พบว่าสถานที่ดังกล่าวเป็นอาคารที่พักอาศัยให้เช่า ชื่อ "เก๋ไก๋ อพาร์ตเมนต์" โดยผู้สื่อข่าวได้แสดงตนและขอสัมภาษณ์ สมถวิล ไม่ทราบนามสกุล เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงในการทำธุรกิจ ปรากฏว่าในเวลาต่อมา เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เชิญตัวผู้สื่อข่าวมาที่ สน.พหลโยธิน พร้อมกับแจ้งข้อหาบุกรุกสถานที่และยึดโทรศัพท์มือถือไว้ โดยให้พิมพ์ลายนิ้วมือ ทำประวัติอาชญากร และควบคุมตัวไว้ในห้องขัง ก่อนที่จะให้ประกันตัวในวงเงิน 15,000 บาท

ล่าสุดวันนี้ (11 ส.ค.60) สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) และเครือข่าวองค์กรสิทธิ พร้อมด้วยภาคประชาสังคม 40 องค์กร ออกแถลงการณ์ เรื่อง ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีการคุกคามการปฏิบัติหน้าที่ของผู้สื่อข่าวและปฏิรูปตำรวจโดยแยกการสอบสวนออกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)

องค์กรที่ร่วมลงชื่อในแถลงการณ์ยังเรียกร้อง ดังนี้ 1.ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้บังคับบัญชา สตช.ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง เพื่อดำเนินการกับผู้ที่เกี่ยวข้องว่ามีการกระทำโดยมิชอบชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่เพียงใด และ 2. ปฏิรูปสำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยการแยกการสอบสวนออกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติและให้อัยการควบคุมการสอบสวน รวมทั้งการแจ้งข้อหาต่อผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดโดยพนักงานสอบสวนจะต้องได้รับความเห็นชอบจากพนักงานอัยการเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจหน้าที่ควบคุมตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐ อันเป็นการจำกัดเสรีภาพของบุคคลโดยไม่จำเป็น หรือการกลั่นแกล้งบุคคล โดยการตั้งข้อหา หรือแจ้งข้อหา โดยปราศจากข้อเท็จจริง หรือพยานหลักฐานในการกระทำผิดอย่างเพียงพอ

รายละเอียดแถลงการณ์มีดังนี้

แถลงการณ์ เรื่อง ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีการคุกคามการปฏิบัติหน้าที่ของผู้สื่อข่าวและปฏิรูปตำรวจโดยแยกการสอบสวนออกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ตามที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เชิญตัวนายณัฐพร วีระนันท์ ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา มาที่ สน.พหลโยธิน พร้อมกับแจ้งข้อหาบุกรุกสถานที่และยึดโทรศัพท์มือถือไว้ โดยให้พิมพ์ลายนิ้วมือ ทำประวัติอาชญากร และควบคุมตัวไว้ในห้องขัง ก่อนที่จะให้ประกันตัวในวงเงิน 15,000 บาท ในระหว่างการลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อมูลเรื่องหอพัก ที่ หจก.สมถวิล เรียลเอสเตรท ตั้งอยู่ในซอยพหลโยธิน 32 ถ.รัชดาภิเษก เขตจตุจักร กทม. ในช่วงบ่ายของวันที่ 9 สิงหาคม 2560 เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับหอพัก เพื่อตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่เสนอ ป.ป.ช.โดย พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. และน้องชาย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหมภาย  หลังถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนการแจ้งบัญชีทรัพย์สิน ซึ่งเป็นข้อมูลที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ ดังความปรากฏตามสื่อมวลชนนั้น

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) และองค์กรสิทธิมนุษยชนข้างท้ายนี้ เห็นว่าการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการจับกุมและแจ้งข้อหาต่อผู้สื่อข่าวดังกล่าว อาจมีลักษณะกลั่นแกล้ง และไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการตั้งข้อหาบุกรุกนั้นต้องเป็นการรบกวนการครอบครอง หรือมีเจตนาประสงค์ต่อทรัพย์  กรณีนักข่าวท่านนี้ เพียงเข้าไปสอบถามผู้ดูแลสถานที่ซึ่งเปิดให้คนทั่วไปมาสอบถาม หรือหาข้อมูลได้ไม่ใช่การกระทำความผิดฐานบุกรุก อีกทั้งการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ตำรวจดังกล่าวอาจถือเป็นการคุกคามและขัดขวางการประกอบวิชาชีพของผู้สื่อข่าว และเป็นการลิดรอนสิทธิของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อตรวจสอบการทุจจริตของเจ้าหน้าที่รัฐ

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)และองค์กรสิทธิมนุษยชนข้างท้ายนี้ขอเรียกร้อง ดังนี้

1. ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้บังคับบัญชาสำนักงานตำรวจแห่งชาติตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง เพื่อดำเนินการกับผู้ที่เกี่ยวข้องว่ามีการกระทำโดยมิชอบชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่เพียงใด

2. ปฏิรูปสำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยการแยกการสอบสวนออกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติและให้อัยการควบคุมการสอบสวน รวมทั้งการแจ้งข้อหาต่อผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดโดยพนักงานสอบสวนจะต้องได้รับความเห็นชอบจากพนักงานอัยการเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจหน้าที่ควบคุมตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐ อันเป็นการจำกัดเสรีภาพของบุคคลโดยไม่จำเป็น หรือการกลั่นแกล้งบุคคล โดยการตั้งข้อหา หรือแจ้งข้อหา โดยปราศจากข้อเท็จจริง หรือพยานหลักฐานในการกระทำผิดอย่างเพียงพอ

ด้วยความเชื่อมั่นในหลักสิทธิมนุษยชน

วันที่ 11 สิงหาคม 2560

1. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.)

2. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

3. สมาคมส่งเสริมสิทธิและความเสมอภาค

4. สมาคมคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคภาคตะวันออก

5. สมาคมผู้บริโภคสงขลา

6. สมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่น

7. สมาคมผู้บริโภคร้อยเอ็ด

8. สมาคมผู้บริโภคภาคตะวันตก 

9. สมาคมพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสงคราม

10. สมาคมคมคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

11. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

12. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

13. มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา

14. มูลนิธิส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

15. มูลนิธิเพื่อนหญิง

16. มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา

17. มูลนิธิผู้หญิง

18. มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม

19. มูลนิธิสันติภาพและวัฒนธรรม

20. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)

21. เครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดบุรีรัมย์

22. เครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดหนองบัวลำภู

23. เครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ (police watch)

24. เครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ(ANM  )

25. เครือข่ายญาติผู้ถูกฆ่าตัดตอน สูญหายและทารุณกรรมประเทศไทย

26. เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้

27. เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ภาคเหนือ

28. เครือข่ายแม่หญิงลุ่มน้ำเจ้าพระยา

29. เครือข่ายเพื่อนหญิงนนท์

30. เครือข่ายแม่หญิงแม่ฮ่องสอน

31. เครือข่ายแม่หญิง จ.สุรินทร์

32. เครือข่ายแม่หญิง จ.บุรีรัมย์

33. เครือข่ายแม่หญิง จ.ศรีสะเกศ

34. เครือข่ายแม่หญิง จ.อุบล

35. เครือข่ายเพื่อนหญิงอุตรดิตถ์

36. เครือข่ายการออมแห่งชาติภาคประชาชน(คอช.)

37. เครือข่ายแรงงานนอกระบบหาบเร่แผงลอยโบ๊เบ๊

38. ชมรมสุขภาพดีวิถีธรรมชาติ (Be Well)

39. กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)

40. ศูนย์เพื่อนหญิง  อำนาจเจริญ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นำร่องปรับหมายเลขรถเมลล์ 8 เส้นทาง - ทีดีอาร์ไอเสนอปรับค่าโดยสาร

Posted: 11 Aug 2017 04:43 AM PDT

นำร่องรถเมล์ 8 เส้นทางใหม่ เปลี่ยนหมายเลขรถ ปรับเส้นทาง เผยใช้เวลา 1 เดือน เริ่ม 15 ส.ค.นี้ ก่อนประเมินผล ด้าน ทีดีอาร์ไอเสนอปรับค่ารถเมล์ รถร้อนจาก 6.50 บาทเป็น 10-12 บาทต่อเที่ยว รถปรับอากาศเป็น 25 บาทอัตราเดียว ชง ขสมก.พิจารณาต้นปีหน้า

11 ส.ค. 2560 จากกรณีเฟซบุ๊กแฟนเพจ 'รถเมล์ไทย.คอม Rotmaethai.com' ออกมาเปิดข้อมูลจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ มาเผยแพร่ โดยใช้หัวข้อว่า "เปิดโผเลขสายรถเมล์ใหม่ ในเส้นทางปฏิรูป 269 เส้นทาง" ซึ่งมีการระบุถึง เลขสายรถเมล์ใหม่ ในเส้นทางปฏิรูป 269 เส้นทาง" ยกตัวอย่างเช่น รถเมล์สาย 24 เปลี่ยนเลขสายใหม่เป็น B39, รถเมล์สาย 555 เปลี่ยนเลขสายใหม่เป็น B53E เป็นต้น ส่งผลให้เก็ดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโซเซียลเน็ตเวิร์กถึงความเหมาะสมและเหตุผลความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงนั้น ซึ่งผ่ายหลัง สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ยืนยันว่า การเปลี่ยนสายรถเมล์เป็นหมายเลขใหม่นั้น เป็นเรื่องจริง และกำลังเริ่มใช้ในเส้นทางนำร่อง

ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 ส.ค.ที่ผ่านมา อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ขณะนี้ ขบ.ร่วมกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. เตรียมเปิดทดลองเดินรถ 8 เส้นทางใหม่ซึ่งถือเป็นแนวทางการปฏิรูปรถโดยสารประจำทางใน กทม.และปริมณฑลเป็นระยะเวลา 1 เดือน ตั้งแต่ 15 ส.ค.-15 ก.ย.นี้ ตั้งแต่เวลา 06.30-18.30 น โดย ขสมก.จะนำรถโดยสารมาวิ่งให้บริการเส้นทางละ 5 คัน ประกอบด้วย 1.สายที่ G21 รังสิต-ท่าเรือพระราม 5 (เทียบเคียงสาย 114 อ.ต.ก. 3-แยกลำลูกกา) 2.สายที่ G59E มีนบุรี-ท่าเรือสี่พระยา (ทางด่วน) (เทียบเคียงสาย 514 มีนบุรี-ถ.รัชดาภิเษก-สีลม) 3.สายที่ R3 สวนหลวง ร.9-สถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติ (เทียบเคียงสาย 11 อู่เมกาบางนา-มาบุญครอง)

4. สายที่ R41 ถนนตก-แฮปปี้แลนด์ (เทียบเคียงสาย 22 อู่โพธิ์แก้ว-สาธุประดิษฐ์) 5.สายที่ Y59 สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน-กระทุ่ม แบน (เทียบเคียงสาย 189 สนามหลวง -กระทุ่มแบน) 6.สายที่ Y61 หมู่บ้านเศรษฐกิจ-สถานีขนส่งจตุจักร (เทียบเคียงสาย 509 สถานีขนส่งจตุจักร-บางแค) 7.สายที่ B44 วงกลมพระราม 9-สุทธิสาร (เทียบเคียงสาย 54 วงกลมรอบเมืองห้วยขวาง) 8.สายที่ B45 หมู่บ้านเอื้ออาทรบึงกุ่ม-ท่าเรือสะพานพุทธ (เทียบเคียงสาย 73 อู่โพธิ์แก้ว-สะพานพุทธ)

นอกจากนั้นทาง ขบ.ยังได้เตรียมเปิดเชิญชวนให้เอกชนเข้าแข่งขันประมูลเส้นทางเดินรถอีก 10 เส้นทาง ซึ่งได้เปิดรับคำขอแล้ว 2 เส้นทาง ได้แก่ สายที่ R26E เส้นทางจากสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์-โรงพยาบาลรามาธิบดี (ทางด่วน) และสายที่ Y70E มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ศาลายา-สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต (ทางด่วน) โดยมีกำหนดการเปิดรับคำขอถึงวันที่ 8 ก.ย.นี้

สำหรับหลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกชนในการเข้าประมูลเส้นทางเดินรถนำร่องทั้ง 10 สายนั้น ขบ.กำหนดหลักเกณฑ์ให้เอกชนผู้เข้าเสนอต้องเป็นนิติบุคคลเพื่อเป็นหลักประกันในการรับผิดชอบผู้โดยสาร นอกจากนี้ผู้ประกอบการต้องมีรถโดยสาร 12-18 คัน ในเส้นทาง Y70E และ 12-16 คันในเส้นทาง R26E ซึ่งกำหนดเป็นรถโดยสารมาตรฐาน แบ่งเป็นรถโดยสารมินิบัสไม่เกิน 21 ที่นั่ง และรถโดยสาร 30 ที่นั่งรวมเที่ยววิ่งขั้นต่ำ 48 เที่ยวต่อวัน คาดว่าจะได้ตัวเอกชนภายในปีนี้ 8 เส้นทางอยู่ระหว่างคัดเลือกเส้นทางเพื่อเปิดประมูลคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้ อาทิ เส้นทางมีนบุรี-สนามหลวง โดยเส้นทางดังกล่าวจะใช้รถร้อนวิ่งให้บริการ

สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ (TDRI) ในฐานะที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า การทดลองเดินรถ 8 เส้นทาง กรมการขนส่งฯ และ TDRI จะนำข้อมูลและข้อคิดเห็นจากการนำร่องปฏิรูปรถเมล์ 8 เส้นทางมาประมวลผลและสรุปแนวที่เหมาะสม โดยเส้นทางใดมีเสียงผลตอบรับดีก็จะเดินหน้าให้บริการต่อและใช้เป็นแนวทางการปฏิรูปเส้นทางที่เหลือ ส่วนเส้นทางไหนมีเสียงตอบรับไม่ดีก็จะทบทวนและหาแนวทางใหม่ โดยหลังนำร่อง 8 เส้นทางแรกแล้ว จะมีการนำร่องเพิ่มอีก 7-10 เส้นทางภายในปีนี้

สุเมธกล่าวอีกว่า จากการศึกษาโครงสร้างค่าโดยสารรถเมล์ ขสมก. พบว่ารถเมล์ร้อน มีต้นทุนอยู่ที่ 15 บาท แต่ ขสมก.เก็บค่าโดยสารเพียง 6.50 บาทต่อเที่ยว-คน หรือขาดทุนอยู่ 8.50 บาทต่อเที่ยว-คน จึงมองว่าควรปรับค่าโดยสารรถเมล์ร้อนเป็น 10-12 บาทต่อเที่ยว-คน เพื่อลดภาระการขาดทุนของ ขสมก. ส่วนรถเมล์ปรับอากาศมีต้นทุนเฉลี่ย 20 บาทต่อเที่ยว-คน แต่ปัจจุบัน ขสมก.จัดเก็บค่าโดยสารตามระยะทางระหว่าง 13-26 บาทต่อเที่ยว-คน

"ดังนั้น ถ้าต้องการสะท้อนต้นทุนค่าโดยสารที่แท้จริง ก็ควรเก็บค่าโดยสารรถเมล์ปรับอากาศเป็นราคาเดียวตลอดเส้นทาง โดยมีอัตราระหว่าง 20-25 บาทต่อเที่ยว-คน จึงจะทำให้ ขสมก.อยู่ได้ ทั้งนี้ ข้อมูลเป็นเพียงผลการศึกษาเบื้องต้น ซึ่งต้องศึกษารายละเอียดและปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเติม คาดว่าจะสรุปผลศึกษาการปรับขึ้นค่าโดยสารทั้งหมดเสนอให้ ขสมก.พิจารณาได้ช่วงต้นปีหน้า" ผู้อำนวยการทีดีอาร์ไอ กล่าว

ที่มา : ข่าวสดออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อัยการสูงสุดมีความเห็นไม่ถอนฟ้องคดี พ.ร.บ.ประชามติ ผู้สื่อข่าวประชาไท

Posted: 11 Aug 2017 04:19 AM PDT

อัยการสูงสุดได้พิจารณาตรวจสอบกรณีผู้สื่อข่าวประชาไทยื่นเรื่องขอความเป็นธรรม ขอให้ถอนฟ้องคดี พ.ร.บ.ประชามติ มาตรา 61 วรรค 2 โดยสำนักงานอัยการสูงสุดเห็นว่า อัยการจังหวัดราชบุรีมีคำสั่งฟ้อง ชอบแล้ว จึงมีคำสั่งยุติเรื่องการขอความเป็นธรรม

11 ส.ค. 2560 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่าจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนว่า สำนักอัยการสูงสุดได้ส่งหนังสือที่ อส.๐๐๐๘(คช.๑)/8919 ถึง ทวีศักดิ์ เกิดโภคา ผู้สื่อข่าวประชาไท โดยในหนังสือระบุว่า ตามหนังสือลงวันที่ 21 ก.ย. 2559 เรื่องการขอความเป็นธรรมต่อสำนักงานอัยการสูงสุดนั้น สำนักงานอัยการสูงสุดได้ตรวจสอบพิจารณาแล้ว คดีนี้ อัยการจังหวัดราชบุรีมีคำสั่งฟ้อง ผู้ต้องหาทั้ง 5 ชอบแล้ว และได้ยื่นฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 5 เป็นจำเลยต่อศาลแล้วจึงมีคำสั่งยุติเรื่องขอความเป็นธรรม

ทวีศักดิ์ ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จับกุมดำเนินคดีเมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2559 จากการนั่งรถคันเดียวกันกับ ปกรณ์ อารีกุล อดีตสมาชิกขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ซึ่งเดินทางไปให้กำลังใจกับกลุ่มคนเสื้อแดงที่ถูกเรียกเข้าพบพนักงานสอบสวนที่ สภ.บ้านโป่ง เนื่องจากได้เข้าร่วมถ่ายรูปเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ ส่วนทวีศักดิ์ ได้ขอเดินทางเพื่อไปทำข่าวการถูกเรียกพบพนักงานสอบสวนด้วย แต่สุดท้ายถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมไปด้วยเนื่องจากเห็นว่า เดินทางมาพร้อมกันบนรถที่มีเอกสารรณรงค์ไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญอยู่ในรถ แม้จะยืนยันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าเป็นผู้สื่อข่าวแล้วก็ตาม

ต่อมาวันที่ 11 ก.ค. 2559 ศาลจังหวัดราชบุรี คำสั่งอนุญาตให้ฝากขัง 5 ผู้ต้องหาที่ถูกกล่าวหาตามพ.ร.บ.ประชามติ มาตรา 61 วรรค 2 เป็นเวลา 12 วัน ตามคำร้องของพนักงานสอบสวนสภ.บ้านโป่ง ก่อนจะอนุญาตให้ประกันตัวผู้ต้องหาทั้ง 5 ราย ด้วยหลักทรัพย์เป็นเงินสดคนละ 140,000 บาท โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ

ทั้งนี้ผู้ต้องหาทั้ง 5 รายประกอบด้วย ปกรณ์ อารีกุล, อนันต์ โลเกตุ, อนุชา รุ่งมรกต และทวีศักดิ์ เกิดโภคา ซึ่งถูกแจ้งข้อหาตามพ.ร.บ.ประชามติ มาตรา 61 วรรค 2 นอกจากนั้นยังมีการแจ้งข้อหาฝ่าฝืนประกาศคมช.ฉบับที่ 25/2549 ต่อทั้ง 4 คน เหตุไม่พิมพ์ลายนิ้วมือตามคำสั่งเจ้าพนักงาน ส่วนผู้ต้องหาคนที่ 5 คือ ภานุวัฒน์ ทรงสวัสดิ์ชัย ถูกแจ้งข้อกล่าวหาตามพ.ร.บ.ประชามติ มาตรา 61 วรรค 2

โดยเมื่อวันที่ 29 พนักงานอัยการ จ.ราชบุรี มีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยทั้ง 5 คน ต่อศาลจังหวัดราชบุรี ตามความผิดพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 มาตรา 61 และประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับที่ 25 เรื่องการดำเนินการเกี่ยวกับการยุติธรรมทางอาญา โดยจำเลยทั้งหมดขอยื่นประกันตัวและศาลให้ประกันตัวโดยใช้หลักทรัพย์เดิมในขั้นตอนการสอบสวนเป็นเงินคนละ 140,000 บาท

ทั้งนี้คำฟ้องได้ระบุว่าวันที่ 10 ก.ค. 2559 จำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันกระทำความผิด กล่าวคือ "จำเลยทั้งห้าได้บังอาจร่วมกันดำเนินการเผยแพร่ข้อความและภาพเป็นรูปลอก(สติ๊กเกอร์)สีน้ำเงิน มีข้อความระบุว่า "7 สิงหา ร่วมกัน VOTE NO ไม่รับกับอนาคตที่ไม่ได้เลือก" ซึ่งมีความหมายให้ร่วมกันออกเสียงประชามติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำขึ้น ซึ่งกำหนดให้มีการออกเสียงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ดังกล่าว ด้วยการแจกจ่ายรูปลอก(สติ๊กเกอร์)ซึ่งมีข้อความให้แก่ประชาชนทั่วไป และพรรคพวกของจำเลย ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิออกเสียง อันเป็นการดำเนินการเผยแพร่ข้อความในช่องทางอื่นใดที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง อันมีลักษณะเป็นการปลุกระดมโดยมุ่งหวังเพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างนึ่งหรือไม่ออกเสียง อันเป็นการร่วมกันกระทำความผิดของคณะบุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ในการกระทำการก่อความวุ่นวาย เพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย"   เหตุดังกล่าวเกิดจากกรณีที่จำเลยที่ 1-4 ได้แก่ ปกรณ์ อารีกุล,อนุชา รุ่งมรกต, อนันต์ โลเกตุ และทวีศักดิ์ เกิดโภคเดินทางไปยังจังหวัดราชบุรีและถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจค้นรถและพบเอกสารความเห็นแย้งร่างรัฐธรรมนูญ และรณรงค์โหวตโนหลายรายการในรถดังกล่าวจึงจับกุมและแจ้งข้อกล่าวหาโดยระบุว่ามีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าจะแจกจ่ายเอกสารดังกล่าว

เมื่อพิจารณาจากเอกสารคำฟ้องของพนักงานอัยการศาลจังหวัดราชบุรี พบว่า ในหน้าคำขอท้ายคำฟ้องอาญา พนักงานอัยการขอให้ศาลริบของกลางทั้งหมดและขอให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยทั้งหมดเป็นเวลา 10 ปี ตามบทลงโทษของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559  มาตรา 61 วรรค 2 ระบุว่า ผู้ใดดําเนินการเผยแพร่ข้อความ  ภาพ  เสียง  ในสื่อหนังสือพิมพ์  วิทยุ  โทรทัศน์  สื่ออิเล็กทรอนิกส์  หรือในช่องทางอื่นใด  ที่ผิดไปจากข้อเท็จจริงหรือมีลักษณะรุนแรง  ก้าวร้าว  หยาบคาย  ปลุกระดม  หรือข่มขู่  โดยมุ่งหวังเพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง  หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง  หรือไม่ออกเสียง  ให้ถือว่าผู้นั้นกระทําการก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เป็นการกระทําความผิดของคณะบุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป  ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี  และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาท ถึงสองแสนบาท  และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกําหนดสิบปี

นอกจากนี้จำเลยที่ 1-4  ยังถูกฟ้องตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับที่ 25 เรื่องการดำเนินการเกี่ยวกับการยุติธรรมทางอาญา เนื่องจากไม่ยอมพิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อตรวจสอบประวัติการต้องโทษทางอาญาซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ต่อมา 21 ก.ย.2559 เวลา 9.20 น. จำเลยในคดีแจกสติกเกอร์โหวตโนที่สภ.บ้านโป่ง ราชบุรีทั้ง 5 คน ได้ยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมที่สำนักงานอัยการศาลราชบุรีเพื่อขอให้อัยการถอนฟ้องโดยหนังสือร้องขอความเป็นธรรมดังกล่าวมีใจความสรุปได้ว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มาวางกรอบการใช้อำนาจขององค์กรของรัฐและรับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน การให้ประชาชนมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นเพื่อให้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมีความชอบธรรมและเป็นที่ยอมรับ และสติกเกอร์ดังกล่าวก็ไม่ได้มีลักษณะอันเป็นเท็จ อีกทั้งนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังเคยให้สัมภาษณ์ต่อสื่อว่าสติกเกอร์เหล่านี้ไม่น่าเป็นความผิดตามม.61 พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติและสามารถเผยแพร่ได้ นอกจากนั้นการดำเนินคดีกับพวกตนก็ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะอีกทั้งการออกเสียงประชามติก็ได้ผ่านพ้นไปแล้ว ซึ่งการดำเนินคดีกับพวกตนอาจจะส่งผลเสียต่อรัฐบาลเนื่องจากอาจถูกลดความน่าเชื่อถือในด้านสิทธิมนุษยชนจากนานาประเทศ

จากนั้นจำเลยทั้ง 5 คนไปที่ศาลจังหวัดราชบุรีตามนัดสมานฉันท์ ศาลได้อ่านคำฟ้องให้จำเลยทั้ง 5 ฟังและได้ถามว่าพ.ร.บ.ออกเสียงประชามติฯ เป็นกฎหมายเฉพาะที่ออกมาเพื่อให้การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและขณะนี้การออกเสียงประชามติก็ได้เสร็จสิ้นแล้ว อีกทั้งโทษตามกฎหมายก็ไม่ได้รุนแรง แต่เพื่อเป็นการป้องปรามเท่านั้น ดังนั้นจำเลยให้การว่าอย่างไร หากสารภาพก็จะสามารถตัดสินได้เลย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กว่า 200 คณาจารย์-บุคลากรอุดมศึกษาจี้คสช.เลิกคำสั่งเปิดช่องคนนอกนั่งผู้บริหารมหาวิทยาลัย

Posted: 11 Aug 2017 02:50 AM PDT

เครือข่ายคณาจารย์และบุคลากรอุดมศึกษาไทย กว่า 200 คน ร้องให้ยกเลิกมาตรา 44 ออกคำสั่ง คสช. เปิดช่องตั้งคนนอกเป็นอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี ทันที พร้อมทั้งเรียกร้องให้ยุติการกระทำการใดๆ ที่แทรกแซงมหาวิทยาลัยอีกต่อไป

11 ส.ค. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 12.00 น.ที่ผ่านมา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณาจารย์และบุคลากรอุดมศึกษา ร่วมแสดงพลังคัดค้าน คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 37/2560 เรื่องการแก้ไขปัญหาการบริ หารงานของสถาบันอุดมศึกษา ที่เปิดให้สามารถแต่งตั้งบุคคลใดที่มิได้เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา หรือเป็นพนักงานในสถาบันอุดมศึกษามาดํารงตําแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี ได้ 

โดยกิจกรรมดังกล่าวมีการอ่านแถลงการณ์ ในนาม "เครือข่ายคณาจารย์และบุคลากรอุดมศึกษาไทย" ซึ่งมีผู้ร่วมลงชื่อกว่า 200 คน เรียกร้องให้ยกเลิกคำสั่ง คสช.ดังกล่าว พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ยุติการกระทำการใดๆ ที่แทรกแซงมหาวิทยาลัยอีกต่อไป 

สำหรับรายละเอียดของแถลงการณ์ มีดังนี้ 

แถลงการณ์ "เครือข่ายคณาจารย์และบุคลากรอุดมศึกษาไทย"

ตามที่รัฐบาลภายใต้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 265 ร่วมกับมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 37/2560 เรื่องการแก้ไขปัญหาการบริ หารงานของสถาบันอุดมศึกษา ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2560 โดยอ้างว่า เนื่องจากการบริหารงานของอุดมศึกษาของรัฐที่ผ่านมา มักปรากฎปัญหาการได้มาซึ่งผู้ ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร และส่งผลขัดขวางต่อการดำเนินการปฏิรูปการศึกษา ดังนั้นจึงเห็นควรให้สามารถที่จะแต่งตั้งบุคคลใดที่มิได้เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา หรือเป็นพนักงานในสถาบันอุดมศึกษามาดํารงตําแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดีหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะได้ ทั้งยังให้อำนาจแก่นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี ให้สามารถทำการเปลี่ยนแปลงคำสั่งดังกล่าวได้โดยเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ หากเห็นสมควร

คำสั่งของ คสช. ดังกล่าวถือเป็นการใช้อำนาจภายใต้การนำของรัฐบาลทหาร เข้าแทรกแซงการบริหารจัดการกิจการของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีกฎระเบียบในการบริ หารและจัดการมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว  คำสั่งฯดังกล่าวไม่เพียงแต่เป็นคำสั่งที่ไม่เป็นธรรม หากแต่ยังเป็นคำสั่งที่ออกมาโดยมิได้ผ่านการปรึกษาหารือกับประชาคมนักวิชาการและบุคลากรภายในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศแต่อย่างใด  การเปิดช่องให้สามารถแต่งตั้งบุคคลที่มิได้สังกัดสถาบันอุดมศึกษามาดำรงตำแหน่งที่มีความสำคัญต่อการบริหารมหาวิทยาลัยได้ ยังสร้างข้อกังขาต่อการที่สถาบันอุดมศึกษาไทยจะสามารถถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ตั้งแต่ระดับสถาบันไปจนถึงคณะและภาควิชาอีกด้วย อนึ่ง คำสั่ง คสช. ดังกล่าว นับเป็นความพยายามอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร ในการแทรกแซงความเป็นอิสระของสถาบันอุดมศึกษา นับตั้งแต่ผนวกเอาผู้บริหารของมหาวิทยาลัยของรัฐเข้า เป็นส่วนหนึ่งของรัฐ ผ่านการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถที่ จะดำรงไว้ซึ่งความเป็นอิสระในการบริหารและจัดการองค์กร ที่ปลอดพ้นจากการแทรกแซงหรือตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง เครือข่ายคณาจารย์และบุคลากรอุดมศึกษาไทย จึงขอเรียกร้องให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติดังกล่าว และให้รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ยุติการกระทำการใดๆที่แทรกแซงมหาวิทยาลัยอีกต่อไป

ลงชื่อ

ศ.เกียรติคุณ ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศ. เกียรติคุณ สายชล สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศ. (พิเศษ) ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ Southeast Asian Study มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศ.ดร.ยศ สันตสมบัติ​ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศ. ดร. อรรถจักร สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศ.ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศ.ดร. ธเนศวร์ เจริญเมือง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร.กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์ สังกัดวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อพงศ์ วิชญาปกรณ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อ.ดร.กนกรัตน์ สถิตนิรามัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร กนกวรรณ อู่ทองทรัพย์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รศ.ดร.กนกวรรณ มะโนรมย์ คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี กษมาพร แสงสุระธรรม อ.กันต์ฌพัชญ์ อยู่อำไพ นักวิชาการอิสระ ผศ.ดร.กาญจน์ นทีวุฒิกุล นักวิชาการอิสระ อ.กิตติ วิสารกาญจน มหาวิทยาลัยศิลปากร อ.กิติมา ขุนทอง มหาวิทยาลัยราชภัฎ สกลนคร กิตติมา จารีประสิทธิ์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิชกุล มหาวิทยาลัยมหิดล อ. กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.กุสุมา กูใหญ่ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อ.กุลธีร์ บรรจุแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา อ.ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.ดร.เกษมพัฒน์ พูลสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ ดร.เกษม เพ็ญภินันท์ คณะอักษร จุฬาฯ กำพล จำปาพันธ์ นศ.ปริญญาเอก) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกรียงไกร จินะโกฎิ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รศ. ดร. เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เกียรติศักดิ์ บังเพลิง ม.มหาสารคาม ผศ.ดร.ขวัญชีวัน บัวแดง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง ภาควิชาปรัชญา ม.ศิลปากร อ.คมลักษณ์ ไชยยะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ดร.คารินา โชติรวี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.จณิษฐ์ เฟื่องฟู คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผศ.ดร.จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.จันทนี เจริญศรี คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ จิรธร สกุลวัฒนะ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จิราวัฒน์ รงค์ทอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผศ.ดร.จารุวรรณ สิงห์ม่วง มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ อ.จิราพร เหล่าเจริญวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.จุฑามาศ ตั้งสันติกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดร.ฉลอง สุนทราวาณิชย์ ข้าราชการบำนาญ อ.เฉลิมพล โตสารเดช วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ อ.ชลัท ศานติวรางคณา สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อ.ชญานิษฐ์ พูลยรัตน์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อ. ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาคสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ อ.ชัชวาล ปุญปัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชัยพงษ์ สำเนียง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ รศ.ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร อ.ชาญ พนารัตน์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ. ชำนาญ จันทร์เรือง มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม

รศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา อ.ซัมซู สาอุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ณรงค์ อาจสมิติ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม. มหิดล ณภัค​ เสรีรักษ์​ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์​ วิทยาเขต​ปัตตานี​ อ.ดร.ณัฐกร วิทิตานนท์ อ.ณัฏฐพงษ์ สกุลเลี่ยว คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อ.ณรุจน์ วศินปิยมงคล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อ.ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดร.ดวงหทัย บูรณเจริญกิจ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ดร. ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดุษณ์ดาว เลิศพิพัฒน์ คณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ผศ.ดร.เดชรัต สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร. ถนอม ชาภักดี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผศ.ดร.เถกิง พัฒโนภาษ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.ดร.ทรงสิริ พุทธงชัย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ ผศ. ดร.ทวีศักดิ์ เผือกสม สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อ.ทนุวงศ์ จักษุพา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ดร. ทัศนัย เศรษฐเสรี คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผศ.ดร.เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ อ.ธรรมศาสตร์ โสตถิพันธ์ุ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

อ.ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ สาขาวิชาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.ธนศักดิ์ สายจำปา สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อ.ธนาวิ โชติประดิษฐ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร อ.ธัชธรรม ศิลป์สุพรรณ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจารย์ธีระพงษ์ ทศวัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ ธีระพล อันมัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อ.ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รศ.ดร.นงเยาว์ เนาวรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจารย์นพพร ขุนค้า มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ นราสิทธิ์ วงษ์ประเสริฐ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นริศ ศรีสว่าง ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมล้านนา ฯ มหาวิทยาลัยพะเยา นลินี ตันธุวนิตย์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ นรุตม์ เจริญศรี คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.ดร.นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.ดร.นันท์นภัส แสงฮอง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.นาตยา อยู่คง ภาควิชาสังคมศาสตร์คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รศ.ดร.นิติ ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิติพงศ์ สำราญคง

อ.บดินทร์ สายแสง สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล บัณฑูร ราชมณี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อ.บัณฑิต ไกรวิจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผศ.ดร.บัณฑิตย์ จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อ.ดร.บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อ.บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล มหาวิทยาลัยนเรศวร ดร.เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล อ.เบญจมาศ บุญฤทธิ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปฤณ เทพนรินทร์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อ.ปฐวี โชติอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อ.ประพันธ์ แสงทองดี มรภ.พระนครศรีอยุธยา อ.ปราโมทย์ ระวิน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา อ.ปราการ กลิ่นฟุ้ง มหาวิทยาลัยรังสิต รศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร. ปีดิเทพ อยู่ยืนยง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.ปุรินทร์ นาคสิงห์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาเกษตรศาสตร์ อ.ผานิตดา ไสยรส คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผศ.ดร. พจนก การญจนจันทร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ พชรวรรณ บุญพร้อมกุล ศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ อ.ดร.พรทิพย์ อ้นเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ อ.พรรณราย โอสถาภิรัตน์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พฤกษพรรณ บรรเทาทุกข์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

อ.ดร.พลอยแก้ว โปราณานนท์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ. ดร. พอเจตน์ ธรรมศิริขวัญ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ อาจารย์พนัชกร เพชรนาค มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ ดร.พนิดา อนันตนาคม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.ดร.พศุตม์ ลาศุขะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ. พัทรา ผดุงสุนทรารักษ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ พัชราภรณ์ หนังสือ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ดร. พิชัยวัฒน์ แสงประพาฬ วิทยาลัยนวัตกรรม สื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อ.พิพัฒน์ สุยะ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร พิสิษฏ์ นาสี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผศ.ดร.พิทยา สุวคันธ์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผศ.พิม สุทธิคำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.พุทธพล มงคลวรวรรณ มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผศ.ดร.แพร จิตติพลังศรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดร. เพ็ญสุภา สุขคตะ (อาจารย์พิเศษ) คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.ภาณุ ตรัยเวช ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อ.ภานุพงษ์ ไชยวรรณ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงฆ์ ลำพูน อาจารย์ภาคภูมิ ลบถม มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ อ.ภาสกร อินทุมาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อ.ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ ลำปาง อ. สุทธิศักดิ์ ภูธรารักษ์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.ภูริณัฐร์ โชติวรรณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร ผศ.มนตรา พงษ์นิล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา มนฑิตา โรจน์ทินกร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อ.มณเฑียร มุกสิกทอง มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ อ.มานิตา หนูสวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.มาลินี คุ้มสุภา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ อ.มูนีเราะฮ์ ยีดำ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แบนต่อเนื่อง “เชคสเปียร์ต้องตาย” เหตุเนื้อหาสร้างความแตกแยก

Posted: 11 Aug 2017 02:22 AM PDT

"เชคสเปียร์ต้องตาย" ยังถูกแบน ศาลปกครองกลางตัดสินยกฟ้องคำร้องของผกก.และผู้สร้างฯ ชี้ เนื้อหาหลายฉากคล้ายเหตุการณ์รุนแรงในไทย สร้างความแตกแยก ด้านผกก.และผู้สร้างฯยัน เดินหน้ายื่นอุทธรณ์ต่อ

ภาพจากภาพยนตร์ เชคสเปียร์ต้องตาย

11 ส.ค. มติชนออนไลน์ รายงานว่า ที่ศาลปกครอง ถนนเเจ้งวัฒนะ ศาลอ่านคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ในคดีหมายเลขดำที่1321/2555 ที่มานิต ศรีวานิชภูมิ และสมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ ผู้อำนวยการสร้างและผู้กำกับภาพยนตร์ "เชคสเปียร์ต้องตาย" (Shakespeare must die) ได้เข้ายื่นฟ้องคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์คณะที่ 3 เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1 และ 2 ต่อศาลปกครองกลาง ขอให้มีคำสั่งเพิกถอนมติและคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 2 ที่ห้ามฉาย จัดจำหน่ายภาพยนตร์เรื่อง "เชคสเปียร์ต้องตาย" ในราชอาณาจักร และขอให้ชดใช้ค่าเสียหายจากเงินทุนที่ใช้ในการสร้างภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,530,388.55 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด

ผกก.และผู้สร้างฯ ยื่นคำฟ้องระบุ เนื้อหาภาพยนตร์ไม่ก่อให้เกิดการแตกสามัคคี พร้อมเรียกร้องค่าเสียหาย

คำฟ้องระบุว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 2 ไม่อนุญาตให้ภาพยนตร์เรื่อง "เชคสเปียร์ต้องตาย" ซึ่งแปลจากบทประพันธ์โดยกวีเอกของโลก วิลเลียม เชคสเปียร์ เรื่อง "โศกนาฎกรรมแม็คเบ็ธ" หรือ The Tragedy of Macbeth ให้เผยแพร่ในประเทศไทย โดยอ้างว่ามีเนื้อหาก่อให้เกิดความแตกสามัคคีระหว่างคนในชาติ ตามกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ 2552 ข้อ 7 (3) นั้น เห็นว่าไม่ได้เป็นไปตามข้อจำกัดในหลักการของสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 45 บัญญัติไว้

และหากจะอะลุ้มอล่วยให้เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือเพื่อศีลธรรมอันดีของประชาชน แต่ข้อเท็จจริงสังคมไทยมีการเข่นฆ่าประชาชนเกิดขึ้นหลายครั้งหลายหน ทั้งเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 และกรณีสงครามยาเสพติดที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,500 คน ซึ่งเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นย่อมเป็นความรุนแรงของสังคมไทยที่มิอาจลืมเลือน หรือปกปิดไว้ได้ โดยคนไทยสมควรเรียนรู้ร่วมกันเพื่อร่วมมือกันมิให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีก ดังนั้นภาพยนตร์ "เชคสเปียร์ต้องตาย" จึงมิได้มีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดความแตกสามัคคีคนในชาติตามที่อ้าง

"เนื้อหาสาระของภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้มีตอนใดตอนหนี่งที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามที่อ้าง เพราะเนื้อหาสาระของภาพยนตร์ดังกล่าวแปลเป็นภาษาไทยอย่างซื่อตรงต่อต้นฉบับละครเรื่อง "โศกนาฏกรรมแม็คเบ็ธ" อันเป็นบทประพันธ์ของวิลเลียม เชคสเปียร์ กวีเอกของโลก โดยมีการดัดแปลงเพื่อให้เป็นภาษาของภาพยนตร์และเข้ากับริบทของสังคมและวัฒนธรรมไทยเท่านั้น การที่อ้างว่าไม่ให้ภาพยนตร์นี้ฉายก็เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐนั้น คำว่า "รัฐ" ย่อมหมายถึงรัฐชาติ ไม่ได้หมายถึงรัฐบาลหนึ่งรัฐบาลใด ดังนั้น การกระหายเลือด การมักใหญ่ใฝ่สูง การงมงายในไสยศาสตร์ของตัวละครในภาพยนตร์ที่สถาปนาตนเองเป็นราชา ซึ่งเหมือนกับผู้นำประเทศต่างๆ ในโลกแห่งความเป็นจริงของสังคม ย่อมมิได้กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ รวมถึงเกียรติภูมิของประเทศแต่อย่างใด เพราะรัฐบาลหนึ่งรัฐบาลใดมิได้หมายถึงประเทศชาติด้วย"

ท้ายคำฟ้องยังระบุว่าด้วย ต้องเสียค่าใช้จ่ายในค่าตอบแทนส่วนตัวในกระบวนการผลิตภาพยนตร์จนเสร็จสิ้นอีก 2,250,000 บาท รวมถึงความเสียหายต่อชื่อเสียงค่าเสียหายจากการขาดโอกาสในการร่วมทุนสร้างภาพยนตร์กับบุคคลอื่น แต่การสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ทั้งสองไม่ได้มีเจตจำนงในการแสวงหากำไรในการสร้างจึงไม่ติดใจที่จะเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้จากผู้ถูกฟ้องคดี

ศาลยกฟ้อง ชี้ เนื้อหาหลายฉากคล้ายเหตุการณ์รุนแรงในไทย สร้างความแตกแยก ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย

ศาลพิเคราะห์เเล้วเห็นว่าการพิจารณาภาพยนตร์เรื่องใดเรื่องหนึ่งว่าจะเป็นสาเหตุของการเเตกความสามัคคีของคนในชาติหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาสาระสำคัญทั้งเเนวความคิดเเละเเก่นสารของเรื่องที่มุ่งเน้นของภาพยนต์ กรณีไม่อาจนำเสนอส่วนใดส่วนหนึ่งมาพิจารณาได้ จะต้องพิจารณาเนื้อหาสาระสำคัญทั้งเรื่อง

จากการพิจารณาบทคัดย่อประกอบกับรับชมผ่านซีดีรับฟังได้ว่า ภาพยนต์ดังกล่าวมีเนื้อหา เกี่ยวกับเรื่องราวตำนานเเห่งการเมืองเเละไสยศาสตร์ที่ได้เเรงบันดาลใจเเละบทเกือบทั้งหมดมาจากต้นฉบับละคร โศกนาฎกรรมเเม็คเบ็ธ ของวิลเลี่ยม เชคสเปียร์ เเละดัดเเปลงเพื่อเข้ากับบริบทวัฒนธรรมไทย เป็นเรื่องระหว่างการเเสดงในโรงละครกับเหตุการณ์โลกภายนอกของประเทศสมมุติเเห่งหนึ่ง ซึ่งเนื้อหาในโรงละครเป็นเรื่องของขุนพลกระหายเลือด มักใหญ่ใฝ่สูง งมงายไสยศาสตร์ ผู้สถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์โดยการฆาตกรรม ซึ่งมีชื่อเรียก "ท่านผู้นำ" โดยหลังจากเรื่องภายในโรงละครจบลง ในโลกภายนอกมีกลุ่มคนที่คลั่งไคล้ท่านผู้นำ ที่มีการเเสดงละครล้อเลียนท่านผู้นำได้วิ่งกรู ทำร้ายนักเเสดง ผู้กำกับละคร เเล้วลากไปด้านหน้าโรงละคร จับเเขวนคอทุบตีด้วยเก้าอี้เหล็กพับ ท่ามกลางกลุ่มคนที่ส่งเสียงเชียร์

เมื่อพิจารณาภาพยนตร์ดังกล่าว เเม้ผู้ฟ้องคดีจะกล่าวว่าประเทศในละครเป็นประเทศสมมุติก็ตาม เเต่มีเนื้อหาหลายฉากคล้ายกับเหตุการณ์ความรุนเเรงในประเทศไทยมิใช่ประเทศสมมุติตามที่กล่าวอ้าง

ซึ่งผู้ถูกฟ้องที่2เห็นว่า เหตุการณ์ดังกล่าวคล้ายกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 อันเป็นฉากที่ก่อให้เกิดความเเตกเเยกความสามัคคีคนในชาติ เป็นฉากที่มีผู้ชายเสื้อดำโพกผ้าเเดงถือท่อนไม้ทำรายคนดู จับผู้กำกับละครเเขวนคอ เห็นว่าเเม้จะมีภาพยนต์หลายเรื่องนำประวัติศาสตร์ชาติไทยในอดีตที่มีความขัดเเย้งมาสร้างก็ตาม เเต่ประวัติศาสตร์ชาติไทยในอดีตดังกล่าวเกิดขึ้นมาเเล้วเป็นเวลานานหลายร้อยปีจนไม่อาจสืบสาวราวเรื่องว่าบุคคลดังกล่าวมีความสัมพันธ์เป็นญาติพี่น้องกันหรือไม่ จึงไม่ก่อให้เกิดความเคียดเเค้นชิงชัง ต่างจากภาพยนตร์ผู้ฟ้องคดีทั้งสองที่ได้มีการนำเหตุการณ์ 6 ตุลาคมซึ่งเป็นเหตุการณ์ร่วมสมัยมาเป็นส่วนหนึ่งภาพยนต์มีความยาวฉากนี้ 2 นาทีเศษย่อมสร้างความไม่พอใจเกิดขึ้นเเก่ญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตหรือผู้ร่วมเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดความรู้สึกเคียดเเค้นชิงชังอันอาจเป็นชวนสร้างความเเตกเเยกคนในชาติได้ ประกอบกับเมื่อมีการประชุมกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2555 ผู้ถูกฟ้องคดีได้เเจ้งให้เเก้ไขบทในฉากดังกล่าว เเต่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองยืนยันจะใช้บทเดิม ทั้งที่สามารถดำเนินเเก้ไขได้โดยมิได้ส่งผลกระทบต่อเนื้อหาสำคัญของเรื่อง รวมถึงเเนวคิดด้านมืดด้านสว่างของมนุษย์ บาปบุญคุณโทษผลกรรม เเละการต่อสู้ระหว่างอธรรมกับธรรมมะในจิตใจคน

การที่ผู้ถูกฟ้องที่ 2 ไม่อนุญาตให้ผู้ถูกฟ้องคดีนำภาพยนตร์เรื่อง เชคสเปียร์ต้องตายออกเผยเเพร่ราชอาณาจักรจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย เเละเมื่อวินิจฉัยว่าเป็นคำสั่งที่ชอบ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องที่ 1 ให้ยกอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย ส่วนประเด็นความเสียหายทางละเมิดเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องทั้งสองชอบด้วยกฎหมายการกระทำย่อมไม่เป็นการละเมิดจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายเเก่ผู้ฟ้องคดีเเต่อย่างใด พิพากษายกฟ้อง

ผู้สร้างฯ ยันเดินหน้ายื่นอุทธรณ์ต่อ ชี้ ในยูทูปยังมีภาพเหตุการณ์ดังกล่าว แจง กรรมการสิทธิชี้ถูกละเมิด

หลังอ่านคำพิพากษา มานิตกล่าวว่าจะนำคำพิพากษาไปเพื่อพิจารณาในการยื่นอุทธรณ์คดีต่อศาลปกครองสูงสุดต่อไปเพราะการที่บอกว่า เหตุการณ์ 6 ตุลาคมเป็นประเด็น หากลองไปเปิดในยูทูปดูจะพบเรื่องราวถึงเหตุการณ์ดังกล่าวนี่เเสดงว่า กสทช.บกพร่องในหน้าที่

ขณะที่.สมานรัชฎ์ ยืนยันว่าเป็นกรณีเลือกปฏิบัติ โดยหนังเรื่องนี้ไปฉายในต่างประเทศเเละได้รางวัลรวมถึงการวิจารณ์ที่ดี มีข้อเท็จจริงเนื้อเรื่องดังกล่าวในเเบบเรียนก็มี เรื่องนี้ตนเคยไปร้องเรียนกับคณะกรรมการสิทธิมนุษย์ชน ซึ่งชี้ว่าตนถูกละเมิดสิทธิ เเละบอกว่าควรมีการเเก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.ภาพยนตร์ใหม่ 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ศึกษา #1 ราชวงศ์สเปนซึ่งได้รับงบประมาณน้อยที่สุดในยุโรป

Posted: 11 Aug 2017 01:57 AM PDT

เล่าเรื่องการบริหารทรัพย์สินของราชวงศ์สเปนซึ่งกษัตริย์พระองค์ก่อนเคยมีพระราชดำรัสไม่ยอมรับการก่อรัฐประหาร รับงบรายปีจากรัฐ ทรัพย์สิน ที่ดิน ผืนป่ายกให้รัฐดูแล  พิษวิกฤติเศรษฐกิจ แรงกดดันสังคมทำราชสำนักเปิดเผยบัญชีรายรับ-จ่าย โปร่งใสจนเปิดรายได้สมาชิกพระราชวงศ์

ประชาไทพาผู้อ่านเปรียบเทียบการจัดการทรัพย์สินของสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ยกตัวอย่างกรณีของสเปน ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร เพื่อให้ผู้อ่านพิจารณาแนวทางอันหลากหลายและไม่ตายตัวในการจัดการทรัพย์สินของสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งมีเงื่อนไขและบริบทแตกต่างกันออกไป โดยตอนแรกจะนำเสนอกรณีบริหารจัดการของราชวงศ์สเปน โดยข้อมูลส่วนใหญ่มีให้ดูอย่างเปิดเผยและละเอียดในเว็บไซต์ของสำนักพระราชวังของแต่ละประเทศ

ราชอาณาจักรสเปน: กษัตริย์งบน้อยที่สุดในยุโรป เปิดข้อมูลโปร่งใส ร่วมรัดเข็มขัดไปพร้อมกับราษฎร ออกรับผิดชอบทั้งขึ้นศาล แถลงขอโทษเมื่อมีข่าวฉาว

เมื่อปี 2557 สำนักข่าว เดอะ โลคอล รายงาน ว่า รัฐบาลสเปนได้ประกาศงบประมาณที่จัดสรรให้พระราชวงศ์ประจำปี 2558 มีจำนวนราว 7 ล้าน 8 แสนยูโร ทำให้สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 ประมุขแห่งสเปนพระองค์ใหม่ที่เพิ่งขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระราชาธิบดีฆวน คาร์ลอส กษัตริย์พระองค์ก่อนเป็นกษัตริย์ที่ "ราคาถูก" ที่สุดในยุโรป (Europe's cheapest) (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

Felipe de Borbón en Ecuador.jpg

สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 แห่งสเปน (ที่มา:วิกิีพีเดีย)

ตามรัฐธรรมนูญสเปน มาตรา 65 ระบุว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ได้รับงบประมาณแผ่นดินที่อนุมัติโดยรัฐสภา และนำงบดังกล่าวมาจัดสรรได้อย่างอิสระภายใต้วัตถุประสงค์แห่งการดูและรักษาและบริหารจัดการในพระราชวัง สำนักพระราชวังสเปนระบุว่า วัตถุประสงค์ของการได้มาซึ่งงบประมาณ เป็นไปเพื่อที่จะให้ประมุขแห่งรัฐปฎิบัติหน้าที่ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญได้อย่างเป็นเอกเทศ มีประสิทธิภาพและสมพระเกียรติ โดยงบประมาณดังกล่าวนำมาใช้เป็นเงินรายได้แก่พระราชวงศ์ ค่าจ้าง ค่าเดินทางแก่บุคลากรและข้าราชการในสังกัด รวมถึงเป็นเงินจับจ่ายใช้สอยต่างๆ

2016 Exercise

แผนภูมิรายจ่ายเป็นสัดส่วนจากงบประมาณที่ได้รับของราชวงศ์ในปี 2559 (จากบนลงล่าง: รายจ่ายบุคลากรร้อยละ 49.30 ค่าใช้จ่ายสำหรับสินค้าและบริการร้อยละ 37.67 รายได้สมาชิกพระราชวงศ์ เงินลงทุน ร้อยละ 2.51 และเงินทุนสำรองจ่ายร้อยละ 2 ที่มา: Casa de S.M. El Rey)

2016 Exercise

เงินรายได้สมาชิกพระราชวงศ์ในปี 2559 ได้รับการเปิดเผยในเว็บไซต์สำนักพระราชวัง (จากบนลงล่าง ตำแหน่งพระมหากษัตริย์ 236,544 ยูโร พระราชินี 130,092 ยูโร อดีตกษัตริย์ ฆวน คาร์ลอส 189,228 ยูโรและอดีตพระราชินี ดอนยา โซเฟีย 106,452 ยูโร ที่มา: Casa de S.M. El Rey)

แม้ตามกฎหมายจะระบุให้การจัดสรรงบประมาณอยู่ภายใต้พระราชอำนาจของประมุข แต่ในทางปฏิบัติ ประมุขก็มีกลไกในการช่วยเหลือในเชิงการบริหารจัดการ ในเว็บไซต์ของสำนักพระราชวังของสเปนระบุว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบการบริหารจัดการงานด้านเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง ร่างงบประมาณและรับรองบัญชีงบประมาณรายปีคือสำนักพระราชวัง โดยเลขาธิการสำนักพระราชวัง (Head of the Household) จะรับผิดชอบหน้าที่ดังกล่าว

ในประเด็นการเสียภาษี รัฐธรรมนูญสเปนไม่ได้ยกเว้นการเสียภาษีให้กับประมุขและสมาชิกของราชวงศ์ กระนั้น ในปี 2557 องค์หญิงคริสตินาถูกฟ้องฐานเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดให้ อินยากี อูรดานการิน สามีที่เป็นอดีตนักกีฬาแฮนด์บอลในกีฬาโอลิมปิกกระทำการหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี ปัจจุบันพระองค์พ้นผิดฐานเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด ในขณะที่สามีต้องโทษจำคุก 6 ปี 3 เดือน ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศที่สมาชิกราชวงศ์ถูกดำเนินคดีอาญา

นอกจากนั้น ราชสำนักยังเปิดเผยบัญชีรายรับ-รายจ่ายประจำปีของสถาบันพระมหากษัตริย์เอาไว้ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมาเนื่องจากแรงกดดันจากสังคมที่มาจากวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำที่ทำให้รัฐบาลต้องออกมาตรการรัดเข็มขัดทางเศรษฐกิจ ณ ขณะนั้น ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์เองก็ร่วมในมาตรการนี้ด้วย สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นของสหรัฐฯ รายงานว่า กษัตริย์ฆวน คาร์ลอส กษัตริย์พระองค์ก่อนมีรายได้ปีละประมาณ 3 แสน 8 หมื่นดอลลาร์สหรัฐฯ และเจ้าชายเฟลิเปซึ่งเป็นรัชทายาท ณ ขณะนั้นมีรายได้น้อยกว่าประมาณครึ่งหนึ่ง โดยงบประมาณที่เปิดเผยตั้งแต่ปี 2554 เรื่อยมาจนปัจจุบันมีแนวโน้มลดลง โดยปี 2554 มีงบประมาณอยู่ที่ราว 8 ล้าน 4 แสนยูโร จากนั้นค่อยๆ ลดลงมาจนปีงบประมาณ 2560 เหลือราว 7 ล้าน 8 แสนยูโร

Annual Budgets

งบประมาณรายปีที่รัฐจัดสรรให้ราชวงศ์ตั้งแต่ปี 2554 ถึงปัจจุบัน 

นอกจากงบประมาณรายปีที่ได้แล้ว ราชวงศ์ของสเปนก็มีทรัพย์สินอื่นๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน อาคาร พระราชวัง สวนหรือราชวัตถุทางศิลปะเช่นงานจิตรกรรม งานปั้น อาวุธยุทธภัณฑ์โบราณ แต่ทรัพย์สินดังกล่าวถูกยกให้เป็นของรัฐในลักษณะที่ทางราชวงศ์จะยังใช้ประโยชน์ได้ ในขณะเดียวกันรัฐก็สามารถนำทรัพย์สินมาใช้ได้ในหลายโอกาส เช่นราชพิธีสำคัญ และให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ด้วยฐานที่เป็นวัตถุทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมของชาติและยุโรป ทรัพย์สินดังกล่าวจะถูกบริหารจัดการโดยองค์กรมรดกแห่งชาติ (Patrimonio Nacional) ปัจจุบันองค์กรดูแลพระราชวัง 8 แห่ง พระที่นั่งอีก 5 แห่ง และโบสถ์หลวงอีก 10 แห่ง ซึ่งทั้งหมดเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ วัตถุทางประวัติศาสตร์และศิลปะอีกมากกว่า 154,000 ชิ้น นอกจากนั้นยังมีป่าอีก 20,500 เฮกตาร์หรือราว 205 ตร.กม. สวนประวัติศาสตร์ 589 เฮกตาร์หรือราว 5.89 ตร.กม. และสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว รวมทั้งยังดูแลทรัพย์สินที่ยกให้พระราชวงศ์ใช้ และทรัพย์สินที่ราชวงศ์พระราชทานให้รัฐใช้ นอกจากนั้น องค์กรมรดกแห่งชาติยังเปิดพิพิธภัณฑ์ให้ประชาชนเข้าชมได้ โดยมียอดผู้เข้าชมเฉลี่ยถึงปีละ 3 ล้านคน

พระราชวังกรุงมาดริด (ที่มา: esmadrid.com)

สำนักข่าว บีบีซี ของอังกฤษ รายงานว่า อดีตกษัตริย์ฆวน คาร์ลอส ได้รับเลือกจากจอมพลฟรานซิสโก ฟรังโก ผู้นำเผด็จการทหารของสเปน ให้ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ปี 2518 และถูกวางตัวให้เป็นผู้สืบทอดระบอบเผด็จการนิยมเช่นว่านั้นต่อจากฟรังโก แต่พระองค์มีความพยายามที่จะสถาปนาการปกครองระบอบรัฐสภาแบบมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จนกระทั่งปี 2523 หลังฟรังโกเสียชีวิต สเปนเผชิญกับวิกฤติความมั่นคงและเศรษฐกิจจนนายกรัฐมนตรี อดอลโฟ ซัวเรซ ประกาศลาออก หนึ่งสัปดาห์หลังจากนั้น พันโทอันโตนิโอ เตเฆโร โมลินา พยายามก่อรัฐประหารด้วยการบุกเข้ายึดสภาผู้แทนราษฎรหรือที่เรียกว่า คอร์เตส พร้อมจับ ส.ส. ในสภาเป็นตัวประกัน

ท่ามกลางสภาวะวิกฤติที่ประเดประดังใส่ระบอบประชาธิปไตยที่กำลังตั้งไข่ กษัตริย์ฆวน คาร์ลอสมีพระบัญชาให้หน่วยงานราชการทำหน้าที่แทนรัฐสภา และเมื่อเวลา 01.15 น. ของวันที่ 24 ก.พ. ปีเดียวกัน กษัตริย์ฆวน คาร์ลอสปรากฏพระองค์ในชุดทหารทางสถานีโทรทัศน์ของรัฐ และมีพระราชดำรัสว่าพระองค์จะไม่ยอมทนกับการก่อรัฐประหาร ซึ่งขณะนั้นกลุ่มผู้ก่อการก็ได้ยอมแพ้ไปแล้วเนื่องจากขาดเสียงสนับสนุนจากประชาชนและภายในหมู่ทหารด้วยกันเอง

Embed from Getty Images

ซ้ายไปขวา: นายพลฟรานซิสโก ฟรังโก เจ้าชายฆวน คาร์ลอส (ที่มา: Gettyimage/Hulton Royal Collection)

กษัตริย์ฆวน คาร์ลอส ประกาศสละราชบัลลังก์ให้เจ้าชายเฟลิเปในปี 2557 เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากเกิดข่าวอื้อฉาวกรณีที่พระองค์เสด็จประพาสล่าช้างที่ป่าบอตสวานาในปี 2555 ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจในสเปนและสหภาพยุโรป ทำให้ชาวสเปนไม่พอใจที่ผู้เป็นประมุขไม่อยู่เคียงข้างกันภายใต้สภาวะวิกฤติเช่นนั้น ซึ่งพระองค์ก็ได้ออกมาแถลงขอโทษประชาชนในภายหลัง

แปลและเรียบเรียงจาก

Spain's monarchs reveal finances for first time, CNN, December 29, 2011

Spain's King Juan Carlos under fire over elephant hunting trip, The Guardian, April 15, 2012

Profile: Spain's Juan Carlos, BBC, June 19, 2014

TRANSPARENCIA, Casa de S.M. El Rey, Retrieved on August 11, 2017

The Spanish Constitution, boe.es, Retrieved on August 11, 2017

Spain's Princess Cristina cleared of tax fraud, as husband gets six years on corruption charges, The Telegraph, February 17, 2017

Royal Sites, Casa de S.M. El Rey, Retrived on August 11, 2017

The Institution, Patrimonio Nacional, Retrived on August 11, 2017

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมอ. แจง 'ร้านทุกอย่าง 20 บาท' ยังขายได้ เว้นสินค้าไร้ มอก. 105 รายการ

Posted: 11 Aug 2017 12:12 AM PDT

เลขาฯ สมอ. ระบุผู้ประกอบการยังจำหน่ายสินค้า 20 บาท ได้ตามปกติ ยกเว้นบางรายการที่ต้องได้รับมาตรฐาน มอก.ภาคบังคับ เช่น จุกนมเด็ก ไฟแซ็ค สีชอล์ก แนะรู้แล้วต้องนำออกจากจุดขายทันที พร้อมส่งเจ้าหน้าที่สุ่มตรวจทุกเดือน

11 ส.ค.2560 จากกรณีที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. มีนโยบายควบคุมคุณภาพสินค้าบางรายการของร้านค้า 20 บาท หลังจากที่มีการร้องเรียนจากผู้บริโภคหลายรายว่าซื้อสินค้าไปแล้วเกิดความเสียหาย และมีการเรียกผู้ประกอบการร้านที่เช่าพื้นที่ตามห้างสรพพสินค้าเข้ามาหารือ จนทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า สมอ. จะห้ามขายสินค้าทุกรายการจากการนำเสนอของสื่อมวลชนสำนักต่างๆ และเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์นั้น

ไทยพีบีเอส รายงานว่า วานนี้ (10 ส.ค.60) พิสิฐ รังสฤษฏ์วุฒิกุล เลขาธิการ สมอ. กล่าวถึงกระแสข่าวการเข้มงวดดำเนินคดีร้านจำหน่ายสินค้าทุกอย่าง 20 บาท เนื่องจากมีผู้ร้องเรียนสินค้าไม่ได้มาตรฐาน ว่า ผู้ประกอบการยังสามารถจำหน่ายสินค้าได้ตามปกติ ยกเว้นสินค้าบางรายการที่ต้องจำหน่ายให้เป็นไปตาม มอก. ภาคบังคับ 105 รายการ เช่น ไฟแซ็ค ไม้ขีดไฟ แอลกอฮอล์แข็ง จุกนมเด็ก ผงซักฟอก ปลั๊กไฟสายพ่วง สีเทียน สีชอล์ก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรืออาจมีสารโลหะหนักปนเปื้อน หากพบจะมีโทษปรับ 5,000-50,000 บาท หรือจำคุก 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ

เบื้องต้น สมอ.จะยังไม่ดำเนินการจับปรับ หรือสั่งปิดร้านจำหน่ายสินค้า พร้อมขอให้ผู้ประกอบการปรับตัวโดยเร็วที่สุดและนำสินค้าออกจากจุดขายทันที เพราะเจ้าจะลงพื้นที่สุ่มตรวจทุกเดือน หากผู้ประกอบสงสัยว่าอาจมีผู้แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ สมอ.ไปตรวจจับหรือปรับ ให้ขอดูบัตรประจำตัว หรือแจ้งตำรวจท้องที่ นอกจากนี้จะประสานกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) ในการสืบสวนสอบสวนผู้ผลิตสินค้าไม่ได้มาตรฐาน มอก.

"ผมเห็นใจผู้ประกอบการและประชาชนโดยให้โอกาสปรับตัว ไม่มีเจตนาจะดำเนินคดีกับผู้ที่สุจริต แต่ไม่ใช่การละเลยการปฏิบัติหน้าที่ เรามีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ หากคุณมีลูกแล้วไปอมจุกนมที่ไม่ได้มาตรฐานจนสมองพิการล่ะ เราไม่ได้ห้ามขายทุกอย่าง เพราะผมเองก็เป็นลูกค้าร้าน 20 บาท ซื้อไม้แขวนเสื้อ แปรงซักผ้า" พิสิฐ กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

13 ปีที่รอคอย พนง.โรงแรมมาเลเซียสู้จนได้ข้อตกลงสภาพการจ้างคืน

Posted: 10 Aug 2017 11:07 PM PDT

หลังโรงแรม 'ปิดปรับปรุง-เปลี่ยนชื่อ-เปิดใหม่' จ้างพนักงานเดิมภายใต้ข้อตกลงสภาพการจ้างใหม่ ทำให้เสียสวัสดิการต่าง ๆ ล่าสุดศาลมาเลเซียตัดสินให้พนักงานโรงแรมแชงกริ-ลาของมาเลเซีย กลับไปใช้ข้อตกลงสภาพการจ้างย้อนหลังก่อนที่โรงแรมจะปิดปรับปรุง หลังสู้กันมาถึง 13 ปี ที่มาภาพ: IUF

11 ส.ค. 2560 กรณีสถานประกอบการปิดปรับปรุงและเปิดใหม่โดยเปลี่ยนชื่อและว่าจ้างพนักงานเดิมกลับเข้าทำงาน แต่กลับเปลี่ยนสภาพการจ้างพนักงานเหล่านั้นให้เป็นเหมือนพนักงานใหม่ ซึ่งทำให้พนักงานเสียสิทธิสวัสดิการที่สะสมมารวมทั้งสภาพการจ้างงานใหม่ที่ไม่เป็นธรรม นอกจากจะพบเห็นในประเทศไทยแล้ว ประเทศเพื่อนบ้านเราอย่างมาเลเซียก็มีเช่นกัน

โดย เว็บไซต์ iuf.org ของสมาคมสหภาพแรงงานอาหาร เกษตรกรรม โรงแรม ภัตตาคาร การบริการอาหาร ยาสูบและแรงงานพันธมิตรระหว่างประเทศ (IUF) ได้รายงานเมื่อต้นเดือน ส.ค. 2560 ที่ผ่านมาว่าพนักงานในเครือโรงแรมแชงกรี-ลา (Shangri-La) ซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานโรงแรมและร้านอาหารแห่งมาเลเซีย (NUHBRW) ได้สิทธิข้อตกลงสภาพการจ้างย้อนหลังคืน หลังต่อสู้ในชั้นศาลยืดเยื้อมายาวนานถึง 13 ปี

ในเดือน ธ.ค. 2547 โรงแรมแชงกรี-ลาได้ปิดโรงแรม Rasa Sayang Resort สาขาที่ปีนัง เพื่อปรับปรุงแล้วเปิดใหม่เปลี่ยนชื่อเป็น Rasa Sayang Resort and Spa ในปี 2549 และได้ให้พนักงานเดิมกลับเข้าทำงาน แต่ไม่ได้ใช้ข้อตกลงสภาพการจ้างเดิมที่เคยทำกับสหภาพแรงงานไว้ เหมือนเป็นการจ้างพนักงานใหม่ซึ่งทำให้พนักงานเสียสิทธิสวัสดิการที่สะสมมา ทั้งอัตราค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ภายใต้ข้อตกลงเดิม

จากนั้นสมาชิกสหภาพแรงงาน NUHBRW ได้ดำเนินการประท้วงและยื่นเรื่องฟ้องต่อศาล ซึ่งโรงแรมแชงกริ-ลาก็ได้เปิดการต่อสู้ทางกฎหมายกับสหภาพแรงงานโดยทันที และการต่อสู้ในชั้นศาลพึ่งมายุติเมื่อเดือน เม.ย. 2560 ที่ผ่านมา โดยศาลมาเลเซียได้ตัดสินให้โรงแรมแชงกรี-ลา 'คืนสิทธิ' ให้พนักงานกลับไปใช้ข้อตกลงสภาพการจ้างเดิม หลังจากผ่านไป 13 ปีนับตั้งแต่ปี 2547

อนึ่งข้อมูลจาก Wikipedia (เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 10/8/2560) ระบุว่าปัจจุบันโรงแรมในเครือแชงกรี-ลา ดำเนินการทั่วโลก 99 แห่ง ด้วยห้องพักกว่า 38,000 ห้อง กระจายอยู่ในเอเชีย, ยุโรป, ตะวันออกกลาง และออสเตรเลีย โดยในมาเลเซียมีโรงแรมในเครือแชงกรี-ลา 9 แห่ง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ถก ‘เซ็กส์แฟร์ๆ’ เพจ Thaiconsent: เซ็กส์ต้องยินยอม-meaning มาก่อน performance

Posted: 10 Aug 2017 10:08 PM PDT

วงเสวนา "เซ็กส์แฟร์ๆ เพราะเราแคร์" แอดมินเพจ Thaiconsent ชี้ทุกขั้นตอนของเพศสัมพันธ์ต้องได้รับความยินยอมจากทั้งสองฝ่าย เซ็กส์ไม่ใช่แค่รู้วิธีป้องกันแล้วจบ - เสนอเปิดพื้นที่พูดคุยเรื่อง consent พูดถึงเพศสัมพันธ์ในเชิง meaning มากกว่า performance

เมื่อวันที่ 5 ส.ค. ที่ผ่านมา แผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ จัดงานเสวนา "เซ็กส์แฟร์ๆ เพราะเราแคร์" ถึงเวลาสังคมไทยต้องเข้าใจ Sexual Consent ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร ชั้น 3 อาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์  โดยหนึ่งในวิทยากร คือ วิภาพรรณ วงษ์สว่าง แอดมินเพจ Thaiconsent*

อ่านรายละเอียดของ sexual consent ได้ที่ ถก 'เซ็กส์แฟร์ๆ': 'ถ้า Yes นาทีนี้ นาทีต่อไป No ก็คือ No'

ต้อง consent ในทุกขั้นตอน

วิภาพรรณแบ่งขั้นตอนในการมีเพศสัมพันธ์ ออกเป็น 4 ขั้น ซึ่งแต่ละขั้นตอนจะต้องได้รับการ consent หรือการได้รับความยินยอมจากทั้งสองฝ่าย เริ่มจากการ หนึ่ง การจูบ สอง การเริ่มสัมผัสอวัยวะที่ปกติคนจะไม่อนุญาตให้จับ เช่น หน้าอก สะโพก สาม การกระตุ้นให้เกิดการถึงจุดสุดยอด เช่น ใช้มือ ใช้ปาก การสอดใส่

หลักเกณฑ์การได้รับการยินยอมนี้ใช้ได้กับทุกประเภทของการมีเพศสัมพันธ์ไม่เว้นแม้แต่เซ็กส์แบบ BDSM

supporter ควรเอื้อให้เหยื่อเข้าถึงมืออาชีพ เมื่อเรื่องลงโซเชียลจะยากเกินควบคุม

วิภาพรรณกล่าวว่าในเรื่องการละเมิดทุกเพศทุกวัยมีโอกาสเป็นผู้ถูกกระทำ ยิ่งเกิดกับผู้ชายยิ่งพูดยากกว่าผู้หญิง และประเด็นสำคัญคือ เมื่อเกิดการละเมิด คนที่ผู้ถูกกระทำจะพึ่งพาคือ supporter คือ เพื่อนหรือคนที่ไว้ใจ แต่คนเหล่านั้นก็ไม่ได้ฟังก์ชั่นทุกคน ไม่มีความรู้ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ต้องกลับมาพิจารณาตัวเองว่าในชีวิตประจำวันเราส่งเสริมมุกตลกเหยียดเพศไหม เราได้เอื้อให้เกิดสิ่งนี้รึเปล่า เช่นการพูดว่า "มึงพาเขาไปกินเหล้า เดี๋ยวกูเตรียมห้องให้"

งานวิจัยในอเมริกาบอกว่า ครึ่งหนึ่งของเหตุละเมิด ก่อนเกิดเหตุถ้ามีคนนอกไปช่วยเหลือมันจะป้องกันได้

แต่เมื่อเกิดเหตุแล้ว supporter ก็ควรเอื้อให้เขาเข้าถึงมืออาชีพ เช่น ศูนย์พึ่งได้ (โครงการของกระทวงสาธารณะสุข) นักจิตวิทยา นักสิทธิทางด้านเพศ ฯลฯ มืออาชีพจะตัดสินให้เขาได้รับความเป็นธรรมเอง

supporter ไม่มีความรู้ อาจไม่จำเป็นต้องช่วยเขาทุกขั้นตอน การใช้สังคมหรือโซเชียลช่วยกดดัน เช่น ในหลายเคสอยากช่วยเพื่อนแต่ไม่เชื่อในกระบวนการยุติธรรม เรื่องราวมันอาจบานปลายใหญ่โต มีคนมุงมากมาย

เนื่องจากเมื่อเรื่องลงโซเชียลแล้ว จะมีคนมาเชียร์ฝ่ายเสียหาย มีคนให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม มีคนตั้งคำถามกับกระบวนการยุติธรรม มีคนเรียกร้องให้เอาเรื่องมาแจกแจงทั้งสองฝ่าย ซึ่งไม่เป็นผลดีกับทั้งเหยื่อและคู่กรณี ดังนั้นคนมุงควรมีสติในการมุง เราควบคุมเหยื่อและฝูงชนไม่ได้ แต่เราควบคุมตัวเองได้ เหยื่อบางคนแค่อยากเห็นการรู้สึกผิด ไม่ได้ต้องการแจ้งความ หรือต้องใช้เวลา ต้องรอให้เขาพร้อม

การเคลื่อนไหวในกระบวนการยุติธรรมทางเพศก็คือการทำให้คนคนหนึ่งเปลี่ยนจาก victim เป็น fighter ซึ่งจะเป็นแบบนั้นได้โรงเรียนก็ต้องมีหลักสูตรที่สอนเรื่อง consent นี้ ถ้าในสถาบันการศึกษายังมีกิจกรรมให้น้องผู้ชายถอดเสื้อ แล้วให้ลูบไล้ ดังนั้นเราจะไปสู่จุดนั้นได้อย่างไร

เปิดพื้นที่คุยเรื่อง consent เน้น meaning มากกว่า performance

วิภาพรรณเสนอเรื่องหลักการในการสื่อสาร คือ หนึ่ง ต้องทำงานกับความรู้สึกผิดให้ได้ก่อน ทุกคนเคยผิดพลาด จะดึงคนพวกนี้มาสู่กระบวนการได้อย่างไร เปลี่ยนความรู้สึกผิดเป็นความเต็มใจที่จะทำให้สังคมดีขึ้นอย่างไร

สอง ทำให้เกิดความมั่นใจในทางเพศ คนที่ใช้อำนาจในความสัมพันธ์คือคนที่ไม่มั่นใจ เช่น ถ้าไม่กินเหล้าก็จะไม่ได้สาว ควรมีวิธีคิดเปลี่ยนเป็น "ฉันไมได้ ฉันก็ไม่เป็นไร ฉันไม่ได้แย่"

สังเกตว่าคอลัมน์ในนิตยสารส่วนใหญ่จะสอนเรื่องเซ็กส์แต่ในเชิง performance คือ การแสดงออกให้เกิดความประทับใจ ทำอย่างไรให้เขาชอบ ทำท่าไหน แบบไหน วิธีไหน ซึ่งมันอาจเป็นการพูดเพื่อกดทับให้คนเกิดความมั่นใจน้อยลง เพื่อที่เขาจะได้ขายของเสริมความมั่นใจแก่เรา แต่ไม่มีเรื่อง meaning เช่น ความหมายของเซ็กส์ หรือความหมายของเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ต้องได้รับความยินยอม ดังนั้นเรื่องของการมีเซ็กส์แบบเข้าใจกันและมีความหมายต้องถูกพูดถึงมากกว่านี้

สาม สังคมและเพื่อนๆ ควรตั้งใจฟังเรื่องเซ็กส์อย่างลึกซึ้ง มีหลายเคสที่ส่งเรื่องเข้ามาในเพจแล้วบอกว่าเรื่องนี้ไม่เคยบอกพ่อแม่ เพื่อน หรือแฟน ทำให้เห็นว่าพื้นที่เรื่องเซ็กส์ที่จริงจังยังไม่มากพอในสังคมเรา ต้องมีการ support เรื่องนี้ตั้งแต่เด็ก ในเมืองนอกเด็กบอกได้ว่าไม่อยากให้หอมแก้ม ในขณะที่ไทยเรายังมีรูปที่นายกฯ หอมแก้มเด็ก

ดังนั้นเซ็กส์ไมใช่แค่รู้วิธีป้องกันแล้วจบ แต่มีเรื่องราวอย่างอื่นที่มากกว่านั้น และสังคมต้องเปลี่ยนทัศนคติที่ว่าคนเมาเหล้า เมายา แต่งตัวไม่มิดชิดจะเป็น object ให้ใครทำอะไรก็ได้

และสุดท้ายวิภาพรรณตั้งข้อสังเกตว่า ผู้หญิงถูกละเมิดมีองค์กรที่พร้อมช่วย LGBT ถูกละเมิดก็มีองค์กรเฉพาะ แต่ขณะที่ผู้ชายถูกละเมิด ไม่มีใครช่วย เพราะผู้ชายพูดยากกว่าผู้หญิง

ที่มาของ Thaiconsent

เพจ Thaiconsent เปิดตัว 1-2 เดือนที่ผ่านมา แต่มียอดฟอลโลวกว่า 30,000 คน โดยเพจเปิดโอกาสให้คนทั่วไปเขียนมาเล่าประสบการณ์ทางเพศแบบไม่ต้องบอกชื่อ

วิภาพรรณเล่าถึงที่มาของโครงการว่า เริ่มจากเพื่อนถูกแอบถ่ายในห้องน้ำ แต่เพื่อนให้เขาเข้าห้องมาเอง เธอพาเพื่อนไปแจ้งความแล้วพบว่าขั้นตอนง่าย แต่ถูกทำให้ยากโดยเพื่อนและคนในสังคม เพราะเพื่อนส่วนใหญ่จะบอกว่าก็เปิดโอกาสให้เขาเข้ามาในห้องเอง จึงเป็นที่มาของโครงการเกี่ยวกับเรื่อง sexual consent แต่เนื่องจากยังอยู่ในช่วงเรียน จึงยังไม่ได้ทำอย่างเต็มที่

ต่อมาเมื่อเริ่มโครงการได้ 2 ปี มีเพื่อนมาเล่าประสบการณ์ของเรื่องทำนองนี้ถึง 7 คน ซึ่งไม่ใช่จำนวนที่น้อย เธอจึงเริ่มทำเพจเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากหลากหลายเพศ การเปิดให้คนส่งเรื่องโดยไม่บอกชื่อ ซึ่งเธอมองว่าแม้อาจเป็นเรื่องไม่จริง แต่ได้อินไซต์ ได้ความลึกของเรื่องที่เล่า

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เรื่องสั้น: ถอนฟัน

Posted: 10 Aug 2017 05:02 PM PDT



ผมทนอาการปวดเป็นเวลานาน ตั้งแต่รู้สึกเจ็บจิ๊ดตรงฟันกรามด้านซ้ายบน รองซี่สุดท้าย ใช้ลิ้นดุนจึงรู้ว่ามันมีรู เมื่อต้องดื่มน้ำเย็นหรือกินของร้อน ผมต้องใช้ลิ้นดุนปิดรูฟันซี่นี้เสียทุกครั้ง เพื่อบรรเทาอาการปวด

ทีแรกผมไม่ใส่ใจ พอนานเข้า ไม่อาจทนอีกต่อไป อาการปวด เร้าให้ต้องไปโรงพยาบาล ขึ้นนอนบนเตียงอ้าปากให้หมอดูฟัน แล้วสารพัดเครื่องมือทันตกรรมในมือหมอ เข้าแคะเคาะฟันซี่ที่มีปัญหา หลายครั้งต้องสะดุ้งตัวโหย่งเกือบลุกขึ้นนั่ง

"เจ็บขนาดนั้นเลยหรือ" ผมไม่แน่ใจว่าหมอถาม หรือว่าอุทานที่เห็นผมแสดงอาการเจ็บปวด "จะถอนออกเลยมั้ย" คุณหมอถาม ผมนึกถึงการกินต้องใช้ฟันกรามเคี้ยวอาหาร ทุกวันนี้ก็เป็นฟันกรามด้านซ้ายนี้ทำหน้าที่ ส่วนฟันกรามด้านขวาผมถอนมันทิ้งทั้งบนล่าง ใช้การไม่ได้นานแล้ว ทีนี้ ถ้าผมถอนซี่นี้อีกคงต้องใช้ฟันหน้าเคี้ยวอาหารแทนฟันกรามแน่นอนอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง ผมเกิดความรู้สึกเสียดายขึ้นมา

"ไม่มีวิธีไหนที่จะเก็บรักษาฟันซี่นี้อีกแล้วเหรอครับ" ผมถาม

"รูมันค่อนข้างลึกนะ" แม้ผมจะถูกปิดหน้าด้วยผ้าช่องทันตกรรมไม่ให้มองเห็น แต่ฟังจากน้ำเสียงคุณหมอ ใจผมไม่สู้จะดีนัก คุณหมอคงทายใจผมออก  "หมอจะเอ็กซเรย์ดูว่าสามารถอุดได้หรือไม่" ผมใจชื้นขึ้นมา แล้วผู้ช่วยหมอฟันเปิดผ้าช่องให้ บอกผมลุกลงจากเตียงไปยังห้องเอ็กซเรย์

ผมนั่งรอหมออยู่หน้าห้องทำฟันครู่ใหญ่ ผู้ช่วยหมอฟันมาเรียกไปฟังผลการเอ็กซเรย์

"หมอจะลองอุดให้ก่อนนะ ถ้ามันไม่ไหวค่อยมาเอาออกนะ" คุณหมอฟันแนะนำ ความหวังที่ฟันยังอยู่คู่ปากรำไรขึ้นมา

เมื่อคุณหมอทำการอุดฟันให้เป็นที่เรียบร้อย ผมขอบคุณร่ำลา เดินออกจากโรงพยาบาลภาวนาในใจ ขออย่าได้กลับมาในสถานที่นี้อีกเลย เลี่ยงได้เลี่ยง หลีกได้หลีกไปไกลๆ คิดถึงธราธิปขึ้นมา พี่ท่านเคยเกริ่นกล่าวมาแล้ว ขึ้นต้นด้วยคำว่า "โรง" ไม่ว่า โรงเรียน โรงพัก โรงพยาบาล อย่าได้เฉียดกายเข้าใกล้ เว้นเสียก็แต่ ถึงโรงเหล้า เตากลั่น ควันโขมง...

กลับถึงบ้าน ลองใช้ฟันที่ผ่านการอุดรูมาหมาดๆ เคี้ยวโน่นกินนี่ ผลการใช้งานยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้ จะเคี้ยวอาหารจะดื่มน้ำยังลำบาก ผมจึงหาวิธีบรรเทาปวดด้วยยาพาราเซตามอล ทุเลาลงชั่วครั้งชั่วคราว

ผมระมัดระวังเป็นพิเศษ กินดื่มต้องไม่เย็นไม่ร้อน จึงหลีกเลี่ยงการจะปวดฟันด้วย การกินดื่มไม่ให้ไปโดนฟันซี่ที่ปวด ระบบประสาทตรงรูมันคงเบาบางเต็มที ดื่มน้ำต้องหล่อน้ำเข้าปากให้พ้นฟันซี่เจ้ากรรม แต่ดันเป็นฟันซี่ที่อยู่ลึกเข้าไปในปากเสียด้วย จึงลำบากยิ่ง

คนรอบข้างเห็นใจในอาการทรมาน สารพัดวิธีแก้อาการปวดฟัน แนะนำเข้ามา อมเหล้า อมน้ำหมัก อมน้ำมนต์ อมรากไม้ ผมทำตามทุกคำแนะนำที่ว่าดี ทำแล้วหายจากการปวดฟัน กระทั่งยินยอมให้หมอผีรักษาด้วยวิธีไสยศาตร์

แม้ผมเป็นคนยากที่จะเชื่ออะไรง่ายๆ ทุกความเชื่อต้องมีเหตุเป็นผลรองรับ แม้แต่ความเชื่อในเรื่องศาสนา พระเจ้าของผมคงเป็นคนละองค์กับคนทั่วไป แต่ผมก็อยากรู้และอยากลอง เพื่อพิสูทธิ์ความเชื่อชนเผ่าของผมว่า ไม่มีแมงเจาะฟันจริงหรอก

ผมไปหาหมอผีชาวม้งที่บ้านดงสามหมื่น ถ้าหากเขารักษาฟันผมหายเจ็บด้วยวิธีของเขา ผมคงต้องนับถือเขามากว่าหมอฟันที่จบคณะทันตแพทย์อย่างแน่นอน

พอไปถึงหมู่บ้านได้ความว่าหมอผีท่านไม่อยู่ ไปเก็บสตอเบอรี่ ผมจึงดั้นด้นขับรถฝ่าเข้าไปในไร่สตอเบอรี่ที่อยู่ลึกเข้าไปในป่า พบกับแม่เฒ่าหมอฟันชาวม้ง กำลังคัดเกรดลูกสะตอเบอรี่ ผมทักทายบอกความประสงค์ที่ดั้นด้นมาหา

แม่เฒ่าเงยหน้ามองหัวเราะหึๆ ผ่านแววตาคล้ายจะบอกว่า มึงก็เชื่อด้วยหรือ แล้วแม่เฒ่าละมือจากเข่งตะกร้าสะตอเบอรี่ ลุกขึ้นบอกให้ผมคอย แล้วเดินออกจากเพิงพัก หายไปสักพักใหญ่ กลับมาพร้อมกับผักในมือกำใหญ่ ผมดูรู้เลยว่ามีใบบัวบก ผมพยายามถ่างตาดูจะได้เห็นชัดกว่าที่เห็น และสอบถามว่ามีผักอะไรบ้าง แต่แม่เฒ่าแกก็แกว่งมือไปมาไม่ให้เห็นชัดและปรามผมว่าอย่าเซ้าซี้ถามมาก

แล้วแม่เฒ่าก็เอาผักใบบัวบกนั้นมาสับบนเขียงพร้อมขยิบปากท่องคาถา ร่ายมนต์อยู่สักพัก แม่เฒ่าหมอผีใช้มีดกวาดเอาใบบัวบกถูกสับเละเป็นลาบนั้นลงใบตองกล้วยที่เตรียมไว้ แล้วนำมาให้ผม

"โปะไว้ข้างกรามตรงที่ปวดฟัน" แม่เฒ่าชาวม้งบอกผมด้วยภาษาปกาเก่อญอ ผมรับเอาห่อยาสมุนไพรที่ผ่านกรรมวิธีบริภาษด้วยคาถา โปะเอาไว้ตรงกรามอยู่พักใหญ่ แม่เฒ่าเดินมาหา เอายาที่โปะกรามออกมาดู ใช้ไม้ซี่เขี่ยยาสมุนไพรนั้นไปมา

"เจอหนึ่งตัวแล้ว นี่ไง" ผมเขยิบตัวชะโงกดู เห็นแมงตัวเล็กๆ คล้ายหนอน อยู่ในยาใบบัวบกที่ถูกสับ

มันคงเป็นหนอนที่อยู่ในข้อปล้องก้านใบบัวบกแน่ๆ ความไม่เชื่อของผมตั้งข้อสมุติฐานขึ้นมา ผมจึงรับเอาห่อยาและไม้ซี่จากมือแม่เฒ่า เขี่ยขุ้ยกองยาสับนั้นไปมา เจอเข้ากับหนอนเล็กๆนั้นอีกตัว ผมพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างตัวหนอนกับก้านใบบัวบก จึงได้ข้อสรุป มันเป็นไปไม่ได้ที่ตัวหนอนจะแทรกตัวอยู่ในก้านใบบัวบกนั้นได้ เพราะแมงหรือตัวหนอน ขนาดออกจะใหญ่กว่าก้านใบบัวบกเสียด้วยซ้ำ แล้วหนอนนี้มันมาจากส่วนไหนของยาสมุนไพรที่ถูกสับเละนี้ ผมพยายามจำแนกชนิดตัวยาออกมา ที่เห็นและรู้จักมีเพียงใบบัวบก ตัวยาชนิดอื่นไม่อาจแยกแยะได้ แม่เฒ่าเองไม่บอกยาตัวอื่นนอกจากใบบัวบก พอผมเส้าซี้แกก็ปิดปากผมด้วยคำพูด "เปิดเผยไม่ได้ เป็นความลับ ถ้าเปิดเผยคาถาจะเสื่อมความขลัง" 

แล้วผมเกิดความรู้สึกอาการเจ็ปปวดฟันได้คลายบรรเทาลง ตามด้วยความลังเลเริ่มมีมา หรือคาถาแม่เฒ่าได้ผลจริง แต่วิธีการรักษาของแม่เฒ่า ไม่อาจลบล้างเหตุผลที่คัดค้านอยู่ในหัวของผมได้ แค่เอาใบบัวบกมาสับให้เละแล้วโปะไว้ข้างแก้มตรงฟันกรามซี่ที่ปวดอยู่ มันจะส่งผลไปกระตุ้นระบบประสาทฟันให้มันหายปวดได้เชียวหรือ แล้วแมงหรือหนอนที่อยู่ในกองใบบัวบก ถ้ามันเป็นแมงที่มันกัดแทะฟัน คาถามันจะแรงถึงขั้นกระตุ้นให้แมงนั้นชอนไชออกมาแทงทะลุเนื้อหนังตรงกรามได้เชียวหรือ แม้ผมไม่เชื่อ แต่ผมไม่แสดงพฤติกรรมลบหลู่ออกมาให้แม่เฒ่าเห็น

"เท่าไหร่ครับ" ผมถามราคาค่ารักษาฟัน

"แล้วแต่จะให้" แม่เฒ่าบอก ผมดึงธนาบัตรหนึ่งร้อยบาทใบหนึ่งยื่นให้

"มากเกินไป สิบบาทยี่สิบบาทไม่มีเหรอ" แม่เฒ่าบอกจ้องหน้า

"แม่เฒ่าเก็บเอาไว้เหอะ ผมไม่ได้ร่ำรวยใจบุญเที่ยวแจกเงินหรอกนะ ผมพอใจที่จะจ่ายต่างหาก" ผมบอก แม่เฒ่ายื่นมือรับเงินลังเลอยู่ในที

"จะเอายานี้ไปด้วยมั้ย เผื่อไปทำต่อที่บ้าน" แม่เฒ่าเสนอผมยื่นมือรับห่อยาสมุนไพรนั้นทันที พร้อมกับความคิด ผมจะเอากลับไปพิสูทธิ์ความจริงให้กระจ่างใจ

ถึงบ้านผมแกะห่อยามากาง เอาไม้ซี่เขี่ยหาตัวหนอนอย่างละเอียดยิบ ไม่เจอแมงหนอนแม้ตัวเดียว ผมจึงเอายานั้นโปะตรงกรามข้างแก้มตรงฟันซี่ที่มันมีปัญหา โปะไว้สิบนาทีเห็นจะได้ แล้วเอาห่อยามากาง ใช้ไม้ซี่เขี่ยไปมาสำรวจอย่างละเอียดยิบ เจอกับหนอนเจาะฟันนั้นเข้าอีกตัว เป็นไปไม่ได้หรอกเราตรวจยานั้นไม่ละเอียดหรอกกระมัง ผมบอกตัวเอง จึงเอายาสมุนไพรนั้นโปะไว้อีกเป็นรอบที่สอง แล้วเอาไม้ซี่เขี่ยดู เจอกับหนอนแมงกินฟันนั้นเข้าอีกตัว ไม่อยากเชื่อ มันเป็นไปไม่ได้ ผมบอกกับตัวเอง ทำมันเช่นนี้จนกว่าแมงเจาะฟันนั้นหมดไปจากปาก ผมเลยโปะๆ เขี่ยๆ อยู่นับสิบรอบ แมงเจาะฟันคงหมดปากแล้วกระมัง เขี่ยขุ้ยอย่างไรก็หาไม่เจอ จึงยุติการรักษาฟันด้วยวิธีของหมอผีชาวม้ง

ผมหายปวดฟันอยู่หลายวัน แล้วเริ่มเจ็บจิ๊ดขึ้นมาเป็นทีเป็นครั้ง บางคืนยิ่งดึกยิ่งเจ็บถี่ ทีนี้ไม่เจ็บเฉพาะฟันกรามด้านบนซี่ที่มีปัญหาเท่านั้น มันเจ็บเสือกลงมาที่ฟันกรามด้านล่าง ตกดึกผมต้องพึ่งยาพาราเซตามอลอยู่หลายระลอก เช้าขึ้นลืมตาตื่นอาการปวดฟันชวนให้โมโห หาทางออกโดยสะพายเครื่องตัดหญ้า ออกจากบ้านแต่เช้าตรู่ เข้าสวน ระบายอาการปวดฟันด้วยการสะบัดเครื่องตัดหญ้า เสียสามสี่วัน จนสวนราวสามกว่าไร่ต้องเตียนโล่ง หลายคืนต่อมายาพาราเซตามอลไม่อาจบรรเทาลดความเจ็บปวดได้ ต้องเพิ่มตัวยาที่แรงขึ้นมาอีก ใช้"ยาแก้ปวดหัวยาว"ครั้งละสองซองทุกๆ สองชั่วโมงจนซองยาแก้ปวดหัวยาวเกลื่อนห้อง เป็นเช่นนี้นานต่อไปคงไม่ไหวแน่ จึงคิดหาวิธีใหม่ ถ้าตื่นขึ้นมาหลังหมดฤทธิ์ยา จึงนั่งทำสมาธิ ย้ายจิตออกจากอาการปวดฟันโดยการพยายามไม่คิดว่าฟันเจ็บและปวด ช่วงเข้าฌาณได้มันไม่ได้รู้สึกเจ็บปวด พอสมาธิแตกเท่านั้นแหละอาการปวดสุดทรมาน

ผมนั่งคิดยืนคิดนอนคิดพิจารณาหาสาเหตุการเจ็บปวดฟันที่เกิดขึ้น จนรู้ที่มาของอาการปวดฟัน มันไม่ใช่ฟันซี่ที่ทำการอุดก่อนหน้านี้ แต่เป็นฟันคุดที่ออกมา หรือคาถาแม่เฒ่าชาวม้งไปทำปฏิกริยากระตุ้นให้ฟันคุดด้านล่างแทงทะลุเหงือกออกมา  ผมเกิดสงสัยเล่นๆ ขึ้นมา ระหว่างฟันคุดกำลังขึ้นอย่างเจ็บปวด ก็มีเรื่องเข้ามาท้าทายความเชื่อ

"ฟันคุดกำลังขึ้น อย่าไปบอกต่อหน้าคนตั้งท้องเชียว ไม่งั้นต้องทนเจ็บปวดฟันคุดจนกว่าแม่หญิงนั้นคลอดลูก" ลุงเต่หวังดีเตือนผม

"มันคงไม่เกี่ยวกันหรอกมั้ง ฟันคุดขึ้นที่ปากของผม" ผมท้าทาย

"คนเฒ่าคนแก่เคยพูดเคยเตือนเอาไว้เขาคงประสบพบเจอเหตุมาแล้ว" ลุงเต่โน้มน้าวให้ผมคล้อยตาม

"หมู่บ้านเรามีใครกำลังตั้งท้อง ผมจะไปบอกพวกเขาว่าฟันคุดผมกำลังขึ้น" อาการปวดฟันชวนให้ผมท้าทาย แต่เรื่องนี้ก็ไม่ได้รับการพิสูทธิ์ เพราะไม่มีใครกำลังตั้งท้อง และความเชื่อนี้ก็ยังคงเป็นความเชื่อที่มีอยู่ในกลุ่มคนที่มีอายุและส่งต่อความเชื่อนี้มายังกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ยังฝังหัวพวกเขาอย่างลังเล แต่กับผมแล้วไม่ ผมอยากท้าทายและหาข้อพิสูทธิ์ความจริงให้ปรากฏออกมา

มันไม่มีแต่ความเชื่อเช่นนี้เท่านั้น พวกเราที่อยู่มากลางป่าบนเขาก็มีเรื่องราวการรักษาฟันและการจัดการฟันกันด้วยวิธีแปลกๆชวนหวาดเสียว กับการกัดเอาคมมีดปลายแหลมเพื่อเปิดเหงือกให้ฟันคุดโผล่พ้นเหงือกก็มีมาเป็นเรื่องเล่าสืบกันมา และอย่างตอนผมยังเด็ก เมื่อฟันน้ำนมโยกคลอนจะหมดอายุ พวกเราจัดการมันด้วยวิธีสุดแปลกแสนพิศดาร ขณะฟันน้ำนมโยกคลอนจะหลุดไม่หลุดรำคาญปากอยู่นั้น เพื่อนผมเห็นอาการเข้า จึงแนะนำและจะช่วยเอาฟันซี่ที่โยกนั้นออกจากปาก

"ไอ้โถ่เอ็งไปหาด้ายไนล่อนมา ที่บ้านข้าพ่อเลี้ยงหมาดำล้วนอยู่ตัวหนึ่ง วันนี้พ่อข้าไม่ไปไร่ เจ้าดำมันคงอยู่บ้านหรอก" พอไอ้เปาเพื่อนเกลอมันบอกเช่นนี้ พรรคพวกเราต่างโยกดูฟันของตัวเองกันยกใหญ่ มีบางคนโยกเล็กโยกน้อย มีเพียงผมที่โยกมากกว่าคนอื่น แล้วไอ้เปาอาสาจะทำการถอนฟัน ไอ้เมทีบอก แม่เขามีด้ายไนล่อนมันจะกลับไปเอา เมื่อได้ด้ายไนล่อนพรรคพวกก็แห่ส่งผมไปยังบ้านไอ้เปา เห็นเจ้าหมาดำนอนหมอบอยู่บนบ้านตรงหัวกระได

"เอ็งโชคดีโว้ยไอ้โถ่ หมาข้าอยู่บ้าน" ไอ้เปาหันมาบอกแล้วรีบปีนบันไดขึ้นบ้านไปกระเซ้าลูบหัวเจ้าหมาดำ พวกเราขึ้นไปยังบนบ้านไอ้เปาที่ยกพื้นสูงท่วมหัวผู้ใหญ่

"ไอ้ที เอ็งเข้าไปเอาสากครกในครัวมา ข้าจะผูกฟันไอ้โถ่" ไอ้เปาสั่งการแล้วเอาด้ายไนล่อนจากมือเมที แล้วบอกให้ผมอ้าปาก กรีดด้ายสายเล็กเข้าช่องไรฟันผม จัดการผูกเงื่อนมัดโคนฟันซี่ที่โยกนั้นได้เรียบร้อย มันลองดึงด้ายนั้นดู ผมนั้นหัวสะบัดไปตามแรงดึงและรำคาญปากอย่างมากที่มีด้ายไปมัดติดอยู่กับฟันซี่ที่โยก ซ้ำยังมีเลือดไหลออกมาต้องบ้วนน้ำลายทิ้งอยู่หลายครั้ง

"มาเซ เอ็งเอาปลายด้ายนี้มัดกับหางเจ้าดำนะ" ไอ้เปาสั่งการ ผมเกิดอาการขี้ขลาดขึ้นมาอยากยกเลิกปฏิบัติการถอนฟันนี้ เมื่อเห็นมาเซเอาปลายด้ายที่ยาวกว่าหนึ่งวาไปมัดกับหางเจ้าดำ "เอ็งจะไปกลัวทำไมวะ" ท่านหัวหน้าทันตกรรมออกอาการรำคาญ "เมทีเอ็งเอาสากครกให้ไอ้โถ่มัน" ท่านหัวหน้าคนต้นคิดสั่งการขณะมันลูบหัวเอาใจเจ้าดำไม่ให้มันตื่นแผ่นหนี ผมคิดด้วยความตื่นตระหนกอย่างตงิดๆ ตูไม่น่าตกลงรับปากไอ้เปามันเลย ผมมองดูปลายด้ายที่มัดติดหางเจ้าดำด้วยใจหวาวๆ "ทีนี้นะไอ้โถ่ เอ็งต้องใช้สากครกนี้ขว้างเจ้าดำให้มันหนีลงบันได เฮ่ ! เอ็งต้องถือสากครกนั้นด้วยมือซ้ายซิ เอ็งอย่าใช้มือขวาขว้างนะเดี๋ยวฟันจะไม่หลุด" เพื่อนเกลอหมอฟันเตือนให้คิดหนัก "เรียบร้อยนะ ข้าจะปล่อยเจ้าดำแล้ว" ทุกคนขยับที่เปิดทางโล่งลงบันไดให้ผมกับเจ้าดำ "ฉุ่ยพาซู พู ลอโข่ เด" เจ้าหัวหน้าทันตกรรมเพื่อนเกลอส่งเสียงไล่เจ้าหมาดำให้ลุกขึ้นจากการนอนหมอบ พรรคพวกสี่ห้าคนต่างดูอาการผม พวกมันหัวเราะคิกๆ คักๆ ต่างลุ้นใจระทึก ผมนี้ยืนใจแป้วยิ้มแหยๆ กึ่งสู้กึ่งกลัว เมื่อเจ้าดำลุกขึ้นยืน เพื่อนๆ ต่างส่งเสียงเชียร์ "เอ็งขว้างมันเลย" ด้วยความลังเลกึ่งกลัวกึ่งสู้ ผมจึงขว้างสากครกออกไปเบาๆ ไม่โดนเจ้าดำขยับตัว ทำท่าจะลงบันได ไอ้เปากระโดดเข้าควบจับเจ้าดำไว้อยู่มือ

"เอ็งจะฉิบหายแล้วมั้ยล่ะ" เจ้าหัวหน้าทันตกรรมตะคอกเข้าให้ "ขืนเอ็งทำเช่นนี้เจ้าดำมันจะลากเอ็งตกกระไดนะมึง กล้าๆหน่อยซิวะ" ท่านหัวหน้าตำหนิ ทำเอาจิตใจผมที่เคยว้าวุ่นเริ่มฮึดสู้ขึ้นมา เพื่อนๆ หัวเราะคิกๆ คักๆ กันอย่างขบขำ ผมรับสากครก ไอ้หมอเปาปลีกออกจากเจ้าดำ จังหวะผมหลับตาตะโกนก้องร้อง "เอี๊ยก" เหวี่ยงสากครกขว้างใส่เจ้าดำ มันรู้สึกเหมือนถูกพลังช้างสารตัวใหญ่ลากถูไปตามแรง ผมคะมำหน้าไปถึงหัวบันไดได้ขั้นที่หนึ่งขั้นที่สอง เห็นด้ายสีขาวหย่อนไหลตามหางเจ้าดำพร้อมกับแรงดึงชงักคลายทิ้งลงจากปาก หูของผมอื้ออึงไปด้วยเสียงหัวเราะของพรรคพวกกลบเกลื่อนอาการเจ็บและปวดชวนสยิวใจอยากร้องไห้ตอนเห็นด้ายสีขาวหย่อนไหลลงตามหางเจ้าดำ

ซาลงจากเสียงหัวเราะชอบใจสนุกสนาน พรรคพวกต่างลงจากเรือนออกแข่งกันตามหาฟันซี่ที่หลุดออกจากปากผม ไอ้ปอเป็นคนเจอแสดงอาการดีใจได้เป็นที่หนึ่งทำเพื่อนตาละห้อยอิจฉา มันยื่นฟันซี่นั้นให้หัวหน้าทันตกรรมผู้ถอนฟันด้วยวิธีพิศดาล ไอ้หมอเปาพิจารณาฟันซี่นั้นพร้อมตรวจดูปากผม แล้วบอกให้ผมเคี้ยวใบสาบเสือบอุดเอาไว้ตรงรอยแผล

"เอ็งเก็บฟันของเอ็งไว้อย่าให้หาย กลับไปฝังมันใต้เชิงก้อนเส้าเตาไฟบ้านเอ็ง เอาก้อนที่อยู่ฝั่งตะวันออกนะโว้ย ขืนฝังฟันกับก้อนตะวันตก ระวังฟันเอ็งจะไม่งอกนะโว้ย" ไอ้เปากำชับ ผมเก็บฟันซุกใส่กระเป๋ากางเกง เกิดสงสัยไอ้เปามันไปเรียนวิธีการจัดการฟันเช่นนี้ได้จากไหน แล้วเรื่องราวการถอนฟันของผมด้วยวิธีพิศดาลจากหมอเปา นักทันตกรรมบ้านป่ากระจายในหมู่เพื่อน ใครฟันโยกฟันคลอนเรียกใช้หมอเปา พวกเราจะแห่กันไปเชียร์ทั้งหมอเปาและคนป่วยอย่างสนุกครื้นเครง

หลังจากนั้นนานนับเดือน เพื่อนคนอื่นๆ ที่ถูกหมอเปาถอนฟันด้วยเจ้าหมาดำ ฟันพวกเขางอกขึ้นมาใหม่กันทุกคน เว้นแต่ผมคนเดียวที่ไม่มีทีท่าว่าฟันจะงอกขึ้นมาใหม่ จึงนำความไปปรึกษาหมอเปา

"เอ็งฝังมันอย่างที่ข้าบอกนะ" หมอเปาซักทำหน้าจริงจัง

"เปล่า ข้าทำมันหาย" ผมสารภาพเสียงอ่อย และกลัวกังวลว่าฟันจะไม่งอก

"กูนึกแล้วเชียว" ไอ้หมอเปาลากเสียงทำหน้าครุ่นคิด "อื่อ ไม่เป็นไร ข้ามีทางออกให้เอ็ง" ผมฟังเสียงไอ้เปาเช่นนี้ใจชื้นขึ้นมา "เอ็งจำทางไปนาต้นมะกอกได้นะ" ไอ้เปาถามผมพยักหน้า "ก่อนจะข้ามลำห้วยเหนือที่นาไอ้มาเซ จะมีตองกงกอหนึ่ง เอ็งนึกออกนะ" ไอ้เปาถามผมพยักหน้ารับอีกครั้ง "อย่างนั้นได้การเลยเพื่อนเกลอ" ไอ้เปาพูดกับผมด้วยน้ำเสียงโล่งอกโล่งใจ ผมดีใจขึ้นมาเป็นกอง หลังจากที่เก็บงำความกังวลอยู่กับตัวตลอดมาตั้งแต่ทำฟันซี่นั้นหาย

"พรุ่งนี้ เอ็งตื่นขึ้นมา อย่าเพิ่งพูดกับใครทั้งนั้น เอ็งลงจากบ้านไปยังกอตองกงที่เหนือนาไอ้มาเซ" ไอ้เปาแนะผมคิดตามรู้สึกหวาดกลัวกับเส้นทางขึ้นมา "ไปถึงแล้ว เอ็งหัวเราะใส่กอตองกงนั้นสามครั้ง พร้อมพูดกับกอตองกงนั้นว่า ตองกงเจ้าเอ๋ย จงทำฟันข้า ให้สวยๆและแข็งแรง หลังจากนั้นเอ็งหันกลับไปให้ถึงบ้าน ระหว่างทางอย่าเหลียวซ้ายแลขวาพูดกับใคร..." ไอ้เปาแนะนำผมทึ่งในความรู้ที่ไอ้หมอเปามันมี และสงสัยไม่หายว่ากอตองกงมันจะช่วยให้ฟันขึ้นได้ยังไง และยิ่งกว่านั้นคือ ผมเกิดกลัวที่จะไปคนเดียว ยิ่งคิดก็ยิ่งกลัวผีขึ้นมา ตลอดทั้งคืนผมหลับๆตื่นๆ จนเช้าขึ้นมาผมแข็งใจแว้บออกจากบ้านอย่างที่ไอ้เปาแนะนำ ทำตามอย่างที่มันบอก รู้สึกเขินอายกอตองกงและต้นไม้ต้นหญ้าที่รายล้อม ผมหัวเราะบอกกล่าวกับกอตองกงจบ วิ่งปรื๋อกลับบ้านอายคนจะมาเห็น กลัวผีจะมาหลอก วิ่งหน้าตั้งเข้าเขตหมู่บ้าน ชลอฝีเท้าสวนกับไอ้เปาที่ลงมาตักน้ำ มันเผยยิ้มอย่างเจ้าเล่ห์ ขณะที่ผมแหยยิ้มให้มันอย่างเขินอายพร้อมเร่งฝีเท้าให้ห่างมันไวๆ

แต่ อาการปวดฟันที่เข้าสู่วัยกลางคนในระลอกนี้ ทำให้ผมได้นึกได้คิดถึงเรื่องราวในวัยเด็ก และทำให้ผมได้คลายความสบประมาทลงหลายเรื่องหลายราว จากที่เคยคิด แค่ฟันสามสิบสองซี่นี้นะ ต้องเอาใจมันถึงขั้นต้องเปิดเป็นคณะทันตแพทย์ให้นักศึกษาต้องเรียนกันเป็นเวลาสี่ห้าปีเชียวหรือ แล้วผมสำนึกได้ว่าฟันมันมีความสำคัญขนาดไหน ลงฟันทำหน้าที่ไม่ได้แล้ว กระเพาะเป็นด่านแรกต้องทำงานหนักกว่าเดิมและเครื่องในส่วนอื่นๆคงต้องรับภาระหนักตามไปด้วย ส่งผลให้ร่างกายทั้งระบบต้องสั่นสะเทือน ผมคลายความแคลงใจกับหมอฟันลงไปแยะ

แต่หลายวันผ่านไปที่ฟันผมคลายความเจ็บปวดลง ทำเอาความเชื่อผมสั่นคลอน ผมจะเชื่อหมอฟันหรือเชื่อหมอผี หมอฟันเขารักษาให้ด้วยการอุดรู หมอผีก็รักษาให้ด้วยคาถา

นานกว่าหนึ่งเดือนผมเกิดเจ็บปวดฟันขึ้นมาอีก ทีนี้เจ็บถี่เจ็บง่าย เวลาพูดฟันซี่ที่มีปัญหาแค่โดนลมปากมันก็เจ็บจิ๊ดขึ้นทันที สะเทือนถึงสมองเสียอย่างนั้น

ผมจะกลับไปหาหมอฟันอีกครั้ง เพื่อทำการถอนออกอย่างที่หมอท่านเคยแนะนำ ผมก็เสียดาย เพราะฟันกรามผมเคยถอนมันออกหลายซี่จะหมดปากอยู่แล้ว หวังจะเก็บมันไว้เคี้ยวอาหารแต่แค่เอาอาหารเข้าปากก็ทรมานแล้ว ระหว่างที่รอทำใจ แต่ละคืนผมต้องบรรเทามันด้วยยาแก้ปวดหัวยาวนับสิบซอง และเอายาปลาสเตอร์ปะหัวปะไว้ตรงกราม ไม่ใช่แค่จะให้รู้สึกว่าบรรเทาปวด แต่เป็นการสื่อสารถึงคนทั่วไปให้รับรู้ว่า ผมปวดฟัน และขอความเห็นใจสงสารจากผู้คน แต่ใครเขาจะช่วยเจ็บแทนได้ แค่ไม้สมน้ำหน้าซ้ำเติมต่อหน้าก็บุญโขแล้ว

ในที่สุดผมไปหาหมอฟันอีกครั้ง แต่ไม่เป็นหมอฟันที่โรงพยาบาลอำเภอ เป็นหมอฟันที่โรงพยาบาลตำบล หมอฟันให้ผมขึ้นไปนอนบนเตียง แล้ทำการตรวจฟัน เคาะๆ แคะๆ ฟันซี่ที่เคยให้หมอฟันที่โรงพยาบาลทำการอุดให้

"หนูทำให้ได้ คือต้องถอนฟันซี่นี้ทิ้ง" หมอฟัน รพ.สต.บอก

"มันไม่มีวิธีอื่นแล้วหรือ" ผมถามด้วยความอยากให้ฟันซี่นี้ยังอยู่คู่ปากผม

"เคยอุดมาแล้ว มันก็ยังปวดอยู่ หนูดูแล้วมันคงจะเจ็บๆ หายๆ แต่วันนี้หนูจะจัดยาให้พี่ไปกินก่อน ถ้ามันหายปวดพี่ก็มาหา หนูจะถอนออกให้" หมอฟัน รพ.สต.แนะนำ

ผมทนทรมานอยู่ได้อีกประมาณเดือนกว่าๆ เมื่อคืนนี้ผมไปสวาปามหมูกระทะเสียอิ่มแปล้ ตกตึกสุดทรมานเสียเหลือเกิน ผมจึงตัดสินใจตั้งแต่วินาทีนั้นแล้วว่า คงถึงเวลาเสียที รุ่งเช้าผมขับรถออกจากเชียงใหม่กลับไปยังหมู่บ้าน มุงไปยังโรงพยาบาลตำบล

"น้องพี่คงเก็บมันไม่ไหวแล้ว" ทันทีที่เจอหน้าน้องผู้หญิงที่ทำหน้าที่หมอฟันใน รพ.สต.

"ตอนนี้หายปวดแล้วใช่มั้ย" หมอฟันถามอาการ

"เปล่า ตอนนี้มันปวดมาก" ผมบอกตามตรง หมอฟันได้อธิบายเหตุผลให้ฟังว่า สาเหตุที่หมอไม่ทำการถอนขณะปวดฟันอยู่ เพราะมันจะเจ็บมากเวลาทำการถอน เนื่องจากยาชาที่ฉีดเข้าไปทำหน้าที่ไม่ได้เต็มที่

"แต่มันเจ็บน้อยกว่าการไม่ฉีดยาชาเลยใช่มั้ย" ผมถาม

"ประมาณนั้นแหละ พี่จะเอายาไปกินก่อนมั้ย ถ้าพี่หายปวดแล้วค่อยมาหา หนูจะถอนให้" หมอฟันแนะนำ ผมลังเลขึ้นมาทั้งที่ตัดสินใจตั้งแต่เมื่อคืนแล้วว่า ทรมานออกปานนี้เราคงอยู่ร่วมกันไม่ได้เสียแล้ว แต่มาถึงวินาทีนี้ผมเกิดอาลัยอาวรณ์มันขึ้นมาอีกครั้ง

"งั้นลองฉีดยาชาดูสักเข็มก่อน ถ้ามันเจ็บมากอยู่พี่จะยังไม่ถอนนะ" ผมต่อรองกับน้องหมอฟัน

"พี่ขึ้นไปนอนบนเตียงเลย" หมอฟันบอก ผมเขยิบขึ้นไปนอนแหงนหน้ามอง หมอฟันเอาผ้าช่องปิดหน้าให้ผมอ้าปาก "ถ้าหนูฉีดยาชาให้แล้ว ต้องถอนสถานเดียว" เธอบอกเหมือนตัดสินใจแทนตัดความโลเลที่เกิดขึ้นกับผมมาครั้งแล้วครั้งเล่า ถึงมันจะปวดมากหน่อยก็ทนเอานะ ผมคิดปลอบใจตนเอง ระหว่างหมอฟันตระเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์กระทบกันเกิดเสียงชวนหวาดเสียวขณะนอนอ้าปากอยู่บนเตียง

ผมเจ็บจิ๊ดแรกที่หมอฟันแทงเข็มเข้าไปตรงเหงือกแล้วรู้สึกได้อีกหลายจิ๊ดทั้งด้านนอกด้านในรู้สึกบืนๆ ปากขึ้นมา แล้วทีนี้ ผมรู้สึกได้รางๆว่า หมอฟันทั้งแคะขุดหักดึงดันจนหัวผมต้องโยกคลอนไปมาตามแรง จนสักครู่ ผมสัมผัสได้ถึงชิ้นส่วนหนึ่งในปากหลุดออกมา สะเทือนความคิด อวัยวะชิ้นหนึ่งที่อยู่คู่กับร่างเรามาย่างยาวนานต้องขาดออกจากร่าง ในวินาทีที่มันหลุดออกมา เกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า นี่แค่ฟันซี่เดียว เรารู้สึกพลัดพรากได้ถึงเพียงนี้ หากเป็นอวัยวะส่วนที่รักที่หวงเราจะรู้สึกได้หนักขนาดไหน แล้วถ้ามันเป็นวินาทีที่ชีวิตหลุดออกจากร่างกาย เราจะมีความรู้สึกอย่างไร


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น