โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

สัปดาห์ของคนรุ่นใหม่: อิมเมจ-เนติวิทย์ สู่ภาพยนตร์ #BKKY

Posted: 06 Aug 2017 09:49 AM PDT




สัปดาห์ที่เราเห็นปรากฎการณ์จากการแสดงออกของคนรุ่นใหม่ เปิดต้นอาทิตย์กับทวีตระบายความในใจปัญหาการคมนาคมของอิมเมจ สู่การโพสต์เฟซบุ๊กของเนติวิทย์ กรณีนิสิตจุฬาฯ ถูกอาจารย์ล็อคคอ ปิดท้ายด้วยการเปิดตัวภาพยนตร์วัยรุ่น #BKKY สะท้อนปัญหาและบาดแผลของวัยรุ่นที่ทุกคนล้วนเผชิญ กับการถูกกดทับและควบคุมโดยผู้ใหญ่


1.

นับเป็นสัปดาห์ที่เราได้เห็นการแสดงออกของคนรุ่นใหม่เป็นข่าวครึกโครมทั้งอาทิตย์ เริ่มต้นสัปดาห์ ด้วยทวีตของอิมเมจ สุธิตา ชนะชัยสุวรรณ หรือ อิมเมจ เดอะวอยซ์ ที่ทวีตระบายความในใจเกี่ยวกับระบบสวัสดิการและการคมนาคมของรัฐ ซึ่งมีประโยค เช่น

"เอาจริงๆ นะ แค่ทำให้รถเมล์รถตู้มาสม่ำเสมอทุกเส้นทางยังทำไม่ได้เลย จะเอาอะไรไปเจริญออ ตลก"

หรือ

"ยินดีจะทำงานหนัก ยินดีจะจ่ายภาษีและค่าครองชีพในเรทที่แพงกว่านี้ ถ้าwelfare ในชีวิตประจำวันจะดีกว่านี้"

หรือประโยคดังที่ทำให้เป็นข่าว

"ประเทศเฮงซวย จะอีก50ปีหรืออีก1000ปีก็ไม่เจริญขึ้นหรอก ยิงกูดิ"

ทำให้เกิดกระแสโต้กลับจากรุ่นพี่นักแสดงอย่างแทค ภรัณยู โรจนวุฒิธรรม ที่กล่าวว่า "มาด่าประเทศไทยดูถูกประเทศไทยกูยอมไม่ได้รับไม่ได้" แม้จะมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับเธอ  แต่ภายหลังเธอก็ลบทวีตเหล่านั้นทิ้ง และออกมาขอโทษ แต่เธอควรขอโทษจริงหรือในกรณีนี้

หากเป็นคนที่เล่นทวิตเตอร์ จะรู้ว่าด้วยธรรมชาติของทวิตเตอร์ที่จำกัดเพียง 140 ตัวอักษร และการออกแบบ user interface ที่เหมาะสำหรับการส่งข้อความสั้นๆ มากกว่าการตอบโต้ปฏิสัมพันธ์กันได้ยาวๆ แบบในเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์จึงเป็นเสมือนพื้นที่สำหรับข้อความสั้นที่ไม่อาจมีหลักการมาอธิบายขยายความให้หนักแน่น จึงไม่แปลกที่ทวิตเตอร์เป็นพื้นที่ปลดปล่อย 'ความคิดด่วน' ณ ขณะนั้นออกมา โดยไม่ได้ผ่านการกลั่นกรอง

เรียกง่ายๆ ว่า ในทวิตเตอร์ใครจะพูดจะบ่นอะไรลอยๆ ก็ย่อมได้ เพราะเป็นธรรมชาติของการใช้งาน

และการออกมาขอโทษของเธอจะเป็นการสร้างมาตรฐานว่า คนมีชื่อเสียงไม่สามารถระบายความในใจด้านลบเกี่ยวกับประเทศนี้ได้อีกต่อไปหรือไม่ ดังที่ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ทวีตเกี่ยวกับกรณีของอิมเมจว่า

"ในสังคมไทย ถ้าเงียบเฉยจะมีชีวิตที่ปลอดภัย ถ้าพูดความจริงครึ่งๆ กลางๆ จะถูกชมว่าอยู่เป็น+น่ารัก แต่ถ้าพูดความจริงตรงไปตรงมาจะถูกตำหนิว่าไม่รักชาติ"

กรณีการทวีตของอิมเมจ ไม่น่าแปลกใจและคงไม่เป็นข่าวหากว่าอิมเมจเป็นคนธรรมดาอย่างเราๆ แต่เรื่องไม่ง่ายเมื่อเธอเป็น 'คนของประชาชน' ที่ได้รับการคาดหวังว่าจะต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ 'ดี' แก่สังคม การออกมาด่าว่าประเทศจึงทำให้เธอกลายเป็นวัยรุ่นก้าวร้าว ไม่รักชาติ ดูถูกแผ่นดินเกิดของตัวเอง กลายเป็นความผิดจนเธอต้องออกมาขอโทษ โดยมองข้ามประเด็นที่เธอนำเสนอเรื่องระบบสวัสดิการและการคมนาคมของรัฐ


2.

ตามมาติดๆ ด้วยกรณีการโพสต์เฟซบุ๊กของเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาลเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา เมื่อเกิดเหตุการณ์อาจารย์ใช้ความรุนแรงล็อคคอนิสิต ผู้เป็นรองประธานสภานิสิตจุฬาฯ ขณะที่เดินออกจากงานวันถวายสัตย์ปฏิญญาณตนของนิสิตใหม่ โดยเนติวิทย์กล่าวว่าเป็นการประท้วงที่ตอนแรกสุดรองอธิการบดีบอกว่าจะให้พื้นที่สำหรับคนยืนเคารพ และสัญญากับตนก่อนงานว่า ถ้าฝนตกจะให้เด็กโค้งคำนับแล้วจบ เพราะเด็กจะเปียก จะเป็นไข้ได้ แต่เป็นว่าให้หมอบกราบถวายบังคมเหมือนเดิม

ในขณะเดียวกัน ทางฝ่ายกิจการนิสิต จุฬาฯ ก็กล่าวว่า เข้าใจและเคารพในความเห็นต่างและได้พยายามจัดพื้นที่ให้กับผู้ที่ประสงค์จะแสดงความเคารพด้วยการคำนับโดยมีข้อตกลงกันอย่างชัดเจนว่าจะอยู่ในแถวที่แยกออกไป และจะมาแสดงความเคารพเมื่อกระบวนการถวายบังคมเสร็จสิ้นลงแล้ว แต่กลุ่มของสภานิสิตไม่ได้เคารพข้อตกลงนั้นและพยายามจะจัดฉากให้ปรากฏภาพที่ขัดแย้งตรงข้ามกันระหว่างการถวายบังคมและการคำนับ

ด้วยคำบอกเล่าที่ไม่ตรงกันเช่นนี้ หลายคนนึกถึงเรื่อง 'ราโชมอน' ที่ความจริงไม่ได้มีเพียงหนึ่งเดียว

สิ่งที่น่าสนใจบางทีอาจไม่ใช่แค่การค้นหาความจริง แต่รวมถึงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากฝ่ายที่มีวัยวุฒิมากกว่า และการแสดงออกของคนรุ่นใหม่ต่อสิ่งที่เขาเห็นว่าควรได้รับการแก้ไข แน่นอนว่าเขาไม่ได้ตั้งใจจะล้มล้างระบบเดิม เขาเพียงแสดงออกเพื่อยืนยันความคิดของตัวเอง

ไม่ว่าจะกี่ยุคสมัยผ่านไป กลุ่มวัยรุ่นหัวขบถก็ยังคงถูกผู้ใหญ่หลายคนมองว่า เป็นพวกกราดเกรี้ยว ด้อยประสบการณ์ ไม่เคารพผู้หลักผู้ใหญ่ วัยรุ่นที่ดีและเป็นแบบอย่างต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่ ไม่แตกแถว ไม่ต่อต้าน ปฏิเสธไม่ได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่และวัยรุ่นของไทยยังเป็นความสัมพันธ์แบบบนลงล่าง ผู้ใหญ่-ผู้น้อย ที่มีอำนาจในมือไม่เท่ากัน

แต่กระนั้น แม้ในสังคมไทยสถานะของความเป็นวัยรุ่นจะถูกกดทับและครอบงำโดยผู้ใหญ่ แต่กรณีของทั้งอิมเมจและเนติวิทย์จะด้วยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ก็สะท้อนให้เห็นว่าโซเชียลมีเดียได้เข้ามาเป็นกระบอกเสียงที่สำคัญให้กับคนกลุ่มนี้

แต่คำถามคือสังคมไทยให้คุณค่ากับความคิดของคนรุ่นใหม่แค่ไหนกัน?

ภาพยนตร์เรื่อง #BKKY ที่เพิ่งเปิดตัวในสัปดาห์นี้อาจกำลังพยายามตอบคำถามนี้
 

3.

#BKKY มาจาก Bangkok Youth คือชื่อภาพยนตร์กึ่งสารคดีกึ่งเรื่องแต่งเรื่องล่าสุดของผู้กำกับ เบิ้ล นนทวัฒน์ นำเบญจพล ผู้กำกับภาพยนตร์สารคดีประเด็นการเมืองที่เคยถูกแบนอย่าง ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง (Boundary, 2013) และสารคดีประเด็นสิ่งแวดล้อมในสังคมคนชายขอบเรื่อง สายน้ำติดเชื้อ (By the river, 2014)

ครั้งนี้เขาพลิกบทบาทการทำหนัง หลังจากมีโอกาสร่วมเขียนบทซีรี่ส์ 'ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น' ทำให้เขาสนใจประเด็นของวัยรุ่นในปัจจุบัน โดยคอนเซปต์หลักของภาพยนตร์เรื่องนี้คือการสัมภาษณ์วัยรุ่น 100 คนในกรุงเทพฯ เกี่ยวกับเรื่องราวในชีวิต ทั้งการเรียน ความฝัน ความรัก เซ็กซ์ การอกหัก และ ใช่ การถูกบังคับควบคุมโดยผู้ใหญ่ ทั้งจากครอบครัว ครูอาจารย์ และอาจรวมถึงผู้มีอำนาจ แล้วนำทั้งหมดมายำรวมกันให้มีเส้นเรื่องหลัก มีตัวละครหลักในการดำเนินเรื่อง

เรื่องราวจากประสบการณ์ของวัยรุ่นกว่าร้อยชีวิตได้ซ้อนทับและมีจุดร่วมบางอย่างที่เหมือนกัน โดยไม่มีใครเป็นเจ้าของเรื่องโดยสมบูรณ์ แต่ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของเรื่องร่วมกัน

ไม่ว่าตั้งใจหรือไม่ แต่เราอาจจะคุ้นหูกับคอนเซปต์คล้ายกันแบบนี้ที่ว่า อธิปไตยไม่ได้เป็นของใครเพียงผู้เดียว แต่เป็นของประชาชนทุกคน

ในภาพยนตร์ คุณค่าและวิถีชีวิตของวัยรุ่นในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่าง ที่เด่นชัดคือเรื่องเพศ แม้ภาพยนตร์จะโปรโมทความเป็น LGBT แต่คำว่า 'เพศ' ของวัยรุ่นในเรื่องนี้ลื่นไหลไม่ตายตัว รวมถึงเรื่องความรักและเซ็กซ์ของวัยรุ่นเองก็ดำเนินไปแบบไม่ยึดติดกับเพศสภาพอีกแล้ว มันจึงไปไกลกว่าแค่ความเป็น LGBTแต่อาจหมายถึงการไม่แบ่งแยกอะไรเลย

อีกปัญหาที่ภาพยนตร์แสดงออกมาผ่านบทสัมภาษณ์จริงของวัยรุ่น คือ เสรีภาพทางการแสดงความคิดเห็น ด้วยระบบการศึกษาและวัฒนธรรมไทย ลักษณะความเป็นอำนาจนิยมที่ยังฉายชัด พ่อแม่และครูไม่ยอมรับพื้นที่การแสดงความเห็นของวัยรุ่นในฐานะมนุษย์ที่เท่าเทียม แต่ในฐานะมนุษย์ที่ด้อยกว่า

เราจึงเห็นได้ชัดว่าผู้เป็นพ่อมีส่วนผลักดันให้โจโจ้ ตัวเอกของเรื่อง ตัดสินใจมีเซ็กซ์กับผู้ชายเป็นครั้งแรก พ่อผู้คอยห้ามปรามไม่ให้ลูกสาวคบเพื่อนต่างเพศ พ่อผู้ดุว่าเมื่อลูกกลับช้า พ่อผู้ไม่อาจทนฟังดนตรีของวัยรุ่นจนต้องเปลี่ยนคลื่นกลับไปเป็นดนตรีที่ตัวเองคุ้นชิน

ความสัมพันธ์ที่เต็มไปด้วยการบังคับ ควบคุม ไม่ยืดหยุ่นปรับตัว นำมาซึ่งความขัดแย้งที่รุนแรงและการตัดสินใจกระทำบางอย่างเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้าน ที่สุดท้ายก็จบลงด้วยร่องรอยของบาดแผลแห่งการเป็นวัยรุ่นที่ทุกคนล้วนต้องเคยเผชิญ

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หมายเหตุประเพทไทย #169 ประชากรนานาชาติจากยุคอยุธยาถึงรัฐสมัยใหม่

Posted: 06 Aug 2017 06:24 AM PDT

หลังประกาศใช้ 'พ.ร.ก. การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว' จนเกิดอลหม่าน หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ และ ชานันท์ ยอดหงษ์ พาย้อนอดีตดูนโยบายด้านประชากรที่เปิดรับและปฏิสังสรรค์กับผู้คนต่างชาตินานาภาษาของรัฐจารีตอย่างอาณาจักรอยุธยา

ทั้งนี้อยุธยาเกิดขึ้นจากกลุ่มคน 2 วัฒนธรรมคือสุพรรณภูมิและละโว้ ต่อมาอยุธยาก็ขยายตัวขึ้นจากการเกณฑ์แรงงานจากดินแดนต่างภาษาต่างวัฒนธรรมเข้าสู่อาณาจักรทั้งผู้คนที่พิมายและพนมรุ้ง โดยเฉพาะในสมัยเจ้าสามพระยาก็ไปเกณฑ์ผู้คนมาจากนครธม

โดยประชากรในสมัยต่อมาของอยุธยาจะยิ่งมีความหลากหลายขึ้นไปอีกหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 เมื่อครัวเรือนอยุธยาถูกเกณฑ์ไปอยู่หงสาวดีจนเหลือประชากรในอยุธยาไม่กี่พัน สมเด็จพระมหาธรรมราชาจึงไปเกณฑ์ครัวเรือนจากพิษณุโลกและหัวเมืองฝ่ายเหนือลงมาอยู่ที่อยุธยา และในสมัยหลังเมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชประกาศไม่ขึ้นกับหงสาวดี ก็เกณฑ์ครัวเรือนอยุธยาและชุมชนมอญที่หงสาวดีกลับเข้ามาอยู่ที่อยุธยาอีก

นอกจากนี้ผู้ปกครองอยุธยาในหลายยุคก็เปิดกว้างให้ชุมชนต่างชาติเข้ามาตั้งถิ่นฐาน เช่น การมีอยู่ของหมู่บ้านโปรตุเกส หมู่บ้านฮอลันดา หมู่บ้านญี่ปุ่น ชุมชนมุสลิม ฯลฯ การให้ผู้มีฝีมือเข้ามาทำงานเช่น ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีการสร้างป้อมปืนใหญ่ที่บางกอกปัจจุบันคือป้อมวิไชยประสิทธิ์ ซึ่งควบคุมการก่อสร้างโดย เดอ ฟอบัง (Claude de Forbin Gardanne) นายทหารเรือชาวฝรั่งเศส รวมทั้งนารายณ์ราชนิเวศน์ที่ลพบุรี ก็ใช้ช่างฝีมือจากเปอร์เซียและฝรั่งเศส

ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชยังมีบันทึกของบาทหลวงฝรั่งเศสระบุถึงการตั้งวิทยาลัยของบาทหลวงคณะเยซูอิตที่คลองมหาพราหมณ์ และมีนักเรียนจากอยุธยาเดินทางไปยุโรปเพื่อไปศึกษาต่อที่ฝรั่งเศสอย่างน้อย 2 คณะ โดยเดินทางไปพร้อมกับทูตที่ไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในปี ค.ศ. 1686 และ 1688

ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่ https://www.facebook.com/maihetpraphetthai
หรือลงทะเบียนรับชมที่ https://youtube.com/prachatai

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กรธ. ยันแยกเบอร์ ส.ส. รายเขตยุติธรรมทุกฝ่าย 'นพดล' ชี้ทำประชาชนสับสน

Posted: 06 Aug 2017 02:02 AM PDT

โฆษก กรธ. เผยร่างหลัก ก.ม.เสร็จหมดแล้ว ยันหลักการแยกเบอร์ผู้สมัคร ส.ส. รายเขตยุติธรรมทุกฝ่าย แต่พร้อมฟังเสียงพรรคการเมืองเห็นต่าง ด้าน 'นพดล' ออกหน้าค้าน ชี้เบอร์เดียวพรรคเดียวประชาชนจำง่าย ไม่มีใครเสียเปรียบ แถมลดปัญหาบัตรเสีย

 
6 ส.ค. 2560 เว็บไซต์คมชัดลึก รายงานว่า ที่โรงแรมรอยัล พลา คลิฟบีช รีสอร์ท จ.ระยอง เมื่อเวลา 10.00 น. นายนรชิต สิงหเสนี โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) แถลงผลการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ว่า กรธ.พิจารณาเพิ่มเติมอีก 5 ประเด็น ในมาตรา 90 การเลือกตั้งล่วงหน้า กำหนดให้มี 2 แบบ คือ 1.แจ้งถาวร แต่สามารถแจ้งเปลี่ยนหรือยกเลิกได้ 2. แจ้งเฉพาะกาล สำหรับการเลือกตั้งแต่ละครั้ง 
 
ส่วนมาตรา 98 การเลือกตั้งในต่างประเทศ กำหนดให้มี 2 แบบเหมือน อีกทั้งยังเปิดช่องให้สามารถนำเครื่องอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการลงคะแนนได้ ส่วนการประกาศผลการเลือกตั้ง หากไม่มีเหตุวุ่นวายให้ดำเนินการได้ภายใน 7 วันนับจากการเลือกตั้ง สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ระบุให้กกต.รับรองผลการเลือกตั้ง ส.ส. ร้อยละ 95 ภายใน 60 วัน โดยการพิจารณา พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญนอกสถานที่ของกรธ.ขณะนี้เสร็จเรียบร้อยในเบื้องต้นแล้วทั้ง 3 ฉบับที่เหลือ จากนี้จะให้คณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องนำกลับไปร่างเป็นรายมาตราต่อไป
 
เมื่อถามว่าฝ่ายการเมืองท้วงติงการจับเบอร์ผู้สมัครรายเขตและบัญชีรายชื่อ จะทำให้เบอร์แต่ละเขตของพรรคไม่เหมือนกัน ถือเป็นการไม่ส่งเสริมพรรคการเมือง
 
นายนรชิต โฆษก กรธ. กล่าวว่า ระบบการเลือกตั้งเปลี่ยนไป จากเดิมกาบัตรสองใบ เบอร์ผู้สมัครแบบเขตและแบบบัญชีรายชื่อจึงเหมือนกันได้ แต่ระบบนี้ ให้กาบัตรใบเดียว ผู้สมัครแต่ละเขต ก็จะนับเลขไปตามจำนวนคนที่เข้ามาสมัคร พูดง่ายๆ มันยุติธรรมกับทุกฝ่าย ทุกคนมีสิทธิเท่ากัน หากพรรคการเมืองเห็นเป็นประเด็นสำคัญ ก็สามารถเสนอความเห็นให้ กรธ. หรือสนช.พิจารณาได้ ขณะเดียวกัน กรธ.ยังได้พิจารณาทบทวน ร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน และร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ กรธ.ยังยืนยันให้การวินิจฉัยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของตุลากาล เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหารายบุคคล และคาดว่าจะนำเสนอสนช.ได้ในเดือน ส.ค. 1 ฉบับ และเดือน ก.ย.อีก 1 ฉบับ   
 
'นพดล' ชี้ทำประชาชนสับสน
 
ด้าน เว็บไซต์กรุเทพธุรกิจ รายงานว่านายนพดล ปัทมะ อดีต รมว.ต่างประเทศและสมาชิกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ตามที่ กรธ.เสนอในการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ให้ผู้สมัครในเขตจับสลากเบอร์ในแต่ละเขต และจะไม่ใช้เบอร์เดียวกันทั้งประเทศเหมือนในอดีต โดยอ้างว่าเพื่อให้ผู้สมัครในเขตแสดงความสามารถของตนนั้น โดยความเคารพ ตนไม่เห็นด้วยเพราะวิธีการเดิมมีข้อดีและใช้มานาน การใช้เบอร์เดียวกันของพรรคเดียวกันทั้งประเทศจะทำให้ประชาชนจำได้ง่ายว่าจะสนับสนุนพรรคและผู้สมัครของพรรคใด ไม่สับสน ลดปัญหาบัตรเสีย ประชาชนแสดงเจตจำนงได้ถูกต้องตรงใจ ไม่ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างพรรคการเมือง นอกจากนั้นแต่ก่อนในการเลือกตั้งกาได้สองบัตร แต่ปัจจุบันกาได้บัตรเดียวคือเลือกตัวผู้สมัครในเขตเท่านั้น แล้วนำบัตรทั้งหมดมาคำนวณจำนวน ส.ส.ที่แต่ละพรรคจะได้ที่นั่งทั้งประเทศ รวมทั้ง ส.ส.แบบปาร์ตี้ลิสต์ด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ในวันเลือกตั้งประชาชนจึงต้องพิจารณาทั้งตัวผู้สมัครและพรรคที่สังกัดพร้อมกันไปด้วย ไม่ใช่ดูตัวบุคคลอย่างเดียว และอาจต้องให้น้ำหนักตัวพรรคเป็นสำคัญด้วยซ้ำ
 
นายนพดล กล่าวยืนยันว่า การให้ผู้สมัครจากพรรคการเมืองได้เบอร์เดียวกันทั้งประเทศ จึงตอบโจทย์การเลือกตั้งแบบใหม่ที่กาได้บัตรเดียว ยิ่งถ้าพิจารณาหลักการที่ว่าพรรคเลือกคนประชาชนเลือกพรรค ประกอบกับการให้เหตุผลของ กรธ.ที่อ้างว่าลดการกาบัตรเหลือบัตรเดียวโดยไม่ต้องกาเลือกพรรคเป็นบัตรที่สองเช่นที่เคยทำมานั้น จะทำให้พรรคคัดสรรผู้สมัครให้ดีก่อนส่งลงเลือกตั้ง ยิ่งตอกย้ำความสำคัญของความเป็นพรรคที่ควรสร้างระบบที่ง่ายต่อการเลือกของประชาชนว่าจะสนับสนุนพรรคและตัวผู้สมัครจากพรรคใด โดยใช้เบอร์เดียวกันทั้งประเทศ
 
"ที่บอกว่าการให้ผู้สมัครแต่ละเขตจับสลากเบอร์ของตนเพื่อให้ผู้สมัครได้แสดงความสามารถของตน และไม่ต้องพึ่งเบอร์พรรคนั้น เห็นว่าขณะนี้มีระบบไพรแมรี่โหวตที่ให้สมาชิกพรรคช่วยคัดสรรผู้สมัครเบื้องต้น และพรรคตัดสิน ผู้สมัครคงต้องมีความรู้ความสามารถจึงจะได้รับเลือก หวังว่า กรธ.จะเปิดใจรับฟังฝ่ายต่าง ๆ ในการร่างกฎหมายเพื่อให้การเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ง่าย ไม่สับสนและควรเปลี่ยนแปลงวิธีการเฉพาะที่ทำให้การเลือกตั้งดีขึ้น" นายนพดล กล่าวย้ำ
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชุมชนร้อยปีริมน้ำเจ้าพระยา เรียกร้องยุติโครงการถนนบนแม่น้ำเจ้าพระยา

Posted: 06 Aug 2017 12:35 AM PDT

ชุมชนร้อยปีริมน้ำเจ้าพระยาจัดงานเทศกาลริมน้ำบางกอก ชี้โครงการถนนบนแม่น้ำเจ้าพระยาจะทำลายชุมชน ปิดกั้นทางสัญจรและปัญหาตามมามากมาย ตัวแทนชาวบ้านระบุไม่ปฏิเสธการพัฒนาแต่ต้องอยู่บนความยั่งยืน คงอัตลักษณ์ของชุมชนไว้ เรียกร้องยุติโครงการและจัดทำประชาพิจารณ์เพื่อฟังเสียงชุมชน

 
 
 
เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2560 ที่อาคารพิพิธบางลำพู เครือข่ายประชาคมบางลำพูและภาคีเครือข่ายหลากหลายองค์กรได้ร่วมกันจัดงาน "เทศกาลริมน้ำบางกอกขึ้น" เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ความเป็นมา และอัตลักษณ์ของชุมชนริมน้ำเจ้าพระยาที่มีมาอย่างนานร่วม 200 ปี ที่กำลังจะเลือนหายไปจากการเตรียมก่อสร้างโครงการถนนบนแม่น้ำเจ้าพระยาของกรุงเทพมหานครด้วย
 
ซึ่งประเด็นนี้ได้ถูกนำมาขยายและต่อยอดในการจัดเวทีเสวนาในหัวข้อ "พัฒนาแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างไรให้เป็นธรรมและยั่งยืน" โดยมีตัวแทนชาวบ้านที่จะได้รับผลกระทบจากการสร้างถนนบนแม่น้ำเจ้าพระยาร่วมขึ้นเวทีเสวนาเพื่อสะท้อนให้ทุกคนได้รับรู้ว่าโครงการก่อสร้างถนนบนแม่น้ำขนาดใหญ่ในแม่น้ำเจ้าพระยานั้นจะส่งผลกระทบต่อพวกเขาและประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ รวมถึงตัวแทนชาวบ้านยังได้นำเสนอแนวทางในการพัฒนาแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างเป็นธรรมและยั่งยืนอีกด้วย
 
นายประมาณ มุขตารี ตัวแทนชาวบ้านจากชุมชนบางอ้อซึ่งเป็นหนึ่งในชุมชนที่ได้รับผลกระทบกล่าวว่า ประวัติชุมชนเรามีมานับร้อยปี เราเป็นชุมชนมุสลิมดั้งเดิม หรือที่เรียกว่า "แขกแพ" ที่อพยพมาจากพระนครศรีอยุธยาโดยทางเรือ หลังสงครามเสียกรุงครั้งที่ 2 จากนั้นปักหลักค้าขาย จนพัฒนาเป็นตลาดซุงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ โดยนำไม้ล่องแพจากภาคเหนือแล้วมาขึ้นฝั่งที่นี่ เพื่อลำเลียงนำไปทำเฟอร์นิเจอร์ที่บางโพต่อไป พร้อมกันนี้ยังก่อเกิดเป็นชุมชน ร้านค้า ที่มีสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะอาคารทรงโคโลเนียล เราใช้แม่น้ำเจ้าพระยาในการสัญจร จนเรียกแม่น้ำเจ้าพระยาว่าเป็นหน้าบ้านของเรา อย่างไรก็ตามในแต่ละยุคแต่ละสมัยหน้าบ้านของเราก็ผ่านการพัฒนามาหลากหลายโครงการโดยโครงการล่าสุดคือการก่อสร้างผนังกั้นน้ำที่ชุมชนของเรา
 
ตัวแทนชาวบ้านจากชุมชนบางอ้อกล่าวว่าในตอนที่จะเริ่มการก่อสร้างนั้นเจ้าหน้าที่ให้เหตุผลว่าจะป้องกันน้ำท่วมแต่หลังจากการก่อสร้างแล้วชุมชนของเราได้รับผลกระทบมากมายไม่ว่าจะเป็นผนังกันน้ำที่สูงจนปิดช่องทางลมทำให้อากาศในชุมชนไม่ถ่ายเท และผนังกั้นน้ำเองก็มีความสูงมากและปิดกั้นทางสัญจรที่ชาวบ้านเคยใช้อยู่แต่เดิม ถึงแม้จะมีการสร้างบันไดให้ชาวบ้านได้ใช้ปีนขึ้นปีนลงแต่ก็ยากลำบากต่อการสัญจรของผู้สูงอายุและเด็กเล็ก ซ้ำร้ายผนังกั้นน้ำดังกล่าวนอกจากจะป้องกันน้ำเข้าไม่ได้แล้วแต่ยังทำให้น้ำที่อยู่เดิมนั้นระบายออกไปไม่ได้ทำให้เกิดน้ำขังน้ำเน่าส่งกลิ่นเหม็นและทำให้ชาวบ้านจำนวนหลายครัวเรือนเป็นโรคผิวหนังเรื้อรังอีกด้วย
 
"แค่โครงการพัฒนาย่อย ๆ ที่ไม่รับฟังเสียงของพวกเรายังทำให้พวกเราได้รับผลกระทบมากมายขนาดนี้ ไม่ต้องพูดถึงโครงการขนาดใหญ่อย่างถนนบนแม่น้ำเจ้าพระยาที่กำลังจะเกิดขึ้นว่าพวกเราจะได้รับผลกระทบมากมายกันขนาดไหน เพราะเท่าที่ทราบว่าถนนที่จะสร้างนั้นจะมีขนาดที่กว้างและสูงมาก ผมเชื่อว่ามันจะสร้างผลกระทบให้กับทางชาวบ้านมากมายอย่างแน่นอนจึงอยากขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ช่วยฟังเสียงของพวกเราบ้างและมาศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนของเราโดยที่กระบวนการในการศึกษานั้นชาวบ้านทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง" นายประมาณกล่าว
 
ด้านนางปิ่นทอง วงษ์สกุล ตัวแทนชาวบ้านจากชุมชนริมน้ำกุฎีจีน กล่าวถึงประวัติศาสตร์และความเป็นมาของชุมชนว่า เราเป็นชุมชนเก่าแก่ต้นสายของโปรตุเกสเพราะที่นี่จะมีชาวโปรตุเกสมาพักอาศัยอยู่ราว 17 นามสกุลด้วยกัน จึงทำให้ชุมชนของเรามีความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่อยู่ร่วมกันถึงสามศาสนา คือ พุทธ คริสต์ และอิสลาม ก่อเกิดเป็นชุมชนด้านวัฒนธรรมสามศาสนา โดยชุมชนของเราจะมีโบสถ์เก่าแก่ชื่อโบสถ์ซางตาครู้สที่เราได้ช่วยกันบูรณะมากว่าสามครั้งแล้วและโบสถ์แห่งนี้มีอายุยาวนานกว่า 248 ปี นอกจากนี้ที่ชุมชนของเรายังมีขนมฝรั่งที่นักท่องเที่ยวได้ชิมแล้วจะต้องประทับใจอีกด้วย และที่ย่านกุฎีจีนของเรามีสิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นริมแม่น้ำ 5 อย่างด้วยกันคือ 1.มีห้างสรรพสินค้าห้างแรกของประเทศไทยคือห้างหันแตรซึ่งเจ้าของก็คือนายฮันเตอร์ 2.เรามีร้ายถ่ายรูปร้านแรกของประเทศไทยที่เกิดขึ้นริมน้ำเจ้าพระยาคือร้านถ่ายรูปของฟรานซิสจิต จิตราคนี 3.เรามีการผ่าตัดครั้งแรกของหมอบรัดเลย์เพราะตอนนั้นจะมีการสู้รบกันและมีพระภิกษุแขนขาดคุณหมอบรัดเลย์จึงมีการผ่าตัดครั้งแรกเกิดขึ้นที่ชุมชนของเราแห่งนี้ 4.เรามีโรงพิมพ์แห่งแรกที่คุณพ่อชาวฝรั่งเศสนำแป้นพิมพ์มาจากเขมร 5.มีการแปลพจนานุกรมไทยโปรตุเกสเล่มแรกเพราะชาวโปรตุเกสที่เข้ามาอยู่ที่นี่จะมีอาชีพแปลหนังสือกับทหารรับจ้าง และที่สำคัญคือบ้านเรือนแถบนี้เมื่อเข้าไปในชุมชนก็จะยังคงความเป็นบ้านเรือนไทยแบบเก่าของรัชกาลที่ 5
 
ตัวแทนชาวบ้านจากชุมชนริมน้ำกุฎีจีนกล่าวว่าในส่วนของเรื่องการก่อสร้างโครงการถนนบนแม่น้ำเจ้าพระยา ยอมรับว่าคนในชุมชนของเรามีความเป็นกังวลมากและเกรงว่าจะทำให้ทัศนียภาพความเป็นกุฎีจีนเปลี่ยนแปลงไปเพราะที่ผ่านมา กทม.เคยมาสร้างเขื่อนเพื่อทำเป็นผนังกั้นน้ำให้ชุมชนของเรา ทำให้เราได้รับผลกระทบมาก แค่โครงการขนาดเล็กพวกเรายังได้รับผลกระทบมากมายขนาดนี้ ไม่ต้องนึกถึงโครงการขนาดใหญ่เลย จึงอยากขอให้กรุงเทพมหานครยุติการเตรียมก่อสร้างโครงการนี้และให้ลงมาสร้างกระบวนการในการฟังเสียงของชาวบ้านที่ชาวบ้านที่ได้รับกระทบอย่างจริงจังก่อนจะเริ่มโครงการขนาดใหญ่ใด ๆ ด้วย
 
"เราใช้แม่น้ำเป็นหน้าบ้านมาตั้งแต่โบราณดังนั้นโครงการที่จะสร้างทางในแม่น้ำเจ้าพระยาจะต้องรับฟังความคิดเห็นจากพวกเราให้รอบด้าน และการพัฒนาทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นพวกเราไม่เคยปฏิเสธหากเป็นการพัฒนาที่ยืนอยู่บนวิถีและอัตลักษณ์ของชุมชนเรา และประชาชนในชุมชนของเราได้มีส่วนร่วมและใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ซึ่งในชุมชนเราก็มีตัวอย่างของการพัฒนาอย่างยั่งยืนและทำให้เศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของชาวบ้านพัฒนาขึ้นไปด้วยคือการปรับปรุงทางจักรยานขนาดเล็กที่เชื่อมหลายชุมชนเข้าไว้ด้วยกันทำให้เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของชุมชนดีขึ้น ประชาชนในชุมชนก็มีรายได้ พึ่งพิงตนเองได้ซึ่ง กทม.น่าจะนำการพัฒนาในรูปแบบนี้ไปเป็นแบบอย่าง"นางปิ่นทองกล่าวทิ้งท้าย
 
ขณะที่ น.ส.ระวีวรรณ สมิตะมาน ชาวบ้านจากชุมชนบ้านปูน กล่าวว่าชุมชนบ้านปูนของเราก็มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานไม่แพ้ชุมชนอื่น ๆ ที่อยู่ติดกับริมน้ำเจ้าพระยา ชุมชนของเรานั้นมีประวัติศาสตร์อย่างยาวนานมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เราได้มาตั้งถิ่นฐานที่นี่ ซึ่งคำว่า "บ้านปูน" มาจากการที่ชุมชนทำปูนแดงที่ใช้ไว้กินกับหมาก ซึ่งเป็นเศรษฐกิจหลักของชุมชน และนำปูนที่ได้ส่งไปยังวังบางขุนพรหม วังเทเวศร์ และพอสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 การกินปูนกับหมากก็ได้ยุติไป นอกจากนี้ชุมชนยังมีประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกหนึ่งอย่างคือศาลาโรงธรรม ที่จะใช้ทำบุญทุกวันโกณฑ์และวันพระ ซึ่งตอนนี้ศาลาโรงธรรมแห่งนั้นก็ยังใช้ประโยชน์ในการทำบุญ เดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งศาลาโรงธรรม นับเป็นโรงธรรมแห่งเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ เพราะเมื่อครั้งที่ชุมชนบ้านปูนอพยพมานั้น ชุมชนกรุงเทพมหานครยังไม่มีการสร้างวัดใด ๆ เลย นอกจากนี้ในสมัยก่อนตอนที่ตนยังเป็นเด็กตัวเล็กๆ คุณตาเคยเล่าให้ฟังว่า ชุมชนบ้านปูนไม่มีน้ำประปาใช้ ต้องไปหาบน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยามาใช้ เอามาใส่โอ่งใส่ตามแล้วแกว่งสารส้มเพื่อรอให้น้ำใสก็จะนำมาใช้อุปโภคบริโภค และในตอนเด็ก ๆ ตนยังจำภาพที่เด็ก ๆ ในวัยเดียวกันเดินตามใต้ถุน หาเศษสตางค์ และวิ่งซ่อนแอบกันบ้าง แต่ปัจจุบันไม่มีวิถีชีวิตแบบนี้แล้ว
 
ชาวบ้านจากชุมชนบ้านปูนกล่าวเพิ่มเติมว่า ชาวบ้านที่ชุมชนบ้านปูนไม่ได้ปฏิเสธการพัฒนาหากแต่การพัฒนานั้นต้องยืนอยู่บนความเป็นธรรมและถูกต้องและฟังเสียงชองประชาชนอย่างรอบด้าน ยกตัวอย่างเช่นการก่อสร้างเขื่อนหลังจาก ปี 2538 เขื่อนที่สร้างขึ้นมาก็เป็นการปิดกั้น ทำให้น้ำเข้ามาขังบริเวณในบ้านที่อยู่ริมน้ำ ก็ทำให้น้ำในนั้น เป็นน้ำเน่าเสีย วิถีชีวิตก็หายไป จากแต่เดิมใช้การเดินทางโดยน้ำ ก็หันมาใช้ถนน ปลาบางพันธุ์ก็สูญพันธุ์ไป นอกจากนี้ไม่พอในปี พ.ศ. 2554 ที่มีน้ำท่วมใหญ่ กทม.ก็มาดำเนินการสร้างทางเลียบแม่น้ำที่ปิดสูงขึ้นไปอีก ก็ยิ่งทำให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบ ลมที่จะพัดเข้าไปในบ้านก็ไม่มี จึงเป็นการผลักให้ชาวบ้านตายจากวิถีชีวิตริมน้ำอย่างแท้จริง
 
"การพัฒนาที่เกิดขึ้นของ กทม.แต่ละครั้ง ทำให้ชุมชนได้รับผลกระทบมากกว่าเดิม เพราะไม่เคยสอบถามหรือออกแบบการพัฒนาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตหรืออัตลักษณ์ของชาวบ้านเลยแม้แต่น้อย ชุมชนของพวกเราทุกชุมชนที่มาในวันนี้มีผูกพันกับสายน้ำทุกชุมชน และทุกชุมชน ไม่เคยกลัวน้ำ ชาวบ้านทุกคนที่อยู่ริมน้ำ เป็นคนที่เข้าใจแม่น้ำ เข้าใจน้ำขึ้นน้ำลง เข้าใจที่ต้องอยู่กับน้ำท่วมและเมื่อมีน้ำขึ้นน้ำหลากคนในชุมชนก็จะดีใจ เนื่องจากสามารถจับปลาได้มากขึ้น มีอาชีพเสริม เพราะเจ้าพระยาท่วมไม่นาน ท่วมแล้วก็ไป การสร้างเขื่อนทำให้อาชีพจับปลาหายไป และปิดกั้นน้ำกับชาวบ้านไปตลอดชีวิต ตอนนี้สิ่งที่เราเป็นกังวลจากบทเรียนที่ผ่านมาคือกรณีการเตรียมการก่อสร้างถนนบนแม่น้ำเจ้าพระยา จะเป็นการตอกย้ำความเสื่อมโทรม และนำไปสู่อาชญากรรม เพราะเมื่อมีถนนบนแม่น้ำที่กว้างรถอะไรจะวิ่งเข้ามาผ่านชุมชนของเราเมื่อไหร่ก็ได้ บุคคลภายนอกจะเดินเข้ามาชะโงกดูบ้านของเราก็ได้ ถ้าถามกลับว่าหากเป็นบ้านของเราที่ต้องอยู่บนความเสี่ยงตลอดเวลาแบบนี้เราจะยอมกันหรือไม่ ดังนั้นก่อนที่จะมีการสร้างทางหรือถนนบนแม่น้ำเจ้าพระยาและจะมีการทำประชาพิจารณ์ตนอยากให้การเปิดการทำประชาพิจารณ์ที่ให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบได้มีส่วนร่วมในการส่งเสียงอย่างแท้จริงไม่ใช่การปิดกั้นการแสดงความเห็นของชาวบ้านที่ไม่ต้องการทางเลียบเหมือนที่ กทม.พยายามทำอยู่ตลอดเวลาแบบนี้ ซึ่งสิ่งที่พวกเราต้องการอย่างแท้จริงคืออยากให้กทม.หันมาอนุรักษ์แม่น้ำ และคืนวิถีชุมชนให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมเหมือนที่เคยเป็น" น.ส.ระวีวรรณกล่าว
 
ด้านพิมพ์ศิริ สุวรรณนาคร ตัวแทนชาวบ้านจากชุมชนพานถมกล่าวว่า ชุมชนของเราผูกพันกับวิถีริมน้ำเจ้าพระยามานับร้อยปีและเราได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำลำคลองตลอดเวลาของดีชุมชนบ้านพานถมในสมัยก่อน บริเวณโดยรอบวัดปรินายก จะมีช่างฝีมือทำเครื่องถมมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยชาวชุมชนเป็นผู้ริเริ่มสร้างเตาเพื่อทำขันเงิน หรือที่เรียกว่า "ขันน้ำพานรอง" ขึ้น และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในสมัยนั้น ความรุ่มรวยวัฒนธรรมของชุมชนเรา อยากให้คงอยู่แบบนี้ตลอดไป เพราะถือเป็นอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ของชุมชน การที่ภาครัฐ เตรียมที่จะดำเนินโครงการ สร้างถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา อยากให้ทางภาครัฐให้ความสำคัญกับประชาชน โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในส่วนของการแสดงความคิดเห็น เพราะที่ผ่านมา มีเพียงการพูดคุยประชุมแบบกว้าง ๆ เท่านั้น รวมทั้งเหมารวมว่า ชาวบ้านเห็นด้วย ตรงนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง
 
"ข้อเรียกร้องของเรา คือ ไม่เอาถนนบนแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะที่ผ่านมาไม่มีการถามความเห็นจากคนในชุมชนว่าเห็นด้วยหรือไม่ หรือเมื่อสร้างแล้ว ชาวบ้าน จะได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ทางกทม.มักใช้เหตุผลว่าต้องการสร้างทางเลียบแม่น้ำเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงแม่น้ำ ถ้าหากกทม.ต้องการให้ประชาชนเข้าถึงแม่น้ำจริงก็ต้องฟื้นฟูวิถีของชาวบ้านริมแม่น้ำให้กลับคืนมาเพื่อให้ประชาชนที่อยู่ริมแม่น้ำเขาได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำอย่างแท้จริง และเมื่อชาวบ้านเข้มแข็งก็สนับสนุนให้เกิดการท่องเที่ยวในรูปแบบชุมชนประชาชนทุกคนก็สามารถที่จะเข้าถึงแม่น้ำได้ ชาวบ้านทุกคนก็สามารถอยู่ได้จากการท่องเที่ยวนี่คือรูปแบบที่กทม.ควรพัฒนาให้เกิดมากกว่าการไร่รื้อชุมชนและนำถนนอะไรก็ไม่รู้ว่าตั้งผ่านบ้านของเขาแบบนี้"ตัวแทนชาวบ้านจากชุมชนพานถมกล่าว
 
ขณะที่นางอรศรี ศิลปี ประธานชุมชนบางลำพูกล่าวว่า ในสมัยโบราณบริเวณนี้จะเป็นบ้านคนมอญอยู่กันมาก โดยมีการสร้างวัดชนะสงคราม เพื่ออยู่คู่ชุมชน เหตุที่เรียกว่าชุมชนบางลำพูเพราะว่าชุมชนของเรามีต้นลำพูจำนวนมาก ชุมชนของเรามีของดีอยู่หลายอย่าง นอกจากจะเป็นศูนย์กลางการค้าหลายชนิด ทั้งเสื่อผ้าและอาหาร แล้ว ยังมีชุมชนดนตรีไทยชาวบ้านที่เก่ากว่าร้อยปี เป็นแหล่งเรียนบรรเลงดนตรี ขับร้อง การแสดง การละเล่น และการประดิษฐ์เครื่องดนตรีไทย ตนเป็นคนที่เติบโตมากับชุมชนบางลำพู และเห็นภาพเก่า ๆ และวิถีชีวิตผู้คนที่อยู่บริเวณโดยรอบบางลำพูและเห็นเสน่ห์ชุมชนที่เติบโตผ่านยุคสมัยต่าง ๆ มาอย่างช้านาน และเนื่องจากเป็นชุมชนที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาชุมชนที่อยู่ริมน้ำทุกชุมชนรวมถึงชุมชนบางบลำพูเองก็จะมีวิถีชีวิตของเขา และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่เราสามารถบอกเล่าได้ ดังนั้นตนขอเข้าประเด็นเลยว่าการที่กทม.กำลังจะมีโครงการสร้างถนนบนแม่น้ำเจ้าพระยาตนขอยืนยันเลยว่ามันทำไม่ได้ เพราะการก่อสร้างขนาดใหญ่แบบนั้นจะทำให้แม่น้ำแคบลง รวมถึงวิถีชุมชนริมน้ำก็จะหายไป
 
ประธานชุมชนบางลำพูกล่าวเพิ่มเติมว่า มันไม่ใช่ไม่มีตัวอย่างให้เห็นว่าการพัฒนาของ กทม.ที่ผ่านมานั้นมีผลกระทบกับชาวบ้านอย่างไร ซึ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนในชุมชนเราเลยก็คือการสร้างถนนเลียบแม่น้ำบริเวณสวนสันติชัยปราการก็ยังพบข้อบกพร่องในหลาย ๆ ด้าน ไม่มีการดูแล ไม่มีการจัดสรรให้ใช้ประโยชน์อย่างเท่าเทียม อุปกรณ์บนสะพานก็ชำรุดผุพัง การทำความสะอาดก็ไม่มีขยะเต็มไปหมด และทำให้เกิดการมั่วสุมในเวลากลางคืน ทำให้ปัจจุบันนี้ ไม่มีใครไปเดินถนนบริเวณริมน้ำ และสะพานตรงนั้นมีปัญหาอาชญากรรมเกิดขึ้นบ่อยครั้ง จนต้องขอกำลังทหารมาดูแลรักษาความปลอดภัย นี่แค่การสร้างสะพานขนาดย่อมยังเกิดปัญหากับชุมชนมากขนาดนี้ แล้วถ้าจะมีการสร้างทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาขนาดใหญ่ปัญหาจะเกิดกับชุมชนมากมายขนาดไหน กทม.จะบริหารจัดการในการดูแลอย่างไร ความปลอดภัยที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนจะเป็นรูปแบบใด ใครจะเป็นคนดูแลรักษาความสะอาด นี่คือคำถามที่เราเห็นจากสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้ว
 
"ดิฉันคิดว่าสิ่งที่กทม.ควรทำจริง ๆ ตอนนี้คือการดูแลและพัฒนาชุมชนริมน้ำที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ มีคำพูดที่ว่า แม่น้ำเจ้าพระยา หล่อเลี้ยงชีวา มากว่า 700 ปี ชุมชนริมน้ำเจ้าพระยาไม่ใช่วาเขาเพิ่งเกิดขึ้นมา แต่เขาเกิดกันมาแล้วกว่าร้อย ๆ ปี และสิ่งที่ดิฉันเข้าใจมาตั้งแต่เกิดคือการทำถนนนั้นต้องทำบนบก และในแม่น้ำต้องเป็นทางสัญจรของเรือ ไม่ใช่การนำถนนบนบกมาลงในแม่น้ำ ซึ่งผิดหลักการ โครงการถนนบนแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไม่มีความชัดเจนนี้ มองแล้วก็ไม่ได้เกิดประโยชน์กับชาวบ้านชุมชนไหนเลยแบบนี้ กทม.เองไม่ควรทำสิ่งที่กทม.ควรทำคือกาพัฒนาชุมชนริมน้ำให้เขาคงอัตลักษณ์ของเขาไว้จะดีกว่า ดังนั้นกทม.ควรยุติโครงการ และให้สอบถามคนในชุมชนว่าเขาต้องการอะไร และออกแบบความต้องการของชุมชนให้ทุกคนได้ใช้ประโยชน์อย่างแม่น้ำอย่างเป็นธรรมและยั่งยืนนั่นถึงจะเป็นการพัฒนาที่ถูกต้องที่สุด"นางอรศรีกล่าว 
 
สำหรับการจัดงานเทศกาลริมน้ำบางกอกในครั้งนี้นอกจากจะมีเวทีเสวนาหัวข้อ "พัฒนาแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างไรให้เป็นธรรมและยั่งยืน" แล้วยังมีการจัดออกร้านของดีของเด่นจาก 8 ชุมชนรอบริมน้ำเจ้าพระยา ซึ่งประชาชนทุกคนที่เข้าร่วมงานจะได้เรียนรู้วิถีของชุมชนริมน้ำผ่านการจำหน่ายของดีของเด่นของชุมชนต่าง ๆ เหล่านี้ แล้วยังมีกิจกรรม แสดงเจตนารมณ์ในการพัฒนาและปกป้องแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างยั่งยืนร่วมกันของชาวชุมชนริมน้ำและคนไทยทุกคนผ่าน กิจกรรม #mychaophraya "วาดเจ้าพระยาในแบบที่ฉันฝัน" บนผืนผ้าใบขนาดใหญ่ และการ การแสดงดนตรี Acoustic และการบอกเล่าความรู้สึกของศิลปินที่มีต่อแม่นำเจ้าพระยา โดยศิลปินหลากหลายท่านอาทิ คุณมาโนช พุฒตาล , คุณเป็ก บลูสกาย, คุณเล็ก สุรชัย , คุณน้อย กฤษฎา สุโกศล แคลปป์ & คุณสุกี้ พร้อมครอบครัว ศุโกศล พร้อมศิลปินรับเชิญพิเศษ คุณบอย โกสิยพงษ์ โป้ โยคีเพลย์บอย Mariam B5 โดยมีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมเปิดการแสดง
 
อดีตนายกอานันท์ ปันยารชุน ระบุการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่บนแม่น้ำเจ้าพระยาต้องฟังเสียงชุมชนและยึดผลประโยชน์ของชุมชนเป็นที่ตั้ง เน้นพัฒนาให้ตรงจุดไม่ทำลายวิถีชีวิตชาวบ้าน เปรียบเจ้าพระยาเป็นเส้นเลือดใหญ่ของคนไทยที่ต้องรักษาไว้
 
"ผมรักเจ้าพระยา การที่เป็นเมืองที่ทันสมัย ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องมีตึกรามบ้านช่องไปเปรียบเทียบกับนิวยอร์ก ชิคาโก หรือ เซี่ยงไฮ เมื่อไหร่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเห็นถึงคุณค่าของการเป็นเมือง ที่ไม่ใช่เมืองใหม่ เมืองที่ทันสมัย แต่เป็นเมืองที่น่าอยู่ เป็นเมืองที่ร่มเย็น ไม่ใช่หากต้นไม้ไปกีดขวางเสาไฟฟ้าจะต้องตัดต้นไม้ก่อน จะสร้างถนนก็ตัดต้นไม้ ขยายถนนก็ต้องถมคลองก่อน" นายอานันท์ กล่าว
 
นายอานันท์ กล่าวด้วยว่า แม่น้ำเจ้าพระยามีความหมายมาก หากเปรียบบางกระเจ้าเป็นปอดของกรุงเทพฯ แม่น้ำเจ้าพระยาถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ของคนกรุงเทพฯ และคนไทยโดยทั่วไป ทำไมในความเป็นสมัยใหม่จะต้องทำลายของเก่า ทำลายชีวิต ชุมชน ทำลายความสงบ ซึ่งส่วนตัวอยากเห็นแม่น้ำเจ้าพระยาที่ ไม่มีสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ออกไปในแม่น้ำ อยากเห็นแม่น้ำเจ้าพระยาที่ใสสะอาด เราจึงต้องเรียกร้องความสงบกลับมา
 
"สิ่งที่เขาสร้างขึ้นใหม่ ขอร้องเถอะ เห็นแก่จิตใจประชาชนบ้าง เห็นกับวิถีชีวิต ประชาชน เห็นกับสิ่งที่เขาหวงแหนมาตลอดชีวิต เขาเกิดที่นี่ใช้ชีวิตที่นี่ ทำไมต้องสร้างนู้นสร้างนี่ขึ้นมา โดยไม่เห็นความยั่งยืน หรือความบริสุทธิ์ผุดผ่องของโบราณหรือไม่เห็นคุณค่าของสิ่งที่เป็นประเพณีนิยมหรือ สิ่งที่ก่อให้เกิดวิญญาณของคนกรุงเทพ และคนไทย ทำไมถึงต้องไปเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม เบียดเบียนคนหาเช้ากินค่ำ สังคมอยู่ไม่ได้ถ้าทุกคนถูกลืม ถูกตัดหางปล่อยวัด คนพวกนี้เขามีจิตใจนะ และที่เราทุกคนต้องมีต่อไปคือความหวัง ๆ ว่าการพัฒนาเมืองนั้น คนอยู่ร่วมได้กับธรรมชาติ วิถีชีวิตเก่าต้องผสมผสานกับใหม่ การเดินไปสู่ในอนาคตถ้าทำลายสิ่งเก่ามันจะเป็นอนาคตที่ไม่สดใส" อดีตนายกรัฐมนตรีกล่าว
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ม.41 ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเสียหายแล้วกว่า 8 พันราย ลดขัดแย้งระบบสาธารณสุข

Posted: 05 Aug 2017 11:16 PM PDT

สปสช.เผย การช่วยเหลือตามมาตรา 41 สำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากบริการสาธารณสุขตาม ตั้งแต่ปี 2547 ดูแลกว่า 8,417 ราย ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนผู้ป่วยและญาติ เผยใช้งบประมาณรวม 1.3 พันล้านบาท เฉลี่ยปีละ 107 ล้านบาท ต่ำกว่าคาดการณ์ ซ้ำผลลัพธ์คุ้มค่า ลดความขัดแย้งระบบสาธารณสุข ลดฟ้องร้องแพทย์ได้

      
 
6 ส.ค. นพ.ชูชัย ศรชำนิ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข แม้ว่าในทางการแพทย์ย่อมมีโอกาสที่เกิดขึ้นได้ แต่คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นแน่นอนไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผู้ป่วยหรือบุคลากรทางการแพทย์ แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้วผู้ที่ได้รับความเสียหายควรได้รับการดูแลและช่วยเหลือเบื้องต้น นอกจากเป็นการบรรเทาความเดือนดอนความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว ยังช่วยลดความขัดแย้งในระบบสาธารณสุขได้ ด้วยเหตุนี้ในมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 จึงกำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กันเงินจำนวนไม่เกินร้อยละ 1 ของเงินที่จะจ่ายให้หน่วยบริการไว้เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้รับบริการภายใต้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลและบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ
 
ตลอดระยะเวลาของการดำเนินการตาม ม.41 ได้พิสูจน์แล้วว่า นอกจากเป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยและญาติที่ได้รับผลกระทบจากความเสียหายบริการสาธารณสุขแล้ว ยังเป็นแนวทางนำไปสู่การลดความขัดแย้งระหว่างแพทย์และผู้ป่วยลงได้ โดยเฉพาะช่วยลดการฟ้องร้องในระบบบริการสาธารณสุขที่ผ่านมา แม้ว่าจะเป็นการดำเนินการครอบคลุมเฉพาะผู้มีสิทธิภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพเท่านั้น ทั้งยังเป็นระบบที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้แพทย์ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย ซึ่งจะได้รับการคุ้มครองในการรักษากรณีหากเกิดเหตุสุดวิสัยทางการแพทย์ขึ้น  
 
นพ.ชูชัย กล่าวว่า จากรายงานการพิจารณาคำร้องและให้การช่วยเหลือเบื้อต้นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากบริการสาธารณสุข ตาม ม.41 โดยสำนักกฎหมาย สปสช.ตั้งแต่ปี 2547 ถึงเดือนมีนาคม 2560 มีผู้ยื่นคำร้องขอรับการช่วยเหลือทั้งสิ้น 10,207 ราย ในจำนวนนี้เข้าเกณฑ์รับการช่วยเหลือ 8,417 ราย และไม่เข้าเกณฑ์รับการช่วยเหลือ 1,790 ราย เป็นการช่วยเหลือกรณีเสียชีวิต 4,440 ราย พิการ 1,264 ราย และอุทธรณ์ 1,026 ราย รวมเป็นจำนวนเงินการจ่ายช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเสียหายในระบบทั้งสิ้น 1,395,665,113 บาท   
 
ทั้งนี้เมื่อดูข้อมูลรายงานการพิจารณาคำร้องและให้การช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากบริการสาธารณสุข ตาม ม.41 ในปี 2547 ที่เป็นปีที่เริ่มต้น มีผู้ยื่นคำร้อง 99 ราย เข้าหลักเกณฑ์การช่วยเหลือ 73 ราย รวมเป็นจำนวนเงินช่วยเหลือ 13 ล้านบาท ต่อมาในปี 2548-2560 มีจำนวนการยื่นคำร้องเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในปี 2559 มีการยื่นคำร้องขอรับการช่วยเหลือ 1,069 ราย เข้าหลักเกณฑ์การช่วยเหลือ 885 ราย เป็นเงินช่วยเหลือ 212,952 ล้านบาท สำหรับในปี 2560 นี้จากข้อมูล ณ เดือนมีนาคม มีการยื่นคำร้อง 265 ราย เข้าหลักเกณฑ์การช่วยเหลือ 196 ราย เป็นเงินช่วยเหลือ 52,523,800 บาท และเมื่อดูภาพรวมโดยเฉลี่ยในช่วง 13 ปี มีผู้ยื่นคำร้องขอรับการช่วยเหลือเฉลี่ย 828 ราย/ปี เป็นจำนวนเงินเฉลี่ย 107 ล้านบาท/ปี  
 
"ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบันการยื่นคำร้องขอรับการช่วยเหลือมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นถึงการเข้าถึงการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขนี้ และแม้ว่างบประมาณเพื่อช่วยเหลือจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นตาม แต่ยังเป็นจำนวนที่น้อยกว่าจากที่มีการคาดการณ์ไว้ในช่วงที่เริ่มต้นระบบ สะท้อนให้เห็นว่าถ้าหากเทียบเป็นสัดส่วนแล้ว กลไกการช่วยเหลือเบื้องต้นช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย (Doctor- Patient Relationships) ไปในทิศทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ผลลัพธ์ที่ได้ยังก่อให้เกิดกระบวนการไกล่เกลี่ยที่นำไปสู่ช่วยลดความขัดแย้งระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ รวมไปถึงการฟ้องร้องนับว่าเป็นความปรารถนาสูงสุดของการสร้างสรรค์ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คือการให้คุณค่ากันและกันระหว่างผู้ป่วยและญาติ กับบุคลากรทางการแพทย์ตามหลักการ Value based Healthcare" รองเลขาธิการ สปสช.กล่าว
 
นพ.ชูชัย กล่าวต่อว่า สำหรับขั้นตอนการขอรับการช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีเกิดความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข สามารถยื่นคำร้องได้โดยผู้ป่วยหรือญาติ ได้ที่ สปสช.ทั้ง 13 เขต ซึ่งจะมีการพิจารณาให้แล้วเสร็จโดยเร็วภายใน 30 วัน โดยมีอัตราช่วยเหลือเบื้องต้น ดังนี้ 1.กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวรหรือเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องได้รับการ รักษาตลอดชีวิตและมีผลกระทบรุนแรงต่อการดำรงชีวิต 240,000-400,000 บาท 2.สูญเสียอวัยวะหรือพิการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต 100,000-240,000 บาท และ 3.บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่องไม่เกิน 100,000 บาท
 
ทั้งนี้สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1330 สปสช.หรือ ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ หรือศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 50(5)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสนอไอเดีย 'จ่ายเงินเดือนผู้พ้นโทษ' 1,000 บาท รายงานตัวทุกเดือน

Posted: 05 Aug 2017 11:06 PM PDT

ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เสนอไอเดียจ่ายเงินให้กับผู้พ้นโทษเดือนละ 1,000 บาท เพื่อจูงใจให้มารายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ทุกเดือน ช่วยป้องปรามและลดโอกาสกระทำผิดซ้ำ

 
 
เว็บไซต์แนวหน้า รายงานว่าเมื่อ 4 ส.ค. 2560 ที่ รร.มิราเคิล แกรนด์ ย่านหลักสี่ กทม. พล.ต.ท.ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) กล่าวในงานเสวนา "แนวทางการแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำในประเทศไทย" ซึ่งจัดโดยกรมคุมประพฤติ ถึงปัญหาคดีอาชญากรรมในประเทศไทยว่า ถ้าไม่จำเป็นอย่าเน้นแต่การจับกุมส่งเข้าเรือนจำอย่างเดียว เพราะเข้าไปแล้วนอกจากจะไม่มีกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ยังเป็นแหล่งบ่มเพาะให้สามารถก่อคดีซับซ้อนและรุนแรงยิ่งขึ้น อาทิ เหตุทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่นนักเรียนนักเลง บางครั้งยังไม่ตีกันแต่ตรวจค้นเจอว่าพกพาอาวุธ ลักษณะนี้หากดำเนินคดีไปจะเสียอนาคตได้ กลุ่มนี้จะนำกระบวนการคุมประพฤติมาใช้ตั้งแต่ต้นได้หรือไม่ ตนเชื่อว่าการคุมประพฤติกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้จะเป็นการป้องปรามไม่ให้ออกไปก่อเหตุได้ รวมถึงกลุ่มที่กระทำผิดแต่มีอัตราโทษไม่สูงเช่นกัน เพราะทุกวันนี้นักโทษในเรือนจำมีปะปนกันทุกแบบ ตั้งแต่ความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปจนถึงก่อคดีร้ายแรง รวมถึงกลุ่มที่ก่อเหตุเพราะมีอาการทางจิต
 
ผบช.ก. กล่าวต่อไปว่า ส่วนกลุ่มที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือกลุ่มผู้ต้องขังที่เพิ่งพ้นโทษจากเรือนจำ ที่ผ่านมายังไม่มีมาตรการติดตามและเฝ้าระวังหลังปล่อยตัวที่ครอบคลุม ส่งผลให้คนกลุ่มนี้กลับไปทำผิดซ้ำ ตนจึงเสนอว่า น่าจะมีงบประมาณสำหรับจ่ายให้กับผู้พ้นโทษเดือน 1,000 บาท เพื่อจูงใจให้มารายงานตัวทุกเดือน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ทราบว่าไปอยู่ที่ไหน มีชีวิตเป็นอย่างไร เพราะจำนวนมากไม่สามารถติดตามได้ ย้ายที่อยู่ก็ไม่รู้ว่าไปอยู่ที่ใด เช่น สมมติเน้นเฉพาะผู้เคยมีคดีเกี่ยวกับเพศ 6,000 คน จะใช้งบประมาณเดือนละ 6 ล้านบาท ปีละ 72 ล้านบาทเท่านั้น เป็นการป้องปรามลดโอกาสกระทำผิดซ้ำเพราะเมื่อเกิดคดีขึ้น เจ้าหน้าที่สามารถตีวงค้นหาผู้ต้องสงสัยได้ทันทีเนื่องจากทราบว่าในละแวกนั้นมีใครที่เคยต้องโทษบ้าง ดังคดีหนึ่งในพื้นที่ จ.ราชบุรี มีเหยื่อถูกล่วงละเมิดทางเพศไปแจ้งความ ตำรวจก็ตรวจสอบว่าในรัศมีรอบๆ ที่เกิดเหตุมีใครเคยต้องคดีความผิดเกี่ยวกับเพศมาพักอาศัยบ้าง แล้วนำภาพถ่ายไปให้เหยื่อดู จนนำไปสู่การจับกุมตัวผู้ก่อเหตุได้อย่างรวดเร็ว
 
พล.ต.ท.ฐิติราช กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ก่อนจะปล่อยตัวผู้ต้องขัง ควรมีการประเมินสุขภาพจิตก่อนเพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงสูงว่าใครมีแนวโน้มที่จะกลับไปทำผิดซ้ำ เพื่อเตรียมมาตรการเฝ้าระวังต่อไป รวมถึงต้องมีกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตั้งแต่ยังทำผิดในระดับต้น ๆ เช่น ผู้ก่อคดีข่มขืนกระทำชำเรา หลายรายเริ่มต้นจากพฤติกรรมขโมยชุดชั้นในสตรีหรือลวนลามอนาจาร คนเหล่านี้ถือว่าป่วย หากนำไปติดคุกอย่างเดียวแต่ไม่มีการบำบัดแก้ไข เมื่อพ้นโทษก็ออกมาก่อเหตุเช่นเดิมหรือรุนแรงกว่าเดิม ซึ่งเรื่องนี้คงต้องขอความร่วมมือจากกรมสุขภาพจิตด้วย
 
ขณะที่ รศ.ดร.ประธาน วัฒนวาณิชย์ อาจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวเสริมว่า ที่มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มีการตั้งงบประมาณไว้จ่ายให้กับกลุ่มเสี่ยงกระทำผิดซ้ำให้มารายงานตัวทุกเดือน ซึ่งมุมหนึ่งก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก แต่อีกมุมหนึ่งก็เป็นการควบคุมคนเหล่านี้ให้อยู่ภายใต้การสอดส่องของพนักงานคุมประพฤติ รวมถึงต้องมีมาตรการดูแลครบถ้วนตั้งแต่เมื่อศาลมีคำพิพากษาจนถึงหลังการปล่อยตัว เช่น เมื่อพ้นโทษไปแล้วต้องประสานกับหน่วยงานอื่นๆ อาทิ กรมแรงงาน สำนักงานตำรวจ
 
อนึ่ง ในเวทีดังกล่าวช่วงที่เปิดให้มีการแสดงความคิดเห็น ก็มีเสียงสะท้อนจากพนักงานคุมประพฤติ ว่าควรมีอำนาจบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของตนบ้างหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาผู้ถูกคุมประพฤติบางรายกระทำผิดเงื่อนไขคุมประพฤติ เช่น เสพยาเสพติดร้ายแรงแม้จะถูกห้ามในเงื่อนไข เคยพบแม้กระทั่งแอบฉีดเฮโรอีนในห้องน้ำของศาลก็มี แต่ขณะนี้พนักงานคุมประพฤติทำได้เพียงรายงานต่อศาลเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของผู้ถูกคุมประพฤติได้อย่างทันท่วงที
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การเมืองเรื่องความรัก: บทวิพากษ์ 'ประเทศเฮงซวย' ที่มีแต่' มหาลัยขาล็อค'

Posted: 05 Aug 2017 09:48 PM PDT


 

เหตุการณ์ "ล็อคคอ" กับ "ประเทศเฮงซวย" มีบางอย่างสัมพันธ์กันอยู่ ช่วงสองสามวันมานี้สื่อต่างๆ พาดพิงถึงเหตุการณ์ทั้งสองในแง่มุมต่างๆ นาๆ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นวัยรุ่นกับการแสดงออก หรือการไม่เคารพที่ต่ำที่สูง บ้างก็ว่าเป็นเรื่องของการไม่รักประเทศชาติและ สถาบัน แม้ประเด็นจะแตกต่างกัน แต่ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า  ทั้งสองเหตุการณ์ชี้ให้เห็นปรากฎการณ์บางอย่างที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย ข้อเขียนนี้พยายามทำความเข้าใจปรากฎการณ์ดังกล่าว ผ่านทฤษฎีเรื่องการเมืองเรื่องความรัก ของ Sara Ahmed

Sara Ahmedเขียนหนังสือเรื่อง Cultural Politic of Emotion ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2004  เพื่อศึกษาเกียวกับเรื่องอารมณ์กับการเมือง ในบทที่อุทิศให้ "ความรัก" ซาร่าได้อธิบายกลไกเบื้องหลังการใช้ความรัก และความเกลียดชังเป็นเครื่องมือทางการเมืองไว้อย่างมีชั้นเชิง เธอเริ่มจากการตั้งคำถามว่า อะไรคือบรรทัดฐานในการตัดสินกิจกรรมใดๆ ทางการเมืองว่า มีต้นตอมาจากความรัก หรือกำเนิดขึ้นจากความเกลียดชัง ในเมื่อธรรมชาติของอารมณ์ทั้งสองประเภทเป็นขั้วตรงข้ามของกันและกันในทุกกรณี เช่น หากคนขาวในอเมริกาออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านการอพยพย้ายถิ่น และการลักลอบเข้าประเทศ โดยอ้างว่า การรณรงค์ดังกล่าวเกิดจากความรักในความเป็นชาติ และต้องการปกป้องความเป็นอเมริกัน ก็ไม่แปลกที่จะตีความเหตุการณ์เดียวกันว่า การรณรงค์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากการเกลียดชัง เพราะคนขาวกลัวว่าผู้อพยพจะเข้ามาก่ออาชญากรรม หรือเข้ามาแย่งงาน ฯลฯ ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า ภาพความรังเกียจ หรือความกลัวดังกล่าวจะไม่มีทางปรากฎออกมาในสื่อสาธารณะแบบโจ่งแจ้ง สิ่งที่ซาร่าชี้ให้เราเห็นคือไม่ว่ากลุ่มก้อนทางการเมืองจะเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิ่งใด ไม่ว่าต้นเหตุจะเกิดจากความเกลียดชังที่เด่นชัดปานใด แต่สุดท้ายนักการเมืองก็จะเล่นแร่แปรธาตุให้การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำในนามของความรักให้จงได้[1]... เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?

ซาร่าอธิบายต่อไปว่า ความรักมีพลังในการดึงดูดผู้คนให้รวมตัวกันมากกว่าความเกลียดชัง เพราะธรรมชาติของความรักมีคุณสมบัติที่เป็นแง่บวกสามารถ เสริมสร้างความเป็นหมู่คณะ และสามารถประกอบเป็นอุดมคติที่เข้มแข็ง ต่างจากความเกลียดชังซึ่งโดยธรรมชาติมีความขัดแย้งแบ่งแยกเป็นสารัตถะ นอกจากนี้ ความรักยังมีข้อดีคือ ยืนยงกว่าความเกลียดชังเพราะกว่าจะมีความรักจำต้องอาศัยการทุ่มเทมากกว่า ซึ่งเธอมองว่า การทุ่มเทให้ความรักนั้นเป็นต้นทุนที่ทำให้ผู้ที่ประกาศตัวว่ามีความรักจำต้องยึดมั่นในสิ่งที่ตนรักแม้ว่า สิ่งนั้นจะไม่มีอยู่แล้วก็ตาม (คนที่เคยถูกแฟนทิ้งคงเข้าใจความรู้สึกรักทำนองนี้ดี) ในทางการเมืองก็ไม่ต่างกัน มีตัวอย่างมากมายของการสวมหน้ากาก 'ในนามของความรัก' เพื่อหาความชอบธรรมในการแสดงความเกลียดชังในพื้นที่สาธารณะโดยมีจุดประสงค์เพื่อทำลายล้างฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีอีกฝ่ายว่าไม่รักชาติ และเกทับว่า ฉันรักของฉัน ไม่เชื่อดูที่อกซ้ายของฉันสิ หรือ ชี้ให้เห็นว่าอีกฝ่ายไม่เคารพธรรมเนียมประเพณี ทั้งๆ ที่ฉันสู้อุตส่าห์ปกปักษ์รักษามาเนิ่นนาน ซาร่าชี้แจงต่อไปว่า ฝ่ายที่อ้างว่ามีความรักมีต้นทุนคือ เวลา และความเชื่อ ที่ประกอบสร้างออกมาในรูปของจินตนาการ เป็นความยึดมั่นในจิตใจ ที่เรียกว่าความรัก ซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นตัวตนในที่สุด ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกถึงความรักประเทศชาติ หรือรักสถาบัน ก็ล้วนเป็นหนึ่งในรูปแบบของการแสดงว่า ได้รับการยอมรับในสังคม และยิ่งเมื่อลงทุนไปมากเท่าไรเพื่อให้ได้รับการยอมรับ จินตนาการดังกล่าวก็เข้มแข็งยิ่งขึ้น

ตามแนวคิดดังกล่าว จึงเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับคนที่เกลียดแรงงานต่างด้าวเพราะมาแย่งงานของตนที่จะแสดงออกความเกลียดชังในรูปของความรักชาติ กลไกที่เกิดขึ้นเบื้องหลังวาทกรรมดังกล่าวก็ง่ายๆ คือตัวเรา นั้นถูกคุกคามจากผู้อื่นเพราะ การกระทำของ ผู้อื่นเข้ามามีผลกระทบกับจินตนาการที่ผูกติดกับความเป็นตัวตนของเรา และการคุกคามนั้นขยายตัวมาเบียดเบียนจนทำให้ตัวเรารู้สึกว่า ตนเองกำลังสูญเสียอะไรบางอย่างไป ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่การงาน หรือความปลอดภัยในทรัพย์สิน กระทั่งความเชื่อที่ยึดถือมานานจนหลอมรวมเป็นตัวตนอย่างแยกออกจากกันไม่ได้ ดังนั้นเป็นธรรมดาที่ตัวเราจะแสดงการต่อต้านด้วยความเกลียดชัง แต่แน่นอนว่า ในทางการเมืองสาธารณะ การต่อต้านการคุกคามดังกล่าวมักจะนำไปอ้างถึงถึงจินตนาการเรื่องความรัก ไม่ใช่เพราะว่าความรักนั้นฟังดูดี แต่ว่าธรรมชาติของความรักสามารถนำพามวลชนให้มาเข้าร่วมกับจินตนาการความรักของตนเองด้วยคุณสมบัติที่กล่าวไปแล้วเบื้องต้น

รุปง่ายๆ คือ คนที่อ้างความรักบ่อยๆ เป็นไปได้ว่าพวกเขากำลังถูกคุกคาม และกำลังกลัวการสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงจากการถูกคุกคามจากความเป็นอื่น พวกเขาต้องการการยืนยันการมีอยู่ของตัวตนของตนเองโดยเรียกร้องให้ผู้คนรอบข้างเข้าร่วมปฏิญาณความรักที่ตนเองบูชา และต่อต้านความเป็นอื่นซึ่งเป็นอริกับจินตนาการความรักของตน เช่น ฉันรักชาติ พวกคุณไม่รักชาติกันรึอย่างไร? … ซึ่งท้ายที่สุดสมการนี้จะนำไปสู่วาทกรรมต่างๆ เพื่อแสดงออกถึงความเกลียดชังฝั่งตรงข้ามแบบไม่น่าเกลียด ตลอดจนแสดงออกถึงการพยายามผลักฝั่งตรงข้ามไปให้พ้นๆ แบบเนียนๆ และเหมือนจะชอบด้วยเหตุผล เช่น หากไม่ชอบอยู่ให้ย้ายไปอยู่ที่อื่น เป็นต้น


กลับมาที่ "ประเทศเฮงซวย" และ "มหาลัยขาล็อค"

ในกรณีของ "ประเทศเฮงซวย" เป็นตัวอย่างที่ดีของการที่การแสดงอารมณ์ด้วยความเกลียดชังพ่ายแพ้ให้กับการแสดงอารมณ์ด้วยความรักในพื้นที่สาธารณะ แม้ว่าฝั่งที่แสดงอารมณ์ด้วยความรักจะใช้เหตุผลวิบัติแค่ไหนก็ตามแต่ ฝั่งที่แสดงอารมณ์เกลียดชังก็ไม่สามารถรวบรวมมวลชลเพียงพอที่จะยืนยันความมีตัวตนของตนเอง จนในที่สุดกระทั่งตัวเองก็ไม่สามารถทนอยู่กับอุดมการณ์ของตนเองจนต้องยอมล่าถอยลบกระทู้ไป ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว เรื่องที่ตนประกาศเป็นความจริงที่ตนเองประจักษ์แจ้งเพราะประสบมาด้วยตนเองแท้ๆ 

ที่น่าสนใจกว่าคือ กรณีของ "มหาลัยขาล็อค" กรณีนี้เป็นตัวอย่างที่สองฟากฝั่งของความขัดแย้งมีรูปทรงทางการเมืองค่อนข้างสูสี ในทรรศนะแบบการเมืองเรื่องความรัก เห็นได้อย่างชัดเจนว่า แม้ทั้งสองฝ่ายจะมีอุดมคติทางการเมืองเบื้องหลังแบบใดก็ตาม แต่สิ่งที่แสดงออกมาในทางสาธารณะเพื่อนำไปสู่การรวบรวมมวลชลของตนเอง (เพื่อยืนยันตัวตนของตนเอง) นั้นล้วนต้องอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ้างอิงไปสู่ความรักทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการให้เหตุผลว่า การกระทำนั้นเป็นไปเพื่อปฏิบัติให้ตรงตามเจตนารมณ์ของในหลวง ร.๕ หรือ ด้วยความรักความเป็นห่วงสถาบัน เหตุการณ์ที่สองนี้จึงยืดเยื้อกว่าเหตุการณ์แรก และจะไม่จบแบบมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยอมล่าถอยไปง่ายๆ แน่นอน เพราะทั้งคู่ล้วน  "เป็นมวย" 

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นความเป็นไปได้ที่ว่า ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลง ที่เห็นได้ชัดคือความขัดแย้งระหว่างแนวคิดของคนสองรุ่นเริ่มปะทุขึ้นในพื้นที่สาธารณะ และความขัดแย้งดูจะเด่นชัดขึ้นเรื่อยๆ โดยมีความเข้มข้นของการแสดงอารมณ์ ทั้งที่มีเหตุผลเป็นพื้นฐาน หรือการแสดงเหตุผลโดยมีอารมณ์เป็นพื้นฐานที่มีความหนักแน่นมากขึ้น ซึ่งน่าจะนำไปสู่การขยายตัวของความขัดแย้งในอนาคต ที่น่าคิดคือ ไม่ทราบว่าทั้งสองฝ่ายทราบไหมว่า การประกาศอุดมคติโดยอ้างนัยสื่อถึงความรัก หากที่แท้มีต้นตออยู่ที่ความเกลียดชังแล้ว สุดท้ายมันก็จะเป็นไปเพื่อสนองความต้องการที่จะผลักใสฝ่ายตรงข้ามให้กลายเป็นอื่นให้มากที่สุด และเพื่อเรียกร้องความสนใจจากมวลชนให้หันมาสนับสนุนฝั่งของตนเอง หรือแค่เพียงเพื่อยืนยันการมีอยู่ หรือเพื่อปกป้องจินตนาการเรื่องรักที่ตนเองใช้เวลาอันยาวนานเป็นต้นทุนสู้อุตส่าห์ประกอบสร้างขึ้นมาจนเป็นตัวเป็นตนชัดเจน... น่าคิดตรงที่ว่า จินตนาการดังกล่าวมันอาจจะชัดเจนเกินไปจนเจ้าของหารู้ไม่ว่า สิ่งที่ตนเองคิดว่ารักนักรักหนา และพยายามปกป้องเอาไว้อย่างเต็มที่ แท้ที่จริงมันอาจไม่มีอยู่ก็เป็นได้

 

หมายเหตุ

Ahmed, Sara (2004). The Cultural Politic of Emotion. Edinburgh University Press: Edinburgh.

บทเกี่ยวกับความรักสามารถหาอ่านออนไลน์ได้ที่ https://feministkilljoys.com/2016/11/09/fascism-as-love/




[1]เมื่อล่าสุดซาร่าออกมาเผยความกังวลว่าทฤษฎีของเธออาจใช้ไม่ได้กับยุคของประธานาธิปดี โดนัลด์ ทรัมป์ เพราะความเกลียดชังถูกแสดงออกมาโดยตรงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทวิลักษณ์ของกิจกรรมนักศึกษา สภาพบังคับจากมหาวิทยาลัยและมายาคติของค่ายอาสา

Posted: 05 Aug 2017 09:13 PM PDT

 

นอกเหนือจากปัญหากิจกรรมการรับน้อง พิธีกรรม และประเพณีดิษฐ์ทั้งหลายแล้ว ยังพบว่ามีปัญหาว่า นักศึกษาในยุคสมัยนี้ต่างตกอยู่ใต้พันธนาการของระบอบกิจกรรมนักศึกษาภาคบังคับของอำนาจมหาวิทยาลัย ขณะเดียวกันช่องทางของกิจกรรมที่อยู่นอกการบังคับก็นำไปสู่กิจกรรมอย่างเช่นการออกค่ายอาสา ก็มีความสภาพที่หนีไม่พ้นกับความเป็นการเมืองและความสัมพันธ์เชิงอำนาจชุดอื่นๆ ที่แฝงอยู่ด้วย เนื่องในฤดูกาลแห่งการเปิดภาคเรียนระดับอุดมศึกษา จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่บทความนี้จะเสนอคำอธิบายเกี่ยวกับทวิลักษณ์ดังกล่าว 


1. ทรานสคริปต์กิจกรรม

กิจกรรมภาคบังคับของสถาบันเพื่อตอบโจทย์ประกันของมหาวิทยาลัย

กิจกรรมในสถานศึกษาโดยอุดมคติแล้วเป็นกระบวนการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนในการแสดงออกเชิงสร้างสรรค์ มีประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม อีกทั้งเป็นการเรียนรู้การปฏิบัติงานด้านต่างๆ เข้ากับองค์กรต้นสังกัด/ภายนอก ในเบื้องแรกด้วยความหวังดีของมหาวิทยาลัยที่เห็นว่า กิจกรรมนักศึกษาจะเป็นการพัฒนาตัวนักศึกษาเอง แต่กิจกรรมดังกล่าวกลับเป็นกิจกรรมภาคบังคับที่ทำให้ นักศึกษามีพันธะลักษณะคล้ายดังแรงงานเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย ความเป็นเหตุเป็นผลของมหาวิทยาลัยที่สร้างระบบแรงงานเกณฑ์ดังกล่าว แยกไม่ขาดจากการตอบประกันคุณภาพการศึกษา นั่นคือ การตอบองค์ประกอบที่ 3 ด้านกิจกรรมพัฒนานักศึกษา สภาพบังคับดังกล่าวทำให้มหาวิทยาลัยวางโครงสร้างที่เอารัดเอาเปรียบนักศึกษาแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนนั่นคือ นโยบาย "ทรานสคริปกิจกรรม" ในเบื้องต้นไม่แน่ชัดว่าต้นเรื่องมาจากที่ใด มีการพูดถึงประเด็นนี้ที่ตั้งต้นจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ช่วงปี 2550 ที่เป็นการปรับปรุงจากสมุดบันทึกกิจกรรมมาเป็น transcript กิจกรรมนักศึกษา มีจำนวนรวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 17 กิจกรรม จำนวนหน่วยชั่วโมงที่เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 100 หน่วยชั่วโมง โดยมีจุดประสงค์ส่วนหนึ่งคือ การสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของมหาวิทยาลัยที่กระจายไปตามวิทยาเขตจังหวัดต่างๆในภาคใต้[2]

แต่ที่อยู่ในกระแสข่าวก็คือในปี 2554 โดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิตสมัยที่ยังสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏอยู่ได้เสนอว่าให้มีทรานสคริปกิจกรรมคู่กับทรานสคริปเกรดเฉลี่ย โดยอ้างว่าเพิ่มช่องทางในการหางานทำในฐานะแต้มต่อ

"ปัจจุบันมีนักศึกษาจบปริญญาตรีเพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าตัว ก่อให้เกิดการแข่งขันทางสังคมที่สูงขึ้น มสด.จึงหาช่องทางใหม่ สร้างแนวคิดออกทรานสคริปกิจกรรมควบคู่ไปกับ ทรานสคริปเกรดเฉลี่ย กล่าวคือ เมื่อสำเร็จการศึกษา นศ.จะได้ทรานสคริปถึง 2 ใบ สาระสำคัญของทรานสคริปกิจกรรม จะเป็นตัวบ่งชี้ว่านศ.ได้ร่วมกิจกรรมอะไรบ้างกับทางมหาวิทยาลัยฯ ตลอดระยะเวลาที่ศึกษา นอกจากจะบันทึกกิจกรรมที่มีส่วนร่วมในมหาวิทยาลัยฯแล้ว มสด.ยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาไปทำกิจกรรมข้างนอกด้วย อาทิ กิจกรรมช่วยเหลือสังคม , กิจกรรมจิตอาสาทั่วไป หากมีหนังสือรับรองว่าไปปฏิบัติจริง ทางมหาวิทยาลัยฯยินดีที่นำกิจกรรมต่างๆเหล่านั้นบันทึกเป็นข้อมูลส่วนตัวให้ ดังนั้นจึงส่งผลดีต่อตัวนักศึกษาเอง เมื่อนำทรานสคริปกิจกรรมไปสมัครงาน เกิดเป็นแต้มต่อทางสังคมและเพิ่มโอกาสให้กับนักศึกษาจบใหม่ หางานทำได้ง่ายขึ้น" [3]

ทรานสคริปกิจกรรมได้กลายเป็นกลไกสำคัญของมหาวิทยาลัยในการขูดรีดแรงงานและเวลาว่างของนักศึกษา การสำรวจเบื้องต้นพบว่า แนวคิดดังกล่าวแพร่หลายไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[4], มหาวิทยาลัยนเรศวร[5], มหาวิทยาลัยขอนแก่น[6], มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร[7] , มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม[8] ฯลฯ

กลไกระดับย่อยลงมาก็คือ คะแนนกิจกรรมหรือชั่วโมงกิจกรรมที่เป็นตัวเก็บคะแนนอาจมาในรูปของบาร์โค้ดกิจกรรม หรือรหัสกิจกรรมที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล หรือรูปแบบอื่นๆ นักศึกษาที่ทำกิจกรรมตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดจะได้รับคะแนนกิจกรรมนี้ไปสะสมแต้ม ตัวอย่างการเก็บคะแนนของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีดังนี้[9] การเทียบจำนวนหน่วยชั่วโมง ให้นับขั้นต่ำ 1 หน่วยชั่วโมง ปฏิบัติงานเต็มวันนับไม่เกิน 6 หน่วยชั่วโมง/วัน เช่น กรณีที่นักศึกษาเข้าร่วมโครงการค่ายร่วมศรีตรัง 7 วัน มี 3 กิจกรรมนั่นคือ กิจกรรมก่อสร้างอาคารเพื่อชุมชน 30 หน่วยชั่วโมง (ได้แต้มประสบการณ์เสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะ คุณธรรม จริยธรรม ความมีวินัย) กิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านการเกษตร 6 หหน่วยชั่วโมง (ได้แต้มประสบการณ์ส่งเสริมทักษะทางสังคม วิชาการ วิชาชีพ และเสริมสร้างสมรรถนะสากลบนพื้นฐานความเป็นไทย) และกิจกรรมนันทนาการ 6 หน่วยชั่วโมง (ได้แต้มประสบการณ์สร้างเสริมและพัฒนาสุขภาพ) [10] จากการสอบถามมิตรสหายต่างสถาบันหลายท่าน พบว่า มีมหาวิทยาลัยจำนวนไม่น้อยที่มีระบบคะแนนกิจกรรมที่สัมพันธ์กับทรานสคริปกิจกรรมที่ในเวลาต่อมามีการกล่าวอ้างกันว่ามีผลต่อการอนุมัติการจบการศึกษาของบัณฑิตอีกด้วย

ฉะนั้นพวกเขาเหล่านั้นพึงต้องมีแต้มสะสมให้ได้ตามกำหนด  ลำพังด้วยรูปแบบของกิจกรรมเองอาจไม่สอดคล้องต่อวิถีชีวิตของนักศึกษา เช่น ระยะเวลาไม่ตรงกัน ข้อจำกัดด้านภาระงาน ข้อจำกัดด้านสุขภาพ ฯลฯ หรือกระทั่งนักศึกษาส่วนใหญ่อาจละเลยที่จะเข้าร่วมโดยตรง จึงทำให้องค์กรใช้ระบบกิจกรรมเป็นตัวหลักในการดึงผู้เข้าร่วมมาให้ได้ครบตามจำนวนที่วางไว้ ให้มาเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อแลกกับคะแนนกิจกรรมที่พวกเขาเหล่านั้นจะได้ไป นักศึกษาในฐานะมวลชนจึงเป็นที่ต้องการในฐานะ  "แรงงาน" หรือ "ผู้เข้าร่วมงาน" เพื่อทำให้งานดูไม่โหรงเหรง ดังนั้นนักศึกษาโดยส่วนใหญ่ตกอยู่ในสภาวะ "ผู้ตาม" แทบจะไม่มีสิทธิเรียกร้องหรือเลือกปฏิบัติได้เลย

สภาวะความเหลื่อมล้ำของกิจกรรมนักศึกษา เห็นได้จากการที่กิจกรรมถูกกำหนดขึ้นจากคนอย่างน้อยสามกลุ่ม คือ กลุ่มแรก องค์กรภายในสถาบันที่มีอำนาจโดยตรงในการจัดกิจกรรม  กลุ่มที่สอง นักศึกษาส่วนน้อยที่อยู่ในองค์กรนักศึกษา กลุ่มที่สาม แกนนำนักศึกษาในภาคกิจกรรมต่างๆ (ชมรม/กิจกรรมประจำวิชา) จะเห็นได้ว่านักศึกษาส่วนใหญ่มิได้มีส่วนแสดงความเห็นว่า ควรจัดกิจกรรมเช่นไร เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับกิจกรรม แต่นักศึกษาในฐานะมวลชนกลับเป็นที่ต้องการในฐานะ  "แรงงาน" เพื่อดำเนินการ และ "ผู้เข้าร่วมงาน" เพื่อทำให้งานเชิงพิธีกรรมดูไม่โหรงเหรงจนเสียหน้าผู้จัดงาน ดังนั้นในความเป็นจริงแล้ว จะมีผู้เข้าร่วมสักกี่คนกัน? ที่เข้าร่วมกิจกรรมโดยไม่แสวงผลอันเกี่ยวกับฐานระบบคะแนนกิจกรรม อุดมการณ์คนดี มีจิตสาธารณะ จึงอยู่ในสภาวะ "ล้มเหลว"

ภาพหนึ่งที่ผู้เขียนในฐานะนักศึกษา มักพบเห็นอยู่บ่อยครั้งในการร่วมกิจกรรมเพื่อแลกกับบาร์โค้ด มันดูราวกับ "ฝูงชนจำนวนมหาศาลกรูเข้ามาหาน้ำเพียงแก้วเดียวที่วางอยู่กลางลานกว้างด้วยความคิดที่ว่าอาจจะจำเป็นต้องใช้มันทำอะไรสักอย่างแต่ยังไม่รู้ว่าจะใช้มันไปทำอะไร" เฉกเช่นเดียวกันกับความต้องการของนักศึกษาส่วนใหญ่ที่ต่างต้องหาทางสะสมแต้มให้ได้ตามจำนวน แม้พวกเขาจะเต็มใจหรือไม่เต็มใจเข้าร่วมกิจกรรมก็ตาม พวกเขาเหล่านี้ไม่มีสิทธิที่จะปฏิเสธหรือปัดสิทธิเหล่านี้ออกไป

นอกจากนั้นนักศึกษาบางกลุ่มมีอภิสิทธิ์ที่จะได้แต้มมากกว่านักศึกษาทั่วไปด้วย ในระเบียบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ระบุถึงแต้มต่อของนักศึกษาผู้มีตำแหน่งบริหารและได้รับรางวัลเป็นลำดับชั้น นั่นคือ ชั้นแรกจะได้ยกเว้น 60 หน่วยชั่วโมงได้แก่ นายกองค์การบริหาร, ประธานสภานักศึกษา, หัวหน้าพรรคนักศึกษา, นายกสโมสรคณะฯ ชั้นที่สอง 30 ชั่วโมง ได้แก่ คณะกรรมการองค์การบริหาร, คณะกรรมการพรรคนักศึกษา, คณะกรรมการชมรมในสังกัดองค์การบริหาร ฯลฯ และชั้นที่สาม 12 ชั่วโมง ได้แก่ นักศึกษาดีเด่นด้านต่างๆ[11]

คำถามที่ผุดขึ้นมาก็คือ คะแนนเหล่านี้มันวัดความมีจิตสาธารณะได้มากน้อยแค่ไหน? เกณฑ์ที่ถูกกำหนดอย่างเบ็ดเสร็จวัดความเป็นพลเมืองดีของนักศึกษาได้จริงหรือเปล่า? ระบบคะแนนกิจกรรมควรจะใช้เป็นข้อพิจารณาในภาคการศึกษาของบัณฑิตอยู่หรือเปล่า ทั้งๆ ที่ควรจะเป็นกิจกรรมอิสระที่นักศึกษาพึงเลือกปฏิบัติเท่าที่ควร

ดังนั้นกิจกรรมแทบทั้งหมดล้วนเป็นกิจกรรมที่ทำให้นักศึกษากลายเป็นแรงงานภาคบังคับที่ต้องเสียสละแรงกายและ/หรืออุทิศเวลาที่พึงจะได้พึงจะมีให้กับกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยต้องการให้ทำ ทั้งที่นักศึกษาจำนวนมากต้องการเวลาว่างสำหรับการทบทวนการเรียน กิจกรรมส่วนตัว จำนวนไม่น้อยที่ต้องทำงานพิเศษเพื่อส่งตัวเองเรียน โดยที่มหาวิทยาลัยก็มิได้รับผิดชอบแบกภาระดังกล่าวแทนนักศึกษา มิหนำซ้ำภาระของนักศึกษาดังกล่าวยังเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาราวทศวรรษเท่านั้น กิจกรรมสำหรับนักศึกษารุ่นก่อนหน้า ไม่ได้มีลักษณะเป็นแรงงานบังคับอย่างเข้มข้นเช่นนี้

หากย้อนกลับไปอ่านบทความของพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ ในปี 2553 ช่วงก่อนที่นโยบายทรานสคริปกิจกรรมจะเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย พวกผู้บริหารมหาวิทยาลัยนั่นเองที่เป็น "ประธานโซตัสตัวจริง" การยินยอมให้มีการรับน้องที่ขัดกับหลับสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญนั้น สามารถสร้างหลักประกันในการเกณฑ์นักศึกษามาใช้ในพิธีกรรมต่างๆของมหาวิทยาลัยได้ เนื่องจากระบบโซตัสนั้นจะช่วยเกณฑ์ให้นักศึกษามาเข้าร่วมพิธีกรรมได้ผ่านการใช้รุ่นพี่[12] เป็นไปได้ว่าการเสื่อมลงของการรับน้องที่ป่าเถื่อนแบบเดิม อาจถูกแทนที่ด้วยกลไกอย่างทรานสคริปกิจกรรมที่ทำให้มหาวิทยาลัยยังใช้แรงเกณฑ์จากนักศึกษาเพื่อร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัยอยู่ได้ แม้จะไม่มีระบบรับน้องเช่นนั้นอยู่แล้ว

บทความนี้มิได้ต่อต้านกิจกรรมเท่ากับการตั้งคำถามถึงสภาพบังคับของมัน การเข้าร่วมของนักศึกษาควรอยู่บนพื้นฐานความสมัครใจ สิ่งที่มหาวิทยาลัยควรทำงานให้หนักขึ้นคือ การสร้างสรรค์กิจกรรมที่ดึงดูดนักศึกษามากพอที่จะทำให้พวกเขาจะเต็มใจเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมของมหาวิทยาลัย


2. กิจกรรมค่ายอาสา คำตอบอยู่ที่หมู่บ้านของฉัน

กิจกรรม "จิตอาสา" แม้จะเป็นกิจกรรมสะท้อนการเพรียกหาอุดมการณ์ที่เรียกร้องความเสียสละส่วนตัวเพื่อส่วนรวมที่อาจนับว่าเป็นจิตวิญญาณที่สืบเนื่องมาจากการอุทิศตนของนักศึกษามาตั้งแต่ทศวรรษ 2510 เป็นอย่างช้า เพียงแต่ว่ามิติความเคลื่อนไหวดังกล่าวถูกลบความเคลื่อนไหวทางการเมืองออกไป เหลือเพียงอุดมการณ์และรูปแบบที่เน้นความเอื้ออาทรและเสียสละเชิงปัจเจก ไม่ใช่การต่อสู้เพื่อความยุติธรรมอันเนื่องมาจากโครงสร้างอันอยุติธรรมอีกต่อไป ทั้งมองพื้นที่ชุมชนว่าเป็นพื้นที่ชนบทกันดารห่างไกลและควรที่จะได้รับการเหลียวแลช่วยเหลือสงเคราะห์


1) ว่าด้วยการเมืองของทุนและการบริจาค

ภายใต้อุดมการณ์ของกิจกรรม "จิตอาสา" เลี่ยงไม่พ้นจากปัจจัยทางวัตถุอย่างการบริหารทุน กล่าวคือ การประกอบกิจกรรมดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น การออกค่ายอาสา กิจกรรมอาสาเพื่อชุมชน กิจกรรมสานสัมพันธ์ระหว่างอุดมการณ์ ฯลฯ ต่างต้องใช้ "ทุน" เป็นกำลังสำคัญในการดำเนินงาน ซึ่งบางครั้งอาจได้รับงบประมาณจากองค์กรต้นสังกัด และหลายครั้งก็เป็นความพยายามหาทุนจากกลุ่มนักศึกษาเองด้วยการเดินกล่องตามที่สาธารณะ การจัดผ้าป่าสมทบทุน ฯลฯ แต่บางโครงการที่มีขนาดใหญ่จำต้องอิงอาศัยแหล่งทุนจากองค์กรภายนอกเข้ามาสนับสนุน

การช่วงชิงและพยายามเผยภาพลักษณ์การรับผิดชอบต่อสังคม เป็นเงื่อนไขต่อรองในเชิงดุลอำนาจและการเชื่อมพันธะความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับสังคมให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ปรากฏการณ์แนวคิดกิจการเพื่อสังคมบนฐานความเป็น "ทุนนิยม" จึงค่อยๆ เริ่มมีบทบาทมากขึ้น กล่าวคือ องค์กรเหล่านี้พยายามสร้างจุดมุ่งหมายสูงสุดไปที่ผลประโยชน์สูงสุดอันจะเกิดขึ้นในภาคประชาชน ชุมชน สังคม ในคราบภาพลักษณ์องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร[13] แนวคิดการหาผลประโยชน์ต่อสังคมนี่เอง เป็นคำถามว่าทำอย่างไร ภาคประชาชน ชุมชนถึงจะได้ผลประโยชน์สูงสุด นั่นคือการผนวกจุดแข็งระหว่างภาคประชาสังคมกับความมีประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ/องค์กรที่จะสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่สังคม ซึ่งองค์กรต้องอยู่รอดได้ด้วยการพึ่งพาการดำเนินงานด้วยตนเอง แทนการสนับสนุนจากภายนอกหรือรับการอุดหนุนจากภาษีประชาชน หรือเรียกว่า "องค์กรที่ให้กำไรแก่สังคม"[14] ความรับผิดชอบต่อสังคมต่อวิสาหกิจ เป็นแนวคิดการจัดการที่มุ่งให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของส่วนภาคธุรกิจ ตระหนักถึงผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รูปแบบกิจกรรมหลักๆ มุ่งเน้นด้านการส่งเสริมและพัฒนาสังคม ดังเห็นได้จาก การบริจาคทุนเพื่อการกุศล และการอาสาช่วยเหลือชุมชน ผ่านการปลูกฝังจิตสำนึกความเป็น "จิตอาสา" ผ่านเจ้าหน้าที่ของรัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน รวมทั้งปัจจเจกชนผู้ร่วมอุดมการณ์[15]

เมื่อยึดโยงโครงข่ายดังกล่าวเข้ากับภาคกิจกรรมและอุดมการณ์ของบรรดานักศึกษา/นักกิจกรรม ช่องว่างระหว่างองค์กรและภาคประชาชนยังถือว่าเป็นช่องโหว่ขนาดใหญ่ การจะเชื่อมความสัมพันธ์อย่างมีพลวัตและได้ประสิทธิภาพจำต้องอาศัยกลไกการแสวงหา "ตัวกลาง" ผู้ที่สามารถเชื่อมรอยต่อเหล่านี้ได้ผ่านการบริจาคทุน โดยการตรึงอุดมการณ์อาสาเข้าไปด้วย แนวคิดดังกล่าวอาจแทรกซึมเข้ากับภาคส่วนต่างๆ ตั้งแต่ภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน และมูลนิธิทางศาสนา ตัวอย่างเช่น กลุ่มนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้รับมอบทุนประกอบกิจกรรมค่ายอาสาจาก บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เมื่อปี 2559[16] โครงการค่ายครูอาสาสู่ชนบท ครั้งที่ 15 ชมรมครูอาสา สโมสรนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ค่ายต้นกล้าครูพันธุ์ดี ครั้งที่ 5 สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโครงการค่ายแสงเทียน ครั้งที่ 24 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[17] ได้รับมอบทุนจากพระมหานัธนิติ สุมโน วัดภูเขาทอง พระนครศรีอยุธยา [18]

เงื่อนไขดังกล่าวสอดรับกับความต้องการขององค์กรภายนอกไม่ว่าจะเป็นเอกชน หรือรัฐวิสาหกิจที่ต้องการสร้างอำนาจต่อรองระหว่างองค์กรและชนบท/ชุมชน อุดมการณ์พัฒนาชนบทของกลุ่มจิตอาสาจึงเป็นหนึ่งเป้าหมายขององค์กรดังกล่าวด้วยการจัดสรรทุนที่ถือว่าไม่มากนักสำหรับองค์กร แต่ถือว่ามากพอสำหรับนักศึกษา เพื่อสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกให้กับองค์กรนั้นๆ กลยุทธ์ดังกล่าวจึงเป็นการวางหมากให้ผู้ถืออุดมการณ์เป็นตัวเดินเกม  

 

2) ว่าด้วยประโยชน์ที่หมู่บ้านได้รับ

กิจกรรมที่เป็นรูปธรรมอย่างการสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การสร้างศาลาหนังสือพิมพ์ การสร้างฝาย ปลูกป่า ฯลฯ ปมปัญหาที่พบใหญ่ๆ ในมุมมองของผู้เขียน มีอยู่สี่ประเด็นดังนี้  

ประเด็นแรก กลุ่มนักศึกษา/นักกิจกรรม ส่วนใหญ่มิได้มีพื้นฐานความรู้ทางด้านวิศวกรรมและการก่อสร้าง เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวอาจไม่ได้มาตรฐานทั้งความคงทนแข็งแรง และโครงสร้างที่ไม่เอื้อต่อการใช้งาน มิพ้นจะเป็นปัญหาต่อเจ้าของพื้นที่ในการบำรุงซ่อมแซม

ประเด็นที่สอง บนฐานความคิดสร้างสรรค์ (ซึ่งถือเป็นการคิดเชิงบวก) อาจมิได้ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน/เจ้าของพื้นที่เท่าที่ควร

ประเด็นที่สาม องค์กรกลางบางองค์กรสร้างภาพลักษณ์โดยการตรึงอุดมการณ์เป็นทุนเดิม มีแหล่งทุน มีโครงข่าย เพียงแต่ขาด "แรงงาน" ฉะนั้นด้วยความหวังในอุดมการณ์ของบรรดานักกิจกรรมจึงหลวมก้าวเข้าไปสู่ฐานแรงงานขององค์กรอย่างง่ายดาย

ประเด็นที่สี่ เม็ดเงินที่ถูกจัดสรรให้มา เป็นตัวการันตีภาพลักษณ์ "พ่อพระผู้ใจดี" ที่เสนอการยอมรับสู่สาธารณะโดยนัยอย่างไรก็ตาม

แม้ภาคกิจกรรมจะเป็นกระบวนการส่งเสริมอย่างสร้างสรรค์ของเยาวชนหากแต่สิ่งที่ต้องทบทวนคือ กระบวนการดังกล่าวตอบโจทย์วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายมากพอแล้วหรือเปล่า ทว่ากระบวนการนี้อาจเป็นเพียงกลยุทธ์และการต่อรองดุลอำนาจบนฐานเศรษฐกิจและผลประโยชน์ของนายทุน และองค์กรต่างๆหรือไม่?

จริงอยู่ "ค่ายอาสา" อาจสร้างมาเพื่อให้นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยได้เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตในรูปแบบที่ต่างจากชีวิตเมือง แต่ในฐานะที่เป็นนิสิตนักศึกษา ควรตอบแทนกลับสู่สังคมด้วย จึงแฝงเอา "การอาสา" เป็นอุบายหนึ่งของการเรียนรู้ อย่างการไปสร้างไปสอนไปช่วยพัฒนาชุมชน ก็เป็นการทำให้รู้จักทบทวนความรู้ของตนเอง และปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ แต่สิ่งหนึ่งที่คนทำค่ายอาสาควรตระหนักอยู่เสมอคือ พยายามเป็นประโยชน์ให้แก่เขาและไม่เป็นภาระ หากจะรบกวนก็ต้องรบกวนให้น้อยที่สุด?

ส่วนคำถามที่ว่า การอาสาไปช่วยของเราเป็นการช่วยเหลือและพัฒนาชนบทที่ตรงจุดและยั่งยืนจริงหรือไม่? ก็ยังคงไม่ได้รับคำตอบ แต่สิ่งที่ชาวค่ายทำได้ คือไม่ต้องพยายามตอบคำถาม แต่ให้ลงมือทำ ด้วยการสำรวจสภาพปัญหาและอุปสรรคที่เขาเผชิญอย่างจริงจัง รวมถึงพยายามหาวิธีการแก้ไขปัญหา ไม่ใช่เพียงแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ บ่อยครั้งที่ชาวค่ายเองไม่กล้าพูดได้อย่างเต็มปากว่าการทำค่ายเป็นการช่วยเหลือพัฒนาชุมชนโดยแท้จริง เพราะหลายครั้งที่คนอาสากลับรู้สึกว่า "ได้รับ" มากกว่า "ได้ให้" ตั้งแต่การขอรบกวนเพราะความจำเป็น สิ่งเหล่านี้ทำให้ชาวค่ายหลายคนก็เกิดความสงสัยขึ้นมาบ่อยครั้งว่า ชุมชนต้องการความช่วยเหลือจากเราจริงไหม? แล้วสิ่งที่เราไปช่วย เป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดอย่างยั่งยืนหรือเปล่า และสุดท้ายแล้ว ค่ายอาสายังเป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่หรือไม่?

การพยายามหาคำตอบภายใต้ทัศนาคำว่า "อาสา" ดังกรณีการออกค่ายสู่ชนบท หรือดินแดนทุรกันดารอันห่างไกลความเจริญ นักกิจกรรมเริ่มต้นจากกรอบปัญหาผ่านมุมมองความแร้นแค้น ยากไร้ ลำบาก ด้อยโอกาส ทว่าเมื่อไปสัมผัสกับความเป็นจริงแล้วแทบเรียกได้ว่าเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ ดังนั้น หากขึ้นไปด้วยใจอาสาอยากทำอะไรให้เขาก็ไม่แปลกที่จะผิดหวังกลับมา เพราะชาวเขาไม่ได้ขาดแคลนอะไรที่นิสิตอย่างเราๆ จะไปเติมให้ได้ และเขาก็ทำหลายอย่างได้เก่งกว่าเราเสียอีก เขาก็มีความสุขตามที่เขามี ไม่ต้องรอให้เราไปทำอะไรให้เลย[19]

ปฏิเสธมิได้เช่นกันว่า กิจกรรมนักศึกษาที่อุทิศตนเพื่ออุดมการณ์และมีมิติทางการเมืองที่แหลมคมก็มีอยู่เช่นกันแม้จะเป็นส่วนน้อย ในปัจจุบันความเคลื่อนไหวต่อสู้ทางการเมืองเพื่อความเป็นธรรมถูกปิดช่องทางอย่างแข็งขันจากภาครัฐ กิจกรรมดังกล่าวเป็นเพียงส่วนน้อย ต่างจากภาพใหญ่ของกิจกรรมนักศึกษาที่ส่งผลต่อชีวิตนักศึกษาในรูปแบบที่กล่าวมา ดังนั้นกิจกรรมนักศึกษาจึงมีความเป็นการเมืองอยู่ในตัว ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมภาคบังคับที่ออกมาจากมหาวิทยาลัยที่นับวันจะหนักข้อขึ้นด้วยการเข้าไปยุ่มย่ามกับชีวิตและเวลาส่วนตัวที่พวกเขาจะพึงมี กลายเป็นลักษณะการเกณฑ์แรงงานดุจระบบไพร่ในยุคปัจจุบัน ขณะเดียวกันช่องทางที่ระบายออกของนักศึกษาในฐานะกิจกรรมอาสาต่างตกอยู่ภายใต้ปัญหาทั้งในเชิงอุดมการณ์ การเป็นเบี้ยหมากให้กับองค์กรธุรกิจ ไม่เพียงเท่านั้น การกระโจนลงสู่สนามในรูปแบบหมู่บ้านของฉัน ชนบทที่ยากไร้ที่รอคอยนักศึกษาไปพัฒนา  หลายครั้งกิจกรรมดังกล่าวเป็นงานที่ตนเองไม่มีความถนัด และชุมชนเองก็ไม่ได้ต้องการ.

 

เชิงอรรถ

[1] นามแฝงของนักศึกษาที่ไม่ขอเปิดเผยชื่อ เนื่องจากอาจเกิดผลกระทบต่อการเรียนและการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมมหาวิทยาลัย

[2] อัมพร อรุณศรี. "Transcript กิจกรรมนักศึกษา:โครงสร้างกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์". สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2560 จาก https://www.gotoknow.org/posts/80858

[3] ผู้จัดการ Online. "มสด.ผุดแนวคิดสุดเจ๋ง"ทรานสคริปกิจกรรม ตัวช่วยใหม่สำหรับนศ.". สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2560 จาก http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9540000071042 (10 มิถุนายน 2554)

[4] มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. "รายงาน Transcript กิจกรรมนิสิต เป็นรายบุคคล (กดที่เลขประจำตัวนิสิต รายงานผล)". สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2560 จาก http://nisit.kasetsart.org/WebFormTranscript.aspx

[5] มหาวิทยาลัยนเรศวร. "ระบบใบรับรองเข้าร่วมกิจกรรม". สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2560 จาก https://acttrans.nu.ac.th/

[6] มหาวิทยาลัยขอนแก่น. "มข.โชว์ระบบทรานสคริปกิจกรรมสุดคูล! พัฒนาบัณฑิตพร้อมทำงาน". สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2560 จาก https://www.kku.ac.th/news/v.php?q=0013984&l=th (21 เมษายน 2560)

[7] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. "เชิญเข้าร่วมใช้ระบบทรานสคริปกิจกรรม มทร.พระนคร". สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2560 จาก http://activity.rmutp.ac.th/ViewNews.aspx?NewsID=1

[8] คมชัดลึก. "ทรานสคริปกิจกรรม การันตีศักยภาพ"บัณฑิตราชภัฏจันทรเกษม"". สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2560 จาก http://www.komchadluek.net/news/edu-health/245272 (7 ตุลาคม 2559)

[9] คู่มือปฏิบัติงานกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.ป.ท. ม.ป.ป.), หน้า 12

[10] คู่มือปฏิบัติงานกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, หน้า 14

[11] คู่มือปฏิบัติงานกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, หน้า 15

[12] ประชาไทออนไลน์. "พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์: ว่าด้วยโครงสร้างส่วนบน (ที่มองไม่เห็น) ของระบบโซตัส". สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2560 จาก https://prachatai.com/journal/2011/06/35374 (10 มิถุนายน 2554) อ้างว่า เผยแพร่ครั้งแรกในเว็บไซต์คมชัดลึก 7 กันยายน 2553

[13] จตุพร จุ้ยใจงาม, พรชัย เทพปัญญา. (2557) "กิจกรรมเพื่อสังคม แนวโน้มทุนนิยมสมัยใหม่กรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ". วารสารวิชาการ ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 7(1 : 2557) : 125

[14] จตุพร จุ้ยใจงาม, พรชัย เทพปัญญา, เรื่องเดียวกัน : 126

[15] จตุพร จุ้ยใจงาม, พรชัย เทพปัญญา, เรื่องเดียวกัน : 128

[16] ผู้จัดการออนไลน์. "มอบทุนแด่นักศึกษา 3 สถาบัน เพื่อกิจกรรมค่ายอาสา". สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2560 จากhttp://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9590000121668

[17] ดู "หนังสือขอความอนุเคราะห์ โครงการค่ายแสงเทียน ครั้งที่ 24 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2560 จาก  https://www.slideshare.net/mahaoath/24-75974291 และ"รายละเอียด โครงการค่ายแสงเทียน ครั้งที่ 24 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2560 จาก  https://www.slideshare.net/mahaoath/24-75974316

[18] สายลมแห่งอาสา. "ประกาศผลทุนค่ายอาสา พฤษภาคม 2560". สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2560 จาก http://fund4volunteer.blogspot.com/

[19] เปรมกมล มานะภักดี. "ค่ายอาสา: ใครเป็นผู้ให้ ใครเป็นผู้รับ?". สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2560 จาก http://chu.in.th/p/730/

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น